วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2021, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2-27910_man-men-guys-walking-back-group-friends-talking.png
2-27910_man-men-guys-walking-back-group-friends-talking.png [ 319.71 KiB | เปิดดู 418 ครั้ง ]
การรู้อริยสัจ ๔

สภาวธรรมที่เป็นจริง ๔ ประการเหล่านี้ได้แก่

๑. ทุกขอริยสัจ อริยสัจหรือสภาวะที่มีอยู่จริง กล่าวคือทุกข์ ที่พระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งมาแล้ว

๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ อริยสัจหรือสภาวะที่มีอยู่จริงซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ที่พระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งมาแล้ว

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ อริยสัจหรือสภาวะที่มีอยู่จริงซึ่งเป็นความสุขอย่างแท้จริง กล่าวคือสภาวะที่ดับกิเลสและขันธ์ทั้งปวง ที่พระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งมาแล้ว

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจหรือสภาวะที่มีอยู่จริงซึ่งเป็นหนทางที่ถูกต้อง ที่พระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งมาแล้ว อันเป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์

สภาวธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นสภาวธรรมที่พระอริยะทั้งหลายท่านได้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจ ก็อาจารย์ทั้งหลายนิยมเรียกอริยสัจเหล่านี้โดยย่อว่า ทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ และมัคคสัจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2021, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขสัจ

ในภพหนึ่งๆ นั้น การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของชีวิตกล่าวคือรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่า ชาติ จากนั้นความแก่ ความทรุดโทรมแห่งขันธ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเหล่านั้น เรียกว่า ชรา การดับ การตายเป็นครั้งสุดท้ายของขันธ์นั้น เรียกว่า มรณะ ก็การเกิดการแก่และการตายที่เกี่ยวกับภพหนึ่งๆ เหล่านี้แล ท่านเรียกว่า ทุกขอริยสัจ หรือ ทุกขสัจ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจต่างๆ นานา หมายความว่า เป็นสภาวธรรมที่เป็นทุกข์อย่างแท้จริง เป็นสภาวธรรมที่ไม่ดี ปราศจากความน่ายินดี เป็นสภาวธรรมที่น่ารังเกียจอย่างแท้จริง สมดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ การเกิดก็เป็นทุกข์ การแก่ชราก็เป็นทุกข์ การตายก็เป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2021, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ ๗ อย่าง

๑. ทุกขทุกขะ
หมายถึง ความทุกข์กายต่างๆนานามีความเจ็บปวดอวัยวะต่างๆเป็นต้น และความทุกข์ใจต่างๆนานามีความโศกเศร้าเสียใจ ความไม่สบายใจเป็นต้น อนึ่ง ทุกขทุกขะนี้ เป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ เป็นสภาวะที่ไม่ดีอย่างที่สุด เพราะไม่เที่ยงและทนอยู่ไม่ได้ในขณะที่เกิดขึ้น

๒. วิปริณามทุกข์ หมายถึงสุขเวทนาประการต่างไที่เป็นความสุขทั้งทางกายและใจ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ดีใจ สุขใจ เป็นต้น ก็วิปริณามทุกข์นี้เป็นสภาวธรรมที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความเหนื่อยล้า หมายความว่า ในขณะที่วิปริณามทุกข์นี้เกิดขึ้นอยู่นั้น จะปรากฏเหมือนมีความยินดี แต่เมื่อวิปริณามทุกข์นี้หายไป ก็จะรู้สึกเป็นทุกข์ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ก็ว่าสุขหรือที่เรียกว่าวิปริณามทุกข์นี้ ถ้าเกิดขึ้นโดยกำลังไม่พอ เมื่อดับไปก็จะทำให้บุคคลได้รับทุกข์ไม่มาก เหมือนกับบุคคลตกจากที่ซึ่งไม่สูงนัก ก็จะทำให้เจ็บไม่มาก ฉะนั้น แต่ถ้าความสุขนี้หรือวิปริณามทุกข์นี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เมื่อแปรสภาพเปลี่ยนไป ก็จะทำให้บุคคลหรือโยคีได้รับทุกข์อย่างรุนแรง เช่นกัน จนกระทั่งตายไปในที่สุด

เพราะฉะนั้นความทุกข์นี้สามารถที่จะทำให้บุคคลเกิดความบ้าคลั่ง กระทั่งถึงตายก็มีได้ ก็สุขเวทนากล่าวคือความสุขทั้งหมดทั้งปวงนั้น ย่อมมีลักษณะเป็นวิปริณามทุกข์ทั้งสิ้น คือ ในขณะที่เกิดขึ้นก็จะรู้สึก มีความสุข แต่เมื่ความสุขนั้นแปรสภาพหรือไม่มีแล้ว ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ความเหนื่อยล้าแทน เช่นในตอนที่บุคคลผู้อันเป็นที่รักหรือสิ่งของอันเป็นที่รักของเรา มีความเปลี่ยนแปลงสูญหายไป เราก็จะรู้สึกเป็นทุกข์ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มีความเมื่อยล้า แต่เมื่อบุคคลได้สิ่งที่ต้องการสมประสงค์อย่างสมบูรณ์แล้ว ก็จะเกิดความสุขที่เรียกว่าสุขเวทนานั่นเอง เพราฉะนั้น สุขเวทนาดังกล่าว จึงเปรียบเสมือนนางยักษ์ที่ตอยหลอกหลอนประเล้าประโลมด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่งทำให้คนหลงเข้าไปแล้วเกิดความบ้าคลั่งได้ แต่เมื่อใดที่โยคีรู้ความจริงว่า ความสุขนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่ารังเกียจเหมือนกับนางยักษ์ โยคีนั้นก็จะสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงซึ่งเรียกว่าสุขเวทนาดังกล่าวว่านี่คือวิปริณามทุกข์ ซึ่งเป็นทุกข์ชนิดหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2021, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สังขารทุกข์

สังขารทุกข์ หมายถึง กลุ่มรูปนามที่เป็นโลกียธรรมทั้งหลายที่เหลือรวมทั้งอุเบกขาเวทนาด้วย ยกเว้นตัณหาคือความอยากทั้งหมดนี้เรียกว่า"สังขารทุกข์"เพราะมีสภาพเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ทุกข์นี้แผ่ซ่านไแในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นทุกขสัจทั้งหมดทั้งปวง แม้แต่สุขเวทนา และทุกขเวทนาก็ไม่พ้นจากคำว่าสังขารทุกข์ เพราะฉะนั้นในสฬายตนวรรคเวทนาสังยุต(๔๑๗) พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว่ว่า[/size]
โค้ด:
ตํ โข ปเนตํ ภิกฺขุ มยา สงฺขารานํเยว อนิจฺจตํ สนฺธาย ภาสิตํ ยํ กิญฺจิ เวทยิตํ ตํ ทุกฺขมินฺติ.

[size=150]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเสวยหรือเวทนาทั้งหมดทั้งปวงใดมีอยู่ การเสวยหรือเวทนาทั้งหมดทั้งปวงนั้น ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ก็ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเช่นนั้น ทรงหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง จึงได้ตรัสว่า"เวทนาทุกอย่างจัดอยู่ในทุกข์"

อนึ่ง ในส่วนของสุขเวทนานั้น ได้ชื่อว่าเป็นทุกข์ที่ยิ่งกว่าทุกข์สามัญหรือสังขารทุกข์ทั่วไป เพราะฉะนั้น เมื่อสุขเวทนานั้นหายไป สิ่งที่ตามมาก็คือทุกข์ที่ยิ่งกว่าปกติทุกข์ทั่วไป เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ความจริงว่าสุขเวทนานี้มีสภาพที่น่ากลัว น่ารังเกียจกว่าสังขารทุกข์ทั่วไป ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องของทุกข์ดีขึ้น สำหรับทุกขเวทนานั้นนั้นยิ่งน่ากลัวน่ากลัวน่ารังเกียจกว่าสังขารทุกข์และวิปริณามทุกข์เสียอีก เพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นและให้ทุกข์ในทันทีทันใด เป็นความทุกข์ที่ยิ่งกว่าความทุกข์ใด และเป็นความทุกข์หยาบที่สุดๆ

เพราะฉะนั้น พระอัฏฐกถาจารย์จึงได้แยกเอาทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวมาแสดงต่างหากจากสังขารทุกข์ ภายใต้ชื่อว่าวิปริณามทุกข์และทุกขทุกข์ ก็การที่มนุษย์เรามีความยินดีต่ออารมณ์วัตถุทั้งภายในกายและภายนอกกายได้นั้น ก็ด้วยอำนาจของการคิดผิดหรือมิจทิฏฐิที่ว่า "รูปนามสังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืนนั่นเอง" แต่เมื่อใดโยคีสามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงต่างก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ขาดสาย มีสภาวะที่ปรุงแต่งอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้โยคีผู้นั้นไม่คิดผิดว่า"เที่ยง เป็นสุข เป็นของดี" แต่กลับเข้าใจตามความเป็นจริงได้ว่า "เป็นสิ่งที่น่ากบัว น่ารังเกียจ" เพราะฉะนั้น โยคีผู้นั้นก็จะไม่เกิดความคลั่งไคล้หลงไหลยินดีในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นอีก ด้วยเหตุนี้ โยคีจำเป็นต้องรู้อย่างแจ่มแจ้งอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับสังขารทุกข์เหล่านี้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิปัสสนาและเข้าใจในทุกขสัจเป็นอย่างดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2021, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ปฏิจฉันนทุกข์หรืออปากฏทุกข์

ปฏิจฉันนทุกข์หรืออปากฏทุข์ หมายถึงทุกข์ที่ไม่สามารถให้บุคคลภายนอกรู้เห็น ซึ่งเกี่ยวกับทุกข์เหล่านี้ พึงทราบว่าบุคคลผู้รับทุกข์หรือเสวยทุกข์ไม่ว่าจะเป็นทุกข์กาย เช่นการปวด ศีรษะ ปวดหู ปวดตา ปวดฟันเป็นต้น หรือความทุกข์ทางใจ เช่นความเดือดร้อนใจเพราะราคะ ความเดือดร้อนใจเพราะโทสั ความเครียด ความไม่สบายใจเพราะกิเลสทั้งหลาย ความทุกข์ใจต่างๆนานา ความเสียใจต่างๆนานาเหล่านี้ ถ้าบุคคลไม่พูดให้บุคคลอื่นฟัง ก็ไม่มีใครรู้ ผู้อื่นจะรู้ก็ต่อเมื่อผู้เสวยทุกข์นั้นพูดให้ฟังเท่านั้น เพราะฉะนั้น ทุกข์ดังกล่าวจึงเรียกว่า ปฏิจฉันนทุกข์ ซึ่งแปลว่า"ทุกข์แฝงถูกปกปิดไว้" บางครั้งก็เรียกว่า อปากฏทุกข์ หมายถึงทุกข์ที่ไม่ปรากฏ ซึ่งเป็นทุกข์ลำดับที่ ๔

๕. อปฏิจฉันนทุกข์ หรือ ปากฏทุกข์ สำหรับทุกข์ที่ ๕ ที่เรียกว่า อปฏิจฉันนทึกข์นี้ หมายถึง ทุกข์ที่เปิดเผย ไม่ปิดบัง เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดจากเครื่องมือต่างๆมีไม้ มีด หอกเป็นต้น เป็นทุกข์เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเป็นแผลเป็นต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องบอกให้ใครรู้ก็สามารถมองเห็นได้ บางครั้งเรียกทุกข์เช่นนี้ว่า ปากฏทุกข์ คือ ทุกข์ที่ปรากฏ เป็นทุกข์ที่ไม่สามารถปกปิดได้

๖. นิปปริยายทุกข์ ทุกข์โดยตรงซึ่งก็คือ ทุกขเวทนานั่นเอง หมายถึง ความทุกข์กล่าวคือความเจ็บปวดที่มีอยู่จริงอย่างตรงไปตรงมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2021, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗.ปริยายทุกข์ ทุกข์โดยอ้อม ได้แก่ ชาติทุกข์เป็นต้นที่เหลือจากทุกข์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หมายความว่า เป็นทุกข์โดยอ้อม แม้ว่าตัวชาติเป็นต้นนั้นจะไม่มีลักษณะความเป็นเวทนาอยู่โดยตรง แต่เนื่องจากเป็นเหตุหรือเป็นปนิยายต่างๆนานาให้เกิดทุกขเวทนาทั้งกายและใจ เพราะฉะนั้น ชาติ ชรา มรณะ จึงเรียกว่าทุกข์ โดยการณูปจาระ ในฐานะทำให้เกิดทุกข์ เรียกง่ายๆว่า ทุกข์โดยอ้อม

อนึ่ง ทุกข์ทั้ง ๗ อย่างได้กล่าวมาข้างต้นนี้ พึงทราบว่า ชาติ ชรา มรณะ ที่กล่าวไปแล้วนั้นได้ชื่อว่า "ทุกขสัจ" เพราะจัดอยู่ในปริยายทุกข์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุกข์ทั้ง ๗

ความเศร้าโศกเสียใจต่อเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียญาติมิตร สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง การถูกโจรภัยเบียดเบียน การได้รับโทษภัยต่างๆ เช่น ความทุศีล การสูญเสียความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งเรียกธรรมเหล่านี้ว่าพยสนะ ๕ ประการ ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการถูกผู้อื่นเบียดเบียน และเกิดจากการถูกจองจำ เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ต่างๆนานา ความเศร้าเสียใจที่เกิดเพราะการจิตนาการกลัวต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ดี ความเศร้าโศกเสียใจความเดือดร้อนใจ ตวามกลัวเหล่านี้เรียกว่า โสกะ ส่วน ปริเทวะ เป็นความร้องให้คร่ำครวญที่เกิดจากความเศร้าโศกที่รุนแรงนั้น อุปายาสหรืออุปายาสะ ก็คือ โทสะ ที่เผาไหม้จนแทบจะไม่สามารถทนได้ แทบจะทำให้ผู้นั้นร้องให้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2021, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าทุกข์หมายถึงทางกายทั้งหมดทั้งปวงคำว่า โทมนัสก็คือความไม่สบายใจทั่วๆไป ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๓ ประการ คือ โทสะ ทุกขะ และโทมนัส ได้ชื่อว่าเป็นทุกขสัจเพราะจัดเป็นทุกขทุกขะ และเพราะก่อให้เกิดหรือส่งเสริมให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจทั้งหลายในภายหลังๆ

ส่วนปริเทวะ และอุปายาสะ ๒ ประการนี้ ได้ชื่อว่าทุกขสัจ เพราะเป็นปริยายทุกข์ ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งกายทั้งใจได้ ก็ภาวะ ๓ ประการ คือ การได้เผชิญหน้ากับอารมณ์และวัตถุหรือบุคคลที่ไม่ชอบ ก็ดี การพลัดพรากจากบุคคล อารมณ์และวัตถุอันเป็นที่รัก ก็ดี ความปรารถนาใฝ่ฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ เห็นไม่ได้ ก็ดี เรียกว่าทุกขสัจเช่นกัน เพราะก่อให้เกิดทุกข์ทั้งกายและใจต่างๆนานา

บุคคลผู้ไม่ได้กำหนดในขณะที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น ย่อมเกิดความยึดมั่น ถือมันด้วยอำนาจของตัณหามานะทิฏฐิ ในรูปของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แรากฏในขณะนั้นๆได้ ซึ่งลักษณะของการยึดมั่นุอมั่นที่ว่านี้ได้แสดงไปแล้วในปริเฉทที่ ๓ ตอนว่าด้วยเรื่องภัทเทกรัตตสูตร เพราะสาเหตุที่ไม่ได้ทำการกำหนดก่อให้เกิดความยึดมั่นนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ตราบใดที่มีอุปาทานขันธ์นี้อยู่ ทุกข์ ๑๑ ประการ มีชาติทุกข์เป็นต้น ก็จะเกิดอยู่ร่ำไปแต่ถ้าเมื่อใเไม่มีอุปาทานขันธ์แล้วทุกข์ดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

โดยสรุปก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ที่ปร่กฏอยู่ในขณะที่เห็นและได้ยินเป็นต้นนั่นแหละ เรียกว่าทุกขสัจ เพราะเป็นสังขารทุกข์ที่มีการเกิดแล้วก็ดับไปไม่มีความเที่ยงแท่เพราะเป็นที่ตั้งของทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้นด้วยจึงจัดเป็นธรรมที่นำมาด้วยทุกข์ เป็นธรรมที่ไม่ดี เป็นธรรมที่ไม่น่ารักน่าใคร่ เป็นธรรมที่น่ารังเกียจ เป็นธรรมที่น่ากลัวอย่างแท้จริง ดังนั้น พระพุทธองค์จึงได้ตรัสสรุปอุปาทานขันธ์นั้นไว้ดังนี้ว่า

สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา

สรุปแล้วอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแหละ คือ ตัวทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร