วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2021, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633594132197.jpg
FB_IMG_1633594132197.jpg [ 27.58 KiB | เปิดดู 1805 ครั้ง ]
นักปฏิบัติควรพยายามกำหนด เพื่อให้บรรลุถึงผลที่เคยได้แล้วโดยรวดเร็ว และเพื่อให้ตั้งมั่นอยู่ได้นานๆ ครั้นเมื่อเข้าสมาบัติตั้งมั่นอยู่ได้นานๆแล้ว จิตก็จะมีสมาธิสมบูรณ์ เข้าถึงมรรคผลั้นสูงต่อไป ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะเข้าสมาบัติ จะต้องกำหนดเวลาที่จะเข้าให้แน่นอน แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการที่จะเข้าผลสมาบัติที่ได้บรรลุไปแล้วภายในเวลาเพียงเท่านี้ ขออย่าให้ข้าพเจ้าเข้าผลที่ได้แล้ว ขอให้เข้าถึงมรรคผลชั้นสูงที่ยังไม่เคยได้ด้วยเถิด ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว ให้ลงมือกำหนดอาการที่กำลังเกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นๆ ส่วนผลของการกำหนดเวลาคือเมื่อหมดเวลาที่กำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลชั้นสูง หากต้องการเข้าผลสมาบัติที่จนเคยได้แล้วก็ย่อมเป็นการง่ายมาก ซึ่งถ้าไม่ทำการกำหนดเวลาเป็นที่แน่นอนอย่างนี้ อาจจะทำให้กลับเข้าผลสมาบัติที่ตนเคยได้แล้วได้อีกก็เป็นได้ มรรคผลชั้นสูงก็ยังไม่ได้ ส่วนที่ได้แล้วก็กลับเข้าอีกไม่ได้ก็จะทำให้เกิดความน้อยใจ หรือเกิดความไม่พอใจ ส่วนประโยชน์ของตัดอาลัย เช่น ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาเข้าผลสมาบัติที่ตนได้มาแล้วนั้น หมายความว่า ผลที่เคยได้แล้วจะไม่ปรากฏภายในเวลาที่กำหนดไว้ และถ้าผู้มีสมาธิญาณบริบูรณ์แล้ว ก็จะเข้าถึงมรรคผลชั้นสูงโดยตรงทันที หากไม่ตัดเยื่อใยในผลที่ตนได้แล้วอย่างเด็ดขาด ญาณก็จะวกเข้ามาหาแต่ผล นั้นนั่นเอง โดยไม่เข้ามรรคผลชั้นสูงเลย

ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะกำหนดวันเวลาที่จะเข้าให้แน่นอนแล้ว จะต้องตัดเยื่อใยในผลที่ตนเคยได้มาก่อนออกให้หมด จึงค่อยเริ่มกำหนด ในช่วงเวลาที่กำหนดอยู่นี้วิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มตั้งอุทยัพพญาณ เป็นต้น ก็จะปรากฏขึ้นโดยลำดับความเกิดขึ้นของญาณเหล่านี้ จะไม่เหมือนกับวิปัสสนา ตอนที่กำหนดเพื่ให้ได้ผล แต่จะเหมือนกับวิปัสสนาตอนที่ปฏิบัติเพื่อให้มรรคครั้งก่อน

อนึ่ง ขณะที่อุทยัพพยญาณยังมีกำลังอ่อนอยู่ นิมิตต่างๆ มีแสงสว่างเป็นต้น สามารถเกิดขึ้นมาได้และทุกขเวทนาต่างๆก็สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ความเกิดดับของรูปนามทั้งหลายจะมาปรากฏชัดและรุนแรง และถึงแม่ว่าตอนที่กำหนดเพื่ผลนั้น สังขารุเปกขาญาณ จะเข้าถึงผลญาณเหล่านี้แล้วก็จริง แต่เนื่องจากตอนนี้สมาธิญาณยังไม่แก่กล้าบริบูรณ์พอ จึงทำให้สมาธิญาณวนเวียนอยู่แต่ในญาณขั้นต่ำๆ เป็นเวลานาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2021, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถึงย่างไรก็จะไม่ค่อยยากลำลากเหมือนกับเริ่มต้นใหม่ๆ เพราะเมื่อลำดับญาณทั้งหลายแก่กล้าเต็มที่แล้ว แม้ภายในวันเดียวก็สามารถเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้ การกำหนดรู้ก็จะดีกว่าแต่ก่อนมาก ตือรู้ละเอียดกว่าแต่ก่นมาก ทั้งยังมีความเห็นกว้างไกลกว่าแต่ก่อนมาก ทัสสนะต่างๆแจ่มแจ้งเป็นพิเศษ มีความเป็นระเยียบไม่สับสน ความกลัว การมองเห็นโทษความเบื่อหน่ายต่ออารมณ์ทางโลก หรือต่อวัฏฏทุกข์จะปรากฏขึ้นเป็นพิเศษแต่ก่อนนั้นถึงแม่ว่าจะเข้าผลสได้ถึง ๔-๕ ครั้งภายในหนึ่งชั่วโมงก็ตาม แต่ตอนนี้เนื่องจากสมาธิยังไม่แก่กล้าพอ จึงเข้าถึงเพียงสังขารุเปกขาญาณเท่านั้น บางครั้งก็นานเป็นวัน เป็นเดือนหรืเป็นปีก็มี ครั้นสมาธิญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว การกำหนดก็จะขัดเป็นพิเศษ และในที่สุด จะข้ามไปสู่อารมณ์นิพพาน เหมือนกับตอนที่บรรลุเมื่อครั้งก่อน นี่แหละความเกิดขึ้นของมรรคผลครั้งที่ ๒ จากนั้นปัจจเวกขณญาณซึ่งเป็นญาณที่พิจารณา มรรค ผล นิพพาน และพิขารณากิเลสทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นจามสมควรแก่บุคคล เช่น ญาณของพระโสดาบัน ไม่เหมือนญาณของพระสกทาคามี ดังนี้เป็นต้น และหลังจากนั้น วิถีจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสยังพร้อมกับอุทยัพพญาณ ที่กำหนดร฿ความเกิดดับก็จะเกิดขึ้นตามสมควรนี้เป็นวิถีการกำหนดปฏิบัติและวิธีการเห็นด้วยญาณจนกระทั่งได้บรรลุสกทาคามรรค และสกทาคามีผลตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2021, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนักปฏิบัติปรารถนามรรคที่ ๓ คืออนาคามิมรรค อนาคามิผลก็ให้กำหนดเวลาให้แน่นอน และจงตัดเยื่อใยในผลสมาบัติที่ตนเคยบรรลุแล้วโดยเด็ดขาด จงตั้งจิตอธิษฐาณว่า ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุมรรคผลชั้นสูงต่อไป ดังนี้แล้วให้กำหนดอาการทางกายและอาการทางจิตที่กำลังเกิดขึ้นตามวิธีดังกล่าวมาแล้ว สังขารุเปกขาญาณก็จะเกิดขึ้นเอง แต่ถ้าหากญาณขั้นต่ำเช่นอุทยัพพญาณยังมีกำลังยังไม่แก่กล้าพอ ผู้นั้นก็จะอยู่ในญาณขั้นต่ำๆเท่านั้น จะไม่สามาถเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้เลย เมื่อญาณเหล่านี้แก่กล้าพอแล้ว ญาณของผู้นั้นก็จะข้ามไปสู่อารมณ์นิพพานเหมือนกับตอนที่บรรลุมรรคผลที่ผ่านมา แล้วมรรคญาณที่ ๓ และผลญาณที่ ๓ ก็จะปรากฏ หลังจากนั้น ปัจจเวกขณญาณทั้งหลายก็จะปรากฏโดยทำนองเดียวกับมรรคที่ผ่านมานี้เป็นการกำหนดเพื่อบรรลุอนาคามิมรรคและอนาคามิผลตามลำดับ

เมื่อนักปฏิบัติปรารถนามรรคผลที่ ๔ กล่าวคืออรหัตตมรรคแลัอรหัตตผล ก็ให้กำหนดเวลาและให้ตัดเยื่อใยในผลสมาบัติที่ตนได้บรรลุมาแล้วโดยเด็ดขาด ตั้งขิตอธิษฐานให้เรียบร้อย กำหนดอาการทางกายและจิตที่กำลังเกิดขึ้นตามวิธีเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทั้งสิ้น ดังที่พระองค์ตรัสถึงกานกำหนดสติว่าเป็นเอกายโนทางสายเดียว ทางสายเอก ตือนอกจากสายนี้แล้วไม่มีทางสายอื่น เมื่อญาฯทั้งหลายนับตั้งแต่อุทยัพพญาณเป็นต้นแก่กล้าเต็มที่แล้ว ในไม่ช้าก็จะเข้าสังขารุเปกขาญาณ แต่ถ้าญาณเหล่านี้ยังไม่แก่กล้านัก ก็จะไม่สามารถเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้จะหยึดอยู่ในญาณเหล่านั้นนั่นเอง เมื่อมีกำลังแก่กล้าแล้วก็จะก้าวสู่อารมณ์นิพพานอันเป็นที่ดับของสังขารทั้งปวง และแล้วมรรคที่ ๔ กล่าวคืออรหัตตมรรค อรหัตตผลก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2023, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า "มรรคผลจะเกิดขึ้น" นั้น เป็นคำกล่าวที่มุ่งถึง
บุคคลผู้มีบารมีแก่กล้าพอที่จะได้มรรคผลนั้นๆ โดยเฉพาะส่วนบุคคลผู้ยังมีบาร
ไม่พอ จะหยุดอยู่ที่สังขารุเปกขาญาณเท่านั้น โดยเฉพาะบุคคลที่บรรลุมรรคผลที่ ๑
คือ โสดาบัตติมรรค โสดาปัตติผลแล้ว ถึงแม้ว่าจะสามารถเข้าถึงมรรคผลที่ ๒
ได้อย่างง่ายดายก็จริง แต่การที่จะเข้าถึงมรรคผลที่ นั้นมิใช่ของง่าย
เราสามารถค้นหาสาเหตุได้ดังนี้ คือทั้งพระโสดาบันและพระสกทาคามีต่างก็เป็น
สีเลสุ ปริปูรการี บุคคลผู้บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้มรรคผลที่ ๑ แล้ว
จึงจะสามารถเข้าถึงมรรคผลที่ ๒ ซึ่งมีระดับแห่ง ศีลสิกขาเท่ากันได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนพระอนาคามีเป็น สมาธิสฺมึ ปริบูรการี บุคคลผู้บำเพ็ญสมาธิให้บริบูรณ์ ดังนั้น
จากมรรคผลที่ ๒ ซึ่งเป็นเพียงขั้นศีลจึงไม่สามารถที่จะเข้าถึงมรรคผลที่ ๓ ได้
โดยง่าย แต่ถึงอย่างนั้นไม่ว่าจะมีบารมีหรือไม่มี จะเป็นมรรคผลใดก็ตาม ต้องปฏิบัติ
ให้บรรลุจงได้ จึงจะชื่อว่ารู้ด้วยตนเองได้ อนึ่ง บางคนอาจใช้เวลาหลายวัน
หลายเดือน หรือหลายปีในการประพฤติปฏิบัติจึงบรรลุได้ก็มี ดังนั้น การที่บุคคล
ปฏิบัติเพียงไม่กี่วันแล้วยังไม่ได้ผลอะไรๆนั้น จึงไม่ควรด่วนตัดสินไปว่า "เรายังมี
บารมีไม่แก่กล้าพอ" เพราะจะทำให้เกิดความท้อถอย นอกจากนี้ การประพฤติ
ปฏิบัติในชาตินี้ก็เท่ากับเป็นการบำเพ็ญบารมีที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าสามารถตัดปัญหาเรื่องบารมีออกก็จะเป็นการดีที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2023, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ นักปฏิบัติทุกคนควรมีความเชื่อมั่นในทางที่ถูก เช่นเชื่อว่า
*หากเราไม่ปฏิบัติ บารมีก็ไม่เกิดขึ้น ถึงจะมีบารมีแก่กล้าอย่างไรก็ตาม หากไม่
พยายามปฏิบัติ ก็ไม่สามารถบรรลุในชาตินี้ได้ แต่ตรงกันข้าม หากคนที่มีบารมี
แก่กล้าอยู่แล้ว เมื่อปฏิบัติก็ยิ่งจะบรรลุมรรคผลได้อย่างง่ายดาย ส่วนผู้ที่มีบารมี
ปานกลาง หากปฏิบัติก็จะสามารถบรรลุไต้ในชาตินี้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าไม่สามารถ
บรรลุในชาตินี้ ก็จะบรรลุในภพถัดไปอย่างแน่นอน เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว เราก็
จะกลับมาพิจารณามรรคผล นิพพานที่ตนได้บรรลุนั้นอีก และยังรู้ลึกซึ้งต่อไปอีกว่า
กิเลสทั้งปวงดับไปหมดสิ้นแล้ว จะไม่กลับเกิดขึ้นมาอีก กิจที่เราพึงกระทำนั้นได้จบ
ลงแล้วอย่างสมบูรณ์"
นี้เป็นวิธีการกำหนดปฏิบัติและการรู้แจ้งด้วยญาณ จนถึงชั้นบรรลุเป็น
พระอรหันต์

อุยโยชนคาถา(คาถาปลุกใจ)
ภาเวตพฺพา สตา เจวํ สติปฏฐานภาวนา
วิปสฺสนา รสสฺสาท
ปตฺเถนฺเตนีธ สาสเน.

กุลบุตรกุลธิดาผู้เป็นสัตบุรุษซึ่งปรารถนา อย่างแรงกล้าในการบรรลุ
มรรค ผล นิพพาน ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงเจริญ
สติปัฏฐานภาวนา(ภาวนาที่พึงใช้สติตามกำหนด กาย เวทนา จิต และ
ธรรมเป็นอารมณ์) โดยวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เถิด

คำสั่งพิเศษ
วิธีการปฏิบัติที่ได้เขียนไว้ในเล่มนี้ ย่อมเพียงพอสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
ปานกลางได้อย่างดี ขอเพียงแต่ให้มีศรัทธา ฉันทะ และวีริยะแล้วลงมือปฏิบัติอย่าง
จริงจัง ย่อมเข้าถึงวิปัสสนาญาณ มรรคญาณ และผลญาณอย่างแน่นอน
อนึ่ง เกี่ยวกับคุณวิเศษต่างๆ ที่พึงเห็นได้ด้วยญาณนั้น ข้าพเจ้ามิได้นำมา
แสดงไว้ทั้งหมด ยังมีอีกมากมายที่ยังเหลืออยู่ และการที่บุคคลจะสามารถเห็น
ญาณได้ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นเรื่องยาก บางคนอาจเห็นละเอียด บางคนอาจเห็นชัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2023, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนอาจ เห็นเลือนลางแตกต่างกันไปสุดแล้วแต่ความแก่กล้าแห่งบารมี
แต่ละบุคคล
นอกจากนี้ ศรัทธา ฉันทะ วีวิยะของนักปฏิบัติ ก็ใช่จะแก่กล้าเสมอไป
หนังสือเป็นคู่มืออย่างเดียว ก็จะไม่พ้นจากความสงสัยได้ คงเป็นเหมือนบุคคล
ที่ไม่เคยเด็นทางไปในที่ที่ตนไมเคยไป ด้วยเหตุนั้น บุคคล สามัญทั่วไปซึ่งถ้าหาก
ไม่มีอาจารย์คอยเอาใจใส่แล้ว การที่จะได้วิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณย่อม
มิใช่เรื่องง่าย ดังนั้น สัตบุรุษผู้ปรารถนาที่จะรู้แจ้งพระนิพพานพึงรับเอาวิธีการ
ปฏิบัติในสำนักของครูอาจารผู้เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งสามารถชี้แนะได้โดยถูกต้อง
ตามหลักพระปริยัติและเคยปฏิบัติมาแล้วอย่างถูกวิธีจนสามารถแสดงวิปัสสนาญาณ
มรรคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ และผลสมาบัติได้อย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งตรง
กับพระบาลีที่มาในสังยุตตนิกาย นิทานวรรค ว่า ยถาภูตํ ฌาณาย สตฺถา
ปริเยสิตพฺโพ พึงแสวงหาครูอาจารย์เพื่อให้ได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง อย่าได้มี
ทิฏฐิมานะถือตัวว่า เราเป็นคนเก่งเป็นคนวิเศษ ไม่จำเป็นต้องไปรับฟังคำแนะนำ
จากใคร ควรนึกถึงเรื่องของการประพฤติปฏิบัติของพระเถระสมัยก่อน เช่น
พระโปฏฐิละพยายามข่มมานะของตัวเองลงให้จงได้ และในเวลาปฏิบัติก็ให้พยายาม
ระลึกถึงพระพุทธดำรัสที่ว่า
นยิทํ ผิถิลมารพฺภ นยิทํ อปฺเปน ถามสา
นิพฺพานํ อธิคนฺตพฺํ สพฺพทุกฺขปฺปโมจนํ.
(ส. นิ. ๑๖/๒๓๘/๒๖๓)
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าพระนิพพานนี้เป็นที่ปลดเปลื้องจากวัฏฏทุกข์
ทั้งปวง ใครๆไม่พึงบรรลุได้ด้วยกำลังเล็กๆน้อยๆ(การทำเหยาะๆแหยะๆ
ดังนั้น ผู้ต้องการความหลุดพันจากทุกข์ จะต้องประพฤติอย่างจริงจังโดย
ไม่ย่อท้อ เพื่อจะได้ลิ้มรสแห่งความสุขกล่าวคืออมตนิพพานตามที่ต้องการได้
วิธีกำหนดต่อเนื่อง จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 75 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร