วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่ง ฌานังคะ ๗ นั้น มีกล่าวความเกี่ยวแก่มัคคังคะนี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ ประโยคหนึ่ง
เอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ อีกประโยคหนึ่ง
มีอธิบายว่าอเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว เมื่อไม่มีตัวเหตุแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุและไม่เป็นทาง ให้ถึงสุคติทุคคติได้ เพราะองค์ธรรมทั้ง ๙ ที่จะจัดเป็นมัคคได้จะต้องเป็นเจตสิกที่ ประกอบกับ สเหตุกจิต คือ จิตที่มีเหตุเท่านั้น ตัวเหตุนั่นแหละจึงจะเป็นเหตุและ เป็นทางให้ถึงซึ่ง ทุคคติ สุคติ หรือ นิพพาน
ส่วนเอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ก็ไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิ มัคคังคะ คือ ไม่นับว่าเป็นองค์มัคค เพราะเหตุว่า แม้วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตจะเป็นจิตที่ ประกอบด้วยเหตุ คือ โมหเหตุก็จริง แต่ก็มีเพียงเหตุเดียว กำลังก็ไม่มากอยู่แล้ว ซ้ำยังมี ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจประกอบเข้าอีกด้วย จึงทำให้กำลังที่มีอยู่ไม่มากมา แต่เดิมนั้นอ่อนลงไปอีก เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาจิตจึงไม่ถึงซึ่งความเป็นสมาธิที่ เป็นองค์แห่งมัคค เอกัคคตาที่จะจัดว่าถึงสมาธินั้น จะต้องตั้งมั่นในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ มั่นคง ปราศจากความสงสัยลังเลใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มิสสกสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๒๒

อินฺทนฺติ ปรมอิสฺสริยํ กโรนฺตีติ อินฺทฺริยานิ ฯ ธรรมเหล่าใดเป็นผู้ปกครอง ย่อมกระทำตนให้เป็นอิสระยิ่ง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย์
อินทรีย์ หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิด ร่วมด้วยตน หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตน ๆ คือเป็น ใหญ่ในกิจการนั้น ๆ

อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง เช่น จักขุนทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป อันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมด้วย ๙ รูป คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา และชีวิตรูป รวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วยก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในการที่จะให้ สำเร็จกิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี่แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆ อีก ๙ รูป ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทรูปนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่รับ รูปารมณ์ได้เลย ดังนั้นจักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็น ใหญ่นั้นว่า อินทรีย์ และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่า จักขุนทรีย์
ตามตัวอย่างเดียวกันนี้ ถ้าจะกล่าวถึงการงานที่จะให้สำเร็จกิจในหน้าที่รักษา รูปให้ดำรงคงอยู่ ให้ตั้งอยู่ หรือให้เป็นไปได้แล้ว ชีวิตรูปแต่ผู้เดียวนี่แหละเป็นใหญ่ ในการที่จะให้รูปทั้ง ๙ นั้น มีชีวิตชีวาตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะรูปอื่น ๆ
ทั้ง ๙ นั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ในด้านการดำรงคงอยู่ดังกล่าวนั้นได้เลย ดังนั้น ชีวิตรูป จึงเป็นใหญ่ในการรักษารูปเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะ เรียก ความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย์ และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ในทางรักษาชีวิต จึงมีชื่อว่า ชีวิตินทรีย์
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ คงจะพอให้เข้าใจความหมายของอินทรีย์ได้พอควรแล้ว ดังนั้น เมื่อแสดงถึงอินทรีย์อื่น ๆ ต่อไปนี้ ก็จะกล่าวถึงหน้าที่การงานแต่เพียงย่อ ๆ

อินทรีย์ มี ๒๒ ประการ คือ

๑. จักขุนทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป
๒. โสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับสัทธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป
๓. ฆานินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับคันธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับรสารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕. กายินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท รูป
๖. อิตถินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นหญิง องค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป
๗. ปุริสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นชาย องค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป
๘. ชีวิตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรักษารูปที่เกิดร่วมกับตน ๑ และเป็นใหญ่ใน การรักษานามที่เกิดร่วมกับตน ๑ ให้ดำรงคงตั้งอยู่หรือเป็นไปได้ในฐิติของรูป และ ของนามนั้น ๆ
เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป
เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. มนินทรีย์ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการนำธรรมทั้งหลายให้เป็นไปใน อารมณ์นั้น ๆ (ธรรมทั้งหลายในที่นี้หมายถึงเจตสิก) องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
๑๐. สุขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสบายกายในขณะที่ประสบ กับอิฏฐารมณ์ทางกายทวาร
องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน สุขสหคตกาย วิญญาณจิต ๑
๑๑. ทุกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความไม่สบายกาย ในขณะที่ ประสบกับอนิฏฐารมณ์ทางกายทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในทุกข สหคตกายวิญญาณจิต ๑
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสุขใจ ในขณะที่ได้ เสวยอารมณ์ที่ถูกใจที่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคตจิต ๖๒
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความทุกข์ใจ ในขณะที่ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ที่ไม่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๑๔. อุเบกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความเป็นอุเบกขา คือ ไม่ ทุกข์ไม่สุข องค์ธรรมได้แก่
เวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕
๑๕. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเชื่อความเลื่อมใส ในอารมณ์ที่เป็น ฝ่ายดีงาม องค์ธรรมได้แก่
สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๑๖. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็นกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่
วิริยเจตสิก ที่ในวิริยสหคตจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
๑๗. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้ในอารมณ์ (เฉพาะที่เป็นฝ่ายดีงาม ฝ่ายชอบ ฝ่ายกุสล) ที่ตนต้องการ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๑๘. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ ตนต้องประสงค์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑)
๑๙. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ตามความเป็นจริง ทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมของปัญญินทรีย์นี้ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตกามจิต ๑๒ และในมหัคคตจิต ๒๗ รวม ๓๙ ดวงเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้อริยสัจจธรรมเป็นครั้ง แรก ปรากฏว่าสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ก็ได้มารู้มาเห็นเป็นอัศจรรย์ปานนี้ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในโสดาปัตติมัคคจิต ๑
๒๑. อัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ธรรมที่โสดาปัตติมัคคจิต เคยรู้เคยเห็นมา แล้วนั้น จนภิญโญยิ่งขึ้นไปอีก องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคเบื้องบน ๓ ผลเบื้องต่ำ ๓
มัคคเบื้องบน ๓ นั้นได้แก่ สกทาคามิมัคคจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ และ อรหัตตมัคคจิต ๑
ผลเบื้องต่ำ ๓ นั้นได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ สกทาคามิผลจิต ๑ และอนาคา มิผลจิต ๑
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งในธรรมที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุด แห่งโสฬสกิจ กิจที่จะต้องรู้ต้องศึกษาอีกนั้นไม่มีแล้ว ทำอาสวะจนสิ้นไม่มีเศษเหลือ แม้แต่น้อยแล้ว องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตผลจิต ๑ อินทรีย์มี ๒๒ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๑๖ เท่านั้น คือ จักขุปสาทรูป โสต ปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป
กายปสาทรูป อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป ชีวิตรูป ชีวิตินทรีย์เจตสิก จิต เวทนาเจตสิก สัทธาเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และปัญญาเจตสิก
อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียว มี ๗ คือ ตั้งแต่จักขุนทรีย์ ถึง ปุริสินทรีย์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม มี ๑ คือ ชีวิตินทรีย์
เป็นนามธรรมอย่างเดียว มี ๑๔ คือ ตั้งแต่ มนินทรีย์ ถึงอัญญาตาวินทรีย์
อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นโลกียฝ่ายเดียวนั้นมี ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์
เป็นโลกุตตรฝ่ายเดียว มีเพียง ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์
เป็นทั้งโลกียและโลกุตตร มี ๙ คือ อินทรีย์ที่เหลือทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่งฌานังคะ ๗ นั้น มีความเกี่ยวแก่อินทรีย ๒๒ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ ประโยคหนึ่ง และ
เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ อีกประโยค หนึ่ง
อวีริยจิตคือ จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกประกอบ มีจำนวน ๑๖ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒
สันตีรณจิต ๓ และ ปัญจทวาราวัชชนจิต อีก ๑ นั้น ก็คือ อเหตุกจิต ๑๖ เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑
เพราะจิต ๒ ดวงนี้ มีวิริยเจตสิกประกอบ
มีอธิบายว่า เอกัคคตาเจตสิกที่ในอวีริยจิต ๑๖ เป็นเอกัคคตาที่ใน อเหตุกจิต อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ จึงมีกำลังน้อย กำลังอ่อน เอกัคคตาเจตสิกที่ ประกอบก็มีกำลังน้อยกำลังอ่อนไปตามฐานะของจิตนั้นด้วย ซ้ำยังไม่มีวิริยะ คือ ความกล้าความเพียรมาช่วยส่งเสริมอุดหนุนอีกด้วยดังนี้ จะครองความเป็นใหญ่ได้ อย่างไร เมื่อไม่สามารถจะเป็นใหญ่ได้ จึงไม่จัดเป็นอินทรีย์
ส่วนเอกัคคตา ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตนั้น ก็เป็นจิตที่ลังเล สงสัยไม่แน่ใจ ลักษณะเช่นนี้ จึงไม่สามารถที่จะเป็นผู้ปกครองหรือครองความเป็นใหญ่ได้ ดังนั้นจึง ไม่นับเป็นอินทรีย์

มิสสกสังคหะกองที่ ๕ พละ ๙

อกมฺปนฏฺเฐน พลํ ฯ ธรรมที่ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
พลียนฺติ อุปฺปนฺเน ปฏิปกฺขธมฺเมสหนฺติ มทฺทนฺตีติ พลานิ ฯ ธรรมที่เกิด ขึ้นเป็นกำลังให้ต่อสู้ ทำลายซึ่งปฏิปักษ์ นั่นแหละชื่อว่า พละ
รวมมีความหมายว่า กำลังหรือพลังที่นำสัมปยุตตธรรม ที่เกิดร่วมกับตนให้ เข้มแข็งในอันที่จะกระทำความดีหรือความชั่วนั้น ชื่อว่า พละ ดังนั้น พละ จึงมีทั้ง กุสลพละ และอกุสลพละ
อกุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่อกุสลธรรมแต่อย่างเดียว ไม่มีกำลังถึง กับจะย่ำยีกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้
ส่วน กุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่ออกุสลธรรมด้วย และมีกำลังย่ำยี อกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้อีกด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังย่ำยีในที่นี้หมายถึงการประหาร ถ้าประหารได้ชั่วครู่ชั่วขณะ ก็เรียกว่า ตทังคปหาน ประหารได้เป็น
เวลาอันยาวนาน ก็เรียกว่า วิกขัมภนปหาน จนกระทั่ง ประหารได้โดยเด็ดขาด ก็เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
กำลังแห่งพละในขั้นกามกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้เพียงตทังคปหานเท่านั้น กำลังแห่งพละในขั้นมหัคคตกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้ถึง วิกขัมภนปหาน ส่วน กำลังแห่งพละในขั้นโลกุตตรกุสลนั้น ประหารปฏิปักษ์ได้เด็ดขาดแน่นอนไปเลย ซึ่ง เป็นการประหารอย่างสูงสุด อันเรียกว่า สมุจเฉทปหาน

พละ มี ๙ ประการ คือ

๑. สัทธาพละ มีความเชื่อถือเลื่อมใสเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๒. วิริยพละ มีความเพียรความกล้าเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ ในจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
(เว้นอวีริยจิต ๑๖)
๓. สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี เป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙หรือ ๙๑
๔. สมาธิพละ มีความตั้งใจมั่นเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔
(เว้นวิจิกิจฉาจิต ๑)
๕. ปัญญาพละ มีปัญญาคือความรู้ที่ถูกต้องตามสภาวธรรมเป็นกำลัง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๖. หิริพละ มีความละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ หิริเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๗. โอตตัปปพละ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ โอตตัปปเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๘. อหิริกพละ มีความไม่ละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ อหิริก เจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๙. อโนตตัปปพละ มีความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรม ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พละ มี ๙ ประการ องค์ธรรมก็มี ๙ องค์ ชื่อของพละกับชื่อขององค์ธรรม ก็ตรงกัน
อหิริกพละและอโนตตัปปพละเป็นกำลังในฝ่ายชั่วแต่อย่างเดียวเท่านั้น
สัทธาพละ สติพละ ปัญญาพละ หิริพละ และโอตตัปปพละ เป็นกำลังใน ฝ่ายดีแต่อย่างเดียว
ส่วนวิริยพละ และสมาธิพละ เป็นกำลังได้ทั้งในฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปะปนกันทั้ง ๒ อย่าง
อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้น มีความ เกี่ยวแก่ พละ ๙ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
เอกัคคตาเจตสิก ที่ในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ ประโยคหนึ่ง และ
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ อีกประโยคหนึ่ง
ข้อความทั้ง ๒ ประโยคนี้ ก็มีเหตุผลที่จะอธิบายได้เป็นทำนองเดียวกันกับที่ ได้อธิบายไว้แล้วในอินทรีย์ ๒๒ นั้นเอง จึงจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
มิสสกสังคหะนี้จำแนกเป็น ๗ กอง ได้กล่าวมาแล้ว ๕ กอง ยังเหลืออีก ๒ กอง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า

๕. จตฺตาโรธิปตี วุตฺตา ตถาหาราติ สตฺตธา
กุสลาทิสมากิณฺโณ วุตฺโต มิสฺสกสงฺคโห ฯ


แปลความว่า อธิบดี มี ๔ อาหารก็มี ๔ เหมือนกัน ในมิสสกสังคหะนี้แสดงไว้ ๗ กอง
โดยกุสล อกุสล อพยากตะ เจือปนกัน

มิสสกสังคหะกองที่ ๖ อธิปติ ๔

อธิโก ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่ใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อธิปติ
อธินานํ ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรมที่ร่วมกับตนนั้น ชื่อว่า อธิบดี
ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดพร้อมกับตน) นั้น ชื่อว่า อธิบดี
เพราะเป็นบุพพาภิสังขาร สิ่งใดจะไม่เป็นผลสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะเป็นไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีฉันทะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี วิริยะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี ใจจดจ่อ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี ปัญญา แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
รวมความว่า อธิปติ หรืออธิบดี นี้ เป็นธรรมที่ใหญ่ยิ่ง เป็นประธาน เป็นผู้นำ ความสำเร็จมาให้จงได้เป็นแน่นอน เมื่อมีอธิปติแล้ว สิ่งใดที่จะไม่เป็นผลสำเร็จนั้น ไม่มีเลย
อินทรีย์ ที่ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะกองที่ ๔ ก็ว่าเป็นใหญ่และอธิปติ ที่กล่าวถึง ณ บัดนี้ก็ว่าเป็นใหญ่อีก แต่ว่าแตกต่างกัน คือ
อินทรีย์เป็นใหญ่ แต่ไม่ยิ่ง เพราะเป็นใหญ่ที่จำกัดอยู่ในกิจการอันเป็นหน้าที่ โดยตรงของตนโดยเฉพาะๆ เท่านั้น ในจิตดวงหนึ่ง ๆ ย่อมมีสภาวธรรมเกิดร่วมด้วย หลายอย่าง มีกิจการงานหลายหน้าที่ ก็มีอินทรียได้หลายอินทรีย์ ต่างก็เป็นใหญ่ใน หน้าที่ของตน ๆ ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพราะต่างก็ทำงานต่างกัน
ส่วน อธิปติ นั้น เป็นใหญ่ยิ่ง เป็นผู้นำในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกันนั้น ในกิจ การงานอันเป็นส่วนรวมทั้งหมด ไม่เฉพาะแต่ในกิจการงานอันเป็นหน้าที่ของผู้หนึ่ง ผู้ใดแต่ผู้เดียว เมื่อเป็นใหญ่ยิ่งถึงกับเป็นผู้นำในกิจการนั้นอันเป็นส่วนรวมแล้ว การ งานในหน้าที่โดยเฉพาะของธรรมอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกันนั้น ก็ต้องดำเนินให้เป็นไป ให้คล้อยไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธานนั้นอีกด้วย ดังนั้น อธิปติ จึงมีได้เป็นได้เกิดได้ในกิจการงานอย่างหนึ่งเพียงครั้งละ ๑ เท่านั้น เพราะว่าถ้าการ งานอย่างเดียวจะมีผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานหรือเป็นผู้นำหลายคน ก็อาจจะทำให้กิจการนั้น ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมาย
อธิปติ มี ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทาธิปติ ความเต็มใจ ปลงใจกระทำ เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน สาธิปติชวนจิต ๕๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. วิริยาธิปติ ความเพียรพยายามเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
สาธิปติชวนจิต ๕๒
๓. จิตตาธิปติ จิต (คือ ความเอาจิตใจจดจ่อ) เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ทวิเหตุกชวนจิต ๑๘และ ติเหตุกชวนจิต ๓๔ รวมเป็น สาธิปติ ชวนจิต ๕๒
๔. วิมังสาธิปติ ปัญญาเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ธรรมที่จะเป็นอธิบดีได้นั้นต้องเป็นชวนจิต และต้องเป็น ชวนจิตที่มีเหตุ ๒ กับชวนจิตที่มีเหตุ ๓ เท่านั้น ซึ่งรวมเรียกว่า สาธิปติชวนจิต แปลว่า ชวนจิตที่มีอธิบดีได้ มีรายละเอียดดังนี้

ชวนจิต ๕๕

อเหตุกชวนจิต ๑ ได้แก่
หสิตุปปาทจิต ๑

เอกเหตุกชวนจิต ๒ ได้แก่
โมหมูลจิต ๒

ทวิเหตุกชวนจิต ๑๘ ได้แก่
โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒
มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔
มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔

สาธิปติชวนจิต ๕๒

ติเหตุกชวนจิต ๓๔ ได้แก่
มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔
มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔
มหัคคตกุสล ๙
มหัคคตกิริยา ๙
โลกุตตรจิต ๘

สาธิปติชวนจิต ๕๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔

อาหารนฺตีติ อาหารา ฯ ธรรมที่เป็นเหตุอุดหนุนส่งเสริมให้เกิดผล ธรรม นั้นแหละชื่อว่า อาหาร
ธรรมใด นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา, นำมาซึ่งเวทนา, นำมาซึ่งปฏิสนธิ วิญญาณ และนำมาซึ่งเจตสิกกับกัมมชรูป ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อาหาร

อาหาร มี ๔ ประการ คือ

๑. กพฬีการาหาร นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา คือ ข้าว น้ำ ขนม นม เนย นี่แหละทำให้เกิด
อาหารชสุทธัฏฐกกลาปในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์เป็นต้น เป็นอาหารแห่งรูปกายของสัตว์ หล่อเลี้ยงและทำความเจริญให้แก่ร่างกายของ สัตว์ ถ้าขาดอาหารเสียแล้ว รูปกายของสัตว์ก็จะพลันพินาศลง ดำรงคงอยู่สืบไป ไม่ได้ องค์ธรรมของกพฬีการาหารนั้น ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ก็คือ อาหารรูปนั่นเอง กพฬีการาหารเป็นรูปปรมัตถ กพฬีการาหารนี้บางทีก็เรียกว่า กวฬีงการาหาร
๒. ผัสสาหาร นำมาซึ่งเวทนา คือ การเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ ทุกข์ไม่สุขบ้าง ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ในจิตทั้งหมด เวทนาทั้ง หลายนั้น ถ้าไม่มีผัสสะแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะผัสสะนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงว่าผัสสะเป็นอาหารของเวทนา ผัสสาหารเป็นเจตสิกปรมัตถ
๓. มโนสัญเจตนาหาร นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ คือ การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒ โลกียกุสลจิต ๑๗ เจตนาที่เป็นกุสลอกุสลนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณอันเป็น กุสลวิบากและอกุสลวิบาก ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ถ้าไม่มีเจตนา คือ กรรมมาปรุงแต่งแล้ว สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิด เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี การเห็น การได้ยิน เป็นต้น ดังนั้นเจตนาเจตสิกจึง
ได้ชื่อว่าเป็นมโนสัญเจตนาหาร มโนสัญเจตนาหารนี้เป็นเจตสิกปรมัตถ
๔. วิญญาณาหาร นำมาซึ่งเจตสิกและกัมมชรูป องค์ธรรมของวิญญาณา หารได้แก่จิตทั้งหมด จิตทั้งหมดนี่แหละนำมาซึ่งเจตสิก เพราะจิตและเจตสิกต้อง เกิดพร้อมกัน แต่จิตนี้เป็นประธาน จึงกล่าวได้ว่า จิตนำมาซึ่งเจตสิก ส่วนกัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอันได้กระทำมาแต่อดีตก็จริง แต่ว่าในภพปัจจุบันนี้ กัมมชรูป ก็เกิดพร้อมกับจิตทุก ๆ ขณะจิต (ในปัญจโวการภูมิ) ดังนั้นก็กล่าวได้ว่า จิตนำมา ซึ่งกัมมชรูป
มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า จิต คือ วิญญาณ เป็นผู้นำให้เจตสิกและกัมมชรูป เกิดขึ้นนั้นในปฏิสนธิกาล ปฏิสนธิวิญญาณนำให้เจตสิกและกัมมชรูปเกิด ในปวัตติ กาล ปวัตติวิญญาณนำให้เจตสิกเกิดแต่อย่างเดียว เพราะกัมมชรูปไม่ใช่รูปที่เกิดจาก จิต แต่อย่างไรก็ตาม กัมมชรูปที่เกิดในปวัตติกาลก็ดี แม้แต่กัมมชรูปของอสัญญสัตตพรหมก็ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากจิตในภพปัจจุบันก็จริง แต่ว่าอาศัยเกิดมาจากกรรมใน อดีตที่เรียกว่า กัมมวิญญาณ
ก็ขึ้นชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิญญาณนำให้เกิดกัมมชรูป วิญญาณาหารนี้เป็นจิตปรมัตถ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔ นี้ กล่าวโดยสรุปคงได้ความว่า
กพฬีการาหาร องค์ธรรมได้แก่ อาหารรูป เป็นรูปปรมัตถ ทำให้เกิดอาหาร ชรูป
ผัสสาหาร องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้เกิดเวทนา
มโนสัญเจตนาหาร องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้ เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
วิญญาณาหาร องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นจิตปรมัตถ ทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป

๓. โพธิปักขิยสังคหะ

โพธิ แปลว่า รู้ มีความหมายถึง รู้การทำให้สิ้นอาสวะ คือรู้ อริยสัจจ ๔ และในโพธิปักขิยสังคหะนี้รวมหมายถึง รู้การทำจิตให้สงบ คือ ถึงฌานด้วย
ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย
โพธิปักขิยธรรม จึงมีความหมายว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌานและให้รู้ถึง มัคคผล เลยแปลกันสั้น ๆ ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้
โพธิปักขิยสังคหะ เป็นการรวบรวมธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มาแสดงโดยย่อ ดังมีคาถาสังคหะที่ ๖ และที่ ๗แสดงว่า

๖. ฉนฺโทจิตฺตมุเปกฺขา จ สทฺธา ปสฺสทฺธิปีติโย
สมฺมาทิฏฺฐิ จ สงฺกปฺโป วายาโม วิรติตฺตยํ ฯ

๗. สมฺมาสติ สมาธีติ จุทฺทเสเต สภาวโต
สตฺตตีสปฺปเภเทน สตฺตธา ตฺตถ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า ฉันทะ ๑, จิต ๑, ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑, สัทธา ๑, ปัสสัทธิ ๑, ปีติ ๑, สัมมาทิฏฐิ ๑,
สัมมาสังกัปปะ ๑, สัมมาวายามะ ๑, วิรตี ๓, สัมมาสติ ๑ และ สัมมาสมาธิ ๑ รวมสภาวธรรม (หรือองค์ธรรม) ๑๔ นี้ มีธรรม ๓๗ ประการ ด้วยกัน และรวมได้เป็น ๗ กอง นี่แหละเรียกว่า โพธิปักขิยสังคหะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มีอธิบายว่า โพธิปักขิยสังคหะนี้ รวบรวมกล่าวถึง โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง เป็นธรรม ๓๗ ประการ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ในธรรม ๓๗ ประการนี้ เมื่อนับเฉพาะองค์ธรรม (ที่ซ้ำกันไม่นับ) ก็ได้องค์ธรรมหรือสภาวธรรม ๑๔ องค์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมมี ๑๕ โดยแยกปัสสัทธิ ๑ ออกเป็น ๒ คือ กายปัสสัทธิ ๑ และ จิตตปัสสัทธิ ๑ เมื่อนับแยกดังนี้จึงเป็น ๑๕

โพธิปักขิยสังคหะ ๗ กอง เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ได้แก่
๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ
๒. สัมมัปปธาน มี ๔ ประการ
๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ
๔. อินทรีย มี ๕ ประการ
๕. พละ มี ๕ ประการ
๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ
๗. มัคค มี ๘ ประการ

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔

สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือ ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์อันเป็นฝ่ายดี
ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มี ความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้มีจุดประสงค์จำแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ
๑. สติตั้งมั่นในการพิจารณา บัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุฌานสมาบัติ
๒. สติตั้งมั่นในการพิจารณา รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมัคค ผล นิพพาน
การกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ก็เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่ง ทั้งหลายล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนเลย จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่งความ
เห็นผิด ไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้ายอันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานจึงเป็นทางสายเอก และเป็นทางสายเดียวที่ทำให้ผู้ดำเนินตาม ทางนี้ ถึงความบริสุทธิหมดจดจนบรรลุพระนิพพาน ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุ มัคค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐานนี้
มหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า ภควา เอตทโวจ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว ซึ่งพระพุทธวจนะดังนี้ ดูก่อน พระภิกษุทั้งหลาย อันว่าหนทางนี้เป็นหนทางเอก เพื่อความบริสุทธิหมดจดแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่ง ความโศกและความร่ำไร เพื่อดับไปแห่ง เหล่าทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สิ่งนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
ญายธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. สังขาร คือธรรมที่ปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนก สังขาร
๒. วิการ คือธรรมที่ผันแปรเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความเปลี่ยนแปรของสัตว์ ที่เป็นไปในภูมิต่าง ๆ
๓. ลักษณะ คือธรรมที่เป็นเหตุให้รู้เห็น ได้แก่ ลักษณะของสภาวะ
๔. นิพพาน คือธรรมที่พ้นแล้วจากกิเลส ได้แก่ ความดับที่ไม่เกิดอีกเลย
๕. บัญญัติ คือธรรมที่เพียงแต่ใช้พูดจากล่าวขานกันเท่านั้น ได้แก่ อัตถ บัญญัติ สัททบัญญัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกาย คือ รูปขันธ์ หรือรูปธรรม มี ๑๔ ฐาน
หรือ ๑๔ บรรพ (บรรพ = ข้อ)
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งเวทนา คือ เวทนาขันธ์ มี ๙ ฐาน
หรือ ๙ บรรพ
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต คือวิญญาณ ขันธ์ มี ๑๖ ฐาน
หรือ ๑๖ บรรพ
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕ มี ๕ ฐาน
หรือ ๕ บรรพ
รวมเป็น ๔๔ ฐาน หรือ ๔๔ บรรพ นี่เป็นการนับจำนวนโดยพิสดาร
ถ้านับอย่างสังเขป ก็มีเพียง ๒๑ ฐาน หรือ ๒๑ บรรพ คือ นับกาย ๑๔ ตามเดิม เวทนานับเพียง ๑
จิตก็นับเพียง ๑ และธรรมคงนับ ๕

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งกาย คือ การกำหนด ให้เห็นรูปธรรมนั้น มี ๑๔ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ อานาปานสติ ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ ได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า อิริยาบถใหญ่
บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ ได้แก่
(๑) ก้าวไปข้างหน้า และถอยไปข้างหลัง
(๒) แลไปข้างหน้า เหลียวไปข้างซ้าย เหลียวไปข้างขวา
(๓) คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก
(๔) กิริยาที่นุ่งผ้า ห่มผ้า และใช้เครื่องใช้สอยอื่น ๆ
(๕) การเคี้ยว การกิน การดื่ม
(๖) การถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
(๗) อาการเดิน ยืน นั่ง นอน จะหลับ เวลาที่ตื่นขึ้น การพูด การนั่ง สัมปชัญญะ ๗ นี้ บางทีก็เรียกว่า
อิริยาบถย่อย
บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา ได้แก่ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น
บรรพที่ ๕ ธาตุทั้ง ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
บรรพที่ ๖ อสุภะ ที่ตายได้เพียง ๑, ๒, ๓ วัน
บรรพที่ ๗ อสุภะ ที่สัตว์กำลังกัดกินอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรพที่ ๘ อสุภะ ที่เป็นกระดูก ยังมีเลือดเนื้อติดอยู่
บรรพที่ ๙ อสุภะ ที่ปราศจากเนื้อ มีแต่เส้นเอ็นยึดให้คงรูปอยู่
บรรพที่ ๑๐ อสุภะ ที่เหลือแต่โครงกระดูก ซึ่งยังคงเป็นรูปร่างอยู่
บรรพที่ ๑๑ อสุภะ ที่กระดูกเป็นท่อน ๆ เช่น ท่อนแขน ท่อนขา กระจัด กระจายอยู่
บรรพที่ ๑๒ อสุภะ ที่เก่ามาก จนกระดูกเป็นสีขาวเหมือนสังข์
บรรพที่ ๑๓ อสุภะ ที่ตากลมตากฝนมาตั้ง ๓ ปีแล้ว เหลือแต่กระดูกเป็น ชิ้น ๆ กระจัดกระจาย
บรรพที่ ๑๔ อสุภะ ที่กระดูกผุป่น ไม่เป็นรูปเป็นร่าง จนเป็นผงแล้ว

บรรพที่ ๑ อานาปานสติ นี้เจริญได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ
ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติ คือลม เป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌาน ก็เป็นสมถภาวนา
แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่กระทบริมฝีปากบน หรือ ที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา
บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ ธาตุทั้ง ๔ รวม ๓ บรรพนี้ ใช้ในการ
เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิด ฌานจิตไม่ได้
บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา และบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถภาวนาแต่อย่างเดียวเท่านั้น
อนึ่งบรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ นั้น มีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง
เหลียวซ้าย แลขวา ตลอดจนการเคลื่อนไหวทำการใด ๆ จะต้องทำด้วยความมีสัมปชัญญะ คือรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้พินิจพิเคราะห์
อีกนัยหนึ่ง สัมปชัญญะคือการรู้ตัวนั้น ต้องมีสติและชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ ทำไปตามอารมณ์หรือทำไป
ตามใจชอบ แต่ต้องมีทั้งสติและปัญญาด้วย จึงจะเรียกได้ว่ามี สติสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ มี ๔ ประการ ใน สีลขันธอรรถกถา แสดงไว้ว่า
อตฺถปริคฺคณฺหนํ สตฺถกสมฺปชญฺญํ นาม ฯ ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่กำหนดรู้ แต่ในประโยชน์นั้น ได้นามว่าสัตถกสัมปชัญญะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร