วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2022, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Statue-PNG-Photo.png
Gautama-Buddha-Statue-PNG-Photo.png [ 53.95 KiB | เปิดดู 416 ครั้ง ]
ภาวะแห่งนิพพาน
ในหนังสือพุทธธรรมกล่าวว่า นิพพาน คือภาวะจิตที่เป็นผลเนื่องมาจากการดับ
แห่ง อวิชชา ตัณหา อุปทาน คำว่านิพพานมาจาก นิ ซึ่งแปลว่าออกไป หมดไป
ไม่มี เลิก กับ วาน ซึ่งแปลว่า พัดไป หรือเป็นไป เครื่องร้อยรัด ใช้เป็นกิริยาของไฟ
หรือการดับไฟ ดังนั้นนิพพานจึงแปลว่า ดับไฟ ดับร้อน หายร้อน เย็นลง

หากแสดงถึงภาวะจิตใจหมายถึงเย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน
ไม่มีความกระวนกระวายใจ ในทางธรรมะ แปลว่า เครื่องดับกิเลส คือทำให้ ราคะ โมหะ
โทสะ หมดสิ้นไป ในอรรถคาถา ฎีกา นิยมแปลว่า ไม่มีตันหาร้อยรัดไว้กับภาพ

ด้วยเหตุที่ ภาวะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนมองเห็นได้ยาก เปรียบดัง ปลาย่อมไม่รู้จักบก
ดังนั้นนิพพานจึงเป็นคำที่นิยามไว้ค่อนข้างยาก เพราะถ้อยคำที่จะบรรยายโดยตรงด้วยสัญญา
ที่จะใช้กำหนดไม่มี บางครั้งพุทธศาสนาจึงมีวิธีกล่าวถึงนิพพานเป็น ๔ แบบคือ

๑. แบบปฏิเสธ คือการให้ความหมายอันแสดงถึงการละการกำจัดการเพิกถอนภาวะที่ไม่ดี
ไม่งาม ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในวิสัยฝ่ายวัฏฏ์ของปุถุชน เช่นกล่าวว่า นิพพาน
คือภาวะของการสิ้น ราคะ โทสะ โมหะ นิพพานคือความดับแห่งภพ นิพพานคือความสิ้นตันหา
นิพพานคือจุดจบของทุกข์เป็นต้น

๒. แบบไวพจน์ คือเรียกตามคุณภาพ เช่นกล่าวว่า นิพพานคือความสงบ ความประณีต
ความบริสุทธิ์ ความเกษม เป็นต้น

๓. แบบอุปมา เช่นกล่าวว่า นิพพาน คือดินแดนอันรื่นรมณ์ คือดินแดนแห่งความไม่มีโรค
เป็นเกาะแห่งความพ้นภัย บ้างก็เลยเถิดไปว่าเป็นดินแดนแห่งอมตมหานคร ก็มี

๔. แบบบรรยายภาวะโดยตรง โดยเฉพาะในผู้ที่นับถือพระพุทธธรรมอย่างเป็นปรัชญา
เช่นกล่าวว่า นิพพานคือภาวะที่พึงรู้ได้ด้วยวิญญาณ เป็นอนิทัสสนะกล่าวคือมองไม่เห็นด้วยตา
เป็นอนันนต์คือความสว่างแจ้งทั่วทั้งหมด เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดมีคำแสดงภาวะนิพพานว่า
เป็น “อสังขตะ” แปลว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง กล่าวคือไม่เกิดจากเหตุปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2022, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Untitled-3.gif
Untitled-3.gif [ 119.41 KiB | เปิดดู 416 ครั้ง ]
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน อาจศึกษาได้จากคำเรียกชื่อและคำแสดงคุณลักษณะ
ของผู้บรรลุนิพพานทั้งในความหมายต่าง ๆ กัน ดังเช่น พระอรหันต์ (ผู้ไกลกิเลส)
ขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะ) อเสขะ (ผู้จบการศึกษาแล้ว) ปริกขีณสังโยชน์ (ผู้หมดจากสังโยชน์)
ทักขิไณย์ (ผู้ที่ควรแก่ทักษิณา) เป็นต้น ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
สามารถแบ่งโดยการใช้เกณฐ์ตามแนวแห่งหลัก ๓ ประการ คือ

๑.ภาวะทางปัญญา คือการมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นหรือเห็นตามความเป็นจริง
เริ่มต้นตั้งแต่การรับรู้อารมณ์ ทางอายตนะด้วยจิตใจที่มีทีท่าเป็นกลางและมีสติ ไม่หวั่นไหว
ถูกชักจูงไปตามความชอบใจ ไม่ชอบใจ สามารถดูรู้เห็นอารมณ์นั้น ๆ ตามภาวะของมันตั้งแต่ต้น
จนตลอดสาย ไม่ถูกความคิดพัน ความขัดข้องขุ่นมัว หรือความกระทบกระแทก ที่เนื่องจาก
อารมณ์นั้นฉุดรั้งไว้ไขว่เขวออกไปเสียก่อน รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทันสมมติบัญญัติ เช่น ไม่ยึดติดในสมมติภาษาอันเป็นเครื่องสื่
อความหมาย รู้เห็น เข้าใจ และยอมรับความจริงทั้งทางด้านดีหรือที่น่าชื่นชม (อัสสาทะ)
ทางด้านเสียหรือที่เป็นโทษ ( อาทีนพ) และทางปลอดพ้น (นิสสรณะ) ของกาม ของโลก ของขันธ์ ๕
เมื่อเกิดปัญญารู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นอาการที่มันเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยกัน
ก็เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เรียกว่าเป็นผู้มีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง
เข้าถึงสัจธรรมได้โดยไม่ต้องเชื่อโดยอาศัยความเชื่อความศรัทธา

๒. ภาวะทางจิต
เมื่อเกิดปัญญารู้เห็นความเป็นจริง และรู้เท่าทันสังขารแล้ว ย่อมจะทำให้จิตเป็นอิสระ
พ้นภาวะจากอำนาจครอบงำของกิเลส กล่าวคือไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ
เป็นจิตที่ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุที่จะทำให้ความชั่วเสียหายร้ายแรง
อันเป็นหลักประกันสุจริตในการทำงาน ไม่มีความหวาดเสียว สะดุ้ง สะท้าน หวั่นไหว
ต่อการรับรู้อารมณ์ หรือสามารถเป็นเจ้านายของอารมณ์ด้วยความวางเฉยเป็นกลางอย่าง
ผู้มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้มีสติ ควบคุมตนเองได้ มีจิตใจหนักแน่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ไม่ยึดติด
ในสิ่งต่างๆเริ่มตั้งแต่ไม่ยึดติดในกาม ไม่ติดในบุญบาป ไม่ติดในอารมณ์ต่าง ๆ อันเป็นเหตุ
ให้รำพึงหวังอนาคต พระอรหันต์หรือผู้บรรลุนิพพานไม่ใช้ปัญญาพิจารณากิจการงานภายหน้าและไม่ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในอดีต แต่เนื่องเพราะพระอรหันต์มีภาวะจิตที่ปลอดโปร่งจากอดีต
และอนาคต จึงนำเอาความรู้ที่เกี่ยวกับอดีตและอนาคตมาใช้ประโยชน์ทางปัญญาได้เต็มที่
อดีตและอนาคตจึงเป็นเรื่องทางปัญญาแต่มิใช่ทางจิต ภาวะทางจิตของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน
จึงเป็นสุข แต่ไม่ติดในสุขรวมทั้งไม่ติดใจเพลินกับนิพพานด้วยเช่นกัน ภาวะทางจิตเช่นนี้
บางครั้งพุธศาสนาจึงเรียกว่า อาโรคยะ หรือภาวะที่ไร้โรค

๓. ภาวะทางความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต
พระอรหันต์คืออริยบุคคลผู้บรรลุภาวะแห่งนิพพาน ย่อมประพฤติเยี่ยงผู้มีศีลที่สมบูรณ์แล้ว
ตั้งแต่ชั้นโสดาบัน จึงถือว่าพระอรหันต์เป็นผู้ดับกรรมหรือสิ้นกรรม มีแต่การกระทำที่เรียกว่า กิริยา
หมายถึงการที่ไม่กระทำการต่างๆ ด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำชักจูงใจ แต่กระทำ
ด้วยจิตใจที่เป็นอิสระมีปัญญารู้แจ้งด้วยเหตุผล เปลี่ยนการกระทำจากปุถุชนมาเป็นอริยชน
กล่าวคือไม่ทำด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่วที่เกี่ยวกับตนเองและเพื่อผลประโยชน์ของตน
ไม่มีความปารถนาที่จะทำเพื่อตนเองเคลือบแคลงแฝงอยู่ไม่ว่าในรูปหยาบหรือละเอียด ถือเป็น
การกระทำที่ลอยพันอยู่เหนือกรรมดีขึ้นไปอีก

กรุณา วิชชา และวิมุตติ จึงเป็นคุณสมบัติของผู้บรรลุนิพพาน ที่เป็นคู่ปรับตรงข้ามกับ
อวิชชา ตัณหา และอุปาทานอันเป็นคุณสมบัติของปุถุชนยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
พระอรหันต์จึงเป็นผู้บรรลุภาวะแห่งนิพพานโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ตนก็เพราะเป็นผู้ทำ
ประโยชน์ตนเสร็จสิ้นแล้ว พระอรหันต์จึงมีคุณสมบัติเป็นมิตรกับทุกคนเป็นเพื่อนกับทุกคน
และหวังดีต่อสรรพสัตว์ ได้อย่างแท้จริง
ภาวะทางปัญญา ภาวะทางจิตใจ และภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิตของผู้บรรลุ
นิพพานเท่าที่กล่าวมานี้ รวมอยู่ในหลัก 3 ข้อคือ วิชชา วิมุตติ และกรุณา ปัญญาและกรุณา
เป็นองค์ธรรมฝ่ายงาน วิมุตติเป็นผล เป็นเครื่องส่อแสดงของการเข้าถึงนิพพาน อันหมายถึงสว่าง
สงบ สะอาด อสระ หรืออาจจะเรียกว่า วิมุตติ เกษม วิสุทธิ สันติ ปรมัตถ์ บรมสัจจ์
อันเป็นศัพท์ที่อยู่ขอบเขตของคำว่านิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2022, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




410-4106059_trees-background-png (1).png
410-4106059_trees-background-png (1).png [ 379.48 KiB | เปิดดู 416 ครั้ง ]
ประเภทของนิพพาน
ตามภาวะแท้จริงแล้ว นิพพานมีอย่างเดียว แต่เพื่ออรรถาธิบาย จึงมีการแบ่งประเภทของนิพพาน
ออกเป็น ๒ ชนิดดังนี้

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือยัง (กิเลสปรินิพพาน) หมายถึง
นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ต่อโลกและสิ่ง
แวดล้อมโดยปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จึงทำให้การรับรู้อารมณ์หรือการเสวยอารมณ์เป็นไป
ด้วยจิตใจที่ปลอดโปร่งเป็นอิสระด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมชาติในชีวิตประจำวัน พระอรหันต์จึง
ไม่มีความยินดียินร้าย ชอบ ชัง ติดใจ ขัดใจ กล่าวคือไม่มีตัณหาที่จะปรุงแต่งภพหรือนำไปสู่ภพ

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือนิพพานที่ไม่มีเบญจขันธ์ หมายถึงนิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิตลง
บางครั้งเรียกว่า ขันธปรินิพพาน เป็นภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยว
กับขันธ์ ๕ จึงเป็นภาวะของนิพพานล้วน ๆ ที่ไม่อาจหยั่งถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ที่มีมีอยู่
ในตัวมนุษย์

การแบ่งนิพพานเช่นนี้เป็นการกล่าวโดยบรรยายอาการลักษณะแห่งการเกี่ยวข้องระหว่างนิพพาน
กับผู้ที่บรรลุนิพพาน ไม่ใช่การบรรยายของนิพพานแท้ๆ อันผู้บรรลุจะเห็นได้เองเป็นปัจจัตตัง
เวทิตัพพัง วิญญูหิ อันวิญญูชนรู้ได้เฉพาะที่ตัวเอง แต่โดยความหมายที่แท้จริงแล้ว นิพพาน
ไม่มีการแบ่งประเภท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2022, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tree-5257274_1280 (1).png
tree-5257274_1280 (1).png [ 122.38 KiB | เปิดดู 416 ครั้ง ]
ระดับของนิพพาน

ผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพานที่ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย หรือผู้ที่ดำเนินก้าวหน้า
มาในทางที่ถูก จนถึงขั้นที่มองเห็นจุดหมายเบื้องหน้าและจะบรรลุจุดหมายอย่างแน่นอนนั้น
พุทธศาสนาจัดว่าเป็นสาวกที่แท้ของพระพุทธเจ้าหรือสาวกสงฆ์ จัดเป็นทักขิไณยบุคคล
หรืออริยบุคคล

เกณฑ์ในการจำแนกอริยบุคคลคือ ทักขิไณยบุคคล จัดตามกิเลสคือ สังโยชน์ทีละได้แต่ละชั้น
พร้อมไปกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สำหรับคำว่าสังโยชน์
นั้นมี ๑๐ ประการแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือสังโยชน์ขั้นหยาบ ๕ ประการกับ สังโยชน์ขั้นละเอียด
อีก ๕ ประการดังนี้

สังโยชน์ชั้นหยาบ
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน มองไม่เห็นสภาพความจริงที่ว่า สัตว์ บุคคลเป็นเพียง
องค์ประกอบต่างๆมาประชุมเข้าด้วยกันเกิดมีความเห็นแก่ตัวในขั้นชั้นหยาบทำให้เกิดความรู้สึก
กระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง
๒. วิจิกิจฉา ความลังเล ความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในพระศาสดา พระธรรม ในสิกขาเป็นต้น
ทำให้ขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่จะมุ่งสู่อริยมรรค
๓. สีลัพตปรามาส คือการยึดถือ ปฏิบัติในศีล พรต ระเบียบแบบแผน บทบัญญัติ และข้อต่างๆ
ได้สักแต่ทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย โดยเห็นว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์ คิดอยู่แค่รูปแบบ พิธีรีตอง
ด้วยตัณหาและทิฏฐิ โดยคาดหวังเพราะอยากได้ประโยชน์ตอบแทนซึ่งไม่เป็นไปตามความหมาย
ที่แท้จริงของศีลและวัตร ทำให้ปฏิบัติเขวออกนอกทางแห่งอริยมรรค
๔. กามราคะ ความกำหนัดตัดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความหงุดหงิดขัดเคือง งุ่นง่านใจ กระทบกระทั่งใจ
สังโยชน์ขั้นละเอียด
๑. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประเสริฐ ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข
ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดในปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น
๒. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ
๓. มานะ ความถือตัวสำคัญตนว่าสูงกว่าคนอื่น ต่ำว่าคนอื่น หรือเท่าเทียมคนอื่น
๔. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดจิตฟุ้งซ่าน
๕. อวิชชา ความที่รู้ไม่เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้ออริยสัจ
ทักขิไณยบุคคล หรือพระอริยบุคคล ๘ นั้น ว่าโดยระดับหรือขั้นตอนใหญ่แล้ว มีเพียง ๔ และสัมพันธ์
กับการละสังโยชน์ดังนี้

พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรืแสอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้ออุปทานหรือกิเสสเหลืออยู่) คือ
๑. พระโสดาบัน ผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรค ที่สามารถละสังโยชน์ ๓ ระดับแรก คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
๒. พระสกทาคามี เป็นผู้ทำได้บริสุทธิ์ในขั้นศีล และทำได้พอประมาณในขั้นสมาธิและในขั้นปัญญา
สามารถละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้แล้วยังทำ ราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามี เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในศีล และสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญาละสังโยชน์ขั้น
หยาบทั้ง ๕ ข้อแรกได้

พระอเสขะ(ผู้จบการศึกษา)หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้ออุปาทานเหลือ)
๔. พระอรหันต์หมายถึงผู้สิ้นอาสวะเป็นผู้ทำได้บริสุทธิ์ในสิกขาทั้ง ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ละสังโยชน์ได้ทั้งหยาบและอย่างละเอียดทั้ง ๑๐ ข้อ

ในบางครั้งพระพุทธศาสนาใช้เกณฑ์การแบ่งทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลออกเป็น ๗ ระดับ
ตามระดับอินทรีย์ ที่แก่กล้าเป็นตัวนำในการปฏิบัติโดยสัมพันธ์กับวิโมกข์ ๘ กล่าวโดยปริยาย
คือมีพระเสขะ ๕ ระดับ กับพระอเสขะ ๒ ระดับ ได้แก่ ปัญญาวิมุต หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาเป็นตัวนำมาโดยตลอดจนสำเร็จกับอุภโคภาควิมุต หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะ
มาเป็นอย่างมากก่อนแล้วจึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อจนสำเร็จ ผู้สนใจโดย
นิปริยายสามารถศึกษาได้จากหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความของท่านพระธรรมปิฎก

เขียนโดย วิโรจน์ วิชัย ที่ วันพฤหัสบดี, มกราคม 14, 2553

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร