วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๓ อิทธิบาท ๔

อิทฺธิยา ปาโทติ อิทฺธิปาโท ฯ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ชื่อว่า อิทธิบาท
คำว่า สัมฤทธิผล ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ คือ บรรลุถึงกุสลญาณจิต และมัคคจิต
ฉนฺโท เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ ฉันทะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท
วิริโย เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท ฯวิริยะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิริยิทธิบาท
จิตฺตญฺเญว อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯจิต เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า จิตติทธิบาท
วิมํสา เอว อิทฺธิปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท ฯวิมังสา คือ ปัญญา เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท
ดังนี้จะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต และปัญญา ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี และมีความหมายว่า เป็นไปเพื่อให้กิจการงาน นั้น ๆ เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ
อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงาน อันเป็น กุสล อกุสล และ อพยากตะ ได้ทั้งนั้น
ส่วนอิทธิบาทนี้ เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุสล แต่ฝ่าย เดียว และเป็นกุสลที่จะให้บรรลุถึงมหัคคตกุสล และโลกุตตรกุสลด้วย
ดังนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต(กิริยาจิต) และปัญญา ของพระอรหันต์ จึงไม่ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิ ผลอย่างใด ๆ อีก
ฉันทะ วิริยะ จิต และ ปัญญา ที่อยู่ในโลกุตตรวิบากจิต คือผลจิตนั้นก็ไม่ชื่อ ว่าอิทธิบาท เพราะผลจิตเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล

อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๒. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๓. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๔. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗ กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้
เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว ก็ เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว ว่าเป็น อิทธิบาท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ในมิสสกสังคหะมี ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น กุสล อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย ๒๒ นั้นได้ตามควร
ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้ ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ อริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ
เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ
๑. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
สัทธา มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา
ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติซึ่ง สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถะ ภาวนาสัทธานั้น อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา สัทธาแล้วไซร้ อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่าสัทธินทรีย์

๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์ กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่า เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย เป็น
วัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย์ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ
อัญญาตาวินทรีย์ รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น ก็เพราะว่า
อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้ เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว ซึ่งมัคค ผล นิพพาน กล่าวอีก นัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้ โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์ ทั้ง ๓ นี้ เป็นตัวรู้ ไม่ใช่เป็นเครื่อง ที่จะให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๕ พละ ๕

พละในโพธิปักขิยสังคหะนี้ หมายเฉพาะกุสลพละ ซึ่งมีลักษณะ ๒ ประการ คืออดทนไม่หวั่นไหวประการหนึ่ง และย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกอีกประการหนึ่ง ดังนั้น พละในโพธิปักขิยธรรม จึงมีเพียง ๕ ประการ คือ
๑. สัทธาพละ ความเชื่อถือเลื่อมใส เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่นไหว และ ย่ำยีตัณหาอันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปกติสัทธา เป็นสัทธาที่ยังปะปนกับตัณหา หรือเป็นสัทธาที่อยู่ใต้อำนาจของ ตัณหา จึงยากที่จะอดทนได้ ส่วนมากมักจะอ่อนไหวไปตามตัณหาได้โดยง่าย อย่างที่ ว่า สัทธากล้า ก็ตัณหาแก่
ส่วน ภาวนาสัทธา ซึ่งเป็นสัทธาที่เกิดมาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน จึงอดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีหรือตัดขาดจากตัณหาได้

๒. วิริยพละ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่น ไหว และย่ำยีโกสัชชะ คือความเกียจคร้านอันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ความเพียรอย่างปกติตามธรรมดาของสามัญชน ยังปะปนกับโกสัชชะอยู่ ขยัน บ้าง เนือย ๆ ไปบ้าง จนถึงกับเกียจคร้านไปเลย แต่ว่าถ้าความเพียรอย่างยิ่งยวด แม้เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ก็ไม่ยอมท้อถอยแล้ว ย่อมจะอดทนไม่หวั่นไหวไป จนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ และย่ำยีความเกียจคร้านได้แน่นอน
๓. สติพละ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็นกำลัง ทำให้อดทนไม่ หวั่นไหว และย่ำยี มุฏฐสติ คือ ความพลั้งเผลอหลงลืม อันเป็นข้าศึกองค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน เป็นกำลังให้อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีวิกเขปะ คือ ความฟุ้งซ่าน อันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญาพละ ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เป็นกำลัง ทำให้อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีสัมโมหะ คือความมืดมน หลงงมงาย อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
การเจริญสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้สม่ำ เสมอกัน จึงจะสัมฤทธิผล ถ้าพละใดกำลังอ่อน การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร คือ
ก. ผู้มีกำลังสัทธามาก แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นั้น อ่อนไป ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหาได้บ้าง โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง ไม่ถึงกับแสวงหาในทางทุจริต มีความสันโดษ คือ สนฺตุฏฺฐี พอใจเท่าที่มีอยู่พอใจ แสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาด้วยความสุจริต

ข. ผู้ที่มีกำลังสัทธาและวิริยะมาก แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป ผู้นั้นย่อม รอดพ้นจากตัณหาและโกสัชชะได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญ กายคตาสติ และ วิปัสสนาภาวนาจนเป็นผลสำเร็จได้
ค. ผู้ที่มีกำลังสัทธา วิริยะและสติมาก แต่พละที่เหลืออีก ๒ อ่อนไปผู้นั้น ย่อมสามารถเจริญกายคตาสติได้ แต่ว่าเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่สำเร็จได้
ง. ผู้ที่มีกำลังทั้ง ๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป ย่อมสามารถเจริญฌาน สมาบัติได้ แต่ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาภาวนาได้
จ. ผู้ที่มีปัญญาพละมาก แต่พละอื่น ๆ อ่อนไป ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ หรือพระปรมัตถได้ดี แต่ว่าตัณหา โกสัชชะ มุฏฐะ และ วิกเขปะ เหล่านี้มีกำลัง ทวีมากขึ้น
ฉ. ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ เพียง ๒ อย่างเท่านี้ แต่เป็นถึงชนิด อิทธิบาทโดยบริบูรณ์แล้ว การเจริญวิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้
ช. ผู้ที่บริบูรณ์ด้วย สัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓ นี้ย่อมสามารถที่จะ ทำการได้ตลอดเพราะ
สัทธาพละ ย่อมประหาร ปัจจยามิสสตัณหาและโลกามิสสตัณหาได้
วิริยพละ ย่อมประหาร โกสัชชะได้ (ความเกียจคร้าน)
สติพละ ย่อมประหาร มุฏฐสติ (ความหลงลืม) ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อจากนั้น สมาธิพละและปัญญาก็จะปรากฏขึ้นตามกำลัง ตามสมควร
ปัจจยามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้ปัจจัย ๔ มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โลกามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้โลกธรรม ๔ มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๖ โพชฌงค์

โพธิยา องฺโค โพชฺฌงฺโค ฯ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจจ ๔) นั้นชื่อ ว่า โพชฌงค์
โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้
สิ่งที่รู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ มัคคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ ผลจิต
องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจจ ๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์ นี้มี ๗ ประการ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปิติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

๑. สติสัมโพชฌงค์ คือ สติเจตสิกที่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานทั้ง ๔ ต่อ เนื่องกันมา จนแก่กล้า
เป็น สตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ด้วยอำนาจแห่ง วิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความประมาทเสีย
ได้ สติอย่างนี้แหละที่เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่สติจะเป็นถึง
สัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล ๔ ประการ คือ
ก. ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นในสัมปชัญญบรรพ
ข. ต้องเว้นจากการสมาคมกับผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน
ค. ต้องสมาคมกับผู้ที่เคยเจริญสติปัฏฐาน
ง. ต้องพยายามเจริญสติให้รู้ตัวอยู่ทุก ๆ อารมณ์ และทุก ๆ อิริยาบถ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น องค์ธรรมของสติสัม
โพชฌงค์ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนแก่กล้า
เป็นวิมังสิทธิบาท เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาพละ เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา
ย่อมทำลายโมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้ แหละที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิด
มัคคญาณได้ การที่ ปัญญาจะเป็นถึงธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล ๗ ประการ คือ
ก. การศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม
ข. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๖ โพชฌงค์

โพธิยา องฺโค โพชฺฌงฺโค ฯ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจจ ๔) นั้นชื่อ ว่า โพชฌงค์
โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้
สิ่งที่รู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ มัคคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ ผลจิต

องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจจ ๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์ นี้มี ๗ ประการ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปิติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

๑. สติสัมโพชฌงค์ คือ สติเจตสิกที่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานทั้ง ๔ ต่อ เนื่องกันมา จนแก่กล้า
เป็น สตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ด้วยอำนาจแห่ง วิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความประมาทเสีย
ได้ สติอย่างนี้แหละที่เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่สติจะเป็นถึง
สัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล ๔ ประการ คือ
ก. ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นในสัมปชัญญบรรพ
ข. ต้องเว้นจากการสมาคมกับผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน
ค. ต้องสมาคมกับผู้ที่เคยเจริญสติปัฏฐาน
ง. ต้องพยายามเจริญสติให้รู้ตัวอยู่ทุก ๆ อารมณ์ และทุก ๆ อิริยาบถ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น องค์ธรรม
ของสติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนแก่กล้า
เป็นวิมังสิทธิบาท เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาพละ เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา
ย่อมทำลายโมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้ แหละที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่ ปัญญาจะเป็นถึงธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล ๗ ประการ คือ
ก. การศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม
ข. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. กระทำอินทรีย์ คือสัทธากับปัญญา และวิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน เพราะ ว่า
ถ้าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหา หากว่าสัทธาอ่อน ย่อมทำให้ความเลื่อมใส น้อยเกินควร
ปัญญากล้า ทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือคิดออกนอกลู่นอกทางไป ปัญญาอ่อน ก็ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง วิริยะกล้า ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือฟุ้งซ่านไป วิริยะอ่อน ก็ทำให้เกิดโกสัชชะ คือเกียจคร้าน
สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสงบสุขนั้นเสีย สมาธิอ่อน ก็ทำให้ความตั้งใจมั่น ในอารมณ์นั้นหย่อนไป
ส่วนสตินั้น ไม่มีเกิน มีแต่จะขาดอยู่เสมอ
ที่ว่าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหานั้น เช่น เลื่อมใสเชื่อถืออย่างแรงกล้าใน ข้อที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็กำหนดให้ความฟุ้งนั้น จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ จึงเลยนั่งจ้องด้วยความอยากที่จะให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะได้ดูให้สมอยาก ดังนี้ เป็นต้น การเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุถึงผลเช่นนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาเลย
ในการเจริญสมถภาวนา แม้สมาธิจะมากไปสักหน่อย ก็พอทำเนาเพราะสมถะ นั้น สมาธิต้องเป็นหัวหน้า ส่วนทางวิปัสสนาภาวนา แม้ปัญญาจะมากไปสักเล็ก น้อย ก็ไม่สู้กระไรนัก เพราะวิปัสสนาภาวนานั้น ปัญญาจะต้องเป็นหัวหน้าผู้นำ
ง. ต้องเว้นจากผู้ไม่มีปัญญา เพราะไม่เคยรู้จักธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือไม่ เคย เจริญวิปัสสนาภาวนา
จ. ต้องสมาคมกับผู้มีปัญญาที่เคยเจริญวิปัสสนา รอบรู้รูปนามดีแล้ว
ฉ. ต้องหมั่นเจริญภาวนาอยู่เนือง ๆ โดยอารมณ์ที่เป็นภูมิของวิปัสสนา
ช. ต้องกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็ ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยเจตสิกที่ทำกิจสัมมัปปธานทั้ง ๔ จนแก่กล้า เป็นวิริยิทธิบาท เป็น
วิริยินทรีย์ เป็นวิริยพละ และเป็นสัมมาวายามะ ด้วยอำนาจ แห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโกสัชชะลงได้ วิริยะดังนี้จึงเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ การที่วิริยะจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์ได้นั้นก็ด้วยมีสิ่งอุปการะเกื้อกูล ๑๑ ประการ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ก. พิจารณาให้รู้ถึงโทษภัยในอบายทั้ง ๔ และถ้ามีความประมาทมัวเมาอยู่ ก็จะไม่พ้นไปจากอบายได้ เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรพยายาม เพื่อให้พ้น อบาย
ข. ให้รู้ผลานิสงส์แห่งความเพียรว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จได้ด้วยความ เพียร เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรโดยไม่ท้อถอย
ค. รู้และเข้าใจว่า การเจริญสติปัฏฐานนี้เป็นทางเดียวที่จะให้พ้นอบาย และ ให้บรรลุมัคคผล เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรอย่างยิ่งยวด
ง. พิจารณาให้รู้ว่า การที่ได้รับอามิสบูชา ก็เพราะปฏิบัติธรรมตามควรแก่ ธรรม จึงควรที่จะปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
จ. พิจารณาว่า การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เพราะได้กระทำความดีมาแต่ปาง ก่อน เป็นโอกาสอันประเสริฐแล้วที่จะเพียรพยายามกระทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป กว่านี้อีก ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีใจสูง
ฉ. พิจารณาว่า พระพุทธองค์ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสุด ก็โดยได้เจริญสติ ปัฏฐานนี้เอง จึงควรอย่างยิ่งที่เราผู้ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน จะต้องเพียรพยายาม เจริญสติปัฏฐานตามรอยพระยุคลบาท
ช. พิจารณาว่า สติปัฏฐานนี้เป็นมรดกที่ประเสริฐยิ่งของพระพุทธองค์ เราผู้เป็นพุทธศาสนิกชน จึงควรบำเพ็ญตนให้สมกับที่จะเป็นทายาทรับมรดกนี้ ด้วยการ เจริญสติปัฏฐาน โดยความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง
ซ. พิจารณา ความเพียรพยายาม ของกัลยาณมิตรผู้ร่วมเจริญภาวนาด้วยกัน แล้ว และทำให้เกิดความ
เพียรพยายามยิ่งเช่นนี้
ฌ. ต้องเว้นจากผู้ที่เกียจคร้าน ไม่มีความขยันหมั่นเพียร
ญ. ต้องสมาคมกับผู้ที่มีความเพียร เพื่อจูงใจให้เกิดความเพียรพยายามยิ่งขึ้น
ฏ. น้อมจิตใจไปสู่การพิจารณารูปนามที่เกิดดับอยู่ในอิริยาบถใหญ่น้อย และ ในทุก ๆ อารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของวิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ปีติเจตสิกที่มีความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน ผู้ที่ เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา จนเกิดความเพียรพยายามอย่างจริงจังแล้ว ย่อม เกิดปีติเป็นธรรมดา ปีติที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลาย อรติ คือ ความไม่ยินดี ที่เป็นเหตุให้เกิดความยินร้าย หรือพยาปาทะเสียได้ ปีติดังนี้จึงได้ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ การที่ปีติเป็นถึงสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมประกอบด้วยธรรมที่อุปการะ ๑๑ ประการ คือ
ก. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระพุทธเจ้า
ข. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระธรรม
ค. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระสงฆ์
ง. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณของ ศีล
จ. จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณของ การเสียสละ
ฉ. เทวดานุสสติ ระลึกถึงคุณของ เทวดา
ช. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระนิพพาน
ซ. เว้นจากผู้ที่ปราศจากสัทธา
ฌ. สมาคมกับผู้ที่มีสัทธา มีเจตนาอันดีงาม
ญ. เรียนพระสูตรที่น่าเลื่อมใส คือ ปสาทนิยสูตร เป็นต้น
ฏ. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้ ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปีติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน โสมนัสมหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๒
โสมนัสมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๒ และ สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ รวมเป็น ๓๔ ดวง

สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ คือ

โลกีย กุสล ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
โลกีย กิริยา ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
โลกุตตร ปฐมฌาน ๘ ทุติยฌาน ๘ ตติยฌาน ๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ปัสสัทธิเจตสิก ที่มีความสงบกายสงบใจในการ เจริญสติปัฏฐาน ผู้เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา มีวิริยะอย่างจริงจัง จนเกิด ปีตินั้น ขณะนั้นปีติมีกำลังกล้า ทำให้จิตใจตื่นเต้นมาก ต่อเมื่ออาการตื่นเต้นในปีติ สงบลงแล้ว ปัสสัทธิก็มีกำลังขึ้น ทำให้จิตและเจตสิกมีความเยือกเย็น สงบ ประณีต ถ้าอาการอย่างนี้มีมากไป ก็อาจจะทำให้สำคัญคิดผิดไปว่าความสงบนี้แหละ คือพระ นิพพาน เหตุนี้ปัสสัทธิจึงจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลส คือเป็นเครื่องเศร้าหมองของ วิปัสสนาประการหนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๑๐ ประการ ปัสสัทธิอย่างนี้ไม่ใช่ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ต้องเป็นไปในอารมณ์ไตรลักษณ์แห่งรูปนาม ปัสสัทธิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความกระด้างกาย และ ความเร่าร้อนใจเสียได้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จะเกิดได้ด้วยอุปการะธรรม ๗ ประการ คือ
ก. บริโภคอาหารที่สมควร ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ข. แสวงหาที่ที่มีอากาศพอเหมาะพอสบาย
ค. ใช้อิริยาบถที่สบาย
ง. พิจารณารู้ว่ากรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน
จ. เว้นจากผู้ที่ไม่มีสีล
ฉ. สมาคมกับผู้ที่มีกาย วาจา ใจ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
ช. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านี้แล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวน จิต ๓๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ เอกัคคตาเจตสิก การตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ จนได้ชื่อว่า เป็นสมาธินทรีย์ เป็นสมาธิพละ และเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิดังนี้แหละที่เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ มีได้ทั้งฝ่ายสมถภาวนาและวิปัสสนา ภาวนา สมาธิในสมถภาวนา มีบริกรรมสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็น สมาบัติ ๘ หรือ ๙ ส่วนสมาธิในวิปัสสนาภาวนา ก็มี สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ และอัปปณิหิตสมาธิ สมาธิย่อมทำลายความฟุ้งซ่าน อุปการะธรรมที่ให้เกิดสมาธิ สัมโพชฌงค์ มี ๑๑ ประการ คือ
ก. ต้องรักษาความสะอาดในปัจจัย ๔ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ข. ให้เจริญสัทธากับปัญญาให้เสมอกันและเจริญวิริยะกับสมาธิให้เสมอกันด้วย
ค. ให้เข้าใจรักษานิมิตของสมถกัมมัฏฐาน และนิมิตของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ง. ให้เข้าใจยกจิตให้แก่กล้าในเมื่อวิริยะอ่อน ต้องอาศัยปัญญา วิริยะปีติ ให้มี กำลังขึ้น
จ. ต้องเข้าใจระงับจิตในเมื่อมีความฟุ้งซ่านมาก
ฉ. ทำจิตให้ยินดีในความไม่ประมาท ด้วยการพิจารณาสังเวคธรรม ซึ่งมี ๘ ประการ เป็นต้น
ช. เจริญกัมมัฏฐานให้ถูกต้องกับจริต และปราศจาก ปลิโพธ กังวล
ซ. เว้นจากบุคคลที่มีใจไม่สงบ
ฌ. ให้สมาคมกับผู้ที่ยินดีในความสงบระงับ
ญ. ให้มีความชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน และอารมณ์วิปัสสนา
ฏ. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ ให้จิตน้อมไปเพื่อสมาธิ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของสมาธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปลิโพธ คือความกังวลห่วงใย มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) อาวาสปลิโพธ ห่วงที่อยู่
(๒) กุลปลิโพธ ห่วงบริวาร ว่านเครือ
(๓) ลาภปลิโพธ ห่วงรายได้
(๔) คณปลิโพธ ห่วงพวกพ้อง
(๕) กัมมปลิโพธ ห่วงการงานที่กระทำ
(๖) อัทธานปลิโพธ ห่วงการเดินทาง
(๗) ญาติปลิโพธ ห่วงพ่อแม่ ลูก เมีย พี่น้อง
(๘) อาพาธปลิโพธ ห่วงการเจ็บป่วย
(๙) คันถปลิโพธ ห่วงการศึกษาเล่าเรียน
(๑๐) อิทธิปลิโพธ ห่วงการแสดงฤทธิ์ เฉพาะข้อ ๑๐ นี้ ไม่เป็นปลิโพธแก่การเจริญสมถภาวนา แต่เป็นปลิโพธแก่ การเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังเวควัตถุ คือ วัตถุที่พึงสังเวช มี ๘ ประการ คือ
(๑) ชาติทุกข์ ความเกิด เป็นทุกข์
(๒) ชราทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์
(๓) พยาธิทุกข์ ความเจ็บ เป็นทุกข์
(๔) มรณทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์
(๕) นิรยทุกข์ ตกนรก เป็นทุกข์
(๖) ดิรัจฉานทุกข์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกข์
(๗) เปตติทุกข์ เป็นเปรต เป็นทุกข์
(๘) อสุรกายทุกข์ เป็นอสุรกาย เป็นทุกข์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ทำให้จิตใจเป็นกลาง ไม่ให้เกิดความยินดีหรือ
ยินร้ายในอารมณ์กัมมัฏฐาน เพราะในเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ย่อมเกิดความชอบใจ และไม่ชอบใจ
ติดตามอยู่เสมอ ด้วยว่าจิตยังไม่ตั้งอยู่ในมัชฌิมา ปฏิปทาได้อย่างแน่นอนและมั่นคง ต่อเมื่อตั้งอยู่ได้มั่น
คงด้วยดีแล้ว ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิกนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีความเจริญถึงกับทำให้สัทธากับ ปัญญา และวิริยะกับ
สมาธิ มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แล้วทำลาย กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุ
จจะ วิจิกิจฉา เสียได้ ซึ่งสามารถที่จะ ทำให้มัคคญาณเกิดขึ้นได้ จึงจะได้ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
การที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยมีอุปการะธรรม ๕ ประการ คือ
ก. ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์ในบุคคล เพราะตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หามีสัตว์มีบุคคลไม่ มีแต่รูปนามที่เป็นไปตามกรรม จึงไม่ควรมีอคติแก่รูปนามนั้น รูปนามนี้เลย
ข. ตั้งตนเป็นกลางในสังขาร คือ บุคคล วัตถุ สิ่งของ ทั้งหลาย เพราะตาม สภาพแห่งความเป็นจริงนั้น
สังขารทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงไม่พึง ยินดีเมื่อได้มา และยินร้ายในเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่
ไม่เป็นแก่นสารนั้น ๆ ไป
ค. ต้องเว้นจากผู้ที่ยึดมั่น รักใคร่ หวงแหน ในสัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นของเรา เป็นของเขา
ง. ให้สมาคมกับบุคคลที่ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์บุคคล และในสังขารทั้งหลาย
จ. น้อมใจให้ดิ่งไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุก ชวนจิต ๓๔
อนึ่ง ใน วิภังคอรรถกถา แสดงว่า ความเฉยที่เรียกว่า อุเบกขานั้น มีถึง ๑๒ ประการ คือ
(๑) อญาณุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่รู้อะไรเลยหรือเฉยเพราะไม่รู้ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
(๒) ฉฬังคุเบกขา เป็นความเฉยของพระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในเมื่อประสบกับอารมณ์ทั้ง ๖ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๓) พรหมวิหารุเบกขา เป็นความเฉยอย่างพรหม ที่ไม่สงสาร ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่อสัตว์ทั้งหลาย คือ
ไม่มีอคติ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๔) โพชฌงคุเบกขา เป็นความเฉยที่เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายต่ออารมณ์กัมมัฏฐานในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพธิปักขิยสังคหะนี้เอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๕) วิริยุเบกขา เป็นความเฉยต่อความเพียร หมายความว่า ให้มีความเพียร อย่างกลาง อย่างพอดีที่คู่ควรแก่สมาธิ อย่างที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาในการเจริญ วิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
(๖) สังขารุเบกขา เป็นความเฉยต่อสังขาร คือรูปนาม ที่ประจักษ์ความเกิด ดับในขณะเจริญวิปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
(๗) เวทนุเบกขา เป็นความเฉยต่อเวทนาที่ได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก
(๘) วิปัสสนุเบกขา เป็นความเฉยต่อรูปนาม หรือต่อไตรลักษณ์ที่ตนกำหนด พินิจอยู่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
(๙) อาวัชชนุเบกขา เป็นความเฉยต่อการรับอารมณ์ทางปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ใน ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต
(๑๐) ตัตรมัชฌัตตุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่เอนเอียงไปในทางอคติใด ๆ คือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา และภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว องค์ธรรม ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑๑) ฌานุเบกขา เป็นความเฉยต่อความสุขในจตุตถฌาน เมื่อจะขึ้นสู่ ปัญจมฌาน องค์ธรรมได้แก่
ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อุเบกขา คือองค์ฌาน เฉยอยู่ด้วยความเพ่ง ตั้งมั่นอยู่ด้วย สมาธิ ตั้งเฉยอยู่โดยปกติ
ไม่เอนเอียงตกไปตามนิวรณ มีกามฉันทะเป็นต้น หมายถึง ตั้งมั่นเฉยอยู่ในอารมณ์ที่ตนพินิจ
(๑๒) ปาริสุทธุเบกขา เป็นความเฉยในปัญจมฌาน ที่ไม่ได้ติดอยู่ในสุข เหมือนจตุตถฌาน คือเฉยเพรา
ละสุขเสียได้แล้ว ดังมีข้อเปรียบไว้ว่า สติเป็นไป ด้วยกับปัญจมฌานนั้น เป็นสติปาริสุทธิ เพราะเหตุเป็น
ไปด้วยอุเบกขา ดังนั้น ปาริสุทธุเบกขานี้จึงได้แก่ปัญจมฌานนั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา
เจตสิก

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๗ มัคคมีองค์ ๘

มัคคในมิสสกสังคหะ (ซึ่งกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม) มีองค์ ๑๒ องค์ แสดงถึงตัวเหตุแห่ง ทุคคติ
สุคติและนิพพาน อันเป็นทางให้ถึง ทุคคติ สุคติ และ นิพพาน คือกล่าวถึงมัคคทั้งที่เป็นทางชั่วและทางชอบ
แต่มัคคในโพธิปักขิยสังคหะนี้ กล่าวถึงมัคคเฉพาะที่เป็นทางชอบแต่ฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวถึงฝ่ายชั่วด้วย ดัง
นั้น มัคคในที่นี้จึงมีเพียง ๘ องค์ มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ ดังมีวจนัตถะว่า
กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ ธรรมใดที่ประหาร กิเลสและย่อมเข้าถึงพระ
นิพพาน ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง พระนิพพาน ชื่อว่า มัคค ได้แก่องค์มัคค ๘ รวมกัน
มคฺคสฺส องฺโค มคฺคงฺโค ฯ ธรรมอันเป็นเครื่องประกอบของธรรมที่เป็นเหตุ แห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง
พระนิพพาน ชื่อว่า มัคคังคะ ได้แก่องค์มัคค ๘ โดย เฉพาะ ๆ
องค์มัคค ๘ โดยเฉพาะ ๆ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายแห่งมัคค ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะนั้น จึงจะไม่กล่าวซ้ำใน ที่นี้อีก เป็นแต่จะเพิ่มเติมเล็กน้อย ตามนัยที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ว่า
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. สัมมาสังกัปปะ คิดชอบ คือ คิดให้พ้นทุกข์ เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๓. สัมมาวาจา พูดชอบ คือ พูดโดยมีสติ ไม่เผลอพูดชั่ว เพราะการพูดชั่ว จะไม่พ้นทุกข์
๔. สัมมากัมมันตะ ทำชอบ คือ ทำด้วยความมีสติ ไม่เผลอทำชั่ว เพราะ การทำชั่วจะไม่พ้นทุกข์
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ มีความเป็นอยู่โดยชอบ โดยมีสติไม่เผลอ ให้ดำรงชีพอยู่โดยความชั่ว เพราะมีความเป็นอยู่ชั่ว จะไม่พ้นทุกข์
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ พยายามไม่นึกถึงความชั่ว พยายามไม่ทำ ความชั่ว พยายามทำชอบ พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะพยายามเช่นนี้ จึงจะพ้นทุกข์
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกถึงเฉพาะรูปนามที่มีความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ระลึกเช่นนี้ โลภ โกรธ หลง จึงจะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าโลภ โกรธ หลง ยังเกิดมีอยู่ ก็จะไม่พ้นทุกข์
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นโดยชอบ คือ ให้แน่วแน่ในสติปัฏฐาน ในอันที่จะ พ้นทุกข์ ดังนี้จะเห็นได้ว่า
มัคคมีองค์ ๘ นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างพรักพร้อม จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้ ความเกี่ยวเนื่องกันนั้น เป็นดังนี้ คือ
เมื่อมีปัญญาเห็นชอบแล้ว ก็ย่อมจะ คิดชอบ
เมื่อคิดชอบ ก็ย่อมจะ พูดชอบ
เมื่อพูดชอบ ก็ย่อมจะ ทำชอบ
เมื่อทำชอบ ก็ย่อมจะ มีความเป็นอยู่ชอบ
เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ย่อมจะ มีความเพียรชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ย่อมจะ มีความระลึกชอบ
เมื่อมีความระลึกชอบ ก็ย่อมจะ ตั้งใจมั่นโดยชอบ
ที่มีความ ตั้งใจมั่นชอบ ก็เพราะมี ความระลึกชอบ
ที่มีความ ระลึกชอบ ก็เพราะมี ความเพียรชอบ
ที่มีความ เพียรชอบ ก็เพราะมี ความเป็นอยู่ชอบ
ที่มีความ เป็นอยู่ชอบ ก็เพราะมี ทำชอบ
ที่ ทำชอบ ก็เพราะมี พูดชอบ
ที่ พูดชอบ ก็เพราะมี คิดชอบ
ที่ คิดชอบ ก็เพราะมี ความเห็นชอบ
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การที่มีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ระลึกชอบ เพียรชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ทำชอบ พูดชอบ และคิดชอบ เหล่านี้ ก็เพราะมีความเห็น ชอบ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นรากฐาน
ในการแสดงมัคคมีองค์ ๘ นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาทิฏฐิ ก่อน เพราะถือว่าเป็นองค์ที่มีอุปการะ
ยิ่งเป็นเบื้องต้น(บุพพภาค) แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ มัคคผล จนเปรียบไว้ว่า ปญฺญาปโชต ประทีปคือปัญญา ปญฺญาสตฺถ ศัสตราคือ ปัญญา เพื่อพระโยคาวจรจะได้กำจัดมืด คืออวิชชา และประหารโจร คือกิเลสเสีย ด้วยสัมมาทิฏฐิ
รองจากนั้นก็ทรงแสดง สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างช่างเงิน ผู้ชำนาญในการดูเงิน พลิกกหาปณะไป
มาด้วยมือและดูด้วยจักษุ ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้ แท้หรือเทียม ฉันใดแม้ พระโยคาวจร ณ กาลบุพพภาคเบื้องต้นย่อมตรึก
นึก รำพึง ด้วยวิตก และใช้ปัญญาเพ่งพินิจธรรมนั้น ๆ อยู่ ย่อมรู้ว่าธรรมนั้น ๆ เป็นรูป เป็น นาม เป็นต้น ก็ฉันนั้น
บุคคลย่อมตรึกก่อน จึงเปล่งวาจาออกมาภายหลัง จึงได้ทรงแสดง สัมมาวาจา เป็นลำดับต่อจากสัมมาสังกัปปะ ตามปกติ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวด้วยวาจาก่อนว่าจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วจึง ประกอบกิจการงานต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าวาจามีอุปการะแก่การงาน ต่าง ๆ ที่ทำด้วยกาย ดังนั้นจึงได้ทรงแสดง สัมมากัมมันตะ เป็นลำดับ
รองลงมาจากสัมมาวาจา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร