วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2021, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


https://ia600608.us.archive.org/8/items/book_03/22.mp3

อารัมมณานุสัย
อนุสัย คือกิเลสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัย ก็กิเลสประเภทนี้มิใช่
เป็นอดีต คือกิเลสที่มิไช่กิเลสที่ล่วงเลยผ่านไปแล้ว มิใช่เป็นอนาคต คือมิใช่กิเลสที่จะต้อง
เกิดโดยแน่นอน และมิใช่ปัจจุบัน คือมิใช่กิเลสที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นกิเลส ที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ เรียกว่ากาลวิมุต มี ๒ ประเภท คือ
๑. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน
๒. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์

บรรดาทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า กิเลสอาจเกิดขึ้นในจิตสันดานของปุถุชน
และเสขบุคคลเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อม เพราะเป็นกิเลสยังละไม่ได้
เด็ดขาดด้วยอริยมรรค ท่านเรียกกิเลสชนิดนี้ว่า สันตานุสัย เป็นกิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ภายในสันดาน จะแสดงตัวก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัยกระตุ้น ส่วนประเภทที่สอง
ตือประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ได้แก่ กิเลสที่อาจเกิดขึ้นในอารมณ์ของ
ปุถุชนและพระเสขบุคคลอันเป็นอารมณ์ที่ถือเอาโดยผิดเพี้ยนแตกต่างจากไตรลักษณ์
โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อเพรียงโดยจะเกิดขึ้นในลักษณะ
ที่พิจารณาเป็นของเที่ยง เป็นของมีสุข เป็นของมีตัวตน กิเลสที่ว่านี้ท่านเรียกว่า
อารัมมณานุสัย เป็นกิเลสที่หลบซ่อนอยู่ในอารมณ์ซึ่งมีจิตทิได้กำหนดด้วยวิปัสสนา
และบางทีก็เรียกกิเลสชนิดนี้ว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันนกิเลส หมายถึง กิเลส
ที่เกิดขึ้นโดยยึดมั่นในอารมณ์

อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนานั้นจะละได้เฉพาะอารัมมณานุสัยกิเลสเท่านั้น
ดังมีสาธกหลักฐานจากพระบาลีว่า
โค้ด:
สตฺตานุสยา กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฺฐานุสโย
วิจิกิจฺฉานุสโย. ภวราคานุสโย. อวิชฺชานุสโย. ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอต์ถ
สตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ. ยํ โลเก อปฺปิยรูปํ. อสาตรูปํ.เอตํถ สตฺตานํ
ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา. ตเทกฏฺโฐ มาโน จ
ทิฏฺฐิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา
(อภิ.วิ. ๓๕/๘๑๖/๔๑๕)

อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา
ว่าด้วยอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1327

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2021, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุสัยกิเลสมี ๗ คือ กามราคานุสัย ความยินดีในกามรมณ์ ปฏิฆานุสัย ความขัด
เคืองอารมณ์ มานานุสัย ความเย่อหยี่งถือตน ทิฎฐานุสัย ความเห็นผิด
วิจิกิจฉานุสัย ความลังเลสงสัย ภวราคานุสัย ความยินดีในภพ อวิชชานุสัย
ความหลงงมงาย ปิยรูป กล่าวคืสภาวะอันน่ารักใคร่ สาตรูป กล่าวคือ สภาวะ
อันน่าเพลิดเพลินใดๆ มีอยู่ในสังขารโลก ราคานุสัย(หมายถึงทั้งกามราคานุสัย
และภวราคานุสัย)ของเหล่าสัตว์ย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูปสาตรูปเหล่านี้ อัแปิยรูป
กล่าวคือสภาวะอันน่ารังเกียจ อสาตรูป กล่าวคืสภาวะอันน่าเบื่อหน่ายใดๆ มีอยู่
ในสังขารโลก ปฏิฆานุสัย(อธ.ได้แก่โทสะ)ของเหล่าสัตว์ย่อมนอนเนื่องอยู่ใน
อัปปิยรูปสาตรูปเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อวิชชานุสัยก็ตกไปซ่อนอยํในธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ รวมทั้งมานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งเป็นกิเลสที่ประกอบในจิตดวงเดียวกัน
กับอวิชชานั้น ก็นอนเนื่องอยู่ด้วย

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri. ... ri=34#p532

อนุสยยมก
[๑] อนุสัย ๗ คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)
๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2021, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายว่า อารมณ์ที่ดีโดยธรรมชาติ ท่านเรียก สภาวอิฏฐารมณ์ คือเป็น
อารมณ์ที่น่ายินดี น่าพึงพอใจของคนปกติโดยทั่วๆไป เช่นรูปงาม เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม ดังนี้เป็นต้น แต่ก็มีบางอารมณ์ เช่น จำพวกที่เป็นสิ่งปฏิกูล อุจาระ
ซากศพ เป็นต้น ซึ่งเป็นอารมณ์ที่คนปกติทั่วไปไม่พึงใจปรารถนา แต่สำหรับ
สัตว์บางชนิด เช่น สุนัข สุกร หรือนกแร้ง เป็นต้น ย่อมพึงพอใจในอารมณ์
เหล่านั้นด้วยอำนาจแห่งจินตนาการของตน อารมณ์ชนิดนี้ท่านเรียกว่า ปริกัปป-
อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์นี้โดยปกติแล้ว เป็นที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป แต่สำหรับ
บางคน เห็นว่าเป็นของดี น่าพึงพอใจ นั่นเป็นเพราะอาศัยเพียงความนึกคิดของตน

อนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสภาวอิฏฐารมณ์ หรือปริกัปปอิฏฐารมณ์ก็ล้วนแล้วแต่
จัดเป็น ปิยรูปสาตรูป ทั้งนั้น และอิฏฐารมณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นธรรมฝ่ายโลกียะ
นั่นแหละยังมีกามราคานุสัยและภวราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

ในทำนองเดียวกันนี้ แม้ฝ่ายอนิฏฐารมณ์ก็แบ่งเป็น ๒ เช่นกัน คือ สภาว-
อนิฏฐารมณ์ และ ปริกัปปอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจโดยธรรมชาติ
เรียกว่า สภาวอนิฏฐารมณ์ ส่วนปริกัปปอนิฏฐารมณ์หมายถึงอารมณ์ที่โดยปกติ
แล้วเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจ แต่เป็นเพราะบุคคลบางคนไม่ต้องการหรือไม่ถูกจริต
กับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็เลยกลายเป็นอนิฏฐารมณ์สำหรับผู้นั้นไป เช่นในกรณี
ของพระรัตนตรัยโดยปกติ แล้วพระรัตนตรัยเป็น อติอิฏฐารมณ์ โดยธรรมชาติ
เพราะเป็นที่ดีไม่มีโทษหรือข้อเสียใดๆ แต่สำหรับพวกเดียรถีย์นอกศาสนาแล้ว
ส่วนมากจะมองเป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ เพราะฉะนั้น แม้แต่พระรัตนตรัย ก็สามารถ
เป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ได้เช่นกัน อนิฏฐารมณ์ทั้งสองนี้ ท่านจัดเป็น อัปปิยรูป
อสาตรูป เป็นธรรมฝ่ายโลกียะ โดยมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2021, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การนอนเนื่องของอนุสัยกิเลสนี้มีอยู่ ๒ ประการ

๑. การนอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สันตานานุสัยกิเลส
๒. การนอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็น ปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อสาตรูป ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส

ใน ๒ ประการนี้ มรรคทั้ง ๔ ทำการประหาณสันตานานุสัยกิเลส วิปัสสนาญาณที่มีรูป, นามเป็นอารมณ์ทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลส ฉะนั้น อนุสัยกิเลสที่อนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ประหาณไปนั้น เป็นอารัมมณานุสัยกิเลส ส่วน สันตานานุสัยกิเลส นั้น เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ตราบใด แม้ว่าผู้นั้นจะได้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้วหลายครั้งหลายหน หรือกำลังปฏิบัติอยู่ก็ตาม หรือผู้ที่เป็นฌานลาภี อภิญญาลาภี ทั้งมีฤทธิ์เดชต่าง ๆ นานาก็ตาม หรือจะได้ไปบังเกิดเป็นพรหมติดต่อกันหลายภพหลายชาติก็ตาม สันตานานุสัยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ โดยอาการที่ยังไม่ได้ถูกประหาณไปเลยแม้แต่น้อย

สำหรับ อารัมมณานุสัยกิเลส นั้น เมื่อวิปัสสนาญาณของโยคีได้เข้าถึงขึ้นภังคญาณอารัมมณานุสัยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่ญาณนี้เรื่อย ๆ ไป

ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในวิภังคบาลีว่า

โค้ด:
สตฺตานุสยา : กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฺฐานุสโย วิจิกิจฺฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชฺชานุสโย. ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ราคานุสโยอนุเสติ, ยํ โลเก อปิยรูปํ อสาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ, อิติ อิเมสุ ทฺวีสุธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา ตเทกฏฺโฐ มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2021, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความในพระบาลีที่ทรงแสดงถึงอนุสัยกิเลส ๒ ชนิด

สันตานานุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยอาการที่ยังไม่ปรากฏเป็นสภาวะปรมัตถ์ คือยังไม่เข้าถึงขณะทั้ง ๓ (เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป) นั้น ได้ชื่อว่า สันตานานุสัยกิเลส


ผู้ที่ยังมิได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสโดยสมุจเฉทเลยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนและปุถุชนทั้งหลายแม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ตาม เป็นเด็กเล็ก เป็นหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ แก่เฒ่าลงไปก็ตาม เป็นคฤหัสถ์,บรรพชิตก็ตาม ได้ฌาน,ได้อภิญญา,เหาะเหินเดินอากาศได้ก็ตาม แม้ที่สุดจะได้บังเกิดเป็นพรหมอยู่หลายภพชาติก็ตาม ปุถุชนเหล่านั้นก็ยังเป็นอยู่โดยมีอนุสัยกิเลสครบถ้วนด้วยกันทั้งสิ้น

แม้ว่าจะได้สำเร็จเป็น พระโสดาบัน พระสกทาคามี แล้วก็ตาม อนุสัยกิเลสอีก ๕ อย่างก็ยังเหลืออยู่ ยังหาได้ประหาณให้หมดไปไม่ คงประหาณได้แต่ทิฏฐิและวิจิกิจฉานุสัย ๒ อย่างนี้เท่านั้น ครั้นเป็น พระอนาคามี ภวราคะ มานะ อวิชชานุสัยทั้ง ๓ ก็ยังมีอยู่หาได้หมดไปเพียงเท่านี้ไม่ ฉะนั้น บุคคลทั้ง ๔ จำพวกนี้ จึงยังมีอนุสัยกิเลสอยู่อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่หายไข้ มีผู้ถามว่า ท่านสบายดีหรือ แม้ว่าในขณะนั้นมิได้จับไข้แต่ก็ตอบว่า ยังเป็นไข้อยู่ โดยมาคำนึงถึงไข้ที่ได้จับมาแล้วและจะจับอีกในขณะต่อไป หรืออุปมาเหมือนกับผู้ที่ยังไม่ได้มีการเว้นขาดจากการรับประทานเนื้อ เมื่อถูกถามว่า ท่านรับประทานเนื้อหรือเปล่า ถึงแม้ว่าขณะนั้นจะไม่ได้รับประทานอยู่ก็จริง แต่ก็ตอบว่า ข้าพเจ้ารับประทานดังนี้ ก็เพราะว่ามาคำนำถึงเนื้อที่ได้เคยรับประทานมาและจะรับประทานอีกในวันข้างหน้า สมดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุสัยยมกพระบาลีว่า ยสฺส กามราคานุสโย อุปปชฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ กามราคานุสัยยังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ยังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม? อามนฺตา ใช่ การที่ทรงวิสัชนา ดังนี้ ก็เพราะทรงหมายถึงความที่ยังเป็นอนุสัยอยู่ โดยอาการที่เคยเกิดและจะเกิด ดังที่ได้ยกอุปมาเปรียบเทียบให้เห็นแล้วทั้ง ๒ ข้อนั้น

แต่ถ้าจะถามว่า ยสฺส กามราโค อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิโฆ อุปฺปชฺชตีติ กามราคะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม? วิสัชนาว่า นปฺปชฺชติ ไม่ใช่กำลังเกิด

อนึ่ง อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ประการนี้ เมื่อปรากฏขึ้นโดยความเป็นสภาวะปรมัตถ์ คือเข้าถึงปริยุฏฐานแล้วนั้น เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี แต่เมื่อยังเป็นอนุสัยอยู่นั้น ได้นอนเนื่องอยู่พร้อมกันทั้ง ๗ อย่างในดวงจิตดวงเดียวกันนั้นเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงในอนุสัยยมกบาลีว่า ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ กามราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลใดปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลนั้น ใช่ไหม? อามนุตา ใช่ ฉะนั้น การประหาณสันตานานุสัยกิเลสได้เด็ดขาดนั้นก็มีแต่มรรคญาณอย่างเดียว สำหรับวิปัสสนาญาณนั้นประหาณได้แต่เพียงวิกขัมภนะ โดยการข่มไว้เป็นเวลานาน ๆ คือหลายวัน หลายเดือน หลายปี หลายมหากัป


อารัมมณานุสัยกิเลส การเกิดขึ้นของกิเลสโดยไม่สิ้นสุด ในอารมณ์ที่ยังไม่ได้มีการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง โดยวิปัสสนาญาณ,มรรคญาณ กิเลสนี้ ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส ดังนี้ พระพุทธองค์จึงประทานพระโอวาทแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า สุขายภิกฺขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาตพฺโพ, ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆษนสโย ปหาตพฺโพ, อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสโย ปหาตพฺโพ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายควรละราคานุสัยในการเสวยสุข ควรละปฏิฆานุสัยในการเสวยทุกข์ ควรละอวิชชานุสัยในการเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข พระโอวาสนี้ทรงมุ่งหมายถึงอารัมมณานุสัยกิเลส

ท่านอรรถกถาจารย์ยังได้กล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ สุตฺเต อารมฺมณานุสโย กถิโต ในพระสูตรที่มีว่า สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอารัมมณานุสัยกิเลส แต่ก็หาได้ทรงชี้แจงถึงข้อปฏิบัติที่จะทำการละอารัมมณานุสัยกิเลสนี้แต่ประการใดไม่เพียงแต่ทรงเตือนให้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น เพราะถ้าภิกษุทั้งหลายมิได้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลสนี้ได้ ถ้าว่าได้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ นี้อยู่โดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่ามีการละกิเลสในการเสวยอารมณ์นั้นนั่นเอง ดังที่ท่านฏีกาจารย์ได้แสดงไว้ในอานาปานัสสติกัมมัฏฐานแห่งวิสุทธิมัคคมหาฏีกาว่า

โค้ด:
อนิจฺจานุปสฺสนา ตาว ตทงฺคปฺปหานวเสน นิจฺจสญฺญํ ปริจฺจชติ ปริจฺจชนฺตึ จ ตถา อปฺปวตฺติยํ เย นิจฺจนฺติ คหณวเสน กิเลสา ตมฺมูลกา อภิสงฺขารา ตทฺภยมูลกา จ วิปากกฺขนฺธา อนาคเต อุปฺปชฺเชยฺยํ, เต สพฺเพปิ อปฺปวตฺติกรณวเสน ปริจฺจชติ, ตถา ทุกฺขสญฺญาทโย เตนาห วิปสฺสนา หิ ตทงฺควเสน สทฺธึ ขนฺธาภิสงฺขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ.


อนิจจานุปัสสนาที่แสดงในอันดับแรกนี้ ย่อมสละละทิ้งนิจจสัญญาโดยอำนาจแห่งตทังคปหาน เมื่ออนิจจานุปัสสนาได้สละละทิ้งนิจจสัญญาได้แล้ว ถ้าหากว่ามิได้มีการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง โดยอาการดังที่กล่าวมานี้ กิเลสต่าง ๆ อาจเกิดได้ในภายหลังโดยอำนาจแห่งความยึดถือว่ารูป,นามนี้เที่ยง และอภิสังขารคืออกุศลโลกียกุศลกรรมที่มีกิเลสเป็นมูลก็ดี วิบากนามขันธ์อันเป็นตัวภพใหม่ มีกรรมและกิเลสทั้ง ๒ นี้เป็นมูลก็ดีอาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

อนิจจานุปัสสนาที่สละทิ้งนิจจสัญญาได้นั้น ย่อมสละละทิ้งกิเลส,กรรมวิบากแม้เหล่านี้ทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นได้พร้อมกันอีกด้วย ทุกขานุปัสสนา,อนัตตานุปัสสนาที่สละละทิ้งสุขสัญญา,อัตตสัญญาเป็นต้นได้นั้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นท่านมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคอรรถกถาว่า วิปัสสนาญาณย่อมสละละกิเลสพร้อมด้วยวิบากขันธ์และอภิสังขารโดยอำนาจตทังคปหาน

(ที่มา: วิปัสสนาทีปนีฎีกา หน้า 33 -36)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2021, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุสัยยังไม่ถูกละโดยเด็ดขาดในสันดานใด หรืออีกอย่างหนึ่ง การอุบัติขึ้นแห่งอนุสัยเหล่านั้น
ในสันดานใเมิได้ถูกห้าม(ห้ามยังไม่ได้หรือยังละไม่ได้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนา)ในปัจจัยที่ขะทำให้
เกิดขึ้นมีอยู่ ในสันดานดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะมิใช่ช่วงขณะที่กิเลสกำลังเกิด แต่เรียกว่าเป็น
ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปลฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชติ = กามาราคานุสัยเกิดในบุคคลใน
สันดานของบุคคลใเ ปฏิฆานุสัยก็เกิดในบุคคลนั้นได้เหมือนกันเพราะอาศัยการเทียบเคียงกับ
กิเลสที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและที่จะเกิดขึ้นในโอกาสข้างหน้า

ข้อความอรรถกถาที่ยกมาข้างน้นนี้มีจุดประสงค์ให้รู้ว่าในสันดาน(ภายใน)ของบุคคลผู้ยัง
ไม่สามารถที่จะห้ามเพื่อมิให้กิเลสเกิดขึ้นในปัจจัยเอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น กิเลสก็สามารถที่จะแผลง
ฤทธิ์ขึ้นมาได้ เรียกตามบาลีว่า ถามคตะ(มีพลัง)กิเลส ๗ ประการที่เป็นถามคตะนี้แหละชื่อว่านอนเนื่อง
เป็นอนัสัยอยู่ภายใน

อนึ่งในคัมภีร์มูลฎีกาอธิบายว่า ข้อที่ว่า ถามคตะนี้มีความเกี่ยวข้องกับอนุสัย ๗ อย่างเท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับกิเลสอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นกิเลสที่ยังไม่ได้ละโดยเด็ดขาดด้วยมรรค
แต่ถ้าไม่เป็นถามคตะก็ไม่เรียกว่าอนุสัย

อีกนัยหนึ่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านอธิบายไว้ว่า มิใช่เฉพาะกิเลสที่ยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด
ด้วยอริยมรรคเท่านั้นที่ชื่อว่าอนุสัย แม้แต่กิเลสที่ยังไม่ได้ข่มไว้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนาก็ชื่อว่า
อนุสัยเช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2021, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามพระบาลีและอรรถกถาที่ยกมานี้ พึงทราบว่า อนุสัยดังกล่าวไม่ว่าจะอยู่ภายในสันดานของปุถชน
หรือพระเสกขบุคคลก็ตาม ชื่อว่านอนเนื่องอยู่ตลอดเวลา คือว่าในกาลไหนๆ เช่น แม้แต่เกิดกุศลจิต
วิปากจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต หรือจุติจิต อนุสัยดังกล่าวก็นอนเนื่องอยู่เช่นเดิม หรือแม้ว่าภายใน
สันดานของอสัญญสัตตาบุคคลก็ยังนอนเนื่องอยู่ ส่วนเวลาอกุศลจิตเกิดขึ้นนั้นยิ่ง ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง
(เพราะอนุสัยก็คือกิเลส กิเลสก็คืออกุศล ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องสงสัย เหมือนในกรณีของจิตอื่นๆ)
กิเลสทั้งหลายดังกล่าว ที่นอนเนื่องในสันดานภายในของปุถุชนและพระเสกขบุคคล ซึ่งอาจเป็น
ทั้ง ๗ อย่างเลย หรือ ๕ อย่าง หรือ ๓ อย่างก็แล้วแต่มีชื่อเรียดว่า สันตานานุสัย ส่วนธรรมที่จะสามารถ
ละอนุสัยเหล่านั้นชนิดถอนรากถอนโคนได้ ก็มีแต่มรรคเท่านั้น ส่วนธรรมอื่นๆ วิปัสสนาก็ละได้เพียง
ข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น(วิปัสสนาละได้ด้วยอำนาจวิกขัมภนะดูวิสุทธิมรรค)

ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเรื่องอนุสัยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอนิจจานุปัสสนาซึ่งเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่ง
ที่กำลังกล่าวถึงในปริเฉทนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า อนิจจานุปัสสนาละนิจจสัญญาได้นั้น ถ้าจะสรุปความ
ตามนัยที่อธิบายมาแล้วจะเห็นว่า เป็นการละ อารัมมณานุสัย ปริยุฏฐานุสัยกิเลส และวีติกกมกิเลสที่นอนเนื่อง
มาจากอนุสัยนั้น พร้อมทั้งกรรมและวิบากได้ด้วยอำนาจตทังคปหาณ ดังนั้นพึงทราบว่า ข้อความของ
วิสุทธิมรรคที่ว่า อนิจฺจานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต นิจฺจสญฺญํ ปชหติ. ผู้เจริญอนิจจานุปัสสนา ย่อมละนิจจสัญญาได้
นั้นท่านประสงค์เอ่การละด้วยตทังคปหาณดังกล่าว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร