วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




aviary_1443358768433.jpg
aviary_1443358768433.jpg [ 30.5 KiB | เปิดดู 5736 ครั้ง ]
หลักสูตรปฏิจจสมุปบาท
https://keep.line.me/s/cAnAO-JD93Vk8kxt ... 0n5e0Rnf6A

อาสวะ...สิ่งที่ถูกหมักดองอยู่นานๆ

อาสวะ หมายถึง สิ่งที่ถูกหมักดองอยู่นานๆ อุปมาสุรา อันเป็นสิ่งที่ถูกหมักดองไว้นาน สามารถทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการมึนเมาขาดสติ ทำสิ่งอันไม่ควรทำได้ฉันใด สภาพธรรมอันเป็นสิ่งที่หมักดองสืบต่ออยู่ในขันธสันดานของสัตว์ ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องมึนงงหลงไหลขาดสติ กระทำในสิ่งอันไม่ควรทำได้ สภาพธรรมนี้แหละ ชื่อว่า อาสวะ

ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ หมักหมมอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเวลาช้านาน จนนับจำนวนภพชาติไม่ได้ และธรรมเหล่านี้ เมื่อปรากฏแก่ผู้ใด ก็จะกระทำให้จิตใจของผู้นั้นมึนเมาขาดสติ ตกอยู่ในอำนาจของโลภะบ้าง, ทิฏฐิบ้าง, และโมหะบ้าง เป็นเหตุให้สามารถกระทำทุจริตกรรมต่างๆ มีกายทุจริต เป็นต้น เพราะความเมาด้วยโลภะ, ทิฏฐิ, โมหะนั้นเอง พระพุทธองค์ทรงแสดงวจนัตถะว่า

อาสวนฺติ  จิรํ  ปริวสนฺตีติ = อาสวา

สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นานๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ 

อาสวาวิยาติ = อาสวา

ธรรมเหล่าใด มีสภาพเหมือนสุรา ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาสวะ

(ได้แก่ โลภะ, ทิฏฐิ, โมหะ)

คำว่า "อาสวะ" 

อา + สว = อาสว, อา แปลว่า วัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีกำหนด

สว แปลว่า เจริญรุ่งเรือง

รวมความแล้ว อาสวะ แปลว่า ธรรมที่ทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีกำหนดนั้น เจริญรุ่งเรืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

หมายความว่า ความเป็นไปแห่งรูป-นามขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายแต่ละคน ล้วนแต่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เป็นอย่างนี้อีก กำหนดนับไม่ได้ และต่อไปข้างหน้า ย่อมจะต้องตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย อยู่เช่นนี้อีกต่อไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แสดงให้เห็นว่า วัฏฏทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น เจริญรุ่งเรืองมากมายไม่มีสิ้นสุด.

อาสวะ 
๑. กามาสวะ 
๒. ภวาสวะ 
๓. ทิฏฐาสวะ 
๔. อวิชชาสวะ 

(ที่มา...คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ รวบรวมโดย อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




aviary_1443435253723.jpg
aviary_1443435253723.jpg [ 20.51 KiB | เปิดดู 5710 ครั้ง ]
อวิชชานั้นแลเป็นตัวสังขารเจตสิก เพราะความไม่รู้ปรุงแต่งความไม่รู้จึงเกิดเป็นบุญบ้าง บาปบ้าง
ได้แก่ สังขาร 3 มี
อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ,
เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)

1.ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร)

2.อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่วได้แก่อกุศลเจตนาทั้งหลาย)

3.อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน)

สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง)
1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก)

2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร)

3.จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา)
สังขาร 3 ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ, สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม)
1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย)

2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา)

3.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ)
สังขาร 3 ในหมวดนี้ ได้ในความหมายของคำว่า สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Google-Hummingbird.jpg
Google-Hummingbird.jpg [ 26.3 KiB | เปิดดู 5688 ครั้ง ]
วิญญาณ
เพราะอะไรจึงเรียก วิญญาณ
เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร
วิญญาณรู้แจ้งทางลิ้น จะรู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง
รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้

วิญญาณ เป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยใน ปฏิจจสมุปบาท
เมื่อใดบุคคลรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณเป็นไฉน?
วิญญาณได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ

เมื่อใดบุคคลรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียว

วิญญาณ ๖ ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




aviary_1443509072674.jpg
aviary_1443509072674.jpg [ 30.65 KiB | เปิดดู 5663 ครั้ง ]
นามรูปคืออะไร

นาม ในที่นี้ ได้แก่นามธรรม ๕ อย่าง คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือนามขันธ์ ๓ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (เจตนา ผัสสะ มนสิการ)

รูป ได้แก่รูปขันธ์ ได้แก่รูป ๒๘ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ ทั้งนามและรูปนี้ เรียกว่านามรูป
นามย่อมน้อมไปหาอารมณ์ เป็นลักษณะ มีหน้าที่ประกอบกับจิตและเจตสิกด้วยกัน
มีการแยกออกจากจิตไม่ได้เป็นผล มีวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด

รูปมีการแตกดับหรือสลายไปอยู่เสมอเป็นลักษณะ รูปในที่นี้หมายเอาเฉพาะ
กรรมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม)หรืออัชฌัตติกรูป คือรูปภายในสัตว์ที่มีมาร่วมกันกับปฏิสนธิวิญญาณ
นามรูปนี้หมายเอาปฏิสนธินามรูป คือนามรูปที่ปฏิสนธิ ที่ว่าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปนั้น
หมายความว่าเพราะเมื่อมีวิญญาณ คือ วิปากวิญญาณอันได้แก่โลกียวิปากจิต และกรรมวิญญาณ
อันได้แก่วิญญาณที่สหรคตด้วยกรรมหรือสังขาร เป็นพีช นามรูปจึงมีได้

เปรียบเหมือนหว่านพืชลงไปในไร่นาที่มีน้ำ พืชก็จะงอกเป็นลำต้นขึ้น เมื่อกรรมเปรียบเหมือน
ไร่นาที่มีอยู่ เมื่อวิญญาณเปรียบเหมือนพืช และตัณหาเปรียบเหมือนน้ำที่มีอยู่
วิญญาณก็ย่อมจะตั้งมั่นเป็นเหตุให้นามรูปเกิดขึ้น ดังที่พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า

อานนท์! เพราะเหตุนี้แลกรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช
ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นน้ำหล่อเลี้ยง วิญญาณแห่งสัตว์โลกทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องขวางกั้น
มีตัณหารึงรัดอยู่ จึงตั้งมั่น เมื่อวิญญาณตั้งมั่นแล้ว การเกิดขึ้นในภพใหม่(คือการปรากฎของนามรูป)
ก็ย่อมมี ถ้าวิญญาณไม่มี นามรูปก็มีไม่ได้ เพราะเหตุใด?

เพราะว่าธรรมทั้งหลาย(นามรูป)ย่อมเป็นไปตามวิญญาณ เช่นว่า เวทนา ความเสวยอารมณ์ สัญญา
ความจำได้ เจตนา ความคิดอ่าน ผัสสะความสัมผัสอารมณ์ มนสิการ ความเอาใจใส่อารมณ์ เหล่านี้
ถ้าไม่มีวิญญาณก็เกิดขึ้นไม่ได้ คือถ้าไม่มีจิตใจ เวทนาความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์และเฉยๆ

ก็มีไม่ได้ สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ก็เช่นเดียวกัน ส่วนกรรมชรูปนั้นเรามองไม่เห็น
จึงควรทราบเพียงโดยอนุมาน เปรีบยเหมือนรูปที่มองเห็นได้ เช่นเวลาจิตที่ผ่องใส
หน้าตาก็จะผ่องใส เวลาจิตเศร้าหมอง เสียใจ หรือโกรธ หน้าตาก็จะเศร้าหมองไปตามจิตด้วย
ที่หน้าตาเปลี่ยนไปต่างๆนั้นด้วยอำนาจของจิต รูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไปเช่นนี้

เรียกว่าจิตตชรูป คือรูปที่เกิดจากจิต เป็นรูปที่เรามองเห็นได้ ส่วนกรรมมชรูป
คือรูปที่เกิดจากกรรม รูปที่กรรมลิขิตมาพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณนั้นเรามองไม่เห็น
จึงควรทราบเอาโดยอนุมานนี้ดังกล่าว นามรูปนี้เองจึงเป็นปัจจัยให้มีสฬายตนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Thairath_5122553213407.jpg
Thairath_5122553213407.jpg [ 24.22 KiB | เปิดดู 5635 ครั้ง ]
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สฬายตนะ คืออะไร
สฬายตนะ หรือ อายตนะ ก็มีความหมายอันเดียวกัน หมายถึงเป็นเครื่องต่อหรือเชื่อมต่อกัน
ระหว่างอายตนะภายใน เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก อายตนะภายในมี ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอกมี ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ หรือเรียกรวมกันว่าอายตนะ ๑๒

นามธรรม ๕ อย่าง คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือนามขันธ์ ๓ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (เจตนา ผัสสะ มนสิการ)
รูป ๒๘ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔

ทั้งนามและรูปนี้ เรียกว่านามรูป และนามรูปนี้ก็ต้องอาศัยอายตนะหรือสฬายตนะที่เกิดขึ้น
ในระหว่างอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก จึงเรียกว่า สฬายตนะ เป็นที่ต่อสิ่งที่เป็นวิสัยของตน
คือ จักขุ ก็เป็นที่ต่อ รูป โสตะ ก็เป็นที่ต่อสัททะคือ เสียง ฆานะ ก็เป็นที่ต่อคันธะคือ กลิ่น
ชิวหา ก็เป็นที่ต่อ รส กาย ก็เป็นที่ต่อ โผฏฐัพพะ ส่วนมนะ ย่อมเป็นที่ต่อวิสัยทั้ง ๕ ข้างต้นนั่นด้วย
เป็นที่ต่อธรรมคือเรื่องราวด้วย รวมเป็นอายตนะ ๖

บางครั้งการอธิบายเรื่องเหล่านี้เป็นการอธิบายให้เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจการทำงานของรูปนามแล้ว
ก็จะไม่ยากเลย ต้องหมั่นตรึกนึกคิดหาเหตุผลปัญญาจะเริ่มแตกฉานรู้อรรถรู้ธรรมขึ้นเองอย่างแจ่มแจ้ง

เพื่อจะได้เข้าใจได้มากขึ้น อายตนะต่างๆ จัดได้เป็นคู่ๆดังนี้

๑. จักขวายตนะ เสื่อมต่อกับ รูปายตนะ
๒. โสตายตนะ เสื่อมต่อกับ สัทธายตนะ
๓. ฆานายตนะ เสื่อมต่อกับ คันธายตนะ
๔. ชิวหายตนะ เสื่อมต่อกับ รสายตนะ
๕. กายายตนะ เสื่อมต่อกับ โผฏฐัพพายตนะ
๖. มนายตนะ เสื่อมต่อกับ ธัมมายตนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2015, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 36.15 KiB | เปิดดู 5594 ครั้ง ]
ผัสสะ หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก ผัสสะ
เป็น ความประจวบกันแห่งสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และวิญญาณ
จักขายตนะ รูปายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
โสตายตนะ สัทธายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ เป็นต้น

สัมผัส หรือ ผัสสะ มี ๖ อย่าง คือ
๑. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ = ผัสสะ
๒. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ = ผัสสะ
๓. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ = ผัสสะ
๔. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ = ผัสสะ
๕. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)
+ กายวิญญาณ = ผัสสะ
๖. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ = ผัสสะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2015, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1443740962751.jpg
1443740962751.jpg [ 16.3 KiB | เปิดดู 5569 ครั้ง ]
583346018.jpg
583346018.jpg [ 36.08 KiB | เปิดดู 5523 ครั้ง ]
จักขุสัมผัสสะ (ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ ตา) โสตสัมผัสสะ (ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ หู) ฆานสัมผัสสะ (ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ จมูก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2015, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




12107282_756450281151272_5070227354651393327_n.jpg
12107282_756450281151272_5070227354651393327_n.jpg [ 85.48 KiB | เปิดดู 5554 ครั้ง ]
ผัสสะ > เวทนา ในที่นี้หมายเอาเวทนาที่เกิดทางตาเท่านั้น คือ จักขุสัมผัสสะเชาเวทนา
ในทวารอื่น ๆ เทียบเคียงได้


ในเวทนานั้นมี ๓ เวทนาด้วยกัน ย่อมเป็นที่อาศัยของกิเลสอย่างละเอียด
ได้แก่อนุสัย ๗

สุขเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดของ
กามราคานุสัย ๑ ภวะราคานุสัย ๑ ทิฎฐานุสัย ๑ มานานุสัย ๑

ทุกขเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดของ
ปฏิฆานุสัย ๑

อุเบกขาเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดของ
อวิชชานุสัย ๑ วิจิกิจฉานุสัย ๑

รวมความว่าอนุสัย ๗ อาศัยเวทนาทั้ง ๓ เกิดดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9158_398077110321926_1857871780_n.jpg
9158_398077110321926_1857871780_n.jpg [ 21.96 KiB | เปิดดู 5526 ครั้ง ]
กิเลส มี ๓ ระดับดังนี้ ที่อาศัยช่องทางที่เป็นเวทนา

๑. วีติกกมกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่ก้าวล่วงอย่างยิ่ง
หมายถึง กิเลสอย่างหยาบที่มีกำลังซึ่งก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การกล่าววาจาทุจริตต่างๆ เป็นต้น ละได้ด้วยกุศลขั้นศีล

๒. ปริยุฏฐานกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่ลุกขึ้นโดยรอบ
หมายถึง กิเลสอย่างกลางที่กลุ้มรุมอยู่ในใจ ยังไม่ได้ก้าวล่วงออกมาทางกายวาจา
ละได้ด้วยกุศลขั้นสมาธิ (สมถภาวนา)

๓. อนุสัยกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่นอนตาม
หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตไม่ปรากฏตัวออกมา
หรือเป็นกิเลสที่มีกำลังที่ยังละไม่ได้ จะละได้ด้วยกุศลขั้นปัญญาเท่านั้น (วิปัสสนาภาวนา)
วีติกมกิเลส และ ปริยุฏฐานกิเลส เกิดขึ้นปรากฏได้ เพราะมีอนุสัยกิเลสเมื่อโลกุตตรมรรค
ประหานอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉทตามลำดับแล้ว กิเลสขั้นหยาบและกิเลสขั้นกลาง
จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเลยครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




aviary_1443358768433.jpg
aviary_1443358768433.jpg [ 33.93 KiB | เปิดดู 5485 ครั้ง ]
ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา
เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา

ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง
๑. กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง ๕
๒. ภวตัณหา คือ ความอยากในภพ ภวตัณหา ทั่วไปหมายถึงความอยากมีอยากเป็น
คืออยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
๓. วิภวตัณหา ข้อนี้ตรงกันข้ามกับ ภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากในภพ หรือเรียกง่ายๆ ว่
าไม่อยากจะเป็น ไม่อยากจะมี ไม่พอใจสิ่งที่มีอยู่ของตนเอง
ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้

ตัณหา ๖

ตัณหา ๖ หมวด ได้แก่
๑. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป
๒. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
๓. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
๔. รสตัณหา คือ อยากได้รส
๕. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
๖. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

และยังมีตัณหา ๑๐๘ แต่ก็ขอยกไว้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCA3C272Y.jpg
imagesCA3C272Y.jpg [ 55.73 KiB | เปิดดู 5483 ครั้ง ]
ตัณหามีอุปาทานจึงมี อุปาทานคือความยึดมั่น เป็นองค์ธรรมเดียวกันกับ โลภเจตสิก
อุปาทานคือความยึดมั่น ในรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส และธัมมารมณ์ ว่าเราเห็น เราได้ยิน เป็นต้น
โดยยึดถือโดยความเป็นอัตตา

๑. กามุปาทาน ยึดติดในกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
๓. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
๔. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวเอง ของตัวเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1443937156659.jpg
1443937156659.jpg [ 50.9 KiB | เปิดดู 5473 ครั้ง ]
ต้องเข้าใจเรื่องภพก่อนว่า ภพ คืออะไร
ภพ หมายถึง ที่อาศัยเกิด โลกที่เกิด โลกเป็นที่อยู่ ได้แก่ สถานที่อันสัตว์โลกจะพึงบังเกิด
ตามบุญกรรมที่ตนได้ทำไว้ มีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ แบ่งเป็นภพได้ ๓ ภพ

๑. กามภพ ภพเป็นกามาวจร หมายถึง ภพของผู้เสพกาม คือ ผู้ที่เกิดในภพนี้ยังรื่นเริงยินดี
อยู่ด้วยกามารมณ์หรือกามคุณ ๕ มีด้วยกัน ๑๑ ภูมิ และยังแบ่งออกเป็นส่วนกาทุคติภูมิ คือ
อบายภูมิ ๔, และกามสุคติภูมิ ๗, มีมนุสสภูมิ ๑, เทวภูมิ ๖

๒. รูปภพ ภพเป็นรูปาวจร หมายถึง ภพของผู้มีรูป คือ ที่เกิดของรูปพรหมบุคคลทั้งหลาย
มีด้วยกัน ๑๖ ชั้น ตามคุณพิเศษ คือ ฌานที่ได้บรรลุ มีข้อสังเกตในการเรียกชื่อของพรหมแต่ละชั้น
คือ พรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ เรียกชื่อตามตำแหน่งหน้าที่การงาน, พรหมในทุติยฌานภูมิ ๓
และตติยฌานภูมิ ๓ เรียกชื่อตามความแตกต่างกันแห่งรัศกาย, พรหมในจตุตถฌานภูมิ ๗
เรียกชื่อตามประเภทแห่งคุณธรรม รูปพรหมบุคคลไม่ปรากฎเป็นเพศหญิงหรือชาย
แต่มีความคล้ายชายมากกว่า จึงไม่มีความยินดีในกามราคะ คงมีแต่รูปราคะอย่างเดียว
แต่ก็ข่มไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เป็นอยู่ด้วยการเข้าฌานหรือผลสมาบัติ

๓. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร หมายถึง ภพอันเป็นที่เกิดอาศัยของอรูปพรหม พรหมที่ไม่มีรูปกาย มีแต่นามขันธ์ ๕ เกิดดับติดต่อกันไปจนกว่าจะสิ้นอายุขัย เป็นภพที่มีแต่อากาศอันว่างเปล่า มี ๔ ชั้น คือ
๑. อากาสานัญจายตนพรหม เกิดขึ้นด้วยปฐมอรูปฌาน
๒. วิญญาณัญจายตนพรหม เกิดขึ้นด้วยทุติยอรูปฌาน
๓. อากิญจัญญายตนพรหม เกิดขึ้นด้วยตติยอรูปฌาน
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม เกิดขึ้นด้วยจตุตถอรูปฌาน

ในอรูปภพนี้มิได้มีทิพยสมบัติ เช่น วิมาน เป็นต้น เพราะผู้ที่จะมาเกิดในภพนี้ได้
ก็ด้วยอำนาจการภาวนาที่ปราศจากความยินดีในรูป จึงปราศจากรูปใด ๆ ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2015, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




12115838_757548994374734_152491980165339033_n.jpg
12115838_757548994374734_152491980165339033_n.jpg [ 24.08 KiB | เปิดดู 5409 ครั้ง ]
ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท

ชาติ แปลว่า การเกิดของเหล่าสัตว์ ดังเช่น การเกิดเป็นตัวตนจากท้องแม่ที่มีพ่อ
เป็นเหตุปัจจัยร่วมการเกิดของสิ่งต่างๆ, การเกิดแต่เหตุปัจจัยคือสังขารต่างๆ,
การเกิดของเหล่ากองทุกข์ ส่วนความหมายในทางโลก หมายถึง ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน,
จึงมีความหมายได้หลายหลาก ขึ้นกับจุดประสงค์หรือสาระนั่นเอง

ชาติ ในความหมายของภาษาธรรม มีความหมายถึง การเกิดขึ้นของสังขารต่างๆทั้งปวง
อันคือสิ่งต่างๆที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันจึงเกิดหรือชาติขึ้นมา จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายรูปธรรมเช่นตัวตน
ชีวิต และฝ่ายนามธรรมเช่น จิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ.

ดังนั้น ชาติ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทก็แปลว่า การเกิด, การเกิดขึ้น เช่นกัน ที่หมายถึงเกิดมาแต่มีเหตุ
มาเป็นปัจจัยกัน แต่มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกว่า หมายถึง การเกิดขึ้นของกองทุกข์
หรือความทุกข์ แต่เป็นความทุกข์ชนิดที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทาน (อุปาทานทุกข์)
[รวมทั้งสุขทางโลกหรือโลกียสุขอันเป็นทุกข์โดยละเอียดอย่างหนึ่ง] จึงมีความหมายที่เฉพาะตัวของมันเอง

ดังนั้นจงพิจารณาโดยแยบคาย อย่าให้มีความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา)หรือมีความยึดมั่นอย่างผิดๆ(มิจฉาทิฏฐิ)จนเป็นทิฏฐุปาทาน อันเป็นดังที่พระองค์ท่านตรัสไว้ว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น" ในอวิชชาสูตร, ดังนั้นความหมายของคำว่าชาติ ที่หมายรู้หมายตีความหรือพาลไปเข้าใจกันโดยทั่วๆไปโดยไม่รู้ตัวว่าหมายถึง การเกิดเป็นตัวตนหรือการเกิดแต่ครรภ์มารดา หรือการเกิดในภพชาติหน้า,ชาติโน้น แต่ฝ่ายเดียวจนเสียการ, แม้ในพระไตรปิฏก ก็มีการกล่าวถึงชาติหรือการเกิดไว้หลายนัยด้วยกัน ดังเช่น

ชาติที่หมายถึงการเกิดขึ้นของทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทก็มี
ชาติ ที่หมายถึงเกิดขึ้นของธรรมหรือจิตหรือขันธ์ต่างๆในชาติธรรมสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดของแต่ละองค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาทและอาหาร ๔ ก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดแต่ครรภ์มารดาเป็นตัวตนหรือชีวิตในมหาตัณหาสังขยสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดแห่งวิญญาณในมหาตัณหาสังขยสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดของปวงสัตว์ในสติปัฏฐาน ๔ ก็มี
ชาติ ในทุกขอริยสัจก็มี

.........ฯลฯ............

ภพ แปลว่า โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์
ภพ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน
ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

ภพ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรมที่แสดงการดำเนินและเป็นไปของกระบวนจิตให้ครบถ้วน
บริบูรณ์ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถดับทุกข์ลงไปได้โดยตรงๆ
กล่าวคือ เมื่อกระบวนจิตดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทจนถึง
ตัณหาความอยากแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทาน อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นเพื่อให้เป็นไปตามตัณหา
ก็เพื่อสนองตอบให้บรรลุผลหรือเป้าหมายเป็นไปความต้องการของตัวตนหรือตัณหาความอยากนั้น
คือ เกิดความยึดมั่นถือมั่นที่จะให้เป็นไปหรือเกิดขึ้นเพื่อสนองความพึงพอใจของตัวของตนนั่นเอง
จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภพของจิตขึ้น กล่าวคือ จิตตกลงใจในภาวะชีวิตหรือจิตของตนในเรื่องนั้นๆ
ที่จะให้ดำเนินและเป็นไป แต่ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นอันคืออุปาทาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2015, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




12112115_757554344374199_4523020225294867769_n.jpg
12112115_757554344374199_4523020225294867769_n.jpg [ 51.86 KiB | เปิดดู 5401 ครั้ง ]
เมื่อ "ชาติ คือ การเกิด" ของเหล่าสัตว์ ย่อมหนีไม่พ้น (ชรา มรณะ)
เมื่อ"ชาติ"เกิด (โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ก็จะเกิดมาพร้อมกับชาติ)

ในการสาธยายปฏิจจสมุปบาท ลำดับสุดท้ายคือ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส พระพุทธเจ้าได้ตรัสได้ตรัสไว้ว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อม
การก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ ซึ่งเราก็จะย้อนกลับไปทบทวน
เรื่องทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องแรกในอริยสัจในตอนต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




583346018.jpg
583346018.jpg [ 49.53 KiB | เปิดดู 5386 ครั้ง ]
อวิชชา=>สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตนะ=>ผัสสะ=> เวทนา=>ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ =>ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ทั้งหมดนี้ก็จะหมุนวนไปใน "ชาติ ชรา มรณะ" เพราะมรณะก็คือการตายตายในภพชาตินั้นๆ
เมื่อมรณะของสัตว์ ยังไม่สามารถทำลาย อาสวะ ๔ ได้ ก็ย่อมหมุนเข้าหา อวิชชา อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร