วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาชีวมัฏฐกสีล สีลมีอาชีวะเป็นที่ครบ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจจริต ๔ ประการ และละกายทุจจริต ๓ ประการ บำเพ็ญแต่กายสุจริตและวจีสุจริต ๒ ประการนั่นเทียว สีลนั้นไม่บริบูรณ์แก่ชนอื่นใดที่นอกจากนี้เลย เหตุนี้จึงทรงแสดง สัมมาอาชีวะ ต่อจากสัมมากัมมันตะ
ผู้มีอาชีวะ คือความเลี้ยงชีพ หรือความเป็นอยู่โดยบริสุทธิเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควร ที่จะมีความยินดีอยู่ว่าอาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้วเท่านั้น และเป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ ควรจะปรารภความเพียรในอิริยาบถทั้งปวงโดยแท้ ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงสัมมาวายามะ ต่อจากสัมมาอาชีวะ
ผู้ปรารภความเพียรดังกล่าวแล้ว พึงตั้งสติให้มั่นคงดำรงอยู่ด้วยดีในวัตถุธรรม ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยประสงค์ดังนี้ จึงได้ทรงแสดง สัมมาสติ ต่อจาก สัมมาวายามะ
ก็และสติดำรงอยู่แล้วด้วยดีดังนี้ ย่อมองอาจแสวงหาคติธรรมทั้งหลายที่เป็น อุปการะ และละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ แล้วก็ตั้งจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์ที่ กำหนดเพ่งพินิจอยู่นั้น ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อไปเป็นอื่น จึงได้ทรงแสดง สัมมาสมาธิไว้เป็น อันดับสุดท้ายแห่งมัคคมีองค์ ๘ นี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การสงเคราะห์มัคคมีองค์ ๘

มัคคมีองค์ ๘ นี้สงเคราะห์ลงเป็นสิกขา ๓ คือ สีล สมาธิ ปัญญา ได้ดังนี้
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ นี้เป็น ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทั้ง ๓ นี้ เป็น สมาธิ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ทั้ง ๒ นี้ เป็น ปัญญา
ที่ว่ามีความเกี่ยวพันกันต้องอาศัยโดยพร้อมมูล จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้คือ
ต้องมีศีล มีความเป็นปกติแห่งกายวาจาใจ จึงจะเกิดความสงบ ไม่กระวน กระวาย คือมีสมาธิได้ ต่อเมื่อมีความสงบระงับ จึงจะเกิดปัญญาได้ ถ้ายังวุ่นวาย ไม่มีความสงบระงับแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เมื่อมีปัญญาเห็นผิดชอบชั่วดี ก็จะรักษาศีลเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สงบ ไม่เดือดร้อน กระวนกระวาย เกี่ยวพันเนื่องกัน ดังนี้
มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็นส่วน สำคัญ ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ
๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกียนั้นประกอบไม่พร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์ เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วิรตี ๓ นี้เป็นอนิยตโยคี เจตสิกประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราว และประกอบได้ทีละดวง เท่านั้น
แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วิรตี ๓ เป็นนิยตเอกโต คือต้อง ประกอบพร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ต้องประกอบพร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์
๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว เท่านั้น
ส่วนมัคคที่เป็นฝ่ายโลกียนั้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอารมณ์เป็น อย่างอื่น กล่าวโดยเฉพาะวิรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือวัตถุอันพึงเว้นมา ปรากฏเฉพาะหน้า ส่วนโลกุตตรวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีนี้ เป็นองค์แห่งมัคค มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นจากการทุจจริต
๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน อย่างมากก็ข่มไว้ได้นานหน่อย แค่ที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน กับ อัฏฐังคิกมัคค

สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นกองแรกของโพธิปักขิยสังคหะนี้ ก็แสดงว่าเป็นไปเพื่อ ให้แจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุพระนิพพานต้องประพฤติ ดำเนินไปในสติปัฏฐาน ๔ นี้ และ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ อัน
เป็นกอง สุดท้ายของโพธิปักขิยสังคหะนี้ ก็ว่าเป็นไปเพื่อให้แจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานต้องดำเนินทางสายกลาง คือ มัคคมีองค์ ๘ นี้ ความทั้ง ๒ ข้อ นี้สงเคราะห์เข้ากันได้ มีอธิบายไว้ว่า
ในอริยมัคค หรืออัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ นั้น มีองค์หนึ่งชื่อว่า สัมมาสติ ก็คือ สติปัฏฐานนี่เอง ดังนั้นเมื่อเห็นในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าเห็นชอบ ดำริ ในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าดำริชอบ พูดเรื่องสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าพูดชอบ การงานของใจ เป็นไปในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าการงานชอบ มีความเป็นอยู่ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ชอบ เพียรในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าเพียรชอบ ระลึกในสติปัฏฐาน ก็ชื่อ ว่า ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้จะเห็นได้ว่า เป็น การดำเนินสติปัฏฐานกับเจริญอัฏฐังคิกมัคคพร้อมกันไปในตัวทีเดียวด้วยแล้ว แม้สติ ปัฏฐานจะเป็น
จุดเริ่มต้น และอัฏฐังคิกมัคคเป็นจุดที่สำเร็จผล แต่ในขณะที่บรรลุแจ้ง พระนิพพานนั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ
ย่อมประกอบพร้อมกัน ซึ่งจะได้ กล่าวต่อไปข้างหน้า
พระธรรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมาย ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เปรียบเหมือนเถาวัลย์ขึ้นพันต้นไม้ บุคคลจะจับตรงไหนและฉุดกระชาก ย่อม กระเทือนไหวไปตลอดทั้งเถา ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงว่า สติปัฏฐานเป็นไปเพื่อ
ทำ พระนิพพานให้แจ้ง ชื่อว่าไม่แย้งไม่ขัดต่อต่ออริยมัคคซึ่งเป็นมรรคาทางแห่งพระ นิพพานตามนัยแห่งอริยสัจจนั้นแต่ประการใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฐานขององค์ธรรมแห่งโพธิปักขิยสังคหะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีองค์ธรรมเพียง ๑๔ องค์ ดังได้กล่าวแล้ว ข้างต้น บัดนี้จะแสดงฐานขององค์ธรรมทั้ง ๑๔ นั้น
ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หรือ ตำแหน่ง มีความหมายว่า องค์ธรรม ๑๔ องค์นี้ แต่ละองค์เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้นได้กี่ตำแหน่ง หรือมีที่ตั้งกี่แห่ง คือ เป็นได้กี่ฐาน ฐานใดบ้าง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

๘. สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ ปีตุเปกฺขา
ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรติตฺตยญฺจ
นเวก ฐานา วีริยํ นวฏฺฐ
สติ สมาธิ จตุ ปญฺจ ปญฺญา
สทฺธา ทุฐานุตฺตมํ สตฺตตีส
ธมฺมานเนโส ปวโร วิภาโค ฯ

แปลความว่า สัมมาสังกัปปะ ๑, ปัสสัทธิ ๑, ปีติ ๑, อุเบกขา ๑, ฉันทะ ๑, จิต ๑, และ วิรตี ๓ รวมเป็นธรรม ๙ ประการนี้ มีฐานอันหนึ่ง ๆ
ส่วนวิริยะมี ๙ ฐาน, สติมี ๘ ฐาน, สมาธิมี ๔ ฐาน, ปัญญามี ๕ ฐาน และ สัทธามี ๒ ฐาน นี่เป็นการจำแนกโดยละเอียดแห่งธรรม ๓๗ ประการ อันอุดม
มีความหมายดังต่อไปนี้
๑. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิกมีฐานเดียว คือสัมมาสังกัปปะ
๒. ปัสสัทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๓. ปีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปีติสัมโพชฌงค์
๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีฐานเดียว คือ อุเบกขา สัมโพชฌงค์
๕. ฉันทะ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก มีฐานเดียว คือ ฉันทิทธิบาท
๖. จิต องค์ธรรมได้แก่ จิต มีฐานเดียว คือ จิตติทธิบาท
๗. วิรตี องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมา อาชีวเจตสิก มีฐานองค์ละฐานเดียว
คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ตามลำดับ
๘. วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก มี ๙ ฐาน คือ สัมมัปปธาน ๔ ฐาน, วิริยิทธิบาท ๑ ฐาน, วิริยินทรีย ๑ ฐาน, วิริยพละ ๑ ฐาน, วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ฐาน และสัมมาวายามะ ๑ ฐาน
๙. สติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก มี ๘ ฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ ฐาน, สตินทรีย ๑ ฐาน, สติพละ ๑ ฐาน,
สติสัมโพชฌงค์ ๑ ฐาน และ สัมมาสติ ๑ ฐาน
๑๐. สมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก มี ๔ ฐาน คือ สมาธินทรีย ๑, สมาธิพละ ๑, สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาสมาธิ ๑
๑๑. ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก มี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑, ปัญญินทรีย ๑, ปัญญาพละ ๑, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาทิฏฐิ ๑
๑๒. สัทธา องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ ฐาน คือ สัทธินทรีย ๑ และ สัทธาพละ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การสงเคราะห์โพธิปักขิยธรรม

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็มาจาก สีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งวิสุทธิมัคค สงเคราะห์ดังนี้
ฉันทิทธิบาท สัทธินทรีย สัทธาพละ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา อาชีวะ ธรรมทั้ ๖ นี้สงเคราะห์ลงใน ศีลขันธ์
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิริยินทรีย สติน ทรีย สมาธินทรีย วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ สติสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ธรรมทั้ง ๒๕ นี้ สงเคราะห์ลงใน สมาธิขันธ์
วิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ธรรมทั้ง ๖ นี้สงเคราะห์ ลงใน ปัญญาขันธ์

โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกัน

ตามปกติ โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกันทั้ง ๓๗ ประการ แต่ว่าใน บางกรณีก็มีเว้น ดังปรากฏในคาถาสังคหะที่ ๙ ว่า

๙. สพฺเพ โลกุตฺตเร โหนฺติ น วา สงฺกปฺปปีติโย
โลกิเยปิ ยถาโยคํ ฉพฺพิสุทฺธิปวตฺติยํ ฯ

แปลความว่า ในโลกุตตรจิต มี(โพธิปักขิยธรรม) ครบทั้งหมด(คือทั้ง ๓๗) แต่ว่าสังกัปปะ และปีติ บางทีก็ไม่ประกอบ แม้ในโลกียวิสุทธิ ๖ (โพธิปักขิยธรรม) ก็ประกอบเท่า ที่ควรจะเป็นไปได้
มีความหมายว่า

๑. โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น โพธิปักขิยธรรมประกอบพร้อมกันครบ หมดทั้ง ๓๗ ประการ
๒. โลกุตตรจิตโดยพิศดาร ๔๐ ดวง ซึ่งเป็นโลกุตตรจิตที่มีฌานประกอบ ด้วยนั้น
ก. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบ ครบหมดทั้ง ๓๗ ประการ
ข. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบด้วย ตติยฌานอีก ๘ ดวง รวมเป็น ๑๖ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๖ เท่านั้น โดยต้องเว้นสัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิก เสีย ๑
ค. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๘ ดวง รวม ๑๖ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๕ เท่านั้น คือ ต้องเว้น ปีติ เพิ่มขึ้นอีก ๑ ด้วย รวมเว้นทั้ง วิตก และ ปีติ
๓. โลกียจิต มีรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง (เว้นปฐมฌาน ๓) และอรูปาวจรจิตทั้ง ๑๒ ดวง รวมเป็นจิต ๒๔ ดวงนี้ วิตกเจตสิกย่อมไม่เข้าประกอบ
๔. โลกียจิตที่เป็นจตุตถฌาน ๓ และปัญจมฌาน ๑๕ รวมเป็นจิต ๑๘ ดวงนี้ ปีติไม่เข้าประกอบ ก็ต้องเว้นปีติออกเสียอีกด้วย
๕. แม้ในขณะที่โยคีบุคคลเจริญวิสุทธิ ๖ ประการ ซึ่งยังเป็นโลกียวิสุทธิ อยู่นั้น โพธิปักขิยธรรมก็เกิดได้ตามสมควร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ ๗

ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา บ้างก็เรียกว่าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น กล่าว โดยวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิแล้ว ก็จำแนกได้เป็น ๗ คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล ได้แก่ วิรตี ๓
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต ได้แก่ เอกัคคตา คือ สมาธิ
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความเห็น ได้แก่ ปัญญา
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย ได้แก่ ปัญญา
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่าเป็นทางที่ ถูกต้องหรือมิใช่ ได้แก่ ปัญญา
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่านี่ใช่ทาง ปฏิบัติแล้ว ได้แก่ ปัญญา
วิสุทธิทั้ง ๖ ที่กล่าวแล้วนั้น ยังเป็นโลกียวิสุทธิอยู่ ต่อเมื่อถึง
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นพระนิพพาน ได้แก่ ปัญญา จึงจะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ
วิสุทธิ อันความบริสุทธิหมดจดนี้ แม้จะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ เป็นวิสุทธิของ พระอริยเจ้า ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยเอกเทส และ นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยสิ้นเชิง
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ พระอนาคามี นั้นบริสุทธิโดยเอกเทศคือ บริสุทธิเพียงบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น กิเลสเครื่องเศร้าหมองบางอย่างยังคงเหลือตก ค้างอยู่อีกบ้าง
ส่วนพระอรหันต์ จึงบริสุทธิหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ใด ๆ เหลืออยู่อีกเลยแม้แต่น้อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. สัพพสังคหะ

สัพพสังคหะ หมายถึง การรวบรวมปรมัตถธรรมทั้งหมด คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน มาแสดงไว้ในที่นี้ ดังมีบาลีว่า สพฺเพสํ ปรมตฺถธมฺมานํ สงฺคโหติ สพพฺสงฺคโห ฯ ซึ่งแปลความว่าได้สงเคราะห์ปรมัตถธรรมทั้งหมด (โดยไม่มีเหลือ) มาแสดง ณ ที่นี้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สัพพสังคหะ
สัพพสังคหะ จำแนกออกเป็น ๕ กอง คือ
๑. ปัญจขันธ์ ๒. อุปาทานขันธ์
๓. อายตนะ ๔. ธาตุ
๕. อริยสัจจ

สัพพสังคหะกองที่ ๑ ปัญจขันธ์

ปัญจขันธ์ บ้างก็เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ นี้มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๐ แสดงว่า

๑๐. รูปญฺจ เวทนา สญฺญา เสส เจตสิกา ตถา
วิญฺญาณมิติ ปญฺญเจเต ปญฺจกฺขนฺธาติ ภาสิตา ฯ

แปลความว่า รูป เวทนา สัญญา เจตสิกที่เหลือ(อีก ๕๐ ดวง) และวิญญาณ เหล่านี้แหละ เรียกว่า ปัญจขันธ์ มีความหมายดังนี้
มีความหมายดังนี้ ปัญจขันธ์ หรือเบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
รูปขันธ์ คือ กองรูป ได้แก่ รูปทั้งหมด หมายความว่ารูปธรรมทั้ง ๒๘ รูป นั้นแต่ละรูปก็ได้ชื่อว่า รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก
สัญญาขันธ์ คือ กองสัญญา ได้แก่ สัญญาเจตสิก
สังขารขันธ์ คือ กองสังขาร ได้แก่ เจตสิกที่เหลือทั้งหมด (๕๐ ดวง) มี ความหมายว่า ในเจตสิก ๕๐ ดวงนี้ดวงใดดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียวก็ได้ชื่อว่า สังขารขันธ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณขันธ์ คือ กองวิญญาณ ได้แก่ จิตทั้งหมด หมายความว่า จิตดวงใด ดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียว
ก็ได้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์
ตามที่ได้กล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้กล่าวถึงนิพพาน ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรมนั้นด้วยเลย ทั้งนี้ก็เพราะว่านิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ และเรียกว่าเป็นขันธวิมุตติ
๑๑ กอง ๑๑ ประเภท หรือ ๑๑ อย่างนั้น คือ
๑. อดีต ๒. ปัจจุบัน ๓. อนาคต จิต เจตสิก รูป เป็นไปในกาลทั้ง ๓ นี้ ได้ เพราะจิต เจตสิก รูป มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็มีการดับไป ที่ดับไป แล้วนั้นเป็นอดีต ที่กำลังดำรงคงอยู่เป็นปัจจุบัน และที่จะเกิดต่อไปภายหน้าเป็น อนาคต ส่วนนิพพานเป็นธรรมที่เหลืออยู่เป็นนิจนิรันดร ไม่มีการเกิดดับ จึงไม่มีกาล ทั้ง ๓ นี้ พ้นจากกาลทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า กาลวิมุตติ
๔. อัชฌัตตะ ๕. พหิทธะ จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอัชฌัตตะ คือเป็นภายใน ก็มี เป็นพหิทธะ คือ เป็นภายนอกก็มี ส่วนนิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้นไม่มี นิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียวเท่านั้น
๖. โอฬาริกะ ๗. สุขุมะ จิต เจตสิก รูป ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี แต่ นิพพานไม่ใช่ธรรมที่หยาบ เป็นธรรมที่สุขุมอย่างเดียว
๘. หีนะ ๙. ปณีตะ จิต เจตสิก รูป ที่ต่ำทรามก็มี ที่ประณีตก็มี ส่วน นิพพานไม่ใช่ธรรมที่ต่ำทราม แต่เป็นธรรมที่ประณีตยิ่ง
๑๐. สันติเก ๑๑. ทูเร จิต เจตสิก รูป ที่ใกล้ก็มี ที่ไกลก็มี ส่วนนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่ใกล้ แต่เป็นธรรมที่ไกล
เพราะเหตุว่า นิพพานเป็นได้ไม่ครบทั้ง ๑๑ กอง จึงเป็นขันธ์ไม่ได้ ก็พ้นจาก ความเป็นขันธ์ไป ได้ชื่อว่าเป็นขันธวิมุตติ (และเป็น กาลวิมุตติ ด้วย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต อันมีชื่อว่ากาล ๓ นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ กาลอัทธา กาลสมัย กาลสันตติ และ กาลขณะ
กาลอัทธา หมายถึงระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งภพตั้งชาติหนึ่งก็ได้ ตั้งกัปป์ ตั้งกัลป์หนึ่งก็ได้ เช่น ปัจจุบันภพก็หมายถึงความเป็นอยู่ในภพนี้ นับตั้งแต่ปฏิสนธิ จนถึงจุติ เป็นต้น
กาลสมัย หมายถึง ระยะเวลาช่วงหนึ่ง เช่น สมัยที่เป็นเด็ก ตอนรุ่นหนุ่ม รุ่นสาว ตอนเช้า ตอนเย็น ตอนหัวค่ำ ตอนดึก เป็นต้น
กาลสันตติ หมายถึง ระยะเวลาอันสืบเนื่องติดต่อกันอย่างกระชั้นชิด เช่น เวทนาที่กำลังเกิดสืบเนื่องติดต่อกัน
ในวิถี ๑ หรือในชวนะ ๑ หรือในสมาบัติ ๑ ก็ นับเป็นกาลสันตติ ๑ และตามนัยแห่งพระสูตรยังแสดงไว้ว่า สัตว์ที่เป็นคัพภเสยยก กำเนิดนั้น รูปที่เกิดในขณะปฏิสนธิ จนถึงมีตา หู จมูก เป็นต้นครบบริบูรณ์ ก็เรียก ว่า สันตติรูป เหมือนกัน
ส่วน กาลขณะนั้น หมายถึงระยะเวลาอันสั้นนิดเดียว ชั่วขณะที่เกิดขึ้นซึ่งเรียก ว่า อุปาทขณะ ชั่วขณะที่ตั้งอยู่ซึ่งเรียกว่า ฐีติขณะ และชั่วขณะที่ดับไป ซึ่งเรียกว่า ภังคขณะทั้ง ๓ ขณะนี้เป็นระยะเวลาอันสั้นเหลือเกินจนสามัญชน ไม่สามารถที่ จะเห็นได้ กำหนดได้เลย

อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

อัชฌัตตะ คือ ภายใน พหิทธะ คือ ภายนอก จิต เจตสิก รูป ที่รูปกายนี้ เป็นภายใน จิต เจตสิก รูป ที่นอกรูปกายนี้ก็เป็นภายนอก

โอฬาริกะ และ สุขุมะ

โอฬาริกะ คือ หยาบ สุขุมะ คือ ละเอียด จะกล่าวถึงรูปก่อน รูปของสัตว์ ในอบายหยาบกว่ารูปกายของมนุษย์ รูปกายของมนุษย์หยาบกว่ารูปกายของเทวดา รูปกายของเทวดาก็หยาบกว่ารูปกายของรูปพรหม
กล่าวถึงจิตและเจตสิก ในชาติอกุสลนั้นหยาบกว่าในชาติกุสล ในชาติกุสล หยาบกว่าในชาติอพยากตะ ในกุสลญาณวิปปยุตตหยาบกว่าในกุสลญาณสัมปยุตต ในกามาวจรกุสลหยาบกว่าในรูปาวจรกุสล ในรูปาวจรกุสลก็ยังหยาบกว่าในอรูปาวจรกุสล เป็นชั้น ๆ กัน
จิตและเจตสิกที่มีทุกขเวทนาหยาบกว่าที่มีสุขเวทนา ที่มีโทมนัสเวทนาหยาบ กว่าที่มีโสมนัสเวทนา ที่มีสุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนาหยาบกว่าที่มีอุเบกขาเวทนา
จิตและเจตสิกที่ในทุคคติภูมิหยาบกว่าในสุคติภูมิ ในกามภูมิหยาบกว่าในรูป ภูมิ เป็นต้น เป็นชั้น ๆ กันไปในทำนองที่กล่าวนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หีนะ และ ปณีตะ

หีนะ คือ ต่ำทรามหรือเลว ปณีตะ คือ ประณีตหรือดียิ่ง นี้มีความหมายเป็น ทำนองเดียวกับโอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด นั้นเอง สิ่งใดที่หยาบก็นับว่า สิ่งนั้นเลว สิ่งใดที่ละเอียดก็นับว่าสิ่งนั้นประณีต

สันติเก และ ทูเร

สันติเก คือ ใกล้ ทูเร คือ ไกล จิต เจตสิก รูป ที่อยู่ในภูมิเดียวกัน และ ประเภทเดียวกัน เช่นเป็นสัตว์ดิรัจฉานเหมือนกันและเป็นแมวเหมือนกัน หรือเป็น มนุษย์เหมือนกันและมีปัญญาเหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น จัดว่าใกล้กัน แต่ว่าแมวกับ ปลา คนมีปัญญากับคนนับสิบไม่ถูก จัดว่าไกลกัน เพราะแม้ว่าจะเป็นสัตว์ในภูมิ เดียวกันก็ตาม แต่ว่าเป็นสัตว์ต่างประเภทกัน ยิ่งเป็นสัตว์ที่ต่างภูมิกันด้วยแล้ว ก็ยิ่ง ไกลกันมาก
จิตโลภกับโกรธจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นชาติอกุสลเหมือนกัน และจัดว่า ไกลกันก็ได้ เพราะว่าเป็นจิตต่างประเภทกัน
จิตโลภกับจิตมหากุสลจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นกามจิตเหมือนกัน และจัด ว่าไกลกัน ก็เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นชาติอกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นชาติกุสล
จิตมหากุสลกับจิตมหัคคตกุสลจัดว่าใกล้กันก็ได้ เพราะเป็นชาติกุสลเหมือน กันและเป็นโลกียจิตเหมือนกัน และจัดว่าไกลกันก็ได้ เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นกามกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นมหัคคตกุสล
ส่วนนิพพาน จะจัดว่าเป็นธรรมที่ใกล้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรหรือ สิ่งใดเหมือน หรือแม้แต่จะใกล้เคียงกับนิพพานเลย นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีใน กามโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก พ้นจากโลก ทั้ง ๓ ด้วย
เหตุนี้ นิพพาน จึงเป็นธรรมที่ไกลแต่อย่างเดียว ไม่มีใกล้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้ออุปมาปัญจขันธ์

ใน สังยุตตนิกายพระบาลี แห่งพระสุตตันตปิฎก ได้อุปมาปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ นี้ว่า รูปเปรียบเหมือนภาชนะ เวทนาเปรียบเหมือนข้าว สัญญาเปรียบเหมือน กับข้าว สังขารเปรียบเหมือนคนทำกับข้าว วิญญาณเปรียบเหมือนผู้บริโภค ขันธ์ ๕ มีอุปมาโดยลำดับดังนี้
อีกนัยหนึ่ง ได้อุปมาเบ็ญจขันธ์ นี้ว่า รูปเปรียบด้วยก้อนแห่งฟองน้ำ เวทนาเปรียบด้วยต่อมน้ำ สัญญาเปรียบด้วย พยับแดด สังขารเปรียบด้วยต้นกล้วย วิญญาณเปรียบด้วยการเล่นกล นี่เป็นคำ เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์

สัพพสังคหะกองที่ ๒ ปัญจุปาทานขันธ์

ปัญจุปาทานขันธ์ เขียนแบบบาลีเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺธ คือ อุปาทาน ขันธ์ ๕ มีความหมายว่า ขันธ์ ๕ ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่ออุปาทานยึดหน่วง มาเป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ดังมีบาลีว่า

อุปาทานานํ โคจรา ขนฺธา อุปาทานกฺขนฺธา ฯ

แปลความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์นี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๑ แสดงว่า

๑๑. ปญฺจุปาทานกฺขนฺธาติ ตถา เตภูมกา มตา
เภทาภาเวน นิพฺพานํ ขนฺธสงฺคหนิสฺสตํ ฯ

แปลความว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ ตรัสเรียกว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ (ส่วน) พระนิพพาน พ้นจากการรวมนับว่าเป็นขันธ์ เพราะไม่มีความต่าง (คือไม่เป็นประเภทครบทั้ง ๑๑ กอง มี กาล ๓, อัชฌัตตะ, พหิทธะ, โอฬาริกะ, สุขุมะ, หีนะ, ปณีตะ, สันติเก และทูเร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มีความหมายว่า สัตว์ที่ยังเป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ นั้น ส่วนมากยังละสักกายทิฏฐิ คือ อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัว เป็นตน เป็นเขา เป็นเราหาได้ไม่ เมื่อยังยึดมั่นอยู่เช่นนี้ ก็คือมีอุปาทาน มีความ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ ขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี่แหละ ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์
ส่วนนิพพานไม่มีความแตกต่างกัน เช่น ในกาล ๓ เป็นต้น จึงพ้นจากความ เป็นขันธ์ และเรียกว่าขันธวิมุตติ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นตอนเบ็ญจขันธ์นั้น

ปัญจุปาทานขันธ์ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
๑. รูปูปาทานักขันธ์ คือรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ รูปธรรมหมด ทั้ง ๒๘ รูป
๒. เวทนูปาทานักขันธ์ คือเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เวทนา เจตสิกที่ในโลกียจิต ๘๑
๓. สัญญูปาทานักขันธ์ คือ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ สัญญา เจตสิก ที่ในโลกียจิต ๘๑
๔. สังขารูปาทานักขันธ์ คือ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก) ที่ในโลกียจิต ๘๑
๕. วิญญาณูปาทานักขันธ์ คือ จิตที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ โลกีย จิต ๘๑
ถ้าได้พิจารณาองค์ธรรมของเบ็ญจขันธ์กับของอุปาทานขันธ์แล้ว จะเห็นความ แตกต่างระหว่างเบญจขันธ์ กับอุปาทานขันธ์ได้ชัดเจน คือ
เบญจขันธ์ ได้แก่ รูป ๒๘ และจิต เจตสิกทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งจิต เจตสิก ที่เป็นโลกีย และโลกุตตรด้วย
ส่วน อุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ ๒๘ รูปเหมือนกัน แต่จิต เจตสิก ได้เฉพาะแต่ที่เป็นโลกียเท่านั้น จิตและเจตสิกที่เป็นโลกุตตรไม่เป็นอุปาทาน ขันธ์ เพราะผู้ที่ถึงซึ่งโลกุตตรธรรมแล้วนั้น ไม่มีสักกายทิฏฐิ คืออัตตวาทุปาทาน เป็นเด็ดขาด และผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงโลกุตตรธรรม ก็จะได้โลกุตตรจิต ที่ไหนมาเป็น อารมณ์ นอกจากจะเดาหรือนึกเอาเอง
การที่แสดงเบญจขันธ์ และมาแสดงอุปาทานขันธ์อีก ก็เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดพิจารณาในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการกำหนดพิจารณารูปนาม ต้องกำหนดรูปนามที่เป็นโลกียเท่านั้น นามธรรม คือ จิต และเจตสิก ส่วนที่เป็นโลกุตตรนั้น จะหน่วงมาเป็นอารมณ์ในการกำหนดพิจารณาเวลาเจริญวิปัสสนา ภาวนา หาได้ไม่
ในการกำหนดพิจารณานั้น ชั้นต้นกำหนดรูปก่อน เพราะรูปเป็นสิ่งที่เห็น ได้ง่าย ต่อไปจึงกำหนดนาม (ที่เป็นโลกีย)
เพื่อให้แจ้งไตรลักษณ์ คือ การเกิดดับ ของรูปนามให้เห็นแจ้งตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพสังคหะกองที่ ๓ อายตนะ

คาถาสังคหะที่ ๑๒ กล่าวถึง อายตนะ และ ธาตุ ด้วย ดังมีข้อความว่า

๑๒. ทฺวาราลมฺพนเภเทน ภวนฺตายตนานิ จ
ทฺวาราลมฺพตทุปฺปนฺน ปริยายเยน ธาตุโยฯ


แปลความว่า อายตนะย่อมมีโดยประเภทแห่งทวารและอารมณ์ ธาตุย่อมมีโดยวิญญาณที่เกิด ขึ้น เนื่องจากทวารและอารมณ์
บัดนี้จะกล่าวถึงอายตนะก่อน ส่วนธาตุ จะได้กล่าวในสัพพสังคหะกองที่ ๔ ต่อไปตามลำดับ
คำว่า อายตนะ แปลอย่างสั้นที่สุดก็ว่า เครื่องต่อ และมีความหมายหลายนัย คือ


๑. สญฺชาติเทสฏฺฐ เป็นที่เกิด หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ชื่อ ว่า อายตนะ เป็นเครื่องต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ถ้าไม่มีอายตนะแล้ว ก็ไม่มีเครื่อง ต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ไม่มีวิถีจิต ไม่มีบุญไม่มีบาป
๒. นิวาสฏฺฐ เป็นที่อยู่ หมายความว่า อายตนะเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตและ เจตสิก จิตเจตสิกไม่ได้อาศัยอยู่ที่อื่นเลย
๓. อากรฏฺฐ เกิดแก่สัตว์ทั่วไป หมายความว่า อายตนะนี้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่เลือกชั้นวรรณะ
๔. สโมสรฏฺฐ เป็นที่ประชุม หมายความว่า อายตนะภายในกับอายตนะภาย นอกมาประชุมกัน มาร่วมกัน มาต่อกันเมื่อใด จิตและเจตสิกก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น ถ้าอายตนะไม่ประชุมกัน ไม่ต่อกัน จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. การณฏฺฐ เป็นเหตุให้เกิด หมายความว่า ถ้าไม่มีอายตนะเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแล้ว จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีอายตนะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จิตเจตสิกก็ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดบุญหรือบาปต่อไป
ความหมายของอายตนะอีกนัยหนึ่ง กล่าวไว้สั้น ๆ และได้ความดีด้วย ดังนี้
๑. สญฺชาติเทสฏฺฐ ที่เกิดของบุญและบาป
๒. นิวาสฏฺฐ ที่อยู่ของบุญและบาป
๓. อากรฏฺฐ ทำการนำมาซึ่งบุญและบาป
๔. สโมสรฏฺฐ ที่ประชุมของบุญและบาป
๕. การณฏฺฐ เหตุบุญและบาป
ดังนี้ จะเห็นได้ว่า อายตนะเป็นเครื่องต่อที่สำคัญอันทำให้สัตว์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อเกิดมาแล้ว ก็อายตนะนี้เองเป็นปัจจัยให้ประพฤติเป็น ไปในเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ หรือจะให้พ้นทุกข์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์แล้วจะไม่ต้องอาศัย อายตนะเลยนั้น เป็นไม่มี
อายตนะ จำแนกโดยประเภทแห่งทวารก็มี ๖ เรียกว่า อชฺฌตฺติกายตน เป็นอายตนะภายใน จำแนกโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็มี ๖ เหมือนกัน เรียกว่า พาหิรายตน เป็นอายตนะภายนอก รวม อายตนะมี ๑๒ คือ
โดยประเภทแห่งทวาร...................โดยประเภทแห่งอารมณ์
เป็นอายตนะภายใน ๖ ..................เป็นอายตนะภายนอก ๖

จักขวายตนะ ..............ต่อกับ .............รูปายตนะ
โสตายตนะ ...............ต่อกับ .............สัททายตนะ
ฆานายตนะ ...............ต่อกับ .............คันธายตนะ
ชิวหายตนะ ................ต่อกับ ............รสายตนะ
กายายตนะ ................ ต่อกับ ...........โผฏฐัพพายตนะ
มนายตนะ .................. ต่อกับ .......... ธัมมายตนะ

อายตนะทั้ง ๑๒ มีความหมายและองค์ธรรมดังนี้
๑. จักขวายตนะ มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขายตนะ คือ จักขุทวาร เป็น เครื่องต่อ หรือต่อทางจักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท เป็นรูปธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. โสตายตนะ คือ โสตทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท เป็นรูปธรรม
๓. ฆานายตนะ คือ ฆานทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท เป็นรูปธรรม
๔. ชิวหายตนะ คือชิวหาทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท เป็นรูปธรรม
๕. กายายตนะ คือกายทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท เป็น รูปธรรม
๖. มนายตนะ คือ จิตใจเป็นเครื่องต่อ โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึงทวาร องค์ธรรมได้แก่ มโนทวาร เป็นนามธรรม (นามจิต)
๗. รูปายตนะ คือ รูป (วรรณ หรือ สี) เป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รูปารมณ์ เป็นรูปธรรม
๘. สัททายตนะ คือ เสียงเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ สัททารมณ์ เป็น รูปธรรม
๙. คันธายตนะ คือ กลิ่นเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์ เป็น รูปธรรม
๑๐. รสายตนะ คือ รสเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เป็น รูปธรรม
๑๑. โผฏฐัพพายตนะ คือ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โผฏฐัพ พารมณ์ ซึ่งมี ๓ คือ
ก. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ แข็ง อ่อน เป็น รูปธรรม
ข. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ร้อน เย็น เป็น รูปธรรม
ค. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ หย่อน ตึง เป็น รูปธรรม
๑๒. ธัมมายตนะ คือ ธรรมเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ธรรม ๖๙ คือ
ก. สุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรม
ข. เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม (นามเจตสิก)
ค. นิพพาน ๑ เป็นนามธรรม (นามนิพพาน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร