วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2021, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญมรรค ๘ หมายถึง การยังมรรค ๘ ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตน
ถ้าโยคีปรารถนาเป็นพระอริยะผู้สามารถรู้อริยสัจ ๔ พร้อมๆ กันนั้น พึงพยายามทำการ
เจริญวิปัสสนาเพื่อให้มรรคสัจบังเกิดขึ้นในขันธสันดานของตน ในทำนองเดียวกัน
หากโยคีปรารถนาได้โลกุตรมรรคนั้นเกิดขึ้นในขันธสันดานของตนนั้น พึงทำการ
กำหนดรูปนามในขณะที่รูปนามนั้นกำลังเกิด แล้งทำการเจริญโลกียวิปัสสนามรรค
กล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นต้นด้วย ก็สาเหตุที่ต้องเจริญเช่นนี้เพราะว่าขั้นที่เรียกว่า
วิปัสสนามรรคย่อมเป็นเหตุธรรมซึ่งเรียกว่า อุปนิสสยปัจจัย ส่วนในโลกุตรมรรคจิต
เป็นผลธรรมซึ่งเรียกว่า อุปนิสสยุปปันนธรรม ดังนั้น พึงทราบว่าถ้าโยคีไม่สามารถ
เจริญวิปัสสนามรรคให้สมบูรณ์ได้แล้ว โลกุตตรมรรค ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
แต่เมื่อใดโยคีสามารถเจริญวิปัสสนามรรคให้บริบูรณ์กระทั่วถึงอนุโลมญาณได้แล้ว
โลกุตตรมรรคนั้นก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แม้จะไม่ต้องใช้แรงพยายามใดๆก็ตาม
ดังนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านอธิบายไว้ดังนี้
โค้ด:
ตตฺถ ปฐมมคฺคญาณํ สมฺปาเทตุกาเมน อญฺญํ กิญฺจิ กาตพฺพํ นาม นตฺถิ
ยญฺหิ อเนน กาตพฺพํ ตํ. อนุโลมาวสานํ วิปสฺสนํ อุปกฺปาเทนฺเตน กตเมว.

(วิสุทฺธิ. ๒/๓๑๒)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2021, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบรรดามรรคญาณทั้ง ๔ นั้น โยคีผู้ต้องการที่จะยังปฐมมรรคญาณให้เกิดขึ้น
ไม่จำเป็นต้องทำกิจอันใดยกเว้นการเจริญวิปัสสนา สาเหตุเพราะว่าโยคีผู้เจริญ
วิปัสสนานั้นเป็นผู้ที่ตวรกระทำกิจอันเป็นเหตุให้เกิดมรรคญาณดังกล่าว ซึ่งกิจนั้น
โยคีผู้เจริญวิปัสสนาอยู่จะต้องเจริญให้ถึงอนุโลมญาณเป็นที่สุด

ในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีได้แสดงเกี่ยวกับการสงเคราะห์วิปัสสนามรรคเข้าใน
ภาเวตัพพมัคคสัจ อันเป็นกิจที่ควรกระทำให้บังเกิดขึ้น ดังนี้ว่า
โค้ด:
เอส โลกุตฺตโร อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. โย สห โลกิเยน มคฺเคน
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาติ สงฺขยํ คโต.
(อภิ.อัฏ.๒/๑๑๔)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2021, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นี้เป็นโลกุตตรอริยมรรค ๘ ชั้น ซึ่งมรรค ๘ ดังกล่าวนั้น ย่อมถึงการเรียกว่า
ทุกขนิโรธปฏิปทา "ปฏิปทาที่ทำไปสู่ความพ้นทุกข์" ซึ่งนำเอาโลกียมรรคเข้าอยู่ด้วย

มรรค ๘ ที่นับเนื่องในมรรคจิตตุปบาทนี้ ท่านเรียกว่า โลกุตตรมรรค
โลกุตตรมรรคนั้น หากปราศจากวิปัสสนาที่เป็นเหตุแล้ว ย่อมจะไม่กลายเป็น
นิโรธคามินีไปได้ หมายความว่า บุคคลจะไม่สามารถเจริญมรรค ๘ ล้วนๆโดย
เอามรรค ๘ เป็นอารมณ์ โดยไม่มีการเจริญวิปัสสนามาก่อนนั้นเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น กลุ่มมรรคไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโลกียมรรคและกลุ่มโลกุตตรมรรคล้วน
แต่เป็นมัคคสัจที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาทั้งสิ้น
ดังนั้นในคัมภีร์วิสุทธิมรรรคมหาฎีกา(๑/๑๕)ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
โค้ด:
นานนฺตริยภาเวน ปเนตฺถ โลกิยาปิธ คหิตาวโหนฺติ
โลกิยสมถวิปสฺนายวินา ตทภาวโต
(วิสุทฺธิ.ฎี.๑/๑๕)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2021, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้พระพุทธองค์จะตรัสคำว่า ภาเวตัพพะโดยหมายเอาโลกุตตรสมาธิปัญญา
โดยอุกกัฏฐนัย ก็ตามแต่ถึงกระนั้นในคำว่า จิตตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ นี้ก็จะต้องถือเอา
โลกียสมถะและวิปัสสนาด้วยนั่นเทียว ทั้งนี้เพราะโลกุตตรสมาธิและโลกุตตรปัญญา
จะเกิดขึ้น โดยขาดโลกียสมถะและวิปัสสนาไม่ได้นั่นเอง

ในพระคาถาว่า "สีเล ปติฏฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ" นี้พึงทราบ
คำอธิบายดังนี้ว่า โดยอุกกฤษฏ์แล้ว สภาวธรรมที่เป็นภาเวตัพพะ กล่าวคือ
ธรรมที่บุคคลนำมาเจริญนั้นหมายเอาสมาธิและปัญญาที่เป็นขั้นโลกุตตระ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม การที่โยคีจะได้โลกุตตรสมาธิและโลกุตตรปัญญานั้นก็จำเป็น
จะต้องเจริญโลกียสมาธิและโลกิยปัญญาเป็นเบื้องต้นก่อน เพราะโลกุตตรสมาธิ
และโลกุตตรปัญญานั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่เจริญโลกิยสมาธิและ
โลกียปัญญามาก่อน เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่ตรัสสั่งนี้ก็พึงทราบว่าพระพุทธเจ้า
นั้นได้ทรงแนะนำให้โยคีเจริญโลกียสมาธิและโลกียสมาธิปัญญาด้วยแม่ว่าทั้งโลกียสมาธิ
และโลกียปัญญานั้นจะมีความต่างกันคนละอย่างกับโลกุตตรสมาธิและโลกิยปัญญา
ก็ตาม ดังนั้น สมาธิและปัญญาฝ่ายโลกิยันั้นท่านสงเคราะห์เข้าได้ด้วย คำว่า
"จิตตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ" จึงเรียกว่าเป็นภาเวตัพพธรรมได้โดยสงเคราะห์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2021, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปว่า ในคำว่า"จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ พึงเจริญสมาธิและปัญญา"
ในพระคาถานั้น โดยตรง หมายถึง สมาธิและปัญญาที่เป็นฝ่ายโลกุตตระ โดยอ้อม
หมายถึง ที่เป็นฝ่ายโลกิยะด้วย ในทางด้านการใช้สำนวนโวหารในภาษาบาลีนั้น
ท่านเรียกว่า การสงเคราะห์ธรรมที่ไม่ได้ระบุไว้โดยนานันตริกนัยซึ่งเป็นนัย ที่มา
ในคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องนยะ ๔๐ โดยการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นฐานะกล่าวคือเหตุ แต่ก็
สามารถสงเคราะห์เอาสิ่งที่เป็นฐานียะกล่าวคือผลได้ด้วย วิธีการนี้ ท่านเรียกว่า
นานันตริกนัย เป็นนัยที่สงเคราะห์เอาสิ่งที่อยู่ต่างหาก

จะอย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาดูแล้ว คำาว่า นนนันตริยกนัย โดยความเป็นเหตุ
เป็นผล นั้น ไม่น่าจะเข้ากันได้ในที่นี้ สาเหตุก็เพราะว่าแม้แต่ตัวมรรคสมาธิ
และมรรคปัญญาเองก็ถือว่าไม่เป็นฐานะหรือเป็นเหตุ ส่วนโลกียสมาธิและ
โลกียะปัญญาเองก็มิใช่ฐานีก็ไม่ใช่คือผลนั่นเองเพราะฉะนั้น ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์
ฎีกาว่า"นานันตริยกะ"นั้น หมายถึง นัยที่กล่าวแสดงสิ่งที่ติดเนื่องด้วยกัน
เหมือนกับหม้อเนยใสกับตัวเนยใส เนยใสก็ไม่ใช่หม้อ หม้อก็ไม่ใช่เนยใส หม้อและ
เนยใสนั้นก็เป็นคนละอย่างกัน แต่สำหรับผู้ต้องการเนยใสแล้ว เมื่อต้องการที่
จะสั่งให้คนนำเนยใสมาให้ก็มักจะนิยมพูดว่า เอาหม้อเนยใสมาให้ด้วย
ซึ่งผู้ที่ถือเอาหม้อเนยใสมา ก็เท่ากับว่าเอาเนยใสมาด้วยนั่นเทียว นี้เป็นการอธิบาย
ตามมติที่ยกมาจากคำภีร์ฎีกาวิสุทธิมรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร