วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

จิต เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ) คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอนั้นเอง จึงเรียกว่า
รู้อารมณ์ ดังแสดงวจนัตถะว่า อารมฺาณํ จินฺเตตีติ = จิตฺตํ
ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต ฯ

การที่จิตมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้นั้น เป็นประเภทของการเกิดขึ้นของสภาวธรรมต่างๆ เท่านั้น
เมื่อคิดจริงๆ แล้ว จิตมีเพียง 1 เดียวเท่านั้น เช่นเวลาเราจะพูดถึง กิเลส ตัณหา เราจะใช้ในการคิด
กิเลส ตัณหา ด้วยการคิดแค่ จิตมีเพียง 1 เดียวเท่านั้นค่ะ

จิตมี 89 ดวง หรือ 121 ดวงนั้น เพราะเหตุใดทำไมไม่เท่ากัน ทำไมไม่ 89 ดวงเท่านั้น
ทำไมไม่ 121 ดวงเท่านั้น ต้องมี 89 หรือ 121 ดวง
สาเหตุที่อยู่ที่ตัวเลข 89 อย่างเดียวไม่ได้ สาเหตุที่อยูที่ตัวเลข 121 อย่างเดียวไม่ได้นั้น
เพราะในโลกุตตรจิต มี 8 หรือ 40 ดวง

พระอริยะบุรุษ 4 คู่ 8 บุคคลนั้น มีทั้งผู้มีฌาน และไม่มีฌาน
เมื่อก่อนที่ท่านจะบรรลุเป็นพระโสดาบันนั้น ท่านได้ทุติยฌานจากสมถกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
ท่านเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อจนบรรลุโสดาปัตติมรรคนั้น จิตของท่านก็จะอยู่ในแถวที่เป็น
ทุติยฌานในโลกุตตรจิต 40 ค่ะ คือ แถวที่เป็นโสดาปัตติมรรคแถวที่2 และโสดาปัตติผลแถวที่2
เช่นกันค่ะ แถวที่2 แนวตั้งที่เป็นสีแดง พระโสดาบันบุคคลที่ท่านทำฌานมาก่อนจะบรรลุมรรคผลค่ะ

โลกุตตรจิต 8 หรือ 40

00000.....โสดาปัตติมรรคจิต 1 หรือ 5
00000.....สกทาคามิมรรคจิต 1 หรือ 5
00000.....อนาคามิมรรคจิต 1 หรือ 5
00000.....อรหัตตมรรคจิต 1 หรือ 5

00000.....โสดาปัตติผลจิต 1 หรือ 5
00000.....สกทาคามิผลจิต 1 หรือ 5
00000.....อนาคามิผลจิต 1 หรือ 5
00000.....อรหัตตผลจิต 1 หรือ 5


แต่อย่างไรนั้นผู้ที่ไม่เคยได้ฌานมาก่อนเมื่อเจริญวิปัสสนาจนบรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลแล้ว
ก็จัดอยู่ในปฐมฌานโดยปริยายค่ะ ได้องค์ฌานไม่ต่างจากผู้ได้ปฐมฌานค่ะ แต่เข้าฌานสมาบัติไ่ม่ได้
สีเขียว หัวแถวนั้นคือ พระโสดาบันที่ไม่เคยทำฌานมาก่อน และพระโสดาบันที่ได้ปฐมฌานมาก่อนและ
เอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาก็จะอยู่ในแถวและตำแหน่งเดียวกันค่ะ คือสีเขียวสามารถเข้าฌานสมาบัติได้
แต่ไม่มีอภิญญา เพราะอภิญญาจะเกิดแก่ผู้ที่สำเร็จปัญจมฌานแล้วเท่านั้น จึงจะต้องทำอภิญญาต่อได้ค่ะ
หากท่านจะทำอภิญญา พระโสดาบันก็ต้องมาทำฌานต่อภายหลังได้ค่ะ ถ้าทำฌาน5 ได้ พระโสดาบัน
ก็จะไม่เลื่อนจากสีแดงและสีเขียวเลื่อนไปทีละแถวตามฌานที่สูงขึ้นเรื่อยไปจนเป็นสีฟ้านะคะ เพราะ
สีฟ้านั้นจะเป็นผู้ที่ได้ปัญจมฌานแล้วเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปเมื่อได้มรรคก็จะเป็นสีฟ้าค่ะ

ในโลกุตตรจิต จึงมีจิต 8 หรือ 40 ดวงค่ะ แตกต่างตรงพระอริยะที่ได้ฌานกับไม่ได้ฌานค่ะ
สรุป จิตว่าโดยย่อ คือ 89 ดวง
ว่าโดยพิศดาร คือ 121 ดวงซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งฌาน

วิธีท่องจำจิต 89 หรือ 121 ดวงนั้น
ให้เริ่มท่องตามนี้ได้เลยค่ะจนกว่าจะจำได้ค่ะ


รูปภาพ

"จิตมี 4 ประเภทเมื่อว่าโดยภูมิ คือ
-กามาวจรจิต มี 54
-รูปาวจรจิต มี 15
-อรูปาวจรจิต มี 12
-โลกุตตรจิต มี 8 หรือ 40
รวมเป็นจิต 89 หรือ 121 ดวง"


"และท่องเป็นกลุ่มดังนี้ค่ะ"
-กามาวจรจิต 54
-มหัคคตจิต 27
-โลกุตตรจิต 8 หรือ 40
รวมเป็น จิต 89 หรือ 121 ดวง



:b8: :b8: :b8:
จำครั้งละนิดละหน่อยไปเรื่อยๆ สบายๆ นะคะ วันคืนล่วงผ่านไปท่านก็จะค่อยๆ จำได้ไปเองค่ะ

:b51: ขอเชิญดูรายละเอียดจิต 89/121ดวง ในกระทู้ที่ลุงหมานได้ทำไว้ค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45767

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ขอเชิญท่องต่อกันค่ะ :b27:
-อกุศลจิต 12
-อเหตุกจิต 18
-กามาวจรโสภณจิต 24
รวมเป็นกามาวจรจิต 54


:b14: อกุศลจิตนี่มันเป็นอะไรที่แปลกอย่างหนึ่งคือ ถ้าปล่อยให้มันเลยตามเลยเรื่อยๆ แบบว่าพออกุศลเกิด
ถ้าเข้าข้้างกิเลสตนเองไม่เป็นไรน่านิดๆ หน่อยๆ ไม่ฝึกจิตปล่อยเลยตามเลย พอหลังๆ ไปมันไม่นิดหน่อย
แล้ว อกุศลยิ่งปล่อยยิ่งเพิ่มพูนทวีคูณอย่างรวดเร็ว :b4:

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

รูปภาพ

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
30 กันยายน
ทำดียาก ทำชั่วง่าย

น้ำมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ปลาเคยชินอยู๋กับน้ำ พอจับปลาโยนไว้บนบก มันก็ดิ้นไปดิ้นมา ฉันใด จิตของมนุษย์ก็ฉันนั้น เหมือนน้ำหรือปลาดังกล่าว ดังนั้น จิตของเราจึงพอใจจะทำชั่ว ไม่พร้อมที่จะทำดี

คัมภีร์ฎีกากล่าวว่า "ความมืดในโลกไม่ใช่เกิดจากปัจจัยพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ใดปราศจากแสงสว่าง ความมืดก็เกิดตามธรรมชาติของตนในที่นั้น" ข้อนี้หมายความว่า จิตของมนุษย์มีความมืดคือโมหะประกอบร่วมอยู่เสมอเป็นอนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในกระแสจิต จึงถือว่าโมหะเป็นเจ้าเรือนของทุกคน ทำหน้าที่กระตุ้นเตือนให้เราทำชั่วอยู่เสมอ เพราะปกปิดโทษของความไม่ดีไว้ และยิ่งประกอบร่วมกับความโลภหรือความโกรธ ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนช้างฉุดไม่ไป ควายลากไม่ถอย

เส้นผมที่วางอยู่บนฝ่ามือของเรา เราไม่รู้สึกรำคาญ แต่ถ้าเป็นเส้นผมที่เข้าไปในดวงตา เราจะรำคาญและเจ็บจนทนไม่ได้ ปุถุชนก็เหมือนกับคนที่มีเส้นผมวางอยู่บนฝ่ามือ เขาเพลิดเพลินที่จะอยู่ในภพชาติต่างๆ และไม่รู้สึกผิดที่จะทำชั่ว จึงทำชั่วง่าย ทำดียาก

แต่พระอริยะเหมือนคนที่มีเส้นผมเข้าไปในดวงตา ท่านเหล่านั้นจะตั้งใจทำดีเพื่อความหลุดพ้น

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญท่องต่อกันค่ะ :b27:
-รูปาวจรจิต 15
-อรูปาวจรจิต 12
รวมเป็นมหัคคตจิต 27


ที่สำคัญคือ ท่องของใหม่แล้วย้อนทวนของเก่าไปด้วยนะคะ
หากใครสนใจที่จะเรียนพระอภิธรรมก็เชิญค่อยๆ ฝึกจำไปนะคะ ทำไมถึงต้องจำ จำเพื่อไปใช้
ประกอบกับจิตเจตสิกที่เป็นปัญญาไงล่ะคะ่ คนจะรังเกียจการจำหาว่าเป็นสัญญาไม่ใช่ปัญญา แต่สัญญานี้แหล่ะค่ะก็มีความสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ถ้าไม่มีสัญญา ปัญญาก็ทำงานไม่ได้ ถึงจะเป็นผู้มีปัญญาแต่ไม่มีสัญญา ก็หมดสภาพค่ะ พูดถึงรูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิตก็เป็นเรื่องฌาน หากใครรูปฌาน อรูปฌาน
ฌานไม่เสื่อมตายไปก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหมอรูปพรหมชั้นไหนก็แล้วแต่ฌานที่ตนทำได้ค่ะ และก็มีรูปพรหม
ที่มีแต่รูปไม่มีนาม ก็คือ อสัญญสัตตพรหมเพราะเพิกสัญญาวิราคะออกก็เท่ากับไม่เอานามทั้งหมด เพราะสัญญาประกอบกับจิตทุกดวง เมื่อไม่เอาสัญญาก็เท่ากับไม่เอาจิตเจตสิกทั้งหมดด้วยค่ะ

จึงขอให้รู้ไว้ว่า สัญญาเจตสิกนั้นประกอบกับจิตทุกดวงค่ะ สัญญามีความสำคัญมากค่ะ
บุคคลที่เคยมีปัญญาแต่ไม่เอาสัญญานั้นอยู่ในชั้นอสัญญสัตตพรหม หรือพรหมลูกฟักค่ะ
ตายไปท่าไหนก็ไปผุดเป็นรูปพรหมท่านั้นตลอดไปจนกว่าจะหมดเวลานะคะ

และสัญญาเป็นเหตุใกล้ให้สติเกิดค่ะ

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

รูปภาพ
วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
16 กันยายน
ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนเก่ง

อยากรู้ ให้เรียน

อยากเก่ง ให้ฝึก

อยากจำแม่น ให้สนใจ

อยากทำถูก ให้ตรวจทาน

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

เชิญท่องกันต่อไปนะคะ :b27:
-มรรคจิต 4 หรือ 20
-ผลจิต 4 หรือ 20
รวมเป็นโลกุตตรจิต 8 หรือ 40


ตามธรรมดาทั่วไปนั้นเวลาทำกุศลสำเร็จลงเรียบร้อยแล้ว วิปากจะไม่ส่งผลทันทีทันใด จะมีระยะเวลา
เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเร็วก็ภายในเจ็ดวัน เช่นการใ่ส่บาตรพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ที่เพิ่งออกมาจาก
นิโรธสมาบัติ คนที่ใส่บาตรก็จะรวยภายใน 7 วัน ถ้าเป็นกุศลอื่นๆ ทั่วๆ ไป ก็จะเป็นวิปากของชาติต่อไป
เป็นส่วนใหญ่ คือ กว่าจะได้รับวิปากก็ชาติหน้า หรือชาติที่3 นับจากชาติที่ทำกุศลจนถึงชาติสุดท้ายที่
บรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าจะเป็นผลของกุศลหรืออกุศลที่ทำในชาตินี้นั้นก็จะมาช่วยอุปถัมภ์เป็นต้น เช่นเมื่อใดที่คุณเป็นโรคร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง อกุศลที่ทำไว้ในชาตินี้ก็จะส่งผลเป็นวิปากมาช่วยกันซ้ำเติมให้เจ็บป่วยหนักขึ้นค่ะ

แต่มีกุศลประเภทหนึ่งที่ทำกุศลแล้วรับวิปากในขณะจิตต่อไปทันทีไม่มีระหว่างคั่น กุศลนั้นคือ มรรคจิต
มรรคจิตเป็นกุศลที่เป็นเหตุให้ผลจิตซึ่งเป็นวิปากเกิดในขณะจิตต่อไปทันทีเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น
เกิดสืบติดต่อกันทันทีไม่มีระหว่างคั่น มรรคจิตเป็นกุศลชนิดที่เป็นวิวัฏฏะ คือ ทำให้ภพชาติสั้นลงเช่น
โสดาปัตติมรรค พระโสดาบันบุคคลจะเกิดอย่างมากอีกไม่เกิน 7 ชาติ

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

เชิญคลิ๊กอ่าน วิภังคสูตรที่ ๘
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... /7nxqo.jpg


:b53: สรุป เรียงท่องไปตามนี้ค่ะ

-อกุศลจิต 12
-อเหตุกจิต 18
-กามาวจรโสภณจิต 24
:b47: รวมเป็นกามาวจรจิต 54

-รูปาวจรจิต 15
-อรูปาวจรจิต 12
:b47: รวมเป็นมหัคคตจิต 27

-มรรคจิต 4 หรือ 20
-ผลจิต 4 หรือ 20
:b47: รวมเป็นโลกุตตรจิต 8 หรือ 40

-กามาวจรจิต 54
-มหัคคตจิต 27
-โลกุตตรจิต 8 หรือ 40
:b47: รวมเป็น จิต 89 หรือ 121 ดวง

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




จิ ต 89 หรือ 121 ดวง.jpg
จิ ต 89 หรือ 121 ดวง.jpg [ 281.44 KiB | เปิดดู 22460 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

O O O O
O O O O
โลภมูลจิต ๘
O O โทสมูลจิต ๒
O O โมหมูลจิต ๒

จิต 89 หรือ 121 ดวง
บาลีในกามาวจรจิต 54


แถวที่ 1
โสมนสฺส, สหคตํ
อุเปกฺขา, สหคตํ
แถวที่ 3
อสงฺขาริกํ
สสงฺขาริกํ
แถวที่ 2
ทิฏฺฐิคต, สมปยุตฺตํ
ทิฏฺฐิคต, วิปฺปยุตฺตํ


โทมนสฺส, สหคตํ
ปฏิฆ, สมฺปยุตฺตํ

วิจิกิจฺฉา, สมฺปยุตฺตํ
อุทฺธจฺจ, สมฺปยุตฺตํ


ทุกฺข, สหคตํ
สุข, สหคตํ
จกฺขุวิญฺญาณนํ
โสตวิญฺญาณนํ
ฆานวิญฺญาณนํ
ชิวฺหาวิญฺญาณนํ
กายวิญฺญาณนํ

สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ
สนฺตีรณจิตฺตํ
ปญฺจทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
มโนทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
หสิตุปฺปาทจิตฺตํ

ญาณสมฺปยุตฺตํ
ญาณวิปฺปยุตฺตํ


:b44: วิธีท่อง
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่กระทู้ลุงหมาน viewtopic.php?f=66&t=45767
หน้าแรกโพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 14:13)

ขออธิบาย จิตดวงที่1 เป็นตัวอย่างให้พอเข้าใจค่ะ
โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
(แถวที่1 +แถวที่2 +แถวที่3)
อ่านว่า..... โสมะนัสสะ สะหะคะตัง ทิฏฐิ คะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง
แปลตรงตัวตามแถว จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
(แต่ภาษาบาลีเวลาแปลเป็นไทยก็จะคล้ายๆ กันกับการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยค่ะ)
ก็จะต้องคำท่องแปลว่า...จิตที่เกิดขึ้นโดย...ไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ...ประกอบด้วยความเห็นผิด

:b12: ขำๆ นะคะ คนเรานั้นเวลาความโลภเกิดมักจะมีเวทนาเป็นโสมนัส ซึ่งควรจะเป็นอุเปกขา บาปจะได้น้อยๆ ลง
ยามเมื่อเวลาทำกุศลแทนที่เวทนาจะเป็นโสมนัสจะได้กุศลเยอะๆ กลับดันเป็นอุเปกขา รู้สึกเฉยๆ เวลาทำบุญ
แต่พอทำฌานซึ่งเป็นกุศลที่สูงกว่า ก็กลับอยากได้อุเปกขาซึ่งเป็นระดับฌานสูงสุด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

OO OO - โส / ทิฏฐิ (สัม2ดวงแรก, วิป2ดวงหลัง) / อสงฺ, สสงฺ(สลับกัน)
OO OO - อุ / ทิฏฐิ (สัม2ดวงแรก, วิป2ดวงหลัง) / อสงฺ, สสงฺ(สลับกัน)

หรือ
๑ ๒ ๓ ๔...............๑ ๒ เป็นสัม ส่วน ๓ ๔ เป็นวิป / ๑ ๓ เป็นอสัง ส่วน ๒ ๔ เป็นสสัง
๕ ๖ ๗ ๘...............๕ ๖ เป็นสัม ส่วน ๗ ๘ เป็นวิป / ๕ ๗ เป็นอสัง ส่วน ๖ ๘ เป็นสสัง

:b48: เริ่มท่องแต่ละดวงดังต่อไปนี้ค่ะ
ท่อง
โลภมูลจิต 8
โทสมูลจิต 2
โมหมูลจิต 2
รวมเป็น อกุศลจิต 12


โลภมูลจิต 8 คือ

๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...ไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ.... ประกอบด้วยความเห็นผิด

๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...มีการชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ.... ประกอบด้วยความเห็นผิด

๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...ไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ.... ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด

๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...มีการชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ.... ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด

๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...ไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความเฉยๆ.... ประกอบด้วยความเห็นผิด

๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...มีการชักชวน พร้อมด้วยความเฉยๆ.... ประกอบด้วยความเห็นผิด

๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...ไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความเฉยๆ.... ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด

๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดย...มีการชักชวน พร้อมด้วยความเฉยๆ ....ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด


:b8: :b8: :b8:
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เตียมตัวจะเรียนพระอภิธรรมในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มีความสนใจจะท่องด้วยตนเองไปเรื่อยๆ ก่อนจะเข้าศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วๆ ไปค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

O O - อสงฺขาริกํ, สสงฺขาริกํ

:b48: ท่อง
โทสมูลจิต มี ๒ ดวง คือ


๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ

๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดขึ้นโดยมีการชักชวน พร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ

สักกปัญจกะที่ ๓
ฆัตวาสูตรที่ ๑

[๙๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วทรงถวายบังคม แล้วประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฯ
[๙๔๔] ท้าวสักกะจอมเทพประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อย
แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรแล้วสิจึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วสิจึงจะไม่
เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงชอบการฆ่าอะไร
อันเป็นธรรมอย่างเอกฯ
[๙๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธ
เสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ดูกรท้าววาสวะ พระอริยะเจ้า
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธอันมีรากเป็นพิษ
มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อม
ไม่เศร้าโศก ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 660&Z=7676

:b42:
เมตฺตมฺพุนา สโทโส จ ปรโทโส จ สมฺมติ
เมตฺตาเสเกน สพฺเพสุ สพฺพโตคฺคึ นิวารเย.
จตุรารกฺข คาถา ๖๒
ความโกรธของตนและผู้อื่น ย่อมสงบด้วยน้ำคือเมตตา
จึงควรดับไฟแห่งความโกรธในที่ทุกสถาน ด้วยการประพรมน้ำเมตตาในสรรพสัตว์

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:


ความโกรธนั้นมียอดหวานแต่มีรากเป็นพิษ โกรธแล้วได้ระบายออก ไปว่าใครไปด่าใครได้แล้วมันสะใจ
ได้ทำสิ่งที่ใจต้องการได้สะใจคือได้ไปด่าเค้า แต่เมื่อทำลงไปแล้ว อกุศลกรรมย่อมเกิดขึ้นจากโทสเหตุ มีรากเป็นพิษ แต่ก็ต้องยอมรับวิปากที่จะเกิดขึ้นภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น ผู้ที่ฉลาดจงควรยกระดับจิตของตนให้สูงขึ้นด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ด้วยการเจริญเมตตา

การไม่โกรธต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยเมตตา รักปรารถนาดีมีมิตรไมตรีต่อกันเอื้ออาทรกัน เหมือนดินที่ชุ่มน้ำ ต้นไม้ย่อมงอกงาม
พ่อแม่มีเมตตาต่อลูกหลาน ลูกหลานก็อยู่เป็นสุข สามีภรรยาอยู่กันอย่างเมตตาต่อกันย่อมเป็นสุข ฯลฯ
เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:



O O

:b48: ท่อง
โมหมูลจิต มี ๒ ดวง คือ


๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย

๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน





ลักษณะของจิต (หนังสืออภิธัมมาวตาร:ท่านพระพุทธทัตตเถระ รจนา)
ตตฺถ จิตฺตนฺติ วิสยวิชานนํ จิตฺตํ.

"ในบรรดาปรมัตถธรรมเหล่านั้น คำว่า จิต มีคำอธิบายว่า จิต คือ สภาวะรู้อารมณ์"
คำว่า สภาวะรู้อารมณ์ หมายถึง การรับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทางใจโดยผ่านทวารทั้ง ๖ คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ความจริงแล้วการเห็นก็คือการที่จิตรู้รูปโดยผ่านตา การได้ยินเป็นการที่จิตรู้้เสียงโดยผ่านหู การรู้กลิ่นเป็นการที่จิตรู้กลิ่นโดยผ่านจมูก การลิ้มรสเป็นการที่จิตรู้รสโดยผ่านลิ้น การสัมผัสเป็นการที่จิตรู้สัมผัสโดยผ่านร่างกาย และการรู้มโนสัมผัสเป็นการที่จิตรับรู้โดยผ่านใจ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

กาม (หนังสืออภิธัมมาวตาร:ท่านพระพุทธทัตตเถระ รจนา)

คำว่า กาม มีความหมาย ๒ ประการ คือ
-สภาวะรื่นรมย์ หมายถึง กิเลสกาม
-สิ่งที่ถูกรื่นรมย์ หมายถึง วัตถุกาม

ยสฺมึ ปน ปเทเส โส กาโมยํ ทุวิโธปิ จ
สมฺปตฺตีนํ วเสนาว- จรตีติ จ โส ปน.

ปเทโส จตุปายานํ ฉนฺนํ เทวานเมว จ
มนุสฺสานํ วเสเนว เอกาทสวิโธ ปน.

"กามทั้งสองนั้นย่อมเป็นไปโดยเนื่องกับการประชุมกัน [โดยความเป็นอารมณ์และสิ่งที่รับอารมณ์]
ในสถานที่ใด สถานที่นั้นมี ๑๑ ประเภท คือ อบายภูมิ๔ มนุษย์โลก๑ เทวโลก๖"

กาโมวจรตีเตตฺถ กามาวจรสัญฺญิโต
อสฺสาภิลกฺขิตตฺตา หิ สสตฺถาวจโร วิย.

"กิเลสกามและวัตถุกามย่อมหลั่งลงเป็นไปในภูมินี้ เหตุนั้นภูมินั้นชื่อว่า กามาวจร
เพราะกามทั้งสองปรากฏชัด(ในภูมิดังกล่าว) เหมือนสถานที่ดำเนินไปของบุรุษผู้มีศาสตรา"

[แม้ธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นต้นจะมีได้ในกามาวจรภูมิ แต่ไม่เรียกธรรมเหล่านั้นว่า กามาวจร
(สภาพที่เป็นที่หยั่งลงเป็นไปของกิเลสกามและวัตถุกาม) เพราะกามทั้งสองปรากฏชัดในกามาวจรภูมินี้
เหมือนสถานที่ดำเนินไปของบุรุษผู้มีศาสตรา แม้จะมีสัตว์สองเท้าหรือสี่เท้าอยู่บ้างก็เรียกอย่างนั้น
เพราะปรากฏชัดด้วยบุรุษผู้มีศาสตรา]

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

เหตุใดโลกทุกวันนี้จึงรุ่มร้อน
โดย คณะสหายธรรม


ถาม เพราะเหตุใดโลกทุกวันนี้จึงรุ่มร้อน มีแต่จะแก่งแย่งชิงดีกัน รบราฆ่าฟันกันตลอดเวลา แม้ธรรมชาติก็พลอยเป็นใจ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือเวลาตกก็ตกเสียจนเกินพอดีจนน้ำท่วมเป็นต้น ผู้คนล้มตายกันทีละมากๆ ด้วยภัยนานาประการ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ตอบ ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อใดที่คนในโลกเป็นคนมีศีลธรรม โลกนี้ก็สงบร่มเย็นเป็นสุข แม้ธรรมชาติก็อำนวยแต่ประโยชน์สุขทุกอย่าง แต่เมื่อใดที่คนในโลกมีอกุศลหนาแน่น เมื่อนั้นโลกนี้ก็จะร้อนเป็นไฟด้วยอำนาจของอกุศล ทำให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันทั่วไป และเมื่อถึงกลียุค คนก็จะเห็นกันว่าเป็นสัตว์ ไม่คำนึงว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่เป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติมิตร จะจับอาวุธเข้าฆ่าฟันกัน

ดังที่ผู้ใหญ่ท่านเรียกว่าเป็นแดนมิคสัญญี ปัจจุบันนี้ก็เริ่มๆ จะใกล้ยุคนั้นเข้ามาแล้ว เพราะดูผู้คนโหดเหี้ยมผิดปกติ แม้แม่ก็ฆ่าลูกได้ง่ายๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของกิเลสอกุศลไปได้ เพราะยิ่งกิเลสหนาแน่นเท่าไร ผู้คนก็ขาดศีลธรรมมากขึ้นเท่านั้น เมื่อผู้ใดไม่มีศีลธรรม สิ่งร้ายๆ ทั้งหลายก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แม้ธรรมชาติก็พลอยซ้ำเติมให้ทุกข์ยากลำบากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะอกุศลวิบากของคนเหล่านั้น จึงทำให้ได้รับแต่สิ่งที่ไม่เจริญใจ จะนับว่าเป็นกาลวิบัติก็เห็นจะไม่ผิด เพราะทุกอย่างแทบจะวิบัติไปหมดสิ้น

สรุปว่าไม่ว่าคนหรือธรรมชาติที่ผิดปกติอยู่ทุกวันนี้ เพราะผู้คนในปัจจุบันส่วนใหญ่มีอกุศลหนาแน่นนั่นเอง


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

จากหนังสือ ปริจเฉทที่ ๑ - ๒ - ๖
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย แม้มีอวัยวะครบบริบูรณ์แล้วก็ตาม ถ้าขาดนามธรรม คือ จิต เจตสิก เสียแล้ว
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีความรู้สึก และไม่สามารถทำอะไรต่างๆ ได้ ไม่ต่างอะไรจากรูปปั้น
และในบรรดาจิต เจตสิกทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นธรรมชาติที่จะต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รับอารมณ์เดียวกัน
และอาศัยวัตถุที่เกิดอันเดียวกัน จะแยกจากกันไม่ได้ อุปมาเหมือนหนึ่งเครื่องจักรที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า
ถ้ามีแต่เครื่องจักรนั้น ไม่อาจสามารถทำงานได้ และเครื่องจักรที่ทำงานอยู่โดยอาศัยสายไฟฟ้านั้น
ในสายไฟฟ้าก็จะต้องประกอบด้วยสาย ๒ สายร่วมอยู่ด้วยกัน ถ้าขาดสายใดสายหนึ่งไปแล้ว เครื่องจักร
นั้นก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เพื่อที่จะให้บัณฑิตทั้งหลายได้รู้ถึงความเป็นไปตามสภาวะ
ของจิต เจตสิกนั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

แปลกใจหรือไม่คะ ว่าทำไมจึงมีคำว่า มูล อยู่ในจิตกลุ่มนี้
โลภมูลจิต 8
โทสมูลจิต 2
โมหมูลจิต 2
....................รวมเป็น อกุศลจิต 12

ทำไมจึงมีคำว่า มูล อยู่ในจิตกลุ่มนี้ ก็เพราะว่า คำว่า มูล นี้หมายถึง รากเหง้า หรือ เหตุ
ซึ่งคำว่ามูลนี้ เป็นตัวเจตสิกนั่นเอง เป็นการบอกให้รู้ว่า จิตพวกนี้มีตัวมูลที่เป็นเจตสิกประกอบอยู่ค่ะ
ในคัมภีร์ปัฏฐานนั้น เหตุปัจจัย มีทั้งเหตุที่เป็นฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี
เหตุ หรือ รากเหง้าของฝ่ายดีมี ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
ทั้ง ๓ เหตุนี้เป็นเจตสิกที่จะประกอบกับจิตที่เป็น กุศล วิปาก และกิริยา
ส่วนรากเหง้าของฝ่ายไม่ดี ก็มี ๓ เหตุเช่นกันคือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
ซึ่งทั้ง ๓ เหตุนี้ เป็นเจตสิกที่ประกอบเฉพาะกับอกุศลจิตเท่านั้น คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก
โลภเหตุ ก็ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ประกอบกับ โลภมูลจิต ๘
โทสเหตุ ก็ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ประกอบกับ โทสมูลจิต ๒
โมหเหตุ ก็ได้แก่ โมหเจตสิก ประกอบกับ อกุศลจิตทั้ง ๑๒ ทั้งหมดค่ะ

โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก ก็คือ อกุศลมูล ๓ นั่นเอง

สรุป
โลภมูลจิต ๘ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ และุ โมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุคือ โทสเหตุ และ โมหเหตุ
โมหมูลจิต ๒ มี ๑ เหตุ มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
ดังนั้น โมหเหตุก็ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมดเลย

ส่วนจิตที่ไม่มีเหตุ ก็คือ อเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ
เหตุทั้งฝ่ายดีและไม่ดีจะไม่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

โมหมูล
วินิจฉัยโดยสัมปโยค


[๔๗] แม้โมหมูลจิตก็เป็น ๒ อย่าง คือ
(๑) สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา,
(๒) สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ

บรรดาธรรมเหล่านี้ ธรรมชื่อว่า วิจิกิจฉา โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ปราศจากการเยียวยา. วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ, มีความหวั่นไหวเป็นรส, มีความไม่ตกลงใจเป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความไม่เป็นส่วนเดียวเป็นปัจจุปัฏฐาน, มีการไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นปทัฏฐาน. วิจิกิจฉานี้พึงเห็นว่า เป็นธรรมชาติทำอันตรายแก่การปฏิบัติ.

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ลักษณะของจิต (หนังสืออภิธัมมาวตาร:ท่านพระพุทธทัตตเถระ รจนา)
ตตฺถ จิตฺตนฺติ วิสยวิชานนํ จิตฺตํ.
"ในบรรดาปรมัตถธรรมเหล่านั้น คำว่า จิต มีคำอธิบายว่า จิต คือ สภาวะรู้อารมณ์"
คำว่า สภาวะรู้อารมณ์ หมายถึง การรับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทางใจโดยผ่านทวารทั้ง ๖ คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ความจริงแล้วการเห็นก็คือการที่จิตรู้รูปโดยผ่านตา การได้ยินเป็นการที่จิตรู้้เสียงโดยผ่านหู การรู้กลิ่นเป็นการที่จิตรู้กลิ่นโดยผ่านจมูก การลิ้มรสเป็นการที่จิตรู้รสโดยผ่านลิ้น การสัมผัสเป็นการที่จิตรู้สัมผัสโดยผ่านร่างกาย และการรู้มโนสัมผัสเป็นการที่จิตรับรู้โดยผ่านใจ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อเหตุกจิต ๑๘ (อ่านว่า อะ เห ตุ กะ)

0 0 0 0 0 0 0 ...............อกุศลวิปากจิต
0 0 0 0 0 0 0 0 ............อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘
0 0 0 ..........................อเหตุกกริยาจิต ๓

(วิปากจิต อ่านว่า วิ ปา กะ จิต)

:b48: ท่อง

อเหตุกจิต 18 คือ
- อกุศลวิปากจิต 7
- อเหตุกกุศลวิปากจิต 8
- อเหตุกกริยาจิต 3

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ทำไมจึงไม่มีคำว่า อเหตุกะ นำหน้า อกุศลวิปากจิต ๗ ก็เพราะว่า อกุศลวิปากนั้นมีแค่ตรงกลุ่มอเหตุกะนี้เท่านั้นในจิตทั้งหมด จึงเรียกโดยไม่ต้องเน้นว่าจิตเหล่านี้เป็นอเหตุกะ ส่วนอเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ นั้นจำเป็นต้องเน้นว่าเป็นวิปากที่อยู่ในกลุ่มใด เพราะจะมี มหาวิปากจิต ๘ เป็นต้นซึ่งก็จัดอยู่ในชาติวิปากเหมือนกัน จึงต้องระบุกุศลวิปากจิต ๘ ในกลุ่มนี้ว่าเป็นอเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ ค่ะ

อกุศลวิปากจิต ๗ นี้เป็นผลของอกุศลจิต ๑๒ ที่เคยทำไว้ในอดีต ดังนั้นในขณะปัจจุบันนี้เมื่อใดที่เรากระทำอกุศลกรรมสำเร็จลงแล้ว ด้วยการกระทำทางกาย วาจา ใจ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทำครบทั้ง ๓ ทางเป็นต้น ในการกระทำอกุศลกรรมนั้นๆ เราย่อมสมควรได้รับผลตอบแทนจากเหตุธรรมที่ทำไว้แล้วนี้ในอนาคตข้างหน้า และในขณะนี้หากเรามีความทุกข์กายหรือทุกข์ใจที่เกิดขึ้นจากการรับอารมณ์ที่ไม่ดีทางตา หู จมูก ลิ้นเป็นต้น ก็ให้รู้ว่าเราเคยทำอกุศลกรรมไว้ในกาลก่อน เมื่อใดได้รับความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์ใจอย่างเดียวเกิดขึ้นจากอารมณ์เหล่านั้น นั่นก็คือเราสมควรได้รับแล้วตามเหตุธรรมที่เราทำไว้ในกาลก่อนและจะต้องยอมรับกรรมเมื่อวิปากเกิดขึ้นแล้ว อกุศลวิปากมีแค่ ๗ ดวงเองแต่อานุภาพร้ายแรง ทำให้เกิดเรื่องราวเดือดร้อนมากมายในชีวิตของแต่ละคน

และในทางตรงกันข้าม หากขณะนี้เรามีการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นที่ดีเป็นต้น ทำให้เราได้รับความสุขทางใจบ้าง หรือมีความสุขทั้งทางกายทางใจบ้าง เป็นต้นนั้น ก็เป็นผลมาจากกุศลคือมหากุศลจิต ๘ ที่เราเคยทำไว้ในกาลก่อนที่เป็นอดีตค่ะ

กรรมใหม่นั้นเกิดขึ้นในชวนะจิต ส่วนกรรมเก่านั้นก็รับผลทางอัชฌัตติกายตนะคืออายตนะภายในตัวเราค่ะ

ผลของกุศลนั้น คนทั่วไปมักคิดว่า มีแค่วิปากจิตเท่านั้น แต่ในความจริงนั้น ผลของกุศลมีทั้ง วิปากจิต และกิริยาจิตค่ะ วิปากจิตนั้นเป็นผลของกุศลที่ทำให้ภพชาติเกิดขึ้น ส่วนกริยาจิตนั้นเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น ไม่เป็นบุญเป็นบาปไม่ทำให้ภพชาติเกิดค่ะ เหมือนต้นไม้ที่ไม่ออกผล

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2016, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

อเหตุกจิต ๑๘ (อ่านว่า อะเหตุกะ)

[0 0 0 0 0] 0 0 ...............อกุศลวิปากจิต
[0 0 0 0 0] 0 0 0 ............อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘
0 0 0 ..........................อเหตุกกริยาจิต ๓

เราจะท่องควบไปเลยนะคะ ใน ๑๐ ดวงนี้ [ ในวงเล็บ ] ทั้ง อกุศล(ที่ไม่ดี) และ กุศล(ที่ดี)
โสต ฆาน กาย ให้ท่องว่า โสตะ ฆานะ กายะ

:b48: ท่อง

อกุศลวิปากจิต 7 และ อเหตุกกุศลวิปากจิต 8 คือ

อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยจักขุวัตถุ เห็นรูปารมณ์ที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ

อุเปกขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยโสตวัตถุ ได้ยินเสียงที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ

อุเปกขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยฆานวัตถุ รู้กลิ่นที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ

อุเปกขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยชิวหาวัตถุ รู้รสที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ

ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยกายวัตถุ รู้สึกโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยทุกขเวทนา

สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
จิตที่อาศัยกายวัตถุ รู้สึกโผฏฐัพพารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยสุขเวทนา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ถ้าสนใจจะเรียนพระอภิธรรม ขอแนะนำให้ท่อง จิต 89/121 ดวง ในกระทู้นี้ไว้ล่วงหน้าได้เลยค่ะ
เพราะถ้าไปเรียนเมื่อไร ต้องได้ท่องแน่ๆ และจะต้องท่องให้ได้ด้วยค่ะ

:b53: ปุกาด ปุกาด โปรดแซ่บ แวะมาบอกกัน เพื่อใครเข้ามาส่อง
ประกาศ โปรดทราบค่ะ ว่า สิ่งที่นำมาทำกระทู้นี้ ไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเองนะคะ
แต่นำมาจากตำราเรียน การเรียนการสอน ของพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านสอนกันมาค่ะ
ปัญญาอันน้อยนิดของอิฉันไม่สามารถทำการวิจัยใหม่หรอกค่ะ
อะไรที่พูดที่บอกออกมา ก็เอามาจากครูอาจารย์สอน เพื่อให้เข้าใจพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงทั้งนั้น
บอกเลย ตายมาแล้วเท่าไหร่ เสียน้ำตามามากสักกี่ครั้ง ดีใจมาแล้วก็เยอะฯ แต่ไม่เคยค้นคิดอะไรได้เองเลย
ที่ทำได้ทุกวันนี้ เพราะฟังพระธรรม เรียนพระธรรม ดำเนินชีวิตตามทางที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เท่านั้นค่ะ

โปรดฟังอีกครั้ง ปัญญาอิฉันมีน้อยนิดค่ะ แต่อิฉันมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด พึ่งจริงๆเลยค่ะ
ไม่กล้าค้นคิดประดิษฐ์เองหรอกนะคะ อิฉัน ทำตาม พูดตาม คิดตาม ที่พึ่งอันสูงสุดเท่านั้นนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:56 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร