วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 11:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

พระอภิธรรมอยู่ในพระสูตร ชี้ให้เห็นชัดว่าทำไมต้องรู้พระอภิธรรมถึงอ่านพระสูตรได้ค่ะ
พระอภิธรรมอยู่ในพระสูตรนี้เยอะมากค่ะ

เชิญอ่านกันค่ะ

[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง
พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า
ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง
เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน
โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม
สบายเถิด ฯ
[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง
ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน
ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ
หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร
ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ
[๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง
ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง
พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน
ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น
พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ
[๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้
ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี-
*พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า
บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา
ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน ฯ
ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ
เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน
เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ
ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย
ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ
[๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช
อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า
ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ
[๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖
มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น
ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป
ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก
เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ
พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ
[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี
ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน
สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย
อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ
๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก
รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา
แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก
ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง
นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก
โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ
หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้
ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี
สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม
ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔
นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ
[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน
คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้
สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า
ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต
คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ
[๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ
ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป
ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา
ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ
ได้ ฯ
[๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย
นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม
ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว
ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน
กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน
และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น
แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ
[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน
คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป
ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ
ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ
ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ
[๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี
ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน
ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย
ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด
ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ
ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น
อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่
ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้
จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ
[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล
ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข
บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ
ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้
สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป
สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ
ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น
สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย
และผ่องแผ้ว ฯ
[๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง
ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู
ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย
และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง
ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด
ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม
อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ
เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา
อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ-
*จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา
ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ
เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น
ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ
ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้
อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม
ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น
จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่
หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา
นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน
ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต
เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น
ของสงบ ฯ

[๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้
จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น
ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ
เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ
รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี
กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก
อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ
หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง
ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่
นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ
ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่
ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน
เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก
ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ
อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล
นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท
ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม
นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว
ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ
อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น
อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม
รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้
กล่าวแล้ว ฯ
[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น
ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป
ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ
เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ
ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น-
*สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น
สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ
ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี
ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม
ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง
เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย
จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส
เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ
กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น
เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้
ของเราไว้เถิด ฯ
[๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา
พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ
ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า
แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี-
*พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่
ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ
[๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่
เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ
รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ
แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ
ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ
ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ
อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ
[๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้-
*มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา
บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ
อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ
[๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ
ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น
ธรรมดา ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐
-----------------------------------------------------

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 748&Z=9019
:b8: :b8: :b8:

(๖๙๗ ท่านปุกกุสาติเป็นพระอนาคามีผู้มีอินทรีย์แก่กล้าในข้อสัทธินทรีย์ ท่านทำกาละเสียแล้ว
จึงได้ไปอุบัติขึ้นที่อวิหาในสุทธาวาสภูมิ ไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกต่อไปแล้ว
ต่อมาท่านได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลในสุทธาวาสภูมิ และได้ดับขันธ์ปรินิพพานแล้วค่ะ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ

:b51: คำนำ คำปรารภเบื้องต้น ของ
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ผู้รจนาหลักสูตรพระอภิธรรม ท่านกล่าวไว้ได้ชัดเจน
อยากให้ทุกท่านได้อ่านกันค่ะ
ขอเชิญอ่านกันค่ะ



คำปรารภเบื้องต้น


ชานิตพฺพํ ปชานาติ.......เทสิตพฺพํ ปิ อาสยํ
เทสโก เยน ญาเณน........เทเสตุ ตสฺส เตชสา

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงพระสัทธรรม ย่อมทรงรู้ทั่วถึงเญยยธรรม อันพระพุทธองค์พึงทรงแสดงได้หลายนัย ตลอดทั้งรู้อัธยาศัยของเหล่าเวไนยสัตว์ด้วยสัพพัญญุตญาณอันใด ขออำนาจทั้ง ๓ แห่งพระสัพพัญญุตญาณอันนั้น จงช่วยบันดาลให้ข้าพระพุทธเจ้า เกิดปัญญาอันลึกซึ้งที่สามารถจะแต่งปกรณ์เล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยเรียบร้อย

พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีอำนาจ ๓ อย่างคือ
๑. เทเสตพฺพธมฺม ทรงรู้ธรรมที่ควรแสดงทั่วไป ซึ่งได้แก่ เญยยธรรม ๕ ประการ
๒. เทเสตพฺพธมฺมปการ ทรงรู้ในการแสดงธรรมได้หลายนัย คือ ทรงสามารถแสดงได้โดยวิจิตรพิสดาร แม้ในเรื่องเดียวกัน
๓. เวเนยฺยชฺฌาสย ทรงรู้อัธยาศัยของเหล่าเวไนยสัตว์ทั่วไปว่า ธรรมอันใดที่จะเหมาสมและเป็นประโยชน์แก่บุคคลจำพวกใด ก็ทรงยกข้อธรรมเหล่านั้นขึ้นแสดง ให้เหมาะสมแก่อัธยาศัยของบุคคลนั้นๆ

ด้วยเหตุที่พระัสัพพัญญุตญาณมีอำนาจทั้ง ๓ ดังที่ได้กล่าวมานี้ เพราะเหตุนี้แหละเมื่อเวลาที่พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอยู่นั้น พุทธบริษัททั้งหลายที่กำลังสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์อยู่ในขณะนั้น ต่างก็ได้บรรลุถึงซึ่ง มรรค ผล นับเป็นจำนวนโกฏิ นับว่าพระสัพพัญญุตญาณ นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งแก่บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้

ผู้ที่แต่งปกรณ์ก็ดี ผู้ที่แนะนำสั่งสอนปริยัติธรรม คือ พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม และปฏิบัติธรรม คือ สมถะ วิปัสสนาก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมกถึกมีหน้าที่แสดงธรรมแก่ประชุมชนทั้งหลาย เพื่อยังศรัทธาให้เกิดและระงับดับนิวรณ์ชั่วขณะก็ดี ล้วนแต่ทำกิจการงานที่เกี่ยวกับการสร้างบารมี ทั้งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้ดำรงคงที่และเจริญยิ่งขึ้นทั้งนั้น ฉะนั้น บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้จำเป็นจะต้องมีปัญญา ที่ประกอบด้วยอำนาจ ๓ ประการ ของพระสัพพัญญุตญาณตามสมควรที่จะมีได้

๑. บุคคลทั้ง ๓ จำพวกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะมีปัญญาประกอบด้วยอำนาจ ๓ ประการของพระัสัพพัญญุตญาณได้นั้น ผู้นั้นจะต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียนจนจบหลักสูตรมาแล้ว จึงจะมีปัญญาที่ประกอบด้วยอำนาจตามข้อที่หนึ่งได้ตามสมควร

๒. หลักสูตรที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาจนจบแล้วนั้น จะต้องเป็นการศึกษาเล่าเรียนที่ได้ฟังคำอธิบายเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย และวินิจฉัยข้อความต่างๆ มาจากอาจารย์ที่มีหลักฐานและทรงคุณความรู้ดี จึงจะมีปัญญาที่ประกอบด้วยอำนาจตามข้อที่สองได้บ้างตามสมควร

๓. เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบหลัีกสูตร พร้อมทั้งได้ฟังคำอธิบายที่ดีมาแล้ว จะต้องเข้าใจถึงการทำการพูดของบุคคลทั้งหลายที่เป็นไปตามสภาวะ เพราะว่าการทำการพูดที่เกิดจากอกุศลเจตสิก และการทำการพูดที่เกิดจากโสภณเจตสิกนั้น เมื่อว่าโดย อารมณ์ วิถี ลักขณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน แล้ว มีความต่างกัน ถึงแม้ว่าจะต่างกันก็จริง แต่การทำการพูดที่เกิดจากอกุศลเจตสิกที่เป็นอย่างสุขุมนั้นคล้ายๆ กันกับการทำการพูดที่เกิดจากโสภณเจตสิกที่เป็นฝ่ายดี ฉะนั้น บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ จะต้องเข้าใจถึงความต่างกันระหว่างการทำการพูดที่เกิดจากโลภะ และการทำการพูดที่เกิดจากศรัทธา สติ อโทสะ มุทิตา ตามความเป็นจริงประการหนึ่ง

ระหว่างการทำการพูดที่เกิดจากโทสะ และการทำการพูดที่เกิดจาก หิริ โอตตัปปะ กรุณา ตามความเป็นจริงประการหนึ่ง การทำการพูดที่เกิดจากทิฏฐิ วิจิกิฉา อิสสา และการทำการพูดที่เกิดจากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ปัญญา ตามความเป็นจริงประการหนึ่ง การทำการพูดที่เกิดจากโมหะ มานะ ถีนมิทธะ และการทำการพูดที่เกิดจากอโลภะ อโทสะ ตัตตรมัชฌัตตตา กรุณา ปัญญา ตามความเป็นจริงประการหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น จึงจะมีปัญญาที่ประกอบด้วยอำนาจตามข้อที่สามได้ตามสมควร

ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ผู้นั้นก็ไม่มีปัญญาที่ประกอบด้วยอำนาจทั้ง ๓ ประการ คงมีแต่ปัญญาที่เป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้ การคิด การแสดง การแต่งปกรณ์ต่างๆ ก็จะน้อมไปในทางอัตตโนมัติ ที่นอกจากพระพุทธภาษิตและอรรถกถาฎีการเป็นส่วนมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับการอบรมหรือผู้ที่ได้อ่านได้ฟังปกรณ์ต่างๆ จากท่านเหล่านี้ ถ้าเกิดความเชื่อถือในคำกล่าวนั้นๆ แล้ว อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่รับประทานยาผิดไป เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้ที่ได้รับการอบรมหรือการได้อ่านได้ฟังจากปกรณ์ต่าง นี้ มิได้ทราบถึงพุทธภาษิต อรรถกถา โดยถ่องแท้

แต่ถ้าบุคคลทั้ง ๓ จำพวก(คันถการะ คันถวาจกะ ธรรมกถิกะ) เหล่านี้มีปัญญาที่ประกอบด้วยอำนาจ ๓ ประการ ของพระสัพพัญญุตญาณตามสมควรที่จะมีได้ดังนี้แล้ว ปกรณ์ที่ผู้นั้นแต่งขึ้นก็ดี ปริยัติธรรมหรือปฏิบัีติธรรมที่ผู้นั้นแนะนำสั่งสอนก็ดี ธรรมที่ผู้นั้นกำลังแสดงอยู่ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ได้อ่าน ได้เรียน ได้ฟังอย่างแน่นอน เหมือนกับผู้ที่ได้บริโภคยาที่ดีฉะนั้น

ด้วยอำนาจกุศลจิต ที่อาตมาภาพได้มาระลึกนึกถึง คุณของพระสัพพัญญุตญาณ ฉะนั้น ขออำนาจทั้ ๓ ประการที่มีอยู่แล้วภายในจิตตสันดานของอาตมาภาพตามสมควรนั้น จงปรากฏเกิดขึ้นในขณะที่กำลังแต่ปกรณ์อยู่ เพื่อให้ปกรณ์นี้ได้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยเรียบร้อย จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนปกรณ์นี้

อนึ่งในปริยัติศาสนานั้น ประกอบด้วยปิฎกทั้ง ๓ คือ สุตตันตปิฏก วินัยปิฏก อภิธรรมปิฏก ในบรรดาปิฏกทั้ง ๓ นี้ ถ้าหากว่ามีการแปลบาลี และคำอธิบาย เฉพาะสุตตันตปิฏกๆ เดียวแล้ว ในประเทศนั้นก็จะมีการสอนการเรียนเฉพาะแต่สุตตัตปิฏกเท่านั้น การสอนการเรียนในวินัยปิฏกและอภิธรรมปิฏกก็มีขึ้นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะบังเกิดโทษแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยพุึทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้่น มีความสนใจแต่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างเดียว ขาดระเบียบวินัยทางกาย วาจา และขาดความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีแต่ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ดูหมิ่นเหยียดหยามวินัยปิฎก อภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นพุทธภาษิต นี้เป็นโทษที่เกิดจากการที่ไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎกนั้นเอง

ถ้าคำแปลและคำอธบายมีแต่พระสุตตันตปิฏกและวินัยปิฏก ๒ อย่างนี้เท่านั้น ไม่มีคำแปลและคำอธบายในอภิธรรมปิฏกดังนี้แล้ว ประเทศนั้นๆ ก็มีการสอนการศึกษาเล่าเรียนเฉพาะแต่สุตตันตปิฎกและวินัยปิฎกเท่านั้น การศึกษาเล่าเรียนในอภิธรรมปิฎกก็มีขึ้นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะบังเกิดโทษแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยพุทธศาสนิกชนเหล่านั้นพากันสนใจแต่ในการทำมาหาเลียงชีพและการมีระเบียบเรียบร้อย ทางกาย วาจาา เพื่อประดับความสวยงามเฉพาะหน้าอันเป็นภายนอก แต่สำหรับด้านจิตใจอันเป็นส่วนภายในแล้ว ก็ขาดความเชื่อความเลื่อมใสไม่มั่นคงในศาสนาของตน มีแต่ทิฏฐิการเห็นผิด มานะการถือตัว ดูถูกดูหมิ่นในอภิธรรมปิฎกนี้ เป็นโทษที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในอภิธรรมปิฎกนั้นเอง

ฉะนั้น ประเทศใด ถ้ามีคำแปลและคำอธิบายในปิฎกทั้ง ๓ โดยครบถ้วนแล้ว พุทธศาสนิกชนทั้งหลายในประเทศนั้น ก็จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนในปิฎกทั้ง ๓ โดยครบถ้วน เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจของพุทธศาสนิกชนเหล่านั้น ก็ประกอบด้วยความเชื่อความเลื่อมใสในศาสนาของตนโดยมั่นคง ไม่มีจิตใจเอนเอียงไปในลัทธิอื่นๆ ทั้งลัทธินั้นๆ ก็มิอาจที่จะแทรกแซง หรือทำลายความเชื่อความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนเหล่านั้นได้ นิยตามิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ คงมีแต่สักกายทิฏฐิ อันเป็นทิฏฐิธรรมดา

อยาถาวมานะ การถือตัวไม่สมควร และยาถาวมานะ การถือตัวที่สมควรที่เป็นอย่างหยาบก็เกิดขึ้นไม่ได้ มีแต่ ยาถาวมานะ คือการถือตัวโดยสมควรที่เป็นอย่างสุขุม ทั้งบุพพเจตนา มุญจเจตนา อปรเจตนา ที่เกี่ยวกับการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นเจตนาที่ดีที่บริสุทธิ์ถูกต้อง ห่างไกลจากอกุศลธรรมที่จะเข้ามาแทรกในเจตนาทั้ง ๓ นั้นได้ตามสมควร นี้เป็นคุณประโยชน์ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนในอภธรรมปิฎกนั้นเอง

เมื่อสรุปความแล้ว การศึกษาเล่าเรียนในปฎกทั้ง ๓ นี้ การศึกษาในอภิธรรมปิฎกจัดได้เป็นการศึกษาที่อำนวยประโยชน์มาก ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าการศึกษาในอภิธรรมปิฎกนั้เข้าช่วยสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาในปิฎกทั้ง ๒ ขจัดความเข้าใจผิดให้เกิดความเข้าใจถูกว่า ความรู้ที่ตนได้รับมาจากการศึกษาเล่าเรียนสุตตันตปิฎกนั้นมิได้ทำให้เกิดประโยชน์เฉพาะแต่ในการตั้งตัวเป็นหลักฐาน ในปัจจุบัติชาตินี้เท่านั้น หากแต่เป็นการให้เข้าใจในความประพฤติปฏิบัติทั้งที่เป็นฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เพื่อจะได้ปลีกตัวจากความชั่วแล้วมาดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ดีนับตั้งแต่ขั้นต่ำตลอดจนถึงขึ้นสูงให้สำเร็จทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ทั้งในภพนี้และภพหน้า

และความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวินัย ก็มิใช่เป็นแต่เพียงเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อยทางกายและวาจาในการสมาคมที่สำคัญๆ เฉพาะหน้าเท่านั้นก็หามิได้ หากแต่มุ่งหมายให้กายและวาจานั้นบริสุทธิ์ เพื่อมิให้ตนต้องได้รับความเดือดร้อน หรือผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนโดยอาศัยกาย วาจา ของตน

ข้อนี้เมื่อจะยกขั้นเปรียบเทียบแล้ว
-พระอภิธรรมปิฎกเหมือนรากแก้ว
-พระวินัยปิฎกเหมือนลำต้น
-พระสุตตันตปิฎกเหมือนกิ่งก้านสาขา

หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะเปรียบกับร่างกาย
-อภิธรรมปิฎกเหมือนกับหัวใจ
-วินัยปิฎกเหมือนกับชีวิต
-สุตตันตปิฎกเหมือนกับอวัยวะ

ฉะนั้น อาตมาภาพได้เริ่มทำการสอนพระอภิธรรมแก่บรรดานักศึกษาทั้งหลายตั้งแต่ พศ.๒๔๙๒ ณ อภิธรรมมหาวิทยาลัยวัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ทุกๆ วันเป็นต้นมา จนถึง พ.ศ.๒๕๐๙ นี้ อาตมาภาพได้ทำการสอนปกรณ์ต่างๆ และแต่ปกรณ์ที่เกี่ยวกับอภิธรรมปิฎกพร้อมกันไปด้วย บัดนี้ ปกรณ์ที่เกี่ยวกับอภิธรรมปิฎกที่ได้จัดเรียบเรียงขึ้นสำเร็จเป็นหลักสูตรแล้ว และจำสำเร็จเป็นหลักสูตรเร็วๆ นี้ มีจำนวน ๒๕ เล่ม

ตามที่อาตมาภาพได้กล่าวมาแล้วนี้ หาใช่เป็นการกล่าวโอ้อวดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ อาตมาภาพมีความมุ่งหมายเพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของอาตมาภาพโดยแท้จริงว่า อาตมาภาพได้รับความลำบากทั้งทางกายและทางใจมิใช่น้อย และเมื่อการแต่ปกรณ์เสร็จแล้ว การที่จะจัดพิมพ์ให้เป็นหนังสือขึ้นเพื่อเป็นธรรมเจดีย์ ก็จัดพิมพ์ให้เสร็จได้โดยยาก เพราะพุทธศาสนิชนทั้งหลายยังไม่นิยมศึกษาเล่าเรียนในธรรมชั้นนี้ และบางคนก็เข้าใจผิดไปว่า หนังสือธรรมนั้นเป็นหนังสือที่มีคนนิยมพิมพ์แจกในงานศพอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องลงทุนสร้างหรือลงทุนซื้อก็ได้ ด้วยเหตุนี้ การที่พิมพ์หนังสืออภิธรรมให้สำเร็จบริบูรณ์ตามหลักสูตรนั้น ก็เป็นการที่ทำไปได้โดยยาก

อนึ่งในการแต่ปกรณ์ต่างๆ นั้นก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เพราอาตมาภาพไม่ใช่เป็นคนไทย การเขียนภาษาไทยนั้นย่อมกระทำไปโดยลำพังตนเองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเขียน ซึ่งผู้ช่วยเขียนนี้สำคัญมากและหาได้โดยยาก เพราะผู้ที่จะช่วยเหลือนั้นมิใช่ว่าจะเขียนไปตามคำบอกของอาตมาภาพอย่างเดียวก็หามิได้ ผู้ช่วยเขียนปกรณ์จะต้องเป็นผู้มีความรู้ในพระอภิธรรมดีพออย่างหนึ่ง จะต้องมีศรัทธาและอุตสาหะวิริยะจริงๆ อย่างหนึ่งต้องมีความรู้ในด้านภาษาไทยพอสมควรอย่างหนึ่ง ต้องมีโอกาสพอที่จะทำได้อย่างหนึ่ง ผู้ที่พร้อมด้วยลักษณะดังกล่าวมานี้แล้ว จึงจะเป็นผู้ช่วยเขียนปกรณ์ได้ ถ้ามิฉะนั้นก็กระทำไปไม่สำเร็จ เรื่องนี้อาตมาภาพได้เคยใช้ผู้เขียนมามากมายหลายท่านแล้ว ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทั้งบุรุษและสตรีในตอนแรกนั้น ได้ใช้บรรพชิตซึ่งเป็นนักศึกษาอภิธรรมให้ช่วยเขียน แต่ผลที่ได้รับนั้น ไม่สำเร็จ เนื่องจากบางท่านก็ไม่สามารถพอ บางท่านมีความสามารถพอ แต่ขาดอุตสาหะวิริยะบ้าง มีกิจกังวลต่างๆ บ้าง ฉะนั้น งานที่ให้ทำจึงไม่ลุล่วงไปได้ คงช่วยได้แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ในขึ้นต่อมาได้ใช้นักศึกษาชายช่วยเขียน ผลที่ได้รับสำเร็จเป็นส่วนน้อย ไม่สามารถทำให้กิจการดำเนินก้าวหน้าไปได้ ด้วยเหตุนี้ อาตมาภาพจึงได้คัดเลือกนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยในกิจการอัีนนี้ของอาตมาภาพได้มาให้ช่วยเขียนหลายท่าน ผลงานที่ปรากฏสำเร็จลงไปได้ด้วยดีจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๓ นั้น คือปกรณ์ที่เกี่ยวกับพระอภิธรรม ๒๐ เล่ม หนังสือที่เกี่ยวกับการแสดงปาฐกถาและธรรมเทศนา ๕ เล่าเหล่านี้ ก็โดยอาศัยนักศึกษาผู้มีศรัทธาเป็นผู้นำความสำเร็จมาสู่อาตมาภาพเป็นส่วนมาก เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าในระหว่างที่อาตมาภาพดำเนินงานอยู่นั้น ได้รับความลำบากมาทั้งทางกายและใจ

แต่อย่างไรก็ตาม อาตมาภาพลำบากผู้เดียว แต่ทำให้ผู้อื่นเป็นจำนวนมาได้รับประโยชน์และความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้าแล้ว อาตมาภาพก็ยินดียอมรับความลำบากนั้นๆ ทุกประการ โดยมิได้นึกเป็นอย่างอื่น นอกจากจะพยายามชักชวนนักศึกษาอภิธรรมทั้งหลาย กับท่านที่มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระอภิธรรมให้ช่วยกันสร้างปกรณ์ต่างๆ ที่ได้เรียบเรียงเสร็จไปแล้ว ให้เป็นหนังสือหลักธรรมขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนาและเป็นประโยชน์แก่บรรดานักศึกษาพระอภิธรรมต่อไปประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการสร้างสมบารมีทั้ง ๑๐ ตามสมควรที่จะเป็นได้ประการหนึ่ง

ปกรณ์เล่มนี้เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี โดยเฉพาะ และ การที่ได้จัดตั้งปัญหาขึ้นไว้ในปกรณ์นี้นั้น ก็เพื่อประโยชน์แก่บรรดาครูผู้ที่ทำการสอน และนักศึกษาที่กำลังเล่าเรียน จะได้เล่าเรียนศึกษาปัญหาเหล่านี้พร้อมกันไปด้วย เพราะว่าเมื่อถึงคราวสอบนั้นจะได้จัดการคัดปัญหาที่ได้จัดตั้งไว้แล้วในปกรณ์นี้ มาออกเป็นข้อเขียนทั้ง ๑๐ ข้อ พร้อมทั้งคำเฉลยบางข้อก็ได้เขียนเอาไว้แล้วโดยชัดเจน ส่วนข้อสัมภาษณ์ ๕ ข้อนั้น จะได้จัดการคัดเอามาจากคำอธิบายต่างๆ ที่ได้อธิบายไว้แล้ว ณ ข้างต้นออกมาเป็นข้อสัมภาษณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่บรรดานักศึกษาทั้งหลายนั้นเอง

สำหรับการสอนและการสอบในอภิธรรมมหาวิทยาลัีย วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี มีชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น

ชั้นนักศึกษา มี ๙ ชั้น คือ
๑. จูฬอาภิธรรมิกะ ตรี กำหนดปกรณ์ คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๑-๒-๖
๒. "---------- " โท "----"-------- " อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท ๓-๗
๓. "---------- " เอก "--- "-------- " ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ
๔. มัชฌิมอาภิธรรมิกะ ตรี กำหนดปกรณ์ คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๔-๕
๕. "------------- " โท "----- "------ " อธิัมมัตถสังหคหะปริจเฉท ๘-๙
๖. "------------- " เอก "----- "------ " ธาตุกถาสรูปัตถสิสสยะ
๗. มหาอาภิธรรมิกะ ตรี กำหนดปกรณ์คือ ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๑
๘. "----------- " โท "------ "---- " ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๒-๓
๙. "----------- " เอก "----- "----- " มหาปัฎฐานสรูปัตถนิสสยะ

ชั้นอาจารย์มี ๖ ชั้น คือ
๑. อภิธรรมกถิกะ ตรี กำหนดปกรณ์ คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๑-๒-๓
พร้อมทั้งคำอธิบายมาจากอรรถกถา ฏีกา
๒. อภิธรรมกถิกะ โท กำหนดปกรณ์ คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉที่ ๕-๖-๗
พร้อมทั้งคำอธิบายมาจากอรรถกถา ฏีกา
๓. อภิธรรมกถิกะ เอก กำหนดปกรณ์ คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๔-๘-๙
พร้อมทั้งคำอธิบายมาจากอรรถกถา ฏีกา
๔. อภิธรรมาจริยะ ตรี กำหนดปกรณ์ คือ ธัมมสังคณีและธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
๕. อภิธรรมาจริยะ โท กำหนดปกรณ์ คือ ยมกสรูปัตถนิสสยะภาค ๑-๒-๓
๖. อภิธรรมาจริยะ เอก กำหนดปกรณ์ คือ มหาปัฏฐานสรูปัตถนิสสยะ
และบาลีไวยากรณ์ แปลธรรมบท อรรถกถา

การศึกษาพระอภิธรรมนี้ มิใช่มีแต่อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์อย่างเดียว ยังมีปกรณ์อื่นๆ ที่มีเนื้อความสุขุมยิ่งขึ้นไปตามลำดับ นับตั้งแต่ธัมมสังคณีปกรณ์เป็นต้น จนถึงยมกปกรณ์ และมหาปัฏฐานปกรณ์ สำหรับอภิธัมมัตถปกรณ์นั้น เพียงแต่เป็นปกรณ์ที่เป็นพื้นของอภิธรรม ๗ คัมภีร์เท่านั้น ฉะนั้น การศึกษาพระอภิธรรมนี้ ถ้าศึกษาเฉพาะแต่อภิธัมมัตถสังคหะอย่างเดียวแล้ว การรู้เนื้อความของอภิธรรมและการเข้าใจในสภาวธรรมให้กว้างขวางลึกซึ้งนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ อีกประการหนึ่ง เมื่อกำลังศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะอยู่นั้น นักศึกษาควรศึกษาในอรรถกถาฎีกาพร้อมกับเฉลยปัญหาไปด้วย และถ้านักศึกษามีความเข้าใจในอภิธัมมัตถสังคหะทั้ง ๙ ปริจเฉทได้ดีแล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถเล่าเรียนในอภิธรรมปกรณ์ชั้นสูง มีธัมมสังคณีมาติกาเป็นต้น จนถึงมหาปัฏฐานปกรณ์ได้โดยสะดวก เมื่อมีความเข้าใจในปกรณ์ชั้นสูงดีแล้ว ย่อมจะได้รู้ถึงอรรถรสและธรรมรสในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า มั่นคง ในพระพุทธศาสนา ไม่หวั่นไหวทั้งในภพนี้และภพหน้าตลอดจนได้ประสบวิมุตติรส สำเร็จเป็นสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สาวกโพธิญาณ ตามความปราถนาของตนๆ

หนังสือหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะตรี ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งที่ ๔ นี้นั้น ก็เพราะได้กำลังทรัพย์จากนักศึกษาทั้งหลาย ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ที่ได้ช่วยกันสร้างหนังสือต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก

ฉะนั้น อาตมาภาพขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของนักศึกษาทั้งหลาย และพร้อมด้วยท่านที่ได้บริจาคทรัพย์สร้างหนังสือขึ้นทุกๆ ท่าน ขออำนาจกุศลเจตนาของท่านนี้ จงบันดาลให้ท่านทั้งหลายสำเร็จในธรรมอันประเสริฐของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยทุกๆ ท่าน เทอญ.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
:b44: เชิญอ่านชีวประวัติ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
http://www.watrakang.com/onebook/003.pdf
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:
สารนิยกถา
จาก
รูปภาพ
ท่านอาจารย์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมจริยะ
(ท้ายเล่ม ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๑)


สาสนสฺส จ โลกสฺส วุฑฺฒิ ภวตุ สพฺพทา
สานมฺปิ จ โลกกญฺจ เทวา รกฺขนตุ สพฺพทา ฯ

ขอให้ศาสนาทั้ง ๓ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และชนทั้งหลายจงเจริญทุกๆ สมัย
ขอสัมมาเทวาทั้งหลาย จงช่วยกันรักษาศาสนาทั้ง ๓ และชนทั้งหลายทุกทิพาราตรีกาล

อาตมาภาพขออนุโมทนาแก่บรรดานักศึกษาี่ที่ได้มาศึกษาในด้านการสร้างปัญญาบารมีที่เกี่ยวกับ
สุตมยวิปัสสนาญาณ และจินตามยวิปัสสนาญาณ คือการรู้ในความเป็นไปของ รูป นาม ขันธ์๕
อันเป็นกำลังอย่างสำคัญยิ่งแก่การช่วยอุดหนุนฝั่งพระนิพพานในภพนี้ หรือภพต่อไปโดยแน่แท้

การที่อาตมาภาพตั้งความปราถนาาาโดยยกคาถา สาสนสฺส จ โลกสฺส เป็นต้น ขึ้นมาาตั้ง ณ ที่นี้นั้น
ก็เพราะว่าเวลานี้ศาสนาทั้ง ๓ หาใช่เจริญก้าวหน้าไปอย่างแท้จริงโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์ไม่
คงเป็นไปเพียงแต่ผิวๆ เท่านั้น ส่วนความเจริญของประชาชนนั้น ก็คงเจริญก้าวหน้าไปแต่ในทางด้านวัตถุ
ฝ่ายจิตใจนั้นมีแต่ความเสื่อมลงทั้งมิได้รู้เห็นว่าเป็นความเสื่อมของจิตใจอีกด้วย

จริงอยู่ที่กล่าวว่า ศาสนาทั้ง ๓ มิได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างแท้จริง โดยถูกต้องสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์นั้น
หมายความว่า การสอน การศึกษาปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ส่วนมากมิได้มีการศึกษาให้ทั่วถึงใน
ปิฏกทั้ง ๓ เพียงแต่มีการสอนศึกษาไปตามหลักสูตรนักธรรมและเปรียญ สำหรับการสอน การศึกษาใน
อรรถกถาฏีกา ก็มีการศึกษาน้อยเต็มที มีการศึกษาอยู่แต่ในข้อบันทึกที่ได้จัดรวบรวมไว้เท่านั้นเป็นส่วนมาก

การเจริญภาวนาในหลายสำนักก็ยังไม่เข้าถึงฌาน มรรค ผล เจริญได้แต่เพียงนิมิต หรือวิปัสสนาญาณ
ขั้นต้น ผู้ปฏิบัติและผู้สอนต่างก็พอใจว่าได้ธรรมชั้นสูง ความเป็นไปอย่างนี้แหละเป็นส่วนมาก จึงกล่าวได้
ว่าศาสนาทั้ง ๓ ยังไม่เจริญก้าวหน้า การเป็นดังนี้ก็เพราะทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยโดยมากยังไม่มีการสนใจ
ในด้าน นิรามิสปริยัติ ปฏิบัติ ที่เป็นฝ่าย วิวัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้นเอง เพียงแต่สนใจสนับสนุนชักชวน
อยู่ใน สามิสปริยัติ ที่เป็น วัฏฏนิสสิตศาสนกิจ ฝ่ายเดียว จึงเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง

สามิสปริยัติ ปฏิบัติ อันเป็น วัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้น หมายความว่าการสอน การศึกษา การเจริญภาวนา
มุ่งอยู่ที่จะได้รับผลกำไรในทางโลก อันเป็น ศาสนกิจที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์

นิรามิสปริยัติ ปฏิบัติ อันเป็น วิวัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้น หมายความว่า การสอน การศึกษา การเจริญ-
ภาวนา ที่ไม่มีความมุ่งหวังผลกำไรอย่างใดๆ ในทางโลก อันเป็นความเสียหายแห่งเมตตา

อนึ่ง ผู้ใหญ่และผู้น้อยที่มีการสนใจสนับสนุน ชักชวนอยู่แต่ในวัฏฏนิสสิตศาสนกิจ คือ สามิสปริยัติ
ปฏิบัตินั้น โดยมากพากันละเลย เพิกเฉยไม่สนใจ กลับไปวิพากษ์วิจารณ์ด้วยวิธีต่างๆ มีปาฐกถาบ้าง
โต้วาทีบ้าง ดังนั้น เมื่อได้คำนึงถึงพุทธศาสนิกชนในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้าเป็นต้นไปแล้ว ผู้ใหญ่และผู้น้อย
ที่มีหน้าที่โดยตรงในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากเหล่านี้ จะต้องตกเป็นจำเลยในการที่พระพุทธศาสนา
ไม่เจริญก้าวหน้าอย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์อย่างแน่แท้ ต่างกันก็เพียงเป็นจำเลยที่
๑-๒-๓ เท่่านั้นเอง การมีวัดวาอารามและภิกษุ สามเณรมากนั้น ยังไม่เรียกว่าพระพุทธศาสนาถึงซึ่ง
ความเจริญก้าวหน้าโดยแท้จริงแต่ประการใด

สำหรับประชาชนนั้น ถ้าจิตใจมีความเจริญยิ่งขึ้นไปด้วยคุณธรรมเหมือนกับการเจริญแห่งวัตถุแล้ว
วัตถุภายนอกที่กำลังเจริญก้าวหน้าอยู่ ณ บัดนี้ ก็จะช่วยอำนวยสุขให้แก่ประชาชนทั้งหลายได้อย่าง
สมบูรณ์เต็มที่ แต่บัดนี้หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ ดังนั้นวัตถุภายนอกที่ถึงซึ่งความเจริญอยู่นี้ จึงกลายเป็นภัย
อย่างใหญ่หลวงแก่ประชาชนไป ถึงจะมีวิธีแก้ไขจิตใจให้มีคุณธรรมเจริญขึ้น ก็ไม่มีโอกาสจะทำได้
อย่างเต็มที่ เพราะขาดการสนับสนุนช่วยเหลือ จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม....(พ.ศ.๒๕๐๗)

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ที่จะได้รับ จากการศึกษาพระอภิธรรม มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมีโดยสังเขปดังนี้

๑. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรม เกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรม จึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณ ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติ การทำงานของ กายและใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรา และสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ), เรื่องเจตสิก, เรื่องอำนาจจิต, เรื่องวีถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม, เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเรา ในชาติปัจจุบันนี้ มาจากไหนและมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้ว ก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไป ได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยง ระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยว่า ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม(วิบาก) อย่างละเอียดลึกซึ้ง

๓. ผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาว ธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ ในพระอภิธรรม จะแยกสภาวะออกให้เห็นว่า ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอุดหนุน ซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับ ไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา นานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ กี่ ล้านชาติมาแล้ว ที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้ มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหม พระอินทร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้ เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึง นั่นก็คือ นิพพาน
นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลส ตัณหาแล้วนั้น เมื่อสิ้นชีวิตลง ก็จะไม่มีการสืบต่อ ของจิต+เจตสิก และ รูปอีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง และเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธŒ ๕ นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดี ที่เป็นอมตะ และเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาล ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เพราะแค่การให‰ทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุ ให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทำให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด

๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา ซึ่งต้องมีนามธรรม (จิต + เจตสิก )และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดอารมณ์ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ

๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใดๆ ในโลกที่ศึกษาแล้ว จะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับ การศึกษาพระอภิธรรม

๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษา หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลัง และเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงถาวรตลอดไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ทางเดินนั้น มีทั้งทางที่เดินถูก และทางที่เดินผิด
หากไม่ศึกษาเส้นทาง และเชื่อในสิ่งที่ตนปฏิบัติ เจอสภาวะต่างๆ เห็นโน้นเห็นนี่ ก็ยึคถือว่า นั่นแหละทาง ใครบอกใครเตือนก็ไม่เชื่อ ที่ไม่เชื่อเพราะว่าไปยึคในสิ่งที่ตนเองประสบ แต่ไม่รู้หรอกว่า นั่นแหละหลงแล้ว

ธรรมะพุทธองค์มีคำๆ หนึ่ง คือคำว่า ผู้ว่าง่าย หมายถึงเป็นผู้ที่ยอมฟังเหตุผล ยอมฟังในสิ่งที่ผู้รู้ตักเตือน ไม่ใช่ตะบี้ตะบันยืนยันแต่สิ่งที่ตนเองหลง

แล้วทำไมผู้ที่ศึกษามาถึงไม่หลง เพราะรู้เส้นทาง ถ้าผิดไปจากปริยัติที่ตนศึกษามา ก็รู้แล้วว่าไม่ใช่ทางที่ควรจะเจริญต่อไป จึงไม่หลงทาง

ถ้าจะบอกว่า ตำรา คำสอน ปริยัติ คัมภีร์ ไม่ต้องไปศึกษา สำคัญที่ใจที่ปฏิบัติ ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ก็หลงทางกันมากมาย แม้จะเป็นพระก็ตาม ก็สอนกันผิดๆ มากมาย คำสอนผิดๆ ของพระอันตรายกว่าฆราวาสเยอะ เพราะอยู่ในรูปของพระสงฆ์ พูดอะไรมาญาติโยมก็ศรัทธาน้อมรับแบบขาดปัญญา ก็เป็นความซวยของญาติโยมไป ที่เจอพระสอนแบบผิดๆ

อย่าไปหวังพึ่งใครดีกว่า หันมาศึกษาจากพระไตรปิฏก แล้วก็ปฏิบัติตามทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ดีที่สุด

ถ้าจะมานั่งค้นคว้าด้วยใจตนเองนั้น ก็ขอบอกได้เลยว่าหลงทางก็ไม่รู้ ไปถูกทางก็ไม่รู้.........บางทีไปทางที่ผิดก็บอกว่าถูก .....บางทีไปทางที่ถูกแล้วบอกว่าผิด

อย่าฝากชีวิตไว้กับฝีปาก คำกลอน คำสอน ของผู้อื่น สอนผิดเยอะแยะ ลองมาศึกษาพระไตรปิฏกดูสักครั้ง แล้วจะพบว่า สิ่งที่สอนกันผิดๆ มีมากจริงๆ เน้นว่ามีมากจริงๆ ..........ไม่ใช่คำตัดสินของดิฉัน แต่เป็นสิ่งที่ครูอาจารย์หยิบยกมาให้สังเกต หยิบยกมาให้ศึกษา..........บางสำนักเอาผลการปฏิบัติมาทำเป็นเหตุ ฝึกกันเข้าไปอย่างกับจะทำ
วิทยายุธ เพ้อเจ้อพากันมโน ไปไหว้พระอินทร์ ไปเฝ้าพระจุฬามณี...........ที่สอนผิดๆ นั้นขอบอกว่าเยอะค่ะ

เพราะฉะนั้น จงเห็นคุณประโยชน์ของคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฏก จงเห็นประโยชน์ของการศึกษา ไม่ใช่มานั่งงมหาจากจิตตนเอง ระวังอุปาทานยึค หลงงมจมอยู่กับความหลงค่ะ..........อย่ามุ่งต่อต้านตำรา ถ้าไม่อยากศึกษา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปนี้เป็นข้อความบางส่วนจากหนังสือ อภิธัมมาวตาร ...ท่านพระพุทธทัตตเถระ เป็นผู้รจนา

ตสฺมา น วจนมตฺตเมวาวลมฺพิตพฺพํ. น จ ทฬฺหมูฬฺหคาหินา จ ภวิตพฺพํ ครุกุลมุปเสวิตฺวา สุตฺตปทานํ อธิปฺปาโย ชานิตพฺโพ. สุตฺตปเทสุ อภิโยโค กาตพฺโพ. เทฺว สจฺจานิ ภควตา วุตฺตานิ "สมฺมุติสจฺจํ ปรมตฺถสจฺจญฺจา"ติ. ตสฺมา เทฺวปิ สมฺมุติปรมตฺถสจฺจานิ อสงฺกรโต ญาตพฺพานิ. เอวํ อสงฺกรโต ญตฺวา โกจิ การโก วา เวทโก วา นิจฺโจ ธุโว อตฺตา ปรมตฺถโต นตฺถีติ อุปปรกฺขิตฺวา ปจฺจยสามคฺคิยา ธมฺมานํ ปวตฺตึ สลฺลกฺเขตฺวา ปณฺฑิเตน กุลปุตฺเตน อตฺถกาเมน ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย ปฏิปชฺชิตพฺพนฺติ.

"ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ควรยึคถือเพียงถ้อยคำ และอย่ายึคมั่นด้วยความงมงาย พึงเข้าหาสกุลครูผู้ชี้แนะ
แล้วเรียนรู้คำอธิบายของบทในพระบาลี
พึงกระทำความขวนขวายให้เข้าใจบทในพระบาลี พระผู้มีพระภาคตรัสสัจจะ ๒ ประเภทไว้ คือ สมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ จึงควรศึกษาสัจจะทั้งสองประเภทนั้นโดยไม่คละกัน เมื่อเข้าใจโดยไม่คละกันอย่างนี้แล้ว พิจารณาว่า อัตตาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นผู้ทำกรรมหรือเสวยผลกรรมและเป็นสภาพเที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มีจริงโดยสภาวะปรมัตถ์ ได้กำหนดรู้ความเป็นไปแห่งธรรมทั้งหลาย ด้วยการประชุมกันของเหตุปัจจัยแล้ว กุลบุตรผู้มีปัญญาปรารถนาประโยชน์พึงปฏิบัติเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด"


:b8: :b8: :b8:
( :b53: ขอเชิญอ่่าน สมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ในโพสท์ต่อไปค่ะ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

:b42: คำอธิบาย จากหน้า ๔ หนังสือ ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ อชว.

การแสดงธรรมที่เป็นความจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริงของสมมุติโวหาร ชื่อว่า สมมุติสัจจะ
ได้แก่ พระสูตร พระวินัย ปุคคลบัญญัติ

๒. ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริงของสภาวะ ชื่อว่า ปรมัตถสัจจะ
ได้แก่ พระอภิธรรม ๖ คัมภีร์ เว้นปุคคลบัญญัติ ดังมีสาธกแสดงไว้ใน มโนรถปูรณีอรรถกถาว่า

ทุเว สจฺจานิ อกฺขาสิ สมฺพุทฺโธ วทตํ วโร
สมฺมุติ ปรมตฺถญฺจ ตติยํ นุปลพฺภติ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่งกว่าบรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย ไม่ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นความจริง ๓ ประการ ทรงแสดงเพียง ๒ เท่านั้น คือ
:b50: สมมุติสัจจธรรม ประการหนึ่ง และ
:b49: ปรมัตถสัจจธรรม ประการหนึ่ง


การที่พระองค์ทรงแสดงสัจจะ ๒ ประการนี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายเพราะว่า เวไนยสัตว์บางเหล่านั้น ไม่เคยศึกษาเล่าเรียน และสดับตรับฟังพระอภิธรรมในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ที่ได้ล่วงไปแล้ว ฉะนั้น เวไนยสัตว์เหล่านั้นจึงมิอาจที่จะรับฟังปรมัตถธรรมได้

ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงยกสมมุติสัจจะ คือ เรื่องต่างๆ ที่เวไนยสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจะพึงรู้ได้โดยง่ายขึ้นแสดงเป็นประธาน แล้วทรงยกปรมัตถสัจจะแสดงประกอบเป็นปริโยสาน

ส่วนเวไนยสัตว์เหล่าใด ที่ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมมาแล้ว ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ที่ได้ล่วงไปแล้วนั้น เวไนยสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็มีปัญญาเพียงพอที่จะรับฟังปรมัตถธรรมได้ พระองค์จึงทรงยกปรมัตถสัจจะล้วนๆ ขึ้นเทศนาแก่บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

จะเป็นอย่างไรก็ตาม การแสดงธรรมที่เป็นความจริงทั้ง ๒ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งสิ้น

ในสัจจะทั้ง ๒ นี้

:b50: สมมุติสัจจะมี ๒ ประการ คือ
- สมมุติสัจจะ ที่พระองค์ทรงเทศนาไว้ในพระสูตร พระวินัย ประการหนึ่ง
- สมมุติสัจจะ ที่ชาวโลกใช้พูดกัน ประการหนึ่ง
สมมุติสัจจะทั้งสองนี้ แม้ว่าจะเป็นความจริงก็ตาม แต่ก็เป็นความจริงโดยสมมุติโวหารเท่านั้น เมื่อว่าโดยสภาวะองค์ธรรมแล้วไม่มีความเป็นจริง หากแต่เป็นความจริงส่วนหนึ่งที่ป้องกันการก้าวล่วงมุสาวาท

:b49: ส่วนปรมัตถสัจจะนั้นเป็นธรรมที่มีจริง อันได้แก่ รูป นาม ทั้งสอง(นี้) ฉะนั้นการที่พระองค์ทรงแสดงสมมุติสัจจะไว้ในพระสูตรและพระวินัยก็ดี ชาวโลกทั้งหลายที่นิยมใช้พูดกันอยู่โดยถูกต้องก็ดี ย่อมไม่เป็นมุสาวาทแต่อย่างใด ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอังคุตตรอรรถกถา เอกนิบาต ปุคคลวรรณนา ว่า
ตสฺมา โวหารกุสลสฺส โลกนาถสฺส สตฺถุโน
สมฺมุติํ ํ โวหรนฺตสฺส มุสาวาโท น ชายติ

เหตุดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ พระสัมมสัมพุทธเจ้า ผู้ฉลาดในสมมุติโวหารและเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อทรงแสดงธรรมที่เป็นสมมุติสัจจะแล้วก็ไม่เป็นคำมุสาวาทแต่อย่างใด

:b49: ประมัตถสัจจะมี ๒ ประการ คือ
๑. สภาวสัจจะ ธรรมที่เป็นจริงตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ กุศลธรรม อกุศลธรรม เป็นต้นที่แสดงไว้ในอภิธรรมปิฎก

๒. อริยสัจจะ ธรรมที่เป็นจริงโดยเฉพาะอริยบุคคลทั้งหลาย ได้แก่ อริยสัจจ์๔ มีทุกขสัจจะ เป็นต้น
ดังที่พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงเป็นคาถาว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา เป็นต้น นี้เป็นการแสดงนับตามจำนวนของปรมัตถสัจจะ

:b8: :b8: :b8:
(เวไนยสัตว์คือ สัตว์ที่สอนได้ค่ะ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ

เหตุในการบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ


"ปฏิสัมภิทาญาณย่อมถึงความแตกฉานด้วยปริยัติ(การเรียนพระพุทธพจน์) ปริปุจฉา(การไต่ถาม) สวนะ(การฟัง) อธิคมะ(การบรรลุมรรค) และปุพพโยคะ(การเจริญวิปัสสนาจนใกล้ถึงอนุโลมและโคตรภูในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน) "

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2014, 13:04 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุมากๆ ค่ะ คุณ SOAMUSA และลุงหมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


sirinpho เขียน:
:b8: :b8: :b8: สาธุมากๆ ค่ะ คุณ SOAMUSA และลุงหมาน


:b8: สาธุค่ะ ขอบพระคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
29 สิงหาคม 2014 · มีการแก้ไข ·
มงคลที่ ๗ (ตอน ๒) พาหุสจฺจํ (การมีความรู้มาก)

การมีความรู้มากนั้น โดยองค์ธรรมคือปัญญา พระพุทธองค์ตรัสว่า
ปญฺญา นรานํ รตนํ.
“ปัญญาเป็นรัตนะของชนทั้งหลาย”
คำว่า ปัญญาเป็นรัตนะ คือ แม้ปัญญาจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่อาจมอบเป็นมรดกให้กับลูกหลาน แต่ก็ถือว่าเป็นรัตนะทรงค่า ซึ่งมีค่ามากกว่าเพชรนิลจินดาหรือเงินทอง เพราะโจรไม่อาจขโมยปัญญาไปได้ เป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ และแม้จะให้มากเพียงใดก็ไม่หมดสิ้นไปเหมือนโลกิยทรัพย์อื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การมีความรู้มากคือการสั่งสมปัญญา ทั้งที่เป็นปัญญาเกี่ยวกับวิชาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพการงาน การเรียนรู้หลักธรรมของพระพุทธเจ้า รวมไปถึงวิปัสสนาปัญญาซึ่งเราได้ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าใจรูปนามจากประสบการณ์ของตนเช่นนี้ จะทำให้เรามีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนามากขึ้น หมดความสงสัยในพระรัตนตรัย
ที่จริงแล้ว ถ้าเทียบศรัทธาของผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมกับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมนั้น มีความต่างกัน คือ ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมจนกระทั่งบรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ที่รู้เห็นความเกิดดับ อาจเกิดความสงสัยในพระรัตนตรัย โดยสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ พระธรรมเป็นทางแห่งการหลุดพ้นจริงหรือไม่ พระสงฆ์เป็นผู้บรรลุธรรมจริงหรือไม่ เพราะเรายังไม่เคยรู้เห็นว่ารูปนามไม่เที่ยงอย่างแท้จริง
แต่ผู้ที่ได้รู้เห็นความเกิดดับแล้ว พอลืมตาขึ้นมาจะมีความรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เขามักรู้สึกว่าเราไม่สงสัยพระพุทธเจ้าแล้ว แม้ศรัทธานี้จะเป็นระดับปุถุชน ไม่มั่นคงเหมือนศรัทธาของพระอริยบุคคล แต่ก็มีความมั่นคงมากกว่าศรัทธาของคนทั่วไปที่ยังมิได้รู้เห็นความเกิดดับของรูปนาม
โดยทั่วไปคนทั่วไปอาจเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริงโดยประวัติศาสตร์ คือ มีหลักฐานทางโบราณคดีที่อินเดีย มีพระพุทธเจ้าจริงโดยวรรณคดี คือ มีพระไตรปิฏกรองรับเป็นภาษาบาลี และมีหลักธรรมที่ลุ่มลึก เราจึงเข้าใจว่ามีพระพุทธเจ้าโดยประวัติศาสตร์และวรรณคดี แต่มิได้เข้าใจว่ามีพระพุทธเจ้าจากประสบการณ์ของตนจริงหรือไม่
ดังนั้น วิชาความรู้ที่ได้สั่งสมมานี้ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีเกียรติยศชื่อเสียงในสังคม เป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่พึ่งของบุคคลอื่น สามารถแสวงหาทรัพย์สมบัติด้วยวิชาความรู้ของตน มีบริวารที่พึ่งพาตนได้ นี้คือเป็นโลกิยทรัพย์ที่เราแสวงหาได้จากวิชาความรู้ที่ตนได้เรียนมา
นอกจากนั้นแล้ว เรายังได้รับประโยชน์ในอนาคตต่อไป คือการไปเกิดในสุคติภูมิด้วยการหลีกเลี่ยงจากความชั่วและกระทำแต่ความดี โดยเข้าใจจากสิ่งที่ตนได้ศึกษาร่ำเรียน
แม้วิชาความรู้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักกฎแห่งกรรม แต่ก็เหมือนยา กล่าวคือ ยาที่เรามีอยู่แต่มิได้บริโภค ก็ไม่อาจรักษาโรคของเราได้ นั่นก็คือเป็นโรคอวิชชานั่นเอง เมื่อเรามียาแล้ว คือ เราได้เรียนรู้วิชาความรู้แล้ว เราต้องรู้จักกินยานั้นด้วย การกินยานี้ก็เปรียบได้กับการนำวิชาความรู้มาใช้จริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองจริงๆ โดยเฉพาะปัญญาที่เกี่ยวกับทางธรรม นั่นคือการหลีกเลี่ยงจากความชั่ว ทำแต่ความดี เราต้องลงมือปฏิบัติตามความรู้ที่เราได้ศึกษามา จึงจะนับว่าได้บำเพ็ญมงคลข้อที่ ๗ คือพาหุสจฺจํ (การมีความรู้มาก)
ถ้าเราไม่ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาเพื่อปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ก็อาจก่อให้เกิดโทษกับตนเองและผู้อื่น ดังเช่นในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุชื่อว่าท่านพระกปิละ เกิดมานะทิฏฐิด้วยความรู้ของตนเอง ถือว่าตนเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก มีความรู้มาก มีคนนับหน้าถือตา มีบริวารมาก ท่านจึงกล่าวสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย
หลังจากพระกปิละเสียชีวิตแล้ว ได้ตกอเวจีมหานรก หลังจากนั้นจึงไปเกิดเป็นเปรตปลา ชื่อว่าปลากปิละ มีผิวสีทอง เพราะท่านรักษาศีลดี แต่พออ้าปากขึ้นก็มีกลิ่นเหม็นออกจากปากฟุ้งตลบไป เนื่องจากว่ากล่าวสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัยนั่นเอง


:b8: :b8: :b8:
ในเดือนมกราคมนี้ เริ่มต้นเปิดเรียนพระอภิธรรมอีกครั้ง
ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจ เข้าศึกษาตามสถานที่เรียนใกล้บ้านท่าน หรือสถานที่ที่ท่านสะดวกจะไปเรียนค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2015, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




คำปรารภเบื้องต้น.jpg
คำปรารภเบื้องต้น.jpg [ 271.18 KiB | เปิดดู 9642 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

คำปรารภเบื้องต้น (ในที่นี้ขอนำมาเฉพาะบางส่วน)
ของพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหะ

คำสอนของพระบรมศาสดาแห่งชาวเรานี้ นอกจากอาณาเทศนาและโวหารเทศนาแล้ว ยังมีการสอนการแสดงถึงปรมัตถเทศนาอีกด้วย ได้แก่ความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นรูปกับนามที่เกิดขึ้นตามสภาพธรรมนิยามโดยอาศัยเหตุปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้ศึกษาได้รับความรู้และความเข้าใจที่จะทำลายล้างอัตตทิฏฐิที่เป็นมูลรากของมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือตัว ความสงสัยให้หมดสิ้นไป แล้วกลับให้อนัตตสัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นมูลรากแห่งความเลื่อมใส ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ความเห็นความเข้าใจในสิ่งที่สมควรเกิดขึ้น

ดังที่อาตมาได้ยกขึ้นเปรียบเทียบไว้ ณ เบื้องต้นว่าบรรดาชาวโลกผู้นับถือศาสนาพุทธนั้น เหมือนหนึ่งผู้ที่ได้เดินทางไปท่ามกลางแสงสว่าง(ผู้ที่ศึกษาและมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง)

พวกเราเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ยังดำเนินกิจการในด้านพุทธศาสนาไม่ถูกต้องดีพอ ทั้งความเห็นความเข้าใจก็ยังขาดตกบกพร่องอยู่ จึงทำให้ความเป็นไปของคนประเภทนี้เหมือนคำสุภาษิตที่กล่าวว่า "คนตาบอดไม่กลัวผี"

ความเป็นไปแห่งการงานและความคิดเห็นของพุทธมามกชนบางพวกที่เป็นไปในทำนองคนตาบอดไม่กลัวผี เหล่านี้นั้นคือ

ฯลฯ

๒. การแสดงและการศึกษาพระอภิธรรม ย่อมมีหลักฐานปรากฏอยู่ในพุทธประวัติและพุทธานุพุทธประวัติ. คือพระสารีบุตรและสานุศิษย์ ๕๐๐ รูป พระนาคเสน เป็นต้น จนถึงการยกสังคายนาครั้งที่ ๖ ทั้งได้มีการจารึกลงในใบลานบ้าง เป็นหนังสือบ้างที่มีอยู่ทั่วไป ถึงกระนั้นบางท่านยังได้กล่าวว่า พระอภิธรรมนี้ไม่ใช่พุทธภาษิต บางท่านก็กล่าวว่ามิใช่เป็นข้อธรรมที่พวกมนุษย์จะพึงศึกษา ผู้ที่กล่าวดังนี้ก็เพราะว่าเป็นผู้ที่ไม่รู้จักประมาณตนของตน ว่าตนนี้ได้ศึกษาในข้อธรรมนั้นๆทั่วถึงดีแล้วหรือยัง และเคยได้เห็นหนังสือพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาโดยชัดเจนบัางหรือเปล่า เมื่อได้เห็นแล้วได้อ่านเข้าใจในข้อธรรมนั้นหรือไม่ ควรจะพิจารณาใคร่ครวญตรวจดูตนให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ฉะนั้นบุคคลที่กล่าวดังนี้จึงเป็นบุคคลดังที่กล่าวว่า "คนตาบอดไม่กลัวผี"

๓. บางท่านได้รับการศึกษาวิชาธรรมจากสำนักอาจารย์มาพอประมาณไม่เกิน๒๕ ส่วนในจำนวนร้อย บางท่านก็ไม่ได้ารับการศึกษามาจากสำนักอาจารย์แต่ประการใดเลย เพียงแต่ได้อ่านตำรามาเท่านั้นก็ยังกล้าเขียน เมื่อได้รับคำชมเชยจากพุทธศาสนิกชนที่ยังมีความรู้ในข้อธรรมแต่เพียงเล็กน้อย. แล้วก็เข้าใจว่าตนนี้เป็นนักปราชญ์

ต่อมาการเขียนตำราของผู้ที่ถือตนเป็นปราชญ์นั้น ก็จะค่อยๆคลาดเคลื่อน ห่างออกนอกจากหลักพุทธภาษิตและอรรถกถาฎีกา คือพระพุทธภาษิตและอรรถกถาฎีกามีความหมายหนึ่ง แต่ข้อความที่ผูนั้นนำเอามาบรรยายขยายไปนั้นก็ยังเป็นอีกความหมายหนึ่ง

แต่การงานของท่านเหล่านี้ก็ยังดำเนินไปด้วยดี พร้อมทั้งผู้ฟังก็ยังสนับสนุนอยู่ ทั้งนี้เพราะว่าประชาชนบางเหล่าก็มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ดี แต่ก็ไม่รู้ว่าผิดถูกแค่ไหน. ทั้งยังไม่มีความพยายามที่จะรับฟังคำที่ถูกอีกด้วย บางเหล่าก็ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างที่แท้จริง ทั้งไม่รู้ผิดหรือถูกประการใดอีกด้วย เพียงแต่มีความประสงค์ที่จะฟังเล่นเพื่อสนุกเท่านั้น

ฉะนั้นผู้ที่ถือตนว่าเป็นนักปราชญ์พร้อมกับสานุศิษย์ที่ยอมตนเป็นผู้รับฟังเหล่านี้ จึงเป็นบุคคลดังกล่าวว่า "คนตาบอดไม่กลัวผี"

ฯลฯ
ฉะนั้นข้อนี้ นอกจากท่านที่มีจิตใจอันบริสุทธิ์และประกอบด้วยปัญญา ทั้งมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองโดยถูกต้องแล้ว ก็ย่อมจะถูกตำหนิติเตียนจากท่านเหล่านั้นได้(คนตาบอดไม่กลัวผี)

ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรชิตทั้งหลาย เมื่อได้ทราบถึงกิจการที่กำลังเป็นไปอยู่ เหมือนกับคนตาบอดไม่กลัวผีเหล่านี้แล้ว ขอจงได้ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยเทอญ

:b8: :b8: :b8:

ภาพลายมือด้านบนนั้นเป็นลายมือพ่อของดิฉันเองค่ะ

คนเดี๋ยวนี้ไม่กลัวบาปไม่กลัวนรก บางพวกหากินกับความศรัทธาของคน ตั้งตนเป็นผู้รู้ แอบอ้างตนเป็นพระอริยะ อธิบายอะไรให้ต่างจากความถูกต้อง ไม่เอาคำอธิบายของครูอาจารย์ แต่ตั้งตนเป็นผู้รู้จะอธิบายพระพุทธพจน์เสียเองทั้งที่ตนนั้นก็ไม่ศึกษาเล่าเรียนพระบาลีมา ไม่เอาอรรถกถาฎีกาจารย์ คนตาบอดไม่กลัวผีกลุ่มนี้ ก็มีคนจำนวนหนึ่งหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ คนที่หลงเชื่อก็สนับสนุนเงินทอง ซื้อหนังสือแต่งใหม่ สินค้าต่างๆ สร้างความร่ำรวยให้เหล่าคนตาบอดไม่กลัวผี ให้มีทุนรอนทำลายพุทธศาสนากันต่อไปค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 23:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 718

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะพยายามเข้ามาศึกษาบ่อยๆแต่ก็ยากนะครับ :b13: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2015, 10:51
โพสต์: 12

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีแบบที่เรียนแล้วได้เงินมั้ย เหมือนท่านอนาถบิณทิกะเศรษฐีจ้างลูกฟังธรรมกับพระพุทธองค์
ถ้าเรียนจบได้ 2000 บาท อะไรงี้มีมั้ยครับ เผิ่อว่าคนจะสนใจมากขึ้น มีสมุด ปากกา แจกด้วยมั้ย

.....................................................
พระมหากัจจายนเถระ พระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านการเทศนาขยายความแห่งธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดาร โดยพระอรรถกถาจารย์ได้พรรณาไว้ว่า ท่านสามารถทำพระดำรัสโดยย่อของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะได้ ชื่อของท่านในพระไตรปิฎกบางแห่งพิมพ์เป็น พระมหากัจจานเถระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2015, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุทุกๆ ท่าน ขอบพระคุณที่เข้ามาอ่านกันค่ะ

การเรียนพระอภิธรรมนั้น ไม่ใช่เรียนแค่ปีเดียวแล้วจะเข้าใจได้มากมายทันที ยังต้องเรียนต่อไปเรื่อยๆ
การเรียนนี้ถึงเรียนตั้งแต่จูฬตรีจนจบมหาเอกแล้ว ก็ยังเป็นความรู้ที่เล็กน้อยมากๆ ไม่ได้ศึกษากันอะไรมากมายในสิ่งที่ต้องรู้จริงๆ การเรียนนี้จึงเป็นแค่พื้นฐานปูทางเท่านั้นที่จะให้เราเข้าไปศึกษาต่อ ในการอ่านพระสูตรได้เข้าใจ ให้เราไปอ่านคัมภีร์ต่างๆ ได้เข้าใจ ให้เราไปอ่านหนังสือต่างๆให้เข้าใจเช่น วิสุทธิมรรค เป็นต้น และฟังอาจารย์สอนกรรมฐานในสำนักต่างๆ ได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

เพราะถ้าจะเอาความรู้จริงๆ จากการอ่านพระสูตรนั้น ทุกๆ ท่านก็คงเข้าใจได้ว่า แต่ละบรรทัดถ้าจะให้เข้าใจได้จริงๆ จะยากมาก บางครั้งแค่เนื้อความสามบรรทัด เราติดขัดกับความเข้าใจได้หลายๆ จุด ถึงแม้มีคำอธิบายจากอรรถกถามาอ่านประกอบก็ตาม ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพระสูตรได้ มีสภาวธรรมปรากฏอยู่มากมายในพระสูตร ที่ผู้อ่านไม่สามารถเข้าถึงความเข้าใจได้อย่างแท้จริง จึงต้องอาศัยพระอภิธรรมที่อธิบายถึงสภาวธรรมเข้าไปประกอบกับการอ่านค่ะ

ในปุจฉาและวิสัชนา นั้น มีสภาวธรรมปรากฏอยู่มากมายในคำถามและคำตอบที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เราจะเข้าใจได้นั้น ต้องมีการเข้าใจว่าเป็นคำถามในปัญหาใด และในคำถามนั้นทรงแสดงถึงเรื่องใดอย่างไร การเรียนพระอภิธรรมจะนำทางให้เราเข้าถึงในสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่ในคำถาม และสามารถเข้าใจได้ถึงคำตอบว่ามีส่วนใดของปรมัตถธรรมปรากฏอยู่ในคำตอบ เราจะสามารถแยกปรมัตถธรรม ออกเป็นส่วนๆ จากคำตอบนั้นได้ เราก็จะสามารถเข้าถึงสุตมยปัญญาในปุจฉาและวิสัชนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์ต่างๆค่ะ

การเรียนพระอภิธรรมนี้ จะต้องมีการประกอบร่วมกัน ๔ อย่างคือ
๑. อาจารย์ผู้สอน เป็นผู้อธิบายเนื้อหาให้เราเข้าใจ
๒. ตัวเรามีความมุ่งมั่นที่จะเรียน ประกอบกับความเพียร ถึงจะเข้าใจอะไรได้ไม่มากในเบื้องต้น
อาศัยความมุ่งมั่นกับความเพียร อดทนไม่ละทิ้ง ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่ทิ้ง ไปฟังบรรยายทุกครั้ง และสอบด้วย
เพราะการสอบจะเป็นการกระตุ้นให้เรายิ่งต้องใส่ใจ ยิ่งใส่ใจศึกษามากขึ้น ความเข้าใจก็มากขึ้น
๓. กัลยาณมิตร คือมีเพื่อนๆ คอยช่วยอธิบายในบางจุดที่เราสงสัย เพราะบางครั้งเพื่อนที่เรียนเก่งๆ เค้าก็ช่วยแนะนำเราได้นะคะ
๔. ต้องอาศัยเวลาค่ะ คือเข้าไปนั่งเรียนปุ๊บ เข้าใจแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจำได้ ออกจากห้องเรียนแล้วไม่สนใจกลับไปทบทวนก็จะลืมในเวลาอันรวดเร็วค่ะ เป็นอย่างนี้จริงๆ ธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่ใช่จะจำกันได้ง่ายๆ ค่ะ ต้องอาศัยเวลามาท่องย้ำไปย้ำมาจนไม่ลืม เช่น อย่างการเรียนคัมภีร์หนึ่งๆ นั้น ต้องใช้เวลาเป็นปีในบางคน กว่าจะเข้าใจและท่องย้ำไปย้ำมา จึงจะสรุปรวบรวมความต่างของแต่ละหัวข้อ เพื่อสามารถตอบปุจฉาและวิสัชนาได้โดยไม่ต้องดูหนังสือ แต่บางคนก็อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้นั้น ขึ้นอยู่กับความเพียรด้วยค่ะ เป็นต้น

(ในคัมภีร์ต่างๆนั้นในแต่ละหนึ่งปุจฉาเท่ากับ ๑ พระธรรมขันธ์และหนึ่งวิสัชนาของปุจฉานั้น ก็เท่ากับ ๑ พระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้น ในปุจฉาวิสัชนา ๑ คู่นี้ ก็คือ ๒ พระธรรมขันธ์ ใน ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์)

แต่ในบางคนนั้น เรียนได้ไม่ค่อยเข้าใจ ในตอนแรกๆ เพื่อนช่วยอธิบายก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่อาศัยมาฟังบรรยายบ่อยๆ แล้วกลับไปทบทวนซ้ำไปซ้ำมา พอเวลาผ่านไปสักพักก็เรียนเก่งขึ้นมาได้

ในคนที่อายุมากๆ สูงวัยแต่มีความเพียรมาก ก็เรียนเก่งก็มีค่ะ ถึงแม้จะลืมไปบ้างบางครั้ง แต่ก็เคยได้เข้าใจ พอฟังย้ำไปย้ำมาก็เข้าใจ แต่ความจำสั้นค่ะ เดี๋ยวก็ลืมอีกแล้วก็มี ท่านสว.(สูงวัย)ประเภทนี้ จะมีความเพียรแรงกล้ามาก สามารถสอบผ่านได้ค่ะ

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
แปลว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

ในหัวข้อ ๑-๔ นี้ขอติดที่อ้างอิงไว้ก่อน หาเจอแล้วจะนำที่อ้างอิงมาใส่ให้ในภายหลังค่ะ

สำหรับท่านที่ต้องการหนังสือเรียน
สามารถบอกกับเพื่อนๆ หรือถามคุณแม่ชีที่ห้องธุระการได้ว่า มีหนังสือเรียนบริจาคหรือไม่
เพราะคุณแม่ชีจะมีหนังสือเรียนเก่าที่มีคนมาบริจาคไว้ สำหรับรุ่นน้องนำมาใช้เรียนต่อได้ค่ะ

สำหรับปากกาและหนังสือ ถ้าต้องการรับบริจาคก็จะมีคนซื้อมาแจกกันค่ะ

ยิ่งถ้าเป็นพระหรือแม่ชี คนที่นี่เค้าถวายค่าเดินทางไปพม่า ไปอินเดียกันเลยนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร