วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 01:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2018, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (6).png
unnamed (6).png [ 97.23 KiB | เปิดดู 8224 ครั้ง ]
อุตรนิกาย
อุตรนิกาย “นิกายฝ่ายเหนือ” หมายถึง พระพุทธศาสนา
อย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ
มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน
ใช้ภาษาสันสกฤต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2018, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




woman-781433_960_720.png
woman-781433_960_720.png [ 209.18 KiB | เปิดดู 8224 ครั้ง ]
อธิปัญญา
อธิปัญญาสิกขา แปลว่า การศึกษาในอธิปัญญา
คือการปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญาให้สูงขึ้นจนตัดกิเลสได้เด็ดขาด
เป็นข้อหนึ่งในไตรสิกขา คืออธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

อธิปัญญาสิกขา คือการที่ภิกษุได้บรรลุจตุตถฌานแล้วนั่งเข้าฌานด้วย
จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เธอมีจิตบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ควรแก่การงาน ตั้ง
มั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้วก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อญานทัสสนะ จนได้
บรรลุวิชชาหรือเห็นประจักษ์ซึ่งสามัญญผลที่สูงขึ้นดียิ่งขึ้นตามลำดับ คือ

วิปัสสนาญาน มโนมยิทธิญาน อิทธิวิธิญาน ทิพพโสตธาตุญาน
เจโตปริยญาน ปุพเพนิวาสานุสสติญาน ทิพพจักขุญาน และอาสวักขยญาน

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย นี้คือทุกขนิโรธ นี้
คือทุกขนิรธิคามินีปฏิปทา นี้คืออาสวะ นี้คือเหตุให้เกิดอาสวะ นี้คือ
ความดับอาสวะ นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ปฏิบัติดังนี้แลที่
เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2018, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1660534164255.jpg
1660534164255.jpg [ 95.83 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
อติเรกจีวร
อติเรกจีวร คือ จีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร
ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน สามารถทำเป็น
วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นสองเจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ
เพราะเก็บไว้เกินกำหนด

ความเป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่
พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ถวายพระสารีบุตร
ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ ๑๐ วัน จึงจะเดินทางมาถึง
พระอานนท์ได้เข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ว่าจะปฎิบัติอย่างไรกับ
อติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2018, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




0_109300_bb86b444_L.png
0_109300_bb86b444_L.png [ 245.39 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อุบาสกบริษัท

ตปุสสะและภัลลิกะ สองวานิช เป็นเอทัตคะ ในบรรดาอุบาสก
สาวกผู้ถึง สรณะเป็นปฐม

สุทัตตะอนาถปิณฑิกคหบดี ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้เป็นทายก
จิตตะคหบดี ชาวเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้เป็นธรรมถึกล
หัตถกะอาฬวกะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔
มหานามะเจ้าศากยะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้ถวายของปราณีต
อุคคะบดี ชาวเมือเวสาลี ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้ถวาย(ตัวถวายเอง)ชอบใจ

อุตคตะหบดี ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้สังฆอุปัฏฐาก
สูระอัมพัฏฐะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้มีปสาทะไม่หวั่นไหว
ชีวกโกมารภัทจจ์ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้เลื่อมใส(เลือกตัว)บุคคล
นกุลบิดาคหบดี ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้สนิทคุ้นเคย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2018, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1658302990701.jpg
1658302990701.jpg [ 145.21 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
:b53: อกุศลจิตตุบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว,(เจตสิกปรุงแต่งจิต)ให้คิดชั่ว
:b53: อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในจิต
แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่าง ๑. โมหะ. ๒. อหิริกะ ๓. อโนตตัปปะ ๔. อุทธัจจะ
๕. โลภะ. ๖. ทิฏฐิ. ๗. มานะ. ๘. โทสะ. ๙. อิสสา. ๑๐. มัจฉริยะ. ๑๑.กุกกุจจะ
๑๒ . ถีนะ ๑๓. มิทธะ. ๑๔. วิจิกิจฉา

:b53: อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว
:b53: อกุศลมูล รากเง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล, ต้นเหตุของความชั่ว,
มี ๓ อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ

:b53: อกุศลวิตก ความตรึกที่เป็นอกุศล, ความตรึกที่ไม่ดี มี ๓ อย่าง คือ
๑. กามวิตก คิดแส่ไปในเรื่องกาม ทางที่แรนเปรอตน
๒. พยาบาทวิตก คิดแต่ในทางพยาบาท
๓. วิหิงสาวิตก. คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น

:b53: อกุปปธรรม ผู้ที่มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือผู้ที่ได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั่น
จะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยะบุคคลทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2018, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1656848460042.jpg
1656848460042.jpg [ 82.76 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
องค์แห่งธรรมกถึก
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดสั้นให้สับสน จนขาดเนื้อความ
๒. ชี้แจงยกเหตุผลให้ผู้ฟังได้เข้าใจ
๓. สอนเขาด้วยความเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้ได้รับประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ ลาภ สักการะ สรรญเสริญ
๕. ไม่แสดงธรรมเพื่อกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่ไปเสียดสีผู้อื่น

องค์แห่งภิกษุใหม่
๑. ปาฏิโมกสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์
๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ ๖
๓. ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา
๔. กายวูปกายสะ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
๕. สัมมทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2018, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1659171962816.jpg
1659171962816.jpg [ 71.92 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
อันตคาหิกทิฏฐิ

อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐(ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไป
สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ) คือเห็นว่า
๑. โลกเที่ยง
๒. โลกไม่เที่ยง
๓. โลกมีที่สุด
๔. โลกไม่มีที่สุด
๕. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
๖. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง
๗. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก
๘. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก
๙. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่
๑๐. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่

คำว่า ตถาคต ในที่นี้ อรรถกถาบางแห่งว่าหมายถึงสัตว์ (เช่น ม.อ. 3/135; สงฺคณี.อ. 528) บางแห่งว่า อัตตา หรืออาตมัน (อุ.อ. 430) บางแห่งว่าพระพุทธเจ้า (สํ.อ. 3/192)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2018, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




12-2-swimming-transparent.png
12-2-swimming-transparent.png [ 49.74 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อาสวะ
๑. ความเสียหาย, ความเดือดร้อน, โทษ, ทุกข์,
๒. น้ำดองอันเป็นเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้ ผลาสโว น้ำดองผลไม้
๓. กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ

อาสวะ ๔
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาวสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ )
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

ในที่มาส่วนมาก โดยเฉพาะในพระสูตร แสดงอาสวะไว้ ๓ อย่าง
โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.อ. ๑/๙๓)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed.png
unnamed.png [ 155.26 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อธรรมวาที
อธรรมวาที แปลว่า ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม / ผู้ไม่พูดตามหลัก
ไม่พูดตามธรรม / ผู้พูดไม่เป็นธรรม ตรงกันข้ามกับผู้ไม่เป็นธรรมวาที

อทิสสมานกาย
อทิสสมานกาย สัตว์โลกผู้มีกายไม่ปรากฏ, พระพุทธ- ศาสนากล่าวว่า
ในพิภพนี้ยังมีสัตว์โลกที่มีกายละเอียดมาก จนมนุษย์เราไม่สามารถ
มองเห็นด้วยตา แต่อาจเห็นด้วยจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์พวกอทิสสมานกาย
ได้แก่ เทวดา ผี เปรต อสุรกาย.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1657489765022.jpg
1657489765022.jpg [ 58.97 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
อภิญญา
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ
เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญ
กรรมฐาน ซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี ๖ อย่าง คือ

๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
๒. ทิพพโสต มีหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

อภิญญา ๕ ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียอภิญญา)
ข้อ ๖ ข้อสุดท้ายมีเฉพาะในพระอริยบุคคล (โลกุตตรอภิญญา)
ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




single_bowl_cliped (1).png
single_bowl_cliped (1).png [ 511.22 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อภิญญาเทสิตธรรม
พระพุทธเจ้าได้สรุปคำสอนของพระองค์หลังปลงอายุสังขารแล้ว
เป็นเวลา ๓ เดือนก่อนการเสด็จดับขันธปรินิพพาน

โดยได้ทรงตรัสว่า “ธรรมะอันใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
พวกเธอจงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง” ซึ่งทรงกล่าวถึง
อภิญญาเทสิตธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นธรรมะที่เทศน์แล้ว
ด้วยอภิญญา เป็นธรรมะที่แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง จัดแต่งขึ้นมา
อย่างดี ถูกออกแบบไว้อย่างเหมาะสมดีแล้ว

ทดลองใช้มาในทุกรูปแบบ และรวมลงกันมาอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่ง
ธรรมะนี้ควรต้องศึกษาด้วยการปฏิบัติ และปฏิบัติในทุกอิริยาบถ
ทุกสถานที่ เรียนธรรมะให้ทั่วถึง รอบคอบ พึงเจริญทำให้มาก
จะทำให้ศาสนาหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมั่นคงและตั้งอยู่ได้
ตลอดกาลนาน ทั้งนี้อภิญญาเทสิตธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ซึ่งมีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1656414752924.jpg
1656414752924.jpg [ 148.79 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
อรหํ
อรหํ เป็นพระอรหันต์
คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์,
หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึก คือกิเลสสิ้นแล้ว,
หรือเป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม,
หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ,
หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด
(ข้อ ๑ ในพุทธคุณ ๙)

อรหัต
ความเป็นพระอรหันต์ ชื่อ มรรค ผล ขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ซึ่งตัดกิเลสในสันดาลได้อย่างเด็ดขาด

อรหัตตผล
ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผลคือความสำเร็จเป็นพระอรหันต์
ผลจากที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด อันเนื่องมาจากอรหันตมรรค
ทำให้เป็นพระอรหันต์

อรหัตตมรรค
ความปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอรหันต์ ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ ๑๐

อรหัตตวิโมกข์
ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะความสำเร็จด้วยอรหัต คือ การหลุดพ้น
ขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาดสำเร็จเป็นพระอรหันต์

อรหันต์
ผู้สำเร็จธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูง ผู้บรรลุอรหัตตผล

พระอรหันต์ มี ๒ ประเภท
พระสุขวิปัสสก
พระสมถยานิก

อรหันตขีณาสพ
พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก
สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้โดยชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2018, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3616.jpg
Image-3616.jpg [ 54.74 KiB | เปิดดู 4404 ครั้ง ]
อภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ,
เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรมมี ๓ อย่าง

๑. ปุญญาภิสังขาร
อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดีที่เป็นบุญ ได้แก่
กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร

๒. อปุญญาภิสังขาร
อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่วได้แก่อกุศลเจตนาทั้งหลาย

๓. อาเนญชาภิสังขาร
อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว
ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่
ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน

สังขาร ๓ (สภาพที่ปรุงแต่ง)

๑. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก)

๒. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร)

๓. จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา)
สังขาร ๓ ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ
ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2018, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




explosion-grande.png
explosion-grande.png [ 264.74 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อนุเคราะห์
เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ, ความเอื้อเฟ้อ, การช่วยเหลือ,
อนุชน
คนที่เกิดตามมา, คนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อๆไป,
อนุชา
ผู้เกิดทีหลัง,น้อง
อนุญาต
ยินยอม, ยอมให้, ตกลง,
อนุฏีกา
ปกรณ์ที่อาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้ หรืออธิบายเพิ่มเติม
อนุฏฐานไสยา
การนอนที่ไม่มีการลุกขึ้น, การนอนครั้งสุดท้าย โดยทั่วไปหมายถึง การบรรทม ครั้งสุดท้าย
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคราวดีบขันธ์ปรินิพพาน
อนุตตริยะ
ภาวะที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ อย่างคือ
๑)ทัสสนานุตตริยะการเห็นยอดเยี่ยม คือ การเห็นธรรม
๒)ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘
๓)วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันยอดเยี่ยม คือการพ้นอันยอดเยี่ยม คือพ้นกิเลสและกองทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2018, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




IOPPZ3v.png
IOPPZ3v.png [ 164.63 KiB | เปิดดู 8196 ครั้ง ]
อนุบัญญัติ
บัญญัติเพิ่มเติม, บทแก้ไขเพิ่มเติมที่พระพุทธองค์
บัญญัติเสริมที่วางไว้เดิม
อนุปุพพิกถา
เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจด
เป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับ
ฟังอริยสัจจ์ มี ๕ คือ
๑) ทานกถา พรรณาทาน
๒) สีลกถา พรรณา ศีล
๓) สัคคกถา พรรณาสวรรค์ คือความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม
๔) กามาทีนวกถา พรรณาโทษของกาม
๕)เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม

อนุปิยนิคม
นิคมแห่งหนึ่งของมัลลกษัตริย์ ในแขวงมัลลชนบท อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกบิลพัสดุ์
อนุบุรุษ
คนรุ่นหลัง, คนที่เกิดทีหลัง
อนุปสัมบัน
ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร(รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี) ผู้มิใช่ภิกขุหรือภิกษุณี,

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร