วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2021, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มักจะได้ยินคำถามว่าคนเราเกิดมาเพื่ออะไร?
คำตอบที่ชินหูก็มักจะตอบว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรม จนกลายเป็นว่าเรายอมรับกรรมที่กระทำไว้ในอดีต
แต่มันก็มีส่วนที่จริงดังที่เข้าใจกัน ดังนั้นถ้าเป็นเช่นนี้เราเลยเกิดมาไม่ทำอะไรเลย ไม่ได้พัฒนาอะไรเลย

เท่าที่พูดมานี้เราต้องปฏิบัติกรรมทำกรรมใหม่ให้ถูกต้อง กรรมจะต้องแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

กรรมเก่า กรรมใหม่ กรรมที่เกิดขึ้นในข้างหน้า

กรรมเก่า คือ กรรมที่ได้กระทำมาแล้วในอดีตมาเป็นผลในปัจจุบัน เราควรรู้จักกับมันนำมาใช้
ให้เป็นประโยชน์ ในการแก้ไขปรับปรุงกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

กรรมใหม่คือกรรมที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน เราทำให้ดีได้ ตรงนี้ถือว่าเป็นกรรมที่สำคัญที่สุดที่กระทำ

กรรมข้างหน้า คือในอนาคต ต้องได้รับผลของกรรมที่ทำในปัจจุบันนี้เอง เราสามารถตระเตรียม
วางแผนเพื่อจะให้ได้รับกรรมนั้นดีที่สุด ด้วยการกระทำกรรมปัจจุบันที่จะพัฒนาเราให้ดีงามและงอก
งามยิ่งขึ้น จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะสามารถทำกรรมที่ดีและสูงขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ จนถึงขั้น
เป็นกุศลอันยอดเยี่ยม จะอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่านั้นแล ก็กำลังทำกรรมใหม่อยู่ ถ้าพัฒนากรรม
เก่าผิดก็เป็นบาป เป็นการประมาทปล่อยปะละเลย อันเกิดขาดสติ และจะมองเห็นเหตุผลว่า ทำไม
พระพุทธศาสนาจึงสอนให้หวังผล จากการกระทำ

ขอย้ำว่า กรรมใหม่สำหรับทำ กรรมเก่าสำหรับรู้ อย่ามัวรอกรรมเก่า ที่เราทำอะไรไม่ได้แล้ว แต่หาความรู้
จากกรรมเก่านั้น เพื่อเอามาปรับปรุงพัฒนาการทำกรรมปัจจุบันจะได้พัฒนาตัวเราให้สามารถทำกรรม
อย่างเลิศในอนาคต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2021, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มีพูดว่าคนเราเกิดมาก็เพื่อใช้กรรมเก่า ความเชื่อเช่นนี้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนา และต้อง
ระวังจะเป็นคำสอนของลัทธิของนิครณถ์

ที่พูดมาอย่างนั้น ความจริงก็น่าจะประสงค์ดี คือมุ่งว่าถ้าเจอเรื่องร้าย ก็อย่าไปซัดทอดคนอื่น และอย่า
ไปทำอะไรที่ชั่วร้ายให้เพิ่มเติมมากขึ้น ด้วยความโกรธแค้นเป็นต้น แต่ก็ไม่ถูหลักพระพุทธศาสนา
และจะมีผลเสียมาก

ลัทธินิครณถ์ ซึ่งก็มีผู้นับถือในสมัยพุทธกาลจนกระทั่งในอินเดียทุกวันนี้ เป็นลัทธิกรรมเก่าโดย
ตรงเขาสอนว่าคนเราจะได้สุขได้ทุกข์อย่างไร ก็เป็นเพราะกรรมเก่าที่กระทำในชาติปางก่อน และสอน
ต่อไปว่าไม่ให้ทำกรรมใหม่ แต่ต้องทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไป ด้วยการบำเพญตบะ จึงจะสิ้นกรรมสิ้น
ทุกข์ นักบวชลัทธินี้จึงบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ

คนที่ว่าเราก็อยู่เพื่อใช้กรรมเท่านั้น คล้ายกับพวกนิครณถ์ นี้แหละ คิดว่าไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปเรื่อยๆ
กรรมเก่าก็จะหมดไปเอง ต่างแต่ว่าพวกนิครณถ์ไม่รอให้กรรมเก่าหมดไปเอง แต่เขาบำเพ็ญตบะเพื่อทำ
กรรมเก่าให้หมดไปด้วยความเพียรพยายามของเขาด้วย

มีคำถามที่น่าสังเกตว่า ถ้าว่าถ้าไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปเรื่อยๆ กรรมเก่าจะหมดไปเองไหม ?

เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปเรื่อยๆ กรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเอง แต่ไม่หมดหรอก ไม่ต้องอยู่เฉยๆ แม้แต่จะ
ชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไหร่ๆ ก็ไม่มีทางหมดไปได้เลย

เหตุผลง่ายๆ คือ
๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตาย ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง
๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ มีโกรธ มีหลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะนี้จะมีอยู่ประจำในใจ
ตลอดเวลา เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงถึงสัจจธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2021, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรวมเข้าทั้งสองข้อนั้นก็คือ คนที่อยู่ใช้กรรมนั้น เขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้แต่
จะไม่รู้ตัว แม้จะเป็นบาปโดยไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นกรรมที่ประกอบด้วยโมหะ เช่นทำกรรมใน
รูปต่างๆ ของความไม่ประมาทปล่อยชีวิตให้เรื่อยเปื่อย

ถ้ามองลึกเข้าไปถึงใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ผุดขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น
เศร้า ขุ่นมัว กังวล อยากโน่น นั่น นี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่าย คับแค้น ฯลฯ นี่ก็คือการทำกรรมใหม่อีก
อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่กรรมในใจ แถมเป็นอกุศลกรรมเสียด้วย เพราะฉะนั้นอย่างนี้จึงไม่มีทางสิ้นกรรม
ชดใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีทางหมดสิ้น มีแต่เพิ่มกรรม

แล้วทำอย่างไรจะหมดกรรม การที่จะหมดกรรม ก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรม
ที่ดียิ่งๆ ขึ้น คือ แม้แต่กรรมดีก็ต้องทำให้ดียิ่งๆขึ้น จากระดับหนึ่งให้ยิ่งขึ้นไปสู่อีกระดับหนึ่ง

พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนทำอกุศลกรรม ให้เป็นกุศลกรรมและกระทำกุศลกรรมให้สูงยิ่งขึ้นไป
จนถึงขั้นเป็นกุศลโลกุตตรกรรม

ถ้าใช้เป็นภาษาสมัยใหม่ ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้นเราก็จะมีศีลมีจิตใจ มีปัญญาดียิ่งขึ้นใน
ที่สุดจนพ้นกรรม

พูดสั้นๆ ว่าจะไม่หมดไปด้วยการชดใข้กรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นขั้นของกรรมไปจนถึงขั้นที่ทำ
แต่ไม่เป็นกรรม คือทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ ไม่ถูกครอบงำหรือถูกชักจูง ด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
จึงเรียกว่าพ้นกรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2021, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าได้ศึกษาพระอภิธรรมก็จะทราบว่าขณะใดเป็นกรรม ขณะใดเป็นผลของกรรม

ชีวิตก็มีแค่นี้เอง กิเลส กรรม วิบาก วนๆไป


คงต้องถึงนิพพานอย่างเดียว ภพสามนี่ก็ไม่พ้นกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2022, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
ถ้าได้ศึกษาพระอภิธรรมก็จะทราบว่าขณะใดเป็นกรรม ขณะใดเป็นผลของกรรม

ชีวิตก็มีแค่นี้เอง กิเลส กรรม วิบาก วนๆไป


คงต้องถึงนิพพานอย่างเดียว ภพสามนี่ก็ไม่พ้นกรรม


เมื่อหลุดพ้นแล้วในนิพพานอันเป็นสภาพดับสูญ แห่งเวทนา...
สัญญา...สังขาร...วิญญาณ...เพราะความสิ้นไป สำรอก ดับ สละ และสลัดทิ้ง
ซึ่งเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันทำให้บุคคลสมมุติสัตว์(ว่ามีอยู่)ผู้ยืนอยู่ ไปอยู่

เธอย่อมไม่เข้าถึง สัตว์มีอยู่(สัสสตทิฏฐิ) สัตว์ไม่มี(อุจเฉททิฏฐิ)สัตว์ทั้งมีอยู่
และไม่มีอยู่(สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ) สัตว์เที่ยงก็ไม่ใช่ สูญก็ไม่ใช่(อมราวิกเขปวาท)
โดยที่แท้ เธอย่อมเข้าถึงความลุ่มลึก ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครนับได้ เป็นผู้ดับสนิทแล้ว
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร