วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 168 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาภูมิ

๑. ขันธ์ ๕ ๒. อายตนะ ๑๒ ๓. ธาตุ ๑๘
๔. อินทรีย ๒๒ ๕. ปฏิจจสมุปปาท ๖. อริยสัจจ ๔

ญาณ ๑๖ วิสุทธิ ๗ ปรับเข้ากันได้ดังนี้

สีลวิสุทธิ จตุปาริสุทธิสีล
๑. ปาฏิโมกขสังวรสีล ให้ตั้งอยู่ในสีล
๒. อินทรียสังวรสีล สำรวมระวังอินทรียทั้ง ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีล มีความเป็นอยู่โดยบริสุทธิ
๔. ปัจจยสันนิสสิตสีล พิจารณาก่อนบริโภค

จิตตวิสุทธิ
ขณิกสมาธิ ไม่เผลอไปจากปัจจุบันธรรม

ทิฏฐิวิสุทธิ
นามรูปปริจเฉทญาณ กำหนดแจ้งในรูปและนาม
ละ สักกายทิฏฐิ เห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็น ญาตปริญญา

กังขาวิตรณวิสุทธิ
ปัจจยปริคคหญาณ รู้แจ้งปัจจัยแห่งรูปและนาม
ละ อเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดว่าไม่มีเหตุ
ละ วิสมเหตุกทิฏฐิ ยึดในเหตุที่ไม่เหมาะสม
ละ กังขามลทิฏฐิ หม่นหมองเพราะสงสัย
เป็น ญาตปริญญา

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
สัมมสนญาณ เห็นความเกิดของรูปนาม
ละสมูหัคคาหะ การยึดเรา ยึดเขา
เป็น ญาตปริญญา
ตรุณอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูปนาม
แต่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสมารบกวนอยู่
ละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่เข้าใจผิด
เป็น ตีรณปริญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
พลวอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูปและนาม
โดยปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว
ละ อุจเฉททิฏฐิ เห็นผิดว่าตายแล้วสูญ
เป็น ตีรณปริญญา
ภังคญาณ เห็นแต่ความดับของรูปนาม
ละ สัสสตทิฏฐิ เห็นผิดว่าเที่ยง
เป็น ปหานปริญญา
ภยญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นภัย
ละ สภเยอภยสัญญา สัญญาที่ไม่แจ้งในภัย
เป็น ปหานปริญญา
อาทีนวญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นโทษ
ละ อัสสาทสัญญา สัญญาที่ยินดี
เป็น ปหานปริญญา
นิพพิทาญาณ เกิดปัญญาเบื่อหน่ายในรูปนาม
ละ อภิรติสัญญา สัญญาที่เพลิดเพลิน
เป็น ปหานปริญญา
มุญจิตุกมยตาญาณ อยากพ้นจากรูปนาม
ละ อมุญจิตุกามภาวะ การข้องอยู่ในกาม
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิสังขาญาณ หาอุบายที่จะให้พ้นจากรูปนาม
ละ อปฏิสังขาน การยึดโดยไม่ไตร่ตรอง
เป็น ปหานปริญญา
สังขารุเบกขาญาณ วางเฉยต่อรูปนาม
ละ อนุเปกขณะ การยึดโดยไม่วางเฉย
เป็น ปหานปริญญา
อนุโลมญาณ คล้อยตามให้เห็นอริยสัจจ
ละ สัจจปฏิโลมคาหะ การยึดโดยไม่คล้อยตามสัจจะ
เป็น ปหานปริญญา

จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิโดยปริยาย
โคตรภูญาณ ปัญญาแจ้งในพระนิพพาน
เป็น ปหานปริญญา

ญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคญาณ ปหานกิเลสเป็นสมุจเฉท
เป็น ปหานปริญญา

จัดเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ โดยอนุโลม
ผลญาณ เสวยอารมณ์พระนิพพานตามมัคค
ปัจจเวกขณญาณ พิจารณามัคคผล นิพพาน
และกิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังคงเหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อริยบุคคล ๘

อริยบุคคล ๘ จัดได้เป็น ๔ คู่ ดังนี้
โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล คู่หนึ่ง
สกทาคามิมัคค สกทาคามิผล คู่หนึ่ง
อนาคามิมัคค อนาคามิผล คู่หนึ่ง
อรหัตตมัคค อรหัตตผล คู่หนึ่ง

ในวิสุทธิมัคค ยังจำแนกอริยบุคคล ๘ นี้เป็น ๗ ประเภท คือ

๑. สัทธานุสารี ๒.สัทธาวิมุตติ
๓. กายสักขี ๔. อุภโตภาควิมุตติ
๕. ธัมมานุสารี ๖. ทิฏฐิปัตตะ
๗. ปัญญาวิมุตติ

ท่านผู้ที่ยิ่งด้วยสัทธา เมื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค เรียกว่า สัทธานุสารี ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงอรหัตตผล เรียกว่า สัทธาวิมุตติ

ท่านที่ได้รูปฌาน แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผล เรียกว่า กายสักขี เหมือนกันทั้ง ๘ บุคคล

ท่านที่ได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌานด้วย แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผล เรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ เหมือนกันทั้ง ๘ บุคคล

ท่านผู้ที่ยิ่งด้วยปัญญา พิจารณาโดยอนัตตลักษณะ เมื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค เรียกว่า ธัมมานุสารี ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึง อรหัตตมัคค เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เฉพาะอรหัตตผล เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ

ที่จำแนกเช่นนี้ ก็โดยอาศัย สีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลัก กล่าวคือ

ท่านที่เป็น สัทธานุสารี และ สัทธาวิมุตติ ๒ ประเภทนี้มีสีล เป็นอธิบดี
ท่านที่เป็น กายสักขี และอุภโตภาควิมุตติ ๒ ประเภทนี้มีสมาธิ เป็นอธิบดี
ท่านที่เป็น ธัมมานุสารี ทิฏฐิปัตตะ และปัญญาวิมุตติ ๓ ประเภทนี้มี ปัญญา เป็นอธิบดี

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ท่านที่หนักไปในทางพระวินัยก็ได้แก่ สัทธานั้นมีสีล เป็นอธิบดี
ท่านที่หนักไปในทางพระสูตร ก็ได้แก่ประเภทที่มี สมาธิ เป็นอธิบดี
ท่านที่หนักไปในทางพระอภิธรรม ก็ได้แก่ท่านที่มี ปัญญา เป็นอธิบดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกพระอริยะแต่ละชั้น

พระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ นี้ ยังมีการจำแนกอีกนัยหนึ่งดังต่อไปนี้

พระโสดาบัน จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ

๑. เอกพีชีโสดาบัน เป็นพระโสดาบันที่มีพืชกำเนิดอีกเพียงหนึ่งเท่านั้น หมายความว่า พระโสดาบันนั้นเมื่อจุติแล้ว จะต้องปฏิสนธิเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกชาติเดียว ก็จะบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผล

๒. โกลังโกลโสดาบัน คือ พระโสดาบันผู้ที่จะต้องปฏิสนธิในกามภูมิอีก ในระหว่าง ๒ ถึง ๖ ชาติ จึงจะบรรลุอรหัตตผล

๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือ พระโสดาบันผู้ที่จะต้องปฏิสนธิในกามภูมิอีกถึง ๗ ชาติ จึงจะบรรลุอรหัตตผล

ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรียแก่กล้ายิ่งหย่อนกว่ากัน จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุ
อรหัตตมัคคอรหัตตผลนั้นเนิ่นนานกว่ากันไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี พระโสดาบันก็ไม่ต้องปฏิสนธิในชาติที่ ๘ เพราะแม้จะเป็นผู้ที่เพลิดเพลินมีความประมาทอยู่บ้าง ก็ต้องบรรลุอรหัตตผลในชาติที่ ๗ อย่างแน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสกทาคามี จำแนกได้เป็น ๕ จำพวก คือ

๑. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี เป็นพระสกทาคามีที่บรรลุสกทาคามิผลในมนุษยโลก และจะปรินิพพานในมนุษยโลกนี้
๒. ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี เป็นพระสกทาคามีที่บรรลุสกทาคามิผลในเทวโลก และปรินิพพานในเทวโลกนั้น
๓. อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ แต่ไปปรินิพพานในเทวโลกโน้น
๔. ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลกโน้น และมาปรินิพพานในมนุษยโลกนี้
๕. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ ไปบังเกิดในเทวโลกโน้น แล้วกลับมาปรินิพพานในมนุษยโลกนี้

พระอนาคามี จำแนกได้เป็น ๕ จำพวก คือ

๑. อนฺตรปรินิพฺพายี พระอนาคามี ผู้ถึงซึ่งปรินิพพานในกึ่งแรกแห่งอายุกาลในภูมินั้น
๒. อุปหจฺจปรินิพฺพายี พระอนาคามี ผู้ถึงซึ่งปรินิพพานในกึ่งหลังแห่งอายุกาลในภูมินั้น
๓. อสงฺขารปรินิพฺพายี พระอนาคามี ผู้ไม่ต้องใช้ความเพียรอย่างแรงกล้า ก็ถึงซึ่งปรินิพพาน
๔. สสงฺขารปรินิพฺพายี พระอนาคามี ผู้ต้องขะมักเขม้น พากเพียรอย่างแรงกล้า จึงจะถึงซึ่งปรินิพพาน
๕. อุทฺธํโสตอกนิฏฐคามี พระอนาคามี ผู้มีกระแสไปถึงอกนิฏฐภูมิ จึงจะถึงซึ่งปรินิพพาน

พระอรหันต์ หมายความว่า เป็นบุคคลที่ควรสักการะบูชายิ่ง บางทีก็เรียกว่า พระขีณาสพ หมายความว่า เป็นบุคคลที่สิ้นอาสวกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว บางทีก็เรียกว่า พระอเสกขบุคคล ซึ่งหมายถึงว่าเป็นผู้ที่ไม่ต้องศึกษาปฏิบัติต่อไปอีกแล้ว เพราะมี สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา โดยบริบูรณ์บริสุทธิหมดจดแล้ว พระอรหันต์นี้จัดได้ว่ามี ๓ ประเภท คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง สามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้น
ทุกข์ คือให้ถึงอริยมัคคอริยผลได้ด้วย เพราะทรงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถ
รู้อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ประการหนึ่ง อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณที่รู้อินทรียของสัตว์ทั้ง
หลายว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ประการหนึ่ง และ สัพพัญญุตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นซึ่งปวงสังขตะ
และอสังขตธรรม
อีกประการหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า คือที่ขนานพระนามกันว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
เจ้า หรือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเหมือนกัน แต่ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ เพราะไม่ถึง
พร้อมด้วยญาณทั้ง ๓ ดังที่กล่าวแล้วในข้อ ๑ นั้นทั้งไม่รู้บัญญัติที่จะแสดงสภาวธรรมให้แจ่มแจ้งได้
ด้วย พระอรหันต์ประเภทนี้ ได้ชื่อว่า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

อยากจะกล่าวโดยอัตโนมัติว่า ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้นั้น เป็นด้วยเหตุ
อีกประการหนึ่ง คือในยุคนั้นไม่มีผู้มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐชั้นนั้นได้ เพราะพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าบังเกิดมีได้เฉพาะในยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ก็ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนาเช่น
นั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากสีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล ใครเล่าจะสามารถสั่งสอนผู้ที่
ไร้สีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพระมหา
กรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด

๓. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้อรหัตตมัคคอรหัตตผล ตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(คือไม่ได้
ตรัสรู้เอง) นั้นได้ชื่อว่า พระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ทั่ว ๆ ไป ที่นอกจาก พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
เจ้า และพระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า

พระอรหันต์ทั่ว ๆ ไปนี้ ยังจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ อัคคสาวก มหาสาวก และปกติสาวก

ก. อัครสาวก หมายถึง พระอรหันต์ ๒ องค์ คือ พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเป็นอัคคสาวกเบื้องขวา ผู้ยิ่งด้วยปัญญาเป็นเลิศ พระโมคคัลลานะ เป็นอัคคสาวกเบื้องซ้าย ผู้ยิ่งด้วยฤทธิเป็นยอด

ข. มหาสาวก หมายถึง พระอรหันต์ ๘๐ องค์ (นับอัคคสาวก ๒ องค์ รวมในจำนวน ๘๐ นี้ด้วย) ซึ่งมีคุณธรรมเป็นยอดเยี่ยมเป็นเลิศ คือ เป็นเอตทัคคะ ในทางใดทางหนึ่ง

ค. ปกติสาวก หมายถึงพระอรหันต์สามัญที่นอกจากอัคคสาวกและมหาสาวก แล้ว เรียกว่าเป็น
ปกติสาวก ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทา ๔ ประการ

อีกนัยหนึ่ง ท่านจำแนกพระอริยเจ้าไว้โดยอาศัยการปฏิบัติเป็นหลักในการจำแนก เป็น ๔ ประการ คือ

๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติด้วยความลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติด้วยความลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติได้สะดวก แต่รู้ได้ช้า
๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติได้สะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ประเภทที่ ๑ ปฏิบัติด้วยความลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น พระจักขุปาลเถระ ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์ ไม่นอนตลอดพรรษา จนจักษุบอด ได้ความยากลำบากไม่น้อยเลย ทั้งได้บรรลุธรรมพิเศษก็ช้ากว่าพวกสหาย

ประเภทที่ ๒ ปฏิบัติด้วยความลำบากก็จริง แต่ว่ารู้ธรรมพิเศษได้เร็ว เช่นพระภิกษุผู้ถูกเสือกัด ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส จึงเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจนสำเร็จอรหัตตมัคคอรหัตตผล ในขณะที่อยู่ในปากเสือ พอสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็เข้าสู่ปรินิพพานเลย อย่างที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี

ประเภทที่ ๓ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย แต่กว่าจะรู้ธรรมพิเศษก็เสียเวลาช้ามาก เช่น พระจูฬปัณถก เรียนกัมมัฏฐานที่ไม่ถูกไม่เหมาะแก่จริตมาเป็นเวลาช้านาน ก็มิได้บรรลุธรรมพิเศษเลย จนภายหลังจึงกำหนดกัมมัฏฐานที่ถูกกับจริต ก็บรรลุธรรมพิเศษได้ในเวลาไม่นาน

ประเภทที่ ๔ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย ทั้งรู้ธรรมพิเศษได้โดยเร็วด้วย เช่น พระพาหิยะ ผู้ได้ฟังพระธรรมเทสนาของพระศาสดาในระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าทรงออกบิณฑบาต ก็ได้บรรลุธรรมพิเศษ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการ

ปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่า ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน จึงแปลกันสั้น ๆ ว่า ปัญญาแตกฉาน
ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ ไม่สามารถที่จะมีปฏิสัมภิทาญาณเลย พระอริยบุคคลนับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปเป็นบางองค์ เฉพาะที่ได้สร้างสมบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อนเป็นอันมากเท่านั้นจึงจะมีปฏิสัมภิทาญาณนี้ได้ บางองค์ก็มีครบทั้ง ๔ ประการ บ้างก็มีเพียง ๑ หรือ ๒ เท่านั้น แต่ส่วนมากพระอริยะที่ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณนั้นมากกว่าที่มี ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการ คือ

๑. อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวงอันบังเกิดมาจากเหตุ อัตถะ หรือ ผล นั้น ได้แก่ ธรรม ๕ ประการ คือ
ก. ยํ กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ คือ รูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง
ข. ภาสิตตฺโถ คือ อรรถที่กล่าวแก้ให้แจ้งในโลกียวิบากจิต ๓๒ ดวง
ค. กิริยาจิตฺตํ คือ กิริยาจิต ซึ่งมี ๒๐ ดวง
ง. ผลจิตฺตํ คือ ผลจิต ซึ่งมี ๔ ดวง
จ. นิพฺพานํ คือ พระนิพพาน

๒. ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผลธรรม หรือ เหตุ นั้นได้แก่
ธรรม ๕ ประการ คือ

ก. โย โกจิ ผลนิพฺพตฺตโกเหตุ คือ เหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น
ข. ภาสิตํ คือ พระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก
ค. อกุสลจิตฺตํ คือ อกุสลจิต ซึ่งมี ๑๒ ดวง
ง. กุสลจิตฺตํ คือ โลกียกุสลจิต ซึ่งมี ๑๗ ดวง
จ. อริยมคฺโค คือ มัคคจิต ซึ่งมี ๔ ดวง

๓. นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ บัญญัติแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่า รู้จักใช้ถ้อยคำในภาษานั้น ๆ อันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า โวหาร ในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่เช่นนี้ เป็นต้น

๔. ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ มีปัญญาว่องไว ไหวพริบเฉียบแหลม คมคาย ในการโต้ตอบ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ทั้ง ๓ นั้น ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วชัดแจ้งโดยฉับพลันทันที ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละที่ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ของปัญญา

ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ในโลกุตตรจิต ซึ่งมีอานิสงส์ ดังต่อไปนี้
๑. กำจัดกิเลสต่าง ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง
๒. เสวยรสแห่งอริยผล คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้
๓. เข้านิโรธสมาบัติ คือ ดับจิตและเจตสิกได้
๔. ควรแก่การต้อนรับ บูชา ของมนุษย์และเทวดา

๑. กำจัดกิเลส อะไรได้บ้างนั้น ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า การกำจัดกิเลสจนเป็นสมุจเฉทนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของมัคคญาณ คือ ปัญญาในมัคคจิตโดยเฉพาะ แต่ว่าได้เริ่มกำจัดหรือเริ่มประหาณกิเลสเรื่อยมาตั้งแต่ภังคญาณอันเป็นญาณที่ ๕ แห่งโสฬสญาณนั้นแล้ว กิเลสต่าง ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลงตามลำดับ ครั้นมาถึง มัคคจิต กิเลสนั้น ๆ จึงดับสนิทพอดี

มัคคจิตจะปรากฏขึ้นมาก็ด้วยอำนาจแห่งญาณต่าง ๆ เป็นปัจจัย ญาณต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นได้ เพราะการเจริญสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นหัวใจให้ถึงมัคคถึงผล

การเจริญสติปัฏฐานก็เพื่อให้สติตั้งมั่นในอารมณ์กัมมัฏฐาน ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าในปัจจุบันนั้น ไม่คิดย้อนหลังไปถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ไม่คิดล่วงหน้าไปถึงอารมณ์ที่ยังไม่มีมา อันจะเป็นเหตุให้เกิด อภิชฌา และโทมนัส ผู้ปฏิบัติจึงจะต้องระวังให้จงหนัก อย่าให้อภิชฌา และโทมนัส อาศัยเกิดขึ้นในอารมณ์เหล่านั้นได้ เช่นเกิดมีธรรมที่ไม่ดีไม่ชอบใจมาปรากฏขึ้น ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะพยายามไม่รับอารมณ์นั้น เพราะอยากจะรับแต่อารมณ์ที่ดีที่ชอบใจ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีมาถึงเลย ครั้นเมื่ออารมณ์ที่ดีที่ชอบใจเกิดขึ้น ก็พยายามที่จะรักษาอารมณ์นั้นไว้ อย่างนี้ไม่ชื่อว่าเข้าถึงสติปัฏฐาน เพราะยังมีความยินดียินร้ายอยู่ คือยังมีอภิชฌาและโทมนัสอยู่ จึงยังไม่เป็น มัชฌิมาปฏิปทา

ข้อสำคัญ ต้องมีสติกำหนดอารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้า คือ ในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น จึงจะปิดกั้นอภิชฌาและโทมนัสได้ เมื่ออารมณ์อะไรปรากฏขึ้น ก็กำหนดเพ่งเฉพาะอารมณ์นั้น จนกว่าจะเกิดปัญญาให้เห็นตาม
ความเป็นจริงว่า เป็นรูป เป็นนาม เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในการที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนิจจังนั้น ก็เพราะสันตติปิดบังไว้ ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ก็เพราะว่าอิริยาบถปิดบังไว้ ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนัตตา ก็เพราะว่าฆนสัญญา ความที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนปิดบังไว้ จึงสำคัญไปว่า เป็นตัวเป็นตนขึ้น คือ มีสักกายทิฏฐินี้แหละที่เป็นพืชพันธุ์ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิอื่น ๆ อีกมากมาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. การเสวยรสแห่งอริยผล คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผลญาณอันบังเกิดแล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงประจักษ์ได้ในปัจจุบัน อันมีความหมายดังนี้

(๑) ปรารภจะเสวยซึ่งความสงบสุขในผลสมาบัติ
(๒) ไม่มีนิมิต รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์
(๓) ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว
(๔) กำหนดเวลาเข้า เวลาออก ด้วยการอธิฏฐาน
(๕) เมื่อยังไม่ครบกำหนดเวลาออก ก็คงตั้งอยู่ในผลสมาบัติ
(๖) เวลาเข้าก็เจริญวิปัสสนา เริ่มแต่อุทยัพพยญาณ จนอนุโลมญาณ ดับอารมณ์จากโลกีย์แล้วถึง
ผลญาณได้พระนิพพาน เป็นอารมณ์ตลอดไปจนครบกำหนดเวลาออก ตามที่ได้อธิษฐานไว้

ที่มัคคจิตไม่เกิด ก็เพราะเหตุว่า แรงอธิฏฐานน้อยไปในผลสมาบัติ ปรารถนาทิฏฐธัมมสุขวิหาร อยู่ในธรรมที่สงบสุขในปัจจุบันชาตินี้
บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยเจ้า คือเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
พระอรหันต์ ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลยเป็นอันขาด
พระอริยเจ้าที่เข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ตนถึงครั้งสุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นเลยมาแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ

พระโสดาบัน เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ โสดาปัตติผล
พระสกทาคามี เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ สกทาคามิผลเท่านั้น จะเข้าโสดาปัตติผลที่ตนเคยได้เคยผ่านพ้นมาแล้วนั้น ก็หาได้ไม่
ในทำนองเดียวกัน พระอนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ อนาคามิผลอย่างเดียว
พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่อรหัตตผลโดยเฉพาะ เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยสุกขวิปัสสกเข้าผลสมาบัติได้หรือไม่

ได้เกิดปัญหาว่า ผู้ที่ได้มัคคผลคือพระอริยบุคคลนั้น สามารถเข้าสมาบัติได้ทุกท่านหรือหาไม่ หรือว่าเข้าผลสมาบัติได้เฉพาะพระอริยบุคคลผู้ที่ได้ฌานด้วยเท่านั้น
มีหลักฐานแสดงไว้ใน ปัญญาภาวนานิสังสนิทเทส แห่ง วิสุทธิมัคคปกรณ์ ว่า

๑. สพฺเพปิ ปุถุชฺชนา น สมาปชฺชนฺติ กสฺมา อนธิคตตฺตา ฯ
ปุถุชนแม้ทั้งหมดเข้าผลสมาบัติไม่ได้ เพราะเหตุว่า ปุถุชนเหล่านั้น ไมได้บรรลุ มรรค ผล

๒. อริยา ปน สพฺเพปิ สมาปชฺชนฺติ กสฺมา อธิคตตฺตา ฯ
ส่วนพระอริยบุคคล แม้ทั้งหมด ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ เพราะเหตุว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุ มรรค ผลแล้ว

ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ก็มี ในวิสุทธิมัคค ก็มีว่า
กา ผลสมาปตฺตีติ ยา อริยผลสฺส นิโรเธ อปฺปนา
อัปปนาในเพราะความดับแห่งอริยผลอันใด อันนั้นแหละเรียกว่า ผลสมาบัติ
เก ตํ สมาปชฺชนฺติ พวกไหนเข้าได้ เข้าได้เพราะเหตุใด
เก น สมาปชฺชนฺติ พวกไหนเข้าไม่ได้ เข้าไม่ได้เพราะใด
อริยา ปน สพฺพปิ สมาปชฺชนฺติ
พระอริยเข้าได้ทุกจำพวก เพราะท่านได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานแล้ว
สพฺเพปิ ปุถุชฺชนา น สมาปชฺชนฺติ
ปุถุชนทุกจำพวกเข้าไม่ได้ เพราะตนไม่ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าผลสมาบัตินั้นจะต้องเข้าด้วยกำลังของวิปัสสนาปัญญา ลำพังแต่สมถะอย่างเดียวก็เข้าผลสมาบัติไม่ได้ เข้าได้แต่ฌานสมาบัติอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นการเข้าผลสมาบัติ จึงต้องเป็นผู้ที่เคยได้ฌานมาแล้ว และทั้งเป็นผู้ที่เคยได้วสีมาแล้วในการเข้าฌานสมาบัติ แล้วมาเจริญวิปัสสนาได้สำเร็จมัคคผล ซึ่งเรียกว่าโลกุตตรธรรมนั้น แล้วจึงเข้าสมาบัติด้วยผลจิตได้

แม้จะถือหลักว่า พระอริยผู้นั้นจะต้องเคยได้ฌานมาแล้ว เป็นประการสำคัญ จึงจะเข้าผลสมาบัติได้ก็ดี ก็คงเห็นว่า ลงได้เป็นพระอริยแล้ว ก็เข้าผลสมาบัติได้ทั้งนั้น เพราะแม้ว่าพระอริยผู้นั้นจะไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน ไม่เคยได้ฌานมาก่อนก็ตามที แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนาจนถึงมัคคญาณ มัคคจิตนั้นต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นองค์ของปฐมฌานโดยบริบูรณ์อย่างพร้อมมูลเสมอไป เหตุนี้โลกุตตรจิต จึงย่อมประกอบด้วยปฐมฌานอย่างแน่นอน ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา ซึ่งได้อ้างมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้วว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ

ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ท่านที่เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌานฯ

อนึ่งตามนัยแห่งอริยสัจจ ๔ ตอนที่แสดงมัคคอริยสัจจก็กล่าวไว้ว่า อริยมัคคนั้นเป็นสมถะด้วยเป็นวิปัสสนาด้วย คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้ สงเคราะห์ด้วยวิปัสสนา ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือวิปัสสนาที่เหลืออีก ๖ องค์ อันได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ นั้นสงเคราะห์ด้วยสมถะ ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือสมถะ พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยค ด้วยวิปัสสนายาน และเว้นอัตตกิลมถานุโยค ด้วยสมถยาน ดำเนินไปไต่ไปยัง
มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ทำลายกองโทสะด้วยสีลขันธ์ ทำลายกองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ ถึงปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา ถึงสีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา ถึงสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ทันทีที่ถึงพร้อมด้วยสิกขา ๓ นี้ก็แจ้งซึ่งพระนิพพาน มีความดั่งนี้ ก็เป็นข้อสนับสนุนว่า โลกุตตรจิตนั้น ย่อมได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค ซึ่งมีชื่อว่า มัคคสิทธิฌาน

สมตามนัยแห่งพระอภิธรรมที่แสดงว่า โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร มีจำนวน ๔๐ ดวง โดยนับโลกุตตรจิตของสุกขวิปัสสกอริยบุคคลนั้นเป็นปฐมฌานด้วย ถ้าหากไม่นับโลกุตตรจิตของสุกขวิปัสสกอริยบุคคลเป็นปฐมฌานด้วยแล้ว โลกุตตรจิตอย่างพิสดารก็จะต้องเป็น ๔๘ ดวง คือ

โลกุตตรจิต ที่ไม่ ประกอบด้วยฌานเลย ๘ ดวง
โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ๘ ดวง
โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วย ทุติยฌาน ๘ ดวง
โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วย ตติยฌาน ๘ ดวง
โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วย จตุตถฌาน ๘ ดวง
โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๘ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง ยังไม่เคยพบหลักฐานที่อื่นอีกว่า ได้มีการกล่าวอ้างไว้ ณ ที่ใดว่า การเข้าผลสมาบัติจะต้องอาศัยอำนาจแห่งฌานจิตประกอบด้วย ไม่เหมือนกับการเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งได้กล่าวไว้โดยแน่ชัดว่า ต้องมีสมถพละและวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิและปัญญาเป็นกำลังชำนาญ ชำนาญในโสฬสญาณ(คือญาณทั้ง ๑๖) ชำนาญในฌานสมาบัติ ๘ (คือทั้งรูปฌานและอรูปฌาน) มาก่อน ถ้าการเข้าผลสมาบัติจำต้องเป็นผู้ได้ฌานมาก่อนด้วย ก็น่าจะมีการกล่าวไว้โดยชัดแจ้ง เพราะคำสอนในพระพุทธศาสนาย่อมกล่าวอย่างชัดเจนเสมอ เช่น

วิสํ ชีวิตุกาโม ปาปานิ ปริวชฺชเย บุคคลพึงเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคน ที่ต้องการเป็นอยู่ เว้นยาพิษและในทุกมาติกาก็กล่าวว่า วิชฺชูปมทุเก ตาว จกฺขุมา กิร ปุริโส เมฆนฺธกาเร รตฺตํ มคฺคํ ปฏิปชฺชิ ตสฺส อนฺธการตาย มคฺโค น ปญฺญายติ วิชฺชุ นิจฺฉริตฺตวา อนฺธการํ วิทฺธํเสติ อทสฺสํ อนฺธการวิคมา
มคฺโค ปากโฏ อโหสิ พึงอธิบายใน วิชชูปมาทุกะ ก่อน สมมติว่า บุรุษมีจักขุเป็นปกติเดินทางกลางคืน ที่มีเมฆบังมืด เพราะความมืด หนทางย่อมไม่ปรากฏแก่เขา สายฟ้าแลบออกกำจัดความมืด เพราะความมืดหายไปในขณะนั้น หนทางได้ปรากฏแล้วแก่เขา

๓. เข้านิโรธสมาบัติ คือ ดับจิตเจตสิกได้ เป็นการเข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ มีสัญญาและเวทนา เป็นต้น โดยปราศจากอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น และอยู่ได้ถึง ๗ วัน ด้วยความปรารถนาที่จะหนีจากทุกขรูปทุกขนาม ในเมื่อยังไม่เข้าสู่ปรินิพพาน

ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์
(๒) ต้องได้ฌานสมาบัติ ๘ ครบถ้วน คือได้รูปฌาน และอรูปฌาน ด้วยทุกฌาน
(๓) ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ความถึงพร้อม ๔ ประการ ได้แก่

ก. มี สมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญา เป็นกำลังชำนาญทั้ง ๒ อย่าง
ข. ชำนาญในการระงับ กายสังขาร (คือลมหายใจเข้าและออก)
ชำนาญในการระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา)
ชำนาญในการระงับ จิตตสังขาร (คือ สัญญา และเวทนาที่ทำให้ เจตนาปรุงแต่งจิต)
ค. ชำนาญใน โสฬสญาณ
ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ

(๔) ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนา ก็ต้องถึงตติยมัคค เป็นอย่างต่ำ กล่าวคือต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. เป็นผู้ที่ควรแก่การต้อนรับบูชา เพราะเป็นผู้ที่มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่งในการเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน อันเป็นการปฏิบัติธรรมที่ประเสริฐสุดยอดแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอริยสงฆเจ้าที่สมบูรณ์ด้วยสังฆคุณ ๙ ประการ มีสุปฏิปันโน เป็นต้น จึงเป็นผู้ที่ควรต้อนรับ ควรสักการะควรบูชาโดยแท้

สังฆคุณ ๙ มีรายละเอียดข้างต้นตรง สังฆานุสสติ

๓๘. สมาสโต วิปสฺสนา กมฺมฏฺฐานนโย อยํ ฯ
นี่คือ นัยแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันแสดงแล้วโดยย่อ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามนัยแห่ง พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้โดยย่อนั้น มีเพียงเท่านี้

๓๙. ภาเวตพฺพํ ปนิจฺเจวํ ภาวนา ทฺวยมุตฺตมํ
ปฏิปตฺติ รสสฺสาทํ ปตฺถยนฺเตน สาสเน ฯ

ก็ผู้ปรารถนายินดีในรสแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเจริญภาวนาทั้ง ๒ อย่าง อันอุดม มีนัยดังบรรยายมาด้วยประการ ฉะนี้แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนาทั้ง ๒ อย่างอันอุดม คือ

๑. สมถภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งความ สงบระงับจากกิเลส สมถภาวนามีสมถกัมมัฏฐาน คือ บัญญัติเป็นต้น อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจเป็นสิ่งสำหรับเพ่งพินิจ เพื่อให้เกิดความสงบ

๒. วิปัสสนาภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วยปัญญาให้ พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาด วิปัสสนาภาวนามีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูปนาม เป็นสิ่งสำหรับพิจารณาให้เกิดปัญญา
ความปรารถนาและความยินดีในรสแห่งการปฏิบัติกัมมัฏฐานก็ดี การเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผลก็ดี ย่อมมี บารมี เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในอันที่จะให้เป็นไปเช่นนั้น เหตุนี้จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบเรื่อง บารมีไว้บ้าง แม้แต่จะเป็นเพียงโดยย่อ ดังต่อไปนี้

บารมี ๑๐ ทัศ

บารมี คือ คุณงามความดีที่ควรบำเพ็ญ คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรม
ส่วนหนึ่งที่สำคัญในอันที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนให้ถึงซึ่ง โพธิญาณ ดังที่ใน ชินลังการฎีกา แสดงว่า ปารํ นิพฺพานํ อยนฺติ คจฺฉนฺติ เอตาหีติ ปารมิโย การกระทำที่ประกอบด้วย กุสลเจตนาที่ยังให้ถึงฟากฝั่งพระนิพพานนั้นเรียกว่า บารมี
บารมี = ปรม (ประเสริฐ) + อิ (การกระทำ) = การกระทำที่ประเสริฐ
จริยปิฎกอรรถกถา แสดงลักษณะของบารมีว่า สพฺเพปิ ปารมิโย ปรานุคฺคหลกฺขณา ปวงบารมี ย่อมมีการอนุเคราะห์แก่บุคคลอื่น เป็นลักษณะ บารมี ๑๐ ทัศ ก็คือ

บารมี ๑๐ ประการนั้นเอง ได้แก่

๑. ทานบารมี ปฏิปักขธรรม คือ มัจฉริยะ
๒. สีลบารมี ปฏิปักขธรรม คือ ทุสีล
๓. เนกขัมมบารมี ปฏิปักขธรรม คือ กามะ
๔. ปัญญาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อญาณะ
๕. วิริยบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โกสัชชะ
๖. ขันติบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อขันติ
๗. สัจจบารมี ปฏิปักขธรรม คือ วิสังวาทะ (ตบตา, หลอกลวง,พูดปด)
๘. อธิฏฐานบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อนธิฏฐาน
๙. เมตตาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โทสะ
๑๐. อุเบกขาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โลกธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 168 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร