วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2021, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6414396_preview.png
6414396_preview.png [ 22.16 KiB | เปิดดู 404 ครั้ง ]
อนึ่งเกี่ยวกับพระบาลีที่เป็นส่วนร้อยกรองนั้นมีอยู่บางบทที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจดังนี้ พระนิพพานถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสอุปาทิเสสะและส่วนที่เป็นอนุปาทิเสสะเป็นธรรมชาติที่หมดสิ้นกิเลสและขันธ์โดยสิ้นเชิงเป็นธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่งโดยเหตุปัจจัย จึงได้ชื่อว่า อสังขตธรรม หรือเพราะเป็นธรรมชาติ คือสวนทางกันกับสังขตธรรม จึงได้ชื่อว่า อสังขตธรรม และเหตุได้ชื่อว่า ปทะ เพราะเป็นธรรมที่บุคคลพึงถึงด้วยมรรคญาณและผลญาณ คือการที่จะรู้พระนิพพานได้นั้นจะต้องบรรลุมรรญาณและผลญาณ ซึ่งในพระบาลีดังกล่าวก็ได้แสดงไว้โดยตรง ดังนั้น พึงทราบว่า ถึงจะแบ่งพระนิพพานออกเป็น ๒ ชนิดก็จริง แต่ในสภาวะแล้วนิพพานก็มีอย่างเดียว ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะในปริเฉทที่ ๖ ว่า
โค้ด:
ตเทตํ สภาวโต เอกวิธมฺปิ สอุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ. เจติ ทุวิธํ โหติ การณปริเยน.
นิพพานนั้นว่าโดยสภาวะแล้วมีอยู่อย่างเดียว แต่โดยปริยายแล้ว แบ่งเป็น ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

นิพพานซึ่งเป็นอารมณ์เฉพาะมรรคผลเท่านั้นมีลักษณะเดียวคือสันติลักษณะไม่มีพระนิพพานใดที่ไม่มีรสแห่งความสงบ ขึ้นชื่อว่านิพพานย่อมมีลักษณะเช่นนี้ ดังนั้น นิพพานจึงมีอยู่อย่างเดียวโดยสภาวะ ถ้าหากจะไปแยกพระนิพพานที่จำแนกเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพานว่า เป็นคนละส่วนกับนิพพานเดิม ซึ่งเป็นอารมณ์ของมรรคผล และมีลักษณะสงบแล้ว ซึ่งถ้ามองดูเผินๆ แล้วจะเห็นว่านิพพานที่จนบรรลุในขณะอรหัตตมรรคนั้นเป็นเหตุ ส่วนพระนิพพาน ที่เป็นสอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส เป็นผลพลอยได้ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้เข้าใจผิดได้ว่า นิพพานนั้นมีลักษณะหลายอย่างซึ่งไม่ตรงกับคัมภีร์ที่ยกมา

สรุปแล้วไม่ว่านิพพานนั้นจะเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งหมายถึงกิเลสนิพพาน(ความดับกิเลสซึ่งขันธ์ยังไม่ดับ) หรืออนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งหมายถึงขันธนิพพาน(ดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์)ก็ตามต่างก็เป็นนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถ์ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2021, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานมิใช่อภาวบัญญัติ

บางท่านอาจเข้าใจว่าสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน(ซึ่งถูกแบ่งมาจากนิพพานที่เป็นอารมณ์ของมรรคผล) ไม่มีลักษณะแห่งสันติ เป็นเพียงอภาวบัญญัติไม่มีปรากฏตามสภาวะที่เป็นจริงดังนี้ นับว่าเป็นความคิดที่ผิดเพราะบัญญัติกับปรมัตถ์นั้นแตกต่างกันมาก คือบัญญัติเป็นเพียงความคิดเห็น เป็นเพียงจินตนาการเท่านั้นถ้าไปหมายเอาสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นบัญญัติก็เท่ากับมีความเห็นว่า การละกิเลสหรือการดับขันธ์นั้น เป็นการจินตนาการหรือการคิดขึ้นมา ไม่ใช่มีอยู่จริง ซึ่งถ้าเป็นการจินตนาการแล้ว พระอรหันต์ก็ถือว่า ยังมีกิเลสอยู่ และภายหลังที่ปรินิพพานแล้ว ก็ต้องกลับมาเกิดใหม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่มีใครเลยที่จะสามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะทุกข์ได้

อนึ่ง การเห็นลักษณะดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากบุคคลคิดว่านิพพานเป็นอภาวบัญญัติซึ่งเป็นผลลูกโซ่ ที่เป็นผลที่เนื่องมาจากเข้าใจว่าสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน มีสภาวะที่แตกต่างกันกับนิพพานที่เป็น อารมณ์ของมรรคผล ซึ่งได้ในขณะบรรลุอรหัตตผล แต่อันที่จริงแล้วไม่ว่านิพพานจะถูกแบ่งออกไปเป็นกี่อย่างก็ตาม สภาวะยังเป็นหนึ่งเดียวเสมอ เพราฉะนั้น ชื่อว่านิพพานแล้วเป็นปรมัตถ์ คือเป็นสภาวะที่มีปรากฏอยู่จริง ข้อความที่กล่าวต่อไปนี้จะเป็นข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับนิพพานที่ถูกต้อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2021, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานเป็นอารมณ์ของมรรคผล

นิพพานที่เป็นอารมณ์ของมรรคผลท่านเรียกว่านิพพานสามัญ ส่วนสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพานนั้น ก็เป็นนิพพานซึ่งรวมอยู่ในนิพพานสามัญนั้น แต่เวลาที่มรรคผลเกิดโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์นั้นใช่ว่าจะมาแยกกำหนดว่าอันไหนคืออุปาทิเสสะ อันไหนคืออนุปาทิเสสั ใช่ว่าจะมาแยกกำหนเวาส นี้เป็นความดับของราคะ นี้เป็นความดับของโทสะ นี้เป็นความดับของโมหะ หรืออะไรอื่นๆอีกมากมาย ใช่ว่าจะมาแยกกำหนดด้วยอำนาจของกาลเวลาว่า กำลังดับอยู่ หรือจักดับในอนาคต และก็ใช่ว่าจะเป็นการกำหนดรู้ด้วยอำนาจของบัญญัติโวหารต่างๆ เช่น นิพพาน ความดับ ไม่มีกิเลส ไม่มีสังขาร ดังนี้เป็นต้น แจ่แท้ที่จริงแล้สเป็นเพียงการกำหนดรู้สภาพความดับของรูปนามสังขารทั้งที่เป็นอารมณ์และอารัมมณิกะ(จิตที่รับรู้อารมณ์เรียกว่า อารัมมณิกะ)

ในฐานะที่นิพพานเป็นความดับของนามรูปทั้งหมด จึงถือได้ว่า สอุปาทิเสสนิพพาน กล่าวคือความดับของกิเลส และอนุปาทิเสสนิพพาน กล่าวคือความดับขันธ์นั้น รวมอยู่ในอารมณ์ของมรรคผลนั้นด้วย ก็เกี่ยวกับเรื่องนิพพานนี้ ถ้าผู้ใดสงสัยว่า นิพพานเป็นอภาวบัญญัติ หรือว่าเป็นปรมัตถ์ ผู้นั้นต้องลงมือปฏิยัติ ในขณะปฏิบัติก็ต้องลองจินตนาการดู แล้วก็จะรู้เองว่า นิพพานนั้นเป็นบัญญัติที่ได้มาด้วยการ จินตนาการ หรือว่าเป็นสภาวะธรรมที่เป็นของจริงกันแน่ ถึงตอนนั้นนักปฏิบัตืจะ สามารถรู้ได้ว่า นิพพานเป็นสภาวธรรมที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เข้าใจยาก ไม่ใช่เป็นธรรมที่จะได้มาด้วยจินตนาการ หรือสักแต่ว่าด้วยการปรารถนาอยากได้เท่านั้น

ภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้น พึงทราบ(พึงพยายามให้รู้ด้วยมรรคญาณ ) อายตนะกล่าวคือพระนิพพาน(ธรรมอันเป็นอารมณ์กล่าวคือพระนิพพาน)นั้น ดังนี้ จักษุประสาทและรูปสัญญา(ความจำว่ารูป)ย่อมดับลงในนิพพานใด(ภิกษุ)พึงทราบอายตนะคือนิพพานนั้น(คือพึงทำให้แจ้งนิพพานนั้น) โสตประสาทและสัททสัญญา(ความจำว่าเสียง)ย่อมดับลงในนิพพานใด พึงทราบอายตนะคือพระนิพพานนั้น ฆานประสาทและคันธสัญญา(ความจำว่ากลิ่น)ย่อมดับลงในนิพพานใด พึงทราบอายตนะคือนิพพานนั้น ชิวหาประสาทและรสสัญญา(ความจำว่ารส)ย่อมดับลงในนิพพานใด พึงทราบอายตนะคือนิพพานนั้น กายประสาทและโผฏฐัพพสัญญา(ความจำว่าสิ่งที่สัมผัสได้)ย่อมดับลงในนิพพานใด (ภิกษุ) พึงทราบอายตนะคือนิพพานนั้นจิตและธัมมสัญญา(ความจำว่าธรรม)ย่อมดับลงในนิพพานใด พึงทราบอายตนะคือนิพพานนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2021, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อควรจำ

ลักษณะความดับของจักษุและรูแสัญญานั้น พึงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยหมายเอานิพพานเป็นที่ดับ เหมือนกับตอนที่ทรงแสดง ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ หมายความว่า สำหรับผู้ที่รับนิพพานนั้น ภายหลังจากที่ตนกำหนดรู้อารมณ์ ที่เกี่ยวกับการเห็นแล้ว ย่อมเห็นสภาพความดับของจักษัและรูปสัญญาได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ในพระบาลีที่ยกมาข้างตน พึงทราบว่าเป็นการ กล่าวถึงพระนิพพานนั่นเองโดยเอาความดับของอายตนะคู่ คือ จักษุและรูปสัญญามาเป็นตัวขยายคุณสมบัติของพระนิพพานที่บุคคลนั้นได้เห็น ดังนั้น ในอรรถกถาอุปริปัณณาสก์ตอนที่อธิบาย ปัญจัตตยสูจร จึงไขความไว้ว่า
โค้ด:
ยตฺถ จกฺขุ จ นิรุชฺฌติ รูปสญฺญา จ นิรุชฺฌติ. เส
อายตเน เวทิตพฺเพติ เอตฺถ ทุวินฺนํ อายตนานํ ปฏิกฺเขเปน นิ พพฺพานํ ทสฺสิตํ.
เกี่ยวกับความดับของจักษุนี้ พึงทราบว่า เมื่อจักษุดับ รูปที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับจักษุ(จักขุทสกกลาป) ก็ดับไปด้วย ตือ ปรากฏในญาณของบุคคลผู้นั้นด้วยและในทำนองเดียวกัน เมื่อรูปสัญญาดับลงจิตเจตสิกทั้งหลาย ที่สัมปยุตกับสัญญาก็ดับลงด้วย ก็เพราะจักษุและรูปสัญญาเหล่านั้น จึงทำให้วิปัสสนาซึ่งกำหนดสังขารที่เกี่ยวกับการเห็นดับลงด้วย สรุปแล้วความดับทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะมีความปรากฏชัดมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แม่ในช่วงอริยมรรครับรู้นิพพานอยู่นั้น ความดับแห่งสังขารทั้งปวงก็มีปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น ในขณะที่มรรคผลบังเกิด บุคคลจึงไม่สามารถรับรู้สังขารใดๆได้ โดยประการทั้งปวงชช แม้ในบทหลังๆ ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้ ส่วนในพระบาลีที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่า ในแต่ละตอนนั้นเป็นการแสดงให้รู้ว่าสภาวะความดับของอายตนะ แต่ละคู่นั้นแหละคือนิพพาน แต่ถ้ามองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า ความดับแห่งอายตนะทั้งหมดนั้นแหละชื่อว่า นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร