วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕
วิถีมุตตสังคหวิภาค พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

ความเบื้องต้น

พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕ ชื่อว่า วิถีมุตตสังคหะวิภาค
คำว่า วิถีมุตต แปลว่า พ้นวิถี นอกวิถี หรือไม่อยู่ในวิถี, สังคหะ แปลว่า สงเคราะห์
หรือรวบรวม วิภาค แปลว่า ส่วน,

ดังนั้นวิถีมุตตสังคหะวิภาค จึงแปลว่า ส่วนที่ รวบรวมการแสดงจิตที่พ้นวิถี
มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑ แสดงว่า

๑. วิถีจิตฺตวเสเนวํ ปวตฺติยมุทีริโต
ปวตฺติสงฺคโห นาม สนฺธิยนฺทานิ วุจฺจติ ฯ


แปลความว่า ความเป็นไปของจิตในปวัตติกาล ที่ชื่อว่า ปวัตติสังคหะ นั้น ได้กล่าวตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่า อนุรุทธาจารย์ จะได้กล่าว ในปฏิสนธิกาลต่อไป

อธิบาย

จิตทั้งหมดมี ๘๙ ดวงนั้น เมื่อกล่าวโดยวิถีก็แบ่งได้เป็น ๒ พวก
คือ เป็นจิต ในวิถีพวกหนึ่ง และเป็นจิตที่พ้นวิถีอีกพวกหนึ่ง

จิตในวิถีมีจำนวน ๘๐ ดวง ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวกเหมือนกัน คือ
เป็นจิต ในวิถีแน่นอน (เอกนฺต) พวกหนึ่งและเป็นจิตในวิถีที่ไม่แน่นอน (อเนกนฺต)
คือ บางทีก็อยู่ในวิถี บางทีก็พ้นวิถี แล้วแต่กิจการงานที่จิตนั้นกระทำ อีกพวกหนึ่ง

จิตในวิถีที่แน่นอน (เอกนฺต) นั้นมี ๗๐ ดวง ได้แก่
อกุสลจิต ๑๒
อเหตุกจิต ๑๖ (เว้นอุเบกขาสันตีรณจิต ๒)
มหากุสล ๘
มหากิริยา ๘
มหัคคตกุสล ๙
มหัคคตกิริยา ๙
โลกุตตรจิต ๘
จิตในวิถีที่ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) นั้นมี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
มหาวิบาก ๘

ส่วนจิตที่พ้นวิถีจำนวน ๑๙ ดวง ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวกอีกเหมือนกัน คือ
เป็นจิตที่พ้นวิถีแน่นอน (เอกนฺต) พวกหนึ่ง และเป็นจิตพ้นวิถีที่ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) คือ
บางทีก็พ้นวิถี บางทีก็อยู่ในวิถี แล้วแต่กิจการงานที่จิตนั้นกระทำ อีกพวกหนึ่ง

จิตที่พ้นวิถีแน่นอน (เอกนฺต) นั้นมี ๙ ดวง ได้แก่
มหัคคตวิบาก ๙
จิตพ้นวิถีที่ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) นั้นมี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
มหาวิบาก ๘
ทั้งนี้ได้แสดงแล้วในปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค ที่นำมากล่าวซ้ำในที่นี้อีก นั้น
เพื่อเป็นการทบทวนความจำ ก่อนที่จะได้เริ่มศึกษาในปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตต สังคหวิภาค นี้ต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีมุตตสังคหวิภาค แสดงธรรม ๔ หมวด

วิถีมุตตสังคหวิภาคนี้ รวบรวมการแสดงจิตที่พ้นวิถี ตลอดจนธรรมที่เกี่ยว เนื่องกับจิตที่พ้นวิถีนั้นด้วย
ดังนั้นท่านจึงแสดงธรรมเหล่านั้นรวมเป็น ๔ หมวด ด้วยกัน และแต่ละหมวดก็จำแนกออก
เป็นหมวดละ ๔ พวก คือ

หมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ แบ่งภูมิ เป็น ๔ พวก ได้แก่
ก. อบายภูมิ
ข. กามสุคติภูมิ
ค. รูปาวจรภูมิ
ง. อรูปาวจรภูมิ



หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ การแบ่งปฏิสนธิ เป็น ๔ พวก ได้แก่
ก. อบายปฏิสนธิ
ข. กามสุคติปฏิสนธิ
ค. รูปาวจรปฏิสนธิ
ง. อรูปาวจรปฏิสนธิ



หมวดที่ ๓ กัมมจตุกะ แบ่งกรรม เป็น ๔ พวก ได้แก่
ก. ชนกาทิกิจจ กิจการงานของกรรม
ข. ปากทาน ลำดับการให้ผลของกรรม
ค. ปากกาล กำหนดเวลาที่ให้ผลของกรรม
ง. ปากฐาน ฐานที่ตั้งแห่งผลของกรรม(ที่ตั้งแห่งวิบากจิต)



หมวดที่ ๔ มรณจตุกะ แบ่งการมรณะ เป็น ๔ พวก ได้แก่
ก. อายุกขยมรณะ ตายโดยสิ้นอายุ
ข. กัมมักขยมรณะ ตายโดยหมดกรรม
ค. อุภยักขยมรณะ ตายโดยสิ้นทั้งอายุหมดทั้งกรรม
ง. อุปัจเฉทกมรณะ ตายโดยอุบัติเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6109-7.gif
6109-7.gif [ 21.74 KiB | เปิดดู 14941 ครั้ง ]
หมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ ก. อบายภูมิ

อบายภูมิ มาจากคำว่า อป (ปราศจาก) + อย (กุสลธรรม) + ภูมิ (ที่อยู่ที่อาศัย)
ดังนั้นอบายภูมิจึงแปลว่า
ที่อยู่ที่อาศัยที่ปราศจากกุสลธรรม มีความหมายว่า สัตว์ ในอบายภูมินั้น
มีโอกาสกระทำกุสลได้น้อยเหลือเกินจนแทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีโอกาสทำกุสล

อีกนัยหนึ่ง อบายภูมินี้ บางทีก็เรียกว่า ทุคคติภูมิ
มาจากคำว่า ทุ (ชั่ว-ไม่ดี) + คติ(เกิด) + ภูมิ (ที่อยู่ที่อาศัย) ดังนั้นทุคคติภูมิ
จึงแปลว่าเกิดในที่ที่ไม่ดี ที่ที่ชั่ว ลำบาก ทนได้ยาก

ใน เนตติอรรถกถา แสดงไว้ว่า นรก เปรต อสุรกาย เรียกว่าเป็นทุคคติ โดยตรง
ส่วนสัตว์เดรัจฉาน ที่เรียกว่าเป็นทุคคตินั้น เป็นการเรียกได้โดยอ้อม
เพราะ สัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก เช่น พระยานาค พระยาช้างฉัททันต์ เป็นต้น
ล้วนแต่มี ความสุข บางทีก็มีฤทธิด้วย

อบายภูมินี้มี ๔ ภูมิ ด้วยกันคือ
๑. นิรยภูมิ ภูมิของสัตว์นรก
๒. ดิรัจฉานภูมิ ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
๓. เปรตภูมิ ภูมิของเปรต
๔. อสุรกายภูมิ ภูมิของอสุรกาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ภูมิของสัตว์นรก

นรก หมายความว่า เดือดร้อน ไม่มีความสุข เพราะต้องถูกทรมานอยู่เป็นนิจ ภูมิของสัตว์นรกนี้
ชื่อ นิรยภูมิ เป็นภูมิที่สัตว์ต้องถูกทรมานจนหาความสุขไม่ได้เลย
นรกขุมใหญ่ ๆ เรียกว่า มหานรก นั้น มี ๘ ขุม คือ
๑. สัญชีวะนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้องถูกประหารด้วยดาบฟาดฟันให้ตาย แล้วก็กลับเป็นขึ้นมาอีก
และถูกฟันให้ตายอีก เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา
๒. กาฬสุตตะนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้องถูกตีเส้น ด้วยเชือกดำทำด้วย เหล็กแล้วก็ถาก
หรือตัดออกด้วยเครื่องประหารมีขวาน มีด เลื่อยเป็นต้น อยู่เสมอ
๓. สังฆาตะนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ถูกภูเขาเหล็กที่สูงใหญ่ มีเปลวไฟอัน ลุกโพลง
บดให้ละเอียดเป็นจุณไป
๔. โรรุวนรก บ้างก็เรียกว่า จูฬโรรุวะนรก หรือธูมะโรรุวะนรก เป็นที่อยู่ของ สัตว์ที่ต้องถูกทรมาน
ด้วยควันไฟ ให้เข้าไปสู่ทวารทั้ง ๙ ทำให้ร้องด้วยเสียงอันดัง
๕. มหาโรรุวะนรก บางทีก็เรียกว่า ชาลโรรุวนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้อง ถูกไฟเผาตามทวาร
ทั้ง ๙ ทำให้ต้องร้องครวญครางด้วยเสียงอันดังมาก
๖. ตาปนนรก บางทีก็เรียกว่า จูฬตาปนะนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้องถูก ตรึงด้วยหลาวเหล็ก
อันร้อนแดง และถูกไฟเผาอีกด้วย
๗. มหาตาปนะนรก บางทีก็เรียกว่า ปตาปนะนรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้อง ไต่ขึ้นไปบนภูเขาเหล็ก
ที่กำลังร้อนแดง แล้วตกลงไปสู่หลาวที่อยู่ข้างล่าง ทั้งถูกไฟเผาอีกด้วย
๘. อเวจีนรก บางทีก็เรียก อวีจินรก เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ต้องถูกตรึงอยู่ด้วย หลาวเหล็กอันร้อนแดง
ทั้ง ๔ ด้าน และต้องถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1252397867.jpg
1252397867.jpg [ 29 KiB | เปิดดู 14939 ครั้ง ]
มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้แต่ละขุมตั้งอยู่ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ และแต่ละขุมก็มี
ประตูทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๑ ประตู รวม ๘ ขุมเป็น ๓๒ ประตูแต่ละประตูมีพระยายมราชประจำอยู่
ประตูละ ๑ จึงมีพระยายมราช รวม ๓๒
เมื่อสัตว์นรกได้เสวยทุกข์อยู่ในมหานรกตามควรแก่กรรมแล้ว ก็ยังไม่พ้นจาก นรก
ต้องมาเสวยทุกข์ในอุสสทะนรก หรือจูฬนรก คือนรกขุมย่อยต่อไปอีก จนกว่า จะหมดกรรม
อุสสทะนรก หรือ จูฬนรก คือนรกขุมย่อยนั้น ตั้งอยู่ตามประตูของมหานรก ทุกประตู
ประตูละ ๔ ขุมย่อยประตู มี ๓๒ ประตู ดังนั้นอุสสทะนรก จึงมีรวม ๑๒๘ ขุมย่อย
อุสสทะนรก ๔ ขุม คือ
๑. คูถะนรก เป็นนรกขุมย่อยที่เต็มไปด้วยอุจจาระอันเน่าเหม็น
๒. กุกกุละนรก เป็นนรกขุมย่อยที่เป็นหลุมขี้เถ้า
๓. สิมพลีวนะนรก เป็นนรกขุมย่อยที่เป็นป่าไม้งิ้ว
อสิปัตตะวนะนรก เป็นนรกขุมย่อยที่เป็นป่าไม้ใบดาบ
ป่าไม้ทั้ง ๒ นี้ รวมนับเป็นนรกขุมเดียวกัน
๔. เวตตรณีนรก เป็นนรกขุมย่อยที่เป็นแม่น้ำเค็มอันเต็มไปด้วยหนามหวาย

อนึ่งในคัมภีร์โลกบัญญัตติปกรณ์แสดงว่าอุสสทะนรก หรือจูฬนรกนี้มี ๘ ขุม
อันเป็นการแยกโดยละเอียดพิสดาร
ออกไป เมื่อคำนวณตามนัยนี้ ประตูแห่งมหานรก มีรวมทั้งหมด ๓๒ ประตู
แต่ละประตูมีอุสสทะนรก (อย่างพิสดาร)
ประตูละ ๘ ขุมย่อย ดังนั้นจึงมีอุสสทะนรก รวม ๒๕๖ ขุมด้วยกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุสสทะนรก ตามคัมภีร์โลกบัญญัตติปกรณ์ ๘ ขุมนั้น คือ

๑. อังคารกาสุนีรย เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น ถ่านเพลิง
๒. โลหรสะนิยะ เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น น้ำเหล็ก
๓. กุกกุละนิรยะ เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น ขี้เถ้า
๔. อัคคิสโมทกะนิรยะ เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น น้ำร้อน
๕. โลหกุมภีนิรยะ เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น น้ำทองแดง
๖. คูถะนิรย เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น อุจจาระเน่า
๗. สิมพลีวนะนิรย เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น ป่าไม้งิ้ว
๘. เวตตรณีนิรย เป็นนรกขุมย่อยที่เป็น แม่น้ำเค็มที่มีหนามหวาย

โทษที่ให้ไปนรก

๑. ฆ่ามนุษย์ ไป สัญชีวะนรก กาฬสุตตะนรก
๒. ฆ่าสัตว์ ไป สังฆาตะนรก จูฬโรรุวะนรก
๓. ลักทรัพย์ ไป มหาโรรุวนรก
๔. เผาบ้านเรือน ไป จูฬตาปนะนรก
๕. มิจฉาทิฏฐิ ไป มหาตาปนะนรก
๖. อนันตริยกรรม ไป อเวจีนรก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน

ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน มีชื่อว่า ดิรัจฉานภูมิ สัตว์ดิรัจฉาน
มีความหมายว่า เป็น สัตว์ที่ไปโดยส่วนขวาง หรือ อีกนัยหนึ่งว่า
เป็นสัตว์ที่เป็นไปขวางจากมัคคผล

ดิรัจฉานนี้ จัดเป็นภูมิหนึ่งต่างหากก็จริง แต่ว่าไม่มีที่อยู่ที่อาศัยของตนเอง
เป็นส่วนเป็นสัดโดยเฉพาะ คงอาศัยอยู่ในมนุษย์โลก ส่วนในเทวโลกและพรหมโลก นั้น
ไม่มีสัตว์ดิรัจฉานไปอยู่ร่วมด้วยเลย

สัตว์ดิรัจฉาน มีสัญญาที่ปรากฏหรือมีความเป็นอยู่และเป็นไปเพียง ๓ อย่าง เท่านั้น คือ
๑. กามสัญญา รู้เสวยกามคุณ
๒. โคจรสัญญา รู้จักกิน (รวมทั้งรู้จักนอนด้วย)
๓. มรณสัญญา รู้จักกลัวตาย

ส่วนอีกอย่างหนึ่ง คือ ธัมมสัญญา ความรู้จักผิดชอบ ชั่ว ดี หรือรู้จักกุสล อกุสลนั้น
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายไม่มี เว้นแต่สัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก เช่น โพธิสัตว์
จึงมี ธัมมสัญญา ปรากฏได้
สัตว์ดิรัจฉานมีจำนวนมากมายเหลือประมาณ มากกว่ามนุษย์มากกว่ามากนัก
อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ก็มี อยู่ในน้ำก็มี และมีมากกว่าอยู่บนบกหลายเท่า
รูปร่างก็ แตกต่างกันจนสุดจะพรรณนา ส่วนขนาดใหญ่โตมากก็มี เล็กจนแทบจะมองไม่เห็นก็มี
ในที่สุดท่านจึงแยกประเภทของสัตว์ดิรัจฉานออกเป็น ๔ อย่างเท่านั้น คือ
๑. อปทติรจฺฉาน จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีขาเลยเช่น ปลา งู ไส้เดือน เป็นต้น
๒. ทฺวิปทติรจฺฉาน จำพวกดิรัจฉานที่มี ๒ ขา ได้แก่ นก เป็ด ไก่ เป็นต้น
๓. จตุปฺปทติรจฺฉาน จำพวกดิรัจฉานที่มี ๔ ขา ได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น
๔. พทุปฺปทติรจฺฉาน จำพวกดิรัจฉานที่มีขามาก ได้แก่ กุ้ง ปู แมลงมุม ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น
อนึ่งบรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ เป็นต้นไป แม้จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์
ดิรัจฉาน ก็จะไม่เกิดเป็นสัตว์ที่เล็กกว่า นกกระจาบ และ ไม่เกิดเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่าช้าง
สัตว์ดิรัจฉานที่อดอยากก็มี ที่อ้วนพีก็มีมาก ที่เดือดร้อนน้อยก็มีความสุขมากก็มี
เหมือนกันแต่มีจำนวนน้อย ส่วนมากมักจะเดือดร้อนมาก มีความสุขน้อยเหลือเกิน
สัตว์ดิรัจานมีโอกาสทำกุสลบ้าง แต่มีโอกาสก่ออกุสลได้มากมายเหลือเกิน
ส่วน สัตว์นรกแทบจะไม่มีโอกาสทำกุสลเลย แต่ก็ยากที่จะมีโอกาสก่ออกุสลเหมือนกัน
เพราะมัวแต่ถูกทรมานอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pret.jpg
pret.jpg [ 75.49 KiB | เปิดดู 14916 ครั้ง ]
๓. ภูมิของเปรต

ภูมิของเปรตมีชื่อว่า เปตภูมิ สัตว์ที่ชื่อว่าเปรตนั้นเป็นสัตว์ที่มีความเดือดร้อน
เพราะมีความเป็นอยู่อย่างหิวโหยอดอยาก ซึ่งต่างกับสัตว์นรก ที่มีความเดือดร้อน เหมือนกัน
แต่ว่าเดือดร้อนเพราะถูกทรมาน
เปรต ส่วนมากอยู่ที่ป่า วิชฌาฏวี มี มหิทธิกเปรต เป็นเจ้าปกครอง ดูแลเปรตทั้งหลาย
แต่ว่าเปรตที่ไม่มีที่อยู่ที่อาศัยโดยเฉพาะ เที่ยวอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น ตามป่า ตามภูเขา เหว เกาะ
ทะเล ป่าช้า ก็มีมากเหมือนกัน
เปรตมีหลายจำพวก เล็กก็มี ใหญ่ก็มี และสามารถเนรมิตให้เป็น อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ได้
ฝ่ายอิฏฐารมณ์ก็เนรมิตให้เห็นเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นดาบส พระ เณร ชี เป็นต้น
ฝ่ายอนิฏฐารมณ์ก็ให้เห็นเป็นสัตว์ต่าง ๆ ทำท่าทางหรือ มีรูปร่างอันน่าเกลียดน่ากลัว

เปรต ๔ จำพวก

ในเปตวัตถุอรรถกถา แสดงเปรต ๔ จำพวก คือ
๑. ปรทัตตุปชีวิกเปรต เป็นเปรตที่เลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้โดย การเซ่นไหว้ เป็นต้น
๒. ขุปปีปาสิกเปรต เป็นเปรตที่อดอยาก หิวข้าว หิวน้ำ อยู่เป็นนิจ
๓. นิชฌามตัณหิกเปรต เป็นเปรตที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
๔. กาลกัญจิกเปรต เป็นเปรตในจำพวกอสุรกาย หรือ เป็นชื่อของอสุราที่ เป็นเปรต
เปรตที่สามารถจะได้รับส่วนกุสลที่มีผู้อุทิศให้นั้น ได้แก่ ปรทัตตุปชีวิกเปรต จำพวกเดียวเท่านั้น
เพราะเปรตจำพวกนี้โดยมากอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กับมนุษย์ ถึงกระนั้นก็จะ ต้องรู้ ว่าเขาแผ่ส่วนกุสลให้
จึงจะสามารถรับได้ด้วยการ อนุโมทนา ถ้าไม่รู้ไม่ได้อนุโมทนา ก็ไม่ได้รับส่วนกุสลนั้นเหมือนกัน
ในอปาทานอรรถกถา สุตตนิบาตอรรถกถา และพุทธวังสะอรรถกถาแสดงว่า บรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ เป็นต้นไป จะไม่เกิดเป็น ขุปปีปาสิกเปรต นิชฌามตัณหิกเปรต
หรือ กาลกัญจิกเปรต ถ้าจะต้องไปเกิดเป็น เปรต ก็จะเกิดเป็นปรทัตตุปชีวิกเปรต ประเภทเดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pret1.jpg
pret1.jpg [ 45.9 KiB | เปิดดู 14916 ครั้ง ]
เปรต ๑๒ จำพวก

ในคัมภีร์โลกบัญญัตติปกรณ์ และ ฉคติทีปนีปกรณ์ แสดง เปรต ๑๒ จำพวก คือ
๑. วันตาสเปรต เปรตที่กินน้ำลาย เสมหะ อาเจียร เป็นอาหาร
๒. กุณปาสเปรต เปรตที่กินซากศพคน หรือสัตว์ เป็นอาหาร
๓. คูถขาทกเปรต เปรตที่กินอุจจาระต่าง ๆ เป็นอาหาร
๔. อัคคิชาลมุขเปรต เปรตที่มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
๕. สุจิมุขเปรต เปรตที่มีปากเท่ารูเข็ม
๖. ตัณหัฏฏิตเปรต เปรตที่ถูกตัณหาเบียดเบียฬให้หิวข้าวหิวน้ำอยู่เสมอ
๗. สุนิชฌามกเปรต เปรตที่มีตัวดำเหมือนตอไม้ที่เผา
๘. สุตตังคเปรต เปรตที่มีเล็บมือเล็บเท้ายาวคมเหมือนมีด
๙. ปัพพตังคเปรต เปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
๑๐. อชครังคเปรต เปรตที่มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
๑๑. เวมานิกเปรต เปรตที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ ไปเสวยสุขในวิมาน
๑๒. มหิทธิกเปรต เปรตที่มีฤทธิ์มาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เปรต ๒๑ จำพวก

ในวินัยและลักขณสังยุตตพระบาลีแสดงเปรต ๒๑ จำพวก คือ
๑. อัฏฐีสังขสิกเปรต เปรตที่มีกระดูกติดกันเป็นท่อน ๆ แต่ไม่มีเนื้อ
๒. มังสเปสิกเปรต เปรตที่มีเนื้อเป็นชิ้น ๆ แต่ไม่มีกระดูก
๓. มังสปิณฑเปรต เปรตที่มีเนื้อเป็นก้อน
๔. นิจฉวิปริสเปรต เปรตที่ไม่มีหนัง
๕. อสิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นพระขรรค์
๖. สัตติโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นหอก
๗. อุสุโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นลูกธนู
๘. สูจิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นเข็ม
๙. ทุติยสูจิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นเข็มชนิดที่ ๒
๑๐. กุมภัณฑเปรต เปรตที่มีอัณฑะใหญ่โตมาก
๑๑. คูถกูปนิมุคคเปรต เปรตที่จมอยู่ในอุจจาระ
๑๒. คูถขาทกเปรต เปรตที่กินอุจจาระ
๑๓. นิจฉวิตกิเปรต เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง
๑๔. ทุคคันธเปรต เปรตที่มีกลิ่นเหม็นเน่า
๑๕. โอคิลินีเปรต เปรตที่มีร่างกายเป็นถ่านไฟ
๑๖. อลิสเปรต เปรตที่ไม่มีศีรษะ
๑๗. ภิกขุเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน พระ
๑๘. ภิกขุณีเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน ภิกษุณี
๑๙. สิกขมานเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน สิกขมานา
(สามเณรีที่ได้รับการอบรมเป็นเวลา ๒ ปี เพื่อบวชเป็นภิกษุณี)
๒๐. สามเณรเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน สามเณร
๒๑. สามเณรีเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน สามเณรี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180120_185617.jpg
20180120_185617.jpg [ 185.9 KiB | เปิดดู 10506 ครั้ง ]
๔. ภูมิของอสุรกาย

ภูมิของอสุรกาย มีชื่อว่า อสุรภูมิ หรือ อสุรกายภูมิ อสุรกายเป็นหมู่สัตว์ จำพวกหนึ่ง
ซึ่งไม่สว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นอิสสระ และสนุกรื่นเริง
คำว่า " สว่างรุ่งโรจน์ " ไม่ได้หมายถึง รัศมีสีแสงที่ออกจากร่างกาย แต่หมาย ความว่า
" มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง เครื่องบริโภคก็แร้นแค้น เครื่องอุปโภคก็ขาด แคลน "
ทุกข์ยากลำบากกายเช่นนี้ ใจคอก็ไม่สนุกสนานรื่นเริง เข้าทำนองที่ว่า หน้าชื่นอกตรม
หมู่สัตว์ที่เป็นอสุรา ที่เรียกว่า อสุรกาย นั้น มี ๓ อย่าง คือ
ก. เทวอสุรา ได้แก่ อสุรกายที่เป็นเทวดา
ข. เปตติอสุรา ได้แก่ อสุรกายที่เป็นพวกเปรต
ค. นิรยอสุรา ได้แก่ อสุรกายที่เป็นสัตว์นรก

เทวอสุรกาย มี ๖ คือ

๑. เวปจิตตอสุรกาย
๒. ราหุอสุรกาย
๓. สุพลิอสุรกาย
๔. ปหารอสุรกาย
๕. สัมพรตีอสุรกาย
ที่เรียกว่า อสุรกาย เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวอสุรกายทั้ง ๕ นี้ อยู่
ใต้ภูเขาสิเนรุ แต่สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
๖. วินิปาติกอสุรกาย มีรูปร่างก็เล็กกว่า อำนาจก็น้อยกว่าเทวดาชั้นดาว ดึงส์
ที่อยู่ก็อาศัยอยู่ในมนุษย์โลก
เช่น ตามป่า ตามเขา ตามต้นไม้ และตามศาลที่ เขาปลูกไว้
สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา

เปตติอสุรกายมี ๓ คือ
๑. กาลกัญจิกเปรตอสุรกาย มีร่างกายใหญ่โต แต่ไม่ใคร่มีแรง เพราะมีเลือด เนื้อน้อย
มีสีสรรคล้ายใบไม้แห้ง ตาโปนออกมาคล้ายกับตาของปู มีปากเท่ารูเข็ม และตั้งอยู่กลางศีรษะ
ที่เรียกเปรตจำพวกนี้ว่าอสรุกาย เพราะไม่สว่างรุ่งโรจน์
๒. เวมานิกเปรตอสุรกาย เสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้เสวยสุข เหมือนกับความสุข
ในชั้นดาวดึงส์ และเพราะเหตุว่าเปรตจำพวกนี้ได้เสวยสุขในเวลา กลางคืนเหมือนกับเทวดาชั้นดาวดึงส์
นี้แหละ จึงได้เรียกว่า อสุรา
๓. อาวุธิกเปรตอสุรกาย เป็นจำพวกเปรตที่ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ด้วยอาวุธต่าง ๆ
ที่เรียกเปรตจำพวกนี้ว่าเป็นอสุรกาย เพราะมีความเป็นอยู่ตรงข้าม กับเทวดาชั้นดาวดึงส์
กล่าวคือ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ส่วน อาวุธิกเปรตนี้ มีแต่การประหัต
ประหารซึ่งกันและกัน

นิรยอสุรกาย มี ๑ เท่านั้น

นิรยอสุรกาย มีอย่างเดียว เป็นสัตว์นรกจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นอยู่ เหมือนค้างคาว
เกาะอยู่ตามขอบจักรวาล หิวกระหายเป็นกำลัง เกาะไปพลาง ไต่ไป พลาง ไปพบพวกเดียวกัน
โผเข้าไปจะจิกกินเป็นอาหาร ก็พลัดตกลงไปในน้ำกรด ข้างล่างละลายไปทันทีแล้วเกิดขึ้นมาใหม่
ตกตายไปอีกวนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหมดกรรม


ที่เรียกสัตว์นรกจำพวกนี้เป็นอสุรกาย ก็เพราะว่ามีอารมณ์ตรงกันข้ามกับ เทวดาชั้นดาวดึงส์
กล่าวคือ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอารมณ์ล้วนแต่ที่เป็นอิฏฐารมณ์ ส่วนนิรยอสุรกายนี้มีแต่อนิฏฐารมณ์ทั้งสิ้น

รวมความว่า อสุรภูมิ หรืออสุรกายภูมินี้ ถ้าจะสงเคราะห์ก็สงเคราะห์เข้าใน เปตภูมิ แต่เป็นเปรตจำพวก
ที่มีความเป็นอยู่เป็นพิเศษ เปรตพิเศษนี่แหละที่เรียกว่า อสุรกาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 44.77 KiB | เปิดดู 12296 ครั้ง ]
หมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ ข. กามสุคติภูมิ

กามสุคติภูมิ มีความหมายว่า ไปเกิดที่ดี แต่ยังข้องอยู่ในกามคุณ ทั้ง ๕ คือ
ยังติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง
กามสุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ คือ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ

มนุษยภูมิ

มนุษยภูมิ คือ ที่เกิด ที่อยู่ ที่อาศัยของมนุษย์ มีอยู่ ๔ ทวีป คือ
๑. บุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศ ตะวันออก ของภูเขาสิเนรุ
๒. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศ ตะวันตก ของภูเขาสิเนรุ
๓. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศ ใต้ ของภูเขาสิเนรุ
๔. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศ เหนือ ของภูเขาสิเนรุ

มนุษย์ กล่าวโดยมุขยนัย นัยโดยตรงแล้ว ก็ได้แก่ คนที่อยู่ในชมพูทวีป คือ ที่ที่เราท่านอยู่กัน ณ บัดนี้
แต่ถ้ากล่าวโดย สทิสูปจารนัย นัยโดยอ้อมแล้ว ก็ใช้ เรียกคนที่อยู่ในทวีปทั้ง ๓ ด้วย เพราะคนในทวีป
ทั้ง ๓ นั้น มีรูปพรรณสัณฐาน เหมือน ๆ กันกับคนที่อยู่ในชมพูทวีปนี้

คำว่า มนุษย์ ซึ่งหมายถึง คน หรือ เหล่าคน นั้น เขียนตามแบบบาลี เป็น มนุสฺส มาจาก
มน (ใจ) + อุสฺส (สูง) จึงรวมความหมายว่า ผู้มีใจสูง คือ รู้ผิดชอบ ชั่วดี รู้บาปรู้บุญ
รู้จักมีเมตตากรุณา เป็นต้น
ความหมายของมนุษย์มีแสดงไว้หลายนัย คือ
๑. มนุษย์มีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
๒. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันควรและไม่ควร
๓. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
๔. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นกุสลและอกุสล
๕. มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ
ที่ว่า มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ นั้น มีความหมายดังนี้ คือ ในสมัยต้นกัปป์
ประชาชนได้เลือกพระโพธิสัตว์ ซึ่งขณะนั้นเป็นมนุษย์มีชื่อว่า มนุ ให้ขึ้นครองราช
เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศ และถวายพระนามว่า พระเจ้ามหาสัมมตะ
พระเจ้ามหาสัมมตะทรงวางระเบียบแบบแผนกฏข้อบังคับอย่างเที่ยงธรรม
เพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามประชาชนต่างก็มิได้ฝ่าฝืนเลย คงกระทำตามนั้นทุกประการ
เหมือนหนึ่งว่า บุตรที่ดีทั้งหลายได้ประพฤติตามโอวาทของบิดา เหตุนี้จึงเรียกว่า มนุสส หมายถึงว่า
เป็นลูกของพระเจ้ามนุ

มนุษย์ในชมพูทวีป มีคุณลักษณะพิเศษกว่าอีก ๓ ทวีป คือ
ก. สูรภาว มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา
ข. สติมันต มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
ค. พรหมจริยวาส ประพฤติพรหมจรรย์ คือ อุปสมบทได้

อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




423604_276823899095905_318273000_n.jpg
423604_276823899095905_318273000_n.jpg [ 57.59 KiB | เปิดดู 14795 ครั้ง ]
เทวดาภูมิ

เทวะ แปลว่า ผู้ที่เพลิดเพลินยิ่งในกามคุณทั้ง ๕ เทวะมี ๓ คือ
๑. อุปปัตติเทวะ ได้แก่ เทวดาโดยกำเนิด
๒. สมมติเทวะ ได้แก่ เทวดาโดยสมมติ เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา
เป็นต้น
๓. วิสุทธิเทวะ ได้แก่ เทวดาที่บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง หมายถึง พระอรหันต์โดยเฉพาะเท่านั้น

อนึ่งเทวะที่แปลว่า ผู้ที่เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ นั้น ใช้เป็นคำแปลโดย เฉพาะแก่อุปปัตติเทวะเท่านั้น จะนำไปใช้กับ สมมติเทวะ และวิสุทธิเทวะไม่ได้
อุปปัตติเทวะมี ๖ ชั้น
๑. จาตุมมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตตี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. จาตุมมหาราชิกาภูมิ

จาตุมมหาราช แปลว่า เทวดา ๔ องค์ ผู้เป็นเจ้าใหญ่ยิ่ง
จาตุมมหาราชิกา หมายถึงว่าเทวดาทั้งหลายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติรับใช้ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ กล่าวคือ
เทวดาในชั้นจาตุมมหาราชิกาภูมินี้ เป็นบริวารอยู่ใต้อำนาจของท้าว มหาราชทั้ง ๔ เพราะเหตุว่ามา
มีกำเนิดในสถานที่ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขะเทวดาทั้งหมด

เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจาตุมมหาราช คือ
๑. ปัพพัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหารแล้วตาย
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษามนุษย์โลกด้วย ฉะนั้นจึงเรียกว่า ท้าว จตุโลกบาล
บางทีก็เลยเรียกท้าวจตุโลกบาลนี้ว่า อินทะ ยมะ วรุณะ กุเวระ
เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกานี้ มีที่อยู่ตอนกลางเขาสิเนรุ ตลอดลงมาถึงพื้นดิน
ที่มนุษย์อยู่ เรียกชื่อตามที่อยู่ที่อาศัยดังนี้
ก. ที่อยู่บนพื้นแผ่นดิน เรียกว่า ภุมมัฏฐเทวดา
ข. ที่อยู่บนต้นไม้ เรียกว่า รุกขัฏฐะเทวดา
ค. ที่อยู่ในอากาศ(มีวิมานอยู่) เรียกว่า อากาสัฏฐะเทวดา

เทวดาในจาตุมมหาราชิกาภูมิ ที่มีใจโหดร้ายก็มีถึง ๔ จำพวก คือ

๑. คันธัพโพ คันธัพพี ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มี กลิ่นหอม เราเรียกกันว่า
นางไม้หรือ แม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติ ของผู้ที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครอง
ของท้าวธตรัฏฐะคันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไปทำเรือ แพ
บ้านเรือน หรือเครื่องใช้ไม้สอยอย่างใด ๆ ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขะเทวดา ที่อาศัยอยู่
ตามต้นไม้เหมือนกัน แต่ถ้าต้นไม้นั้นตาย หรือถูกตัดฟันก็ย้ายจากต้นนั้น ไปต้นอื่น

๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกกันว่ารากษส เป็น เทวดาที่รักษาสมบัติต่าง ๆ
มีแก้วมณีเป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วง ล้ำก้ำเกิน ก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้อยู่ใน
ความปกครองของท้าววิรุฬหกะ

๓. นาโค นาคี ได้แก่ เทวดานาค มีวิชาเกี่ยวแก่เวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ ขณะ ท่องเที่ยวมาในมนุษย์โลก
บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น โดยเฉพาะ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก
เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครอง ของท้าววิรูปักขะ

๔. ยักโข ยักขินี ได้แก่ เทวดายักษ์ พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้อยู่ในความปกครอง
ของท้าวกุเวระ หรือท้าวเวสสุวรรณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ดาวดึงส์

ดาวดึงส์ภูมิ หรือ ตาวติงสาภูมิ มีความหมาย ๒ นัย นัยหนึ่งว่า เป็นที่เกิด ของบุคคล ๓๓ คน
คือ เกิดเป็นพระอินทร์ ๑ เกิดเป็นเทวดาผู้เป็นใหญ่อีก ๓๒
ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่ง เป็นพื้นแผ่นดินที่ปรากฏขึ้นในโลก เป็นครั้งแรก ก่อนพื้นดินส่วนอื่น
เพราะภูมินี้อยู่บนยอดเขาสิเนรุ

ในดาวดึงส์ภูมิ ทิศตะวันออก มีสวน นันทะวัน
ทิศตะวันตก มีสวน จิตรลดาวัน
ทิศเหนือ มีสวน มิสสกวัน
ทิศใต้ มีสวน ผารุสกวัน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมี ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งชื่อ " ปุณฑริกะ" มีต้น ปาริฉัตตก์ ที่ใหญ่โตมาก
ใต้ร่มปาริฉัตตก์มีแท่น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด
พระพุทธมารดา ก็ใช้เป็นที่ประทับแสดงพระ ธรรมเทศนา มีศาลา สุธัมมา เป็นที่ประชุมฟังธรรม
มีเจดีย์แก้วมรกต ชื่อว่า พระจุฬามณี บรรจุพระเขี้ยวแก้ว (ข้างขวา) กับบรรจุพระเกศา
(ที่ทรงตัดออกตอน เสด็จออกทรงผนวช) อีกส่วนหนึ่งชื่อ สวนมหาวัน มีสระชื่อ สุนันทา
สวนนี้เป็นที่ ประทับสำราญพระอิริยาบถของท้าวสักกเทวราช

ที่ศาลาสุธัมมา ตามปกติมีพรหมชื่อ สนังกุมาระ เป็นผู้เสด็จลงมาแสดงธรรม แต่ในบางโอกาส
ท้าวสักกเทวราช หรือเทวดาองค์อื่นที่ทรงความรู้ในธรรมดี ก็เป็น ผู้แสดง
เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์นี้ขึ้นไปปฏิสนธิด้วยโอปปาติกกำเนิดอย่างเดียวเท่านั้น
เทวดาชั้นเดียวกัน ย่อมเห็นซึ่งกันและกันได้ และเห็นผู้ที่อยู่ชั้นต่ำกว่าตนได้ ด้วย
แต่ไม่สามารถจะเห็นผู้ที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าตนได้
ท้าวสักกเทวราช หรือท้าวโกสีย์อัมรินทร์ ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระอินทร์นี้
อยู่ในชั้นดาวดึงส์ แต่เป็นผู้ปกครอง เทพยดาทั้งในชั้นดาวดึงส์ และชั้นจาตุมมหาราชิกาด้วย
บางทีก็เรียก ท้าวสหัสสนัย คือ ท้าวพันตา เพราะจักขุดีมาก เห็นได้ชัดเจน และเห็นได้ไกลมาก
เท่ากับดวงตาตั้งพันดวง

พระอินทร์องค์ปัจจุบันนี้ สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อจุติจากเทวโลก ก็จะมาบังเกิดเป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ์ในมนุษย์โลก และจะได้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี จุติจากมนุษย์โลก
จะไปบังเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก คราวนี้ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี จุติทีนี้ก็จะไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาส
ตั้งแต่ชั้นอวิหา เป็นต้นไปตามลำดับจนถึงชั้น อกนิฏฐา และสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชั้นนั้น
เทวดาในดาวดึงส์ภูมินี้มี ๒ พวก คือ ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยพื้นแผ่นดินอยู่ และ อากาสัฏฐเทวดา
มีวิมานลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร