วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความกล่าวโดยปรมัตถธรรมแล้ว อายตนะหมายเลข ๖ มนายตนะ อัน เป็นอายตนะภายในนั้น เป็นจิตปรมัตถ อายตนะ หมายเลข ๑๒ ธัมมายตนะ อันเป็นอายตนะภายนอกนั้นเป็น รูป ปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ และนิพพาน
ส่วนอายตนะที่เหลืออีก ๑๐ นั้น เป็นรูปปรมัตถทั้งหมด
รวม อายตนะ ๑๒ ได้ ปรมัตถธรรมครบทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
อนึ่ง ในบทอายตนะนี้มีข้อที่ควรสังเกตอยู่ว่า ธัมมายตนะนั้น องค์ธรรมได้แก่ สุขุมรูป ๑๖, เจตสิก ๕๒ และนิพพาน ๑ รวมเป็นธรรม ๖๙ ด้วยกัน
นิพพาน เป็นธรรมภายนอกโดยแท้และแน่นอน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น นิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้น ไม่มีเลย ส่วนสุขุมรูป ๑๖ และเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นธรรมภายในก็มี เป็นธรรมภายนอกก็มี แต่เมื่อกล่าวโดยความเป็นอายตนะแล้ว ถือว่าธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะ
อายตนะ หมายถึงเครื่องต่อ อันว่าการต่อจะต้องมีของสองสิ่งมาต่อกัน เครื่อง ต่อสิ่งหนึ่งนั้นมีอยู่ในตัวเราแล้ว จึงเรียกว่า อายตนะภายใน ส่วนเครื่องต่ออีกสิ่ง หนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่โน้มน้าวเข้ามาต่อ จึงถือว่าเป็นของภายนอก มนายตนะ เป็นเครื่อง ต่อภายในได้โน้มน้าว หรือ ยึดหน่วงธัมมายตนะเข้ามาให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น ดังนี้ จึงได้ถือว่าธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอก
โดยทำนองเดียวกัน จักขวายตนะ หรือจักขายตนะ องค์ธรรมได้แก่ จักขุ ปสาทรูปนั้น มีอยู่ในสังขารร่างกายของเรา ก็เป็นธรรมภายใน ที่มีอยู่ในสังขาร ร่างกายอื่น ก็เป็นภายนอก
แม้ โสตายตนะ (โสตปสาทรูป), ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป), ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป), กายายตนะ (กายปสาทรูป), ก็มีทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียว กับจักขวายตนะ
แต่เมื่อกล่าวโดยอายตนะแล้ว ก็ถือว่าอายตนะทั้ง ๕ คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ เหล่านี้เป็นอายตนะภายในแต่ฝ่ายเดียว เพราะเป็นเครื่องต่อที่มีอยู่ในตัวเราแล้ว และ โน้มน้าวหรือยึดหน่วงปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อันเป็นภายนอกเข้ามา จึงทำให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น จึงต้องถือ ว่า อายตนะทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายใน ปัญจารมณ์ทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายนอก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพสังคหะกองที่ ๔ ธาตุ

อตฺตโน สภาวํ ธาเรตีติ ธาตุ ฯ

ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตนนั้นชื่อว่า ธาตุ
ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น เป็นต้นว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ สภาพที่ทรง ไว้ซึ่งการรับรู้อารมณ์ ก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ไม่มีสัตว์ มีบุคคลทำขึ้นหรือสร้างขึ้นมาเลย
ธาตุ มี ๑๘ ก็ด้วยการเกิดขึ้นของวิญญาณ โดยอำนาจหรือความสามารถแห่ง ทวาร ๖ และอารมณ์ ๖
หมายความว่า ด้วยอำนาจแห่งอายตนะภายใน คือ ทวาร ๖ รับกระทบกับ อายตนะภายนอก คือ อารมณ์ ๖ จึงทำให้เกิด วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ เป็นหมวด ๆ (คือเป็นชุด) ดังนี้

ทวาร (ธาตุรับ) ........อารมณ์ (ธาตุกระทบ) ............วิญญาณ (ธาตุรู้)

จักขุธาตุ .......................รูปธาตุ ..................... จักขุวิญญาณธาตุ
โสตธาตุ .......................สัททธาตุ ....................โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ ...................... คันธธาตุ ....................ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาธาตุ ......................รสธาตุ ......................ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายธาตุ .......................โผฏฐัพพธาตุ .............กายวิญญาณธาตุ

ทั้ง ๓ หมวด เป็นจำนวนธาตุ ๑๕ ธาตุนี้ เป็นการสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ โดยมุขยนัย คือนัยโดยตรง
ยังเหลืออีก ๓ ธาตุ คือ มโนธาตุ ธัมมธาตุ และ มโน วิญญาณธาตุ ธาตุที่เหลือ ๓ ธาตุนี้ สงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดย อ้อมเท่านั้น ดังนี้

ปัญจทวาร ........................... ปัญจารมณ์ .....................มโนธาตุ
มโนทวาร .............................ธัมมธาตุ ........................มโนวิญญาณธาตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่าสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดยอ้อมนั้น เป็นเพราะองค์ ธรรมแตกต่างกัน แต่ว่าใกล้เคียงกัน คือ
วิญญาณ ได้แก่ จิต ๘๙
วิญญาณธาตุ ๗ ได้แก่ ๑.จักขุวิญญาณธาตุ ๒.โสตวิญญาณธาตุ ๓.ฆานวิญญาณธาตุ ๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ ๕.กายวิญญาณธาตุ ๖.มโนธาตุ ๗.มโนวิญญาณธาตุ
มโน หรือ มนะ ได้แก่ จิต ๘๙
มนายตนะ ได้แก่ จิต ๘๙
มโนทวาราวัชชนะ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิตดวงเดียวเท่านั้น
มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒, มหาวิบากจิต ๘, มหัคคตวิบากจิต ๙
มโนธาตุ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ และ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่จิต ๗๖ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓)
ธัมมารมณ์ ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, บัญญัติ, นิพพาน

ธัมมายตนะ ได้แก่ เจตสิก ๕๒, สุขุมรูป ๑๖, นิพพาน

ธัมมธาตุ ได้แก่ เจตสิก ๕๒, สุขุมรูป ๑๖, นิพพาน

ธาตุทั้ง ๑๘ นี้ เป็นรูปล้วน ๆ ๑๐ ธาตุ คือ
รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ
จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ
เป็นนามล้วน ๆ ๗ ธาตุ คือ
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เป็นทั้งรูปทั้งนาม ๑ ธาตุ คือ ธัมมธาตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดขึ้นของธาตุตามทวารต่าง ๆ

การเกิดขึ้นของธาตุในเวลาที่มี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้นนั้น มีดังนี้
ในขณะที่เห็น มีธาตุเกิดร่วมกัน ๔ ธาตุ คือ
๑. รูปธาตุ ได้แก่ สีต่าง ๆ ๒. จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุปสาท
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๔. ธัมมธาตุได้แก่เจตสิกที่ประกอบ
แต่ถ้ากล่าวถึง จักขุทวารวิถี แล้ว วิถีนี้มีธาตุเกิดร่วมด้วยกัน ๖ ธาตุ คือ ๑.รูปธาตุ ๒.จักขุธาตุ
๓.จักขุวิญญาณธาตุ ๔. ธัมมธาตุ (ทั้ง ๔ นี้ เหมือนในขณะ เห็น) และ ๕.มโนธาตุ หมายถึง ปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต ๖. มโนวิญญาณธาตุ หมายถึง สันตีรณจิต มโนทวาราวัชชนจิต ชวนจิต ตลอดถึง ตทาลัมพนจิต
ในการได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสถูกต้อง ก็มีธาตุเกิดขึ้นทำนองเดียวกับ การเห็นดังที่ได้กล่าวแล้วนี้
ส่วนทาง มโนทวาร นั้น รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ย่อมเกิดได้ เพราะมโนทวารรู้อารมณ์ได้ถึง ๖ อารมณ์

สัพพสังคหะกองที่ ๕ อริยสัจจ

สัจจะ ที่แปลว่า ความจริง นั้นมีถึง ๖ อย่าง มีบาลีแสดงว่า
ฉยิมานิ สจฺจานิ สจฺจวาจา สจฺจสมฺมติ สจฺจสภาโว สจฺจปรมตฺโถ สจฺจอริยสจฺจํ สจฺจนิพฺพานํ จาติ

สัจจะ ความจริง ๖ ประการ คือ
สัจจวาจา จริงวาจา
สัจจสมมติ จริงสมมติ
สัจจสภาวะ จริงสภาพ
สัจจปรมัตถะ จริงปรมัตถ
สัจจอริยสัจจะ จริงอริยสัจจ
สัจจนิพพานะ จริงนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะอริยสัจจ ซึ่งรวมนิพพานสัจจที่เป็นสัจจที่ ๓ ในอริยสัจจ นั้นด้วยเท่านั้น ดังมีคาถาสังคหะ
เป็นคาถาที่ ๑๓ แสดงว่า

๑๓. ทุกฺขํ เตภูมกํ วฏฺฏํ ตฺณหา สมุทโย ภเว
นิโรโธ นาม นิพฺพานํ มคฺโค โลกุตฺตโร มโต ฯ

แปลความว่า วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้น เป็นทุกข์ ตัณหา ชื่อว่า สมุทัย นิพพาน มีนาม ว่า นิโรธ โลกุตตรมัคค ตรัสว่า ชื่อ มัคค
มีความหมายว่า ปรมัตถธรรมที่นับเข้าใน ไตรภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ เรียกว่า วัฏฏะ คือความหมุนเวียน อันยังให้สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏฏะ ไม่มีที่สิ้นสุด
วัฏฏะนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจจ เพราะเป็นตัวทุกข์จริง ๆ
ตัณหา คือ โลภะ ความโลภ เรียกว่า สมุทยอริยสัจจ เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์จริง ๆ ด้วยความอยากได้จริง ๆ นิพพาน เรียกว่า นิโรธอริยสัจจ เพราะเป็นสภาพที่ทุกข์ดับสิ้นจริง ๆ
โลกุตตรมัคค คือ อัฏฐังคิกมัคค มัคคมีองค์ ๘ เรียกว่า มัคคอริยสัจจ เพราะ เป็นทางสายเดียวแท้ ๆ ที่ให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง ๆ
ของจริง ๔ ประการคือ ทุกข สมุทัย นิโรธ มัคค ที่กล่าวนี้มีชื่อว่า อริยสัจจ บางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า สัจจ ๔ นี้ มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ
ก. เป็นของจริงที่เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รู้แจ้งเห็นจริงนั้น เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็น พระอริยบุคคล ๘ จำพวก มี โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล เป็นต้น
ข. เป็นของจริงที่ผู้ประเสริฐ คือ พระอริยเจ้าเท่านั้นที่จะประจักษ์แจ้งในสัจจ ๔ ประการนี้ โดยมัคคญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


วจนัตถะของอริยสัจ

อริยานิ ตถานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ ฯ สัจจทั้ง ๔ ที่เป็นความจริง (ไม่ เปลี่ยนแปลง) ชื่อว่า อริยสัจ
อริยานํ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ ฯ ธรรมที่เป็นความจริงของอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสัจ
วจนัตถะของทุกขอริยสัจจ ทุกฺขํ เอว อริยสจฺจนฺติ ทุกฺขอริยสจฺจํ ฯ อริยสัจจ คือทุกข์นั่นเอง จึงเรียกว่าทุกขอริยสัจ

วจนัตถะของทุกขสมุทยอริยสัจ
ภวา ภวสงฺขาตํ ทุกฺขกฺขนฺธํ สมุเทตีติ ทุกฺขสมุทโย ฯ

ธรรมที่ยังกองทุกข์ กล่าวคือ ภพใหญ่ภพน้อยให้เกิดขึ้น ชื่อว่า ทุกขสมุทัย
(วา) ภวา ภวสงฺขาตํ ทุกฺขกฺขนฺธํ ปุนปฺปุนํ อพฺโพจฺฉินฺนํ กตฺวา อุทยติ อุฏฺฐาเปติ วฑฺเฒตีติ
ทุกฺขสมุทโย ฯ (หรือ) ธรรมที่กระทำให้กองทุกข์ กล่าวคือ ภพใหญ่ภพน้อยขาดลงแล้วให้ตั้งขึ้นอีก ให้เจริญขึ้นอีกเรื่อย ๆ ไปชื่อว่า ทุกขสมุทัย

วจนัตถะของทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกฺขสฺส นิรุชฺฌนํ อนุปฺปาทธมฺมตา ปวตฺติวเสน ขิยฺยนํ ทุกฺขนิโรโธ ฯ ความดับไปแห่งทุกข์ คือ ความสิ้นไปโดยที่ไม่เกิดขึ้น และไม่เป็นไป ชื่อว่า ทุกขนิโรธ
(วา) ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ น ปวตฺติ เอตสฺมึติ ทุกฺขนิโรโธ ฯ หรือ ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมดับ ย่อมไม่เป็นไปใน
นิพพานธรรมนี้ ฉะนั้นนิพพานธรรมนี้ จึงเรียกว่า ทุกข นิโรธ


วจนัตถะของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกฺขนิโรธํ คเมติ สมฺปาเปตีติ ทุกฺขนิโรธคามินี ฯ ความปฏิบัติที่ยังบุคคล ให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ คือ
นิพพาน ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถแห่งอริยสัจ

ทุกขอริยสัจ มี อรรถ ๔ ประการ คือ
๑. ปีฬนตฺโถ มีอรรถว่า เบียดเบียนอยู่เป็นนิจ
๒. สงฺขตตฺโถ มีอรรถว่า ต้องปรุงแต่งอยู่เนือง ๆ
๓. สนฺตาปตฺโถ มีอรรถว่า เร่าร้อนอยู่ไม่วาย
๔. วิปริณามตฺโถ มีอรรถว่า ไม่คงที่ แปรปรวนอยู่เสมอ

ทุกขสมุทยอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. อายุหนตฺโถ มีอรรถว่า กระทำให้ทุกข์บังเกิดขึ้น
๒. นิทานตฺโถ มีอรรถว่า เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
๓. สงฺโยคตฺโถ มีอรรถว่า ประกอบไว้ซึ่งทุกข์มิให้พ้นไป
๔. ปลิโพธตฺโถ มีอรรถว่า ให้กังวลอยู่แต่ในกองทุกข์

ทุกขนิโรธอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. นิสฺสรณตฺโถ มีอรรถว่า สลัดออกจากทุกข์ทั้งปวง
๒. อปลิโพธตฺโถ มีอรรถว่า มิได้กังวลอยู่ด้วยกองทุกข์
๓. อสงฺขตตฺโถ มีอรรถว่า มิได้มีสิ่งใดมาประชุมตกแต่ง
๔. อมตตฺโถ มีอรรถว่า ไม่มีการตายการเกิดสืบไปอีกเลย

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. นิยฺยานตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
๒. เหตวตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเหตุดับเสียซึ่งกองทุกข์
๓. ทสฺสนตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเครื่องให้เห็นพระนิพพาน
๔. อธิปตยตฺโถ มีอรรถว่า เป็นใหญ่ในการให้สำเร็จกิจในอันที่จะดับเสีย ซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของอริยสัจ

๑. ทุกขอริยสัจ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภเจตสิก), รูป ๒๘ รวมเป็นธรรม ๑๖๐
ส่วนตามนัยแห่งพระสูตรแสดงว่า ทุกขอริยสัจจ ได้แก่
(๑) ชาติทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะมีการเกิดในภพใหม่นั้นเป็นลักษณะ มีการประสิทธิประสาททุกข์ให้เป็นกิจ มีการตั้งอยู่ในภพนั้นเป็นเครื่องปรากฏ
(๒) ชราทุกข์ ความแก่ชราเป็นทุกข์ เพราะ มีความเสื่อมหรือความหง่อม คร่ำคร่าเป็นลักษณะ มีการนำเข้าหาความตายเป็นกิจ มีการสูญเสียความสวยงามเป็น เครื่องปรากฏ
(๓) มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เพราะมีการจุติหรือเคลื่อนไปเป็นลักษณะ มีการพลัดพรากหรือแตกสลายเป็นกิจ มีการปราศไปจากคติที่ตนได้อยู่นั้นเป็นเครื่อง ปรากฏ
(๔) โสกทุกข์ ความโศกเศร้าเป็นทุกข์ เพราะ มีการแผดเผาจิตใจให้เร่าร้อน ด้วยกิเลสเป็นลักษณะ มีการทำให้จิตใจกระสับกระส่ายเป็นกิจ มีการละห้อยละเหี่ย ใจ เป็นเครื่องปรากฏ
(๕) ปริเทวทุกข์ การบ่นพร่ำรำพันเป็นทุกข์ เพราะมีการร่ำไรพร่ำบ่นเป็น ลักษณะ มีการประกาศคุณและโทษเป็นกิจ มีการกล่าววกไปวนมาเป็นเครื่องปรากฏ
(๖) ทุกขทุกข์ ความไม่สบายกายเป็นทุกข์ เพราะมีการไม่แข็งแรง หรือ ไม่สะดวก ไม่แคล่วคล่องเป็นลักษณะ มีการทำให้ใจไม่สบายไปด้วย หรือมีความ วิตกกังวลเป็นกิจ มีความลำบากทางกายเป็นเครื่องปรากฏ
ทุกข์นี้ได้แก่ ทุกขเวทนา อันมีชื่อเรียกว่า ทุกขทุกข์ ที่มีชื่อว่าทุกขทุกข์ เพราะเมื่อกล่าวโดยสภาพ ก็มีสภาพเป็นทุกข์ เมื่อกล่าวโดยชื่อ ก็มีชื่อเป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


(๗) โทมนัสทุกข์ ความเสียใจเป็นทุกข์ เพราะมีการเสียใจ น้อยใจ กลุ้มใจ เป็นลักษณะ มีการชอกช้ำใจเป็นกิจ มีการไม่แช่มชื่นรื่นเริงใจ หรือมีการหงอยเหงา เศร้าใจเป็นเครื่องปรากฏ
(๘) อุปายาสทุกข์ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เพราะมีความคับแค้นแน่น อกแน่นใจเป็นลักษณะ มีการทำให้สะอื้นและอัดอั้นตันใจเป็นกิจ มีการเดือดดาล เป็นเครื่องปรากฏ
เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันในระหว่าง โสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะ จึงมี ข้ออุปมาว่า
น้ำมันที่อยู่ในกะทะ ซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟที่ร้อนจัดจนน้ำมันเดือด ความเดือด ของน้ำมันนี้ อุปมาเหมือน โสกะ เดือดพล่านจนน้ำมันล้นปากกะทะออกมา อุปมาดัง ปริเทวะ คือความเศร้า โศกนั้นเพิ่มพูนมากขึ้น จนล้นออกมาทางปากถึงกับบ่นพร่ำรำพันไปพลางร้องไห้ไป พลางน้ำมันที่เดือดพล่านจนล้นปากกะทะออกมานั้น กลับไม่ล้น เพราะงวดแห้งลง ไปจนล้นออกไม่ได้ มีแต่จะเหือด
แห้งไปจนถึงกับไหม้ไปเลยนั้น อุปมาดัง อุปายาสะ

(๙) อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข การได้พบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจเป็นทุกข์ เพราะมีการประสบกับอารมณ์ที่ไม่ต้องการเป็นลักษณะ มีการทำให้ขุ่นใจเป็นกิจ มีการทำให้ปราศจากความสุขเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๐) ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข การสูญเสียสิ่งที่รักเป็นทุกข์ เพราะมีการพลัด พรากจากสิ่งที่รักเป็นลักษณะ มีการยังความโศกให้เกิดขึ้นเป็นกิจ มีการฉิบหายจาก วัตถุอันเป็นที่รักเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๑) ยัมปิจฉัง น ลภติ ตัมปิ ทุกขัง ความไม่สมหวังดังปรารถนาเป็นทุกข์ เพราะมีการอยากได้วัตถุที่ไม่ควรได้เป็นลักษณะ มีการพยายามแสวงหาวัตถุนั้นเป็น กิจ มีการไม่สมประสงค์เป็นเครื่องปรากฏ
(๑๒) สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา รวมยอดสรุปว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ นั่นแหละเป็นทุกข์เพราะอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ทุกขทั้ง ๑๑ ประการ ดังกล่าวแล้วนั้น อาศัยเกิด ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ เลย ทุกข์ก็ไม่รู้ว่าจะอาศัยเกิดที่ไหนได้
เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นี่เป็นทุกข์ ดังนั้นผู้ที่ยินดีใน รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ชื่อว่ายินดีทุกข์ ชอบก็ ชื่อว่า ชอบทุกข์ รักก็ชื่อว่ารักทุกข์ แสวงหาชื่อก็ชื่อว่าแสวงหาทุกข์ เพราะว่าเป็น ไปเสียเช่นนี้ จึงไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย สมกับคำที่ว่า ผู้ใดชอบทุกข์ ผู้นั้นไม่พ้นทุกข์ ผู้ใดไม่ชอบทุกข์ ผู้นั้นจึงจะพ้นทุกข์ และเพราะเหตุว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จึงจัดว่าขันธ์นี้เป็นมาร ๑ ในจำนวน มารทั้ง ๕ เลยถือโอกาสกล่าวถึงมาร ๕ ไว้ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


มาร ๕ จำพวก

มาร มีความหมายว่า เป็นผู้ทำให้ตาย มี ๕ จำพวก คือ
(๑) ขันธมาร ขันธ์นั้นเป็นทุกข์ ทุกข์ทำให้ตายจากความสุข ตายจากความ สำราญ
(๒) กิเลสมาร กิเลสนั้นเป็นเครื่องเศร้าหมองและเร่าร้อน ความเศร้าหมอง ทำให้ตายจากความผ่องใส ความเร่าร้อนทำให้ตายจากความสงบระงับ ตายจากความ ร่มเย็นเป็นสุข
(๓) อภิสังขารมาร สภาพผู้ตกแต่งยิ่ง คือ เกินพอดี ตกแต่งเกินไปก็ทำให้ ตายจากอมตธรรม
(๔) มัจจุมาร ตายในขณะที่จะกระทำ หรือกำลังกระทำความดี ถ้ากระทำ ความดีเสร็จแล้วจึงตายเช่นนี้ ไม่นับ
(๕) เทวบุตตมาร เทวดาที่มีความริษยา กีดขวาง เหนี่ยวรั้ง ให้คงอยู่ใน โลกีย ทำให้ตายจากโลกุตตร

๒. สมุทยอริยสัจ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า ได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น
ส่วนตามนัยแห่งพระสูตรแสดงว่า สมุทยอริยสัจจ ได้แก่ อวิชชา และตัณหา อันเป็นการแสดงตามนัยแห่ง ปฏิจจสมุปปาท อวิชชา คือ โมหะเป็นมูลเหตุแห่ง อดีต ตัณหา คือโลภะเป็นมูลในปัจจุบัน
๓. นิโรธอริยสัจ ได้แก่ นิพพาน
๔. มัคคอริยสัจ ได้แก่ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ (มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ที่ประกอบกับมัคคจิต ๔ เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขอริยสัจ

ทุกขอริยสัจ บ้างก็เรียกว่า ทุกขสัจจะ คำว่าทุกข ตามพยัญชนะ คือตาม ศัพท์ แปลว่า ทนได้ยาก
ความลำบาก ความชั่วร้าย ความเดือดร้อน ความวิบัติ ใน ทางธรรมมีที่ใช้และมีอรรถ มีความหมาย
เป็นหลายนัย
เช่น ทุกขเวทนา ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ และทุกขสัจ เป็นต้น
ทุกขเวทนา มีความหมายว่า ทนได้ยาก ลำบาก เดือดร้อน เพราะได้ประสบ กับอารมณ์ที่ไม่ชอบ เป็น
ความทุกข์ที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจ ทุกขเวทนานี้บุคคลใด ๆ ก็รู้ได้ เพราะต้องได้
พบเห็นอยู่เป็นเนืองนิจ อันเป็นการรู้ ได้ด้วยประสบการณ์ รู้ได้โดยไม่ต้องมีความรู้พิเศษแต่ประการใดเลย
ทุกขสภาวะ และ ทุกขลักษณะ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันว่า เป็นสภาพ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้
ต้องวิบัติ คือเสื่อมสลายแตกดับไป อาการที่ทนอยู่ไม่ได้นี้ จึงเรียกว่าเป็น ทุกขัง อันว่าสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้
ต้องแตกดับไป สิ่งนั้นก็ไม่เที่ยง เพราะ ไม่ยั่งยืนอยู่ตลอดกาล อาการที่ไม่เที่ยงนี้ จึงเรียกว่า เป็นอนิจจัง
ก็สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ แม้จะขอร้องอ้อนวอน หรือกระทำอย่างใด ๆ ให้เที่ยง ให้ตั้งอยู่ได้ตลอดไป ไม่ให้ แตก
ดับ ก็ไม่ได้เลย เรียกว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ จึงได้ชื่อว่า เป็น อนัตตา รวมความ
ว่า ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ มีสภาพเป็น ทุกขัง อนิจจัง
อนัตตา อันเรียกรวมว่า ไตรลักษณ์ ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ นี้ จะรู้แจ้งเห็นจริง ได้ด้วยการเจริญภาวนา
ถึงขั้นวิปัสสนาปัญญา
ส่วน ทุกขอริยสัจ หรือ ทุกขสัจ เป็นทุกข์ที่พระอริยะได้เห็นแจ้งใน ปริวัฏฏ ๓ ได้แก่ สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้
มีจริง กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรรู้ กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เราได้กำหนดจนรู้แล้ว อันเป็นการรู้แจ้งเห็น
จริงด้วยการเจริญ ภาวนาจนถึงขั้นโลกุตตรปัญญา (ปริวัฏฏ ๓ และ อาการ ๑๒ จะได้กล่าวต่อไป ข้างหน้า)

องค์ธรรมของทุกขอริยสัจจนี้ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ก็ได้แก่ ธรรม ๑๖๐ คือ
ก. โลกียจิต ๘๑ ส่วนโลกุตตรจิตอีก ๘ ดวงนั้นไม่ใช่ทุกขอริยสัจจ เพราะ กล่าวโดยจิต โลกุตตรจิตไม่
ใช่โลกียจิต อันเป็นจิตที่เหมาะสมแก่บุคคลที่ยังข้องอยู่ ในโลก ทั้ง ๓ กล่าวโดยอารมณ์ โลกุตตรจิตก็
ไม่ได้มีอารมณ์ที่เป็นโลกียอีกด้วย
ข. เจตสิก ๕๑ หมายเฉพาะเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิตเท่านั้น ส่วนโลภ เจตสิกอีก ๑ ดวง ไม่ใช่ทุกข
สัจ เพราะเป็นสัจจะอย่างอื่น คือเป็น สมุทยสัจ
ค. รูป ๒๘ คือ รูปธรรมทั้งหมด แต่ก็หมายโดยเฉพาะว่ารูปเหล่านั้นจะต้อง เป็นรูปที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งที่มี
ชีวิต สิ่งที่มีวิญญาณ อันมีชื่อว่า อินทรียพัทธรูป แปลตามศัพท์ว่า รูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขอริยสัจ ตามนัยแห่งพระสูตร ได้แก่ อาการของทุกข์ ๑๑ ประการ ถ้า นับข้อสรุปที่ว่า ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์นั้นด้วย ก็เป็นทุกข์ ๑๒ ประการ ทุกข์เหล่านี้ ก็คืออาการของจิต เจตสิก รูป นั้นเอง เช่นความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดก็คือการ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่แห่งปฏิสนธิจิต เจตสิกที่ประกอบและกัมมชรูป ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนทุกข์อย่างอื่นมี ชรา มรณ เป็นต้น ก็เป็นอาการของจิต เจตสิก รูป หรือเป็นอาการของขันธ์ ๕ ทำนองเดียวกันนั้นแหละ
อนึ่ง ทุกขอริยสัจนี้กล่าวถึงปรมัตถธรรมเพียง ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ปรมัตถธรรมอีก
ประการหนึ่ง คือ นิพพาน ไม่ได้กล่าวถึง เพราะ นิพพาน ไม่ใช่ทุกขสัจ แต่เป็นสัจจอย่างอื่น คือเป็น นิโรธสัจ

สมุทยอริยสัจ

สมุทยอริยสัจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจะ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจะ
คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ อันว่าต้น
เหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น
โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความ
ปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มี อารักขทุกข์ คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิดก็จะไม่มีเลย
ตัณหา ถ้าจะจำแนกว่ามี ๓ ก็ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
กามตัณหา ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด ความปรารถนา เช่นนี้ได้แก่ โลภเจตสิกที่ประกอบกับจิต ทั้ง ๘ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์และ เทวดา ๑,
พึงพอใจในรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นรูปพรหม ๑,
พึงพอใจในอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม ๑,
พึงพอใจในฌานสมบัติ คือ การได้รูปฌาน อรูป ฌาน ๑
และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ
โดยยึดถือ ว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑
ความปรารถนาเช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง

วิภวตัณหา ได้แก่ ความติดใจชอบใจในอุจเฉททิฏฐิ คือติดใจว่าสัตว์
ทั้งหลาย ตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรมก็สูญตามไปด้วย
เหมือนกัน เช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง
ตัณหา ถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖
ซึ่งมีชื่อ ว่า รูปตัณหา สัททตัณหาคันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา

ถ้าจำแนกโดยพิสดาร ก็ได้ตัณหาถึง ๑๐๘ ดังได้แสดงแล้วในตอน
ท้ายของ อกุสลสังคหะในเล่มนี้
ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม ถ้า ความปรารถนานั้น ๆ ย่อมเป็นเหตุให้มีภพมีชาติต่อไปอีกแล้วก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหมายอย่างนั้น ก็ไม่เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นท่าน จึงเที่ยวสัญจรไปโปรด สัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา

ตัณหา คือ โลภะ อันเป็นตัวสมุทัยนี้ เป็นธรรมที่ควรละควรประหารโดยแท้ การละการประหารได้ชั่วคราวนั้นเรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการพ้นชั่วคราวเท่านั้น การพ้นชั่วคราวเช่นนี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ การประหารการพ้นชั่วคราวนี้ เพียงแต่ รักษาสีล ก็ละได้ ก็พ้นได้
การละการประหารได้ด้วยการข่มไว้ อันเป็นการละการประหารด้วยอำนาจ สมาธิ คือ ฌานนั้น เป็นการข่มไว้ได้นานจนกว่าฌานจะเสื่อม การประหารชนิดนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน การพ้นชนิดนี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ

การละการประหารด้วยปัญญา คือ มัคคญาณ เป็นการประหารได้อย่าง เด็ดขาดแน่นอน กิเลสที่ถูกประหารแล้ว ละเว้นเช่นนี้เป็นไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาอีกได้เลย การประหารเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน การพ้นเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทวิมุตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


การประหาร การพ้นนั้น จัดได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกว่า ปหาน ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕ ..........................วิมุตติ ๕ ..........................ได้แก่

ตทังคปหาน (ศีล) ...............ตทังควิมุตติ .....................พ้นชั่วคราว

วิกขัมภนปหาน (สมาธิ) ..........วิขัมภนวิมุตติ..................พ้นด้วยการข่มไว้

สมุจเฉทปหาน (มัคค) ...........สมุจเฉทวิมุตติ ...................พ้นเด็ดขาด

ปฏิปัสสัทธิปหาน (ผล) ..........ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ..................พ้นสนิท

นิสสรณปหาน (นิพพาน) ...........นิสสรณวิมุตติ .....................พ้นเลย

ในสัจจะที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควรประหาร ส่วนโทสะ โมหะ
อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็นสัจจที่ ๑ คือเป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่
ควรรู้เท่านั้นเอง

ดังนั้นก็ หมายความว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า
โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะ เช่นเกิดชอบใจ
อยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะ
ซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา
ส่วน โมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อมกับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำ โมหะเป็นตัว
สนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน

สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อ
มแจ้งในอริยสัจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความ
สงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะ
ดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และ โมหะ หมดโทสะหมดโมหะไป
ด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะโมหะเป็นพิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ความโลภนี้ ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกไปเป็น ๑๐ ประการ คือ
๑. ตัณหา ความต้องการ
๒. ราคะ ความกำหนัด
๓. กามะ ความใคร่
๔. นันทิ ความเพลิดเพลิน
๕. อภิชฌา ความเพ่งเล็ง
๖. ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส
๗. โปโนพภวิก ความทำให้เกิดในภพใหม่
๘. อิจฉา ความปรารถนา
๙. อาสา ความหวัง
๑๐.สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด

นิโรธอริยสัจ

นิโรธอริยสัจ เป็นสัจจที่ ๓ บ้างก็เรียกว่า นิโรธสัจ หรือ ทุกขนิโรธอริยสัจจะ ซึ่งมีความมุ่งหมายเป็น
อย่างเดียวกัน
นิโรธ แปลว่า ดับ ดังนั้นคำว่า ทุกขนิโรธ ก็คือ ทุกข์ดับ และในที่นี้มีความ หมายต่อไปอีกว่า ทุกข์ที่ดับนั้น ดับเลย ดับสนิท ดับสิ้น จนไม่มีเศษเหลืออยู่อีก แม้แต่น้อย เมื่อดับสนิทจนสิ้นไม่มีเศษแล้ว เชื้อที่จะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ต่อไปอีก ก็ไม่มี ทุกข์นั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย ดังนี้แหละนิโรธสัจจจึง หมายถึง นิพพาน เพราะ นิพพานเป็นที่ดับสิ้นแห่งตัณหา ตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิด ทุกข์ เมื่อดับตัณหาอันเป็นต้นเหตุลงได้แล้ว ผลคือทุกข์ อันเป็นปลายเหตุก็มีไม่ได้ อยู่เอง เพราะผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อสิ้นทุกข์ ก็ถึงซึ่งความสุข ดังนี้ ลักขณาทิจตุกะแห่งนิพพานแสดงไว้ว่า
สนฺติ ลกฺขณา มีความสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ
อจฺจุต รสา มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ
อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา (หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล
ปทฏฺฐานํ น ลภฺภติ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม
ที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร