วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 01:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2016, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

อุปปาทวาระ กาล ๕ ปัจจนิก ปุคคลวาระ
จักขายตนมูละ - โสตายตนมูลียมกะ
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?

บอกเลยว่า ยากสุดๆ ต้องกระจายรายละเอียดขององค์ธรรมที่หามาได้ในครั้งแรกให้เป็น คิดให้ละเอียดด้วย คิดหาเหตุผลให้ได้ ไม่ให้อะไรตกหล่น
เมื่อหาองค์ธรรมมาได้ครั้งแรก ในแต่ละจุดใหญ่ขององค์ธรรม ให้กระจายแยกออกมาดังนี้ตามลำดับ
ถ้าไม่มีก็คือไม่มี ถ้ามีก็จัดเรียงตามนี้ให้เรียบร้อย

๑. พวกที่จักไม่เกิด
๒. พวกที่อนาคต จักเกิดซ้ำภูมิเดิม
๓. พวกที่อนาคต จักไปเกิดที่อื่น ในปัญจ.(หรือ กาม , รูป) , จักไปเกิดในอรูป

จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด นี้ กาล ๑ ปัจจนิก
จักขุ ไม่ใช่กำลังเกิด แก่คนที่กำลังตาย และ คนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด
ซึ่งจะได้องค์ธรรมคือ สํจ] , [1 2 3 , [อสัญ [อรูป
เมื่อเป็นการผสมระหว่าง กาล ๑ และ กาล ๓ (๑+๓)
เมื่อได้องค์ธรรมมาแล้วต้องกระจายองค์ธรรมทั้งหมดออกมาให้ละเอียดก่อน คือต้องรู้ละเอียดให้ได้
เพื่อให้รู้ว่า มีอะไรในองค์ธรรมเหล่านี้บ้าง ว่าใครจะไปเกิดได้ที่ไหน และไม่ไปเกิดอีกต่อไป เพราะเรากำลังพูดถึงชาติปัจจุบัน กับ อนาคตชาติหน้า

:b51: อันดับแรก สํจ] = สพฺเพสํ จวนฺตานํ คือบุคคลที่กำลังตายทั้งหมด ได้แก่ ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ) กระจายออกมาได้ คือ บุคคลซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ , อสัญญสัตตภูมิ , อรูปภูมิ
..................ปัญจ] , อสัญ] , อรูป]
เว้น อกนิฏฐาภูมิ เพราะว่า เป็นยอดภูมิของสุทธาวาสภูมิ ๕ พระอนาคามีบุคคลที่เกิดอยู่ในอกนิฏฐาภูมิ จะต้องปรินิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น บุคคลที่กำลังตายในภูมินี้มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่กำลังปรินิพพาน ดังนั้น อายตนะใดๆ จักไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว จึงต้องเว้นอกนิฏฐาภูมิออกจากภูมิทั้งหมด

- ในปัญจโวการภูมิ(กามภูมิ+รูปภูมิ) = ปัญจ] ดูสิว่ามีใครกำลังตายแล้วจะไปเกิดภูมิไหนต่อ และใครจะไม่เกิดอีกแล้ว
มีคนกำลังตายในปัญจโวการภูมิ คือ ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ
กระจายออกมาได้ คือ
๑. มีพระอรหันต์กำลังปรินิพพานใน ปัญจโวการภูมิ อนาคตชาติหน้าจะไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว
๒. ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ แล้วจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก(ซ้ำ)
๓. ในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) นี้มี
ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ.๗ รูป๙(เว้นจตุต.) และจะเกิดในอรูปภูมิแล้วจะปรินิพพาน

- ในอสัญญสัตตภูมิ = อสัญ] คือ
สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิในชาติต่อไป

- ในอรูปภูมิ = อรูป] คือ
ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมินี้ กระจายออกมาได้ คือ
๑. มีพระอรหันต์กำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ อนาคตชาติหน้าจะไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว
๒. ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ และจะเกิดชาติต่อไปในอรูปภูมิใดภูมิหนึ่งอีก(เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)แล้วจะปรินิพพาน (ซ้ำ)
๓. ติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ แล้วจะเกิดในปัญจโวการภูมิในชาติต่อไป

:b51: ต่อมาอันดับสองที่เราหามาได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไรมากสำหรับกลุ่มนี้คือ [1 2 3
ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ , สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ ชาติหน้าก็ต้องวนไปเกิดในกามภูมิ

:b51: อันดับสาม [อสัญ คือ
สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิชาติหน้า

:b51: อันดับสี่ [อรูป คือ
ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ กระจายออกมาได้ คือ
๑. ผลเสกขบุคคล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ปัจฉิมภวิกบุคคลที่กำลังเกิดในอรูปภูมิในขณะปัจจุบันนี้ ท่านกำลังเกิดเป็นชาติสุดท้าย เพราะท่านจะต้องเป็นผู้ที่ต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้แน่นอนก่อนตาย ดังนั้นในอนาคตชาติหน้าปัจฉิมภวิกบุคคลท่านจะไม่ไปเกิดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว
๒. ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ และจะเกิดในชาติต่อไปที่อรูปภูมิใดภูมิหนึ่งอีก(เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)แล้วจะปรินิพพาน (ซ้ำ)
๓. ติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิในชาติต่อไป

เยอะนะที่เราต้องเข้าถึงองค์ธรรมเหล่านี้ให้ได้อย่างละเอียด สํจ] , [1 2 3 , [อสัญ , [อรูป
มีหลายวิธีคิด แต่ที่นำมาให้ดูนี้ เป็นการคิดแบบในกติกาตรงๆ เลย เรียกว่าหยิบมาให้ดูกันเลยว่า
ใคร กำลังจะไปไหน หรือไม่ไปไหนแล้ว ซึ่งก็ต้องฝึกกระจายกันให้เป็น เพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ค่ะ

มีท่านใดสงสัยหรือไม่คะว่า ติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ ที่ได้อรูปฌาน ฌานไม่เสื่อม ต้องไปเกิดในอรูปภูมิ เช่น ท่านอาฬารดาบส เป็นต้น ...ติเหตุกปุถุชน ๑ นี้หายไปไหน ทำไมไม่ระบุในองค์ธรรม ติ.๑ ซึ่งกำลังตายในปัญจ.ว่าชาติหน้าจะไปเกิดในอรูปภูมิ ไม่ได้หายไปไหนค่ะ แต่ไปรวมไว้ที่ ปุถุชน ๔ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ ...พวกติเหตุกปุถุชน ๑ นี้ อย่างไรเสียอนาคตวันข้างหน้าก็ต้องมี โสตายตนะจักเกิดอีกแน่นอน เพราะ ติเหตุกปุถุชน ๑ ที่ไปเกิดในอรูปภูมิ ก็ต้องตายจากอรูปภูมิ วนซ้ำลงมาเกิดในปัญจโวการภูมิอีกอยู่ดีในอนาคต เพราะฉะนั้น อนาคตของติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิในปัจจุบันนี้ และไปเกิดในอรูปภูมิในอนาคต พอตายจากอรูปภูมิ แล้วก็ต้องกลับมาลงปัญจโวการภูมิอีก... เพราะฉะนั้นในอนาคต โสตะก็จักเกิด จึงไม่ได้นำมากล่าว แต่จะอยู่ในปุถุชน ๔ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก ...และก็มีองค์ธรรมในส่วนอื่น ที่ระบุเป็นของอนาคตของติ.๑ ดูได้ที่แสดงองค์ธรรมของ ติเหตุกปุถุชน ๑ กำลังเกิดและกำลังตายในอรูปภูมิได้ด้วย ที่สุดแล้วก็คือต้องลงปัญจโวการภูมิอยู่ดีแหละค่ะ
ติ.๑ ปัจจุบันกำลังตายจากปัญจ. --> อนาคตชาติหน้าจะเกิดอยู่ในอรูป ๔ -----> อนาคตต่อไปก็จะมาเกิดอยู่ในปัญจ.อีก .......ในอนาคต ก็วนเกิดซ้ำในปัญจโวการภูมิอีกอยู่ดีแหละค่ะ
เหตุผลที่ ติ.๑ ที่จะไปเกิดในอรูปภูมิ แล้วต้องวนกลับมาเกิดในปัญจโวการภูมิแน่นอนก็คือ ติ.๑ นี้ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานที่ในอรูปภูมิได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่ติ.๑ จะบรรลุขั้นโสดบันได้ เพราะในอรูปภูมินั้นมีอายตนะเกิดได้ ๒ คือ มนายตนะ และ ธัมมายตนะ ไม่มีอายตนะที่เป็นรูป ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า อรูป คือไม่มีรูป ไม่มีรูปก็เจริญวิปัสสนาไม่ได้ เพราะการเจริญวิปัสสนาต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ ไม่มีรูปก็ทำไม่ได้ นามรูปปริเฉทญาณ ซึ่งเป็นญาณที่เริ่มแรกที่ยังไม่ใช่วิปัสสนาแท้ ติ.๑ในอรูปไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน บุคคลที่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในอรูปภูมิได้ต้องเป็นระดับโสดาปัตติผลบุคคล ขึ้นไป จึงจะไปบรรลุมรรคผลนิพพานในอรูปภูมิได้ ดังนั้น ติ.๑ ขึ้นไปอรูปภูมิ อย่างไรเสียก็ต้องลงมาปัญจโวการภูมิจนได้ในที่สุด ก็จะมีโสตายตนะเกิดได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

เหมือนที่เคยเห็นองค์ธรรมแบบนี้มาแล้วใน สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และ จะเกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก ...คือ สุ.๑ ในอสัญ มีแต่รูปไม่มีนาม แล้วเอาฌานที่ไหนกลับมาเกิดในอสัญ.อีก ไม่มีนามทำฌานไม่ได้อยู่แล้ว แล้วจะวนกลับมาเกิดในอสัญ.อีกได้อย่างไร วนได้ก็คือ สุ.๑ ตายจากอสัญ และไปเกิดในปัญจโวการภูมิ แล้วทำฌานเพิกสัญญาวิราคะออก ทำตามเดิมเหมือนในอดีตชาติอีก ฌานไม่เสื่อม อนาคตชาติที่ ๓ ก็กลับมาเกิดในอสัญ.อีก
สุ.๑ ปัจจุบันกำลังตายในอสัญ.-->อนาคตจะเกิดอยู่ปัญจ.ทำฌานเพิกสัญญาวิราคะ-->อนาคตจะเกิดอยู่ในอสัญ.อีก

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

จะแสดงวิธีทำ ของคู่แรกปัจจนิก จักขายตนะ ไม่ใช่กำลังเกิด , โสตายตนะ จักไม่เกิด
หาองค์ธรรมครั้งแรกมาได้ก็กระจายออกมาก่อน ดังที่ทำให้ดูแล้วด้านบน

จักขุ ไม่ใช่กำลังเกิด(X)......... โสตะจักเกิด (/) - สํจ] , [1 2 3 , [อสัญ , [อรูป
--"---............................โสตะจักไม่เกิด (X)- ปนิ] , อฉิ , เยอ
สํจ] กำลังตายในปัญจ. อสัญ. อรูป
ปัญจ]
- อร.๑ กำลังปรินิพพานใน กาม ,รูป --------> ปัญจ] = ปนิ]
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ กำลังตายใน ปัญจ (ซ้ำ)----------------------------------------->ปัญจ] = สํจ]
- ผลเสกข.๓ กำลังตายใน กาม ๗ รูป ๙ ---------------------------> ๗ ๙] = เยอ
อสัญ]
- สุ.๑ กำลังตายใน อสัญ --------------------------------------------------------> อสัญ] = สํจ]
อรูป]
- อร.๑ กำลังปรินิพพานใน อรูป ------------------------------> อรูป] = อนิ]
- ผลเสกข.๓ กำลังตายใน อรูป(ซ้ำ)---------------------------> อรูป] = เยอ
- ติ.๑ กำลังตายใน อรูป ----------------------------------------------------------> อรูป] = สํจ]

บกพร่องโดยกรรม
- สุ.๑ ทุ.๑ กำลังเกิด ในกามต่ำ ๖ ---------------> [1 2 3

บกพร่องโดยภูมิ กำลังเกิดใน อสัญ. อรูป
[อสัญ
- สุ.๑ กำลังเกิดใน อสัญ ----------------> [อสัญ
[อรูป
- ผลเสกข.๓=ฉิ กำลังเกิดใน อรูป ------------------> [อรูป = [ฉิออุ
- ผลเสกข.๓ กำลังเกิดใน อรูป(ซ้ำ)---------------------------> [อรูป = เยอ
- ติ.๑ กำลังเกิดใน อรูป ----------------> [อรูป

วิสัชนา ) สพฺเพสํ จวนฺตานํ (สํจ]) = ปัญจ] , อสัญ] , อรูป]
อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ = [1 2 3 , [อสัญ , [อรูป

ปญฺจโวกาเร ปรินิพฺพนฺตานํ = ปนิ]
อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ = อฉิ = ฉิออุ + อนิ
เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ จวนฺตานํ เตสํ (เยอ) = [อรูป , อรูป] ,๗ ๙] , อรูป]

จะนำมาแสดงใหม่ ตามลำดับดังนี้ค่ะ
---------------------------------

อุปปาทวาระ กาล ๕ ปัจจนิก ปุคคลวาระ
จักขายตนมูละ - โสตายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด แก่บุคคลใด , โสตายตนะก็จักไม่เกิด แก่บุคคลนั้น ใช่ไหม?

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ ,
ปญฺจโวกาเร ปรินิพฺพนฺตานํ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ จวนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ และ จะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย

- สุ.๑ ติ.๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอรูปาวจรจุติจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย

- ทุ.๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖

- สุ.๑ ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก

และ
- อรหัตตผล. ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่า ฯ

- ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ที่เรียกว่า ฯ

- ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า) แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่า ฯ

- อรหัตตผล.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ ที่เรียกว่า ฯ

- ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่า ฯ

- ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า) แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่า ฯ

องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

ยากนะคะ ออกสอบมายิ้มเลย :b12:
นั่งฟุบหลับไปครึ่งชั่วโมงแล้วขึ้นมาทำข้อสอบต่อค่ะ :b4:

:b53: สพฺเพสํ จวนตานํ (สํจ])
จะไม่ให้แยกไปประกบกับขาเกิดนะคะ ถ้า สํจ] มาเต็ม คือ ขาตายในกาม รูป อรูป อสัญ มาครบ
สํจ] = ...กาม].... รูป].... อสัญ].... อรูป]
มาครบแบบนี้ห้ามแยกไปประกบกับขาเกิดในแต่ละภูมิเด็ดขาด คือ วิสัชนา องค์ธรรมของ สํจ] ทั้งชุด

วิธีสังเกตุหาองค์ํธรรมอย่างคร่าวๆ คือ โสตะจักไม่เกิด ก็ได้แก่ ปัจฉิมภวิกะ ปรินิพพันตะ และ เยอ(เย-อะ)
เพราะ ฉิ นิ จะไม่เกิดอีกต่อไปแล้วในชาติหน้า และ เย-อะ ก็เป็นบุคคลที่จะไปเกิดในอรูปภูมิ จึงคิดหาองค์ธรรมไว้เลยอย่างคร่าว และไปดูองค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรกว่าเหลือตามที่หามาได้คร่าวๆนี้หรือไม่

..เย อ --กลุ่มบุคคลพวกนี้ ในอนาคต จักเกิดในอรูปภูมิ
[1
[ 3 ]
[ 3 ]

บุคคล ซึ่งกำลังเกิด และ กำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ จักไม่เกิด อีกต่อไปแล้ว
ได้แก่ อฉิ คือ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ มีทั้งปัจฉิมภวิกะ และ ปรินิพพันตะ ที่จักไม่เกิดในอนาคต
[3 ... อร.๑]...ตรงนี้ขาเกิด มี ผลเสกข.๓ ที่เป็น ฉิ กำลังเกิด......ขาตาย อร.๑ กำลังปรินิพพาน

จึงต้องแยก ฉิ และ อร.๑ ออกมาจากเยอ ก็จะเหลือ ผลเสกข.๓ กก + กต ในอรูป ไม่มี ฉิ และ อร.๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ขออธิบาย องค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรกและการแจกแจงกระจายออกมาให้เข้าใจก่อนนะคะ
ที่นี้มาลองทำ อายตนะที่เกิดได้เฉพาะที่ในกามภูมิที่เดียวบ้าง เช่น ฆานะ
อนุโลมปุจฉา ) ยสฺส ฆานายตนํ นุปฺปชฺชติ, ยสฺส รูปายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?(คู่นี้ปฏิปุ เคยเป็นข้อสอบปี ๕๗)

ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด คิดเหมือนเดิมคือ ฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตาย และบุคคลที่กำลังเกิดแต่ไม่มีฆานะให้เกิด องค์ธรรมได้แก่ ......สํจ] , [2 3 , [รูป , [อสัญ , [อรูป
จะขอยกมาเฉพาะองค์ธรรมที่ต้องแจกแจงเท่านั้นนะคะ
:b50: ... ๓) [2 3 ,....๔.๑) [อสัญ

:b51: สํจ] ได้แก่ ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ(เว้น อกนิฏฐาภูมิ)
- จะแยก พระอรหันต์ออกมาจากขาตายก่อน เพราะอนาคตชาติหน้าท่านจักไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว
ได้แก่
:b49: ๑ - พระอรหันต์ซึ่งกำลังปรินิพพานในกามภูมิ
:b49: ๕.๑) - พระอรหันต์ซึ่งกำลังปรินิพพานในรูปภูมิ
:b49: ๕.๒) - พระอรหันต์ซึ่งกำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ
แยกออกมาจาก สํจ]

เพราะฉะนั้นแล้ว... สํจ] จะเหลือคนแค่ ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ กระจายออกมาได้ คือ
:b50: ๑) - ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ(กาม],รูป]) และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
:b49: ๖) - ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ.๗ รูป ๙(เว้นจตุต)และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน
:b49: ๗)- ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิอีก(เว้นต่ำ) แล้วจะปรินิพพาน
:b50: ๒) - ที่เหลือคือสุคติอเหตุกบุคคล ๑ , ติเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ , อรูปภูมิ (อสัญ],อรูป]) และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ

:b51: [รูป , [อรูป ได้แก่ ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ
จะแยกปัจฉิมภวิกบุคคล ออกมาจากขาเกิดของ รูปภูมิ อรูปภูมิ คือ
:b49: ๒) - ติเหตุกบุคคล ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ และ
:b49: ๓) - ผลเสกขบุคคล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ

เพราะฉะนั้นแล้ว ที่เหลือก็จะเป็น
:b50: ๔.๒) - ติเหตุกบุคคล ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ
:b50: ๕) - ติเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ
:b49: ๔) - ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิอีก(เว้นต่ำ) แล้วจะปรินิพพาน

:b50: มีทั้งหมด ๕ ข้อ ....... ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด แต่ รูปาจักเกิด
:b49: มีทั้งหมด ๗ ข้อ ....... ฆานะก็ไม่ใช่กำลังเกิด รูปาก็จักไม่เกิด
------------------------------------------------------------------

ลองเอา ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด แต่รูปาจักเกิด ไปไล่ดูตามสีของดอกไม้ :b50: ดูนะคะว่าใช่หรือไม่ เช่น
:b50: ๑) - ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ(กาม],รูป]) และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
- ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ
{บุคคลกำลังตายจากปัญจโวการภูมิ ก็ไม่ใช่กำลังเกิด ดังนั้น.......ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด }
- และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
{เมื่อไปเกิดในปัญจโวการภูมิอีก ก็จะมีรูปาเกิดได้ในอนาคตชาติหน้า ก็ตรงกับที่ว่า ....แต่รูปาจักเกิด}

ในดอกไม้สี :b49: ก็เช่นกัน ลองไล่ดูนะคะ ก็จะเป็น ....ฆานะก็ไม่ใช่กำลังเกิด รูปาก็จักไม่เกิด

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

องค์ธรรมที่หามาได้ของทั้งสองปุจฉานี้ เป็นองค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรก ซึ่งสำคัญมาก ถ้าผิดตั้งแต่ครั้งแรกที่หาองค์ธรรมมาได้ เมื่อมาหาตรงกันข้ามกับสันนิฏฐานบท และหาสังสยบท ก็จะผิดหมดทั้งข้อค่ะ
สำคัญจริงๆ ว่าในลำดับแรกของการหาองค์ธรรม จะต้องหาให้ถูกนะคะ

ปุจฉา-วิสัชนา นี้เป็นพระพุทธมนต์ พระบาลีเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นทุกอักขระมีพลัง ถ้ากระทำอย่างถูกวิธี คือ
๑. อ่านถูกต้อง ออกเสียงชัดเจน ดังฟังชัด
๒. แปลได้ และเข้าใจในเนื้อหานั้น อ่านพระบาลีแล้วแปล มีความเข้าใจในเนื้อหา
๓. ระหว่างที่ท่องพระบาลีและคำแปลอยู่นั้น ในกระแสจิตของท่านมีเมตตา
เมื่อครบทั้ง ๓ อย่างนี้ ปุจฉา-วิสัชนา พร้อมทั้งคำแปลและองค์ธรรมที่ท่องออกมาจะมีพลังค่ะ
ดิฉันนำความเข้าใจทั้ง ๓ นี้มาจากพระมหาประนอม ธัมมาลังกาโร ค่ะ

ดังนั้นการเรียนคัมภีร์ต่างๆ ทุกเนื้อหาพระบาลี คือบทสวดได้หมด
ไม่ต่างอะไรกับการสวดมนต์นะคะ เมื่อขณะท่องพระบาลีในคัมภีร์ต่างๆ ในห้องเรียน
อีกทั้งยังเป็นการสวดรวมกันเป็นกลุ่ม ยิ่งเป็นพลังที่เราไม่ควรพลาด
ใครที่ว่า เรียนพระอภิธรรมท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง เข้าใจเสียใหม่นะคะ
พูดไปก็บาปกรรมเกิดแก่ท่านเสียเปล่าๆ ค่ะ

ถ้าเมื่อท่านอ่านคำแปลคำอธิบายแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจ ถามว่าท่องพระบาลี คำแปลได้มั้ย? ได้และดีมากด้วยค่ะ
เพราะท่านได้เสพคุ้นกับพระพุทธมนต์ คือพระบาลี เมื่อท่านได้เสพบ่อยๆ แม้ไม่มีความเข้าใจ แม้จะท่องแปลด้วยแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แต่ท่านมีจิตศรัทธาที่จะท่อง นั่นท่านเกิดกุศลแล้ว ท่านท่องขึ้นมาเมื่อไร ท่านก็คือผู้ที่ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา ช่วยกันท่องสาธยายสืบทอดให้ยาวนาน ช่วยกันรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ เจตนาของท่านเป็นกุศล มีความศรัทธา รู้ว่ากุศลที่ทำนี้ทำเพื่ออะไร และศรัทธาที่จะทำ ในขณะที่ท่องพระบาลีนั้น สิ่งที่ทุกคนจะได้คือ สมาธิ เมื่อสมาธิเกิดก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา สำหรับท่านที่ปฏิบัติวิปัสสนา ก็จะเกิดผลดีต่อการปฏิบัติของท่าน สำหรับบางท่านที่ใช้ชีวิตทำงานในชีวิตประจำท่านจะเริ่มสังเกตุตัวเองได้ แม้แต่การใช้ชีวิตทางโลก ท่านจะได้รับอานิสงส์ของสมาธิ ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ หรือคิดสร้างสรรงานได้ดีกว่าเมื่อก่อน จนบางคนก็แปลกใจว่า ทำไมเราคิดได้นะ คือเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง ทำกุศลไม่มีผลเสียค่ะ มีแต่ผลดีเกิดแก่ท่าน อะไรดีทำได้ทำไปค่ะ ไม่ต้องไปตั้งแง่ว่าแปลก็ไม่ได้ มีแต่ความไม่รู้ จะทำกุศลแล้วจะกลายเป็นอกุศล อย่าไปคิดอย่างนั้น ตั้งใจสวดมนต์ย่อมได้กุศล แม้จะไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่ก็ได้เจตสิกอื่นๆ ก็ได้เช่น ศรัทธา และเจตสิกที่เป็นองค์มรรค ตั้งใจท่องดีๆ อย่างน้อยก็มาได้ ๓ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2016, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กลับไปดูหน้า ๑ กันค่ะ
เพราะมีเพิ่มเติม อธิบายให้ละเอียดมากขึ้น และ ยกคู่ที่ยากๆ มาทำให้ดู ในกาล ๓ โล

ขอนำที่เคยจดมาจากที่เคยเรียน มาพิมพ์ให้อ่านกันนะคะ เกี่ยวกับ

ต่อไปนี้เป็นการทวน อุปปาทะ ของ กาล ๓ ปุคคละ และ วิธีเริ่มต้นหาใน กาล ๕ ปุคคละ

อุปปาทะ กาล ๓ ปุคคละ

ปัจจุบัน บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในกามภูมิ และในอนาคต
๑. จักเกิดในกามภูมิอีก (อิ)
๒. จักไม่เกิดอีก (ฉิ)
๓. จักเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน (เยรุ)
๔. จักเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน (เยอ)

ปัจจุบัน บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ และในอนาคต
๑. จักเกิดในกามภูมิ (อิ)
๒. จักไม่เกิดอีก (ฉิ)
๓. จักเกิดในรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน (เยรุ)
๔. จักเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน (เยอ)

ปัจจุบัน บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอรูปภูมิ และในอนาคต
๑. จักเกิดในกามภูมิ (อิ)
๒. จักไม่เกิดอีก (ฉิ)
๓. จักเกิดในอรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน (เยอ)

ปัจจุบัน บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และในอนาคต
๑. จักเกิดในกามภูมิ (อิ)

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

อิตเรสํ เตสํ ฯ บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย
๑. ในกามภูมิ 11
๒. ในรูปภูมิ 10 (เว้นสุทธาวาสภูมิ 5 , อสัญญสัตตภูมิ 1)
๓. ในอรูปภูมิ 4
๔. ในอสัญญสัตตภูมิ 1

ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ ฯ บุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย
๑. ในกามสุคติภูมิ 7
๒. ในรูปภูมิ 15 (เว้นอสัญญสัตตภูมิ 1)
๓. ในอรูปภูมิ 4

เย รูปาวจรํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ ฯ
๑. ในกามภูมิ 7
๒. ในรูปภูมิ 14 (เว้นอกนิฏฐาภูมิ 1, อสัญญสัตตภูมิ 1)
๓. ในอรูปภูมิ 4

เย อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ ฯ
๑. ในกามภูมิ 7
๒. ในรูปภูมิ 9 (เว้นจตุตถฌานภูมิ)
๓. ในอรูปภูมิ 4

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

องค์ธรรม ในการจำย่อ เขียนให้คล่อง ,จำองค์ธรรมแบบเต็มๆ ให้ได้ แล้วนำไปขยาย
อนุโลม
อิ(กาม)
[ 4.2 ]
[ 1.1 ]

อิ(ปัญจ)
[ 4.3 ]
[ 1.1 ]

อิ(จตุ+ปัญจ)

..เย รุ..
[ 1.3 ]
[ 1.3 ]

..เย อ
[1
[3 ]
[3 ]

ปัจจนิก มี ฉิ(จตุ+ปัญจ)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วิธีการหา กาล ๕ เมื่อหาองค์ธรรมครั้งแรกมาได้แล้ว

กาล ๕
หาองค์ธรรมครั้งที่หนึ่ง ถ้าเป็นของ กาล ๓ ในครั้งแรกนี้ เมื่อได้องค์ธรรมมาแล้ว ก็ให้กระจายองค์ธรรมออกมาแบบคร่าวๆ ดังตัวอย่างที่ทำให้ดูที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเขียนแบบสมบูรณ์ก็จะเป็นองค์ธรรมข้างล่างเหล่านี้ เพื่อให้การหาในครั้งที่สองและสามที่เป็น กาล ๑ ได้สะดวก



อิ = กามภูมิ องค์ธรรมได้แก่
ปุ.4 ผลเสกข.เบื้องต่ำ 2 ซึ่ง กก + กต ในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก
สุ.1 ติ.1 ซึ่ง กก + กต ใน รูปภูมิ อรูปภูมิ และจะเกิดในกามภูมิ

อิ = ปัญจโวการภูมิ (กามภูมิ + เยรุ) องค์ธรรมได้แก่
ปุ.4 ผลเสกข.3 ซึ่ง กก + กต ในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
สุ.1 ติ.1 ซึ่ง กก + กต ในอสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ

เยรุ องค์ธรรมได้แก่
ติเหตุกปุถุชน 1 ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในกามสุคติภูมิ๗ และจะเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน
ติเหตุกปุถุชน 1ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในรูปภูมิ และจะเกิดในรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน

เยอ องค์ธรรมได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน 1 ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ
และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘ (เว้น
รูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต ๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ
แล้วจะปรินิพพาน
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)
แล้วจะปรินิพพาน

ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ (ฉิ) องค์ธรรมได้แก่
- ติ.๑ ผล.เบื้องต่ำ ๒ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในกามสุ. ๗
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ๑๕ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในรูปภูมิ ๑๕
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ๔ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในอรูปภูมิ ๔

อรูปภูมิ = จตุโวการภูมิ
กามภูมิ + รูปภูมิ = ปัญจโวการภูมิ
ในปุคคลวาระ จะพูด รวมกันไปเลยว่า

ปจฺฉิมภวิกานํ [ฉิ] = ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
อรหัตตผลบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


กาล ๕
ในการหาองค์ธรรมในครั้งแรก ถ้าเป็น กาล ๑ ให้หาอนาคตในองค์ธรรมเหล่านั้นว่า อนาคต จักไปเกิดในภูมิใดได้บ้าง จะนำทั้งหมดมาทำให้ดูนะคะ


กาม
[4.2 = ปุถุชน ๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ......เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ ติ.๑ ผลต่ำ ๒ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในกาม
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ปุ.๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกาม ----> กามอีก
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ ----> รูป
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ* ----> อรูป
- ผล ต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ * ----> อรูป

* ระวังด้วยนะคะ ว่า ในกามภูมิ ขาเกิดขณะเกิด เกิดได้ ปุถุชน 4 ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ 2
แต่ขาตาย ขณะตาย ตายได้ ปุถุชน 4 ผลบุคคล 4
และ บุคคลที่จะไปเกิดในอรูปภูมิ จึงได้ ผลต่ำ ๒ เท่านั้นเวลาเกิด ส่วนเวลาขณะกำลังตาย จะได้ ผลเสกข. ๓ ไปเกิดในอรูปภูมิ ก็เท่ากับรวบทั้งหมดที่เป็น ติ.๑ และ ผลต่ำ ๒ ในขาเกิด เพราะต่อมาก็จะเป็นพระอริยะเบื้องต่ำ ๓ กันหมดแล้วจึงตายจากกามสุ ๗ จักไปเกิดในอรูปภูมิ เดี๋ยวดู ขาตายข้างล่างนี้ แล้วจะเข้าใจได้ดีขึ้นนะคะ
* และ ทุกภูมิที่หา ๓ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๒ ไป บุคคลจะ เว้น ฉิ และ อร.๑ หมดทุกข้อ
ตรงไหนที่มี และจะปรินิพพาน ขอละไว้ในฐานที่ทุกคนต้องจำให้ได้เองนะคะ เพื่อไม่ให้ข้อความเยอะในขณะที่ทำ วิธีการคิดหาองค์ธรรมเพื่อวิสัชนา

กาม
4.4] = ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ ......เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ อร.๑ (= นิ ) ซึ่งกำลังปรินิพพานในกาม
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ปุ.๔ ผล ๒ ซึ่งกำลังตายในกาม ----> กามอีก
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ ๗ ----> รูป
- ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ ๗* ----> อรูป

-------------------------------------

รูป
[1.3 = ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ....เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ ติ.๑ ผล.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในรูป
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ติ.๑ ผล.๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ----> รูปอีก
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ----> กาม
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙ (-จตุต) ที่จะได้มรรคต่ำ* ----> อรูป
- ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙ (-จตุต)* ----> อรูป

รูป
1.4] = ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ....เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ อร.๑ ( = นิ) ซึ่งกำลังปรินิพพานในรูป
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ติ.๑ ผล.๓ ซึ่งกำลังตายในรูป ----> รูปอีก
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ซึ่งกำลังตายในรูป ----> กาม
- ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในรูป ๙ (-จตุต)* ----> อรูป

--------------------------------------

อสัญ
[สุ.๑ = สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ -----> กามภูมิ
......สุ.๑] = สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ -------> กามภูมิ

-------------------------------------

อรูป
[1.3 = ติเหตุกบุคคล ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ..... เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ ผล.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในอรูป
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ผล.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูป ----> อรูปอีก(-ต่ำ)
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูป ----> กามภูมิ

อรูป
1.3 ] = ติเหตุกบุคคล ๑ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ ......เอาองค์ธรรมตรงนี้ไปหา ๓ ข้อ
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ อร.๑ = (นิ) ซึ่งกำลังปรินิพพานในอรูป
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ผล.๓ ซึ่งกำลังตายในอรูป ----> อรูปอีก(-ต่ำ)
๓. จักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ซึ่งกำลังตายในอรูป ----> กามภูมิ


*** ใครเห็นมีอะไรผิดตรงไหน เจอหน้ากันก็บอกกันด้วยนะคะ หรือบอกทางสื่ออื่นก็ได้ที่ติดต่อกันได้ค่ะ
ขอบอกว่า เป็นงานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการที่กระทู้แบบนี้ขึ้นมา มีความคิดที่ว่า เข้าใจแล้ว ทำเก็บไว้ดูเอง และ ก็ไม่อยากเก็บไว้คนเดียว อย่างน้อยเพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ น่าจะได้ประโยชน์นี้ด้วยกันเท่านั้นค่ะ :b8: สาธุค่ะ ***


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


อุปปาทวาระ กาล ๕ ปัจจนิก ปุคคลวาระ
จักขายตนมูละ - โสตายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ ,
ปญฺจโวกาเร ปรินิพฺพนฺตานํ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ จวนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ

---------------------------------------

จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีพระอริยสาวกที่ทรงปริยัติเรียบเรียงสภาวะสอนสืบทอดกันมา ไม่มีท่านโบราณจารย์ที่ทรงปริยัติไว้สืบทอดกันมา เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวะในพระบาลีทั้งปุจฉาและวิสัชนาด้วยการเรียนได้เลย จริงหรือไม่

การเรียนพระบาลี และ พระอภิธรรม เป็นการเรียนที่สืบทอดกันมานับพันปี ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ใช่เนื้อแท้นะคะ พวกที่จะเอาแต่คำสอนพระพุทธเจ้า ปุจฉาและวิสัชนา นี่แหละคำสอนของพระพุทธองค์ ที่เป็น พุทธวจนะอย่างแท้จริง ถามว่าสามารถเข้าถึงสภาวะภายในคำปุจฉาวิสัชนาด้วยสุตมยปัญญาได้หรือไม่ นี้คือพุทธวจนะอย่างแท้จริง และได้สอนกันมาอย่างให้เข้าใจได้มานานแล้ว ไม่ใช่ พุดทะวะจน อย่างสำนักบางสำนักทำการสอนชนิดเลียนแบบ ทำเหมือนจะเก่ง สอนแก่ผู้ที่มีแต่โลภะหนาแน่น จะเอาแต่คำสอนของพระพุทธองค์ล้วน ไม่ฟังคำอธิบายของพระอริยสาวก แต่ในที่สุดก็ตกเป็นเหยื่อของคนธรรมดาที่กิเลสหนามาอธิบายแบบมั่วๆ ให้ฟัง โลภมากมักลาภหาย ไม่หายธรรมดาด้วยแถมยังติดลบ จะพากันลงนรกด้วยมิจฉาทิฏฐิ ยกเข่งไปกับเจ้าสำนักด้วยค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อุปปาทวาระ กาล ๕ ปัจจนิก ปุคคลวาระ
จักขายตนมูละ - โสตายตนมูลียมกะ

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชตีติ ?
หรือว่า โสตายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม?

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/)
---"--------"----................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X)
:b50: ปฉิ
:b49: เยอ

ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการคิด
----------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/)
---"--------"----................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X)
:b50: ปฉิ <----- แยกเป็น ปฉิ = [ฉิปอุ และ ปนิ]
:b49: เยอ

-----------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/)
---"--------"----................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X)
:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]
:b49: เยอ <----------องค์ธรรมของ เยอ ได้แก่
= ติ.๑ กก. ๗,๙
= ผล.๓ กก.+กต. ๗,๙
= ผล.๓ กก.+กต. อรูป

------------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/)
---"--------"----................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X)
:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]
:b49:
= ติ.๑ กก. ๗,๙
= ผล.๓ กก.+กต. ๗,๙
= ผล.๓ กก.+กต. อรูป

......[ฉิออุ และ อนิ] <-------เป็นบุคคลในอรูป ที่จักไม่เกิดอีกต่อไป

-------------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/)
---"--------"----................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X)
:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]
:b49:
= [ติ.๑ กก. ๗,๙
= [ผล.๓ กก.+กต. ๗,๙]
= [ผล.๓ กก.+กต. อรูป]
.....[ฉิออุ และ อนิ]

-----------------------------------------------------
จะแสดงวิธีทำ ขอให้สนใจ [ขาเกิด และ ขาตาย] ด้วยค่ะ เพราะจะมีการแยกจากกัน

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/) - [ฉิปอุ , [ติ.๑..๗,๙ , [ผล.๓..๗,๙

---"--------"----............จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X) - ปนิ] , อฉิ , ...?....

:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]

:b49:
= [ติ.๑ กก. ๗,๙
= [ผล.๓ กก.+กต. ๗,๙]
= [ผล.๓ กก.+กต. อรูป]
.....[ฉิออุ และ อนิ] = อฉิ

------------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/) - [ฉิปอุ , [ติ.๑..๗,๙ , [ผล.๓..๗,๙

---"--------"----............จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X) - ปนิ] , อฉิ , [เยอ]

:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]

:b49:
= [ติ.๑ กก. ๗,๙
= [ผล.๓ กก.+ ผล.๓ กต. ๗,๙]
= [ผล.๓ กก.+ ผล.๓ กต. อรูป]
.....[ฉิออุ และ อนิ] = อฉิ

-------------------------------------------------------------

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/) - [ฉิปอุ , [เยอ อุ

---"--------"----............จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X) - ปนิ] , อฉิ , [เยอ]

:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]

:b49:
= [ติ.๑ กก. ๗,๙
= [ผล.๓ กก.+ ผล.๓ กต. ๗,๙]
= [ผล.๓ กก.+ผล.๓ กต. อรูป]
.....[ฉิออุ และ อนิ]= อฉิ

วิสัชนา)
ปจฺฉิมภวิกานํ ปญฺจโวการํ อปปชฺชนฺตานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ ,
ปญฺจโวกาเร ปรินิพฺพนฺตานํ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ จวนฺตานํ เตสํ

-----------------------------------------------------
:b53: อธิบาย
โสตายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด คือ อนาคตชาติต่อไป ใครบ้างที่โสตายตนะจักไม่เกิด ก็ได้แก่
ปัจฉิมภวิกชุคคล(ฉิ) ซึ่งกำลังเกิด และ ปรินิพพันตบุคคล(นิ) ซึ่งกำลังตาย ในปัญจโวการภูมิ
และ เยอะ คือบุคคลซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในชาติปัจจุบันนี้ อนาคตจะไปเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่โสตายตนะจักไม่เกิด เพราะอรูปภูมิที่อายตนะได้แค่ ๒ คือ มนายตนะ และ ธัมมายตนะ ดังนั้น โสตายตนะจักไม่เกิด

ก็ต้องกระจาย ปฉิ ออกมาเพราะปฉิ นี้รวมหมด ทั้ง ฉิ และ นิ
ฉิ กำลังเกิด ส่วน นิ คือ อรหัตตผล๑ ซึ่งกำลังปรินิพพาน

ต่อจากนั้นก็ กระจายองค์ธรรมทั้งหมดของ เยอะ ออกมา
จะมีองค์ธรรมสุดท้ายที่กำลังเกิดและกำลังตายในอรูป และจักไม่เกิดอีกต่อไป ตรงนี้มี ฉิ กับ นิ
[ฉิออุ และ อนิ] = อฉิ

จากนั้นก็เริ่มหาตรงข้ามสังสยบท และ สังสยบท

โสตะจักไม่เกิด(X).................จักขุกำลังเกิด(/) - [ฉิปอุ , [ติ.๑..๗,๙ , [ผล.๓..๗,๙

---"--------"----............จักขุไม่ใช่กำลังเกิด(X) - ปนิ] , อฉิ , {...?....= [เยอ] }

:b50: [ฉิปอุ และ ปนิ]

:b49:
= [ติ.๑ กก. ๗,๙
= [ผล.๓ กก. ๗,๙ + ....... ผล.๓ กต. ๗,๙]
= ...................... [ผล.๓ กก.+ ผล.๓ กต. อรูป]
.....[ฉิออุ และ อนิ] = อฉิ

จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่ใครบ้างก็ดู บุคคลซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ มีใครบ้างก็มี
- [ฉิปอุ คือ ปัจฉิมภวิกบุคคล ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ
- [ติ.๑..๗,๙ และ [ผล.๓..๗,๙ คือ ติเหตุกบุคคล ๑ และ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) บุคคลเหล่านี้กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิในขณะปัจจุบัน ก็มีจักขุกำลังเกิด และ ในอนาคตชาติต่อไปจะไปเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน

สังสยบทถามว่า จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม? ก็ได้แก่ องค์ธรรมที่เหลือ
ให้เช็ดดูว่า องค์ธรรมที่เหลือนี้ตอบถูกต้องหรือไม่
- ปนิ] คือ อรหัตตผลบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในปัญจโวการภูมิ กำลังปรินิพพานเป็นขณะดับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะ จักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตาย
- อฉิ คือ ผลเสกขบุคคล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกบุคคล ซึงกำลังเกิดในอรูปภูมิ ปัจฉิมภวิกะ เป็นบุคคลที่เกิดเป็นชาติสุดท้าย จะต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาติที่กำลังเกิดอยู่นี้ กำลังเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีจักขุเกิดได้ เป็นประเภท บกพร่องโดยภูมิ จักขุไม่ใช่กำลังเกิดก็ได้แก่ปัจจฉิมภวิกะซึ่งกำลังเกิด
และ อรหัตตผลบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในอรูป จักขุก็ไม่ใช่กำลังเกิด เพราะกำลังตาย

จักขุไม่ใช่กำลังเกิด แก่บุคคลที่กำลังตาย ได้แก่ ปนิ] อนิ]
และ บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือพวกบกพร่อง ก็ได้แก่ [ฉิออุ

..?....ส่วนองค์ธรรมที่เหลือ ก็คือ เย-อะ ใช่หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าใช่ เพราะเป็นองค์ธรรมที่เรากระจายมาจาก เย-อะ ทั้งสิ้น มีทั้งขาเกิด และ ขาตาย เวลาแสดงองค์ธรรมก็เรียง ขาเกิดก่อนแล้วตามด้วยขาตาย ตามลำดับขององค์ธรรมที่เรียงไว้

จักขุไม่ใช่กำลังเกิด ก็ตรงกับองค์ธรรมที่เหลือคือ เย-อะ บุคคลที่กำลังตาย และไม่มีจักขุให้เกิด
จะรวบรวมให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ ๗ รูป ๙ และ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดและตายในปัจจุบันที่ในอรูปภูมิ
ดังนั้น เยอ ได้แก่ ผล.๓ กต. ๗,๙] และ [ผล.๓ กก.+กต. อรูป]

( เยรุ อ่านว่า เย-รุ ส่วน เยอ อ่านว่า เย-อะ )

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2016, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

จับต้นชนปลายกันได้หรือยังคะว่า
ถ้าหาองค์ธรรมครั้งแรก เป็นกาล ๑ ก็หาอนาคตขององค์ธรรมที่เราได้มาว่า บุคคลเหล่านี้อนาคตชาติข้างหน้า อายตนะนั้นจักเกิดได้ที่ใดบ้าง

ส่วนที่หาองค์ธรรมครั้งแรกเป็น กาล ๓ ก็กระจายองค์ธรรมออกมา แล้วดูว่าปัจจุบันอายตนะใดกำลังเกิด กำลังตาย ฯ

ขออธิบายปุจฉาเป็นภาษาไทย และวิธีคิดก่อน ส่วนองค์ธรรมพูดเฉพาะให้เข้าใจกัน เพราะแบบเต็มจะยาวและไม่สะดวกแก่การพิมพ์ ต้องท่ององค์ธรรมเต็มๆให้ได้ด้วยนะคะ
ย้ำอีกครั้งว่า เครื่องหมาย [ คือกำลังเกิด และ เครื่องหมายนี้ ] คือกำลังตาย
สังเกตเครื่องหมายด้วยค่ะ แล้วจะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น

อุปปาทะ กาล ๕ ปัจจนิก

จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด มนายตนะจักไม่เกิด (มนายตนะเป็นกาล ๓)

:b53: หาครั้งที่หนึ่ง จักขุไม่ใช่กำลังเกิด เป็นกาล ๑ ได้แก่ คนที่กำลังตายทั้งหมด และ คนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด
ก็ได้แก่ สํจ] และ [1 2 3 , [อสัญ , [อรูป
{ถ้ากาล ๓ เป็นมนายตนะกับธัมมายตนะ ... กาล ๑ ก็หาแค่ ข้อ ๑ จักไม่เกิด กับ ที่เหลือพอค่ะ}

กระจาย สํจ]ได้ ๓๐ ภูมิ(เว้นอกนิฏฐา) มาเป็นตายใน = ปัญจ] , อสัญ] , อรูป]
ปัญจ] = จักไม่เกิดคือ อร.๑= ปนิ] และที่เหลือ คือ 4.3 ปัญจ]
อรูป] = จักไม่เกิด อร.๑ =อนิ] และที่เหลือ คือ 1.3 อรูป]
[อรูป = จักไม่เกิด ผล.๓=[ฉิออุ และที่เหลือ คือ [1.3(เว้นฉิ) อรูป

เมื่อหามาได้ครบแล้ว จะตั้งเรียงตัวองค์ธรรมที่ต้องใช้ทั้งหมดให้ดูนะคะ
เอาองค์ธรรมเหล่านี้ไปหา ครั้งที่สอง และ สาม

- ปนิ] และ 4.3 ปัญจ]
- อสัญ] ลงกามภูมิ
- จักไม่เกิด อนิ] และ 1.3 อรูป]
- [1 2 3
- [อสัญ ลงกามภูมิ
- [ฉิออุ และ [1.3(เว้นฉิ) อรูป

:b53: หาครั้งที่สอง หาตรงข้ามสังสยบท มนายตนะจักเกิด ได้แก่
- 4.3 ปัญจ]
- อสัญ]
- 1.3 อรูป]
- [1 2 3
- [อสัญ
- [1.3(เว้นฉิ) อรูป

:b53: หาครั้งที่สาม หาสังสยบท มนายตนะจักไม่เกิด ได้แก่
- ปนิ]
- [ฉิออุ + อนิ] = อฉิ


จักขุ X กก. .................... มนา จักเกิด /- สํจ] , [1 2 3 , [อสัญ , [1.3(เว้นฉิ) อรูป
-"------" ................... มนา จัก X เกิด - ปนิ] , {[ฉิออุ อนิ] = อฉิ}
- ปนิ] , 4.3 ปัญจ]
- อสัญ]
- อนิ] , 1.3 อรูป]
- [1 2 3
- [อสัญ
- [ฉิออุ , [1.3(เว้นฉิ) อรูป

สํจ]จะได้ ๔.๓ ใน ๓๐ ภูมิ(-อก) ดูในหนังสือ หน้า ๓๑๐

----------------------------------
มนายตนะจักไม่เกิด จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด (หน้า ๓๑๑)

:b53: หาครั้งที่หนึ่ง หา มนายตนะ จักไม่เกิด ได้แก่ ปัจฉิมภวิกะ กับ ปรินิพพันตะ
มนา เกิดได้ในจตุโวการภูมิ และปัญจโวการภูมิ ก็รวมไปได้เลย
- ได้แก่ ปัจฉิมภวิกะ กับ ปรินิพพันตะ ในจตุโวการภูมิ
- ปัจฉิมภวิกะ กับ ปรินิพพันตะ ในปัญจโวการภูมิ
:b53: หาครั้งที่สอง หาตรงข้ามสังสยบท จักขายตนะ กำลังเกิด ก็จะเป็น ปัจฉิมภวิกะซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิเท่านั้น
:b53: หาครั้งที่สาม หาสังสยบท องค์ธรรมที่เหลือคือ ปรินิพพันตะในปัญจโวการภูมิ และ ปัจฉิมภวิกะ กับ ปรินิพพันตะ ในจตุโวการภูมิ
ก็เป็นองค์ธรรมของ จักขุ ไม่ใช่กำลังเกิด คือ อร.๑ในจตุ ปัญจะ และ ฉิในอรูปซึ่งกำลังเกิด
ตรงกันหรือไม่กับคำพูดที่ว่า จักขุไม่ใช่กำลังเกิดก็ได้แก่คนที่กำลังตาย และคนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทะ กาล ๕ อนุโลมนัย
ฆานะ - ชิวหา (หน้า ๒๗๖)
ฆานกำลังเกิด ชิวหาจักเกิด

:b53: หาครั้งที่หนึ่ง ฆานกำลังเกิด อธ.ได้แก่ ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ จึงต้องหาตามหลักที่จัดไว้ ๓ ข้อ
๑. หาจักไม่เกิด ได้แก่ ติ ๑.ผลต่ำ ๒ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในกาม
๒. หาจักเกิดซ้ำในกาม ได้แก่ ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ (เว้นฉิ)ซึ่งกำลังเกิดในกามจะเกิดซ้ำในกามอีก
๓. หาจักไปเกิดที่อื่น ได้แก่
- ติ.๑ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ จะไปเกิดในรูปภูมิ
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ (จะได้มรรคเบื้องต่ำ)จะไปเกิดในอรูปภูมิ
- ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ จะไปเกิดในอรูปภูมิ

:b53: ต่อมาหาครั้งที่สอง หาตรงกันข้ามกับสังสยบท หาชิวหาจักไม่เกิด ก็คือ ข้อ ๑ และข้อ ๓ ทั้งหมด ได้แก่
- ติ ๑.ผลต่ำ ๒ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในกาม
- ติ.๑ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ จะไปเกิดในรูปภูมิ
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ (จะได้มรรคเบื้องต่ำ)จะไปเกิดในอรูปภูมิ
- ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ จะไปเกิดในอรูปภูมิ

:b53: หาครั้งที่สามครั้งสุดท้ายคือสังสยบท หาชิวหาจักไม่เกิด ก็คือ องค์ธรรมที่เหลือคือข้อ ๒ นั่นเอง
- ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ (เว้นฉิ)ซึ่งกำลังเกิดในกามจะเกิดซ้ำในกามอีก

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ชิวหาจักเกิด ฆานะกำลังเกิด (หน้า ๒๗๗)

:b53: หาครั้งที่หนึ่ง ชิวหาจักเกิด อธ.ได้แก่ อิ(กาม) ก็กระจาย อิ(กาม)ออกมาให้หมด คือ
๑. ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิด และกำลังตาย ในกาม (มีพวกบกพร่องกำลังเกิดอยู่ด้วยในกามต่ำ๖)
๒. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย ในรูปภูมิ ๑๐(เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
๓. สุ ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย ในอสัญญสัตตภูมิ
๔. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย ในอรูปภูมิ

:b53: ต่อมาหาครั้งที่สอง หาตรงกันข้ามกับสังสยบท หาฆานะไม่ใช่กำลังเกิด ก็ได้แก่ ข้อ ๑ถึงข้อ ๔ ทั้งหมด
(เว้น ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกาม )
ฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตาย ก็ได้แค่ ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังตายใน ๒๖ ภูมิ(เว้นสุท๕)
๑. ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังตาย ในกาม
๒. ติ ๑ ซึ่งกำลังตาย ในรูปภูมิ ๑๐(เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
๓. สุ ๑ ซึ่งกำลังตาย ในอสัญญสัตตภูมิ
๔. ติ ๑ ซึ่งกำลังตาย ในอรูปภูมิ
และบุคคลที่กำลังเกิดแต่ไม่มีฆานะให้เกิด ก็ได้แก่
๑.พวกบกพร่องกลุ่ม 2 3 ในกามต่ำ๖
๒. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิด ในรูปภูมิ ๑๐(เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
๓. สุ ๑ ซึ่งกำลังเกิด ในอสัญญสัตตภูมิ
๔. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิด ในอรูปภูมิ

:b53: หาครั้งที่สาม หาสังสยบท ฆานะกำลังเกิด ก็ได้แก่องค์ธรรมที่เหลือคือ
ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกาม บุคคลที่จะเกิดในกามภูมิ ๑๑ เท่านั้นที่จะมีฆานะเกิดได้

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อธิบายอย่างนี้ดีกว่าเน้อะ :b4:
แล้วไปจัดใส่ในรูปแบบการคิดแบบ ปีกกา< แบบที่พระอาจารย์ท่านสอนเอาเองนะคะ

ต่อไปเป็นปัจจนิก (ฆานะ - ชิวหา) (หน้า ๓๑๑-๓๑๔)

ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด ชิวหาจักไม่เกิด

:b53: หาครั้งที่ ๑ ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด ก็ได้แก่ คนที่กำลังตาย และ คนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีฆานะให้เกิด
คนที่กำลังตาย สํจ] และ คนที่กำลังเกิด แต่ไม่มีฆานะให้เกิด ได้แก่ [2 3 , [รูป [อสัญ [อรูป
ต้องกลับมาใช้สัญญลักษณ์เพราะจะยืดยาวมากค่ะ

ต่อไปคือหาตามหลักที่ให้ไว้ ๓ ข้อ จะจับมาเรียงให้หมดนะคะ
------ สํจ] = กาม] รูป] อสัญ] อรูป].........X

กาม] = ปุ ๔ ผล ๔ กำลังตายใน กาม.........X
๑. จักไม่เกิด ได้แก่ อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในกามสุ ๗
:b50: ๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังตายในกาม ---> กามอีก
๓. จักไปที่อื่น
- ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกาม ---> รูป
- ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกาม ---> อรูป

รูป] = ติ ๑ ผล ๔ ซึ่งกำลังตายใน รูปภูมิ.........X
๑. อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในรูปภูมิ
๒. ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ ---> รูปอีก
:b50: ๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ ---> กาม
- ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ๙ ---> อรูป

:b50: อสัญ] = สุ ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญ ---> กาม

อรูป] = ติ ๑ ผล ๔ ซึ่งกำลังตายใน อรูปภูมิ.........X
๑. อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ
๒. ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ ---> อรูปอีก
:b50: ๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ ---> กาม

--- [2 3 , [รูป [อสัญ [อรูป.........X

:b50: [2 3 = บกพร่องกลุ่ม ๒ และ ๓

[รูป = . ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ.........X
๑. ติ ๑ ผล ๓ ที่เป็น ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ
๒. ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ---> รูปอีก
:b50: ๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ---> กาม
:b48: - ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙ มรรคต่ำ ---> อรูป
:b48: - ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ๙ ---> อรูป

[อสัญ = สุ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญ ---> กาม

[อรูป = ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ..........X
๑. ผล ๓ ที่เป็น ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ
๒. ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ---> อรูปอีก
:b50: ๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ---> กาม

เมื่อจับองค์ธรรมทั้งหมดของการหาครั้งแรก มาหาอนาคตข้อ ๑-๓ ได้ครบหมดแล้วก็หาต่อได้เลยค่ะ
ที่สำคัญอย่าสับสน เอาแค่ตัวที่กระจายแล้วมาคิด ตัวตั้งต้นไม่ต้องเอามาคิดอีกนะคะจะใส่ X ไว้ให้ว่าห้ามเอามาเกี่ยวข้องในการหาอีกล่ะกัน

:b53: หาครั้งที่สอง หาตรงข้ามกับสังสยบท ชัวหาจักเกิด ชิวหาจะเกิดแก่คนที่อนาคตจะไปเกิดได้ในกามเท่านั้น ดูว่า ใครบ้างที่กำลังเกิด หรือกำลังตาย แล้วอนาคตจะลงกามได้บ้าง สังเกตที่นี่เลย ---> กาม
ไล่ดูหาไปเรื่อยๆ เลยค่ะ
บุคคลเหล่านี้อนาคตจะไปเกิดในกามภูมิ ย่อมมีชิวหาจักเกิดได้
ใส่ :b50: ไว้ให้สังเกตุหาได้ง่าย ข้างบนแล้วค่ะ
๒. จักเกิดซ้ำ ได้แก่ ปุ ๔ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังตายในกาม ---> กามอีก
๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ ---> กาม
อสัญ] = สุ ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญ ---> กาม
๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังตายในอรูปภูมิ ---> กาม
[2 3 = บกพร่องกลุ่ม ๒ และ ๓ ทำไมจึงมีกลุ่ม ๒ เกิดได้ เพราะเราเอาตัวองค์ธรรมของฆานะกำลังเกิดในชาติปัจจุบันมา อนาคตคนกลุ่มนี้ ชาติต่อไปคนพวกนี้ก็สามารถจะมีชิวหาเกิดได้
๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ---> กาม
๓. ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ---> กาม
จัดการเรียงใหม่ให้ตามองค์ธรรมให้เรียบร้อยตามในหนังสือเรียนกันค่ะ ลองทำดูนะคะ

:b53: หาครั้งที่สาม คือหาตามสังสยบท ชัวหาจักไม่เกิด ก็คือ องค์ธรรมทั้งหมดที่เหลือ
แต่จะเก็บไม่ได้หมด ดูในกรอบสี่เหลี่ยมบนสุดหน้า ๓๑๔ จะเก็บองค์ธรรมได้หมดเกลี้ยงรวมทั้งตรงนี้ด้วย
:b48: - ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙ มรรคต่ำ ---> อรูป
:b48: - ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ๙ ---> อรูป
ลองจัดเรียงองค์ธรรมให้เป็นระเบียบตามหนังสือดูนะคะ

สังเกตกันได้แล้วนะว่าหาองค์ธรรมครั้งที่หนึ่งมาได้แล้ว ถ้ากาล ๑ ก็หาข้อ ๑-๓
ถ้า กาล ๓ ก็กระจายออกมา


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปยังอยู่ในคู่เดิม ปัจจนิก

ชิวหาจักไม่เกิด ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด (หน้า ๓๑๒-๓๑๔)

:b53: หาครั้งที่หนึ่ง ชิวหาจักไม่เกิด ได้แก่ ปัจฉิมภวิกะและปรินิพพันตะ ในจตุ+ปัญจ และ เยรุ เยอ
จับองค์ธรรมมากระจายให้หมด

------ ฉิ = ปัจฉิมภวิกะและปรินิพพันตะ ในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ ..........X
:b50: - ติ ๑ ผลต่ำ ๒ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗
- อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในกามสุ ๗
- ติ ๑ ผล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ
- อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในรูปภูมิ
- ผล ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดใน อรูปภูมิ
- อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานใน อรูปภูมิ

------ เยรุ บุคคลในกลุ่มนี้อนาคตจักเกิดในรูปภูมิ..........X
:b50: - ติ ๑ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗
และ - ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ ๗
- ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูป และ - ติ ๑ ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในรูป

------ เยอ บุคคลในกลุ่มนี้อนาคตจักเกิดใน อรูปภูมิ..........X
:b50: - ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ มรรคต่ำ
:b48: และ - ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙(-จตุต) มรรคต่ำ
:b50: - ผล ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗
:b48: และ - ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙(-จตุต)
- ผล ๓ ซึ่งกำลังตายในกามสุ ๗ รูป ๙(-จตุต)
- ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายใน อรูป
-------------------

:b53: ทีนี้ก็หาครั้งที่สองได้แล้ว หาตรงกันข้ามกับสังสยบท ....ใส่อนาคตให้ซะหน่อยเพื่อกันสับสนนะคะ
:b50: ฆานะกำลังเกิด หาว่า คนที่กำลังเกิดในกามภูมิ เท่านั้นที่ฆานะกำลังเกิด
- ติ ๑ ผลต่ำ ๒ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗......ฉิ กาม อุ
- ติ ๑ ผลต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗........เยรุ
- ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ มรรคต่ำ .......เยอ
- ผล ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุ ๗ ...............เยอ

:b53: หาครั้งที่สาม หาสังสยบท ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด ก็คือองค์ธรรมที่เหลือ
ส่วนองค์ธรรมที่ถูกเก็บหมดเกลี้ยงก็อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมในหนังสือ สังเกตด้วยคือ
:b48: และ - ติ ๑ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙(-จตุต) มรรคต่ำ และ - ผล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูป ๙(-จตุต)

ลองจััดเรียงองค์ธรรมให้เป็นระเบียบตามวิสัชนา ดูในหนังสือกันนะคะ

----------------------------------------------------

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2016, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อุปปาทะ กาล ๕ ทั้งอนุโลมนัย และปัจจนิกนัย ทำเสร็จหมดแล้ว และจะทยอยพิมพ์ให้อ่านนะคะ

จะเอามาแสดงเฉพาะบางคู่เท่านั้น ให้จับหลักกันได้เข้าใจค่ะ ที่เหลือลองฝึกทำเองนะคะ







:b53: สัจจยมก โดย อ.พิชยุตม์
https://www.youtube.com/watch?v=wZnB18T ... Zq&index=1

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กาล ๖


ขำๆ นะคะ
ที่กระทู้นี้และกระทู้อื่นๆ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ สามารถเผยแพร่ได้ตามสบายค่ะ
สำคัญที่ว่าเจอผิดตรงไหนให้ช่วยบอกด้วยล่ะกันค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ทวน ปัณณัตติวาระ ให้เข้าใจเอาไว้สำหรับท่องสอบค่ะ
ในการสอบนั้น ปัณณัตติวาระจะสอบวันแรกคือ ข้อ ๑ ในกระดาษคำถาม
ส่วนมากเลย จะเป็นข้อ ๑. ที่มีข้อย่อย ข้อ ก. และ ข.


จากหน้า ๑ จะมี ปุจฉาต้นแบบ ๔ ข้อ คือ
๑.(อนุโลมนัย ) อนุ.ปุ.) จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ? วิ.)โดยตรง (จกฺ โส คนฺ รโส) กับ (กาโย รูปํ ธมฺ)
๒.(ปัจจนิกนัย) ปฏิ.ปุ) น จกฺขายตนํ , น จกฺขูติ? วิ.)โดยตรง ๔ กับ ๓ (เหมือนข้อ๑)

๓.(ปัจจนิกนัย) อนุ.ปุ.) น จกฺขุ , นายตนนฺติ? วิ.) โดยตรง ๑๐ (ยกเว้น น กาโย และ น ธมฺโม)
๔.(อนุโลมนัย) ปฏิ.ปุ.) อายตนา , จกฺขายตนนฺติ? วิ.) โดยอ้อม ทั้งหมด ๑๒

:b53: ส่วนใหญ่จะออกสอบปุจฉาและวิสัชนาต้นแบบ ข้อ ๑ และ ๒ ทวนให้มากๆ
ปุจฉาในสองข้อนี้ ซึ่งตอบได้แบบปริปุณณฯโดยตรงได้ ๗ แยกเป็นวิสัชนาแบบฟอร์มเดียวกัน ๔ และ ๓
- ๔ จะยกบาลีที่เป็นองค์ธรรมขึ้นมาวิสัชนาในท่อนแรก(ปุริมโกฏฐาสะ)
- ๓ จะยกอายตนะในคำถามนั้น ขึ้นมาวิสัชนาและมีการยกเว้นฯ(อวเสสา ฐเปตฺวา)ในท่อนแรก
๓ นี้ย่อแบบสั้นๆ ก็ได้นะคะ ย่อแค่ กา รู ธมฺ สะดวกแก่การจำ

จกฺขุ จะใหญ่กว่า จกฺขายตนะ เวลาพระพุทธองค์ปุจฉา จะยกมาเป็นคู่ๆ จะไม่มีพระบาลีขององค์ธรรมอื่นๆของจักขุ มาเป็นคำปุจฉา และจะเห็นได้ว่ามีการใช้คำบาลีแค่แต่ละคู่เท่านั้น ทั้งอนุโลมนัยและปัจจนิกนัย ตัวอย่างในปทโสธนวาระ เช่น
อนุปุ) จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ ? ในอายตนะอื่นๆอีก ๑๑ อายตนะ ก็เช่นกันค่ะ
ส่วนจะเอ่ยถึงองค์ธรรมที่เหลือ ก็จะใช้คำว่า ธรรมที่เหลือนอกนั้นบ้าง ธรรมที่ไม่ชื่อว่าบ้าง ที่เหลือนอกนั้นบ้าง แล้วแต่ว่าอยู่ในรูปแบบของปุจฉาหรือวิสัชนาแบบใด และ จักขุจะใหญ่กว่าจักขายตนะ เพราะจักขายตนะเป็นองค์ธรรมในส่วนหนึ่งของจักขุ ส่วนคู่ที่องค์ธรรมเท่ากันก็วิสัชนาว่า อามนฺตา เช่นคู่ของ
อนุปุ) มโน , มนายตนนฺติ ? ทั้ง มโน และ มนายตนะ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙
ดังนั้นคำถามนี้เป็นปัจฉาปัญหา จึงวิสัชนาว่า อามนฺตา (ใช่)

(ยกเว้นว่า เมื่อมีการหมุน เช่น ปทโสธนมูลจักกวาระ จะมี อายตนะ เข้ามาเป็นปุจฉาด้วย)

ให้นำกระดาษมาแบ่งครึ่ง ด้านซ้ายเป็นอนุโลมนัย เขียนอนุโลมปุจฉามาขึ้นเรียงลงมาไว้เลยตามแนวตั้ง ทำให้ครบ ๑๒ คู่ พร้อมทั้งใส่องค์ธรรมของจักขุ ไว้ด้วยเลยค่ะ ทำแบบย่อๆ ไว้สะดวกในการท่อง องค์ธรรมทั้ง ๓ บรรทัดนี้เป็นของจักขุทั้งหมดเลยนะคะ ส่วนเครื่องหมาย /และ X นี้ สามารถใช้สำหรับวิสัชนาและเขียนองค์ธรรมในสันนิฏฐานบทและสังสยบทได้ ถ้าเคยฝึกท่องและเขียนมาจนคล่องแล้ว เห็นรูปแบบนี้จะเข้าใจได้ทันทีและง่ายต่อการทบทวน เช่น
อนุปุ) จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ ?
/X ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ
/X ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
// และ จักขุปสาท.......(จกฺขายตนํ)

และด้านขวาของกระดาษ เขียน ปฏิโลมปุจฉา ให้ทำเป็นเป็นปัจจนิกนัย เขียนเรียงแนวตั้งลงมาทั้ง ๑๒คู่
ปฎิปุ) น จกฺขายตนํ , น จกฺขูติ ?
X/ ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ
X/ ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
XX และ อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓)...........(น จกฺขุ)

มาดูองค์ธรรมทั้งหมดของ จกฺขุ ได้แก่
- ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
- และ จักขุปสาท.......(จกฺขายตนํ)
แสดงให้เห็นว่า จักขุ นั้นใหญ่กว่า จักขายตนะ
จักขายตนะ นั้นมีองค์ธรรมคือ จักขุปสาท
เพราะจักขุ มี ทุติยฯ ตติยฯ และ จักขายตนะ เป็นองค์ธรรมทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า จักขายตนะ ก็เป็นองค์ธรรมส่วนหนึ่งของจักขุด้วย
(และองค์ธรรมคู่อื่นๆที่เหลืออีก ๖ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ...ปุจฉาต้นแบบข้อ ๑ )

จะเห็นได้ว่า มากันครบหมดทั้งคำตอบและองค์ธรรมที่จะต้องตอบ
เพราะว่า การตอบของทั้ง ๗ คู่นั้นจะต้องตอบเป็นปริปุณณปัญหา ดังที่เคยเขียนบอกไว้ตอนต้นกระทู้ในโพสท์แรกๆ นั้นที่อธิบายปุจฉาตัวอย่าง ๔ ปุจฉา ที่จะต้องตอบเป็นปริปุณณปัญหา

การตอบทั้ง ๗ คู่ นั้นจะแบ่ง เป็น ๔ กับ ๓
๔ นั้น ใช้องค์ธรรมในการวิสัชนา ได้แก่ คู่ จกฺขุ โสตํ คนฺโธ รโส
๓ นั้น ใช้อายตนะในการวิสัชนา ได้แก่ คู่ กาโย รูปํ ธมฺโม

ที่ว่ามากันครบทั้ง คำตอบคือวิสัชนา และองค์ธรรมนั้นมากันได้อย่างไร ลองมาดูวิสัชนากันค่ะ

อนุปุ) จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ ?
แปล ธรรมที่ชื่อว่าจักขุ , ชื่อว่าจักขายตนะใช่ไหม?
วิสัชนา) ทิพฺพจกฺขุ ปญฺญาจกฺขุ จกฺขุ น จกฺขายตนํ , จกขายตนํ จกฺขุ เจว จกฺขายตนญฺจ.
แปล ทุติยวิชาญาณคือทิพพจักขุ ตติยวิชาญาณคือปัญญาจักขุ ชื่อว่าจักขุ แต่ไม่ชื่อว่าจักขายตนะ
จักขายตนะชื่อว่าจักขุก็ใช่ ชื่อว่าจักขายตนะก็ใช่

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมสันนิฏฐานบท ได้แก่
/X ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ
/X ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
// และ จักขุปสาท
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่
// จักขุปสาท เท่านั้น

----------------------

ปฎิปุ) น จกฺขายตนํ , น จกฺขูติ ?
แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่าจักขายตนะ , ไม่ชื่อว่าจักขุใช่ไหม ?
วิสัชนา) ทิพฺพจกฺขุ ปญฺญาจกฺขุ น จกฺขายตนํ จกฺขุ ,
จกฺขุญฺจ จกฺขายตนญฺจ ฐเปตฺวา อวเสสา น เจว จกฺขุ น จ จกฺขายตนํ.
แปล ทุติยวิชาญาณคือทิพพจักขุ ตติยวิชาญาณคือปัญญาจักขุ ไม่ชื่อว่าจักขายตนะ แต่ชื่อว่าจักขุ ,
ยกเว้นทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ และจักขายตนะเสียแล้ว ธรรมที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่าจักขุ และไม่ชื่อว่าจักขายตนะ

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมสันนิฏฐานบท ได้แก่
X/ ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ
X/ ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
XX และ อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓)
องค์ธรรมของสังสยบท XX ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลัง เท่านั้น
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
จะงงกันมากว่าอะไรคืออะไรในปัจจนิก ในส่วนของปัจจนิกนั้น
วิธีหา เราจะเอาตัวใหญ่ทั้งหมดมาตั้งองค์ธรรม ในที่นี้คือจักขุ มีเท่าไหร่ยกมาให้หมดทั้งด้านอนุโลม ทั้งด้านปัจจนิก

จกฺขุ (องค์ธรรมได้แก่)
- ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ , ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
- จกฺขายตนะ คือ จักขุปสาท

น จกฺขุ (องค์ธรรมได้แก่)
- อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓)

แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่าจักขายตนะ , ไม่ชื่อว่าจักขุใช่ไหม ?
สันนิฏฐานบท.... คำถามท่อนแรกคือ ธรรมที่ไม่ชื่อว่าจักขายตนะ
คำถามนั้นไม่ต้องการคำว่าจักขายตนะ ให้ตัดจักขายตนะทิ้งไป
องค์ธรรมที่เหลือก็คือธรรมที่ไม่ชื่อว่าจักขายตนะทั้งหมด ให้กากบาทไว้เลยว่าไม่ใช่จักขายตนะ นั่นก็คือ
- ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ , ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ......X
- อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓).............................X

สังสยบท.... คำถามท่อนที่สองคือ ไม่ชื่อว่าจักขุใช่ไหม ?
ตอบว่า ชื่อว่าจักขุก็มี ไม่ชื่อว่าจักขุก็มี
ชื่อว่าจักขุ นั้นก็คือ - ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ , ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ....../
ไม่ชื่อว่าจักขุ ก็คือ - อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓)..........................X

:b48: ไม่งงใช่มั้ย เวลาเรามาเขียนย่อๆไว้ท่องแบบนี้
ปฎิปุ) น จกฺขายตนํ , น จกฺขูติ ?
X/ ทุติยวิชาญาณ คือ ทิพพจักขุ
X/ ตติยวิชาญาณ คือ ปัญญาจักขุ
XX และ อายตนะ ๑๑ , บัญญัติ (เว้น จักขุทั้ง ๓)


----------------------------

จะเห็นว่าคำวิสัชนาในปุริมโกฏฐาสะนั้นใช้องค์ธรรมมาเป็นคำวิสัชนามี ๔ คู่ คือ จกฺขุ โสตํ คนฺโธ รโส เช่น ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ(ในคู่ของจักขุ) และ อีก ๓ คู่ คือคู่ของ กาโย รูปํ ธมฺโม นั้นใช้อายตนะเริ่มต้นเป็นคำวิสัชนาตามด้วย ฐเปตฺวา อวเสโส ในปุริมโกฏฐาสะ เช่น
อนุปุ) กาโย , กายายตนนฺติ ?
วิสัชนา) กายายตนํ ฐเปตฺวา อวเสโส กาโย น กายายตนํ ,
กายายตนํ กาโย เจว กายายตนญฺจ .

ตรงจุดที่อธิบายมานี้เป็นจุดที่ยากในปัณณัติวาระ จึงมักจะเป็นข้อสอบบ่อย ขอให้นักศึกษาควรหมั่นหัดทำปุจฉาวิสัชนาในปริปุณณปัญหา(โดยตรง) ทั้ง ๗ คู่ คือ ๔ คู่ และ ๓ คู่ ทั้งอนุโลมนัยและปัจจนิกนัย ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

น กาโย องค์ธรรมได้แก่ เอกเทสบัญญัติ
น ธมฺโม องค์ธรรมได้แก่ เอกเทสบัญญัติ

จะเห็นได้ว่า เอกเทสบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม ดังนั้นในคำแปลของวิสัชนาพระบาลีนั้น
คำแปลจะไม่ใช้คำว่า ธรรมที่เหลือนอกนั้น แต่จะใช้คำว่า ที่เหลือนอกนั้น
เวลาตอบก็ต้องยกตัวอย่างด้วย ...เอกเทสบัญญัติ เช่น บ่่อน้ำ ถ้ำ ตา หู ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น

ในการวิสัชนานั้น สังเกตุดูให้ดีๆ จะเห็นว่า คำวิสัชนานั้นล้อตามคำปุจฉา เพียงแต่เราฝึกสังเกตแล้วจับหลักเรียงให้ถูกต้องในแต่ละกรณีไป เพราะว่าจะยากกันมากตรงวิสัชนาของปัจจนิก ยิ่งคนที่จับหลักการตอบไม่ได้(วิสัชนา) และขาดการฝึกบ่อยๆ ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เรื่องง่ายๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องยากค่ะ

แม้แต่ผู้ที่ทราบหลักแล้ว แต่ไม่ฝึกเขียนปุจฉาวิสัชนาบ่อยๆ ก็ไม่สามารถเขียนข้อสอบได้ การเขียนข้อสอบได้นั้น เป็นแค่อุบายให้เราเข้าใกล้ธรรมะยิ่งขึ้นค่ะ

คราวนี้จะบอกวิธีสังเกตง่ายๆ ไว้สำหรับการวิสัชนา ในปัจจนิกนัย ยกตัวอย่างคู่สุดท้ายมาให้ดู

ปฏิปุ) น ธมฺมายตนํ , น ธมฺโมติ ?
แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่า ธัมมายตนะ , ไม่ชื่อว่า ธัมมะ ใช่ไหม ?

วิสัชนา) ธมฺมายตนํ ฐเปตฺวา อวเสโส ธมฺโมธมฺมายตนํ ธมฺโม ,
ธมฺมญฺจ ธมฺมายตนญฺจ ฐเปตฺวา อวเสโส น เจว ธมฺโม น จ ธมฺมายตนํ .
แปล
ยกเว้น ธัมมายตนะเสียแล้ว ธรรมที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่าธัมมายตนะ แต่ชื่อว่าธัมมะ ,
ยกเว้น ธัมมะและธัมมายตนะเสียแล้ว ที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่าธัมมะ และไม่ชื่อว่าธัมมายตนะ .

สังเกตดูว่าคำวิสัชนาที่เป็นพระบาลีนั้นเป็นคำปุจฉาคือ ธมฺมายตนํ , ธมฺโม จะนำมาใช้เป็นคำวิสัชนาทั้งหมดในปุริมโกฏฐาสะ ปัจฉิมโกฏฐาสะ คือมาอย่างละ ๒ คำ ทั้งวิสัชนาท่อนแรกและท่อนสอง
เราสามารถเช็คคำวิสัชนาได้ว่า เราใส่ครบอย่างละ ๒ หรือไม่ ถ้าไม่ครบก็วิสัชนาผิด
ถ้าเรียงกันสลับที่ไม่ถูกต้องไม่ตรงกับคำวิสัชนาก็วิสัชนาผิดอีก
และสังเกตให้ดีว่า ปุริมโกฏฐาสะจบลงด้วยคำใด ในปัจฉิมโกฏฐาสะก็จะเริ่มต้นประโยคด้วยคำนั้นเสมอ
ใช่หรือไม่ ตั้งแต่วิสัชนามาในปัณณัตติวาระ จะเป็นอย่างนี้ตลอด อย่างเช่นตัวอย่างที่ยกมาปุจฉาวิสัชนา
ปุริมโกฏฐาสะจบลงด้วยคำว่า ธมฺโม ...พอในปัจฉิมโกฏฐาสะก็จะเริ่มต้นประโยคด้วยคำว่า ธมฺมญฺจ

ปัจจนิกนัย คำวิสัชนาในปุริมโกฏฐาสะ คำวิสัชนาจะล้อตามปุจฉาเรียงกันมา
แต่ในปัจฉิมโกฏฐาสะนั้นสังเกตุให้ดีจะเรียงกันมาแบบไม่ล้อตามปุจฉาแล้ว จะสลับที่กัน
ให้ยึคแนวทางว่าปุริมโกฏฐาสะจบลงด้วยคำไหน ในปัจฉิมโกฏฐาสะก็จะขึ้นต้นด้วยคำนั้น แล้วก็เรียงสลับกันมาอย่างนั้นตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องครบอย่างละ ๒ คำด้วย
ที่สำคัญการวิสัชนาในปัจจนิกนัยของ ๓ คู่คือ กาโย รูปํ ธมฺโม นั้นจะมีความต่างอยู่บ้างกับการถามตอบในตำแหน่งอื่น การเรียงของคำนั้นจะต้องไม่นำมาซ้ำติดต่อกัน เช่น ธมฺโม แล้วก็จะต้องไม่ต่อด้วย ธมฺโม อีก จะต้องสลับกันระหว่าง ธมฺโม กับ ธมฺมายตนํ เสมอ ไม่ว่าจะเรียงมาแบบล้อตามปุจฉาในปุริมโกฐาสะ หรือว่าจะเรียงสลับกันในปัจฉิมโกฏฐาสะ เช่นท่อนสองคือปัจฉิมโกฏฐาสะ เรียงสลับกันมาอย่างนั้นตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องครบอย่างละ ๒ คำด้วย

ธมฺมญฺจ ธมฺมายตนญฺจ ฐเปตฺวา อวเสโส น เจว ธมฺโม น จ ธมฺมายตนํ

------------------------------------------------------
ทีนี้มาดูปุจฉาวิสัชนาบาลี ไทย องค์ธรรมแบบเต็มๆ กันในคู่นี้กันค่ะ

ปฏิปุ) น ธมฺมายตนํ , น ธมฺโมติ ?
แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่า ธัมมายตนะ , ไม่ชื่อว่า ธัมมะ ใช่ไหม ?

วิสัชนา) ธมฺมายตนํ ฐเปตฺวา อวเสโส ธมฺโมธมฺมายตนํ ธมฺโม ,
ธมฺมญฺจ ธมฺมายตนญฺจ ฐเปตฺวา อวเสโส น เจว ธมฺโม น จ ธมฺมายตนํ .
แปล
ยกเว้น ธัมมายตนะเสียแล้ว ธรรมที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่าธัมมายตนะ แต่ชื่อว่าธัมมะ ,
ยกเว้น ธัมมะและธัมมายตนะเสียแล้ว ที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่าธัมมะ และไม่ชื่อว่าธัมมายตนะ .

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- อายตนะ ๑๑ (เว้น ธัมมายตนะ)
- บัญญัติ คือ สมูหบัญญัติ เช่น กองช้าง กองม้า กองทัพ เป็นต้น
และ
- เอกเทสบัญญัติ เช่น บ่อน้ำ ถ้ำ ตา หู ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น
องค์ธรรมของสังสยบทได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

สำหรับผู้ที่จะสอบในปี ๒๕๖๐ ควรหมั่นฝึกทุกคู่ที่ยกตัวอย่างมาในนี้กันให้มากๆ ด้วยนะคะ
ฝึกไว้แต่ต้นปีนะคะ อย่าหมักดองไว้ว่าจะท่องใกล้สอบ เพราะถึงเวลานั้นเข้าห้องสอบไปรับรองว่าสับสน
แม้จะท่องไว้อย่างดีในเดือนที่ใกล้สอบ ก็ยังไม่ดีพอค่ะ จะเลอะเลือนเพราะว่าท่องไว้เยอะ แม้ว่าจะท่องด้วยความเข้าใจก็ตาม แต่สัญญาไม่เที่ยง รับรองว่าถ้าท่องเอาตอนใกล้สอบจะตีกันเละ เพราะว่าเนื้อหาที่สอบมีมาก ดังนั้นการเรียนในแต่ละปีของชั้นมหา ควรจะเรียนไปด้วยและฝึกหัดเขียนและท่องไปด้วยแต่เนิ่นๆ ไม่เช่นนั้นวันสอบจะเครียด ถ้าเราเข้าใจดีฝึกมาดี วันสอบถือกระดาษแค่แผ่นเดียวไว้ทบทวนแบบสบายเป็นพอแล้ว ฝึกมาดีและมือเขียนให้ทันสมองสั่งด้วย รับรองว่าเวลาที่ให้ในการสอบ ๔ ชั่วโมง เราจะออกจากห้องสอบโดยการใช้เวลาไม่นานค่ะ

.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:44 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2024, 20:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 718

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร