วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2021, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายหรือสภาวะที่ประเสริฐกล่าวคือ ไม่เปลี่ยนแปลงไม่วิปปริตผิดเพี้ยน เรียกว่า ปรมัตถ์
แปลว่า สภาวะที่ประเสริฐ ที่มีอยู่จริง เราไม่สามารถที่จะกล่าวว่าสภาวะที่ผิดเพี้ยนว่าเป็นสิ่งประเสริฐได้
สภาวธรรม ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงได้ชื่อว่าปรมัตถ์ ในฐานะที่มีอยู่จริงไม่วิปปริตผิดเพี้ยน
โค้ด:
ปรโม อุตฺตโม อตฺตปจฺจกฺโข อตฺโถ ปรมตฺโถ.
(อรรถกถาปัญจปกรณ์)

สภาวะที่ประเสริฐกล่าวคือสภาวะที่โยคีสามารถรู้ประจักรแจ้งด้วยตนเองได้ เรียกว่า ปรมัตถะ หมายถึง
สภาวะที่โยคีสามารถรู้แจ่มแจ้งด้วยญาณของตน

สภาวะต่างๆมีอยู่มากมาย เช่น สภาวะที่รู้จากการได้ยินได้ฟังเป็นต้น ซึ่งสภาวะเหล่านั้นอาจมีอยู่จริง
เป็นจริง หรือผิดเพี้ยนก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจ เรียกสภาวะ ที่ได้ยินได้ฟังเป็นต้นนั้นว่าเป็นปรมัตถะธรรม
ได้ ส่วนสภาวะที่รู้ประจักษ์แจ้งตนเองนั้น ไม่มีคำว่าผิดเพี้ยนมีแต่คำว่าถูกต้องเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จิต เจตสิก
รูป นิพพาน ซึ่งมีสภาวะธรรม ๔ ประการ ที่โยคีรู้ประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ดังนั้น สภาวธรรม ๔ ประการเหล่านั้น
จึงเป็นสภาวที่ประเสริฐสมควรได้เรียกชื่อว่า ปรมัตถธรรม ดังที่ในคัมภีร์อรรถกถาแห่งกถาวัตถุท่านได้กล่าวไว้ว่า
โค้ด:
สจฺจิกตฺโถติ มายา มรีจิอาทโย วิย อภูตากาเรน อคฺคเทตพฺโพ ภูตตฺโถ
ปรมตฺโถติ อนุสฺสวาทิวเสน อคฺคเหตพฺโต อุตฺตมตฺโถ.

(อภิ.อฏ.๓/๑๑๒)
โค้ด:
อตฺตโน ภูตตายเอว สจฺจิกตฺโถ อตฺตปจฺจกฺขตาย จ ปรมตฺโถ, ตํ สนฺธายาห,

(อภิ.อฏ ๓/๑๑๓)

พระกถาวัตถุคาถา
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะ ปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.

(แปล)
(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ (ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง (ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ (ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2021, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าสัจจิกัตถะสภาวะที่มีอยู่จริงหมายความว่า เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง เป็นสภาวะที่โยคีไม่สามารถ
ที่จะถือเอาได้เลยอาการที่ไม่เป็นจริง หรือเป็นสภาวะที่ไม่ถือเอาด้วยภาพลวงตาเหมือนภาพมายากล
พยัพแดด ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เป็นแต่ภาพลวงตา คำว่าปรมัตถ์นั้นหมายถึง
สภาวะที่ประเสริฐเนื่องขาดเป็นสภาวะที่โยคีไม่สามารถถือเอาได้ด้วยการได้ยินได้ฟังต่อจากบุคคลอื่นเป็นต้น

โดยแท้จริงแล้ว สภาวธรรม ๕๗ ประการนั้นเองชื่อว่าเป็นสัจจิกัตถะ สภาวะที่เป็นจริง เนื่องจากว่าสภาพ
ตัวตนของธรรม ๕๗ ประการนั้นมีอยู่อย่างแท้จริง และได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถะ เนื่องจากเป็นสภาวะที่โยคี
สามารถรู้แจ้งประจักษ์ด้วยตัวเองเท่านั้น ก็พระพุทธองค์ทรงหมายเอาสภาวธรรม ๕๗ ประการ คือ
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ นั่นเทียวว่าเป็นสัจจิกัตถะและปรมัตถะ

อนึ่ง ในคัมภึร์อรรถกถานี้พึงทราบว่าองค์ธรรมของสัจจิกัตถะแลัองธรรมของปรมัตถะเป็นสภาวะเดียวกัน
คือ ได้แก่สภาวธรรม ๕๗ ประการ ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น สภาวธรรม ๕๗ ประการนั้น ท่านกล่าวไว้โดยย่อ
ก็มี ๔ ประการเท่านั้น คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่จะยกย่อให้เหลือ ๒ ก็จะได้แก่นามกับรูปเท่านั้น ดังนั้น
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น คือรูปกับนาม เท่านั้น ธรรมดาว่านักมายากล เมื่อจะเสกก้อนอิซ กระดาษ ก้อสหิน
เป็นต้น ให้เป็นเงินเป็นทองหรือเพชร ผู้คนที่มุงดูก็จะมองเห็นเป็นเหมือนกับเงิสทองเพชรนิลจินดาของจริง
ก็สภาวะที่ผู้พบเห็นคิดเป็นเงินเป็นทองเป็นเพชรที่เป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่จริง เป็นสภาวะที่ถือเอาโดวสภาวะ
ที่เป็นจริงไม่ได้ เรียกว่าเป็นทั้ง อภูตัตถะ และอสัจจิกัตถะนั้นเอง นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อน สัตว์ป่า เช่นเนื้อ
เป็นต้นผู้กระหายน้ำ เมื่อวิ่งหาน้ำ ย่อมมองเห็นพยัพแดดแต่ไกล ก็สำคัญว่าพยัพแดดนั้นเป็นน้ำ แต่ความจริงแล้ว
ถ้าเข้าไปใกล้ ก็ไม่มีอะไร ก็ในกาลสำคัญผิดคิดว่าพยัพแดดเป็นน้ำนั้น สภาวะที่ถูกสำคัญผิดคิดว่า
เป็นน้ำได้ชื่อว่าเป็นอภูตัตถะ และอสัจจิกัตถะ เพราะเป็นทั้งสภาวะที่ไม่สามารถถือเดาเอาตามความเป็นจริง
และเป็นสภาวะที่ไม่ได้มีอย่างแท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2021, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โดยทำนองเดียวกัน นามบัญญัติ ก็ดี อัตถบัญญัติมี สตรี บุรุษ มือ เท้า เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
ถือเอาโดยอาการที่มีอยู่จริงได้ ดังนั้น บัญญัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่า อภูตัตถะ และอสัจจิกัตถะ
กล่าวคือเป็นสภาวธรรมไม่ได้มี อยู่จริงทีเดียว แต่สำหรับรูปนามแท้ๆนั้นมิได้มีลักษณะเช่นนั้น มิได้เป็น
สภาวธรรมที่เป็นภาพลวงตา แต่เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง สามารถพิสูจน์ได้ เป็นสภาวะที่ถือเอาได้รู้ได้
ตามที่เกิดขึ้นและดับไปนั่นเอง ดังนั้น รูปนามที่มีสภาวะอยู่จริงนั้นท่านเรียกว่า ภูตัตถะหรือสัจจิกัตถะ

ลักษณะที่มีอยู่จริงของรูปนาม

บุคคลผู้ที่เห็นรูปนามด้วยตา ย่อมรู้ว่าตนเองได้เห็นรูป และย่อมรู้ว่ารูปที่ตนเห็นนั้นมีอยู่
ก็รูปที่รู้ได้เช่นนี้นั้น มิใช่ไม่มีอยู่จริง เหมือนกับมายากลที่ถูกเสกเป็นเงินเป็นทอง หรือเหมือนกับ
พยัพแดดที่มีลักษณะปรากฏให้เหมือนน้ำซึ่งเป็น สภาวะที่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่รูปหรือรูปารมณ์
ที่บุคคลเห็นได้ด้ววตานั้น เป็นสภาวะที่เป็นจริงตามที่บุคคลนั้นรู้เอง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า
หากไม่มีอารมณ์ที่พึงเห็นได้ การเห็นหรือที่ทางพระอภิธรรมเรียกว่าจักขุวิญญาณ ก็ไม่สามารถ
ที่จะเกิดขึ้นได้นั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปหรือรูปารมณ์ที่บุคคลเห็นได้ด้วยตานั้น ท่านจึงเรียกว่า
ภูตัตถะ กล่าวคือ สภาวะที่ปรากฏจริง หรือสัจจิกัตถะ สภาวที่มีอยู่จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2021, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง สัจจิกัตถะนี้ บางครั้งก็เรียกปรมัตถะ กล่าวคือสภาวะที่ประเสริฐคือ มีอย฿โดยไม่ผิดเพี้ยน
หลังจากที่บุคคลเห็นแล้ว ความตรึกนึกคิดวินิจฉัย โดยอาศัยมโนทวาร เพื่อให้เกิดจิตนาการเห็นเป็นรูปร่าง
สัณฐานต่างๆนานาก็จะเกิดขึ้น ทำใหับุคคลเห็นเป็นที่มีทรวดทรงสัณฐานสั้น ทรวดทรงสัณฐานกลม
แบน สี่เหลี่ยม เป็นหญิงเป็นชาย เห็นเป็นใบหน้า เห็นเป็นมือ เท้าเป็นต้น ก็ลักษณะตรึกนึกคิดเหล่านี้
เนื่องจากเป็นการนึกคิดในอารมณ์ที่ตนไม่เคยเห็นมาก่อน หรือไม่เคยกำหนดมาก่อนจึงทำให้ มีความ
ปรากฏเนิ่นช้า ส่วนอารมณ์หรือวัตถุที่ตนเคยเห็นหรือเคยกำหนดมาแล้วไม่จำเป็นต้องคิดโดยใช้
เป็นเวลานาน

ดังนั้นลักษณะการที่คิดในอารมณ์เคยประสบมาแล้วจึงไม่ค่อยปรากฏชัด เมื่อไม่ปรากฏชัด โยคี
ทั้งหลายก็คิดว่า เราเห็นแต่เฉพาะทรวดทรงสัณฐานนั้น ก็การคิดเช่นนั้น เนื่องจากเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ
ที่ไม่รู้ความแตกต่างระหว่างจิตหน้าและจิตหลังเท่านั้นเอง จึงถือว่าเป็นธรรมชาติของปุถุชน ดังนั้น ใน
คัมภีร์มูลฎีกา ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
โค้ด:
จกฺขุวิญฺญาณสฺส ทิ รูเป อภินิปาตมตฺตํ กิจฺจํ. น อธิปฺปายสหภุโน จลนวิการสฺส
คหณํ จิตฺตสฺส ปน ลหุปริวตฺติตาย จกฺขุวิญฺญาณวีถิยา อนนฺตรํ มโนวิญฺญาเณน
วิญฺญาตมฺปิ จสนํ จกฺขุนา ทิฏฺฐํ วิย มญฺญนฺติ อวิเสสวิทุโน.
(มูลฎี. ๑/๗๒)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร