วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2021, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633592534040.jpg
FB_IMG_1633592534040.jpg [ 17.17 KiB | เปิดดู 998 ครั้ง ]
สมุทยสัจ

สมุทบสัจนั้น ก็คือ ความปรารถนา ความอยาก ความต้องการในทุกขสัจ กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง เพราะคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่งาม ก็ความปรารถนานั้นก็คือตัวตัณหานั่นเอง ก็ตัวตัณหานั้นเป็นตัวสมุทัย ผู้ที่ยังมีตัณหาอยู่ก็จะมีความปรารถนา มีความหวัง ต้องการให้ชีวิตอยู่ดีมีความสุข ทุกครั้งที่คิดก็จะคิดด้วยจิตที่มีความหวังนี้ ทุกครั้งที่พูด ทุกครั้งที่กระทำ ถ้าจิตดีก็จะกลายเป็นกุศลกรรม ถ้าจิตไม่ดีก็จะกลายเป็นอกุศลกรรม ซึ่งเป็นภพชาติหนึ่งไนั้น กุศลกรรมและอกุศลกรรมสามารถ เกิดขึ้นได้อย่างมากมายจนนับไม่ถ้วนแต่ในบรรดากรรมทั้งหลายเหล่านั้น พึงทราบว่า กรรมใดกรรมหนึ่งเท่านั้นที่จะมีโอกาสปรากฏเกิดขึ้นภายในจิตใจเพื่อส่งผลให้บุคคลนั้นไปเกิดในเวลาใกล้ตายได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงบอกว่าในขณะที่ใกล้ตายนั้น อาจเป็นกรรมอย่างใดอย่างหนนึ่ง หรืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ทำกรรมนั้นผุดปรากฏในนจิตของผู้ที่ใกล้จะตายนั้น หรือไม่ก็อาจเป็นภพภูมิบุคคลนั้นที่จะไป ก็กรรมอารมณ์หรือภพภูมิเหล่านั้นอาจจะมาปรากฏเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจของกรรมนั้นในขณะที่ใกล้จะตายราวกะว่าฝันนั่นเทียว

เมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๓ ประการนี้ ทันทีที่รูปนามขันธ์ ๕ ของผู้ที่ใกล้จะตายดับลงครั้งสุดท้าย บุคคลนั้นก็จะยึดเอาอารมณ์นั้นแล้วก็ไปปฏิสนธิในภพใหม่ด้วยอำนาจของกรรมนั้นเอง

การเกิดขึ้นของอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งมีลักษณะการยึดมั่นถือมั่นในที่นี้ ก็เหมือนกับคนที่ฝันร้าย ซึ่งฝันเห็นสิ่งที่น่ากลัว แม้จะตื่นขึ้นมาแล้ว ความกลัวนั้นก็ยังไม่จางหายไปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน้ากับส่วนหลัง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับความคิดที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องกันในรูปารมณ์ที่ได้เห็นไปแล้ว นี่เป็นอุปมาที่โยคีทั้งหลายสามารถรู้ได้โดยประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2021, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปทานขันธ์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่า นับตั้งแต่การได้ขันธ์ครั้งแรกในภพใหม่จนกระทั้งถึงตายในภพนั้น เนื่องจากว่าในภพปัจจุบันนั้นมีการสืบต่อ เช่น เห็นแล้วเห็นอีก เห็นแล้วเกิดความนึกคิด เห็นแล้วก็ได้ยินดังนี้เป็นต้น อุปาทานทั้งหลาย จึงเป็นเสมือนกับว่าเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก็การเกิดขึ้นเช่นนั้น พึงทราบว่ การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกแห่งอุปาทานขันธ์ทั้งหลายนั้น ก็คือชาติทุกข์นั่นเอง ความหง่อม ความแก่แห่งอุปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อๆกันนั้น ก็คือ ชราทุกข์ ส่วนการดับไปแห่งอุปาทานขันธ์อันเป็นวาระสุดท้ายในภพชาตินั้น เรียกว่า มรณทุกข์ ซึ่งก่อนที่จะตายนั้น เวทนาทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามสมควรแก่เหตุมีความเศร้าโศกเสียใจ ความปนิเทวะเป็นต้น เหล่านี้ก็เรียกว่า ทุกข์ ด้วยกันทั้งสิ้น แม้แจ่อุปาทานขุนธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสายในลักษณะที่ได้เห็นที่ได้ยินเป็นต้น ก็ล้วยแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

ถามว่า :- เพราะเหตุไร ทุกขสัจทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น
ตอบว่า :- ทุกขสัจทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ถามว่า :- กรรมนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร เป็นเหตุ และเพราะอะไรเป็นเหตุกรรมนั้น จึงสามารถให้ผงได้
ตอบว่า :- เพราะตัณหาความอยากกล่าวคือความต้องการในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเหตุ จึงเกิดกรรมได้ สำหรับบุคคลผู้ปราศจากตัณหาแล้วกรรมใหม่ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แม้แต่กรรมเก่าที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะสร้างขันธ์อันเป็นภพใหม่ได้อีกต่อไป

เพราะฉะนั้น สาเหตุที่เป็นต้นเหตุ หรือเรียกว่า มูลเหตุของทุกข์ ทั้งปวงนั้นไม่ว่าจะเป็นอุปาทานขันธ์หรือว่าทุกข์ใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก ในทุกภพทุกชาตืนั้นก็ล้วนแต่มาจากตัณหาทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญผิดคิดว่าอุปาทานขันธ์เป็นสิ่งที่ดี ตัณหากล่าวคือ ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน ความต้องการในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายที่ปรากฏในขณะที่เห็นเป็นต้น ท่านเรียกว่า สมุทยสัจหรือสมุทัย สมกับที่พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไว้ว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทีราคสหคตา ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร