วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2021, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Helena6.png
Helena6.png [ 70.16 KiB | เปิดดู 2710 ครั้ง ]
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอภิญญา คือความรู้ความสามารถพิเศษยิ่งยวดอย่างหนึ่ง
มีชื่อเฉพาะ อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ต่างๆได้) แต่เป็นโลกียอภิญญา
คืออภิญญาระดับโลกีย์ ซึ่งพัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่ในโลก เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอำนาจของกิเลส
เช่นเดียวกับโลกียอภิญญาอื่นๆ ทั้งหลาย คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้ใจคนอื่น และระลึกชาติได้

โลกียอภิญญาทั้ง ๕ อย่างนี้ มีคนทำได้ตั้งแต่พุทธกาล ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา
คือ พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม โลกียอภิญญาเหล่านี้ก็มีได้
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็น
สำหรับการเข้าถึงพระพุทธศาสนา

สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา คือ
ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลส ดับทุกข์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาสวักขยญาณ แปลว่า
ญาณที่ทำอาสวะให้สิ้นไป จัดเข้าเป็นอภิญญาข้อสุดท้าย คือข้อที่ ๖ เป็นโลกุตรอภิญญา
คืออภิญญาระดับโลกุตระ ซึ่งทำให้จิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่งผ่องใส พ้นจาก
อำนาจความครอบงำของเรื่องโลกๆ หรือสิ่งที่เป็นวิสัยของโลก ทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยชนโดยสมบูรณ์

โลกียอภิญญาทั้งหลายเสื่อมถอยได้ แต่โลกุตรอภิญญาไม่กลับกลาย ได้โลกุตรอภิญญาอย่างเดียว
ประเสริฐกว่าได้โลกุตรอภิญญา ๕ อย่างรวมกัน แต่ถ้าได้โลกุตรอภิญญา
โดยได้โลกียอภิญญาด้วยก็เป็นคุณสมบัติพิเศษให้ดีพร้อมยิ่งขึ้น

โลกุตรอภิญญาเท่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ ซึ่งทุกคนควรได้ควรถึง
ส่วนโลกียอภิญญาทั้งหลาย มิใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงาม เป็นเพียงเครื่อง
ประกอบเสริมคุณสมบัติดังได้กล่าวไว้แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2021, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




troll-3328570_960_720.png
troll-3328570_960_720.png [ 371.66 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
ปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แค่ฤทธิ์ แต่มีถึง ๓ อย่าง

อิทธิปาฏิหารย์นี้ พระพุทธเจ้าทรงจัดเป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ใน ๓ อย่าง คือ

๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือการแสดงฤทธิต่างๆ
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง และนำไปปฏิยัติได้ผลจริง

ความหมายตามบาลีดังนี้

๑. อิทธิปาฏิหาริย์ บางท่านประกอบฤทธิ์ต่างๆ ได้มากมายหลายอย่าง คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ใช้มือจับต้องลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมายถึงเพียงนี้ก็ได้
ใช้อำนาจทางกายจนถึงพรหมโลกก็ได้

๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ภิกษุย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความไตร่ตรอง
ของสัตว์อื่น บุคคลอื่นก็ได้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้
จิตของท่านเป็นดั่งนี้

(อาเทศนาปาฏิหาริย์ ดูคล้ายเจโตปริยญาณ หรืปริจิตตวิชานน์ คือการหหยั่งรู้ใจผู้อื่น
แต่ไม่ตรงกันเสียทีเดียว เพราะอยู่ในขั้นทายยังไม่ใช่ญาณ)


๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ บางท่านย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้
อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าสิ่งนี้อยู่เถิด

(เฉพาะในเกวัฏฏสูตร ในทีฆนิกาย อธิบายเพิ่มเติม โดยยกเอาการที่พระพุทธเจ้า
อุบัติขึ้นในโลกแล้ว ทรวสั่งสอนธรรม ทำให้คนมี สัทธา ออกบวช บำเพ็ญศีล สำรวมอินทรีย์
มีสติสัมปชัญญะ สันโดษ เจริญฌาน บรรลุอภิญญาทั้ง ๖ ซึ่งจบลงด้วยอาสวขยะ เป็นพระอรหันต์
ว่าการสอนได้สำเร็จผลอย่างนั้น ๆ ล้วนเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2021, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dancer_PNG71.png
dancer_PNG71.png [ 121.55 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นแก่นสาร

ในสมัยพุทธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง ทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาร
เขากราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้ เจริญมั่งคั่ง มีประชากรมาก
มีผู้คนกระจัดกระจายอยู่ทั่ว ต่างเลื่อมใสนักในองค์พระผู้มีพระภาค
ขออันเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงรับสั่งพระภิกษุไว้สักรูปหนึ่ง
ที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ โดยการกระทำเช่นนี้
ชาวเมืองนาลันทานี้ก็จักเลื่อมใสสิ่งนัก

พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า

"นี่แน่ะเกวัฏฏ์ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์
แก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์ทั้งหลาย"

พระองค์ไดัตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น
ทรงรังเกียจ ไม่โปรด ไม่โปร่ง พระหฤทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์
เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อ ก็เห็นจริงตามไป ส่วนคนที่ไม่เชื่อ ได้ฟังแล้วก็ขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่า
ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น คงใช้คันธารีวิทยา และมณีกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มเถียงทะเลาะกัน
และได้ชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เห็นว่า
เอามาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ ประจักษ์ได้ภายในตนเอง จนบรรลุถึงอาสวักขัย
อันเป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา

นอกนั้นยังได้ทรงยกตัวอย่าง ภิกษุรูปหนึ่งมีฤทธิ์มาก อยากรู้ความจริง
เกี่ยวกับจุดดับสิ้นของโลกวัตถุธาตุ จึงเหาะเที่ยวไปสวรรค์ ดั้นด้นไปแสวงหา
คำตอบจนถึงพระพรหม ก็หาคำเฉลยที่ถูกต้องไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องกลับลงมา
แล้วเดินดินไปทูลถามพระองค์ เพื่อรู้จักโลกตามความเป็นจริง แสดงถึงความที่อิทธิปาฏิหาริย์
มีขอบเขตจำกัด อับจน และมิใบ่แก่นธรรม"

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังคารวพราหมณ์ กราบทูลเรื่องแทรก ซึ่งที่ประชุมราชบริษัท
ได้ยกขึ้นมาสนทนากันในราชสำนักว่า

"สมัยก่อนมีพระภิกษุจำนวนน้อยกว่า แต่พระภิกษุแสดงฤทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ได้มากกว่า สมัยนี้ มีพระภิกษุจำนวนมากกว่า แต่ภิกษุผู้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์กลับมีน้อยกว่า"

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ แล้วทรงแสดงความหมายของปาฏิหาริย์ทั้งสามอย่างนั้น
ในที่สุด ได้ตรัสถามพราหมณ์ว่า ชอบใจปาฏิหาริย์อย่างไหน
ปาฏิหาริย์ใดดีกว่า ปราณีตกว่า

พราหมณ์ได้ทูลตอบว่า อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ คนใดทำ
คนนั้นจึงรู้เรื่อง คนใดทำ ก็เป็นของคนนั้น มองดูเหมือนมายากล
อนุสาสนีปาฏิหาริย์จึงจะดีกว่า ปราณีตกว่า(คนอื่นพิจารณารู้เข้าใจ
มองเห็นความจริงด้วย และนำไปปฏิบัติได้ แก้ทุกข์แก้ปัญหาได้)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2021, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




break_dance_PNG21.png
break_dance_PNG21.png [ 117.97 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
อิทธิฤทธิ์ ชนิดอริยะ และชนิดอนารยะ

บาลีอีกแห่งหนึ่ง ขี้แจงเรื่องอิทธิวิธี(การแสดงฤทธิ์ต่าง) ว่ามี ๒ ประเภท คือ

๑. ฤทธิ์ที่ไม่ใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ(มีกิเลสและทำให้เกิดทะกย์ได้)
ได้แก่ ฤทธิ์อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปดังได้บรรยายมาบ้างต้น คือ การที่สมณะ
หรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญเพียรจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น
แปลงตัวเป็นคาหลายคน ไปไหนก็แหวกทะลุกำแพงไป เหินฟ้า ดำดินเดินบนน้ำ เป็นต้น

๒.ฤทธิที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ(ไม่มีกิเลสไม่ทำให้เกิดทุกข์)
ได้แก่ การที่พระภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายตามต้องการบังคับความรู้สึกของตนได้
จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนหน้าตาน่าเกลียดชัง
ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรี เห็นสิ่งที่ไม่น่าเกลียด เป็นน่าเกลียดก็ได้
เช่น เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวนให้เกิดราคะ จะมองเป็นอสุภะไป ก็ได้
หรือจะวางใจเป็นกลางเสีย ปล่อยวางทั้งสิ้นที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียด ก็ได้ เช่น
ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2021, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dancer_PNG109.png
dancer_PNG109.png [ 26.89 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
เรื่องฤทธิ์ ๒ ประเภท ย่อมย้ำความกล่าวข้างต้นให้เห็นว่า อิทธิปาฏิหาริย์
จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งทำอะไรได้ผลาดแผลงพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้น
ไม่ได้รับความยกย่องในพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา

ฤทธิ์ที่สูงที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ความสามารถบังคับความรู้สึกของตนเองได้
หรือบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจของตนได้ เป็นฤทธิ์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครๆ
ซึ่งผู้ได้ฤทธิ์อย่างต้นอาจทำไม่ได้ แถมบางครั้งผู้มีฤทธิ์อย่างต้นนั้นยังเอาฤทธิ์ของตนนั้น
ไปใช้เป็นเครื่องมือสนองกิเลส ตรงข้ากับฤธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม
กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรืโมหะ

การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน
ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันถึงการไม่สนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์
เมื่อว่าตามรูปศัพท์

ปาฏิหาริย์ แปลว่า การกระทำที่ตีกลับ ขับไล่ กำจัดเสียซึ่งปฏิปักษ์
อิทธิ หรือ ฤทธิ์ แปลว่า ความสำเร็จ
อาเทศนา แปลว่า ระบุ อ้าง สำแดง ชี้บ่ง จะแปลว่าปรากฏชัดก็ได้
อนุสาสนี แปลว่า คำพร้ำสอน

โดยถือเอาความหมายอย่างนี้ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ได้แปลความหมายปฎิหาริย์ทั้งส่ามออกไป
ให้เห็นเพิ่มไปอีกแนวหนึ่ง คือกล่าวคุณธรรมต่างๆ เช่น เนกขัมมะ เมตตา ฌาน
อนัตตานุปัสสนา ตลอดจนถึง อรหันตมรรค เรียกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้น
โดยความหมายว่า สำเร็จผลตามหน้าที่ และกำนัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของมัน
เช่น กามฉันท์ พยาบาท ตลอดจนกิเลสทั้งปวงได้ เรียกเป็น อาเทศนาปาฏิหาริย์ได้
โดยความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ทุกคน ย่อมมีจิตบริสุทธิ์
มีความคิดไม่ขุ่นมัว เรียกว่าเป็น อนะสาสนีปาฏิหาริย์ได้ โดยความหมายของการสั่งสอนว่า
ธรรมข้อนั้นๆ ควรปฏิบัติ ควรฝึกอบรม ควรเพิ่มพูล ควรตั้งสติ ให้เหมาะสมอย่างไร เป็นต้น
คำอธิบายอย่างนี้ แม้จะไม่ใช่ความหมายอย่างที่ใช้ทั่วไป แต่ก็เป็นความรู้ที่ประกอบที่น่าสนใย

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า อิทธิปาฏิหาริย์เป็นโลกียอภิญญาอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นส่วนเสริมคุณสมบัติของผู้ที่ไดเโลกุตรอภิญญาเป็นหลักอยู่แล้ว ให้พร้อมบริบูรณ์ยิ่งขึ้น
สำหรับการบำเพ็ญกิจเกื้อกูลแก่ชาวโลก จึงมีพุทธพจน์บางแห่งเรียกภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ครบทั้งสามประการ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นผู้สำเร็จสิ้นเชิง จบหรือถึงจุดสิ้นเชิง เป็นต้น
และเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมํเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

แต่ทั้งนี้ย้ำว่าต้องมีอนะสาสนีปาฏิหาริย์เป็นหลัก หรือเป็นข้อยืนยันแน่นอน
และมีข้อป่ฏิหาริย์ ๒ ข้อต้น เป็นเครื่องเสริม

แม้ในการใช้ปาฏิหาริย์ ก็ถือเป็นหลักอย่างเดียว คือ ต้องใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์อยู่เสมอ
หากต้องใช้อิทธิปาฏิหาริย์หรืออาเทศนาปาฏิหาริย์บ้าง ในเมื่อมีเหตุผลสมควร
ก็ใช้เป็นเครื่องประกอบเบื้องต้น เพื่อนำเข้าสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์
มีอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นเป้าหมาย และจบลงด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ดังจะได้กล่าวต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2021, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




580b585b2edbce24c47b2b8d.png
580b585b2edbce24c47b2b8d.png [ 10.97 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
โทษแก่ปุถุชน ในการเกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์

สำหรับปุถุชน ฤทธิ์อาจเป็นโทษได้ทั้งแก่ผู้มีฤทธ์เอง และผู้ที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์
ปุถุชนผู้มีฤทธิ์อาจจะเกิดความเมาฤทธิ์ ในลักษณะต่างๆ เช่น เกิดมานะว่า
เราทำได้ในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ คนอื่นทำไม่ได้อย่างเรามีความยกตนข่มผู้อื่น
กลายเป็นอสัตบุรุษไป หรืออาจมีความหลงไหลมัวเมาในลาภสักการะที่เกิดจากฤทธิ์นั้น
นำฤทธิ์ไปใช้กระทำความชั่วความเสียหาย อย่างพระเฑวทัต เป็นต้น

อย่างน้อยการติดใจเพลิดเพลินอยู่ในฤทธิ์ ก็ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไป ไม่อาจชำระกิเลสทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้ และเพราะฤทธิ์ของปุถุชนเป็นของเสื่อมได้
แม้แต่ความห่วงกังวลมัวยุ่งกับการรักษาฤทธิ์ ก็กลายเป็นปลิโพธ คืออุปสรรค
ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ปัญญาพินิจพิจารณาตามวิธีวิปัสสนาอย่างได้ผลดี
ท่านจึงจัดเอาฤทธิ์เป็นปลิโพธอย่างหนึ่งของวิปัสสนา(อิทธิปลิโพธ)
ซึ่งผู้จะฝึกอบรมปัญญาพึงตัดเสียให้ได้

ส่วนปุถุชนที่มาเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ ก็มีทางประสบผลเสียกับฤทธิได้เป็นอันมาก
ผลเสียข้อแรกทีเดียว ก็คือ คนที่มาเกี่ยวข้องอาจตกไปเป็นเหยื่อของผู้มีฤทธิ์หรือหลอกลวงว่ามีฤทธิ์
ซึ่งมีอกุศลเจตนานำเอาฤทธิ์มาเอ่ยอ้างเพื่อลวงหาลาภสักการะ

อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้มีข้อสังเกตุว่า ตามปกติผู้มีฤทธิ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติชอบ
จะใช้ฤทธิ์ในกรณีเดียว เมื่อมีเหตุผลอันสมควร เพื่อไปเป็นสื่อสู่การแนะนำสั่งสอนที่ถูกต้อง
คืออนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับการแนะนำสั่งสอนธรามแล้ว
ผู้มีฤทธิ์ทำไม นอกจากเพื่อผูกคนไว้กับตนเป็นสะพาาทอดไปสู่ซื่อเสียงและลาภผล

ดังนั้น จึงควรยึดถือเป็นหลักเลยทีเดียวว่า การใช้อิทธิปาฏิหาริย์จะต้องมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์
ตามมาด้วย ถ้าผู้ใดอ้างหรือใช้อิทธิปาฏิหาริย์ โดยมิใช่เป็นไปเพื่อบันไดนำไปสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์
พึ่งถือไว้ก่อนว่า ผู้นั้นปฏิบัติผิดในเรื่องอิทธิ์ปาฏิหาริย์ เขาอาจมีอกุศลเจตนาหลอกลวง
มุ่งแสวงหาลาภสักการะ หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้มัวเมาลุ่มหลงเข้าใจผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น

หลักการนี้ผ่อนลงมาใช้ได้แม้กับพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วๆไป
โดยอาจให้ยึดถือกันไว้ว่า ผู้ใดนำเอาของขลังศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งลึกลับต่างๆ
มาใช้เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยมิได้นำประชาชนไปสู่ความรู้ความเข้าใจในธรรม
มิได้ต่อท้ายด้วยของขลังเป็นต้นนั้นด้วยการแนะนำสั่งสอนให้เกิดปัญญา
คือความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความจริงความดีงามที่ควรรู้ และความประพฤติปฏิบัติ
เพื่อนำเขาให้ค่อยๆ ก้าวพ้นความอิสระออกไปได้ จากของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น
พึงถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติผิด และนำประชาชนไปในทางที่ผิด

อนึ่ง แม้ในกรณีที่มิตกไปเป็นเหยื่อของผู้อวดอ้างฤทธิ์ ก็ไปมัววุ่นวายเพลิดเพลิน
หรือฝักไฝ่กับอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลายก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนา
อยู่ในตัวแล้วตั้งหลายแง่

แง่ที่หนึ่ง ในเมื่ออิทธิปาฏิหาริย์ไม่ใช่สาระสำคัญของพระพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวกับจุดหมาย
ของพระพุทธศาสนา ไม่ช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสการไปฝักไฝ่ในเรื่องเบ่นนี้
ย่อมเป็นการพร่าเวลาและแรงงานที่ควรใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมให้หมดไปในทางที่ผิด

แง่ที่สอง คนที่ไปเกี่ยวข้องกับคนที่อ้างฤทธิ์ หรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มักมุ่งเพื่อ
ไปขอความช่วยเหลือ หวังอำนาจดลบันดาลให้เกิดโขคลาภ เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้
ย่อมไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เป็น กรรมวาท กิริยาวาท และวิริยวาท
สอนให้คนหวังผลสำเร็จจากการลงมือทำด้วยความเพียรพยายาม ตามเหตุตามผล
การมัวหวังผลจากการอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากอำนาจดลบันดาล อาจทำให้กลายเป็นนิสัยเฉื่อยชา
กลายเป็นคนงอมือขอท้าว อย่างน้อยก็ทำให้ขาดความเพียรพยายาม ไม่รีบเร่งลงมือทำ
สิ่งที่ควรกระทำ ไม่เร่งเว้นสิ่งที่ควรงดเว้น ขัดกับหลักความไม่ประมาท

นอกจากนั้น ถ้าจะฝักไฝ่กับอิทธิปาฏิหาริย์ ก็ควรฝึกตนให้ทำปาฏิหาริย์นั้นได้เองจะดีกว่า
แต่ก็ยังขัดกับหลักการที่หนึ่งข้างต้นอยู่ดี เพราะการฝักไฝ่หวังผลจากอิทธิปาฏิหาริย์ของผู้อื่น
หรืออำนาจดลบันดาลทั้งหลาย เป็นพึ่งสิ่งภายนอกทำให้บีวินขึ้นต่อสิ่งอื่นม่กยิ่งขึ้น
แทนที่จะอาศัยอำนาจภายนอกน้อยลง และเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น
จนอาจทำให้กลายเป็นคนมีชีวิตที่เลื่อนลอย มักเป็นอยู่ด้วยความเพ้อฝัน เป็นคนขาด
ประสิทธิภาพ ขาดอำนาจและความมั่นใจในตนเอง ขัดต่อหลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา
ที่สอนให้พึ่งตนเอง สอนให้ทำตนที่พึ่งได้ หรือสามารถพึ่งตนได้ และสอนมรรคา
แห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ซึ่งในขั้นสุดท้ายให้ข้ามพ้นได้แม้กระทั้งศรัทธาที่มีเหตุผล
ไปสู่ความเป็นอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ไม่ต้องอิงอาศัยแม้กระทั้งพระศาสดา เริ่มต้นมรรคา
จากการอิงอาศัยปัญญาส่องนำหน้าของพระศาสดาผู้เป็นกัลยาณมิตร ไปสู่
การยืนได้ด้วยลำพังตน โดยไม่ต้องอาศัยการประคับประคองของพระศาสดา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2021, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




break_dance_PNG38.png
break_dance_PNG38.png [ 21.05 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์

เมื่อพิจารณาในแง่ผลต่อคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับฤทธิ์แล้ว คราวนี้ลองมาพิจารณาดูแนว
ปฏิบัติจากพระจริยาวัตรของบรมพระศาสดาและพระสาวกทั้งหลายผู้เรืองฤทธิ์ ว่าท่านใช้
ฤทธิ์หรือปฏิบัติต่ออิทธิปาฏิหารกันอย่างไร

สำหรับองค์พระพุทธเจ้าเอง ปรากฏชัดจากพุทธดำรัสที่อ้างแล้วข้างต้นว่า ทรงรังเกียจ
ไม่ทรงโปรด ทั้งอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่ทรงสนับสนุน อนุสาสนีปาฏิ
หารย์และทรงใช้ปาฏิหาริย์ข้อหลังนี้อยู่เสมอ เป็นหลักประจำแห่ง หรือว่าให้ถูกแท้คือ
เป็นตัวพุทธกิจทีเดียว ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังแสดงแล้วข้างต้น

แต่ก็ปรากฏอยู่บางคราวว่า มีกรณีที่ทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์บ้างเหมือนกัน และเมื่อ
พิจารณาจากกรณีเหล่านั้นแล้ว ก็สรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์
เฉพาะในกรณีที่จะทรงทรมานผู้มีฤทธิ์ ผู้ถือฤทธิ์เป็นเรื่องสำคัญ หรือผู้ถือตัวว่า
เป็นผู้วิเศษ ให้ละความหลงใหลมัวเมาในฤทธิ์ พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้ฤทธิ์ปราบ
ฤทธิ์ เพื่อให้ผู้ชอบฤทธิ์หรือลำพองในฤทธิ์ ตระหนักในคุณค่าอันจำกัดของฤทธิ์
มองเห็นสิ่งอื่นที่ดีงามประเสริฐกว่าฤทธิ์ และพร้อมที่จะเรียนรู้หรือรับฟังสิ่งอันประ
เสริฐนั้น ซึ่งจะทรงชี้แจงสั่งสอนแก่เขาด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ต่อไป

ทั้งนี้ ตรงกับหลักที่กล่าวข้างต้นว่า ใช้อิทธิปาฏิหาริย์ประกอบอนุสาสนีปาฏิหาริย์
แต่เป็นการใช้ประกอบในขอบเขตจำกัดอย่างยิ่ง คือเฉพาะในกรณีที่ผู้รับคำสอนฝัก
ใฝ่ในฤทธิ์หรือเมาฤทธิ์ แสดงทิฏฐิมานะต่อพระองค์เท่านั้น เช่น เรื่องการทรมาน
พระพรหม เป็นต้น

ส่วนพระมหาสาวกทั้งหลาย ก็มีเรื่องราวเล่ามาบ้างว่า ใช้ฤทธิ์ประกอบอนุสาสนีย์
แก่ผู้ฝักใฝ่ฤทธิ์ เช่น เรื่องที่พระสารีบุตรสอนหมู่ภิกษุศิษย์พระเทวทัต ด้วยอาเทศนา
ปาฏิหาริย์ควบกับอนุสาสนีปาฏิหาริย์ พระมหาโมคคัลลาน์ สอนด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ควบกับอนุสาสนีปาฏิหาริย์

ส่วนการทำอิทธิปาฏิหาริย์เพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลือ มีเรื่องเล่ามาบ้างน้อยเหลือเกิน
แต่กรณีที่ขอร้องให้ช่วยเหลือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ไม่พบในพระไครปิฎกเลยแม้แต่
แห่งเดียว จะมีผู้ขอร้องพระบางรูปให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์บ้าง ก็เพียงเพราะอยาก
ดูเท่านั้น และการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ชาวบ้านดู พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงบัญญัติ
สิกขาบทห้ามไว้แล้วดังได้กล่าวข้างต้น

ในที่นี้ ขอย้ำข้อคิดตามหลักพระพุทธศาสนาไว้อีกครั้งหนึ่งว่า ในชีวิตที่เป็นจริง
ในระยะยาว หรือตามปกติธรรมดาของมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องอยู่กับมนุษย์ และเป็น
อยู่ด้วยเหตุผลสามัญของมนุษย์เอง จะมัวหวังพึ่งอำนาจภายนอกที่มองไม่เห็น
ซึ่งไม่ขึ้นกับตนเองอยู่อย่างไร

ทางที่ดี ควรจะหันมาพยายามฝึกหัดตนเอง และฝึกปรือกันเอง ให้มีความรู้ความ
สามารถชำนิชำนาญในการแก้ปัญหา ตามวิถีทางแห่งเหตุผลอย่างสามัญของมนุษย์
นี้แหละ ให้สำเร็จโดยชอบธรรม ความสามารถที่ทำได้สำเร็จอย่างนี้ ท่านก็จัดเป็น
ฤทธิ์อย่างหนึ่ง และเป็นฤทธิ์ที่ถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา มีทั้ง
อามิสฤทธิ์ และ ธรรมฤทธิ์ โดยถือธรรมฤทธิ์เป็นหลักนำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2021, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




99d9739351667b60ff07d2e62f58f722.png
99d9739351667b60ff07d2e62f58f722.png [ 275.46 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]
สรุปเหตุผลข้อใหญ่ ที่แสดงถึงขอบเขตจำกัด หรือจุดติดตันขออิทธิปาฏิหาร ตลอดถึง
อำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทำให้ไม่สามารถเป็นหลักการสำคัญของพระพุทธ
ศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับจุดหมายของพุทธธรรม และไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนิน
พุทธมรรคา ไม่อาจเป็นที่พึ่งอันเกษมหรือปลอดภัยได้ เหตุผลนั้นมี ๒ ประการ คือ.-

๑. ทางปัญญา อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น ไม่อาจทำให้เกิดปัญญาหยั่งรู้สัจจธรรม เข้าใจ
สภาวธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงได้ ดังตัวอย่าง เรื่องพระภิกษุมีฤทธิ์ที่เหาะไปหา
คำตอบเกี่ยวกับสัจธรรมทั่วจักรวาล จนถึงพระพรหม ผู้ถือตนว่าเป็นผู้สร้างผู้บันดาลโลก
ก็ไม่สำเร็จ และเรื่องฤาษีมีฤทธิ์ เหาะไปดูที่สุดโลกพิภพจนหมดอายุ ก็ไม่พบ เป็นตัวอย่าง

๒. ทางจิต อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น ไม่อาจกำจัดกิเลส หรือดับความทุกข์ได้จริง จิตใจมี
ความขุ่นมัว กลัดกลุ้ม เร่าร้อน ถูกโลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ก็ไม่สามารถแก้ไขให้หลุด
พ้นเป็นอิสระได้ แม้จะใช้ฌานสมาบัติข่มระงับไว้ ก็ทำได้เพียงชั่วคราว กลับออกมาสู่การ
เผชิญโลกและชีวิตตามปกติ เมื่อใด กิเลสและความทุกข์ก็หวนคืนมารังควานได้อีก เมื่อนั้น
ยิ่งกว่านั้น อิทธิปาฏิหาริย์อาจกลายเป็นเครื่องมือรับใช้กิเลสไปก็ได้ ดังเรื่องพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2022, 20:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร