วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 00:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แปลเรื่องอะไรบ้างครับ ส่งมาให้สักเล่มสิครับ :b1:

มีอภิธัมมาวตาร อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี และยังมีอีกหลายๆเล่ม
สนใจ โทร. ๐๘๖-๓๖๓๑๗๘๑ พระมหาประวัติ ถาวรจิตโต
วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สอบถามรายละเอียดได้ครับ
เป็นหนังสือหนา ๑๐๒๐ หน้า น่าอ่านหาความรู้เพิ่มเติมครับ...
แจกถึงบ้านครับ


ลุงหมาน ศิษย์ท่ามะโอเหมือนหรือครับ


มีคณาจารย์หลายท่านที่ผ่านการศึกษาจากวัดท่ามะโอมาครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณ SOAMUSA


“......ดูกรมานพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือ พราหมณ์ แล้วสอบถามว่า

......อะไรเป็นกุศล
......อะไรเป็นอกุศล


......อะไรมีโทษ
......อะไรไม่มีโทษ

......อะไรควรเสพ
......อะไรไม่ควรเสพ


......อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
......อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ......”


อนุโมทนาครับ เป็นการนำเสนอพระธรรม ......อันเป็นที่น่า ชื่นชมยินดี


......การฟังธรรมโดยกาล 1
......การสนทนาธรรมโดยกาล 1
......การประพฤติธรรม 1

......ทาน 1
......การรักษาศีล 1
......ความเพียร 1

......ความอดทน 1
......ความเมตตา 1
......ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย 1 ...... ฯลฯ


ธรรมทั้งปวง เหล่านี้ เป็นอุดมมงคล


......เทวดา และ มนุษย์ ทั้งหลาย ทำมงคลประการนี้แล้ว
......เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า
......ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
......นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดา และ มนุษย์ เหล่านั้น ฯ


ความเป็นอุดมมงคล หมายถึง ......ความสุขอันบริบูรณ์ ความเจริญอันบริบูรณ์


......เหตุอันนำมาซึ่งความสุข
......เหตุอันนำมาซึ่งความเจริญ
......ความงอกงาม ความบริบูรณ์ ความไพบูลย์ อันยิ่งขึ้นไป ./


ขอให้เจริญใน ......ความเป็นอุดมมงคล อันยิ่งขึ้นไปนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


การฟังสิ่งที่ยาก การอ่านสิ่งที่ยาก หากคิดว่ายากก็จะยากไปทุกภพทุกชาติ หากเสพธรรมที่ยากแล้วย้อนคิดได้ว่า ดีจริงหนอเราได้ฟัง ได้อ่านธรรมที่ยาก เป็นบุญแล้วหนอที่ได้ฟังที่ได้อ่านเป็นการเริ่มต้นการเสพได้อย่างถูกต้อง เป็นเหตุปัจจัยให้เสพไปเรื่อยๆ หากไม่เริ่มสร้างเหตุ ก็จะไม่มีเชื้อให้เริ่มกระทำได้ในอนาคตค่ะ

ถ้าติดกับคำว่ายาก แล้วหลีกถอยห่าง ก็จะยากตลอดไปทุกภพทุกชาติ สุตะต้องมาในอันดับแรก
ยิ่งยากยิ่งต้องเข้าใกล้ ฝึกฝนที่อ่านที่จะค้นคว้าเพื่อที่จะเข้าไปรู้ ในขณะที่คนอื่นรู้ได้ ก็ไม่ได้ยากเกินที่เรา
จะเข้าไปรู้ได้ บางคนแก่มากผมขาวทั้งศีรษะความจำก็ไม่ดีเท่าหนุ่มสาว ยังเข้าใจได้ แล้วคนที่ความจำ
ยังดี สมองยังว่องไวสามารถเข้าใจอะไรได้ดีอยู่ จะฟังหรืออ่านไม่รู้เรื่องได้บ้างเลยนั้น ย่อมจะเป็นไปไม่ได้
เว้นเสียว่า เป็นผู้ที่ขาดวิริยะเท่านั้น จึงจะไม่สามารถเข้าใจได้
ดั่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ. คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2013, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณ SOAMUSA


ขอยกบทธรรม บางส่วน


“......ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ......ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ดังนี้

......ภิกษุนั้น

......นึกถึงอยู่ ชื่อว่าเสพ
......รู้อยู่ ชื่อว่าเสพ
......เห็นอยู่ ชื่อว่าเสพ
......พิจารณาอยู่ ชื่อว่าเสพ
......อธิษฐานจิตอยู่ ชื่อว่าเสพ
......น้อมจิตไปด้วยศรัทธา ชื่อว่าเสพ
......ประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเสพ
......ตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเสพ
......ตั้งจิตไว้อยู่ ชื่อว่าเสพ
......ทราบชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเสพ
......รู้ยิ่งซึ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าเสพ


......ละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าเสพ
......เจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเสพ
......ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ ......”



ผมพิจารณา คำว่า ......เสพ ด้วยธรรม ทั้งปวง เหล่านี้ ./


ขอให้เจริญใน ......กุศลธรรม อันยิ่งขึ้นไปนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2013, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เสพ นี้จำกัดอยู่ที่ชวนะจิตค่ะ หลักการคิดคือเราทำกรรมดีกรรมชั่วตรงที่ชวนะจิตในแต่ละวิถีจิตนี้เอง
ตัวที่เกิดขึ้นก่อนเสพคือโวฏฐัพพนจิต เป็นจิตที่ตัดสินอารมณ์ทำการโยนิโสมนสิการ กับ อโยนิโสมนสิการค่ะ ดังนั้นการเสพอารมณ์ต่างจะเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีโยนิโส หรือ อโยนิโส

ในการเสพนั้น ชวนะจิตเกิดกุศล หรืออกุศลนั้น ก็เกิดการกระทำทำกรรมทางกาย วาจา ใจพร้อมๆ กันไปด้วย( เราพูด เราเคลื่อนไหวร่างกาย เราคิดทำกรรม อยู่ในชวนะจิตนี้ค่ะ คือจะพูดดีพูดชั่ว ใช้กายทำดีทำชั่ว คิดดีคิดชั่ว อยู่ตรงชวนะนี้ทั้งสิ้น)

อย่างมนุษย์เรานี้ที่ไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ก็มีวิธีที่จะพออนุมานได้ว่าขณะนั้นชวนะของเราเสพอะไรอยู่ก็ดูซิว่า เราทำอะไรลงไป ทำอกุศลอยู่หรือเปล่า(อกุศลจิต12 ดวงใดดวงหนึ่ง) ทำกุศลอยู่หรือเปล่า(มหากุศลจิต8,ดวงใดดวงหนึ่ง)...เรามีสิทธิ์อยู่แค่นี้ค่ะ ถ้ายังไม่เป็นฌานลาภีบุคคลหรือพระอริยะบุคคล

ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาในขณะกำลังโกรธอยู่นั้น
ถ้ากำลังพูดคำหยาบคายอยู่ ก็เกิดวจีทุจริต ในขณะนั้นอกุศลจิตเกิดคือ โทสะมูลจิตดวงใดดวงหนึ่งพร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ ก็เกิดพร้อมกับการพูดนั้นค่ะ รูปร่างกายของเรานั้นก็เกิดวจีวิญญัติไปพร้อมๆ กับชวนะจิตนั้นด้วยค่ะ พูดง่ายๆ คือ กำลังอ้าปากพูดคำหยาบนั่นเองค่ะ

ถ้าจะดูทั้งหมดว่าชวนะจิตทั้งหมดจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนั้นดูได้จากองค์ธรรมของชวนะทั้งสองนี้ค่ะ
1. กามชวนะ 29 ได้แก่ อกุศลจิต12 หสิตุปปาทจิต1, มหากุศลจิต8, มหากิริยาจิต8
2. อัปปนาชวนะ 26 ได้แก่ มหัคคตกุศลจิต9, มหัคคตกิริยาจิต9, โลกุตตรจิต8

:b8: ขอบพระคุณค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2013, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
คำว่า เสพ นี้จำกัดอยู่ที่ชวนะจิตค่ะ หลักการคิดคือเราทำกรรมดีกรรมชั่วตรงที่ชวนะจิตในแต่ละวิถีจิตนี้เอง
ตัวที่เกิดขึ้นก่อนเสพคือโวฏฐัพพนจิต เป็นจิตที่ตัดสินอารมณ์ทำการโยนิโสมนสิการ กับ อโยนิโสมนสิการค่ะ ดังนั้นการเสพอารมณ์ต่างจะเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีโยนิโส หรือ อโยนิโส

ในการเสพนั้น ชวนะจิตเกิดกุศล หรืออกุศลนั้น ก็เกิดการกระทำทำกรรมทางกาย วาจา ใจพร้อมๆ กันไปด้วย( เราพูด เราเคลื่อนไหวร่างกาย เราคิดทำกรรม อยู่ในชวนะจิตนี้ค่ะ คือจะพูดดีพูดชั่ว ใช้กายทำดีทำชั่ว คิดดีคิดชั่ว อยู่ตรงชวนะนี้ทั้งสิ้น)

อย่างมนุษย์เรานี้ที่ไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ก็มีวิธีที่จะพออนุมานได้ว่าขณะนั้นชวนะของเราเสพอะไรอยู่ก็ดูซิว่า เราทำอะไรลงไป ทำอกุศลอยู่หรือเปล่า(อกุศลจิต12 ดวงใดดวงหนึ่ง) ทำกุศลอยู่หรือเปล่า(มหากุศลจิต8,ดวงใดดวงหนึ่ง)...เรามีสิทธิ์อยู่แค่นี้ค่ะ ถ้ายังไม่เป็นฌานลาภีบุคคลหรือพระอริยะบุคคล

ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาในขณะกำลังโกรธอยู่นั้น
ถ้ากำลังพูดคำหยาบคายอยู่ ก็เกิดวจีทุจริต ในขณะนั้นอกุศลจิตเกิดคือ โทสะมูลจิตดวงใดดวงหนึ่งพร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ ก็เกิดพร้อมกับการพูดนั้นค่ะ รูปร่างกายของเรานั้นก็เกิดวจีวิญญัติไปพร้อมๆ กับชวนะจิตนั้นด้วยค่ะ พูดง่ายๆ คือ กำลังอ้าปากพูดคำหยาบนั่นเองค่ะ

ถ้าจะดูทั้งหมดว่าชวนะจิตทั้งหมดจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนั้นดูได้จากองค์ธรรมของชวนะทั้งสองนี้ค่ะ
1. กามชวนะ 29 ได้แก่ อกุศลจิต12 หสิตุปปาทจิต1, มหากุศลจิต8, มหากิริยาจิต8
2. อัปปนาชวนะ 26 ได้แก่ มหัคคตกุศลจิต9, มหัคคตกิริยาจิต9, โลกุตตรจิต8

:b8: ขอบพระคุณค่ะ


กามชวนะ ๒๙ ถ้าจะต้องแยกบุคคลออกก็คงจะดีนะ

เช่น ปถุชน ที่ยังไม่ได้ฌาน จะใช้ ชวนะ อกุศลจิต ๑๒ กับ มหากุศล ๘
ปุถุชนที่ได้ฌาน ก็จะใช้ ชวนะ มหัคคต ๙
ถ้าพระโสดาบัน กับพระสกทาคามี จะใช้ ชวนะ อกุศลจิต ๑๐ (เว้น ทิฎฐิและวิจิกิจฉา) มหากุศลจิต ๘
ถ้าพระอนาคามีจะใช้ชวนะ ๘ (เว้นโทสะเพิ่มอีก ๒ ) มหากุศลจิต ๘
ส่วนพระอรหันต์นั้น จะใช้ชวนะ แค่ ๕ คือ หสิตุปปาท ๑ มหากิริยาจิต ๘
อาจจะละเอียดขึ้นมาอีกหน่อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
SOAMUSA เขียน:
คำว่า เสพ นี้จำกัดอยู่ที่ชวนะจิตค่ะ หลักการคิดคือเราทำกรรมดีกรรมชั่วตรงที่ชวนะจิตในแต่ละวิถีจิตนี้เอง
ตัวที่เกิดขึ้นก่อนเสพคือโวฏฐัพพนจิต เป็นจิตที่ตัดสินอารมณ์ทำการโยนิโสมนสิการ กับ อโยนิโสมนสิการค่ะ ดังนั้นการเสพอารมณ์ต่างจะเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีโยนิโส หรือ อโยนิโส

ในการเสพนั้น ชวนะจิตเกิดกุศล หรืออกุศลนั้น ก็เกิดการกระทำทำกรรมทางกาย วาจา ใจพร้อมๆ กันไปด้วย( เราพูด เราเคลื่อนไหวร่างกาย เราคิดทำกรรม อยู่ในชวนะจิตนี้ค่ะ คือจะพูดดีพูดชั่ว ใช้กายทำดีทำชั่ว คิดดีคิดชั่ว อยู่ตรงชวนะนี้ทั้งสิ้น)

อย่างมนุษย์เรานี้ที่ไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ก็มีวิธีที่จะพออนุมานได้ว่าขณะนั้นชวนะของเราเสพอะไรอยู่ก็ดูซิว่า เราทำอะไรลงไป ทำอกุศลอยู่หรือเปล่า(อกุศลจิต12 ดวงใดดวงหนึ่ง) ทำกุศลอยู่หรือเปล่า(มหากุศลจิต8,ดวงใดดวงหนึ่ง)...เรามีสิทธิ์อยู่แค่นี้ค่ะ ถ้ายังไม่เป็นฌานลาภีบุคคลหรือพระอริยะบุคคล

ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาในขณะกำลังโกรธอยู่นั้น
ถ้ากำลังพูดคำหยาบคายอยู่ ก็เกิดวจีทุจริต ในขณะนั้นอกุศลจิตเกิดคือ โทสะมูลจิตดวงใดดวงหนึ่งพร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ ก็เกิดพร้อมกับการพูดนั้นค่ะ รูปร่างกายของเรานั้นก็เกิดวจีวิญญัติไปพร้อมๆ กับชวนะจิตนั้นด้วยค่ะ พูดง่ายๆ คือ กำลังอ้าปากพูดคำหยาบนั่นเองค่ะ

ถ้าจะดูทั้งหมดว่าชวนะจิตทั้งหมดจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนั้นดูได้จากองค์ธรรมของชวนะทั้งสองนี้ค่ะ
1. กามชวนะ 29 ได้แก่ อกุศลจิต12 หสิตุปปาทจิต1, มหากุศลจิต8, มหากิริยาจิต8
2. อัปปนาชวนะ 26 ได้แก่ มหัคคตกุศลจิต9, มหัคคตกิริยาจิต9, โลกุตตรจิต8

:b8: ขอบพระคุณค่ะ


กามชวนะ ๒๙ ถ้าจะต้องแยกบุคคลออกก็คงจะดีนะ

เช่น ปถุชน ที่ยังไม่ได้ฌาน จะใช้ ชวนะ อกุศลจิต ๑๒ กับ มหากุศล ๘
ปุถุชนที่ได้ฌาน ก็จะใช้ ชวนะ มหัคคต ๙
ถ้าพระโสดาบัน กับพระสกทาคามี จะใช้ ชวนะ อกุศลจิต ๑๐ (เว้น ทิฎฐิและวิจิกิจฉา) มหากุศลจิต ๘
ถ้าพระอนาคามีจะใช้ชวนะ ๘ (เว้นโทสะเพิ่มอีก ๒ ) มหากุศลจิต ๘
ส่วนพระอรหันต์นั้น จะใช้ชวนะ แค่ ๕ คือ หสิตุปปาท ๑ มหากิริยาจิต ๘
อาจจะละเอียดขึ้นมาอีกหน่อย


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะลุง
:b12: ที่ลุงเขียนมานี้ก็ได้ความรู้ขึ้นกว่าเดิมแล้วค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่พอจะรู้มาบ้างด้วยการอ่านการฟังหรือมีครูอาจารย์สอนมาให้ปฏิบัติอย่างไร มีการปฏิบัติมาบ้าง ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คนนี้พูดมั่ว สอนมั่ว ก็รู้จักแยกแยะได้บ้าง

แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่อันตรายมาก เป็นพวกปัญญาเทียม ฟังแล้วเหมือนสอนถูก แต่จริงๆ แล้วสอนผิดอย่างน่ากลัว เพราะอ้างอิงคำใหญ่ๆ โตๆ มาสอนแต่สอนผิด และลูกศิษย์ก็มักมีแต่หน้าใหม่ๆ เข้ามาไม่ขาดสาย ลูกศิษย์เก่าพอรู้ทันก็จากไป บางท่านเป็นพระ พอปลีกตัวออกมาได้ก็เดินทางไปทั่วประเทศ ไปถึงวัดไหนก็เข้าโบสถ์กราบขอขมาพระรัตนตรัยอยู่เป็นปี เรียกว่าท่านเสียศูนย์อย่างแรง ลูกศิษย์เก่าจากไปลูกศิษย์ใหม่เข้ามาก็ทำหน้าที่ต่อไป พวกลูกศิษย์ใหม่ก็ยังขาดการศึกษา ถ้าไปศึกษาแล้วเจอจริงก็รู้แล้วว่าที่หลงอยู่นั้นของเทียมก็จากไป แต่ก็ยังมีลูกศิษย์บางคนที่อยู่นาน เพราะอุปทานยึคว่าถูกแล้วจริงๆ ก็จะเชื่อตามนั้นว่าของจริงแล้ว ก็อยู่นานหน่อยถ่ายทอดแนวทางต่อไป แต่มีบางคนก็ไวกว่านั้นไปนั่งไปฟังมาซ้ำซี้ซ้ำซากอยู่อย่างนั้น ก็เบื่ออันนี้ก็จากไปไวเหมือนกัน ตัวอย่างคนใกล้ๆ ตัวดิฉัน น้องชายที่เป็นญาติกัน แกขับรถไปนั่งฟังอยู่พักหนึ่ง แกก็บอกว่าไม่ฟังแล้ว วนๆ อยู่อย่างนั้นขี้เกียจไปฟัง ตอนหลังแกก็ไปเจอพระรูปหนึ่งที่ประจวบ น้องชายก็ไปเป็นลูกศิษย์ท่าน

ตอนนี้เราอยู่ในยุคขาลง มีทั้งที่ผิดแบบรู้ได้ง่ายๆ กับผิดที่สอนเหมือนสอนถูก เหมือนผู้รู้เนียนๆ
อะไรๆ ที่ใครๆ ยึคอยู่นั้น บางทีก็ไม่ใช่ เปิดใจรับปริยัติบ้างก็ได้ค่ะ เพื่อจะได้ใช้หลักกาลามสูตรเป็น
ผู้ที่จะใช้หลักนี้ได้ ต้องรู้ถูกก่อน ถึงจะรู้ว่าอะไรผิด อะไรถูกค่ะ

*ถ้าไม่ได้เจอของจริง ไม่เคยเห็นของจริง แล้วจะรู้มั้ยว่าที่ยึคอยู่นั่นของปลอม จะรู้มั้ยคะว่าอะไรเป็นของปลอม

เปรียบเทียบง่ายๆ ค่ะ กระเป๋าถือที่ราคาแพงๆ ของต่างประเทศ คนที่ไม่เคยเห็นไม่เคยสัมผัสของจริงมา
ไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ ไปเจอคนที่น่าเชื่อถือ แต่มาหลอกขายกระเป๋าของปลอมก๊อปมาแบบเป๊ะๆแก่เรา เราเห็นว่าคนขายเป็นคนที่น่านับถือ เราก็เชื่อว่ากระเป๋าใบนั้นของจริงแน่ๆ เพราะเราเชื่อถือในตัวเค้าว่าเค้าไม่หลอกขายของปลอมแก่เรา แล้วเราดูไม่เป็นด้วยว่าของจริง ของปลอม มันต่างกันอย่างไร เราก็ซื้อไปด้วยความไม่รู้ ใช้ของปลอมไปด้วยความไม่รู้ว่าเป็นของปลอม

เห็นกระทู้ห้องสนทนามี หัวข้อว่า ทัพพีไม่รู้รสแกง ดิฉันก็ว่ายังดีนะคะยังได้ลงหม้อแกง
แต่ทัพพีบางอันเกิดอุบัติเหตุ ถูกคนซื้อเหยียบหัก ถูกทิ้งตั้งแต่ซื้อมา ยังไม่เคยลงหม้อแกงหม้อไหนสักหม้อหนึ่ง อันนี้ก็เป็นทัพพีที่น่าสงสารนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2014, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สีลวิสุทธิ เป็นเหตุ ส่วน จิตตวิสุทธิ เป็นผล
จิตตวิสุทธิ เป็นเหตุ ส่วน ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นผล

สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ ทั้ง ๒ นี้ เปรียบเหมือนรากฐานพระสถูปเจดีย์ค่ะ หากท่านไปศึกษาวิธีปฏิบัติมาแบบผิดๆ ท่านจะปฏิบัติผิดตั้งแต่ฐานเบื้องต้นเลยค่ะ หากฐานรากของพระสถูปเจดีย์ไม่ดี ก็อย่าหวังว่าจะสร้างพระสถูปเจดีย์สำเร็จค่ะ

ส่วน ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เปรียบเหมือนองค์พระสถูปเจดีย์ ซึ่งต้องอาศัยฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง จึงจะตั้งอยู่ได้ค่ะ

ส่วน ญาณทัสสนวิสุทธิ เปรียบเหมือนกับฉัตรทองที่ประกอบด้วยรัตนะเป็นยอดของพระสถูปเจดีย์นั้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2014, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2014, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

เหตุให้เกิดปัญญา ๗ คือ

1. ปริปุจฺฉกตา [b]ชอบสอบสวนทวนความถามปัญหาต่างๆ


2. วตฺถุวิสทกริยตา ชอบสะอาดทั้งกายและใจ ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ

3. อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนตา หมั่นรักษาอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
ให้ทรงไว้และให้สม่ำเสมอเป็นกิจวัตร


4.ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนา เว้นจากการคบหากับคนที่ไม่มีปัญญา

5. ปญฺญวนฺตุปุคฺคลเสวนา ชอบสมาคมกับคนฉลาด(บัณฑิต) ผู้มีปัญญา

6. คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา ชอบพิจารณาปัญหาที่ลึกซึ้งเสมอ

7. ตทธิมุตฺตตา ชอบน้อมจิตแสวงหาความรู้อันทำให้เกิดปัญญา
[/b]
ปกิณณกภาค หน้า25
ลักขณาทิจตุกกะ และ กรรมในเชิงลึก 29


๑๒
อาเสวนปัจจัย
สิ่งที่ทำอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นอุปนิสัยใจคอ


viewtopic.php?f=66&t=41818

ปัจจยธรรมได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นหลังๆ

อนึ่ง ตามธรรมชาติของวิถีจิตแล้ว พึงทราบว่า หากกุศลจิตเกิด กุศลจิตนั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ครั้ง(๗ ดวง) แม้ในอกุศลจิตก็เช่นเดียวกัน

ก็แล ในการเกิดขึ้นโดยเสมอภาคกันแห่งจิตทั้งหลายเหล่านั้น พึงทราบว่า พลังอำนาจของจิตดวงที่เกิดขึ้นก่อนจะช่วยเกื้อกูลให้จิตดวงหลังๆ มีพลังลักษณะการเกื้อกูลเช่นนี้เอง พระบรมศาสดาท่านทรงเรียกว่า "ความเป็นอาเสวนปัจจัย"

อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน ตัวอย่างในทางที่ไม่ดี ก็เช่น คนติดเหล้า ติดบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ตอนแรกๆ ก็เป็นเพียงแค่การอยากลอง แต่พอได้ลองแล้วก็เกิดติดอกติดใจจนต้องลองเป็นครั้งที่ ๒-๓-๔-๕ จนกระทั่งถึงขั้นอเตกิจโฉ คือเยียวยาไม่ได้ นี่แหละเป็นผลของการเสพคุ้นที่ทางพระอภิธรรมท่านเรียกว่า อาเสวนปัจจัย

ในเรื่องของการกินก็เช่นกัน คนตะกละชอบกินเนื้อ หากมื้อไหนไม่มีเนื้อก็กินไม่ลง นอนไม่หลับ ในที่สุดก็ถูกลกามเทพลวงกิน กล่าวคือ ทำให้ไม่สามารถแยกจิตกินกับจิตนอนออกจากกันได้(กินก็จิตนั้น นอนก็จิตนั้น) นี่แหละืคือผลของการเป็นอุปการะแห่งอาเสวนปัจจัยในทางที่ไม่ดี

ผู้ที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าให้คนทั้งโลกได้ใช้มาถึงปัจจุบันก็คือ โธมัส แอลวา เอดิสัน เขาผู้นี้คืออัจฉริยะ กว่าที่เขาจะประสบผลสำเร็จได้นั้น เขาต้องทำการทดลองเป็นพันๆ ครั้ง นั่นก็คือ เป็นการทำอาเสวนปัจจัยดีๆ นั่นเอง

แม้ในการประดิษฐ์โืีทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน กว่าจะสำเร็จได้ ผู้ประดิษฐ์ต้องทำอาเสวนปัจจัยมากกว่า ๔๐ ปีทีเดียว

การที่จะได้ยาดีมีประโยชน์ สามารถรักษาโรคร้ายให้หายได้นั้น จะต้องทำอาเสวนปัจจัย กล่าวคือการวิจัยแล้ววิจัยอีกนับครั้งไม่ถ้วน จึงจะประสบผลสำเร็จได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้น ก่อนที่จะทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้นั้น ต้องบำเพ็ญอาเสวนปัจจัยถึง ๖ ปี

พระมหาเถระนามว่า โปฎฐิละ ผู้เชี่ยวชาญปริยัติ ทำอาเสวนปัจจัยอยู่ ๓๐ ปี จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การอบรมบ่มเพาะจนเป็นนิสัยความเคยชินหรือความชำนาญนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ในภาษาบาลีท่านเรียกว่า วาสนา ซึ่งวาสนานี้ก็คืออุปนิสัยสันดาน จะเป็นเงาติดตามตัวเราไปในทุกภพชาติเลยทีเดียว จนต้องมีคำพังเพยที่ว่า "ดัดอะไรนั้นดัดง่าย แต่ดัดนิสัยนั้นดัดยาก"

ธรรมดาว่า จิตใจของมนุษย์ทั่วไปนั้น ย่อมไหลไปตามกระแสแห่งกิเลสตัณหาความสนุกเพลิดเพลิน จากความสนุกเพลิดเพลินเป็นความเคยชินหรือวาสนา หรืออุปนิสัยใจคอ จนไม่สามารถตัดวงจรอุบาทว์นี้ได้ จนต้องพบกับความหายนะวิบัติแห่งชีวิตในที่สุด นี่แหละเป็นผลแห่งอาเสวนปัจจัย

จึงขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นตรึกตรองเลือกใช้สอยแต่อาเสวนปัจจัยในทางที่ดีมีคุณประโยชน์ อะไรที่ไม่ดี ก็ให้ลด ละ เลิก ส่วนที่ดีก็ขอให้หมั่นบ่มเพาะให้เป็นวาสนาภาคี จนสามารถตามเราไปทุกภพชาติเถิด

:b8: :b8: :b8:

สิ่งใดที่ดัดนิสัยตนเองได้ก็ควรทำค่ะ อยากเป็นคนเก่ง ก็หาหนทางให้เกิดปัญญาค่ะ
ควรหันมาหาปัญญาใส่ตน ศึกษาประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นพุทธบูชา ไม่ใช่เพื่อเก่งเด่นดังแข่งกับผู้อื่นค่ะ

หากทำตัวเป็นต้นไม้รากเน่าซะแล้ว รดปุ๋ยรดน้ำลงไปที่ต้นไม้
ก็คงได้ประโยชน์แก่วัชพืชรอบๆ โค่นไม้นั้นค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
22 พฤษภาคม
วิธีอยู่เป็นสุขในภพหนึ่ง

วิธีที่ทำให้เราอยู่เป็นสุขในภพหนึ่ง คือ การมีจิตสำนึกที่ดี ด้วยการไม่ริษยาคนอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และอบรมบ่มเมตตาในจิตของเราเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ จะอยู่ในที่ไหนๆ ก็ปราศจากอุปสรรคอันตราย ประสบความราบรื่นตลอดไป

จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอินทร์ไว้ในสักกปัญหสูตรว่า "ชาวโลกแม้ปรารถนาความสุขก็ไม่ได้รับความสุขตามต้องการด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ ความริษยา และความตระหนี่"

คนที่ริษยาคนอื่นจะคิดปองร้ายคนอื่นอีกด้วย ส่วนคนตระหนี่จะขาดเมตตาแก่บุคคลอื่น ทั้งสองประเภทจะปราศจากความซื่อสัตย์สุจริต ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2014, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน

สติขั้นปรมัตถ์นั้น ฝึกได้ค่ะ ชวนะเสพบ่อยๆ เป็นการอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจ จนเกิดความเคยชิน
จนกระทั่ง สติเกิดขึ้นเองบ่อยๆ เนืองๆ ค่ะ สตินี้เป็นตัวปรับอินทรีย์อีก 4 ตัวที่เหลือให้สมดุลย์กันค่ะ
หากมีสติก็จะกำหนดรู้ทุกข์ได้ ใครที่จะกำหนดรู้ทุกข์ มีสติขั้นปรมัตถ์แล้วหรือยังคะ วันๆ หนึ่ง
เวลาปวดอุจจาระ ปัสสาวะ มีสติกำหนดรู้ทุกข์ทันมั้ยคะตอนเช้า มีสติกำหนดรู้เวลาเปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่
บอกได้เลยว่า ถ้าไม่ฝึกสติไว้ รับรองว่าวันๆ หนึ่งผ่านเลยไปมากมาย ไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์อย่างที่คิดจะทำ
ฟังคำสอนก็คือสุตะ การฝึกสติก็คือการภาวนา ถ้าจะฟังอย่างเดียวไม่ลงมือปฏิบัติ คอยให้สติเกิดตามเหตุปัจจัย ก็คงต้องคอยเป็นวันๆ ค่ะ หรือหลายวัน

สำหรับผู้ที่มีสติเกิดบ่อยแล้ว ลองเทียบกับเมื่อก่อนนี้
เคยสังเกตกันมั้ยคะว่าสมัยก่อนนั้น พอมีสติขึ้นมามีความรู้สึกตัว ก็รู้สึกว่าเราหายไปหลายวันเลย
ถ้าจะคอยให้สติเกิดเองตามเหตุปัจจัย บางทีสติอาจจะหายไปเป็นอาทิตย์ก็ได้นะคะ กว่าจะมีสติเกิดเอง
แล้วเมื่อไรจะได้ปฏิบัติธรรม จะนั่งฟังกันต่อไป เป็นวิปัสสนึกอยู่ทำไมคะ สมาธิก็ไม่ทำจะวิปัสสนาอย่างเดียว
สวดมนต์ก็บอกว่าสู้ฟังธรรมให้เข้าใจดีกว่าเกิดปัญญา ทีนี้สมาธิก็ไม่มี สติก็ไม่ฝึก จะเหลืออะไรล่ะ

พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วตามลำดับขั้น ทำตามไปแบบผู้ว่าง่ายดีกว่าค่ะ สติขั้นปรมัตถ์ต้องอาศัยการฝึกไปก่อน ต่อมาจึงจะเกิดเองได้ เพราะเคยเสพคุ้นบ่อยๆ มานั่นเอง มีสัญญาความจำได้หมายรู้ สติมีเหตุใกล้คือสัญญา จำได้เพราะเสพอยู่บ่อยๆ อย่ามัวแต่นั่งวิปัสสนึกอยู่เลยค่ะ ถ้ายังไม่ฝึกให้มีสติเกิด ก็ยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติค่ะ ก็ยังไม่สามารถกำหนดทุกข์ ก็ยังไม่เคยได้รับรู้ว่าเวลาเห็นนามกับรูปตามความเป็นจริงนั้นมหัศจรรย์แค่ไหน เวลาปฏิบัติไปจะพบกับความน่ากลัวมันน่ากลัวอย่างไร ธรรมะของพระพุทธองค์รอวันให้ท่านมาพิสูจน์คำสอนอยู่ค่ะ

การเชื่อมโยงธรรมะผิดๆ ของคนๆ เดียว ก็สามารถจูงคนอื่นให้เสียเวลา เสียหายทั้งชาติได้ค่ะ
พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรก็ว่าไปตามนั้นเถอะค่ะ ด้วยความปรารถนาดีนะคะ ไม่อยากให้พระธรรมถูกบิดเบือนจากใคร จากคนกลุ่มใดทั้งสิ้น รักษาความถูกต้องของพระธรรมไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลังให้นานที่สุดกันนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2014, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน
การอธิษฐานก็ควรกระทำให้ติดเป็นอุปนิสัยทุกครั้งที่ทำ ทาน ศีล ภาวนา

บุญกิริยวัตถุ10 ย่อลงก็คือ ทาน ศีล ภาวนา

เวลาเราทำกุศลสำเร็จแล้วนั้น เราจะอธิษฐานบารมี เพื่อให้เกิดในศาสนาพุทธต่อไป มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา เพื่อให้เราทำกุศลเพื่อให้เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอน จะทำให้เราพ้นทุกข์ไปได้ในที่สุด

ดังนั้นเราจึงอธิษฐานไว้เป็นบารมีเพื่อไม่ให้เราหลงไปเกิดในลัทธิต่างๆ ซึ่งบางลัทธิก็มีล่วงเกินมารดาบ้าง มีฆ่าสัตว์การบูชายันต์บ้าง มีการไหว้ผีบ้าง เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ทำอย่างนั้น ดังนั้นเราจึงอธิษฐานเพื่อให้ได้เกิดมาแต่ในพระพุทธศาสนา จะได้ไม่หลงผิดไปในความเชื่อต่างๆ ซึ่งทำให้การพ้นออกไปจากสังสารวัฏฏ์เนิ่นช้าออกไป

ในบุญกิริยาวัตถุ 10 นั้นสรุปลงใน ทาน ศีล ภาวนา
ในข้อ4 คือ อปจายนจัดเข้าอยู่ในหมวดศีล เป็นการประพฤติอ่อนน้อมด้วย กาย วาจา แก่บุคคลผู้มีคุณวุฒิ และวัยวุฒิ
ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ

ไม่ว่าจะเป็นใครถ้ามีคุณวุฒิ หรือ วัยวุฒิ เราไหว้ได้อ่อนน้อมได้ ยิ่งมีทั้ง2 อย่างยิ่งต้องอ่อนน้อมเช่น พ่อแม่ของเรามีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เราล่วงเกิน เราต้องอ่อนน้อม ดังนั้นการล่วงเกินด้วยกายกรรม วจีกรรม นั้นเราถือเป็นบาปก็คือการทำอกุศลนั่นเอง แต่ในบางลัทธินั้นทำได้เพราะมีความเชื่อที่ผิดว่ากระทำได้ แต่ผู้กระทำนั้นก็เกิดเป็นบาป แม้จะบอกว่าไม่ผิดศีลของลัทธิของเค้า เช่นแม่อนุญาติให้ลูกชายล่วงเกินสมสู่ ก็ถือเป็นบาป แม่ต้องเป็นผู้ที่ลูกควรเคารพกราบไหว้ ไม่ใช่มีความเชื่อที่ยึคถือผิดไปไม่สามารถแยกได้ว่า สิ่งใดเป็นความดี สิ่งใดเป็นความชั่ว ซึ่งการแยกสิ่งดี สิ่งไม่ดีนั้น ศาสดาของเราคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เป็นเหตุเป็นผลทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ใดกระทำผิดลงไปหรือไม่งดเว้นก็เป็นบาป มนุษย์เรานั้นต่างจากสัตว์เดรัจฉานตรงที่มนุษย์รู้จักการงดเว้น รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ ไม่ควรให้อาหารแก่กิเลสเหมือนสาดน้ำมันเข้ากองไฟเรื่อยๆ ไฟก็ไม่ดับ ซ้ำจะยิ่งจะลุกลามไปเรื่อยๆ มนุษย์ก็จะมีแต่ความเร่าร้อน วุ่นวาย ไร้ความสงบสุข ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ ดิฉันเห็นเป็นจริงตามที่ท่านกล่าวค่ะ

ดังนั้นการที่จะทำให้เราอยู่ในศาสดาที่มีแต่สัมมาทิฏฐิ จึงต้องอาศัยการอธิษฐานหลังจากทำทาน ศีล ภาวนาแล้วก็ อธิษฐานออกจากสังสารวัฏฏ์ก่อนคือ มรรค ผล นิพพาน ต่อไปก็อธิษฐานว่าเกิดภพไหนก็ขอให้ระลึกถึงแต่การทำกุศลคือทาน ศีล ภาวนา และสุดท้ายก็ขอให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เกิดมาพบแต่กัลยาณมิตรห่างไกลคนพาล เป็นต้น จะต้องอาศัยการมีอินทรีย์๕ที่แก่กล้าอธิษฐานหลังจากทำทาน ศีล ภาวนา ไว้ทุกครั้ง

ซึ่งเป็นการทำให้ถึงคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือต้องมีอินทรีย์ ๕ แก่กล้าในภพต่อๆ ไปทุกชาติ ไม่ไปเกิดในลัทธิอื่น

ตราบใดที่ยังไม่เห็นมรรคครั้งแรก คือ โสดาปัตติมรรค ก็อย่าหวังว่าจะรอดพ้นภัย 4 ประการได้ง่ายๆ ค่ะ
คือ ยังต้องวนเวียนเกิดในอบายแน่นอนค่ะ หากยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีหลักประกัน
นะคะว่า ท่านจะไม่ไปอบายภูมิ ท่านจะสามารถพ้นไปได้ทุกชาติไป ก็ขอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ล้านเปอร์เซ็นต์
หากยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ต้องได้ไปเที่ยวอบายภูมิแน่นอน ยิ่งพลัดหลงไปในลัทธิต่างๆ ที่มีการประพฤติปฏิบัติผิด โอกาสไปเกิดในอบายภูมิย่อมเป็นไปได้โดยง่ายค่ะ

ภัยทั้ง 4 นั้นคือ
1. นานาสัตถอุลโลกนภัย คือ ยังไม่พ้นจากการเคารพนับถือศาสดาต่างๆ
2. วินิปาตภัย คือ การไปเกิดในที่ไม่แน่นอน
3. อปายภัย คือ ยังไม่พ้นจากการไปเกิดในอบายภูมิ
4. ทุจริตภัย คือ ยังไม่พ้นจากการกระทำอันเป็นทุจริตต่างๆ

ก็ต้องมีคุณสมบัติถึงพร้อม ๕ อย่างนี้ทุกๆ ชาติไปจึงจะหนีพ้น และในการที่จะหนีพ้นด้วย
การมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ได้นั้นที่สำคัญ ก็อยู่ที่การกระทำในภพนี้ คือ
๑. ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อยู่เสมอ แล้วตั้งความปราถนาไว้ว่าขอให้การบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้านี้จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยไปทุกๆ ชาติด้วย
๒. มีความพอใจอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรม และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้เกิดอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรมทุกๆ ชาติไป
๓. ในการสมาคมต้องไม่เกลือกกลั้วกับคนพาล พยายามคบหาสมาคมกับผู้มีความรู้และมีศีลธรรม
และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้พบกับสัปบุรุษทุกๆ ชาติไป
๔. ต้องสนใจฟังและศึกษาในธรรมะที่มีประโยชน์และถูกต้อง (แนะนำเรียนพระอภิธรรมค่ะ) พร้อม
ทั้งตั้งความปราถนาว่าด้วยอำนาจแห่งการฟังการศึกษาธรรมะของข้าพเจ้านี้ขอจงเป็นพลวปัจจัย
ให้ข้าพเจ้าได้โอกาสฟังพระสัทธรรมและเรียนธรรมะที่ถูกต้อง
ทุกๆ ชาติไปด้วยเทอญ
๕. มีการรักษากาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปในทางสุจริตอยู่เสมอ และตั้งความปราถนาว่า
ด้วยอำนาจแห่งการที่ข้าพเจ้าได้ประพฤติกาย วาจา ใจ ในทางสุจริตนี้ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้
ข้าพเจ้าได้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม และได้ประพฤติอยู่แต่ในทางสุจริตทุกๆ ชาติไป

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

:b42: จากหนังสือ ธรรมบทเทศนา เล่ม ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)

พระพุทธนิพนธคาถา ๓ พระคาถา ซึ่งมีข้อความดังนี้

ความไม่ประมาทเป็นเหตุบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานอันไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย พวกนรชนที่ไม่ประมาทแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
พวกนรชนที่ประมาทแล้ว เป็นเหมือนคนตายแล้ว

ท่านผู้เป็นบัณฑิตในเพราะความไม่ประมาททั้งหลาย รู้ความต่างกันอย่างนี้แล้ว ย่อมบันเทิง
ใจอยู่ในความไม่ประมาท เป็นผู้ยินดีในธรรมอันเป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ซึ่งเป็นปราชญ์เหล่านั้น เป็นผู้เจริญฌาน มีความเพียรติดต่อกัน
มีความบากบั่นอันเข้มแข็งเป็นนิจ ย่อมได้ถูกต้องนิพพานอันเป็นธรรมขั้นสุดยอด
ปลอดจากกิเลสเครื่องประกอบไว้ในวัฏฏสงสาร

ในพระธรรมเทศนาพุทธนิพนธคาถาเหล่านี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ว่า

คำว่า อัปปมาทะ ที่แปลว่า ความไม่ประมาท นี้นั้น หมายความกว้างขวางมาก
เฉพาะคำเดียวนี้กินความถึงพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกหมดทั้งสิ้นทีเดียว
ข้อนี้สมด้วยพระบาลีในคัมภีร์มหาวารวรรคสังยุตตนิกายว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง
รอยเท้าทั้งหมดนั้นย่อมถึงซึ่งอันรวมลงในรอยเท้าช้าง ชาวโลกย่อมกล่าวกันว่า รอยเท้าช้างเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุศลธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูลฐาน รวมลงในความไม่ประมาท เรากล่าวว่าความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน"

อะไรชื่อว่า "ความไม่ประมาท" ความไม่ประมาทนั้นโดยความหมาย ได้แก่ ความไม่อยู่ปราศจากสติ
คือความมีสติปรากฏอยู่เป็นนิจทุกๆ อิริยาบถน้อยใหญ่ทั้งหลาย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2014, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

หลักสูตรมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท วิปัสสนากรรมฐาน
เรื่อง วิสุทธิ 7 , สีลวิสุทธิ
บรรยายโดย อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ

https://www.youtube.com/watch?v=GKlGeeQ ... Ik&index=2

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร