วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

๑๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย

ธรรมที่อุปการะแม้เกิดภายหลัง


ปัจจยธรรม ได้แก่ จิตดวงที่เกิดขึ้นภายหลังๆ

ปัจจยุปันธรรม ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นก่อนจิตนั้นๆ

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า การเกื้อกูลด้วยปัจฉาชาตปัจจัย หมายถึง การอุปถัมภ์ค้ำจุนให้รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนมีความแข็งแกร่งและแข็งแรงด้วยพลังจิตที่เกิดขึ้นภายหลัง ครุวนาดุจการเอาไม้ที่แข็งแรงค้ำจุนบ้านเก่าแก่ที่กำลังจะทรุดตัวลงฉันนั้น

อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ปัจจัย นั้น มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
๑) มีลักษณะของการให้การเกื้อกูลโดยกระทำสิ่งที่ยังไม่ีมีให้มีขึ้น และ
๒) มีลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ำจุนสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วซึ่งกำลังจะทรุดโทรมให้มีความแข็งแรงมีอายุยืนยาวต่อไป
ซึ่งในบรรดาลักษณะ ๒ ประการนี้ พึงทราบว่า ปัจฉาชาตปัจจัยมีลักษณะเป็นอย่างที่ ๒

มีคำพังเพยกล่าวไว้ว่า "จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง", "จิตหนุ่ม กายก็หนุ่ม"
หมายความว่า หากจิตของคนเรานั้นมีความสดไม่เหี่ยวเฉา ก็จะทำให้ร่างกายดูอ่อนกว่าวัย แม้อายุจะมากแต่ก็ทำให้ดูเหมือนยังอยู่ในวัยหนุ่ม-สาว ดูกรณีของนักกีฬา แม้ว่าร่างกายของพวกเขาจะอ่อนเพลียเพราะการออกแรง แต่เนื่องจากสภาพจิตของพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ จึงทำให้สามารถเล่นกีฬาได้จนกระทั่งจบเกม แม้เมื่อเล่นจบเกมแล้ว แต่ด้วยอำนาจของพลังจิต พวกเขาก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่สดใสกระปรี้กระเปร่า

ยังมีคำกล่าวในทางลบประโยคหนึ่งว่า "จิตท้อ กายยับ" เช่น คนป่วยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง ก็มักจะไม่ค่อยเป็นอะไรมาก แต่เมื่อรู้ว่าเป็นจึงทำให้สภาพจิตตก กลายเป็นคนไข้หนักภายในชั่วข้ามคืน เมื่อไม่นานมานี้ มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการตัดคอนักโทษประหารผู้หนึ่ง โดยการปิดหน้านักโทษดังกล่าว แล้วแกล้งทำเป็นตัดคอ เลือดไหลหยดติ๋งๆ เหมือนกับของจริง จนนักโทษผู้นั้นนึกว่าตนถูกตัดคอจริง กระทั่งช๊อกตายไปในที่สุด ทั้งที่ความจริงแล้วเขายังไม่ได้ถูกตัดคอเลย นี่เป็นผลมาจากกระบวนความคิดทางจิตใจล้วน

คนเรานั้น หากจิตใจฮึกเหิม ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีพลังฮึกเหิมไปด้วย ในขณะเดียวกัน หากจิตตกรูปร่างกายจะกลายเป็นสิ่งไร้สมรรถภาพไปในบัดดล ก็เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของจิตที่มีอิทธิพลต่อรูปร่างกายอย่างนี้แล้ว ก็จงใช้สอยปัจฉาชาตปัจจัยนี้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จงอย่าใช้ในทางที่ผิด

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุขสดชื่นทั้งใจและกายเทอญ
.......................................................................................................

๑๒
อาเสวนปัจจัย
สิ่งที่ทำอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นอุปนิสัยใจคอ



ปัจจยธรรมได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นหลังๆ

อนึ่ง ตามธรรมชาติของวิถีจิตแล้ว พึงทราบว่า หากกุศลจิตเกิด กุศลจิตนั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ครั้ง(๗ ดวง) แม้ในอกุศลจิตก็เช่นเดียวกัน

ก็แล ในการเกิดขึ้นโดยเสมอภาคกันแห่งจิตทั้งหลายเหล่านั้น พึงทราบว่า พลังอำนาจของจิตดวงที่เกิดขึ้นก่อนจะช่วยเกื้อกูลให้จิตดวงหลังๆ มีพลังลักษณะการเกื้อกูลเช่นนี้เอง พระบรมศาสดาท่านทรงเรียกว่า "ความเป็นอาเสวนปัจจัย"

อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน ตัวอย่างในทางที่ไม่ดี ก็เช่น คนติดเหล้า ติดบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ตอนแรกๆ ก็เป็นเพียงแค่การอยากลอง แต่พอได้ลองแล้วก็เกิดติดอกติดใจจนต้องลองเป็นครั้งที่ ๒-๓-๔-๕ จนกระทั่งถึงขั้นอเตกิจโฉ คือเยียวยาไม่ได้ นี่แหละเป็นผลของการเสพคุ้นที่ทางพระอภิธรรมท่านเรียกว่า อาเสวนปัจจัย

ในเรื่องของการกินก็เช่นกัน คนตะกละชอบกินเนื้อ หากมื้อไหนไม่มีเนื้อก็กินไม่ลง นอนไม่หลับ ในที่สุดก็ถูกลกามเทพลวงกิน กล่าวคือ ทำให้ไม่สามารถแยกจิตกินกับจิตนอนออกจากกันได้(กินก็จิตนั้น นอนก็จิตนั้น) นี่แหละืคือผลของการเป็นอุปการะแห่งอาเสวนปัจจัยในทางที่ไม่ดี

ผู้ที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าให้คนทั้งโลกได้ใช้มาถึงปัจจุบันก็คือ โธมัส แอลวา เอดิสัน เขาผู้นี้คืออัจฉริยะ กว่าที่เขาจะประสบผลสำเร็จได้นั้น เขาต้องทำการทดลองเป็นพันๆ ครั้ง นั่นก็คือ เป็นการทำอาเสวนปัจจัยดีๆ นั่นเอง

แม้ในการประดิษฐ์โืีทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน กว่าจะสำเร็จได้ ผู้ประดิษฐ์ต้องทำอาเสวนปัจจัยมากกว่า ๔๐ ปีทีเดียว

การที่จะได้ยาดีมีประโยชน์ สามารถรักษาโรคร้ายให้หายได้นั้น จะต้องทำอาเสวนปัจจัย กล่าวคือการวิจัยแล้ววิจัยอีกนับครั้งไม่ถ้วน จึงจะประสบผลสำเร็จได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้น ก่อนที่จะทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้นั้น ต้องบำเพ็ญอาเสวนปัจจัยถึง ๖ ปี

พระมหาเถระนามว่า โปฎฐิละ ผู้เชี่ยวชาญปริยัติ ทำอาเสวนปัจจัยอยู่ ๓๐ ปี จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การอบรมบ่มเพาะจนเป็นนิสัยความเคยชินหรือความชำนาญนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ในภาษาบาลีท่านเรียกว่า วาสนา ซึ่งวาสนานี้ก็คืออุปนิสัยสันดาน จะเป็นเงาติดตามตัวเราไปในทุกภพชาติเลยทีเดียว จนต้องมีคำพังเพยที่ว่า "ดัดอะไรนั้นดัดง่าย แต่ดัดนิสัยนั้นดัดยาก"

ธรรมดาว่า จิตใจของมนุษย์ทั่วไปนั้น ย่อมไหลไปตามกระแสแห่งกิเลสตัณหาความสนุกเพลิดเพลิน จากความสนุกเพลิดเพลินเป็นความเคยชินหรือวาสนา หรืออุปนิสัยใจคอ จนไม่สามารถตัดวงจรอุบาทว์นี้ได้ จนต้องพบกับความหายนะวิบัติแห่งชีวิตในที่สุด นี่แหละเป็นผลแห่งอาเสวนปัจจัย

จึงขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นตรึกตรองเลือกใช้สอยแต่อาเสวนปัจจัยในทางที่ดีมีคุณประโยชน์ อะไรที่ไม่ดี ก็ให้ลด ละ เลิก ส่วนที่ดีก็ขอให้หมั่นบ่มเพาะให้เป็นวาสนาภาคี จนสามารถตามเราไปทุกภพชาติเถิด

...................................................................................................

๑๓
กัมมปัจจัย
กรรมเป็นปัจจัยช่วยเกื้อกูล



ปัจจยธรรม ได้แก่ กรรมในชาติปัจจุบันกับกรรมในอดีตชาติ

ปัจจุปันนธรรม ได้แก่ ผลดี ผลชั่ว คุณโทษต่างๆ

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
-การกระทำทางกายโดยมีเจตนา เรียกว่า "กายกรรม"
-การพูดโดยมีเจตนา เรียกว่า "วจีกรรม"
-การมีเจตนานึกคิด เรียกว่า "มโนกรรม"
เพราะกรรมเจตนานั้น จึงก่อให้เกิดการเสวยผลทั้งทางที่ดีและไม่ดีต่างๆ นานา นี้แหละที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งกัมมปัจจัย

กรรมที่ว่านี้มี ๒ ประเภท คือ
๑) สหชาตกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลในขณะที่กำลังทำกรรมนั้น
๒) นานักขณิกกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลภายหลังจากที่ทำกรรมนั้นแล้ว

ยกตัวอย่าง ในกรณีของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย จะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมกล่าวคือจิตใจ และภาครูปธรรมกล่าวคือร่างกายของบุคคลผู้จะฆ่านั้นเกิดภาวะแข็งกระด้าง, หยาบ, เหี้ยม, โหด

ในกรณีของบุคคลผู้ทำการช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตาย พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตรายจะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมและรูปธรรมของผู้นั้นเกิดภาวะสุภาพอ่อนโยน

เจตนาที่หยาบ ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายหยาบไปด้วย เจตนาที่อ่อนโยน ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายอ่อนโยนไปด้วย ก็ลักษณะเช่นนี้และท่านเรียกว่า เป็นการทำอุปการะด้วยสหชาตกัมมปัจจัย

ในอดีตกาล ครั้งหนึ่งผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้หนึ่ง พอถึงปัจจุบัน เมื่อตนเองต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้นั้นก็จะได้รับการช่วยเหลือตอบ ก็ดี การได้รับเบี้ยบำเหน็จ บำนาญ เมื่อตอนเกษียณอายุงาน ก็ดี... ในกาลครั้งหนึ่งเคยทำผิดกฏหมาย แม้ว่าจะสามารถหลบซ่อน หรือหลบหลีกกฏหมายได้อย่างไร แต่เมื่อความจริงปรากฏ เขาก็จะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ได้กระทำหว้อย่างแน่นอน นี้แล คือตัวอย่างของการได้รับผลดี ผลชั่ว เพราะอำนาจของนานักขณิกกัมมปัจจัยเป็นเหตุ

การที่บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรมและเชื่อกรรมและผลของกรรม พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ด้วยพระองค์เองว่า เพราะบารมีกรรมที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไขย์กับอีก ๑ แสนกัปป์ จึงทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอให้ท่านทั้งหลาย นึกถึงความแตกต่างแห่งกรรมและผลของกรรมระหว่างพี่น้องฝาแฝดผู้ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในทางกายภาพ แต่จิตธาตุ(สภาพจิต) รวมถึงการได้รับผลแห่งกรรมนั้น แตกต่างกันราวกับฟ้ากะดิน ที่เป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความวิจิตรพิสดารแห่งกรรมนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งจงเอาใจใส่ตระหนักในเรื่องของกรรมให้ดี และจงมีศรัทธาสถาปนาจารึกไว้แต่กรรมดีเถิด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

๑๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย

ปจฺฉาชาตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง


ปัจฉาชาตปัจจัย หมายความว่า นามธรรม คือ จิตเจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปซึ่ง
เกิดก่อนให้อยู่ได้จนครบอายุของรูป ๑๗ ขณะจิต โดยไม่ให้ดับไปเสียก่อนที่จะถึงกำหนด และยังช่วย
อุปถัมภ์รูปนั้นให้เจริญขึ้นด้วย

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ลูกนกแร้งที่ยังเล็กอยู่ ยังบินไปหาอาหารเลี้ยงตนเองไม่ได้ เมื่อแม่นกออกไปหาอาหาร
ลูกนกที่อยู่ในรังก็ตั้งตาตั้งใจคอย โดยหวังว่าเมื่อแม่กลับมาแล้วคงจะนำอาหารมาเผื่อตนเป็นแน่
ครั้นแม่นกกลับมาแล้วก็ไม่ได้นำเอาอาหารมาให้ลูกของตน

วันรุ่งขึ้น เมื่อถึงเวลาที่แม่นกออกไปหาอาหาร ลูกนกก็คอยหวังอีกว่าเมื่อแม่กลับมาคงจะเอาอาหารมาฝากตนอีก แต่เมื่อถึงเวลาที่แม่นกกลับมา ลูกนกก็คงไม่ได้รับอาหารจากแม่อีกเช่นเคย

ฉะนั้นลูกนกในขณะที่ยังเล็กอยู่นั้น จึงได้แต่เพียงมีเจตนาเกิดขึ้นที่จะคอยรับอาหารอยู่เท่านั้น
ไม่ได้รับอาหารจริงๆ เลย

อาหาราสาเจตนาอันเป็นนามธรรมนี้ มีอำนาจอุปการะให้ร่างกายซึ่งเป็นรูปธรรมของลูกนกนั้นเป็นอยู่
และค่อยเจริญเติบโตขึ้นได้ ฉะนั้น อาหาราสาเจตนานี้ จึงเป็นปัจฉาชาตปัจจัย ร่างกายของนก
เป็นปัจฉาชาตปัจจยุปบัน

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับ
ปุเรชาตปัจจัยและปัจฉาชาตปัจจัย

ความเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ ระหว่างรูปกับนามคือจิตเจตสิก
ด้วยอำนาจปุเรชาตปัจจยและปัจฉาชาตปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่แสดงอนัตตลักขณะ คือ ความไม่มีตัวตน
ที่ยั่งยืนเที่ยงแท้ ต่างเป็นไปเพราะอาศัยการอุดหนุนอุปการะจากสิ่งต่างๆ และสิ่งต่างๆ แต่ละสิ่งก็อุดหนุน
อุปการะแก่กันด้วยอำนาจปัจจัยต่างๆ ชีวิตจึงมีการปรุงแต่งมากและผันแปรตามการปรุงแต่งอันมากมายนี้
ตลอดเวลาในกาลอันยาวนานประมาณมิได้ ชีวิตจึงเป็นสภาพทุกข์ที่น่าสลดใจ น่าหน่าย น่าระอา

เมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิจ
จักมัวเริงร่ากันอยู่ไย
เธอถูกความมืด(ความไม่รู้) ปิดบังแล้ว
ไฉนไม่แสวงหาประทีป(ปัญญา)


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒.
อาเสวนปัจจัย

อาเสวนปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ


อาเสวนปัจจัย หมายถึง ชวนจิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ชวนจิตที่เกิดหลังๆ
(ชวนจิต อ่านว่า ชวนะจิต)

อาเสวนปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัยตรงที่จิตดวงก่อนที่ดับไปเป็นปัจจัยให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นตามลำดับ
แต่ต่างกันที่อาเสวนปัจจัยหมายเฉพาะจิตที่ทำหน้าที่ชวนะ และจิตที่เกิดต่อกันนั้นต้องเป็นชาติเดียวกัน
จะเป็นกุศล อกุศล กิริยาก็ตาม ทั้งนี้ ชวนจิตจะต้องเกิดดับต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า ๔-๕ ขณะ
จึงจะเป็นอาเสวนปัจจัย

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
บุคคลที่เคยผ่านการศึกษาในวิชาอย่างหนึ่งมาแล้ว เมื่อจะต้องการศึกษาในวิชาอย่างเดียวกันนั้นต่อไป
ก็ย่อมจะเรียนได้ง่ายและเข้าใจได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยความรู้ที่ตนได้เคยผ่านมาแล้วในวิชานั้น
เป็นเครื่องอุดหนุนส่งเสริมให้เรียนได้ง่ายขึ้นและรู้เร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนในวิชานั้นๆ

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอาเสวนปัจจัย

:b53: พึงตัดความต่อเนื่องของอกุศลชวนะ และยังกุศลชวนะให้เกิดต่อเนื่องให้มาก เพื่อจะได้อุดหนุนให้
กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้นๆ ไปจนถึงโลกุตตรกุศล


ข้อควรระวัง คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้

" ถ้ามีความเห็นผิด ก็สามารถทำ กุศล ให้เป็น อกุศล ได้
เช่น ถ้าไม่เห็นชาติทุกข์ ชราทุกข์... พอทำกุศลแล้ว ก็ไปหวังลาภ ยศ...

วัฏฏคามินีกุศลยังสามารถทำให้เกิดอกุศลเช่น ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
เพราะผลที่เราหวังเป็นอามิส มิใช่นิรามิส

แม้แต่ธัมมารมณ์ - หวังจะได้เกิดเป็นพรหม อรูปพรหม เจริญฌานแล้วยินดีในภพนั้นๆ

ถ้าเราไม่รู้ กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ ทำให้ค่าของกุศลที่เราทำหมดไป
ฉะนั้น เวลาเราจะทำอะไร ต้องฝ่าด่านอกุศลไปให้ได้ ทำแล้วอกุศลต้องไม่ตามมา

เพราะได้พบพระพุทธเจ้า ได้ศึกษาธรรมของพระองค์ จึงรู้ที่จะทำวิวัฏฏคามินีกุศล - กุศลที่เป็นไป
เพื่อดับวัฏฏทุกข์ กุศลชนิดนี้เรียกว่า บารมี เพราะไม่เจือด้วยอำนาจทิฏฐิ - ความเห็นผิด ความโลภ
เป็นต้น

พระโพธิสัตว์ปรารถนาพระสัมมาสัมพุทธญาณ ด้วยหวังเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ด้วยอำนาจของความกรุณา
การกระทำของท่านเป็นไปเพื่อวิวัฏฏะทั้งหมด "(พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก)

มุญฺจ ปุเร จงปล่อยเถิดปล่อยวางในข้างหน้า
มุญฺจ ปจฺฉโต ปล่อยเถิดหนาปล่อยวางในข้างหลัง
มชฺเฌ มุญฺจ ปล่อยเสียเถิดท่ามกลางวางระวัง
ภวสฺส ปารคู ถึงเสียเถิดถึงยังฝั่งของภพ
(ธัมมบท คาถาที่ ๓๔๘)
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓.
กัมมปัจจัย

กมฺมปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สำเร็จลง

กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
๑. สหชาตกัมมปัจจัย หมายถึง กรรม คือ เจตนาเจตสิกในจิตทุกดวง ทำหน้าที่ สังวิธานกิจ คือ
กระตุ้นเตือนและจัดแจงปรุงแต่งจิตเจตสิกที่เกิดพร้อมกันกับเจตนานั้นให้ทำหน้าที่ของตนๆ

เช่น เจตนาในโลภมูลจิตจัดแจงให้เจตสิกที่ประกอบ มีทิฏฐิเจตสิกหรือมานเจตสิก เป็นต้น
ทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ ส่งเสริมให้โลภมูลจิตมีกำลังมากขึ้น จนถึงแสดงอาการทางกาย วาจา

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
กองทหารกองหนึ่งๆ ต้องมีนายทหารเป็นหัวหน้า เป็นผู้บังคับบัญชาคอยออกคำสั่งแก่พวกเหล่าทหาร
ให้ทำหน้าที่ไปตามคำสั่งของตน ฉันใด

นายทหารก็เปรียบเหมือนเจตนาเจตสิก เหล่าทหารก็เปรียบเหมือนสหชาตธรรม คือ จิต เจตสิก กัมมชรูป
และจิตตชรูป ที่เกิดร่วมกับเจตนาเจตสิก ฉันนั้น

๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึง กรรมที่เกิดต่างขณะกับผล คือ เจตนาเจตสิกที่เกิดขึ้นในกุศลจิตอกุศล
จิตที่ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดผลคือวิบากในภายหลัง

เจตนาในข้อนี้ทำหน้าที่ พีชนิธานกิจ คือทำหน้าที่เพาะพืชพันธุ์ คือ เก็บรักษาการกระทำที่ทำไปแล้ว
มิให้สูญหายไป เพื่อให้เกิดผลในเวลาต่อไปในชาตินี้หรือในชาติต่อๆ ไป ตามสมควรแกกำลังของเจตนา
นั้น การก่อให้เกิดผลของนานักขณิกกัมมะนี้ เป็นไปทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล ผลที่ได้รับใน
ปฏิสนธิกาลนั้นได้รับเฉพาะชาติหน้า ส่วนผลที่ได้รับในปวัตติกาลนั้นได้รับทั้งในชาตินี้และชาติหน้า


อตฺถมญฺญาย ถ่อถ้วนในเนื้อแท้
ธมฺมมญฺญาย ถ่องแท้ในเนื้อธรรม
ธมฺมานุธมฺม- ธรรมถ้วนที่ควรทำ
ปฏิปนฺโน โหติ ก็กระทำตามที่ควร
(สยามรัฐ อัง.๒๗/๖๕/๑๑๗)


:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับกัมมปัจจัย
การให้ผลของนานักขณิกกัมมะในปวัตติกาล ประกอบด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ กาล คติ อุปธิ ปโยคะ
ถ้าเป็นเหตุฝ่ายดีเรียกว่า สัมปัตติ ถ้าเป็นฝ่ายไม่ดีเรียกว่า วิปัตติ

๑.) กาล ได้แก่ ยุคหรือสมัย ถ้ายุคใดพระพุทธศาสนารุ่งเรือง ผู้ปกครองประเทศเป็นสัมมาทิฏฐิ
อยู่ในศีลในธรรม ยุคนั้นกาลนั้นเรียกได้ว่าเป็น กาลสัมปัตติ ถ้ากาลใดยุคใดพระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไป
ผู้ปกครองประเทศเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่อยู่ในศีลในธรรม กาลนั้นเรียกว่า กาลวิปัตติ

๒.) คติ ได้แก่ ที่เกิด ถ้าเกิดในสุคติภูมิ คือ มนุษย์ เทวดา พรหม เรียกว่า คติสัมปัตติ
ถ้าเกิดในทุคติภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า คติวิปัตติ

๓.) อุปธิ ได้แก่ อวัยวะร่างกาย ถ้าเกิดมามีร่างกายอวัยวะใหญ่น้อยครบบริบูรณ์ เรียกว่า อุปธิสัมปัตติ
ถ้าเกิดมามีอวัยวะขาดตกบกพร่อง เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นต้น เรียกว่า อุปธิวิปัตติ

๔.) ปโยคะ ได้แก่ ความเพียร บุคคลใดอาศัยความเพียรในทางที่ถูกประกอบกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมอันสุจริต เรียกว่า ปโยคสัมปัตติ บุคคลใดอาศัยความเพียรในทางที่ผิด ประกอบกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรมอันทุจริต เรียกว่า ปโยควิปัตติ

:b49: บุคคลใดมีสัมปัตติทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ นานักขณิกกัมมะฝ่ายกุศลก็มีโอกาสส่งผลที่ดี มีการได้รับ
อารมณ์ที่ดี มีรูปร่างงดงาม เป็นต้น

:b49: บุคคลใดมีวิปัตติทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ นานักขณิกกัมมะฝ่ายอกุศลก็มีโอกาสส่งผลที่ไม่ดี มีการได้รับอารมณ์
ที่ไม่ดี มีรูปร่างไม่งดงาม เป็นต้น เห็นได้ว่า สัมปัตติหรือวิปัตติที่เรามีส่วนให้เกิดขึ้นได้ในชีวิตปัจจุบัน
มี ๒ ประการ คือ
๑.) กาล ควรช่วยกันส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาตามคำสอนแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่งเรือง
ไพบูลย์ และส่งเสริมให้ได้คนดีมีศีลธรรมมาเป็นผู้ปกครองดูแลสังคมในแต่ละภาคส่วน
๒.) ปโยคะ - ความเพียร ควรศึกษาและปฏิบัติกระทำความเพียรที่ถูกต้องเป็นสุจริต โดยมีหลักว่า

"น ตํ กมมํ กตํ สาธุ ยํ กตวา อนุตปฺปติ
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตวา นานุตปฺปติ"
(ธัมมบท คาถาที่ ๖๗,๖๘)

ทำกรรมใดแล้ว เดือดร้อนใจในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี,
ทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง กรรมนั้นแลทำแล้วดี.


สัตว์อันเกิดมาในโลกวิสัยล้วนมีกรรมเป็นของตน คือ กระทำกุศลไว้กุศลก็ให้ผล กระทำอกุศลไว้
อกุศลก็ให้ผล เห็นอย่างนี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัยให้ได้รับผลดีในชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ที่สำคัญ
เป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานได้

:b8: :b8: :b8:

:b42: :b50: :b50: :b50:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป


:b42: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/


:b48: เชิญอ่านปัจจัยที่ ๑๘ ที่กระทู้ที่ ๗ ค่ะ

viewtopic.php?f=66&t=41820

-----------------------------------------------

:b45: กลับไปกระทู้ที่ ๑
viewtopic.php?f=66&t=41814



:b48: เชิญอ่านต่อกระทู้ที่ ๖ ค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41819

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร