วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




14993584_1010219939107637_6301377811857600977_n.jpg
14993584_1010219939107637_6301377811857600977_n.jpg [ 87.41 KiB | เปิดดู 5604 ครั้ง ]
เหตุปัจจัย ในปฏิจจสมุปบาท และกรรม

บางส่วนของปฏิจจสมุปบาท ที่ควรสังเกตเป็นพิเศษ
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติจึงเป็นเรื่องใหญมีความ
กว้างขวางลึกซึ้ง และมีแง่ด้านต่างๆ มากมาย ละเอียดซับซ้นอย่างยิ่่ง ไม่ต้องพูดถึงว่าจะยาก
ต่อการที่จะเข้าใจให้ทั่วถึง แม้แต่พูดให้ครบถ้วนก็ยากที่จะทําได้

ด้วยเหตุการศึกษาทั่วๆ ไป เมื่อเรียนรู้หลักพื้นฐานแล้ว ก็อาจจะ
ศึกษาบางแง่บางจุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะส่วนที่เกื้อหนุนความเข้าใจทั่วไป
และส่วนที่จะนํามาใช้ประโยชน์ในการดําเนินชีวิตแก้ปัญหา และทําการสร้างสรรคต่างๆ

ในที่นี้ใจะขอย้อนกลับไปยกข้อควรทราบสําคัญ ที่กล่าวถึงข้างต้น ขึ้น
มาขยายความอีกเล็กน้อย พอให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น และเห็นทางนําไปใช้
ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของหลักกรรม ที่เป็นธรรมสืบเนื่องออกไป
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหัวข้อนี้เป็นเพียงคําอธิบายเสริม การขยายความจึงทําได้เพียงโดยย่อ

ในหนังสือพุทธธรรม (ฉบับเดิม) หน้า ๘๕ ได้เขียนข้อความสั้นๆนั้นแทรก
ไว้พอเป็นที่สังเกตุดังต่อไปนี้ “ข้อควรทราบที่สําคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ
• ความเป็นปัจจัยแก่กันขององค์ประกอบเหล่านี้มิใช่มีความหมายตรง
กับคำว่า “เหตุ” ทีเดียวเช่น ปัจจัยให้ต้นไม้งอกขึ้นมิใช่หมายเพียงเมล็ดพืช

แต่หมายถึง ดิน นํ้า ปุ๋ย อากาศอุณหภูมิเป็นต้น เป็นปัจจัยแต่ละอย่างและการเป็นปัจจัย
แก่กันนี้เป็นความสัมพันธ์ที่ ไม่จำต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง
โดยกาละหรือเทศะ เช่น พื้นกระดาน เป็นปัจจัยแก่การตั้งอยู่ของโต๊ะ เป็นต้น”

ข้อความนี้บอกให้ทราบว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักความจริงของ
ธรรมชาติที่แสดงถึงความสัมพันธเป็นเหตุปัจจัยแก่กันของสิ่งทั้งหลาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-856.jpg
Image-856.jpg [ 109.96 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
ความหมายของ เหตุและ ปัจจัย
เบื้องแรกควรเข้าใจความหมายของถ้อยคําเป็นพื้นไว้ก่อน
ในที่ทั่วไป หรือเมื่อใช้ตามปกติคําว่า “เหตุ” กับ “ปัจจัย” ถือว่าใช้แทนกันได้
แต่ในความหมายที่เคร่งครัด ท่านใช้ “ปัจจัย” ในความหมายที่กว้าง
แยกเป็นปัจจัยต่างๆได้หลายประเภท ส่วนคําว่า“เหตุ”เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง

ซึ่งมีความหมายจํากัดเฉพาะ กล่าวคือ
“ปัจจัย” หมายถึง สภาวะที่เอื้อ เกื้อหนุน คํ้าจุน เปิดโอกาส เป็นที่
อาศัย เป็นองค์ประกอบรวม หรือเป็นเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะให้สิ่ง
นั้นๆ เกิดมีขึ้น ดําเนินต่อไป หรือเจริญงอกงาม

ส่วนคำว่า “เหตุ” หมายถึง ปัจจัยจําเพาะ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดผลนั้นๆ
“เหตุ” มีลักษณะที่พึงสังเกต นอกจากเป็นปัจจัยเฉพาะ และเป็นตัว
ก่อให้เกิดผลแล้ว ก็มีภาวะตรงกับผล (สภาวะ) และเกิดสืบทอดลําดับ คือ ตามลําดับก่อนหลังด้วย
ส่วน “ปัจจัย” มีลักษณะเป็นสาธารณะ เป็นตัวเกื้อหนุนหรือเป็นเงื่อนไข เป็นต้น

อย่างที่กล่าวแล้ว อีกทั้งมีภาวะต่างๆ (ปรภาวะ) และไม่เกี่ยวกับ
ลําดับ (อาจเกิดก่อน หลัง พร้อมกัน ร่วมกัน หรือต้องแยกกัน-ไม่ร่วมกัน ก็ได้)
ตัวอย่างเช่น เม็ดมะม่วงเป็น “เหตุ”ให้เกิดต้นมะม่วง และพร้อมกันนั้น
ดิน น้ำ อุณหภูมิ โอชา(ปุ๋ย) เป็นต้นก็เป็น “ปัจจัย” ให้ต้นมะม่วงนั้นเกิดขึ้นมา
มีเฉพาะเหตุคือเม็ดมะม่วง แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่พร้อม หรือไม่อำนวย ผลคือต้นมะม่วงก็ไม่เกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9311.jpg
Image-9311.jpg [ 38.53 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
ในเวลาอธิบายเรื่องเหตุปจจัย มีอีกคําหนึ่งที่ทานนิยมใชแทนคําวา
เหตุปัจจัย คือคําวา “การณะ” หรือ “การณ” ซึ่งก็แปลกันวาเหตุ
ในพระอภิธรรม ทานจําแนกความสัมพันธของสิ่งทั้งหลาย ที่เปนเหตุ
ปัจจยแก่กันนี้ไวถึง ๒๔ แบบ เรียกวา ปจจัย ๒๔
เหตุ เปนปจจัยอยางหนึ่งใน ๒๔ นั้น ทานจัดไวเปนปจจัยขอแรกเรียกว่า “เหตุปจจัย”

ปัจจยอื่นอีก ๒๓ อยางจะไมกลาวไวทั้งหมดที่นี่ เพราะจะทําใหฟน
เฝอแกผูเริ่มศึกษา เพียงขอยกตัวอยางไว เชน ปจจัยโดยเปนที่อาศัย
(นิสสยปจจัย) ปัจจยโดยเป็นตัวหนุนหรือกระตุ้น (อุปนิสสยปัจจย) ปัจจัยโดย
ประกอบร่วม (สัมปยุตตปัจจัย) ปัจจยโดยมีอยู คือตองมีสภาวะนั้น สิ่งนี้จึง
เกิดมีได (อัตถิปจจัย) ปัจจยโดยไม่มีอยู คือตองไมมีสภาวะนั้น สิ่งนี้จึงเกิด
ขึ้นได (นัตถิปจจัย) ปัจจยโดยเกิดกอน (ปุเรชาตปัจจัย) ปัจจยโดยเกิดทีหลัง
(ปัจฉาชาตปัจจัย) ฯลฯ

ที่ว่านี้รวมทั้งหลักปลีกย่อยที่ว่า อกุศลเป็นปัจจยแก่กุศล (ชั่วเป็นปัจจยให้เกิดดี) ก็ไดกุศลเปนปจจัย
แกอกุศล (ดีเปนปจจัยใหเกิดชั่ว) ก็ไดดวยปัจจยข้ออื่น เมื่อแปลความหมายเพียงสั้นๆ
ผูอานก็คงพอเขาใจไดไมยาก แตปัจฉาชาตปัจจัย คือปจจัยเกิดทีหลัง
คนทั่วไปจะรูสึกแปลกและคิดไมออก  จึงขอยกตัวอยางงายๆ ดานรูปธรรม เชน

การสรางตึกที่จะดําเนินการภายหลัง เปนปจฉาชาตปจจัยแกการสรางนั่งรานที่เกิดขึ้นกอน
สวนในทางสภาวธรรมดานนาม ทานยกตัวอยางวา จิตและเจตสิกซึ่งเกิดทีหลัง
เป็นปัจจัยแกรางกายนี้ที่เกิดขึ้นกอนขอสรุปความตอนนี้วาตามหลักธรรม ซึ่งเปนกฎธรรมชาติ
การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปรากฏการณอยางใดอยางหนึ่ง จะเกิดมีขึ้นไดตองอาศัยเหตุปจจัยตางๆ
หลากหลายประชุมกันพรั่งพรอม (ปจจัยสามัคคี)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2016, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-8791.jpg
Image-8791.jpg [ 87.5 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
๓. ผลหลากหลายจากปัจจยอเนก

ตามหลักแห่งความเปนไปในระบบสัมพันธนี้ยังมีขอควรทราบแฝงอยูอีก โดยเฉพาะ
ขณะที่เราเพิ่งดูเฉพาะผลอยางหนึ่ง วาเกิดจากปจจัยหลากหลาย
พรั่งพรอมนั้น ตองทราบดวยวา ที่แทนั้นตองมองใหครบทั้งสองดาน คือ

๑. ผลแตละอยาง เกิดโดยอาศัยปจจัยหลายอยาง
๒. ปัจจย (ที่รวมกันใหเกิดผลอยางหนึ่งนั้น) แตละอยาง หนุนใหเกิดผลหลายอยาง
ในธรรมชาติที่เปนจริงนั้น ความสัมพันธและประสานสงผลตอกัน
ระหว่างปัจจยทั้งหลายมีความละเอียดซับซ้อนมากจนต้องพูดรวมๆ วา
“ผลหลากหลายเกิดจากเหตุ (ุปัจจย)หลากหลาย” หรือ “ผลอเนกเกิดจากเหตุอเนก ”
เชน จากปจจัยหลากหลาย มีเมล็ดพืช ดิน นํ้า อุณหภูมิเปนตน ปรากฏ
ผลอเนก มีตนไมพรอมทั้งรูป สีกลิ่น เปนตน

ย้ำวํา ความเปนเหตุปจจัยนั้น มิใชมีเพียงการเกิดกอน-หลังตาม
ลำดับกาละหรือเทศะเทานั้น แตมีหลายแบบ รวมทั้งเกิดพรอมกันหรือตองไมเกิดดวยกัน
ดังกลาวแลว เมื่อเห็นสิ่งหรือปรากฏการณอยางหนึ่ง เชนตัวหนังสือบนกระดาน
ป้ายแลว มองดูโดยพินิจ ก็จะเห็นวาที่ตัวหนังสือตัวเดียวนั้น มีเหตุปจจัย
แบบตางๆ ประชุมกันอยูมากมาย เชน คนเขียน (เจตนา+การเขียน) ชอลก
แผนป้าย สีที่ตัดกัน ความชื้น เปนตน แลวหัดจําแนกวาเปนปจจัยแบบไหนๆ

นอกจากเรื่องปัจจจัย ๒๔ แบบ ที่เพียงใหตัวอยางไวแลว ขอใหดูตัว
อยางคําอธิบายของทานสักตอนหนึ่งวาแท้จริงนั้น จากเหตุเดียว ในกรณนี้ จะมีผลหนึ่งเดึ่ยวก็หาไม่
(หรือ) จะมีผลอเนกก็หาไม่ (หรือ) จะมีผลเดียวจากเหตุอเนกก็หาไม่;
แต่ยอมมีผลอเนก จากเหตุอันอเนก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2016, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170809_033603.jpg
20170809_033603.jpg [ 154.03 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
ตามหลักการนี้ทานสอนไวดวยวา ในปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจา
ตรัสวา “เพราะอวิชชา (อย่างนั้น) เป็นปัจจย สังขาร (อย่างนั้น)
จงมึเพราะสังขาร (อยางนั้น) เป็นปัจจยวิญญาณ (อย่างนั้น)จงมึ ฯลฯ” ดังนี้

- จะต้องไม่เขาใจผิดไปวาพระองคตรัสเหตุเดียว-ผลเดียว หรือปจจัย
อยางหนึ่ง/ผลอยางหนึ่งเทานั้น
- ที่จริงนั้น ในทุกคูทุกตอน แตละเหตุแตละผล มีปัจจัยอื่นและผลอื่นเกิดดวย
ถ้าอย่างนั้น เหตุใดจึงตรัสชวงละปจจัย ชวงละผล ทีละคู? ตอบวา
การที่ตรัสเหตุ/ปจจัย และผล เพียงอยางเดียวนั้น มีหลัก คือ

บางแหงตรัส เพราะเปนปจจัยหรือเปนผล ตัวเอกตัวประธาน
บางแหงตรัส เพราะเปนปจจัยหรือเปนผล ตัวเด่น
บางแหงตรัส เพราะเปนปจจัยหรือเปนผล จำเพาะ (อสาธารณะ)
บางแหงตรัส ตามความเหมาะกับทํานองเทศนา (เชนคราวนั้น กรณี นั้น

จะเนน หรือมุงใหผูฟงเขาใจแงไหนจุดใด) หรือใหเหมาะกับเวไนยคือผู
รับคำสอน(เชนยกจุดไหน ประเด็นใดขึ้นมาแสดง บุคคลนั้นจึงจะสนใจและเขาใจไดดี)
ในที่นี้ตรัสอย่างนั้น เพราะจะทรงแสดงปจจัยและผล ที่เปนตัวเอกตัวประธาน
เชนในชวง “เพราะผัสสะเป็นปัจจย เวทนาจงมึ" ตรัสอยางนี้เพราะ
ผัสสะเปนปจจัยตัวประธานของเวทนา (กําหนดเวทนาตามผัสสะ) และ
เพราะเวทนาเปนผลตัวประธานของผัสสะ (กําหนดผัสสะตามเวทนา)

หลักความจริงนี้ปฏิเสธลัทธิเหตุเดียว ที่เรียกวา“เอกการณวาท”ซึ่งถือว่าสิ่งทั้งหลาย
เกิดจากตนเหตุอยางเดียว โดยเฉพาะลัทธิที่ถือวามีมูลการณ
เชน มีพระผูสร้าง อย๋า อิสสรวาท (=อิศวรวาท คือลัทธิพระผู้เป็นเจ้าบันดาล )
ปชาปติวาท (ลัทธิถือวาเทพประชาบดีเปนผูสรางสรรพสัตว) ปกติวาท
(ลัทธิ สางขยะ ที่ถือวาสิ่งทั้งปวงมีกําเนิดจากประกฤติ) เปนตน

แม้แต่ในสมัยปจจุบัน คนก็ยังติดอยูกับลัทธิเหตุเดียวผลเดียว ตลอด
จนลัทธิผลเดียว และประสบปญหามากจากความยึดติดนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2016, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170817_070342.jpg
20170817_070342.jpg [ 292.22 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
ดังปรากฎชัดวงการวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีที่มุงผลเปาหมายอยางใดอยางหนึ่ง แลว
ศึกษาและนําความรูความเขาใจในเหตุปจจัยมาประยุกตใหเกิดผลที่ตองการ
แต่เพราะมองอยู่คู่ูผล เป้าหมายไม่ได้มองผลหลากหลายที่เกิดจากปัจจยอเนก ให้ท่วถึง (และยังไมมีความสามารถเพียงพอที่จะมองเห็นอยางนั้นดวย) จึงปรากฏบ่อยๆว่าหลังจากทำผลเป้าหมายสำเร็จผ่านไปบางที ๒๐–๓๐ ปจึง

รู้ตัวว่า ผลรายที่พ่วงมากระทบหมู่มนุษย์อย่างรุนแรง จนกลายเป็น ไม่เทาเสีย
วงการแพทยสมัยใหม แมจะถูกบังคับจากงานเชิงปฏิบัติการ ใหเอา
ใจใส่ตอผลขางเคียงตางๆ มากสักหนอย แตความรูเขาใจตอความสัมพันธ
เชิงเหตุผลของปรากฏการณตางๆ โดยสวนใหญ ก็ยังเปนเพียงการสังเกต
แบบคลุมๆุ ไมสามารถแยกปจจัยแตละอยางที่สัมพันธตอไปยังผลแตละดาน
ใหเห็นชัดได

พูดโดยรวม แมวามนุษยจะพัฒนาความรูในธรรมชาติไดกาวหนามา
มาก แตความรูนั้นก็ยังหางไกลจากการเขาถึงธรรมชาติอยางแทจริง
อยางไรก็ตาม ในดานนามธรรม มนุษยควรใชประโยชนจากความรูใน
ความจริงของระบบปัจจัยสัมพันธที่เรียกวาปฏิจจสมุปบาทนี้ไดมาก
โดยเฉพาะในการดําเนินชีวิตของตน คือในระดับกฎแหงกรรม ความ
เขาใจหลัก“ผลหลากหลาย จากปจจัยอเนก”จะชวยใหจัดการกับชีวิตของตน
ให้พัฒนาทั้งภายใน และดําเนินไปในโลกอยางสําเร็จผลดี

๔. วิธีปฏิบัติตอกรรม
เมื่อพูดถึงหลักกรรม ปญหาที่พูดกันมากที่สุดก็คือ
ทำดีไดดีจริงหรือไม ? ทำไมฉันทําดีแลว ไมเห็นไดดี
ถ้าเขาใจปฏิจจสมุปบาท ในเรื่องเหตุปจจัยอยางที่พูดไปแลว ปญหา
อย่างนั้นจะหมดไป แตจะกาวขึ้นไปสูคําถามใหมที่เปนประโยชนและควรจะ
ถามมากกวาวา ทากรรมอย่างไรจึงจะไดผลดีและไดผลดียิ่งขึ้นไป?
อีกปญหาหนึ่งคือ กรรมเกามีผลตอชีวิตของเราแคไหน? และเราควรจะปฏิบัติต่อกรรมเก่าอย่างไร ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




long_haired_dachshund_puppy_png_by_makiskan-db0016a.png
long_haired_dachshund_puppy_png_by_makiskan-db0016a.png [ 144.94 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
แมวาเรื่องกรรมจะละเอียดซับซอนมาก แตก็พอจะใหหลักในการ
พิจารณาที่สำคัญได้(ขอใหทบทวนตามหลักใหญที่ไดพูดไปแลว) ดังนี้

๑. รูหลักความตรงกันของเหตุกับผล ต้องถามตัวเอง หรือจับใหชัดกอน
วา กรรมคือความดีที่เราทํานี้ เปนปจจัยตัวเหตุ ที่จะใหเกิดผลอะไร ที่เปน
ผลโดยตรงของมัน (ผลโดยตรงของเหตุ) เชน การปลูกเม็ดมะมวง ทําให
เกิดตนมะมวง (ไมใชไดตนมะปราง ไมใช ไดเงิน เปนตน) การศึกษา ทําใหได
ปญญาและเปนอยูหรือจัดการกับชีวิตของตนและปฏิบัติตอสิ่งทั้งหลายไดดี
ขึ้น (ไมใชไดเงิน ไมใชไดงาน เปนตน) การเรียนแพทย ทําใหสามารถบําบัด
โรครักษาคนไข (ไมใชไดตําแหนง ไมใชรํ่ารวย เปนตน)

๒. กําหนดผลดีที่ตองการใหชัด จะเห็นว่า เพียงแคตามหลักความจริง
ของธรรมชาติวา “ผลหลากหลาย จากปจจัยอเนก” การแยกปจจัยแยกผล
ก็ซับซอนอยูแลว เมื่อพูดถึงสังคมมนุษย ความซับซอนก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
เพราะมีกฎมนุษยและปจจัยทางสังคม ซอนขึ้นมาบนกฎธรรมชาติอีกชั้น
หนึ่ง ขอยกตัวอยางงายๆ

กฎธรรมชาติ: การทําสวนเปนเหตุตนไมเจริญงอกงามเปนผล
กฎมนุษย: การทําสวนเปนเหตุ ไดเงินเดือน ๗,๐๐๐ บาทเปนผล
หรือ การทําสวนเปนเหตุขายผลไมไดเงินมากเปนผล

ผลโดยตรงของเหตุ เปนผลตามกฎธรรมชาติ ซึ่งเปนไปตามความ
สมพันธแหงเหตุปจจัยที่เที่ยงตรง
อย่างไรก็ดี ผลที่คนพูดถึงกันมาก มักไมใชผลโดยตรงของเหตุที่เปน
ไปตามกฎธรรมชาตินั้น แตคนมักพูดกันถึงผลตามกฎมนุษย

กฎมนุษยเปนกฎสมมติซึ่งขึ้นตอเงื่อนไขคือสมมติ(=สํ-รวมกัน + มติ-
การยอมรับ, ขอตกลง /สมมติ=การตกลงหรือยอมรับรวมกัน) ซ฿่งผันแปร
ไดและยังมีปจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือกฎมนุษยนั้นอีก เชน คานิยมของสังคม
และความถูกใจพอใจของบุคคล เปนตน โดยมีความตองการเปนตัวกําหนดที่สําคัญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 08:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170817_141023.jpg
20170817_141023.jpg [ 362.01 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

ขอบคุณที่ติดตามอ่าน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (42).png
unnamed (42).png [ 188.79 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
จะเห็นวา ความหมายของคําไทยวา “ดี” หรือ “ไมดี” นี้ มักจะ
กำกวม “ดี” นี้ เรามักใชในความหมายวานาปรารถนา ตรงกับความพอใจ
ชอบใจ หรือแมกระทั่งเปนไปตามคานิยม ดังนั้นจึงตองมีการแยกแยะ เชน
วา ดีตรงไปตรงมาตามความจริงของธรรมชาติ ดีตอชีวิต ดีในเชิงสังคมเปนตน

ยกตัวอย่างที่แสนจะงาย ใกลๆ ตัว เชน เรากินอาหารอยางหนึ่ง ที่มี
ผลดีตอชีวิต ทําใหมีสุขภาพดีแตอาจจะไมดีในเชิงสังคม ไมสนองคานิยมให
รู้สึกโกเกบางคนอาจจะดูถูกวาเราตํ่าตอย หรือวาไมทันสมัย แตชีวิตเราก็ดี

ในทางตรงขาม มีคนอื่นมาใหของกินอยางหนึ่งแกเรา อาจจะเปน
ขนมก็ได้ราคาแพง มีกลองใส หออยางสวยหรูโกเกมาก ดีเหลือเกินในเชิง
สังคมเราอาจจะลิงโลดดีใจที่ไดรับ แตถากินเขาไป ของนั้นกลับไมดีตอชีวิต
ของเรา จะบั่นทอนสุขภาพ หรอืก่อใหเกิดโรค

นี่เปนตัวอยาง ซึ่งคงนึกขยายเองได้
เพราะฉะนั้น คําวา “ผลดี” ที่พูดถึงหรือนึกถึงนั้น จะตองวิเคราะห
หรือกําหนดใหชัดกับตัวเองวา ผลดีทีเราตองการนั้น “ดี” ในแงไหน เชน
เปน นักกิฬาเตะตะกรอ

๑. ผลดีตามกฎธรรมชาติ(=รางกายแข็งแร็งเคลื่อนไหวแคลวคลอง)
ได้ผลแน่นอน เทากับผลรวมหักลบแลวของเหตุปจจัย
๒. ผลดีตามนิยามและนิยมของมนุษย
—
ในแงกระแสสังคม (=ผูคนชื่นชมนิยมยกยอง)
ปจจัยภายนอก: ไมเอื้อ คนสนใจนอย ไดรับการยกยองในวงแคบ
—
ในแงอาชีพ (=เป็นทางหารายได้มีเงินเลี้ยงชีวิตและรํ่ารวย)
ปัจจยภายนอก : ไม่เอื้อแม้เป็นสัมมาชีพ แต่หาเงินยาก อาจฝืดเคอง
—
ในแงวัฒนธรรม (=ชวยรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ)
ปจจัยภายใน: ถาทําใจถูกตองรู้สึกวาไดทําประโยชนภูมิใจ สุขใจ แต
ปัจจยภายนอก : เงื่อนไขกาลเทศะ คนอาจจะไม่เห็นคุณค่าขึ้นต่อสภาพสังคม-การเมือง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (11).gif
unnamed (11).gif [ 29.34 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
นี้เป็นเพียงตัวอย่างของการที่จะตองวิเคราะหหรือกําหนดใหชัดกับตัว
เองวา ผลดีที่เราตองการนั้น “ดี” ตามสภาวะของมัน ดีที่เปนความดีตาม
หลักการแทๆ (เชน ดีเพื่อความดี) หรือดีตอชีวิตของเรา หรือดีในแงสังคม
โดยการยอมรับ โดยระบบ โดยคานิยม ฯลฯ

เมื่อชัดกับตัวเองแลววา เราตองการผลดีในความหมายใด ก็
วิเคราะหตอไปวา ผลดีแบบที่เราตองการนั้น จะเกิดขึ้นได นอกจากตัวการ
กระทาดํ ีที่เปนเหตุตรงแลว จะตองมีปจจัยอะไรอีกบาง ปจจัยเหลานั้นมีอยู
หรือเอื้ออํานวยหรือไม มีปจจัยประกอบอะไรอีกที่เราจะตองทําเพื่อให
ครบถวนที่จะออกผลที่เราตองการ ถาต องการผลดีที่ปจจัยไมเอื้อ ผลยากที่
จะมา จะยอมรับหรือไม ฯลฯ

ขอยํ้าวา ผลดีตามสภาวะ หรือตามกฎธรรมชาตินั้น เปนของแนนอน
ตามเหตุปจจัยของธรรมชาติเอง แตผลดีตามนิยามและนิยมของมนุษยขึ้น
ตอเจตจํานง เกี่ยวเนื่องกับความตองการของมนุษยตามกาละและเทศะ
เปนต น ซึ่งจะตองใชปญญาวิเคราะหสืบคนออกมา

หลักปฏิบัติที่ถูกตอง ก็คือ ไมวาจะอยางไรก็ตาม พึงมุงผลดีตาม
สภาวะเปนแกนหรือเปนหลักไวกอน ซึ่งเมื่อทําก็ยอมได สวนผลดีเชิงสังคม
เปนตน พึงถือเปนเรื่องรองหรือเปนสวนประกอบ จะไดหรือไม ก็แลวแต
ปัจจยที่เกี่่ยวของ ไดก็ดีไมไดก็แลวไป เชนทําดีเพื่อใหเกิดความดีใครจะยก
ยองสรรเสริญหรือไม ก็ไมมัวติดของ หรือทําดีเพื่อฝกตน เพื่อใหชีวิตและ
สังคมเจริญงอกงาม โดยไมตองคิดจะเอาหรือจะไดอะไรจากสังคม

แตถามุงเอาผลดีดานสังคมเปนตน โดยไมทําใหเกิดผลดีตามสภาวะ
ถึงจะได้ผลที่ตองการ แตจะกลายเปนการหลอกลวง ซึ่งมีแตจะทําใหชีวิต
และสังคมเสื่อมทรามลงไป ไมเร็วก็ชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




p03.png
p03.png [ 640.92 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
๓. ทําเหตุปจจัยใหครบที่จะใหเกิดผลที่ตองการ ตามหลักความพรั่ง
พร้อมของปัจจัย อะไรจะปรากฏเปนผลขึ้น ตองมีปจจัยพรั่งพรอม ตรงนี้จะ
ช่วยให้ไมไปติดในลัทธิเหตุเดียวผลเดียว

หลักหรือกฎไม่ได้บอกวา เมื่อเอาเม็ดมะมวงไปปลูกแลว ตนมะมวงจะ
ต้องงอกขึ้นมา ทานพูดแตเพียงวา จากเม็ดมะมวง ตนไมที่จะงอกขึ้นมา
ก็เปนมะมวง นี้คือ เหตุ / ผล หรือ ปัจจัยตัวตรงสภาว / ผล
การที่เม็ดมะม่วงจะงอกขึ้นมาเปนตนมะมวงนั้น ไมใชมีแตเม็ดมะมวง
อยางเดียวแลวจะไดตนมะมวง ตองมีดิน มีปุยในดิน มีนํ้า มีแกส (เชน
ออกซิเจน คารบอนไดออกไซด) มีอุณหภูมิพอเหมาะ เปนตน พูดสั้นๆ วา

เมื่อปจจัยพรั่งพรอมแลว ตนมะมวงจึงจะงอกขึ้นมาได
นอกจากผลที่เรามองจะเกิดจากปจจัยหลายอยางพรั่งพรอมแลว
ปัจจยแตละอยางที่มาพรั่งพรอมนั้น ก็สัมพันธไปสูผลอยางอื่นที่เราไมไดมอง
ขณะนั้นดวย ดงไดั พูดแลวขางตน

ไดบอกแลววา ใหมุงผลดีตามสภาวะเปนหลักหรือเปนแกนไวกอน
ตอนนี้ก็มองดูวามีปจจัยตัวไหนบางที่จะตองทําใหครบที่จะเกิดผลนี้ ตอจาก
นั้น เมื่อยังตองการผลดีดานไหนอีก เชนในทางสังคม เปนตน ก็พิจารณาให
ครบ แลวทํากรรมดีใหไดเหตุปจจัยพรั่งพรอมที่จะเกิดผลดีตามที่ตองการนั้น

๔. ฝกฝนปรับปรุงตนใหทํากรรม(ไดผล)ดียิ่งขึ้นไป ตามหลักความไม
ประมาท โดยเฉพาะความไมประมาทในการศึกษา เราจะตองฝกกาย วาจา
จิตใจ และปญญา (เรียกรวมวา ไตรสิกขา คอื ศีล สมาธิ ปญญา) ให
สามารถทํากรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ เชน จากกรรมชั่ว เปลี่ยนมาทํากรรมดี จาก
กรรมดีก็กาวไปสูกรรมดีที่ประณีตหรือสูงยิ่งขึ้นๆ ใหชีวิตกาวไปในมรรค คือ
ในวิถีชีวิตประเสริฐ ที่เรียกวา พรหมจริยะ/พรหมจรรย

(ถ้าใช คำศัพทก็คือ กาวจากอกุศลมากกุศลนอย ไปสูอกุศลนอยกุศล
มาก จากกามาวจรกุศล ไปสูรูปาวจรกุศล ไปสูอรูปาวจรกุศล และไปสูโลกุตตรกุศล )
ถ้าใช้สํานวนพูดใหเหมาะกับคนสมัยนี้ก็คือ พัฒนากรรมใหดียิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




b_a007.gif
b_a007.gif [ 42.46 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
เพราะฉะนั้น เมื่อทํากรรมดีตามหลักในขอกอนไปแลว ถาผลดีใน
ความหมายหรือในแงที่เราตองการไมออกมา ก็วิเคราะหสืบสาววา ทํากรรม
นั้นแลว แตสำหรับผลดีแงนี้ๆ ปัจจยอะไรบางขาดไป หรือยังบกพรองสวน
ไหน จะได้แกไขปรับปรุง เพื่อวาคราวตอไปจะไดทําใหตรง ใหถูกแง ใหครบ
นี่คือความไมประมาทในการศึกษา ที่จะใช้ปัญญาพิจารณาแกปญหา และ
พัฒนากรรมให้ดีและใหไดผลยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่าง เชน นายชูกิจไดยินขาวสารจากวิทยุ เปนตน พูดถึง
ปัญหาของบ้านเมือง ที่วาปาลดนอยลงจนนากลัว จะตองชวยกันปลูกตนไม
ให้มากๆ และมีขาวดวยวา บางแหงคนมากมายชวยกันปลูกตนไมมีการนํา
มายกยอง บางทีมีการใหรางวัลดวย

นายชูกิจไดยินไดฟงขาวแลว ก็เกิดศรัทธา เที่ยวดูสถานที่เหมาะๆ
ใกล้หมู่บ้านของเขา แลวหาตนไมเหมาะๆ มาปลูก ตนไมก็ขึ้นงอกงามดีเขา
ปลูกไปไดหลายตน

เวลาผานไประยะหนึ่ง เขามานึกดูวา เขาทําความดีนี้มาก็นานแลว
ไม่เห็นมีใครสนใจ ก็เลยชักจะทอ และนอยใจวา “เราอุตสาหทําดีเหนื่อยไป
มากมาย ไมเห็นไดดีอะไร”

พอมองลึกลงไปในใจของคุณชูกิจ ปรากฏวาเขาอยากไดความนิยม
ยกยอง และหวังจะไดรางวัลดวย
เมื่อวิเคราะหตามหลักความสัมพันธสืบทอดเหตุปจจัยสูผลตางๆ ที่ตรงกัน ก็เห็นไดวา
—
ผลตามกฎธรรมชาติหรือผลตามธรรม ก็เกิดขึ้นแลว คือ เขาปลูก
ตนไมเมื่อทําเหตุปจจัยของมันครบ ตนไมก็ขึ้นมา
—ผลตามธรรมแก่ตัวเขาเองที่เป็นผู้ทำการนั้น เขาก็ได้แลวเช่น เกิด
และเพิ่มความรู้ความเข้าใจความชำนาญที่เรี่ยกกันว่าทักษะ ในเรื่องต้นไม้และ

การปลูกตนไมตลอดจนผลพวง เชน รางกายแข็งแรง เสริมสุขภาพ
—ตามธรรมแกสังคม คือ ทองถิ่นของเขา ตลอดถึงโลกมนุษยทั้ง
หมด ไดสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติที่ดีงามเพิ่มขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




b_a017.gif
b_a017.gif [ 46.99 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
แต่ผลที่ตัวเขาวา “ดี” ที่เขาไมไดคือผลทางสังคม (=ผลที่จะไดแกตัว
เขา จากสังคม) ไดแก เสียงยกยอง และรางวัล หรือเงินทองของตอบแทน
ซงมึ่ ใชิ เปนผลที่ตรงตามเหตุปจจัยของการปลูกตนไม

ถ้าคุณชูกิจตองการผลทางสังคมที่วานี้ ก็ตองดูและทําปจจัยเหลานั้น
ด้ย เริ่มตั้งแตดูวา การทําความดีดวยการปลูกตนไมนี้ เขากับกระแสนิยม
ของทองถิ่นของตนเองหรือไม (พิจารณาโดยกาล-เทศะ หรือโดยคติ และ
กาละ) ถ้าจะใหไดรับคํายกยองและรางวัล จะตองทําปจจัยอะไรประกอบ
เพิ่มเข้ามากับการทําความดีคือการปลูกตนไมนั้น แลวทําใหครบ

ที่จริง ถาคุณชูกิจมุงหวังผลดีที่แทคือผลตามธรรมที่วาขางตน ไมมัว
ห่วงผลทางสังคม(แกตัวตน) เขาจะไดผลตามธรรมเพิ่มอีกอยางหนึ่งดวย คือ
ปิติความเอิบอิ่มใจและความสุข ในการทำความดี และในการที่ได้เห็นผลดี
ตามธรรมดานตางๆ เพิ่มขยายคลี่คลายขึ้นมาเรื่อยๆ ตลอดเวลา แตความ
หวังผล‘ดี’แก่ตัวตน ไดปดกั้นปติสุขนี้เสีย และหนําซํ้า ทําใหเขาไดรับความ
ผิดหวังและความชํ้าใจเขามาแทน

ยิ่งกว่านั้น ถาเขาฉลาดในความดีและฉลาดในการทําประโยชน เมื่อ
เขาจะเริ่มหรือกําลังทําการนั้นอยู เขาอาจจะชักชวนคนอื่นๆ ใหรูเขาใจมอง
เห็นประโยชนของการปลูกตนไมแลวมารวมกับเขาบาง หรือตางคนก็ไปทํา
ของตนบาง แพรขยายการปลูกตนไมใหกวางออกไป นอกจากผลตามธรรม
ทุกด้านจะเพิ่มพูนแลว ผลทางสังคมแกตัวเขาก็อาจจะพลอยตามมาดวย

จะตองชัดกับตนเองวา ผลดีตามธรรมของกรรมดีนั้นๆ คืออะไร และ
ควรฝกตนใหตองการผลตามธรรมนั้นกอนผลอยางอื่น แลวนอกจากนั้นเรา
ต้องการผลดีอยางไหนอีก และเพื่อใหเกิดผลดีนั้นๆ จะตองทําปจจัยอะไร
เพิ่มอีกบ้าง เมื่อจะทําก็ทําเหตุปจจัยใหครบ เมื่อทําไปแลวก็ตรวจสอบใหรู
ปัจจยที่ยี่งและหยอนสําหรับผลดีแตละดานนั้นๆ เพื่อทําใหครบและดียิ่งขึ้นในครั้งตอไป

อนึ่ง ผลดีทางสังคม หรือผลดีจากสังคมแกตัวตนนั้น อาจจะไมสอด
คล้องกับผลดีตามธรรมก็ได บางครั้ง บางเรื่องอาจจะถึงกับตรงกันขามเลยก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (9).gif
unnamed (9).gif [ 27.36 KiB | เปิดดู 5235 ครั้ง ]
ทั้งนี้ขึ้นตอปจจัยทางสังคมเปนตน ที่เนื่องดวยกาลเทศะ เชน ในกาละ
และเทศะที่ธรรมวาทอ่อนกำลัง และอธรรมวาทมีกำลัง ดังนั้น จงต้องพิจารณา
ด้วยว่าผลที่วาดนั้เป็นของสมควรหรือไม่ เราจะเอาธรรมไวหรอจะไปกับตัวตน

จะตองไมประมาทในการศึกษาและพัฒนากรรมกันอยางนี้ จึงจะถูก
ตองนี่ก็คือการพัฒนาตัวเราเอง และพัฒนาสังคมไปดวย ไมใชทําอะไรไป
แลว ก็มองแงเดียวชั้นเดียววาไดผลที่ตนตองการ หรือไมได พอไมไดก็เอา
แตโวยวายโอดครวญว่าทําดีไมไดดีเลยไมไปไหน

แตตองขอเตือนไวดวยวา คนที่ตองการผลดีตอบุคคล (คือแค่ที่ถูกใจ
ตนหรือตัวเองชอบใจ) และผลดีตามกระแสหรือคานิยมของสังคมนั้น ถาไม
มองใหถึงผลดีตามสภาวะ คือผลดีตามธรรม ซึ่งเปนผลที่ดีอยางแทจริงตอ
ชวีติ ตอหลักการ และตอความดีงามที่แทของสังคมแลว แมจะทํากรรมเพื่อ

ผลดีที่ตนตองการนั้นไดเกง แตก็คือทํากรรมไมดีหรืออกุศลซอนไวซึ่งตัวเอง
อาจจะมีปญญารูไมทันผลแงอื่น เพราะมัวแตมองเพียงผลดีแบบที่ตัว
ตองการอยางเดียวดานเดียว แล้วในไม่ชา หรือในที่สุด
อกุศลที่แฝงไวนั้นก็จะออกผลใหโทษตอไป

จึงได้ ยาไวข้างตนวา ไมวาจะตองการผลดีขางเคียงอะไรก็ตาม ขอให
ทํากรรมดีเพื่อผลดีที่ตรงตามสภาวะหรือผลดีตามธรรมเปนหลักเปนแกนไว
กอนถ้าปฏิบัติตามนี้ จะได้ผลดีทีแทและปลอดภัยในระยะยาวดีทั้งแก่ชีวิต
แก่สังคม แก่ตนและแก่ผู้อื่น

เราคงจะมุงเอาผลดีตอตัวตนของบุคคล ผลดีตามกระแสสังคม หรือ
ผลดีเชิงคานิยมกันมากไป จึงมองไมเห็นผลดีที่ตรงไปตรงมาตามธรรม ถา
อยางนี้ก็จะตองบนเรื่อง “ทําดีไมเห็นไดดีแตทําชั่วไดดีมีถมไป” กันอยูอยาง
นเรี้ อยๆ ื่ และคงจะแกปญหาของสังคมไดยาก เพราะความคิดของเราเองก็
เปนกรรมไม่ดีเปนปจจัยรวมใหเกิดผลอยางนั้นดวย

ถ้ามองกันอยูแคนี้ ก็จะไมมีคนอยางพระโพธิสัตวที่ถึงแมจะถูกเขาทํา
รายหรือฆา ก็ยังเขมแข็งอยูในการทําความดี เพราะมุงผลดีที่ตรงไปตรง
มาตามความจริงของมัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร