วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2021, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อันตราย มี ๕ อย่าง คือ
๑.กัมมันตราย
๒.วิปากกัมมันตราย
๓.กิเลสันตราย
๔.อริยุปวาทันตราย
๕.อาณาวีติกกัมมันตราย

๑. กัมมันตราย คือ ทำอนันตริยกรรม ๕ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่
ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าโลหิตห้อ และทำสังฆเภท
ห้ามสวรรค์ ห้ามมรรคผลนิพพาน ไปนรกอเวจีแน่นอน

๒. วิปากกัมมันตราย คือ อเหตุกปฏิสนธิ ห้ามสวรรค์ ห้าม
มรรคผลนิพาน ส่วน ทวิเหตุกะ ห้ามมรรคผลนิพพาน ไม่ห้ามสวรรค์

๓. กิเลสันตราย คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ หนักกว่าอนันตริยกรรม
ห้ามสวรรค์ ห้ามมรรคผลแน่นอน ถึงแม้ไม่เป็นนิ ยตมิจฉาทิฏฐิ
แต่กิเลสรุนแรงมาก ก็ห้ามมรรคผล แต่ไม่ได้ห้ามเด็ดขาด แต่ไม่
ห้ามสวรรค์ คนที่มีกิเลสมากๆ โลภะ โทสะ โมหะ ก็บรรลุไม่ได้
จนกว่าคุณจะมีปัญญาไปลดละกิเลส

๔. อริยุปวาทันตราย ว่าร้ายพระอริยเจ้า สมัยนี้เราไม่เจอพระ
อริยเจ้า ไม่งั้นเราต้องตกนรกกันเป็นว่าเล่นเลย ทุกวันนี้เข้าใจผิด
ง่าย ถ้ามีพระอริยเจ้า พวกเรามีสิทธิ์ไปอบาย ห้ามมรรคผล
นิพพาน ห้ามสวรรค์ด้วย ตราบใดที่ยังไม่ไปขอขมาโทษ ถ้าขอ
ขมาโทษ ก็แก้ไขได้ ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรคผลนิพพาน

๕. อาณาวีติกกัมมันตราย หมายถึง แกล้งล่วงอาบัติ หรือเป็น
อาบัติแล้วไม่แสดงคืน อาบัติแม้ทุกกฎ ทุพภาสิต การล่วงละเมิด
ต่อพระอาณาวีติกกัมมันตราย กล่าวคือ พระวินัยบัญญัติที่เป็นอันตราย
ขัดขวางทั้งทางสวรรค์และมรรค ผล นิพพาน ส่วนกรณีที่ต้องอาบัติแล้ว
ทำการเยียวยาแก้ไข โดยวิธีแสดงอาบัติ หรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ทรง
อนุญาติไว้ ก็จะทำให้พ้นอาณาวีติกกัมมันตรายเช่นกัน

https://youtu.be/cOLAbUUALbU

https://youtu.be/ab1zMQPRWe0

https://youtu.be/WteJ-JVOkkw

https://youtu.be/D2n6E-ipF4U

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2021, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับอันตราย ๕ อย่างตามที่แสดงมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่าไม่มีการเกี่ยวข้อง
กับการผิดศีลทั่วไปของคฤหัสถ์เลย นั่นหมายความว่า คฤหัสถ์แม้จะมีศีลไม่
บริสุทธิ์มาก่อน ก็ปฏิบัติธรรมให้บรรลุมรรค ผลได้ เช่น สันติอำมาตย์, นายอริยะ,
โจรล้วงกระเป๋าคนหนึ่ง, สรณานิอุบาสก แห่งสากิยวงศ์ ดังนั้น พึงทราบว่า
การผิดศีลโดยทั่วๆไป ตามวิสัยของคฤหัสถ์นั้นไม่จัดอยู่ในอันตรายิดธรรม
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

มหาอมาตย์เป็นพระอรหันต์

เรื่องสันตติมหาอำมาตย์

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติ
มหาอำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อลงฺกโต เจปิ สมญฺ
จเรยฺย เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์ ปราบปรามพวกกบฏที่
พรมแดนได้สำเร็จ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระหฤทัย
ประทานราชสมบัติให้ ๗ วัน และได้ประทานหญิงที่เก่งใน

การร่ายรำและขับร้องนางหนึ่งให้ สันตติอำมาตย์ดื่มสุรา
มึนเมาอยู่ทั้ง ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ ก็แต่งกายด้วยเครื่อง
อลังการทุกอย่าง ขึ้นคอช้างไปที่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดา
กำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็ได้ผงกศีรษะถวาย
บังคม พระศาสดาทรงกระทำการแย้มพระโอษฐ์ (ยิ้ม) เมื่อ
พระอานท์ทูลถามถึงสาเหตุของการแย้มพระโอษฐ์นั้น ได้
ตรัสว่า “ อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์ ในวันนี้เอง
เขาประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มาสู่สำนักของเรา จัก
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ แล้ว

นั่งบนอากาศ ชั่ง ๗ ลำตาล จักปรินิพพาน”

สันตติมหาอำมาตย์ เล่นน้ำตลอดวันอยู่ที่ท่าอาบน้ำ แล้วไป
นั่งดื่มสุราอยู่ที่สวนอุทยาน และชมการแสดงการร้องรำทำ
เพลงของหญิงที่พระราชาประทานมาให้นั้น หญิงนางรำได้
แสดงการร้องรำทำเพลงอย่างสุดความสามารถเพื่อให้สันตติ
มหาอำมาตย์ได้ชม แต่เนื่องจากนางควบคุมอาหารเป็นเวลา
๗ วันเพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นให้เหมาะกับงานแสดง ทำให้ใน
ขณะแสดงอยู่นั้นเกิดเป็นลมปากอ้าตาเหลือกเสียชีวิตอย่าง
ฉับพลัน สันตติมหาอำมาตย์เห็นเหตุการณ์ถึงกับตกตะลึง
และเกิดความเสียใจกับการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนาง
ในขณะที่เกิดความเศร้าสลดใจเขาก็นึกถึงพระศาสดา จึงได้
เดินทางไปเฝ้าพร้อมค้วยคณะในตอนเย็น ๆ เขาได้กราบทูล
พระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเป็นปานนี้
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มาแล้ว ก็ด้วยหมายใจว่า
พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศกของข้าพระองค์ได้ ขอ
พระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด”

พระศาสดาตรัสว่า “ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถ เพื่อดับ
ความโศกได้แน่นอน อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้
ร้องไห้ ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำ
ของมหาสมุทรทั้ง ๔” จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสด้วยพระ
คาถาว่า “กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยัง
กิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลนั้น
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ใน
ท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป”

เมื่อพระศาสดาตรัสพระคาถานี้จบลง สันตติมหาอำมาตย์
ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล และพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารของ
ตนจะสิ้นสุดลงแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าพระองค์ผู้
เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้า
พระองค์เถิด” เมื่อพระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว เขาก็จึงถวาย
บังคมพระศาสดา เหาะขึ้นสู่อากาศสูงชั่วลำตาลหนึ่ง ลงมา
ถวายบังคมพระศาสดาอีกครั้ง แล้วเหาะขึ้นไปนั่งขัดสมาธิอยู่
บนอากาศ สูงชั่ว ๗ ลำตาล แล้วขออนุญาตเล่าบุรพกรรมของ
ตนถวายพระศาสดา เสร็จแล้วก็เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน เกิด
เปลวไฟเผาไหม้สรีระร่างกาย เหลือเป็นธาตุมีสัณฐานดุจดอก
มะลิ พระศาสดารับสั่งให้ห่ออัฐิธาตุนั้นด้วยผ้าขาว แล้วนำไป
บรรจุไว้ในสถูปที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง เป็นที่สักการบูชาของ
มหาชนสืบต่อไป

พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า สันตติยังมีเพศเป็น
ฆราวาส แต่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นนี้ ควรจะเรียกท่าน
ว่า สมณะ หรือ พราหมณ์ ดี พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้ง
หลาย การเรียกบุตรของเราแม้ว่า สมณะ ก็ควร เรียกว่า
พราหมณ์ ก็ควรเหมือนกัน”

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

โค้ด:
อลงฺกโต  เจปิ  สมญฺจเรยฺย
สนฺโต  ทนฺโต  นิยโต  พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ  ภูเตสุ  นิธาย  ทณฺฑํ
โส  พฺราหฺมโณ  โส  สมโณ  ส  ภิกขุฯ

แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ เป็นผู้สงบ
ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ
วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก บุคคลนั้น
เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผล
ทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

https://youtu.be/g_Y5h8z7lzQ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2021, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในการบรรลุพระอรหันตผลของอำมาตนี้ พึงทราบว่า มิใช่ได้มาโดยปราศจาก
การเจริญวิปัสสนา แต่พึงทราบว่า ในขณะที่ฟังธรรมอยู่นั้นจิตของท่าน อำมาตย์
ได้กำหนดรูปนามแล้วต่อด้วยวิปัสสนา จนกระทั่งบรรลุมรรผลตามลำดับ
ด้วยเหตุนี้พระอรรถกถาจารย์จึงได้อธิบายไว้ในอรรถกถาแห่งสติปัฏฐานสูตรว่า

โค้ด:
ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กิญฺจิ ธมฺมํ
อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ, ตสฺมา เตปิ อิมินาว
มคฺเคน โสกปริเทวสมติกฺกนฺตาติ  เวทิตพฺพา.
(ที.อฏฺ. ๒/๓๓๙)

สันติอำมาตย์ ได้สดับคาถานั้นแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนในเรื่องของ
นางปฎาจารานั้น นางได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ซึ่งล้วนก็เป็นการบรรลุที่อาศัย
สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางนำร่องทั้งสิ้น

ในกรณีของสันติอำมาตย์ ก่อนที่ได้ฟังธรรมจนบรรลุนั้น ศีลวิสุทธิของท่านไม่มีเลย
เพราะมัวแต่ดื่มสุรา เสพนารีอยู่ ถึงกระนั้นก็ยังบรรลุ มรรคผลได้จะอ้างว่า เพราะท่าน
เป็นผู้บำเพ็ญบารมีภพสุดท้ายก็ฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าผู้เป็นปัจฉิมภวิกบุคคล
ในกรณีที่ผู้นั้นเป็นพระภิกษุถ้ามีศีลไม่บริสุทธิ์ก่อนเข้าปฏิบัติ ความไม่บริสุทธิ์
แห่งศีลนั้นจะเป็นอันตรายขัดขวางมิให้บรรลุ มรรค ผลได้ พึงดูการอบรม
พระปัจฉิมภวิกอุตติยะเป็นตัวอย่าง

https://www.google.com/url?sa=t&source= ... 7465274645

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2021, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน ทรงปรารภพรานเบ็ดชื่ออริยะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน อริโย เป็นต้น

วันหนึ่ง พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยที่จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ของนายพราน
เบ็ดชื่ออริยะ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูเมืองด้านทิศอุดรแห่งกรุงสาวัตถี
พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เมื่อเสด็จกลับมาจากบิณฑบาต ได้ทรงแวะในที่ซึ่งนายอริยะ
กำลังตกปลาอยู่ นั้น เมื่อนายอริยะเห็นพระศาสดา ก็ได้โยนเบ็ดทิ้ง แล้วเข้าไปยืน
ณ ที่ใกล้พระศาสดา พระศาสดาทรงเริ่มต้นด้วยการถามชื่อของพระภิกษุทั้งหลาย
ที่ตามเสด็จพระองค์มาในครั้งนี้ ต่อหน้านายอริยะ และในที่สุดได้ตรัสถามชื่อของ
นายอริยะบ้าง เมื่อเขาตอบว่าชื่ออริยะ ตรัสว่า “อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่าน จะชื่อว่า
อริยะไม่ได้ ส่วนผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชน จึงจะเรียกว่าอริยะ”

จากนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
โค้ด:
น เตน อริโย โหติ
เยน ปาณานิ หึสติ
อหึสา สพฺพปาณานํ
อริโยติ ปวุจฺจติ ฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าอริยะ
เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์
บุคคลที่เรากล่าวว่า เป็นอริยะ
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง พรานเบ็ดบรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศฯ
มีประโยชน์ แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.

https://youtu.be/AHCTOLZLdWI

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2021, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โจรล้วงกระเป๋าคนหนึ่ง

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกโจรผู้ทำลายปม
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ" เป็นต้น.

โจรลักของที่ขอดไว้ที่พกผ้า
ได้ยินว่า โจร ๒ คนนั้นเป็นสหายกัน ไปสู่พระเชตวันกับมหาชน ผู้ไปอยู่เพื่อ
ต้องการฟังธรรม, โจรคนหนึ่งได้ฟังธรรมกถาแล้ว, โจรคนหนึ่งมองดูของที่ตน
ควรถือเอา. บรรดาโจรทั้งสองนั้น โจรผู้ฟังธรรมอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.
โจรนอกนี้ได้ทรัพย์ประมาณ ๕ มาสกที่ขอดไว้ที่ชายผ้าของอุบาสกคนหนึ่ง.
ทรัพย์นั้นเป็นค่าอาหารในเรือนของเขาแล้ว, ย่อมไม่สำเร็จผลในเรือนของ
โจรผู้โสดาบันนอกนี้.
ครั้งนั้น โจรผู้สหายกับภรรยาของตน เมื่อจะเย้ยหยันโจรผู้โสดาบันนั้น จึงกล่าวว่า
"ท่านไม่ยังแม้ค่าอาหารให้สำเร็จในเรือนของตน เพราะความที่ตนฉลาดเกินไป."
สหายผู้โสดาบันนอกนี้คิดว่า "เจ้าคนนี้ย่อมสำคัญความที่ตนเป็นบัณฑิต ด้วยความ
เป็นพาลทีเดียวหนอ" เพื่อจะกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดา จึงไปสู่พระเชต
วันกับญาติทั้งหลาย กราบทูลแล้ว.

ผู้รู้สึกตัวว่าโง่ย่อมเป็นบัณฑิตได้
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่เขา จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
โค้ด:
๔.    โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ         ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส     
                            พาโล จ ปณฺฑิตมานี        ส เว พาโลติ วุจฺจติ.
                            บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็นคนโง่,
                            บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง;
                            ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต
                            บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า ‘คนโง่’.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย พาโล ความว่า บุคคลใดเป็นคนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต
ย่อมสำคัญ คือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่ คือความเป็นคนเขลานั้น ด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา."
สองบทว่า เตน โส ความว่า ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตได้บ้าง หรือจะเป็นเช่น
กับบัณฑิตได้บ้าง.
ก็เขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่น ซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิต
นั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว
ย่อมเป็นบัณฑิต หรือเป็นบัณฑิตกว่าได้.

สองบทว่า ส เว พาโล ความว่า ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่อยู่ เป็นผู้มีความสำคัญว่าตนเป็น
บัณฑิตถ่ายเดียวอย่างนี้ว่า "คนอื่นใครเล่า? จะเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทรงวินัย มีวาทะ
กล่าวคุณเครื่องขจัดกิเลสเช่นกับด้วยเรามีอยู่" บุคคลนั้นไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลอื่น ซึ่งเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เรียนปริยัติเลย, ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติ, ย่อมถึงความ
เป็นคนโง่โดยส่วนเดียวแท้, บุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนโจรทำลายปมฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า "ส เว พาโลติ วุจฺจติ."
ในกาลจบเทศนา มหาชนพร้อมด้วยญาติทั้งหลายของโจรผู้โสดาบัน
นอกนี้ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha. ... 5&i=15&p=4

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2021, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าศากยะสรณานิ เจ้าศากยะนามว่า สรณานิติดสุรางอมแงม แต่เมื่อเขาตาย
พระบรมศาสดากลับพยากรณ์ ตรัสบอก นายสรณานิเป็นพระโสดาบัน ทำให้
พวกเจ้าศากยะอื่นๆ ไม่พอใจจึงพูดติเตียนโดยประการต่างๆ

[๑๐๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุม
พร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้า
สรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
แต่เจ้าสรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri. ... 9&siri=342

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2021, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สูรอัมพัฏฐอุบาสก
เอตทัคคะในทางผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว


สูรอัมพัฏฐอุบาสกผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของอุบาสกทั้งหลายผู้ผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน โดยที่แม้เมื่อมารแปลงกายมาเป็นพระพุทธองค์ เพื่อกระทำให้ความศรัทธาที่มีต่อพระผู้มีพระภาคนั้นสั่นคลอนไป แต่ท่านก็มิได้หวั่นไหว ในการกระทำของมารนั้น และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ดังได้สดับมา อุบาสกผู้นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป


๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ [บาลีว่า สูรอัมพัฏฐะ] ต่อมาเขาเจริญวัย ดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย ก็ได้มีความเลื่อมใสและเป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์

สมัยหนึ่ง พระศาสดาอันมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมก็ได้เสด็จจาริกไปถึงนครนั้น และประทับอยู่ที่เภสกลาวัน

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นเหตุแห่งโสดาปัตติมรรคของเขา จึงเสด็จไปถึงประตูนิเวศน์ในเวลาเที่ยวแสวงหาอาหาร เขาเห็นพระทศพล จึงคิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในสกุลใหญ่และเป็นผู้อันมหาชนรู้จักกันอย่างดีในโลก ด้วยเหตุนั้น การไม่ไปสำนักของพระสมณโคดมนั้นไม่สมควร เขาจึงไปสู่สำนักพระศาสดา กราบที่พระยุคลบาท รับบาตรแล้วอาราธนาให้เสด็จเข้าไปเรือน ให้ประทับนั่งบนบัลลังก์มีค่ามากถวายภิกษา เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระศาสดาทรงแสดงธรรมตามอำนาจจริยาของเขา จบเทศนาเขาก็ดำรงอยู่โสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงฝึกเขาแล้ว ก็เสด็จไปพระเชตวันวิหาร


๐ มารแปลงกายเป็นพระพุทธองค์

ลำดับนั้น มารคิดว่า ชื่อว่าปุรพันธะนี้เป็น สมบัติของเรา แต่พระศาสดาเสด็จไปเรือนเขาวันนี้ ได้ทรงทำให้มรรคปรากฏ เพราะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอ เพียงที่เราจะรู้ว่า เขาพ้นจากวิสัยของเราหรือยังไม่พ้น จึงเนรมิตรูปละม้ายพระทศพล ทั้งทรงจีวร ทั้งทรงบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าทีเดียว ทรงพระลักษณะ ๓๒ ประการ ได้ประทับยืนใกล้ประตูเรือนของปุรพันธอุบาสก

ปุรพันธอุบาสกเมื่อได้ยินว่า พระทศพลเสด็จมาอีกแล้ว ก็คิดว่า ธรรมดาการเสด็จไปชนิดไม่แน่นอนของพระพุทธะทั้งหลายไม่มีเลย เหตุไรหนอจึงเสด็จมา ดังนี้ แล้วจึงรีบเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ด้วยสำคัญว่าพระทศพล กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงเสด็จมาอีก”

มารกล่าวว่า

“ดูก่อนปุรพันธะ เราเมื่อกล่าวธรรม ไม่ทันพิจารณาแล้วกล่าวคำไปข้อหนึ่ง มีอยู่ แท้จริง เรากล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมดทุกอย่าง แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งหมดเห็นปานนั้น ด้วยว่า ขันธ์บางจำพวก ที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน มีอยู่”

ทีนั้น ปุรพันธอุบาสกคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนักอย่างยิ่ง ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธะทั้งหลาย ตรัสเป็นคำสองไม่มี จึงคิดใคร่ครวญว่า ขึ้นชื่อว่ามารเป็นข้าศึกของพระทศพล ผู้นี้ต้องเป็นมารแน่ จึงกล่าวว่า

“ท่านเป็นมารหรือ”

ถ้อยคำที่พระอริยสาวกกล่าวได้เป็นประหนึ่งเอาขวานฟันมารนั้น เพราะเหตุนั้น มารจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนไม่ได้ จึงกล่าวว่า

“ใช่ละ ปุรพันธะ เราเป็นมาร”

ปุรพันธอุบาสกจึงชี้นิ้วกล่าวว่า

“มารตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็มาทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหว ไม่ได้ดอก พระทศพลมหาโคดม เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรง แสดงธรรมปลุกให้ตื่นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ท่านอย่ายืนใกล้ประตูเรือนของเรานะ”

มารฟังคำของปุรพันธอุบาสกนั้นแล้ว ก็ถอยกรูดไม่อาจพูดจา อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง


๐ ทรงแต่งตั้งอุบาสกเป็นเอตทัคคะผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

เวลาเย็นปุรพันธอุบาสก ก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลกิริยาที่มารทำ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารพยายามทำศรัทธาของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว พระศาสดาทรงทำเหตุนั้นนั่นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาปุรพันธอุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว แล



https://84000.org/tipitaka/attha/v.php? ... 920&Z=2832

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2021, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านเชื่อมต่อกระทู้นี้
viewtopic.php?f=71&t=55516

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร