วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การประหารสังโยชน์โดยลำดับแห่งกิเลส คือ ตามลำดับแห่งสังโยชน์นั้น
สังโยชน์ใดพึงประหารโดยอริยมัคคใด ดังต่อไปนี้
กิเลสปฏิปาฏิยา กามราคปฏิฆสํโยชนานิ อานาคามิมคฺเคน ปหียนฺติ มาน สํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน,
ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา โสตาปตฺติมคฺเคน, ภวราคสํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน,
อิสฺสามจฺฉริยานิ โสตาปตฺติมคฺเคน, อวิชฺชา อรหตฺตมคฺเคนฯ

กามราคสังโยชน์,ปฏิฆสังโยชน์,
พึงประหารโดย อนาคามิมัคค


มานสังโยชน์
พึงประหารโดย อรหัตตมัคค


ทิฏฐิสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค


ภวราคสังโยชน์
พึงประหารโดย อรหัตตมัคค


อิสสาสังโยชน์, มัจฉริยสังโยชน์
พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค


อวิชชาสังโยชน์
พึงประหารโดย อรหัตตมัคค


ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
ส่วนการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น ดังนี้

โสดาปัตติมัคค ประหาร
ทิฏฐิสังโยชน์
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์


อนาคามิมัคค ประหาร
กามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์


อรหัตตมัคค ประหาร
รูปราคสังโยชน์
อรูปราคสังโยชน์
มานสังโยชน์
อุทธัจจสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๙ กิเลส ๑๐

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสา ฯ ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า กิเลส
กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสา ฯ สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้า หมองด้วยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรม นั้นชื่อว่า กิเลส
สงฺกิเลเสตีติ สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปฺปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ ธรรมเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้น
ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่ายังสัตว์ให้เร่าร้อน รวมหมายความว่า
กิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน

กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
๑. โลภกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
๒. โทสกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖
องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๓. โมหกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัญญะ
องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๔. มานกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว
องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฏฐิกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม ความเป็นจริง
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉากิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจใน พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นต้น
องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑
๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร
องค์ ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป
องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการ กระทำบาป
องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คง ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อขององค์ ธรรมก็ตรงกัน
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา
อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือคือ โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

สรุปอกุสลสังคหะทั้ง ๙ กอง
โลภเจตสิก มีทุกกอง ครบหมดทั้ง ๙ กอง
ทิฏฐิเจตสิก มี ๘ กอง (เว้นนิวรณ์)
โมหเจตสิก มี ๗ กอง (เว้นคันถะ อุปาทาน)
โทสเจตสิก มี ๕ กอง คือ คันถะ นิวรณ์ อนุสัย สังโยชน์ กิเลส
วิจิกิจฉาเจตสิก มี ๔ กอง คือ -- นิวรณ์ อนุสัย สังโยชน์ กิเลส
อุทธัจจเจตสิก มี ๓ กอง คือ -- นิวรณ์ -- สังโยชน์ กิเลส
มานเจตสิก มี ๓ กอง คือ -- -- อนุสัย สังโยชน์ กิเลส
ถีนเจตสิก มี ๒ กอง คือ -- นิวรณ์ -- -- กิเลส

เจตสิกที่เหลือนอกนั้นอีก ๖ คือ มิทธะ กุกกุจจะ อิสสา มัจฉริยะ อหิริกะ
และ อโนตตัปปะ ต่างก็มีแต่ละกองเดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส ๑๕๐๐

อารมฺมณธมฺม = ธรรมที่เป็นอารมณ์.... อชฺฌตฺต ภายใน....... พหิทฺธภายนอก.........รวม
นาม
จิต........................................................๑..........................๑.................๒
เจตสิก...................................................๕๒......................๕๒...............๑๐๔

รูป
นิปผันนรูป...............................................๑๘........................๑๘.................๓๖
ลักขณรูป..............................,....................๔.........................๔..................๘

รวม........................................................๗๕.......................๗๕............... ๑๕๐

อารัมมณธรรม คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐
ที่แสดงกิเลส ๑,๕๐๐ นี้ เป็นการแสดงกิเลสตามธรรมที่เป็นอารมณ์ ทั้งภาย ในและภายนอก
อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส ก็จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
ก. อนุสยกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้เกิดอยู่ในมโนทวารเท่านั้น คือลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับแสดง ออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
ค. วีติกกมกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวาร หรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อย่าง โจ่งแจ้ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา ๑๐๘

อารมณ์ตัณหา ๖ คือรูปตัณหา ๑, สัททตัณหา ๑, คันธตัณหา ๑, รสตัณหา ๑,
โผฏฐัพพตัณหา ๑ และ ธัมมตัณหา ๑

ปวัตติอาการ คือ อาการที่เป็นไป ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ และ วิภวตัณหา ๑
อารมณ์ตัณหา ๖ คูณด้วยปวัตติอาการ ๓ เป็นตัณหา ๑๘

ตัณหา ๑๘ นี้ เกิดที่สัณฐานใน คือ เกิดภายใน ๑ และเกิดที่สัณฐานนอก คือ เกิดภายนอก ๑ รวมเป็น ๒
คูณกับตัณหา ๑๘ นั้น เป็นตัณหา ๓๖

ตัณหา ๓๖ นี้ เกิดได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ และ อนาคตกาล ๑ เอากาลทั้ง ๓ นี้
คูณตัณหา ๓๖ นั้นอีก จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปกิเลส ๑๖

เครื่องเศร้าหมอง อีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส มีจำนวน ๑๖ คือ
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรม โลภะ
๒. โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรม โทสะ
๓. โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรม โทสะ
๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรม โทสะ
๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรม ทิฏฐิ
๖. ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรม มานะ
๗. อิสสา ริษยา องค์ธรรม อิสสา
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรม มัจฉริยะ
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรม โลภะ
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรม มานะ
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรม มานะ
๑๒. สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรม มานะ
๑๓. มานะ ถือตัว องค์ธรรม มานะ
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรม มานะ
๑๕. มทะ มัวเมา องค์ธรรม โมหะ
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรม โมหะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. มิสสกสังคหะ

กุสลากุสลาพฺยากต มิสฺสกานํ เหตุฉกฺกาทีนํ สงฺคโหติ ฯ ธรรมคือเหตุ ๖ เป็นต้น
ที่สงเคราะห์ลงปะปนกันได้ทั้งในกุสล อกุสล อพยากตะนั้น เรียกว่า มิสสก สังคหะ
มีความหมายว่า ธรรมบางประการเช่นเหตุ ๖ เป็นต้น เป็นธรรมที่เจือปน ระคนกันกับ
กุสล อกุสล และอพยากตะก็ได้ ดังนั้นจึงได้รวบรวมธรรมเหล่านั้น อันมีเหตุ ๖ เป็นต้น
มาแสดงไว้โดยย่อในมิสสกสังคหะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มิสสกสังคหะ จำแนกเป็น ๗ กอง คือ

๑. เหตุ ๒. ฌานังคะ ๓. มัคคังคะ
๔. อินทรีย ๕. พละ ๖. อธิปติ
๗. อาหาร

มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า

๔. ฉ เหตู ปญฺจ ฌานงฺคา มคฺคงฺคา นว วตฺถุโต
โสฬสินฺทฺริยธมฺมา จ พลธมฺมา นเวริตา ฯ


แปลความว่า กล่าวโดยวัตถุธรรม (คือองค์ธรรม) เหตุมี ๖ องค์ฌานมี ๕ องค์ มัคคมี ๙
ธรรมคืออินทรียมี ๑๖ และธรรมคือพละมี ๙

มิสสกสังคหะกองที่ ๑ เหตุ ๖

ผลย่อมเกิดเพราะธรรมเหล่านี้ ดังนั้นธรรมเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า เหตุ ธรรมทั้ง หลายที่ได้รับอุปการะ
จากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ เหมือนต้นไม้ที่มีราก งอกงามแผ่ไปฉะนั้น
มีความหมายว่า ผลย่อมเกิดมาจากธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นแหละชื่อว่า เหตุ
กล่าวอีกนัยหนึ่งอย่างสั้น ๆ ก็ว่า เหตุคือสิ่งที่ทำให้เกิดผล

เหตุ มี ๖ ประการ คือ
โลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
โทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒
โมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๒
อโลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
อโทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต๔๗หรือ๗๙

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุของอกุสลจิตและอกุสล เจตสิก จึงได้ชื่อว่า อกุสลเหตุ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุของโสภณจิต และ โสภณเจตสิก
ถ้า อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทที่เป็นกุสล จิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓ นี้ว่า
เป็น กุสลเหตุ
เมื่อ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตที่เป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓
นี้ว่าเป็น อพยากตเหตุ เพราะวิบากจิตและกิริยาจิต รวมจิต ๒ ประเภทนี้มีชื่อรวมว่า อพยากตจิต
ดังนี้ จึงได้รวมเหตุ ๖ ไว้ในมิสสกสังคหะนี้
เหตุ ๖ ประการ นี้ได้กล่าวแล้วโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๓ ตอนที่ว่าด้วยเหตุ สังคหะ
ขอกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ
เมื่อกล่าวโดยบุคคลแล้ว อรหันตบุคคล ไม่มีอกุสลเหตุ ๓ และกุสลเหตุ ๓ เลยแม้แต่เหตุเดียว คงมีแต่
อพยากตเหตุ ๓ เหตุ เท่านั้น
อนาคามิบุคคล รูปบุคคล(เว้นอสัญญสัตต) และ อรูปบุคคล ไม่มีโทสเหตุเลย ส่วนอกุสลเหตุอีก ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ และกุสลเหตุทั้ง ๓ นั้น ยังคงมีอยู่ สำหรับอพยากตเหตุอีก ๓ ก็คงมีเฉพาะอพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตเท่านั้น อพยากตเหตุที่ประกอบกับกิริยาจิตนั้นไม่มี เพราะอนาคามิบุคคลและรูปบุคคล อรูป บุคคลที่เป็นปุถุชน มีกิริยาจิตเพียง ๒ ดวง ซึ่งก็เป็นอเหตุกกิริยาทั้งคู่
เฉพาะอสัญญสัตตบุคคล ไม่มีเหตุใด ๆ เลยแม้แต่สักเหตุเดียว
บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วนี้ อกุลเหตุ ๓, กุสลเหตุ ๓ นั้นสามารถมีได้ โดยครบถ้วน อพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตก็มีได้ แต่อพยากตเหตุที่ประกอบ กับกิริยาจิตก็ไม่มีเหมือนกัน
เมื่อกล่าวโดยภูมิแล้ว ในกามภูมินั้นมี อกุสลเหตุ กุสลเหตุ และอพยากตเหตุ ได้โดยครบถ้วน
ส่วนในรูปภูมิ(เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมินั้น โทสเหตุไม่มี เหตุอื่น นอกนั้นก็มีได้ทั้งนั้น
ในอสัญญสัตตภูมินั้น ไม่มีเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มิสสกสังคหะกองที่ ๒ ฌานังคะ ๗

ธรรมเหล่าใดย่อมเพ่งถึงอารมณ์(มีกสิณเป็นต้น) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ฌานหรือ
ธรรมเหล่าใด ย่อมเผาซึ่งธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึง ชื่อว่า ฌาน

อารมฺมณูปนิชฺฌานโต ปจฺจนิกฌาปนโต วา ฌานํ ฯ

ธรรมที่เพ่งอารมณ์ก็ดี หรือธรรมที่เผาปฏิปักษ์ก็ดี ธรรมนั้นเรียกว่า ฌาน
มีความหมายว่า ฌานคือการเพ่งอารมณ์ และพร้อมกันนั้นก็เผาธรรมอันเป็น ปฏิปักษ์ไปในตัวด้วย
ฌานเป็นได้ทั้งการเพ่งอารมณ์ที่เป็นกุสลและเพ่งอารมณ์ที่เป็นอกุสล กล่าวคือ ทางฝ่ายอกุสลก็มีใจจิตติดอยู่ในอารมณ์อันเป็นโทษเป็นทุกข์ เช่น คิดทำร้ายเขา ก็ ครุ่นคิดติดอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นโทสะปองร้ายเขาอยู่เรื่อยไป ทางฝ่ายกุสล ก็มีจิตใจ ใฝ่เพ่งในอารมณ์กัมมัฏฐาน มีกสิณเป็นต้น ให้แนบแน่นในอารมณ์นั้น โดยมุ่งหมาย ประหารนิวรณ์ธรรม เพื่อกุสลฌานจิตเกิด

ฌานังคะ คือ องค์ฌาน หมายถึงธรรมอันเป็นส่วนกำลังที่สำคัญยิ่งในการ อุดหนุนให้จิตและเจตสิก
ทั้งหลายซึ่งประกอบพร้อมกันนั้น เพ่งหรือติดอยู่ในอารมณ์ นั้นอย่างแน่วแน่และแนบแน่น

ฌานังคะ หรือ องค์ฌาน มี ๗ ประการ คือ

๑. วิตก องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๕๕
๒. วิจาร องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑
ทุติยฌาน ๑๑ รวม ๖๖
๓. ปีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ในกามโสมนัสจิต ๑๘ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ รวม ๕๑
๔. เอกัคคตา องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในจิต ๑๑๑ ดวง (เว้นทวิ ปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งไม่มี วิตกวิจาร ประกอบในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้นเลย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. โสมนัส องค์ธรรมได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโสมนัสสหคตจิต ๖๒
๖. โทมนัส องค์ธรรมได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๗. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ อุเบกขาเวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๔๗ (เว้นทวิปัญจวิญญาณที่เป็นอุเบกขา ๘)
ฌานังคะมี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๕ เท่านั้นคือ วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา และ เวทนา เพราะโสมนัส โทมนัส อุเบกขา นี้เป็นเวทนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ในฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เฉพาะโทมนัสเวทนา เป็นได้แต่อกุสลอย่างเดียว ส่วน อีก ๖ นั้นเป็นได้ทั้ง กุสล อกุสล และอพยากตะ ด้วยเหตุนี้จึงรวมฌานังคะ ๗ ซึ่งมีองค์ธรรม ๕ นี้ไว้ในมิสสกสังคหะ
ฌานนั้นผ่องใสไพโรจน์ ดุจพระอาทิตย์ส่องมืดให้สว่างทั่วโลก เผากิเลสให้ แห้งได้ โทมนัสก็เป็นเครื่องเผา และเป็นฝ่ายอกุสล ถ้ามีโทมนัสอยู่ในใจแล้ว ก็เผา หทัยวัตถุให้แห้งได้เหมือนกัน จึงยกมากล่าวไว้ในฌานังคะนี้ด้วย อีกประการหนึ่ง ประสงค์เอาโทมนัส อันบังเกิดแก่โยคีบุคคลผู้เสื่อมจากฌาน ย่อมมีความโทมนัส เสียใจ
ฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เกิดร่วมกันได้เป็นอย่างมากก็เพียง ๕ เท่านั้น เพราะ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ทั้ง ๓ นี้เป็นเวทนาเจตสิกด้วยกัน จึงเกิดร่วมกันไม่ได้ ดังนั้น ปฐมฌานซึ่งเป็นฌานที่มีองค์ฌานประกอบมากที่สุด ก็มีประกอบเพียง ๕ องค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เท่านั้น
สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง สุขใจ คือ โสมนัสเวทนา เพราะการเจริญ สมถภาวนานั้น เจริญได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว ไม่ใช่ทางกาย
อนึ่ง องค์ฌานทั้ง ๕ นั้น วิตกเจตสิก องค์เดียวเป็นปัจจัยอันสำคัญขององค์ ฌานทั้งหลาย เจตสิกอีก ๔ จะมีกำลังจัดเป็นองค์ฌานได้นั้น ก็เพราะได้อาศัยมา จากวิตก อันเป็นปัจจัยพิเศษเป็นมูลเดิมมาก่อนแล้วแต่ตอนต้น ถ้าจิตใดไม่ได้ปัจจัย ไปจากวิตก หรือจิตที่ไม่สามารถจะมีวิตกประกอบได้แล้วไซร้ จิตนั้นก็ไม่นับว่า ประกอบด้วยองค์ฌาน ถึงแม้ว่าเจตสิกอื่นที่เป็นองค์ฌานได้ จะประกอบอยู่ในจิตนั้น ด้วยก็ตาม เจตสิกเหล่านั้นก็ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เจตสิกที่นับว่าเป็นองค์ฌานได้นั้น ต้องเป็นเจตสิกที่ประกอบในจิต ๗๙ ดวง หรือ ๑๑๑ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เพราะทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นี้ ไม่ ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ดังมีข้อสังเกตดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ย่อมไม่ได้ฌานังคะ ๗ ในอเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธินทรีย และสมาธิพละ เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสหคตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ สมาธินทรีย และสมาธิพละ
ดังนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีวิตกเจตสิก (อันเป็นปัจจัยที่ สำคัญยิ่งขององค์ฌานทั้งหลาย) ประกอบอยู่ด้วย จึงไม่นับว่าจิตนั้นประกอบด้วย องค์ฌาน

มิสสกสังคหะกองที่ ๓ มัคคังคะ ๑๒

ธรรมที่เป็น เหตุให้ถึง สุคติภูมิก็ดี ทุคคติภูมิก็ดี นิพพานก็ดี และเป็น หนทางที่ให้ถึง สุคติ ทุคคติ และ นิพพาน นั้นชื่อว่า องค์มัคค หรือ ธรรมที่เป็น ส่วนหนึ่ง ๆ ของมัคค เรียกว่า องค์มัคค
มัคค แปลว่า ทาง มีความหมายว่า เป็นเครื่องที่จะนำไปสู่หนทางอันเป็นกุสล และอกุสล อันเป็นทางให้ถึงทุคคติภูมิ สุคคติภูมิ และนิพพาน นั้น ๆ ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคังคะ แปลว่า องค์แห่งมัคค มี ๑๒ ประการ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่ง สภาวธรรมตามความเป็นจริง มีอริยสัจจธรรมเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ๓ ประการ ได้แก่
ก. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากกิเลสและขันธ์ เป็นความคิดที่จะ ออกจากความระคนด้วยหมู่คณะ เพื่อออกบรรพชาไปเจริญสมถะและวิปัสสนา ปรารถนาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ข. อพยาปาทสังกัปปะ ดำริที่จะละความโกรธ ความพยาบาท ปองร้าย มีการล้างผลาญ ทำให้ชีวิตสัตว์ตกไป เพื่อให้เกิดความเมตตาปรานี
ค. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากวิหิงสา ความเบียดเบียนสัตว์ ให้เดือดร้อน เพื่อให้เกิดความไม่
เบียดเบียน มีความกรุณาอารี ความดำริอยู่ในอารมณ์ ๓ ประการนี้ เป็นความดำริชอบ เรียกว่า สัมมา สังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่วิตกเจตสิก ที่ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๓๕
๓. สัมมาวาจา คือ การกล่าววาจาชอบ ไม่กล่าววาจาอันเป็นวจีทุจริตทั้ง ๔ มีการพูดปดหลอกหลวง,
ส่อเสียดยุยง, หยาบคาย, เพ้อเจ้อไร้สาระ, การเว้นจาก วจีทุจจริตเหล่านี้เรียกว่า สัมมาวาจา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ในมหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวม ๑๖ หรือ ๔๘
๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ เป็นการงานทางกายที่ไม่เนื่องด้วย การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงประเวณี การเว้นจากกายทุจจริตเหล่านี้ เรียกว่าสัมมา กัมมันตะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตะเจตสิก ที่ในมหากุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ไม่เนื่องด้วย วจีทุจจริต ๔ และไม่เนื่องด้วย
กายทุจจริต ๓ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปด้วยทุจจริต ธรรมทั้ง ๗ นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ในมหา กุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ให้ตั้งหน้าพยายามในความพากเพียร ชอบ ๔ ประการ ได้แก่
ก. เพียรที่จะละบาปอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป
ข. เพียรที่จะไม่ก่อบาปอกุสลที่ยังไม่เกิด โดยไม่ทำให้เกิดขึ้น
ค. เพียรที่จะก่อบุญกุสลที่ยังไม่เกิด โดยทำให้เกิดขึ้น
ง. เพียรที่จะเจริญบุญกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ความพากเพียร ๔ ประการนี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙
หรือ ๙๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ เป็นการระลึกอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล มีอนุสติ ๑๐ หรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นโดยชอบ เป็นความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ ของสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล เช่นนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
ใน สัมมามัคค ทั้ง ๘ องค์นี้ เป็นตัวเหตุแห่งสุคติและพระนิพพาน อันเป็น ทางที่จะนำไปสู่สุคติ และเป็นทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วย จึงเรียกสัมมา มัคค ๘ องค์นี้ ว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘
ส่วนองค์มัคคที่ยังเหลืออีก ๔ นั้น เป็นตัวเหตุแห่งทุคคติ อันเป็นทางที่จะ นำไปสู่ทุคคติภูมิ จึงเรียกว่า
มิจฉามัคค ได้แก่
๙. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ผิดไปจากเหตุผลแห่งสภาว ธรรมตามความเป็นจริง
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๑๐. มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริผิด เป็นการนึกการคิดที่ผิดทำนองคลอง ธรรม องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๑. มิจฉาวายามะ คือ ความเพียรผิด เป็นการบากบั่นมั่นมุ่งในสิ่งที่ผิด อัน เป็นโทษเป็นทุกข์ องค์ธรรมได้แก่วิริยเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๒. มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ผิด เป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ใน อารมณ์อันเศร้าหมองเร่าร้อนกระวนกระวาย องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต) ๑)
รวมมัคคังคะมี ๑๒ ประการ แต่มีองค์ธรรมเพียง ๙ เท่านั้น คือ ปัญญาเจตสิก วิตกเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในองค์ธรรมทั้ง ๙ นี้ มี ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และ สติ รวม ๕ องค์นี้ เป็นกุสลฝ่ายเดียว
เฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นอกุสลฝ่ายเดียว
ส่วนวิตก วิริยะ และเอกัคคตา รวม ๓ องค์นี้ เป็นได้ทั้งฝ่ายกุสล และอกุสล
ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตรนั้น แสดงว่ามัคคมี ๑๖ องค์ คือ สัมมามัคคมี ๘ และมิจฉามัคคมี ๘ เท่ากัน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทาง ที่ตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายชอบ และฝ่ายชั่ว อันเป็นคู่ปฏิปักษ์กันดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ประหาร มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นชั่ว เสียได้
๒. สัมมาสังกัปปะ เมื่อมีความคิดชอบ ก็ประหาร มิจฉาสังกัปปะ ความคิด ชั่วเสียได้
๓. สัมมาวาจา เมื่อกล่าววาจาชอบ ก็ประหาร มิจฉาวาจา การพูดชั่วเสียได้
๔. สัมมากัมมันตะ เมื่อกระทำการงานชอบ ก็ประหาร มิจฉากัมมันตะ การทำชั่วเสียได้
๕. สัมมาอาชีวะ เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ประหาร มิจฉาอาชีวะ ความเป็น อยู่ชั่วเสียได้
๖. สัมมาวายามะ เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ประหาร มิจฉาวายามะ ความ เพียรในทางชั่วเสียได้
๗. สัมมาสติ เมื่อมีความระลึกแต่ในทางชอบ ก็ประหาร มิจฉาสติ ความ ระลึกชั่วเสียได้
๘. สัมมาสมาธิ เมื่อมีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ก็ประหาร มิจฉาสมาธิ ความ ตั้งใจมั่นในทางชั่วเสียได้

รวมความว่า มิจฉามัคคที่เพิ่มมากกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรมอีก ๔ นั้น คือ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ และมิจฉาสติ แต่ว่าเมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม แล้ว มิจฉามัคค ทั้ง ๔ นี้ ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ ๆ เป็นการแสดงตามนัยแห่ง จิตตุปปาทะคือตามแนวแห่งจิตที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวด้วยวจีทุจจริต กายทุจจริต การเลี้ยงชีพที่ทุจจริต และ การระลึกนึกถึงสิ่งที่ชั่วต่างๆ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร