วันเวลาปัจจุบัน 12 พ.ย. 2024, 07:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 168 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภูญาณ

๓๑. โคตฺรภูจิตฺตํ นิพฺพานํ อาลมฺพิตฺวา ตโต ปรํ
ปุถุชฺชนโคตฺตํ อภิ ภวนฺตํ อริยตฺตนํ
สมฺโพชฺฌาวหนํ อภิ สมฺโภนฺตญฺจ ปวตฺตติ

เบื้องหน้าแต่นั้น โคตรภูจิตจึงหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ครอบงำเสียซึ่งโคตรปุถุชน บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคล อันนำมาซึ่งความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน

มีความหมายว่า เมื่อจิตของพระโยคีตั้งอยู่แล้วในอนุโลมญาณ ต่อจากนั้นก็ก้าวขึ้นสู่โคตรภูญาณ ทำหน้าที่โอนจากโคตรปุถุชน ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ไปสู่โคตรอริยชนที่ห่างไกลจากกิเลส กล่าวโดยวิถีจิต เมื่ออนุโลมชวนะ ซึ่งมีไตรลักษณ์ คือความเกิดดับแห่งรูปนามเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดโคตรภูจิต ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ นำมาซึ่งปัญญาที่รู้ยิ่งในสันติลักษณะ คือ พระนิพพาน ตามลำดับแห่งวิถีจิตที่ชื่อว่า มัคควิถี ดังภาพนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


มัคควิถี ของ มันทบุคคล ผู้รู้ช้า

..............กามชวนะมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔.............. อัปปนาชวนะโลกุตตรจิต ๘

น ท มโน ....... ...บริ อุป อนุ โค ...................................มัคค ผล ผล ...........ภ

มโน บริ อุป อนุ มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์
โค มัคค ผล ผล มีนิพพานเป็นอารมณ์

................อนุโลมญาณ ......โคตรภูญาณ ......มัคคญาณ ........ผลญาณ
น ท มโน ......บริ อุป อนุ ............โค ..............มัคค .............ผล ผล ..........ภ

มัคควิถีของติกขบุคคล ผู้มีปัญญาไว

............ กามชวนะ มหากุสลญาณสัม๔ .......อัปปนาชวนะ โลกุตตรจิต ๘
น ท มโน .........อุป อนุ .............................โค มัคค ผล ผล ผล ...............ภ

มโน อุป อนุ มีไตรลักษณ์แห่งรูปนาม
โค มัคค ผล ผล ผลมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นอารมณ์

.............อนุโลมญาณ .....โคตรภูญาณ......มัคคญาณ .. ........ผลญาณ
น ท มโน ....อุป อนุ .............โค ..............มัคค ...............ผล ผล ผล .........ภ

อักษรย่อ น=ภวังคจลนะ, ท=ภวังคุปัจเฉทะ, มโน=มโนทวาราวัชชนะ, บริ=บริกรรม, อุป=อุปจาระ, อนุ=อนุโลม, โค=โคตรภู, ภ=ภวังค

โคตรภูจิต แม้ว่าจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ยังปราบกิเลสให้เป็นสมุจเฉทไม่ได้ เพราะจิตยังเป็นโลกียจิตอยู่ หาใช่โลกุตตรจิตไม่ เหตุนี้จึงเรียกโคตรภูจิตว่าเป็น เอกวุฏฐาน คือ ออกได้แต่ส่วนเดียว ออกจากอารมณ์ที่เป็นสังขาร ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกียธรรม ไปมีอารมณ์เป็นโลกุตรธรรม คือ พระนิพพาน แต่อีกส่วนหนึ่งคือจิตยังหาได้ออกจากโลกียจิต เป็นโลกุตตรจิตไม่ ยังคงเป็นโลกียจิตอยู่ตามเดิม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคญาณ

๓๒. ตสฺเสวนนฺตรํ มคฺโค จตุสจฺจตฺถ สาธโก
ทุกฺขสจฺจ ปริชานํ ชหํ ทุกฺขสโมทยํ ฯ

๓๓. สจฺฉิ กุพฺพนฺโต นิโรธํ ตณฺหุ ปจฺเฉทนํ ปทํ
มคฺค สจฺจ วิภาวาย อปฺเปติ อปฺปนุตฺตมํ ฯ

ในลำดับแห่งโคตรภูจิตนั่นแหละ อริยมัคคจึงยังอรรถแห่งอริยสัจจ ๔ ให้สำเร็จ กำหนดรู้ทุกขสัจจ ๑ ละสมุทยสัจจ ๑ กระทำนิโรธสัจจ (อันเป็นธรรมเครื่องถึงความเข้าไปตัดตัณหา)ให้แจ้ง ๑ ย่อมถึงซึ่ง อัปปนาวิถี อันอุดมด้วยการเจริญ มัคคสัจจ ๑

อธิบายว่า มัคคญาณเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นในจิตที่มีชื่อว่ามัคคจิต ซึ่งเกิดต่อจากโคตรภู โดยอาศัยได้ปัจจัยจากโคตรภูจิต ดังที่ได้กล่าวแล้วในโคตรภูญาณข้างต้นนี้

มัคคญาณ มีนิพพานเป็นอารมณ์เช่นเดียวกับโคตรภูญาณ แต่จิตเป็นโลกุตตร จิต เพราะออกจากกิเลส พ้นจากกิเลส เหตุนี้มัคคญาณ จึงได้ชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน แปลว่า ออกทั้ง ๒ ข้าง คือ ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกีย และออกจากกิเลสด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปริวัฏฏ ๓ หมุนรอบทั้ง ๑๒ ประการในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ

๑. ทุกขสัจจ ได้แก่ รูปนามอันเป็นตัวทุกข์ ก็ได้กำหนดจนแจ้งว่า ทุกข์นี้มีอยู่จริง (สัจจญาณ), ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้(กิจจญาณ) และได้ทำการกำหนดจนรู้แจ้งในทุกข์แลัว (กตญาณ)

๒. สมุทยสัจจ ได้แก่ ตัณหา อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ได้กำหนดจนแจ้งว่า ตัณหานี้มีอยู่จริง
ตัณหานี้ควรละ และได้ทำการละตัณหาแล้ว

๓. นิโรธสัจจ ได้แก่ นิพพาน ซึ่งเป็นความดับสิ้นแห่งทุกข์ ก็ได้กำหนดจนแจ้งแล้วว่า ความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้มีจริง ธรรมที่ดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง และได้ทำการจนแจ้งในความดับสิ้นแห่งทุกข์แล้ว

๔. มัคคสัจจ ได้แก่ อัฏฐังคิกอริยมัคค คือ อริยมัคคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับสิ้นแห่งทุกข์นั้น ก็ได้กำหนดจนแจ้งแล้วว่า ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับสิ้นแห่งทุกข์นั้นมีจริง เป็นธรรมที่ควรเจริญ และก็ได้ดำเนินการจนเจริญเป็น สมังคี คือ พร้อมเพรียงกันเป็นอันดีแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


ปริวัฏฏ ๓ หมุนรอบทั้ง ๑๒ ประการนี้ ได้กล่าวมาแล้วในคู่มือปริจเฉทที่ ๗ นั้น ขอให้ดูทบทวน
ประกอบอีกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง มัคคญาณ คือ มัคคจิตนี้ มีกิจ ๔ ประการ ได้แก่

ปริญญากิจ สามารถรู้ทุกขสัจจ

ปหานกิจ สามารถประหาณ สมุทยสัจจ

สัจฉิกิริยกิจ สามารถเห็น นิโรธสัจจ และ

ภาวนากิจ สามารถเจริญอัฏฐังคิกมัคคจนเป็นสมังคี

กิจ ๔ ประการนี้ มีข้ออุปมาว่าเหมือนประทีป ซึ่งทำกิจ ๔ อย่างเหมือนกัน คือ ทำให้ไส้ไหม้
ประหาณความมืด แสดงความสว่าง และทำให้น้ำมันหมด

มัคคญาณ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้เรียกว่า ปฐมมัคค หรือ โสดาปัตติมัคคญาณ เป็นมัคคจิตดวงแรกที่เพิ่งเกิดขึ้นในสังสารวัฏฏของบุคคลนั้น และจะไม่เกิดซ้ำขึ้นอีกเลยจนกระทั่งดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน

แม้มัคคจิตจะเกิดเพียงขณะเดียว ก็สามารถประหาณกิเลสชนิดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานที่เรียกว่า อนุสยกิเลสได้เป็นสมุจเฉท สามารถปิดประตูอบายทั้ง ๔ ได้ ทั้งยังสามารถตัดวัฏฏะให้เกิดในกามสุคติอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติเท่านั้น ก็ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน รายละเอียดได้กล่าวแล้วในคู่มือปริจเฉทที่ ๑ นั้น จึงไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลญาณ

๓๔. เทฺว ตีณิ ผลจิตฺตานิ ปวตฺติตฺวา นรุชฺฌเร
ตโต ภวงฺค ปาโต ว ตมฺ ผลุปฺปตฺติโต ปรํ ฯ

๓๕. ภวงฺคนฺตุ วิจฺฉินฺทิตฺวา ปญฺจ ญาณานิ ตีณิ วา
ปจฺจเวกฺขณ ญาณานิ ปวตฺตนฺติ ยถารหํ
เยสํ อุปฺปตฺติยา เจส ผลปฺปตฺตาริโย มุนิ ฯ

ผลจิตเป็นไป ๒-๓ ขณะแล้วย่อมดับไป แต่นั้นจึงเป็นภวังคบาต (ปาต=ตก) ก็อริยะนักปราชญ์นี้บรรลุซึ่งอริยผล เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งผลจิตใด เบื้องหน้าแต่ความบังเกิดขึ้นแห่งผลจิตนั้น ญาณ ๕ หรือปัจจเวกขณญาณ ๓ จึงตัดกระแส ภวังคขาดแล้ว ย่อมเป็นไปตามควร

มีความหมายว่า เมื่อมัคคญาณ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้นขณะจิตหนึ่ง ทำการประหารกิเลสให้สิ้นไป ตามควรแก่อำนาจแห่งมัคคนั้นแล้ว ก็ดับลงและเป็นปัจจัยให้เกิดผลญาณ ซึ่งได้แก่ ผลจิตเกิดติดตามขึ้นมาในทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น ดังนั้นจึงเรียกว่า อกาลิโก

ผลญาณนี้เป็นวิบากจิต เสวยวิมุตติสุข ตามที่มัคคจิตได้ทำไว้ให้แล้ว ถ้าเป็นผู้ที่ตรัสรู้ช้าที่เรียกว่า มันทบุคคล ผลจิตก็เกิดเพียง ๒ ขณะ ถ้าปัญญาไวตรัสรู้เร็ว เป็น ติกขบุคคล ผลจิตก็เกิดถึง ๓ ขณะ

ผลจิตที่เกิดภายหลัง ปฐมมัคคนี้ เรียกว่า โสดาปัตติผลจิต เป็นโสดาปัตติผลบุคคล หรือพระโสดาบัน มีภพชาติที่จะเป็นไปในกามสุคติภูมิอีก ๗ ชาติ เป็นอย่างช้า ก็จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือเข้าสู่ปรินิพพาน

เมื่อผลจิตเกิดครบถ้วนตามจำนวนที่ควรเกิด (คือ ๒ หรือ ๓ ขณะ) แล้วก็เป็นอันสิ้นสุดวิถีจิตที่เรียกว่า มัคควิถี ซึ่งวิถีนี้มี อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ และผลญาณ รวม ๔ ญาณด้วยกัน ครั้นจบมัคควิถีแล้วก็เป็นภวังคตามควร จึงเป็น ปัจจเวกขณญาณต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณญาณ

๓๖. มคฺคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต
ปหีเน เกฺลส เสเส จ ปจฺจเวกฺขนฺติ วา น วา ฯ

บัณฑิต ย่อมพิจารณาซึ่ง มัคคธรรม ผลธรรม นิพพานธรรมแน่นอน แต่พระอริยบุคคลบ้างก็พิจารณา บ้างก็ไม่พิจารณา ซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันตนละแล้ว และที่ยังคงเหลืออยู่
คำว่า บัณฑิต ในที่นี้หมายเฉพาะพระอริยเจ้าเท่านั้น
เมื่อมัคควิถีสิ้นสุดลง และมีภวังคตามสมควรแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีติดต่อกันไป เพื่อทำหน้าที่พิจารณา มัคค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่ รวมพิจารณา ๕ ประการด้วยกัน
ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาให้รู้เห็นตามสภาพธรรมที่เป็นจริงนี้ เป็นมโนทวารวิถี มีมโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตนำวิถี แล้วมหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระเสกขบุคคล หรือ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระอเสกขบุคคล ดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดทำกิจชวนะ ๗ ขณะ พิจารณาให้เกิดปัจจเวกขณญาณ

ก. ให้แจ้งในมัคคจิตที่ตนได้ประสบมาเมื่อกี้นี้อย่างหนึ่ง
ข. ให้แจ้งในผลจิตอย่างหนึ่ง
ค. ให้แจ้งในพระนิพพานอย่างหนึ่ง
ง. ให้แจ้งในกิเลสที่ละแล้วอย่างหนึ่ง
จ. ให้แจ้งในกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่อย่างหนึ่ง

การพิจารณา มัคค ผล นิพพาน รวม ๓ ประการนี้ จะต้องมีแน่นอน ส่วนลำดับแห่งการพิจารณานั้น ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ว่าจะต้องพิจารณา มัคคก่อน หรือผลก่อน หรือนิพพานก่อน จะพิจารณาอะไรก่อนก็ได้
แต่ข้อสำคัญนั้นต้อง พิจารณาครบทั้ง ๓ ประการนี้ อย่างแน่นอน

สำหรับการพิจารณากิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่รวม ๒ ประการนี้ จะพิจารณาได้เฉพาะพระอริยเจ้าที่ได้ศึกษาพระปริยัติ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระปริยัติก็ไม่มีความรู้พอที่จะพิจารณาได้ ดังนั้นการพิจารณา ๒ ประการหลังนี้ จึงกล่าวว่าไม่แน่นอน บ้างก็พิจารณา บ้างก็ไม่พิจารณา

อนึ่งการพิจารณากิเลสที่ยังคงเหลือนั้นเฉพาะผู้ที่บรรลุมัคคจิตครั้งที่ ๔ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมีการพิจารณา เพราะพระอรหันต์ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย จึงคงพิจารณาเพียง ๔ ประการ คือ มัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่ละแล้วเท่านั้น

รวมปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถีนั้น ถ้าคิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็ได้ ๑๙ ประการ คือ
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี มี ๕ ประการ
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี มี ๕ ประการ
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี มี ๕ ประการ
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี มี ๔ ประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคญาณและผลญาณเบื้องต้น

ในวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ที่กล่าวมาแล้วนี้ แสดงถึงการเกิดขึ้นของมัคคญาณเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่า โสดาปัตติมัคคญาณ หรือ ปฐมมัคค เท่านั้น ยังมีมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบนอีก ดังมีคาถาที่ ๓๗ แสดงว่า

๓๗. ฉพฺพิ สุทฺธิกฺกเมเนวํ ภาเวตพฺโพ จตุพฺพิโธ
ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ

อริยมัคคทั้ง ๔ จะพึงมีขึ้นโดยต่อจากลำดับแห่งวิสุทธิทั้ง ๖ นี้ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ
ได้กล่าวมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้วว่า ญาณทัสสนวิสุทธินั้น ได้แก่ มัคคญาณโดยตรงแต่ญาณเดียวเท่านี้เอง และมัคคญาณก็มีถึง ๔ ขั้น คือ

๑. ปฐมมัคค ได้แก่ โสดาปัตติมัคคญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดโสดาปัตติผลญาณ โดยไม่มีระหว่างคั่น สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

๒. ทุติยมัคค ได้แก่ สกทาคามิมัคคญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสกทาคามิผลญาณ โดยไม่มีระหว่างคั่น สำเร็จเป็นพระสกทาคามี

๓. ตติยมัคค ได้แก่ อนาคามิมัคคญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดอนาคามิผลญาณ โดยไม่มีระหว่างคั่น สำเร็จเป็นพระอนาคามี

๔. จตุตถมัคค ได้แก่ อรหัตตมัคคญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดอรหัตตผลญาณ โดยไม่มีระหว่างคั่น สำเร็จเป็นพระอรหันต์

มัคคญาณทั้ง ๔ นี้เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๗ ซึ่งเป็นลำดับสุดท้ายนี้ย่อมเกิดขึ้นภายหลังจากปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๖

บัดนี้จะได้กล่าวถึงการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุถึงมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบน ๆ นั้นต่อไป

ผู้ที่ผ่านปฐมมัคคเป็นพระโสดาบันแล้ว เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้บรรลุมัคคเบื้องบน คือ ทุติยมัคค เป็นพระสกทาคามีต่อไปนั้น ให้เริ่มกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ความเกิดดับของรูปนามตามนัยแห่งอุทยัพพยญาณ อันเป็นวิปัสสนาญาณต้นแห่งวิปัสสนาญาณ ๙ นั้นทีเดียว ต่อจากนั้นก็กำหนดพิจารณาไปตามลำดับญาณ จนกว่าจะบรรลุถึงมัคคญาณ ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ อันเป็นญาณสุดท้าย

ผู้ที่ผ่านทุติยมัคคเป็นพระสกทาคามีแล้วก็ดี ผู้ที่ผ่านตติยมัคคเป็นพระอนาคามีแล้วก็ดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุมัคคเบื้องบน ก็ให้ถึงเริ่มต้นที่อุทยัพพยญาณ เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวถึงวิถีจิต มัคควิถีของพระโสดาบัน ที่บรรลุสกทาคามิมัคคก็ดี มัคควิถีของพระสกทาคามีที่บรรลุถึง อนาคามิมัคคก็ดี และมัคควิถีของพระอนาคามีที่บรรลุถึง อรหัตตมัคคก็ดี เหมือนกับมัคควิถีของติเหตุกบุคคลที่บรรลุโสดาปัตติมัคค ดังที่ได้แสดงไว้ข้างต้น (หน้า ๑๑๙-๑๒๐) นั้นทุกประการ ผิดกันนิดหนึ่งตรงที่ว่า โคตรภูนั้นไม่เรียก โคตรภู แต่เรียกว่า โวทาน เท่านั้นเอง

ที่ไม่เรียก โคตรภู เพราะไม่ต้องเปลี่ยนโคตรใหม่ ด้วยว่าเป็นโคตรอริยเหมือนกันอยู่แล้ว และที่เรียก โวทาน ซึ่งแปลว่า บริสุทธิ หรือผ่องแผ้วนั้น มีความหมายว่า พระสกทาคามีมีธรรมที่บริสุทธิกว่า ผ่องแผ้วกว่า พระโสดาบัน พระอนาคามี ก็มีธรรมที่บริสุทธิยิ่งกว่า ผ่องแผ้วยิ่งกว่าพระสกทาคามี ส่วนพระอรหันต์นั้น เป็นผู้ที่ขาวสะอาดบริสุทธิหมดจดผ่องแผ้วด้วยประการทั้งปวง

อนึ่ง ข้อความที่ว่าผู้เจริญเพื่อให้บรรลุมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบนให้เริ่มที่ อุทยัพพยญาณทีเดียวนั้น เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่ผ่านปฐมมัคคแล้ว เป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ที่มั่นในสีล ๕ แน่นอน จึงชื่อว่าเป็นผู้มีสีลวิสุทธิแล้ว เป็นผู้มีสมาธิดีแล้ว จึงผ่านญาณต่าง ๆ มาได้โดยตลอดรอดฝั่ง จึงได้ชื่อว่ามี จิตตวิสุทธิแล้ว

เป็นผู้ที่ได้ผ่าน นามรูปปริจเฉทญาณมาแล้ว เคยประจักษ์แจ้งในรูปนามมาแล้ว จึงได้ชื่อว่ามี ทิฏฐิวิสุทธิ แล้ว

เป็นผู้ที่ได้ผ่าน ปัจจยปริคคหญาณมาแล้ว รู้แจ้งในปัจจัยที่ให้เกิดรูปเกิดนามมาแล้ว หมดความสงสัยในรูปนาม หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ แล้ว

ทั้งยังได้ผ่าน สัมมสนญาณ ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์ โดยเห็นความเกิดของรูปนาม จึงอาศัยจินตาญาณทำให้รู้ว่ารูปนามก่อนนั้นดับไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนเดียวในการเห็นทั้งความเกิดและความดับ ญาณนี้จึงได้ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นญาณที่ไตร่ตรองว่าใช่ทางที่ชอบ หรือมิใช่กันแน่

ดังนั้นจึงให้เริ่มที่ อุทยัพพยญาณ อันเป็นญาณต้นที่ตัดสินได้เด็ดขาดแล้วว่า นี่เป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ นี่เป็นทางปฏิบัติอันถูกต้องแล้วที่จะให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ที่ตัดสินได้เด็ดขาด เช่นนี้เพราะ

๑. อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ปราศจากความวิปลาสคลาดคลื่อนแล้ว
๒. เป็นญาณที่ไม่ได้อาศัยปริยัติมาเป็นเครื่องให้รู้ แต่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากปฏิปทา คือ การปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างแท้จริง
๓. เป็นญาณที่ประจักษ์ในขณะเกิดขณะดับ อย่างที่เราเรียก รู้ทันปัจจุบัน ไม่ได้อาศัยกาลเวลาอย่างสัมมสนญาณมาเป็นเครื่องให้รู้
๔. เป็นญาณที่รู้แจ้งชัดจริงอย่างที่เรียกว่า ประจักขสิทธิ โดยไม่ได้อาศัยจินตาญาณอย่างสัมมสนญาณ
๕. เป็นญาณต้นของวิปัสสนาญาณในชั้นโลกีย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสที่พระอริยประหาณ

กิเลส คือธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อเกิดพร้อมกับนามธรรมรูปธรรมใด ก็ทำให้นามธรรมและรูปธรรมนั้น ๆ เศร้าหมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสจัดได้เป็น ๓ ขั้น คือ

ก. วิติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่ก้าวล่วงออกมาถึงภายนอก ก้าวล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา จนถึงกับลงมือกระทำการด้วยกาย ด้วยวาจาตามอำนาจแห่งกิเลส นั้น ๆ แล้ว วิติกกมกิเลสนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลวิสุทธิ อันเป็นการระงับยับยั้งไว้ได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะที่ยังคงรักษาสีลนั้นๆ อยู่ การระงับยับยั้งเช่นนี้ เรียกว่า
ตทังคปหาน เป็นการยับยั้งไว้ได้ชั่วขณะ จิตที่ยังเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านั้นก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกายทุจจริต หรือ วจีทุจจริตได้ในขณะนั้น

ข. ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสที่ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจแล้ว เกิดขึ้นในมโนทวาร คือ คิดอยู่ในใจ แต่ไม่ถึงกับก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา ตัวเองย่อมรู้ว่ากิเลสนั้น ๆ เกิดขึ้นในใจแล้ว ส่วนผู้อื่นนั้นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ ปริยุฏฐานกิเลส ข่มไว้ได้ด้วยจิตตวิสุทธิ อันหมายถึง สมาธิ คือ ฌาน การระงับด้วยการข่มไว้เช่นนี้เรียกว่า วิขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

ค. อนุสยกิเลส มักจะเรียกกันว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจ ซึ่งผู้อื่นและแม้แต่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ อนุสยกิเลสนี้ต้องประหาณด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาในมัคคญาณ อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิต สามารถประหาณได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อโดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


การยับยั้ง การข่ม การประหาณนี้จัดได้เป็น ๕ ประการ เรียกว่าประหาณ ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕............................. วิมุตติ ๕ ............................ได้แก่
ตทังคปหาน (สีล).................ตทังควิมุตติ......................... พ้นชั่วคราว
วิขัมภนปหาน (สมาธิ)............วิขัมภนวิมุตติ.........................พ้นด้วยการข่มไว้
สมุจเฉทปหาน (มัคค)............สมุจเฉทวิมุตติ........................พ้นเด็ดขาด
ปฏิปัสสัทธิปหาน (ผล)...........ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ......................พ้นสนิท
นิสสรณปหาน (นิพพาน)........ นิสสรณวิมุตติ..........................พ้นเลย

พระอริยชั้นใด ประหาณกิเลสอะไรได้บ้างนั้น ดังนี้
กล่าวโดยอกุสลจิต ๑๒ พระโสดาบัน ประหาณ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่สัมปยุตตด้วย วิจิกิจฉา ๑ ดวง
พระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณอกุสลจิตที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉท เพิ่มขึ้นอีก เป็นแต่ได้กระทำให้อกุสลที่เหลือนั้นเบาบางลง ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน
พระอนาคามี ประหาณโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวงลงได้อีก
พระอรหันต์ ประหาณอกุสลจิตที่เหลืออีก ๕ ดวง คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นอุทธัจจสัมปยุตต อีก ๑ ดวง
กล่าวโดยอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น พระโสดาบัน ประหาณ ปาณาติปาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และมิจฉาทิฏฐิ
พระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณอกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีกเป็นแต่ได้กระทำอกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นให้เบาบางลงไป ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน
พระอนาคามี ประหาณ ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และพยาบาท ลงได้อีก
พระอรหันต์ ประหาณอกุสลกรรมบถที่เหลืออีก ๒ คือ สัมผัปปลาป และ อภิชฌา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสังโยชน์ ๑๐

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม...........................ตามนัยแห่งพระสูตร

พระโสดาบัน ประหาณ

ทิฏฐิสังโยชน์ ..........................................ทิฏฐิสังโยชน์
สีลัพพตปรามาส........................................สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉาสังโยชน์........................................วิจิกิจฉาสังโยชน์
อิสสาสังโยชน์
มัจฉริยสังโยชน์

พระอนาคามี ประหาณ
กามราคสังโยชน์ ........................................กามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ ...........................................ปฏิฆสังโยชน์

พระอรหันต์ ประหาณ
............................................................รูปราคสังโยชน์
ภวราคสังโยชน์ ..........................................อรูปราคสังโยชน์
มานสังโยชน์..............................................มานสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์ ..........................................อุจธัจจสังโยชน์
............................................................อวิชชาสังโยชน์

ส่วนพระสกทาคามี
ไม่ได้ประหาณสังโยชน์ที่เหลือจากพระโสดาบันนั้นเป็นสมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีก
เป็นแต่ได้กระทำให้สังโยชน์ที่เหลือนั้นเบาบางลง อย่างที่เรียกว่า ตนุกรปหาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

๑. พอเอ่ยคำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึง รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ซึ่งอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า

ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ

อันว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง และลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง
ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา

ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าใน อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้เข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น

วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม

แต่ว่า วิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน

ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน

ในฌานทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น

วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน

มัคคญาณที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณสำเร็จลง
ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม

ส่วนผลญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจ

๒. มีอธิบายความแตกต่างกันระหว่าง อารัมมณูปนิชฌาน กับลักขณูปนิชฌาน เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ คือ กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณ คือ บัญญัติ เป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌานนั้น วิปัสสนาญาณ มีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูป นาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์
มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพาน เป็นอารมณ์

กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหัคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ส่วน ลักขณูปนิชฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุสลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ผู้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง
สุกขวิปัสสกบุคคล นั้น เป็นผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน คือ พระอริยบุคคลจำพวกนี้ ไม่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิตมาแต่ก่อนเลย เริ่มเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวจนเป็นพระอริยบุคคล
ส่วน ฌานลาภีบุคคล นั้น หมายถึงผู้ที่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิต มีปฐมญานเป็นต้นมาก่อนแล้ว เป็นฌานลาภีบุคคลมาแล้ว จึงได้มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอีก จนเป็นพระอริยบุคคล

๔. ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ฌานแล้ว มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างไร จึงได้เป็นพระอริยบุคคล

๕. ฌานลาภีบุคคล ที่บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนเกิดมัคคจิต ผลจิตนั้น มีวิธีที่เจริญ
ภาวนาเป็น ๓ วิธี คือ

ก. ปาทกฌานวาท หมายถึง ถือการเข้าฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นแห่งการเจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ
ข. สัมมสิตฌานวาท หมายถึง ถือการพิจารณาฌานเป็นสำคัญ
ค. ปุคคลัชฌาสยวาท หมายถึง ถือความประสงค์ของฌานลาภีผู้เจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ

๖. ปาทกฌานวาท คือ ก่อนที่ฌานลาภีบุคคลจะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ได้เข้าฌานก่อน จะเป็นฌานชั้นใดก็แล้วแต่ ทั้งนี้เพื่อให้สมาธิมีกำลังดีขึ้น ฌานที่เข้าก่อนนี้เรียกว่า ปาทกฌาน เมื่อออกจากปาทกฌาน ก็พิจารณารูปนามต่อไปจนแจ้งไตรลักษณ์ และบรรลุถึงมัคคถึงผล ข้อที่สำคัญที่ปาทกฌาน ถ้าเข้าปฐมฌานเป็นปาทกฌาน มัคคจิตผลจิตที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ก็เรียกว่า ปฐมฌานโสดาปัตติมัคค
ปฐมฌานโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นปฐมฌานโสดาบันบุคคล

ถ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน เป็นปาทกฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นเป็นปฐมมัคค ก็เรียกไปตามขั้นของฌาน เช่น ทุติยฌานโสดาปัตติมัคค ตติยฌานโสดาปัตติมัคค เป็นต้น ทำนองเดียวกับปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตนั้น

แม้มัคคจิตผลจิตเบื้องสูง คือ สกทาคามิมัคค-ผล อนาคามิมัคค-ผล อรหัตตมัคค-ผล ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับปฐมมัคคจิตดังกล่าวแล้วนี้แหละ

ข้อสำคัญถือฌานที่เป็นปาทกฌานนั้นเป็นใหญ่ เมื่อออกจากปาทกฌานแล้ว จะพิจารณาองค์ฌานโดยความจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ได้ หรือจะพิจารณาสังขารธรรม รูปนามที่นอกจากองค์ฌาน โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ เพราะถือฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นนั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. สัมมสิตฌานวาท คือ ฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้น พิจารณาฌาน ที่ตนเคยได้มาแล้ว จะเป็นฌานชั้นใดก็ตาม พิจารณาฌานนั้น โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเข้าฌานก่อนก็ได้ หรือจะไม่เข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่ถือการเข้าฌานเป็นสำคัญ แต่ถือการพิจารณาฌานนั้นเป็นใหญ่ เช่น เข้าปัญจมฌาน ครั้นเวลาที่พิจารณาโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มาพิจารณาปฐมฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็น
ปฐมฌานมัคคจิต หาใช่ปัญจมฌานมัคคจิตไม่ โดยทำนองเดียวกัน เวลาเข้านั้น เข้าทุติยฌาน แต่เวลาพิจารณากลับไปพิจารณาจตุตถฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็น จตุตถฌานมัคคจิต

๘. บุคคลัชฌาสยวาท มุ่งหมายถึง ความปรารภ ความประสงค์ ความปรารถนา ของฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ เช่น ปรารภตติยฌานมัคคจิค ก็จะต้องเจริญภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ คือ

ก. ต้องเข้าตติยฌาน ซึ่งเป็นชั้นที่ตรงตามความประสงค์ของตน เมื่อออกจากตติยฌานแล้ว จะพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้
ข. จะไม่เข้า ตติยฌาน ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาองค์ฌานของตติยฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงจะตรงกับชั้นที่ตนปรารถนา
พิจารณาไปจนมัคคจิตเกิด มัคคจิตนั้นก็เป็น ตติยฌานมัคคจิต

๙. คัมภีรวิสุทธิมัคค ได้กล่าวถึงเรื่อง อริยมัคค ประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการไว้ว่า
ที่นี้จะจำแนกในพละสมาโยคะ คือ พระอริยมัคค อันประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการ จึงออกจาก นิมิต และปวัตติได้ กำลัง ๒ ประการนั้น คือ พระสมถพละ ๑ และพระวิปัสสนาพละ ๑ สมถพละนั้นคือ สมาธิ วิปัสสนาพละนั้นคือ ปัญญา
ขณะเมื่อพระโลกุตตรมัคคญาณบังเกิดนั้น พระสมถะกับพระวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จะยิ่งหย่อนกว่ากันอย่างโลกียภาวนา หาบมิได้

แท้จริงกาลเมื่อพระโยคาวจรเจ้า จำเริญโลกียสมาบัติทั้ง ๘ นั้น ยิ่งด้วยกำลังพระสมถะ กาลเมื่อพิจารณาสังขารธรรมด้วยอนิจจานุปัสสนา เป็นอาทินั้น ยิ่งด้วยกำลังพระวิปัสสนา ครั้นถึงขณะเมื่อพระอริยมัคคญาณบังเกิดนั้น กำลัง ๒ ประการ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกรสะ มีกิจเสมอกัน เหตุสภาวบมิได้ล่วงซึ่งกัน
เหตุดังนั้น อันว่ากิริยาอันประกอบด้วย พละทั้ง ๒ ประการ ก็มีในพระอริยมัคคญาณทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้

๑๐. ขอย้อนกลับมากล่าวถึงสุกขวิปัสสกบุคคล ผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน เป็นผู้ที่ไม่เคยได้เจริญสมถภาวนาจนบรรลุถึงฌานธรรมเลย บุคคลจำพวกนี้เวลาเจริญวิปัสสนาภาวนา จึงไม่สามารถกำหนดเพ่งฌานได้ ได้แต่กำหนดเพ่งรูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นเมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น ก็ย่อมบริบูรณ์และพร้อมมูล ด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ เหตุนี้จึงจัดว่าเป็น ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตเสมอไป

สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้น ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ

ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8261


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. พระอริยที่เป็นสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ นั้นมีจำนวนมากกว่า พระอริยที่เป็นฌานลาภีบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจโตวิมุตติ นั้นมากมาย ดังใน สังยุตตพระบาลี แสดงไว้ว่า

อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฎฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ
ภิกฺขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา

ดูกร สารีบุตร ในพระภิกษุ ๕๐๐ องค์, ๖๐ องค์ เป็นเตวิชชบุคคล, ๖๐ องค์เป็นฉฬาภิญญาบุคคล, ๖๐ องค์เป็นอุภโตภาควิมุตติบุคคล เหลือนอกนั้นทั้งหมดเป็นปัญญาวิมุตติบุคคล

ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลเพราะเห็นอนิจจัง และเพราะเห็นอนัตตามีมากกว่าผู้ที่เห็นทุกขัง เพราะผู้ที่เห็นทุกขังเป็นผู้ที่บุพพาธิการแต่ปางก่อนยิ่งด้วยสมาธิ

เตวิชชบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ผู้มีวิชา ๓ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และ อาสวักขยญาณ

ฉฬาภิญญาบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้มีอภิญญา หรือ วิชา ๖ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพพโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ

อุภโตภาควิมุตติบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้เป็นฌานลาภีบุคคลด้วย คือ มีฌานด้วย บ้างก็เรียกว่า เจโตวิมุตติบุคคล

ปัญญาวิมุตติบุคคล หมายถึง สุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ผู้แห้งแล้งจากฌาน ผู้ไม่ได้ฌาน

สรุป

สรุปความว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ เพื่อให้รู้แจ้งประจักษ์ซึ่งปรมัตถธรรมนั้น
กล่าวโดยภูมิ ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ก็มี ๖
กล่าวโดยญาณ ที่เรียกว่า โสฬสญาณ ก็มี ๑๖
กล่าวโดยความบริสุทธิ ที่เรียกว่า วิสุทธิ ก็มี ๗
กล่าวโดยบุคคล ที่เรียกว่า อริยบุคคล ก็มี ๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 168 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร