วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 64.5 KiB | เปิดดู 12700 ครั้ง ]
คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖
รูปสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส

ความเบื้องต้น


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค เป็น ปริจเฉทที่แสดงธรรม ๒ ประการ คือ
รูปปรมัตถ และ นิพพาน

ก่อนที่จะดำเนินความตามปริจเฉทที่ ๖ นี้ ขอถือโอกาสกล่าวถึงธธรรมและสภาพของธรรมก่อน
ธรรมและสภาพของ ธรรมนี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วเป็นหลายแห่งหลายตอนในปริจเฉทต้นๆ
แต่ว่ากระจัดกระจายอยู่ใรที่หลายแห่งจึงขอรวมมากล่าวใน ที่นี้อีกโดยสังเขป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมไว้ว่า ธรรมทั้งหลายย่อม
จำแนกได้เป็น ๒ ประการ คือ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม

๑. บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมุติขึ้นไม่ได้มีอยู่จริง ๆ เป็นการ สมมุติขึ้นเพื่อเรียกขานกันตามโวหารของชาวโลก ตามความนิยมตามความตกลงเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าเฉพาะประเทศชาตินั้นๆ เป็นสมมติสัจจะก็จริง แต่เป็นเพียงความจริงโดยสมมติของชาวโลกที่บัญญัติขึ้นเท่านั้นเอง เพื่อให้รู้ได้ว่าเรียกสิ่งใด เช่น คำว่า "คน" ผู้เรียกจะชี้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่า "คน" ไม่ได้ไม่มี หรือ คำว่า "เก้าอี้" ผู้เรียก จะชี้ส่วนหนึ่งส่วนใดว่าเป็นเก้าอี้ไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกโดยสมมุติขึ้นเท่านั้น

บัญญัติธรรมนี้มี ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ

ก. อัตถบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นตามความหมายแห่งรูปร่างสัณฐาน หรือ ลักษณะอาการของสิ่งนั้น ๆ
เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้าน เรือน เดิน วิ่ง การโบกมือ หมายถึงการจากลา หรือหมายถึงการปฏิเสธก็ได้
การพยักหน้า หมายถึงการยอมรับ หรือการให้เข้ามาหาก็ได้

ข. สัททบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียกขานสิ่งนั้น ๆ คือ สมมุติขึ้น เพื่อให้รู้ด้วยเสียงตามอัตถบัญญัตินั้น เช่น ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นการเดิน แต่เมื่อ ออกเสียงว่า ภูเขา พูดว่าเดิน ก็รู้ว่าภูเขามีรูปร่างสัณฐานอย่างนั้น เดินมีลักษณะ อาการอย่างนั้น เป็นต้น
เพราะฉะนั้นทั้งอัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ ก็คือระบบการสื่อสารให้เกิด ความรู้ เกิดความเข้าใจกันของมนุษย์นั่นเอง ไม่ได้มีอยู่จริง ๆ
ตัวอย่างร่างกายของเรา ที่เรียกว่า แขน ขา จมูก ปาก ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ คนไทยก็เรียกอย่างหนึ่ง คนจีนก็เรียกไปอย่างหนึ่ง คนแขกก็เรียกไป อย่างหนึ่ง ฝรั่งก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะสมมุติเรียกว่า อะไร บัญญัติจึงหมายถึงการสมมุติขึ้นของคนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกขานกัน ไม่ได้มีอยู่ จริง ๆ ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นความจริงโดยสมมุติ

๒. ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเป็น ธัมมธาตุ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม
เป็น ธัมมฐีติ เครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็น ธัมมนิยาม กำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง
ตามธรรมดาธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น มีโดยเหตุโดยปัจจัย
ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ ปรมัตถธรรมจึงหมายถึง ธรรมชาติที่มีอยู่จริง ๆ ไม่วิปริตผันแปร
เป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง คือ

(๑) จิตปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
(๒) เจตสิกปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ให้เกิดการรู้ อารมณ์และรู้สึกเป็นไปตามตนเองที่ประกอบ
(๓) รูปปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับด้วยความเย็นความร้อน
(๔) นิพพานปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์

ทั้ง ๔ นี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ พิสูจน์ได้ รู้ได้ ด้วยปัญญา เป็นอารมณ์ของปัญญา จากการเรียนการศึกษา จากการพิจารณาหาเหตุ ผล และจากการปฏิบัติ คือภาวนามัย

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรนั้นมีสภาวะ หรือมี ลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ สามัญญลักษณะ ๑ และวิเสสลักษณะ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย
ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น
สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑

อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่

เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า ไตรลักษณ์
จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพาน
มีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น

ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่
เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น
ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ
เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย
วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐาน

ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ
รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน
รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส
กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก
สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง

ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ

ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ
เรียกว่า เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้
จึงได้ชื่อว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่าธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น

จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ
แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น
ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิดเพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง

ส่วนบัญญัติธรรมนั้น ไม่มีวิเสสลักษณะเลย เพราะบัญญัติไม่มีสภาวธรรมที่มี เองเป็นเอง
เป็นการบัญญัติขึ้นตามความนิยมของชาวโลกเท่านั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 25.63 KiB | เปิดดู 12910 ครั้ง ]
รูปปรมัตถ

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะ
รวม ๑๔ คาถา คาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า

๑. เอตฺตาวตา วิภตฺตา หิ สปฺปเภทปฺปวตฺติกา
จิตฺต เจตสิกา ธมฺมา รูปนฺทานิ ปวุจฺจติ ฯ


แปลเป็นใจความว่า ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก เป็นไปโดยประเภทและปวัตติกาล
ได้จำแนกแล้วโดยปริจเฉททั้ง ๕ มีประมาณเพียงเท่านั้น บัดนี้จะแสดงถึงรูปต่อไป

อธิบาย

ปรมัตถธรรม ๔ ประการนั้น จิตและเจตสิก ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึงปริจเฉทที่ ๕
ส่วนปริจเฉทที่ ๖ นี้จะได้ กล่าวถึง รูป และ นิพพาน ต่อไป

คำว่า " รูป " นี้ ใน ปรมัตถทีปนีฎีกา กล่าวอธิบายไว้ว่า รุปฺปนตีติ รูปํ แปลว่า ธรรมชาติที่แตกดับ
หรือผันแปรนั้น เรียกว่า รูป วิภาวินีฎีกา ได้ไขคำ รุปฺปน ว่า รุปฺปนญฺเจตฺถ สีตาทิ
วิโรธิปจฺจยสมวาเย วิสทิสุปฺปติ เยว ลำดับรูปที่เกิดก่อนและเกิด ทีหลังขณะที่มีปัจจัยอันเป็นข้าศึก
คือ ความเย็นเป็นต้น ยังให้แตกดับนั้น ลำดับรูปนั้นชื่อว่า รุปปนะเข้าใจง่าย ๆ ก่อนว่า สิ่งใดก็ตามถ้าแตกดับย่อยยับ ผันแปรไปด้วยอำนาจ ของความเย็น ความร้อน

ก็รวมเรียกว่า รูป จัดเป็นรูปทั้งหมด รวมมีความหมายว่า รูป คือ ธรรมชาติที่ผันแปรแตกดับไปด้วย
ความเย็น และความร้อน รูปในส่วนของปรมัตถที่มีชีวิต จิตใจครองที่จะรู้ว่าเป็นรูปได้นั้น
อาศัยรู้ได้โดย วิเสสลักษณะ คือลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ

รุปฺปน ลกฺขณํ มีการสลายแปรปรวน เป็นลักษณะ
วิกิรณ รสํ มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ
อพฺยากต ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏวิญฺญาณ
ปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

ลักขณาทิจตุกะของรูปที่กล่าวนี้ กล่าวตามนัยแห่งปฏิจจสมุทปาทอันเป็นลักขณาทิจตุกะ
ของรูปที่เกิดจากกรรม จึงมี วิญญาณ ( ปฏิสนธิวิญญาณ ) เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปมี ๒ อย่าง คือ

๑. รูปบัญญัติ คือ สิ่งที่เรามองเห็นกัน เรียกกันไปต่าง ๆ นา ๆ ทั้งที่ไม่มี ชีวิตจิตใจครอง
และ มีชีวิตจิตใจครอง เช่น คนผู้หญิง คนผู้ชาย ก็มีชื่อต่างกัน ออกไป สัตว์ต่าง ๆ
ตัวผู้ ตัวเมีย ก็มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ กันไป ต้นไม้แต่ละชนิด ทั้งที่ยืนต้นและล้มลุก
ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป รวมถึงพื้นดิน ภูเขา ห้วยน้ำลำคลอง เป็นต้น เหล่านี้เป็นรูปโดยบัญญัติ

๒. รูปปรมัตถ คือ รูปที่มีอยู่จริงๆ โดยสภาวะ โดยธรรมชาติ ผู้ที่ได้ศึกษา
ได้เรียนรู้ ได้กระทบ ได้สัมผัสจะมีความรู้สึกเหมือนกันหมดเพื่อความเข้าใจง่าย
และให้เห็นชัด ระหว่างรูปปรมัตถกับรูปบัญญัติ ขอยก ตัวอย่าง ดังนี้

ถ้าเอาถ่านไฟในเตาซึ่งติดไฟแล้วมาจี้ที่แขนของคน ๕ คน แต่ละคนจะรู้สึก ร้อนเหมือน ๆ กัน
ถ้าเป็นคนไทยก็จะพูดว่าร้อน คนจีน คนพม่า คนอินเดีย คน ยุโรป ก็จะเปล่งภาษาออกมาไม่เหมือนกัน
แต่มีความหมายเหมือนกันว่าร้อน ทุกคน มีความรู้สึกว่าร้อน นั่นคือ " จริงที่มีอยู่จริง " ส่วนคำอุทาน
แต่ละภาษาที่เปล่งออกมานั้นไม่เหมือนกันนั้นเป็น " บัญญัติ "จริงที่มีอยู่จริง คือ ปรมัตถธรรม
และไฟที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นหนึ่งในรูป ปรมัตถ คือ เตโชธาตุ นั่นเอง
V
V
มาศึกษาปริเฉทที่ ๖ ทาง VDO ได้นะครับ
http://www.youtube.com/playlist?list=PL ... tzvwcjfXDm

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สงเคราะห์รูปเป็น ๕ นัย

บรรดารูปทั้งหลายนั้น สงเคราะห์ได้ ๕ นัย หรือจัดได้เป็น ๕ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า

๒. สมุทฺเทสา วิภาคา จ สมุฏฐานา กลาปโต
ปวตฺติกฺกมโต เจติ ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า อันว่ารูปนั้น สงเคราะห์โดยนัย ๕ คือ สมุทเทส , วิภาค , สมุฏฐาน , กลาป และปวัตติกกมะ
หมายความว่า รูปทั้งหมด เมื่อกล่าวโดยหัวข้อแล้วสงเคราะห์ ( แบ่ง ) ได้เป็น ๕ นัย คือ

นัยที่ ๑ รูปสมุทเทส เป็นการกล่าวถึงรูปโดยสังเขปหรือโดยย่อ พอให้ทราบถึงลักษณะของรูป
แต่ละรูป ตามนัยแห่งปรมัตถธรรม
นัยที่ ๒ รูปวิภาค เป็นการแสดงรูปธรรมว่าจำแนกได้เป็นส่วนๆ เป็นคู่ ๆ
นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐาน เป็นการแสดงถึงสมุฏฐานของรูปปรมัตถแต่ละรูปว่า เกิดจากอะไร
นัยที่ ๔ รูปกลาป เป็นการแสดงถึงรูปปรมัตถที่เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ เป็นมัด
นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ เป็นการแสดงลำดับการเกิดดับ หรือแสดงความ เป็นไปของรูปปรมัตถ ตั้งแต่
เกิดจนตาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 25.52 KiB | เปิดดู 10865 ครั้ง ]
นัยที่ ๑ รูปสมุทเทส

การแสดงรูปธรรมโดยสังเขปหรือโดยย่อ เพื่อให้รู้วิเสสลักษณะของรูปแต่ละรูปนั้น
คาถาสังคหะที่ ๓ และที่ ๔ แสดงว่า

๓. ภูตปฺปสาท วิสยา ภาโว หทย มิจฺจปิ
ชืวิตาหารรูเป หิ อฏฺฐารสวิธํ ตถา ฯ


แปลความว่า มหาภูตรูป ปสาทรูป วิสยรูป ภาวรูป หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป
รวมเป็น ๑๘ รูป เป็นนิปผันนรูป

๔. ปริจฺเฉโท จ วิญฺญตฺติ วิกาโร ลกฺขณนฺติ จ
อนิปฺผนฺนา ทสา เจติ อฏฺฐวีส วิธมฺภเว ฯ


แปลความว่า ปริจเฉทรูป วิญญัตติรูป วิการรูป ลักขณรูป เป็นอนิปผันนรูป ๑๐
จึงรวมเป็น ๒๘ รูปด้วยกัน

รูป คือ ส่วนประกอบของร่างกายคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. นิปผันนรูป มี ๑๘
๒. อนิปผันนรูป มี ๑๐
รวมเป็น ๒๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




--_1_~3.JPG
--_1_~3.JPG [ 77.18 KiB | เปิดดู 12910 ครั้ง ]
อธิบาย

คาถาทั้ง ๒ รวมความได้ว่า รูปทั้ง ๒๘ แบ่งเป็น ๑๑ ประเภทเล็ก
เป็นนิปผันนรูป ๗ ประเภท อนิปผันนรูป ๔ ประเภท

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป มี ๔ รูป คือ
๑. ปฐวีธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุลม

ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป มี ๕ รูป คือ
๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย ๑-๗ เป็น

ประเภทที่ ๓ วิสยรูป หรือโคจรรูป มี ๔ รูป คือ นิปผันนรูป
๑. วัณณะรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)
๒. สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)
๓. คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)
๔. รสะรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป มี ๒ รูป คือ
๑. อิตถีภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นหญิง
๒. ปุริสภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นชาย

ประเภทที่ ๕ หทยรูป มี ๑ รูป คือ
หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้ง อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก

ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป มี ๑ รูป คือ
ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม

ประเภทที่ ๗ อาหารรูป มี ๑ รูป คือ
อาหารรูป คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร

รูปธรรมตั้งแต่ประเภทที่ ๑ ถึง ๗ รวม ๗ ประเภทเล็กนี้
ซึ่งมีรูปธรรม รวม ๑๘ รูป เรียกว่า นิปผันนรูป

ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป มี ๑ รูป คือ
ปริจเฉทรูป ได้แก่ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ
๑. กายวิญญัตติรูป ได้แก่ การไหวกาย
๒. วจีวิญญัตติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา

ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป มี ๓ รูป คือ
๑. ลหุตารูป ได้แก่ รูปเบา
๒. มุทุตารูป ได้แก่ รูปอ่อน
๓. กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปควร

ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป มี ๔ รูป คือ
๑. อุปจยรูป ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นขณะแรก
๒. สันตติรูป ได้แก่ รูปที่เกิดสืบต่อเนื่อง
๓. ชรตารูป ได้แก่ รูปใกล้ดับ
๔. อนิจจตารูป ได้แก่ รูปที่แตกดับ

รูปธรรมตั้งแต่ประเภทที่ ๘ ถึง ๑๑ รวม ๔ ประเภทเล็กนี้
ซึ่งมีรูปธรรม รวม ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปปผันนรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




--_1_~3.JPG
--_1_~3.JPG [ 77.18 KiB | เปิดดู 12907 ครั้ง ]
นอกจากนี้ ยังแบ่งรูปเป็นประเภทใหญ่อีกนัยหนึ่ง คือ รูปประเภทที่ ๑ ประเภทเดียว
ซึ่งมีมหาภูตรูป ๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป (ตรงตามชื่อเดิม) ส่วนที่เหลืออีก ๑๐ ประเภท คือ
ตั้งแต่ประเภทที่ ๒ ถึง ๑๑ รวมจำนวน ๒๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็น อุปาทายรูป (ดูภาพด้านขวามือ)

๑. มหาภูตรูป ๔ ได้แก่
ดิน น้ำ ไฟ ลม

๒. อุปทายรูป ๒๔ "ด้แก่
ปสาทรูป มี ๕ รูป, โคจรรูป มี ๔ รูป, ภาวรูป มี ๒ รูป, หทยรูป มี ๑ รูป
ชีวิตรูป มี ๑ รูป, อาหารรูป มี ๑ รูป, ปริจเฉทรูป มี ๑ รูป, วิญญัตติรูป มี ๒ รูป
วิการรูป มี ๓ รูป, ลักขณรูป มี ๔ รูป

รูป คือ ส่วนประกอบของร่างกายคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. นิปผันนรูป มี ๑๘

๒. อนิปผันนรูป มี ๑๐


รวมเป็น ๒๘ (ดูภาพด้าน ซ้ายมือ)

ก. ที่ได้ชื่อว่า มหาภูตรูป เพราะรูปธรรมทั้ง ๔ รูปนี้ เป็นรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน
เป็นที่อาศัยแก่รูปอื่น ๆ ทั้งหลาย รูปอื่น ๆ ทั้งหมดถ้าไม่มีมหาภูตรูป รองรับก็เกิดขึ้นไม่ได้
มหาภูตรูปมีอยู่ทั่วไปในโลกธาตุทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในวิสุทธิมัคคแสดงว่า ที่ได้ชื่อว่ามหาภูตรูป เพราะ

๑. มหนฺตปาตุภาวโส เป็นธาตุที่ปรากฏอยู่ เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นที่อาศัยแห่งรูปทั้งหลาย
๒. มหาภูตสามญฺญโต มีลักษณะที่หลอกลวง เกิดดับดุจปีศาจ
๓. มหาปริหารโต เป็นสิ่งที่ต้องบริหารมากเลี้ยงดูมาก เพราะย่อยยับ อยู่เสมอ
๔. มหาวิการโต มีอาการเปลี่ยนแปลงมาก เคลื่อนไหวมาก
๕. มหตฺต ภูตตฺตา เป็นของใหญ่และมีจริง ต้องพิจารณามาก

ข. ที่ได้ชื่อว่า อุปาทายรูป เพราะเป็นรูปธรรมที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นแดน เกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูป
แล้ว อุปทายรูปก็ไม่สามารถที่จะเกิดตามลำพังได้ เมื่อไม่มีที่ อาศัยเกิด ก็เกิดไม่ได้

ค. นิปผันนรูป ๑๘ รูป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ๕ ชื่อ คือ๑. นิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง
๒. สภาวรูป คือ รูปที่มีสภาพของตน ปรากฏได้แน่นอน
๓. สลักขณรูป คือ รูปที่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. รูปรูป คือ เป็นรูปที่ผันแปรแตกดับด้วยความร้อนและความเย็น
๕. สัมมสนรูป คือ เป็นรูปที่ควรแก่การพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะ เห็นได้ง่าย

ง. อนิปผันนรูป ๑๐ รูป มีชื่อเรียก ๕ ชื่อ คือ๑. อนิปผันนรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันน รูป จึงจะมีรูปของตนเกิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิป ผันนรูปก็จะมีขึ้นมาไม่ได้
๒. อสภาวรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาพของตนโดยเฉพาะ
๓. อสลักขณรูป คือ รูปที่ไม่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. อรูปรูป คือรูปที่ไม่ได้แตกดับเพราะความร้อนและความเย็น
๕. อสัมมสนรูป เป็นรูปที่ไม่ควรใช้ในการพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะเห็นได้ยาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักขณาทิจตุกะของรูปแต่ละรูป

รูปธรรม ๑๑ ประเภทเล็ก รวมจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปนั้น แต่ละรูปมี วิเสสลักษณะ คือ
ลักขณาทิจตุกะ ดังต่อไปนี้

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป

มหาภูตรูปมี ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย เฉพาะมหาภูตรูป ๔ นี้ นิยม
เรียกกันว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

๑. ปฐวี

คำว่า " ปฐวีธาตุ "หรือ " ปถวีรูป "เป็นรูปปรมัตถที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กกฺขฬ ลกฺขณา มีความแข็ง เป็นลักษณะ
ปติฏฺฐาน รสา มีการทรงอยู่ เป็นกิจ
สมฺปฏิจฺฉน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับไว้ เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ใน วิสุทธิมัคค แสดงว่า โย อิมสฺมึ กาเย ถทฺธภาโว วา ขรภาโว วา อยํ ปฐวี ธาตุ ธรรมชาติที่ทรง
ภาวะความแข็งก็ดี ความกระด้างก็ดี ที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า ปฐวีธาตุ

ที่ว่า ปฐวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะนั้น เพราะว่าถ้านำไปเปรียบกับธาตุ อื่นแล้ว ธาตุดินนี้มีสภาพแข็งกว่าธาตุอื่น ในลักขณาทิจตุกะ จึงแสดงว่า ปฐวีมี ความแข็งเป็นลักษณะเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงความอ่อนด้วย
แท้จริงความอ่อนก็คือ ความแข็งมีน้อยนั่นเอง นอกจากปฐวีธาตุแล้วรูปอื่น ๆ ไม่สามารถทำให้ความแข็งหรือความอ่อนปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสถูกต้องได้ วัตถุใดมีปฐวีมากก็แข็งมาก วัตถุ ใดมีปฐวีธาตุน้อยก็แข็งน้อย จึงรู้สึกว่าอ่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐวีธาตุ ธาตุดิน แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณปฐวี หรือ ปรมตฺถปฐวี คือ ปฐวีธาตุที่เป็นปรมัตถ มีคำอธิบายว่า ปฐวีธาตุเป็นธาตุปรมัตถ
ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแข็งหรืออ่อน เรียกว่าธาตุดิน และ ธาตุดินในที่นี้หมายถึง ธาตุดินที่เป็นปรมัตถ
คือมีลักษณะแข็งหรืออ่อน ไม่ใช่ดิน ที่เรามองเห็นอยู่นี้ ดินที่เรามองเห็นกันอยู่นี้เป็นดินโดยสมมติไม่ใช่ดินโดยปรมัตถ ดินโดยปรมัตถที่เรียกกันว่าปฐวีธาตุนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกาย ปสาท เมื่อมีการกระทบเกิดขึ้น ความแข็งหรืออ่อนนั่นแหละ เรียกว่า ปฐวีธาตุ เราได้กระทบกับปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ นี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นนั้นเป็นการเห็นธาตุ ต่าง ๆ รวมกันเป็นปรมาณู
และหลาย ๆ ปรมาณูรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นชิ้น และปรมาณูที่รวมกันนั้น ๆ ก็ทึบแสง คือ แสงผ่านทะลุไป ไม่ได้จึงปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เรียกสีต่าง ๆ ที่เห็นนั้นว่า " รูปารมณ์ " ถ้าปรมาณู
ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น ๆ แสงผ่านทะลุได้ ก็จะไม่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะฉะนั้นปฐวีธาตุหรือปฐวีรูป จึงมองไม่เห็นแต่กระทบได้ และปฐวีธาตุ หรือปฐวีรูปนี้ รู้ได้ด้วยกายปสาทเท่านั้น รู้ด้วยปสาทอื่น ๆ ไม่ได้ การที่เรามองเห็น สิ่งต่าง ๆ แล้วรู้ว่า สิ่งนั้นอ่อน สิ่งนั้นแข็ง เป็นการรู้โดยการคิดนึก ไม่ใช่โดยความ รู้สึก การรู้โดยการคิดนึกนั้น เป็นการรู้โดยอาศัยอดีตเคยกระทำมาแล้ว เคยรู้มาแล้วว่าแข็งหรืออ่อน เท่ากับเอาความจำในอดีตมาตัดสินการเห็นในปัจจุบัน ที่จริง แล้วความแข็ง หรืออ่อนรู้ไม่ได้ด้วยการดู แต่รู้ได้ด้วยการสัมผัสทางกาย เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ปฐวีธาตุนี้จึงมีลักษณะแข็ง ถ้าวัตถุสิ่งใดมีปฐวีธาตุมากเป็นประธาน แล้ว ก็จะปรากฏเป็นแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ไม้ ตะกั่ว ทอง เป็นต้น และถ้าวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปฐวีธาตุเป็นส่วนน้อย ความแข็งก็จะปรากฏน้อย เมื่อสัมผัสก็จะรู้สึก ว่าอ่อน เพราะความแข็งปรากฏน้อยจึงรู้สึกว่าอ่อน ฉะนั้นธรรมชาติที่กระทบด้วยกายปสาทแล้ว มีความรู้สึกว่า แข็งหรืออ่อน จัดเป็นปฐวีธาตุทั้งสิ้นเพราะนอกจากปฐวีธาตุแล้ว รูปอื่น ๆ ก็ไม่สามารถทำให้เกิด ความรู้สึกแข็งหรืออ่อนได้

อนึ่งปฐวีธาตุนี้ เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปอื่น ๆ เหมือนแผ่นดินกับสิ่งอื่น ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ถ้าไม่มีแผ่นดินเสียแล้ว สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ปฐวีธาตุก็เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่มีปฐวีธาตุเสียแล้ว รูปร่างสัณฐาน สีสรรวรรณะ เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้

ปฐวีธาตุ อาศัยธาตุที่เหลืออีก ๓ เป็นปัจจัย คือ
๑. มีอาโปธาตุเกาะกุม
๒. มีเตโชธาตุตามรักษา
๓. มีวาโยธาตุกระพือพัด

ข. สสฺมภารปฐวี คือ สัมภาระของดิน หรือสุตฺตันตปฐวี หรือสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่รวมเรียกว่าดิน กล่าวตามนัยแห่งพระสูตรแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) อชฺฌตฺติกปฐวี ธาตุดินภายใน หมายถึงธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบ ของร่างกายของเรา
และสัตว์ทั้งหลาย โดยเอาอาการ ๓๒ มาสงเคราะห์เป็นธาตุดิน ๒๐ ได้แก่

๑. ตจปญฺจก
เกสา - ผม
โลมา - ขน
นขา - เล็บ
ทนฺตา - ฟัน
ตโจ- หนัง

๒. วกฺกปญฺจก
มํสํ - เนื้อ
นหารู - เอ็น
อฏฺฐิ - กระดูก
อฏฺฐิมิญฺชํ - เยื่อในกระดูก
วกฺกํ - ม้าม

๓. ปปฺผาสปญฺจก
หทยํ - หัวใจ
ยกนํ - ตับ
กิโลมกํ -พังผืด
ปิหกํ- ไต
ปปฺผาสํ - ปอด

๔. มตฺถลุ ํปญฺจก
อนฺตํ - ไส้ใหญ่
อนฺตคุณํ - ไส้น้อย
อุทฺริยํ-อาหารใหม่
กรีสํ - อาหารเก่า
มตฺถลุงคํ-มันสมอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) พาหิรปฐวีธาตุ ดินภายนอก หมายถึง ธาตุดิน
อันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ มี
อยู่มากมายเหลือที่จะคณานับได้ ยกตัวอย่าง เช่น ก้อนดิน พื้นดิน แผ่นดิน ก้อนหิน
กรวด ทราย โลหะต่าง ๆ แก้วแหวน เงินทอง ตะกั่ว เป็นต้น รวมไปถึงดินที่เป็นอารมณ์ของกสิณ
ก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ หรืออารมณปฐวี

ค. กสิณปฐวี หรือ อารมฺมณปฐวี คือ ดินที่เป็นนิมิตทั้งปวง ได้แก่
ดินของ บริกรรมนิมิต ดินของอุคคหนิมิต ดินของปฏิภาคนิมิต

ง. ปกติปฐวี หรือ สมฺมติปฐวี คือ ดินตามปกติที่สมมติเรียกกันว่าดิน
ได้แก่ พื้นแผ่นดินตามธรรมดา ที่ทำเรือกสวนไร่นา เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร