วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2021, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20200408_090513.jpg
20200408_090513.jpg [ 79.11 KiB | เปิดดู 1203 ครั้ง ]
กิเลสที่ต้องละ

อาจมีผู้สงสัย ที่ว่าอนิจจานุปัสสนา สามารถขจัดสัญญาได้นั้น หมายถึง นิจจสัญญาไหน
ที่เป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบันกันแน่ ดังนั้นเพื่อบรรเทาความสงสัยจึงใคร่ขอชี้แจงไว้
ณ โอกาสนี้เลย ธรรมดาว่ากิเลสที่เป็นอดีตนั้นเป็นกิเลสที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และก็ดับไปแล้ว
จึงไม่จำเป็นที่ต้องไปละกิเลสที่เป็นอดีต ส่วนกิเลสที่เป็นอนาคต คือกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นใน
ขณะที่กำลังเจริญวิปัสสนา แต่อาจเกิดขึ้นได้ในกาลข้างหน้า เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็น
ต้องไปละกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น และบางท่านอาจสงสัยว่าการเจริญวิปัสสนานั้น จิตใจล้วนแต่
เป็นกุศล กิเลสต่างๆไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้น กิเลสที่เป็นปัจจุบันก็ไม่จำเป็นต้องละ
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จะละกิเลส อย่างไรหรือ ?

ตอบว่า "ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้น ถ้าเกิดมิได้กำหนดรู้แจ้งนามรูป สังขารที่ปรากฏในทวาร
ทั้ง ๖ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แล้ว ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อมเพรียง กิเลสทั้งหลายที่เป็นตัวสำคัญผิดคิด
ว่าสังขารเหล่านั้นเป็นของเที่ยงแท้ ก็สามารถผุดเกิดขึ้นมาได้ กิเลสที่ผุดเกิดขึ้นมานี้แหละ คือ
กิเลสที่ต้องละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2021, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6249999_orig.gif
6249999_orig.gif [ 74.87 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
อารัมมณานุสัย
อนุสัย คือกิเลสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัย ก็กิเลสประเภทนี้มิใช่ เป็นอดีต คือกิเลส
ที่มิไช่กิเลสที่ล่วงเลยผ่านไปแล้ว มิใช่เป็นอนาคต คือมิใช่กิเลสที่จะต้องเกิดโดยแน่นอน และมิใช่
ปัจจุบัน คือมิใช่กิเลสที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันแต่แท้ที่จริงแล้วเป็นกิเลส ที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ เรียกว่า
กาลวิมุต มี ๒ ประเภท คือ

๑. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน
๒. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์

บรรดาทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า กิเลสอาจเกิดขึ้นในจิตสันดานของปุถุชนและเสขบุคคลเมื่อไหร่
ก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อม เพราะเป็นกิเลสยังละไม่ได้เด็ดขาดด้วยอริยมรรค ท่านเรียกกิเลสชนิดนี้ว่า
สันตานุสัย เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในสันดาน จะแสดงตัวก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัยกระตุ้น ส่วน
ประเภทที่สอง คือประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ได้แก่ กิเลสที่อาจเกิดขึ้นในอารมณ์ของปุถุชน
และพระเสขบุคคลอันเป็นอารมณ์ที่ถือเอาโดยผิดเพี้ยนแตกต่างจากไตรลักษณ์โดยอาจเกิดขึ้น
เมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อเพรียงโดยจะเกิดขึ้นในลักษณะที่พิจารณาเป็นของเที่ยง เป็น
ของมีสุข เป็นของมีตัวตน กิเลสที่ว่านี้ท่านเรียกว่าอารัมมณานุสัย เป็นกิเลสที่หลบซ่อนอยู่ใน
อารมณ์ซึ่งมีจิตทิได้กำหนดด้วยวิปัสสนาและบางทีก็เรียกกิเลสชนิดนี้ว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันน
กิเลส หมายถึง กิเลสที่เกิดขึ้นโดยยึดมั่นในอารมณ์

อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนานั้นจะละได้เฉพาะอารัมมณานุสัยกิเลสเท่านั้น ดังมีคำสาธกหลักฐาน
จากพระบาลีว่า
โค้ด:
สตฺตานุสยา กามราคานุสโย  ปฏิฆานุสโย มานนุสโย, ทิฏฺฐานุสโย วิจิกิจฺฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชฺชานุสโย  ยํ  โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺถสตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ  ยํ โลเก อปฺปิยรูปํ อสาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา. ตเทกฏฺโฐ มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา.
(อถิ.วิ.๓๕/๘๑๖/๔๑๕)

อนุสำกัสสมี ๗ สื่อกากมจาคานุสัย ความยินดีในกามารมณ์มเ ปฏิฆานุสัย
ความขัดเคืองอารมณ์ มานานุสัย ความเย่อหยั่งถือต่ ติบฐาสัย ความเห็นผิด
วิจิกิจฉานุสัย ความลังสลังสีย การาคานุสัย คามยินดีในกพ อวิชชานุสัย
ความงมงาย ปิยรูป กล่าวคือสการะอันนำาจักใคร่ สาตรูป กสาวคือสภาวะ
อันน่าเพลิดเพลินโตๆ มียยู่ในสังชารไลก ราคานุสับ (ทมายถึงทั้งกามราคานุสัย
และภวราคานุสัย)ของเหล่าสตร์ย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูปลาตรูปเหล่านี้ อัปปิยรูป
กล่าวลือสกาละดันน่าจังเกียจ อสาตรูป กล่าวคือสกาวะกันน่าเบื่อหน่ายใดๆ มีอยู่
ในลังชาร์โลก บฏิมานุสัยองค์อรรมได้แก้ใหละ )ของเหล่าสัตว์ย่อมนอนเนื่องอยู่ใน
อัปปิยรูปลาครูปเหล่ านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อวิทชานุสัยก็ตกไปซ่อนอยู่ในธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ รวมทั้งมานะ ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา ซึ่งเป็นกิเลลที่ประกอบในจิตดวงเดียวกัน
กับอ วิถชานั้น ก็นอนเนื่องอยู่ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pra+ram.png
pra+ram.png [ 244.28 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
อธิบายว่า อารมณ์ดยธรรมชาติ ท่านเยกว่าสภาวอิฏฐารมณ์ คือเป็น
อารมณ์ที่น่ายินดี น่าพึ่งพอใจของผู้คนปกติโดยทั่วๆไป เช่น รูปงาม เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม ดังนี้เป็นต้น แต่ก็มีบางอารมณ์ เช่น จำพวกที่เป็นสิ่งปฏิกูล อุจจาระ
ซากศพ เป็นต้น ซึ่งเป็นอารมณ์ที่คคลปกติทั่วไปไม่พึ่งใจปรารถนา แต่สำหรับ
สัตว์บางชนิด เช่น สุนัข สุกร หรือนกแร้งเป็นต้น ย่อมพึ่งพอใจในอารมณ์
เหล่านั้นด้วยอำนาจแห่งจินตนาการ ของตนซึ่งอารมณ์ชนิดนี้ท่านเรียกว่า ปริกัปป-
อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์นี้โดยปกติแล้ว เป็นที่น่ารังเกียงของผู้คนทั่วๆไป แต่สำหรับ
บางคน เห็นว่าเป็นของดี น่าพึ่งพอใจ นั่นเป็นเพราะอาศัยเพียงความนึกคิดของคน

อนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสภาวอิฏฐารมณ์ หรือปริกัปปอิฎฐารมณ์ก็ล้วนแต่
จัดเป็น ปิยรูปสาตรูป ทั้งนั้น และในอิฏฐารมณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นธรรมฝ่ายโลกิยะ
นั่นแหละยังมีกามราคานุสัยและภวราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

โดยทำนองเดียวกันนี้ แม้ฝ้ายอนิฎฐารมณ์ก็แบ่งเป็น ๒ เช่นกัน คือ สภาว-
อนิฏฐารมณ์ และ ปริกัปปอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจโดยธรรมชาติ
เรียกว่า สภาวนิฏฐารมณ์ ส่วนปริกัปปอนิฏฐารมณ์หมายถึงอารมณ์ที่โดยปกติ
แล้วเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจ แต่เป็นเพราะบุคคลบางคนไม่ต้องการหรือไม่ถูกจริต
กับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็เลยกลายเป็นอนิฏฐารมณ์สำหรับผู้นั้นไป เช่น ในกรณี
ของพระรัตนตรัยโดยปกติ แล้วพระรัตนตรัยเป็น อติอิฏฐารมณ์ โดยธรรมชาติ
เพราะเป็นอารมณ์ที่ดีไม่มีโทษหรือข้อเสียใดๆ แต่สำหรับพวกเดียรถีย์นอก
ศาสนาแล้ว ส่วนมากจะมองเห็นเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะฉะนั้น แม้แต่พระรัตนตรัย
ก็สามารถเป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ได้เช่นกัน อนิฎฐารมณ์ทั้งสองนี้ ท่านจัดเป็น
อัปปิยรูป อสาตรูป เป็นธรรมฝ้ายโลกิยะ โดยมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อนึ่งในทุกๆขณะที่ราคะนอนเนื่องอยู่ในอิฎฐารมณ์และโทสะ(ปฏิฆะ)นอนเนื่อง
อยู่ในอนิฎฐารมณ์นั้นจะมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ด้วยเสมอ เมื่อมีอวิชชานุสัย
นอนเนื่องอยู่ อนุสัยอื่นๆที่ประกอบในจิตดวงเดียวกัน เช่น มานะ ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา
ก็เป็นอันแอบช่อนนอนเนื่องอยู่ด้วยเหมือนกัน ที่ว่า "แอบซ่อน" หรือ "นอนเนื่อง"
นี้มิได้หมายความว่าเป็นการแอบซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งแต่อย่างใด แท้จริงแล้วเป็น
การมุ่งถึงความที่กิเลสเหล่านั้นมีความพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อตามอำนาจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ไมยราพ+copy.png
ไมยราพ+copy.png [ 311.08 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
ของอารมณ์ เมื่อประจวบเหมาะกับเหตุปัจจัย เพราะยังละไม่ได้ด้วยวิปัสสนาญาณ
และมรรคญาณ ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า

อตุถ สตุตานํ ราคานุสโย อนุเสตีติ เอตสุมี อิฎจารมุมเณ สดุตา
อปุปทีนฏฺเฐน ราคานุสโย อนุเสติ.

(อภิ.อฎ. ๒/๔๙๕-๖)

ข้อที่ว่า ราคานุสัยของเหล่าสัตว์ย่อมแอบซ่อนในปียรูปสาตรูปเหล่านี้ นั้น
หมายถึง ราคานุสัยของเหล่าสัตว์ย่อมแอบซ่อนในอิฏฐารมณ์เหล่านี้ เพราะยังไม่
สามารถละได้ด้วยวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ

ในวิภังคมูลฎีกา ท่านอธิบายไว้ว่า

อารมุมณสนุตานานุสยเนสุ อิฎซารมุมเณ อารมุมณานุสยเนน อนุเสดิ.
(มูลฎี. ๒/๒๓๐)

ในบรรดาอารัมมณานุสัยและสันตานานุสัย ราคะ ชื่อว่า ย่อมแอบซ่อนใน
อิฏฐารณ์ ด้วยอำนาจของอารัมมณานุสัย

และในอนุฎีกาแห่งวิภังคมูลฎีกา ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า

อารมุมณสนุตานานุสยเนสูติ อารมมณานุสยนํ สนุตานานุสยนนฺติ ทุวีสุ
อนุสยเนสุ. ยถา หิ มคุเคน อสมุจุฉินฺโน ราโค การณลาเภ อุปฺปขุขนารโห่
ถามคตฎเชน สนุตาเน อนุเสตีติ วุจุจติ, เอวิ อิฎธารมุมณมุปิติ ตสุส
อารมุมณานุสยนํ ทฎฐพุพ.

(อนุฎี. ๒/๒๒๔)

ข้อที่ว่าในบรรดาอารัมมณานุสัยและสันตานานุสัย คือในบรรดาอนุสัย
อย่างซึ่งได้แก่อารัมมณานุสัย และ สันตานานุสัย พึงทราบการนอนเนื่องอยู่
ในอารมณ์ของราคะดังนี้ว่า ราคะที่บุคคลยังละไม่ได้เด็ดขาดด้วยอริยมรรค
เมื่อประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้นั้น ท่านกล่าวว่า
ย่อมแอบซ่อนในสันดาน เพราะได้พละกำลังพอที่จะสามารถเกิดขึ้นฉันใด ราคะ
ที่บุคคลยังละไม่ได้เด็ดขาดด้วยวิปัสสนาและอริยมรรคซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ ท่านเรียกว่า ย่อมนอนเนื่องแม้ในอิฏฐารมณ์
เพราะอรรถว่าได้พละกำลังพอที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




bangary.gif
bangary.gif [ 25.79 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
ตามข้อความที่ยกมานี้ แสดงให้เห็นว่า การแอบซ่อนหรือการนอนเนื่อง
ของกิเลสในอารมณ์นั้นๆ ท่านหมายเอาการเกิดขึ้นของกิเดสในทุกๆอารมณ์ที่
วิปัสสนาญาณและมรรคญาณยังไม่แทงตลอด โดยเรียกอนุสัยกิเลส ที่นอนเนื่อง
อยู่ในอารมณ์ดังกล่าวว่า อารัมมณานุสัย

สุขาย ภิถุขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาตพุโพ ทุกขาย เวทนาย ปฏิฆานุสโย
ปหาตพุโพ, อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุตโย ปทาตพุโพ.

(สํ. สพิา. ๑๘/๒๕๗/๐๘๔)

ภิกษุทั้งหลาย (ภิกษุ)จะต้องประหาณราคานุสัยในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยใน
ทุกขเวทนา และอวิชชานุสัยในอุเบกขาเวทนา
พระบาลีที่ยกมานี้ ได้กล่าวถึงการละอนุสัย แต่มิได้ระบุว่าอนุสัยประเภทใด
ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ท่านจึงได้ขยายต่อไปอีกว่า

อิมสุมี สุตฺเต อารมุมณานุตโย กถิโต - ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัส
หมายเอา อารัมมณานุสัย
อารัมมณานุสัยนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันนะ
(กิเลสที่เกิดขึ้นเพราะยึดมั่นในอารมณ์) ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
จกฺขาทีนํ ปน อาปาถคเต อารมุมเณ, ปุพพภาเค อนุปฺปชฺชมานมฺปิ
กิเลสชาตํ อารมุมณสุส อธิคคหิตตฺตา เอว อปรภาเค เอกนฺเตน อุปปตฺติโต.
อารมุมณาธิคุคหิตุปฺปนฺนนฺติ วุจุจติ.

(วิสุทธิ, ๒/๓๗๓-๔)
เมื่ออารมณ์มาปรากฏในคลองแห่งจักษุเป็นต้น กิเลสชาติแม้ยังไม่เคยเกิดขึ้น
ในระยะก่อนหน้านี้ ท่านก็เรียกว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันนะ เพราะเป็นกิเลสที่
จะต้องเกิดขึ้นในกาลภายหลังอย่างแน่นอน สาเหตุเพราะเนื่องมาจากอารมณ์ได้ถูก
ยึดมั่นไว้เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

อธิบายว่า ในเวลาที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส
หรือสิ่งสัมผัส ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งฝ่ายที่น่าพึงพอใจหรือไม่น่าพึงพอใจมาปรากฏ คือ
มากระทบกับประสาทตา หู จมูก ลิ้นเข้า ในขณะนั้น กิเลสต่างๆ เช่น โลภะ โทสะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6977461526.png
6977461526.png [ 145.46 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
โมหะ ก็จะเกิดขึ้นตามสมควร คือหมายความว่าที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็มี ที่ไม่เกิดขึ้น
ก็มี และกิเลสที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้อีกในภาคหน้า ซึ่งถือว่า
เป็นประเด็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สำหรับกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งอาจจะด้วย
สาเหตุ เช่น มี โยนิโสมนสิการ หรือสาเหตุใดก็ตาม ที่ทำให้กิเลสบางอย่าง
ไม่สามารถเกิดขี้นได้ เมื่อกิเลสเหล่านั้นไม่สามราถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น ครั้นเวลา
ผ่านพ้นไปแล้ว(คืออารมณ์นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว)กิเลสดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้หรือไม่?
คำตอบก็คือ ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ขอให้มีเหตุปัจจัย เช่น การหวนคิดถึง
อารมณ์เก่า การใด้เห็นอารมณ์ที่คลำเกับอารมณ์เก่านั้น การได้เห็นอารมณ์ที่มี
ลักษณะตรงกับช้ามกับอารมณ์เกำานั้นการที่ถูบุคคมกันช้คืนให้ระดีกถึงอารมณ์
เก่านั้นดังนี้เป็นต้นช่วยกระตุ้นเป็นการเกิดขึ้นในสักษณะที่เกี่ยวเนืองกับอารมณ์เก่า
ที่ตนเคยยึดติดมาซึงพอจะสรุปใด้ว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะความยึคตัดในอารมณ์
นั้นนั่นเอง ดังนั้น กิเลสที่เตรียมพร้อมเพื่อที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ในรูปลักษณะ
ดังทำกล่าวนี้ ท่านเรียกว่า อารัมมณาธิคดหิตุปปินนะ และในตำว่า อารมมฺมณสฺส
อธิคฺคหิคตฺตา เอว นี้มีเอวศัพท์ซึ่งเป็นศัพห์นิบาตที่คอยเนั้นว่า จะต้องเป็นเพาะ
สาเหตุที่ยึดคิดในอารมณ์เท่านั้นก็เลสถึงจะเกิดขึ้นไส้ ไกไม่เช่นนั้นไไม่เกิดชื่น

กล่าวถึงการละกิเลสด้วยวิบิสสนาญาณและอรียมรรคญาณทั้งสองนี้ สำหรับ
การละโดยเด็ดขาดของพระ อริยะด้วยอรียมาาคย่อมชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนการละ
ตัวยวิปัสสนาญาณนั้น หลายห่านลาจเกิอความสงสัยได้ว่า วิปีสสนาละกิเลส
ได้โดยวิธีใด ด้วยเหตุนี้จึงใคร่ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นนี้สักเล็กน้อย คือในซณะที่
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่ผ่านเช้มาทางหวาร (ที่เรีอกว่าประสาหมีดาทูจมูก เป็นต้น)
บุคคลสามารถกำหนดอารมณ์สั่งกล่าวให้เต้นเป็นไตรสักษณ์ใด้ ไม่ว่าจะเป็นใน
ขณะที่อารมณ์กำลังปราญฏอยู่ หรืออารมณ์นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แค่ทวนคิดถึง
อารมณ์นั้นอีกก็คาม กิเลลความยึคมั่นถือมัน ย่อมไม่สามารถเกิคขึ้นแก่ผู้นั้นได้
ก็เพราะการที่เลสต่างๆ ไม่สามารถกิดขึ้นได้นื่เอง ท่านจึงกล่าวว่า "กิเลสไม่
นอนเนืองในอารมณ์สีคำหนด" หรืออาวัมมณานุสัย ที่เขียกกันว่าอารัมมณาธิค-
คหิตุปปันนะ ที่ดับแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




97605118222.png
97605118222.png [ 192.47 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
อนึ่งเมื่ออรัมณานุสัยดับ ปริยุฏฐานกิเลสและวีติกกมกิเลสที่เกิดจาก
อนุสัยนั้น ก็ชื่อว่าดับไปพร้อมกับกุศลกรรม อกุศลกรรม และวิบากทั้งหลาย
ความดับของกิเลสเหล่านี้สำเร็จได้เพราะมีวิปัสสนาญาณที่รู้อารมณ์ตามความ
เป็นจริงเป็นตัวการ เท่ากับว่าเป็นการละด้วยวิปัสสนาญาณนั่นเอง ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า

อนิจุจานุปสุสนา ตาว ตทงฺคปุปหานวเสน นิจุจสญฺญํ ปริจุจชติ, ปริจฺจชนฺติ
จ ตถา อปุปวตุติยํ เย "นิจฺจนฺ"ติ คหณวเสน กิเลสา, ตมมูลกา อภิสงขารา,
ตทุภยมูลกา จ วิปากา ขนุธา, อนาคเต อุปปซฺเชยยุํ, เต สพุเพปิ อปุปวตฺติ-
กรณวเสน ปริจุจชติ, ตถา ทุกขาสญฺญาทโย. เตนาท "วิปสุสนา ทิ ตทงฺควเสน
สทฺธิ ขนุธาภิสงขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ."

(วิสุทธิ.ฎี. ๑/๔๐l๒)

ในลำดับแรก อนิจจานุปัสสนาย่อมละนิจจสัญญาด้วยอำนาจของตทั้งค-
ประหาณ เมื่อละนิจจสัญญาได้ ย่อมชื่อว่าสามารถละธรรมอื่นแม้ทั้งปวงได้ด้วย
การป้องกัน มิให้เกิดขึ้นเช่นกัน ธรรมทั้งปวงที่ว่านี้ ได้แก่ กิเลลที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
ความยึดมั่นว่าเที่ยงแท้ อภิสังขาร กล่าวคือกุศลกรรมและอกุศลกรรมซึ่งมีกิเลส
ดังกล่าวเป็นมูล และวิบากขันธ์ในภพใหม่ที่มีทั้งกิเลสและกรรมเป็นมูลซึ่งล้วน
เป็นธรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีการเจริญอนิจจานุปัสสนาตามอาการที่กล่าว
มาแล้วข้างตัน สำหรับทุกขานุปัสสนาเป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้ ดังนั้น
พระอรรถกถาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "วิปัสสนาย่อมละกิเลสพร้อมด้วยวิบากขันธ์
และอภิสังขารได้ด้วยตทังคปหาณ"

อธิบายว่า ถ้าหากไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฎทางทวาร ๖ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่
เที่ยงแท้เสียแล้ว กิเลสที่ยึดมั่นในอารมณ์นั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะเหตุที่มี
โอกาสเกิดขึ้นอย่างนี้ กิเลสจึงชื่อว่า นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น และเพราะ
กิเลสนอนเนื่องอยู่อย่างนี้จึงทำให้เกิดการพิจารณาอารมณ์นั้นว่าเป็นสิ่งเที่ยงแท้ใน
กาลภายหลังได้อีกถ้ามีเหตุปัจจัย การนึกคิดพิจารณาอย่างนี้ เป็น ปริยุฏฐานกิเลศ
โดยแท้ และเมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมเพรียงอีกก็จะทำให้เกิดความพยายามเพื่อที่จะ
ได้อารมณ์นั้นมาเพื่อที่จะส่งเสริมอารมณ์นั้นให้ดีหรือเพื่อที่จะทำลายอารมณ์นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




สามเณร-png-.png
สามเณร-png-.png [ 191.4 KiB | เปิดดู 474 ครั้ง ]
ความพยายามอย่างนี้จัดเป็นอภิสังขาร ซึ่งมีกิเลสดังกล่าวเป็นมูลเหตุ(เกิดต่อจาก
กิเลสที่สำคัญอารมณ์ ว่าเป็นของเที่ยง) และเพราะอภิสังขารนี้เองที่จะทำให้
วิบากขันธ์อันได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นต้นเกิดขึ้นในภพต่อๆไป ในเวลาอันสมควร
(กล่าวคือเวลาที่มีเหตุปัจจัยพร้อม) อนึ่ง วิบากขันธ์นี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
มีกรรมซึ่งเรียกกันว่า อภิสังขาร เป็นเหตุเท่านั้น ส่วนกรรมนั้นเล่า หากไม่มีกิเลส
ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน และแแต่กิเลสเอง ถ้าหากไม่มีช่องโหว่ที่จะให้ยึดมั่น
ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ดังนั้น ถ้ามีการกำหนดรู้อารมณ์ตามสภาพความจริงแล้ว สิ่งทั้งหลายดังกล่าว
ก็ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เลย ทั้งอนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส และวีติกกมกิเลส
(กิเลสที่ทำการล่วงละเมิด)ก็ดับไปด้วย และเมื่อกิเลสต่างๆดับ กรรมกล่าวคือ
อภิสังขาร ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่ออภิสังขารเกิดขึ้นไม่ได้ ผลวิบากของกรรมนั้นก็เป็น
อันมีไม่ได้ในภพใหม่ต่อๆไป ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นความดับที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
อนิจจานุปัสสนาทั้งสิ้นดังนั้นพระอรรถกถาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า"อนิจจานุปัสสนา
ย่อมละกิเลส กรรม และผลวิบากทั้งหลายเหล่านั้น"

อนึ่ง พึงทราบว่า ทุกขานุปัสสนาและอนัตตานุปัสสนาก็มีการละกิเลสที่
ยึดมั่นว่าเป็นสุข และเป็นอัตตา (ตามลำดับ)โดยทำนองเดียวกันนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร