วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 13:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปปวัตติกมนัย คือ การลำดับการเกิดดับของรูปธรรม หรือ การแสดงลำดับ การเกิดดับของรูป ๒๘ นั่นเอง ปวัตติ แปลว่า ความเป็นไป หรือ การเกิดดับ กมะ แปลว่า ลำดับ นัย แปลว่า แนว ดังนั้น รูปปวัตติกมนัย ก็แปลว่า แนวแห่งความเป็นไปตามลำดับของรูปธรรม หรือแนวแห่งการเกิดดับของรูปธรรม
รูปปวัตติกมนัย แสดงถึงนัยและแนว ๓ อย่าง คือ ๑. ตามนัยแห่งภูมิ ๒. ตามนัยแห่งกาล ๓. ตามนัยแห่งกำเนิด

๑. ตามนัยแห่งภูมิ หมายถึง ๒๗ ภูมิ คือ
ก. กามภูมิ ๑๑ ภูมิ
ข. รูปภูมิ ๑๕ ภูมิ
ค. อสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ ซึ่งทั้ง ๒๗ ภูมิที่มีรูปธรรมทุกภูมิ มากบ้างน้อยบ้าง ตามควรแก่ภูมินั้น ๆ
ส่วนอรูปภูมิอีก ๔ ภูมิ ไม่ได้กล่าวถึงด้วย เพราะในอรูปภูมินั้น ไม่มีรูปธรรม เลยแม้แต่สักรูปเดียว

๒. ตามนัยแห่งกาล หมายถึง ๓ กาล ดังนี้ คือ
ก. ปฏิสนธิกาล หมายถึง การสืบต่อภพสืบต่อชาติ เวลาที่เกิดต่อภพต่อ ชาติใหม่อีก
ข. ปวัตติกาล หมายถึง การทรงอยู่ เวลาที่ตั้งอยู่ในภพนั้น ชาตินั้น
ค. จุติกาล หมายถึง การเคลื่อนย้ายไปจากภพนั้นชาตินั้น คือ การที่ดับ ไป เวลาที่ตายไปจากภพนั้น ชาตินั้น

๓. ตามนัยแห่งกำเนิด หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ ๔ กำเนิด คือ

ก. ชลาพุชกำเนิด บางทีก็เรียกว่า ชลัมพุชกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่เกิดใน ครรภ์
ข. อัณฑชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดในไข่ ชลาพุชกำเนิดกับอัณฑช กำเนิด รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด
ค. สังเสทชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากที่เปียกชื้น, เหงื่อ, ไคล, ยาง เหนียว, เกษรดอกไม้ เป็นต้น
ง. โอปปาติกกำเนิด บางทีก็เรียกว่า อุปปาติกกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่ ไม่ได้เกิดมาจากกำเนิดทั้ง ๓ ที่กล่าวแล้ว แต่เกิดโดยผุดหรือโผล่ขึ้น มาครบรูปกายใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใด เหมือนกับว่าบินมาจาก ภพเก่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนัยแห่งภูมิ
ในภูมิใดรูปจะเกิดได้กี่รูป หรือ ในภูมิใดจะมีรูปได้กี่รูป กล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ยังไม่จำแนก ตามนัยแห่งกาล
และตามนัยแห่งกำเนิด ของสัตว์ในภูมินั้น ๆ แล้วมี ดังนี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๑ แสดงว่า

๑๑. อฏฺฐวีสติ กาเมสุ โหนฺติ ตวีส รูปิสุ
สตฺตตรเสว อสญฺญีนํ อรูเป นตฺถิ กิญจีปิ ฯ


แปลความว่า ในกามภูมิ ย่อมเกิดรูปได้ทั้ง ๒๘ รูป ในรูปภูมิย่อมเกิดรูปได้ ๒๓ รูป,
ใน อสัญญสัตตภูมิ ย่อมเกิดรูปได้เพียง ๑๗ รูป, ในอรูปภูมิไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย

อธิบาย

๑. ในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ รูปทั้ง ๒๘ รูป เกิดได้ครบ แต่ถ้ากล่าวโดยบุคคล แต่ละบุคคลแล้ว
ถ้าเป็นอิตถีเพศ ก็ต้องเว้นปุริสภาวรูป และถ้าเป็นบุรุษเพศ ก็ต้อง เว้นอิตถีภาวรูป เป็นอันว่าบุคคล
ในกามภูมิแต่ละบุคคล มีรูปบุคคลละ ๒๗ รูป แต่บางบุคคลอาจจะบกพร่อง มีไม่ถึง ๒๗ รูปก็ได้
เช่น ตาบอด ก็ไม่มี จักขุปสาทรูป หูหนวกก็ไม่มีโสตปสาทรูป เป็นต้น ไม่เหมือนกับพรหมบุคคล

๒. ในรูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีรูปเกิดได้เพียง ๒๓ รูป เท่านั้น โดยเว้น ฆานปสาทรูป ,
ชิวหาปสาทรูป ,กายปสาทรูป ,อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป
ที่เว้น ปสาทรูป ๓ และภาวรูป ๒ นั้น เพราะรูปทั้ง ๕ รูปนี้เป็นรูปที่เป็น ปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิด
กามคุณอารมณ์เป็นส่วนมาก อันล้วนแต่เป็นโทษอย่าง เดียวพรหมบุคคลเป็นผู้ที่ปราศจากกามฉันทะ
ดังนั้นรูปทั้ง๕จึงไม่เกิดมีแก่พวกพรหม ส่วนจักขุปสาทรูปและโสตปสาทรูปเกิดมีแก่พวกพรหมได้
เพราะปสาทรูป ทั้ง ๒ นี้ มิใช่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดกามคุณอารมณ์ที่จะเป็นโทษแต่อย่างเดียว ย่อมมี
คุณประโยชน์เป็นอย่างยิ่งได้อีกด้วย กล่าวคือ

นัยน์ตาก็เป็นประโยชน์ในการที่ได้เห็น ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ หูก็มีประโยชน์ในการที่จะได้ฟังธรรม
อันประเสริฐ ถึงกับได้ รับความยกย่อง เรียกว่าเป็นทัสสนานุตตริยคุณ และ สวนานุตตริยคุณ คือ
เป็นคุณ อย่างล้นพ้นแก่การเห็น เป็นคุณอย่างล้นพ้นแก่การฟัง ดังนั้น พรหมจึงยังคงมี
จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูปอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมในรูปภูมิทั้ง ๑๕ ภูมินี้ แต่ละบุคคลมีรูปครบทั้ง ๒๓ รูป ทั่วทุกบุคคล ไม่มีขาดตกบกพร่อง
เหมือนบุคคลในกามภูมิ ดังที่กล่าวแล้วในข้อ ๑ คือ ไม่มีพรหม ตาบอด พรหมหูหนวก แต่นัยน์ตา
ของพรหมทำให้เห็นใด้ไกลมากจนถึงขนาดเป็น ตาทิพย์ และหูของพรหมก็ทำให้ได้ยินได้ไกลมาก
จนถึงขนาดเป็นหูทิพย์

๓. ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ นั้น มีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป คือ อวินิพ โภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑,
ปริจเฉทรูป ๑, วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔

๔. ส่วน อรูปภูมิทั้ง ๔ ภูมิ นั้น ไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้เพราะท่านเจริญ รูปวิราคภาวนา คือ ไม่ยินดี
และไม่ปรารถนาจะมีรูป

๕. ที่กล่าวตามข้อ ๑-๔ เป็นการกล่าวตามจำนวนรูปธรรมเรียงเป็นรูป ๆ ไป ข้อต่อไปจะกล่าวเป็น
กลาป ๆ คือ เป็นกลุ่ม ๆ เป็นมัด ๆ แต่ในข้อนี้จะแสดง การเกิดขึ้นของรูปกลาปของมนุษย์ที่ยังอยู่
ในครรภ์มารดาก่อน ดังนี้

ปฏิสนธิจิต เป็นจิตดวงแรกที่สืบเนื่องต่อภพต่อชาติใหม่ ที่อุปาทขณะของ ปฏิสนธิจิตนี้ มี
กัมมชกลาป ๓ กลาป ได้แก่
กายทสกกลาป หทยทสกกลาป ภาวทสกกลาป

ปฏิสนธิจิต ที่ฐีติขณะ มีอุตุชกลาป เริ่มเกิด

ภวังคจิต เป็นจิตดวงที่ ๒ ในภพใหม่ และเป็นภวังคจิตดวงแรก ในภพใหม่ นั้น ที่อุปาทขณะของ
ปฐมภวังคจิตนี้ จิตตชกลาปเริ่มเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังคจิต เป็นจิตดวงที่ ๒ ในภพใหม่ และเป็นภวังคจิตดวงแรก ในภพใหม่ นั้น
ที่อุปาทขณะของปฐมภวังคจิตนี้ จิตตชกลาปเริ่มเกิด

๑. กลลสตฺตาห เป็นน้ำใส ๑ สัปดาห์ เกิด กายทสกกลาป, หทยทสก กลาป, ภาวทสกกลาป,
อุตุชกลาป และจิตตชกลาป (เป็นหยาดน้ำใส เหมือนน้ำมันงา)
๒. อมฺพุชสตฺตาห เป็นฟองน้ำ ๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือน น้ำล้างเนื้อ)
๓. เปสิสตฺตาห เป็นเมือกไข ๑ สัปดาห์ อาหารชกลาปเริ่มเกิด (มีลักษณะ เหมือนชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง)
๔. ฆนสตฺตาห เป็นก้อนไข ๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐาน เหมือนไข่ไก่)
๕. ปสาขสตฺตาห เกิดปุ่มทั้งห้า ๑ สัปดาห์ (ได้แก่ แขน๒ ขา๒ ศีรษะ๑)
๖. ปริปากสตฺตาห ขยายตัว ๕ สัปดาห์ สัปดาห์ที่ ๖ ชีวิตนวกกลาป เริ่มเกิด
๗. จกฺขาทิสตฺตาห อายตนะเกิด ๑ สัปดาห์ เกิดจักขุทสกกลาป, ฆาน ทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป
๘. ปริปากสตฺตาห เจริญเติบกล้า ๓๐ สัปดาห์
๙. เกสาทิสตฺตาห โกฏฐาสเกิด ๑ สัปดาห์ (ตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๑๒ ถึง ๔๒ ผม ขน เล็บ ก็ปรากฏตามลำดับ)
รวม ๔๒ สัปดาห์ x ๗ วัน = ๒๙๔ วัน
๖. ในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ มีกลาปเกิดได้ครบทั้ง ๒๑ กลาปคือ กัมมชกลาป ๙, จิตตชกลาป ๖,
อุตุชกลาป ๔, อาหารกลาป ๒
แต่ละบุคคลก็ต้องเว้น อิตถีภาวทสกกลาป หรือปุริสภาวทสกกลาป ตามควร แก่บุคคล และถ้าบุคคลใด
มีความบกพร่อง เช่น ตาบอด หูหนวก ก็ต้องเว้นจักขุ ทสกกลาป โสตทสกกลาป ตามควรแก่ที่สัตว์นั้น
บกพร่อง มีข้อควรสังเกตอยู่ว่า ความบกพร่องนี้มีเฉพาะในกัมมชกลาปเท่านั้น
๗. ในรูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีกลาปเกิดได้เพียง ๓ ประเภท เท่านั้น คือ กัมมชกลาป
จิตตชกลาป และ อุตุชกลาป ส่วนอาหารชกลาปไม่มี เพราะพรหมบุคคลไม่ต้องกลืนกินอาหาร

อนึ่ง กัมมชกลาป ๙ ก็เกิดได้เพียง ๔ กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป โสต ทสกกลาป หทยทสกกลาป
และ ชีวิตนวกกลาป ส่วนฆานทสกกลาป ชิวหาทสกกลาป กายทสกกลาป อิตถีภาวทสกกลาป และ
ปุริสภาวทสกกลาป รวม ๕ กลาปนี้ไม่มี
๘. ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ มีกลาปเกิดได้เพียง ๒ สมุฏฐาน คือ กัมมช กลาป และ อุตุชกลาป เท่านั้น
ส่วนจิตตชกลาปไม่มี เพราะอสัญญสัตตพรหมไม่มีจิต ด้วยท่านเจริญ สัญญา วิราคภาวนา อาหารชกลาป
ก็ไม่มี เพราะไม่ต้องกลืนกินอาหารเช่นเดียวกับพรหม ทั้งหลาย
อนึ่ง กัมมชกลาป ก็เกิดได้กลาปเดียวเท่านั้น คือ ชีวิตนวกกลาป ส่วนอุตุช กลาป เกิดได้ ๒ กลาป คือ
สุทธัฏฐกลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนัยแห่งกาล

กาลในที่นี้หมายถึง ปฏิสนธิกาล ปวัตติกาล และ จุติกาล
ปฏิสนธิกาล ในที่นี้หมายถึง อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตขณะเล็กขณะเดียว เท่านั้น แม้แต่ฐีติขณะ
และภวังคขณะของปฏิสนธิจิตก็ไม่นับเป็นปฏิสนธิกาล
ปวัตติกาล ในที่นี้นับตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้นไปจนถึงจุติจิต

จุติกาล ในที่นี้หมายถึงจุติจิต
ที่จะแสดงต่อไปนี้ว่า รูปใดเกิดได้และเกิดไม่ได้ในกาลไหนนั้น จะกล่าวโดย ย่อ ๆ ไปก่อน
ยังไม่จำแนกตามนัยแห่งกำเนิดของสัตว์ด้วยนั้น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๒ แสดงว่า

๑๒. สทฺโท วิการโร ชรตา มรณญฺโจปปตฺติยํ
น ลพฺภนฺติ ปวตฺเตตุ น กิญฺจิปิ น ลพฺภนฺติ ฯ


แปลความว่า สัททรูป วิการรูป ชรตารูป อนิจจตารูป ไม่เกิดในปฏิสนธิกาล แต่ใน ปวัตติกาลนั้น
รูปอะไร ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

๑) ในปฏิสนธิกาล สัททรูป ๑, วิการรูป ๓, วิญญัตติรูป ๒, ชรตารูป ๑, และอนิจจตารูป ๑
รวม ๘ รูปนี้ เกิดไม่ได้ เพราะในอุปาทขณะของปฏิสนธิจิตแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น เสียงยังไม่มี
การพูด การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ยังไม่มี รูปเบา รูปอ่อน รูปอันควรแก่การงาน รูปที่กำลังแก่
และรูปที่กำลังดับ ก็ยังมีไม่ได้ทั้งนั้น
นอกจาก ๘ รูปที่กล่าวแล้วนี้ รูปธรรมอีก ๒๐ รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕,
โคจรรูป ๓ (เว้นสัททรูป), ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, อาหารรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑,
อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑ นั้น เกิดได้ใน ปฏิสนธิกาล แต่ก็ต้องแล้วแต่กำเนิดของสัตว์
อีกโสดหนึ่งด้วย ว่ากำเนิดอย่างใดจะ ได้รูปเท่าไร ซึ่งจะกล่าวต่อเมื่อถึงการแสดงตามนัยแห่งกำเนิด
๒) ในปวัตติกาล รูปธรรม ๒๘ ย่อมเกิดได้ทั้งหมดตามควรแก่ภูมินั้น ๆ
๓) ในจุติกาล รูปเหล่านี้เกิดไม่ได้ คือ
ก. รูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป กัมมชกลาป ทั้งหมด
ข. รูปที่เกิดจากจิต คือ จิตตชรูป จิตตชกลาป เฉพาะในจุติจิตของพระ อรหันต์

ส่วนที่เกิดได้ในจุติกาล คือ
ก. จิตตชรูป จิตตชกลาป ของจุติจิตแห่งสัตว์ในปัญจโวการภูมิ ที่ มิใช่พระอรหันต์
ข. อุตุชรูป อุตุชกลาป เกิดได้เรื่อยไป แม้จนกระทั่งในซากศพ
ค. รูปที่เกิดจากอาหาร คือ อาหารชรูป อาหารชกลาป ตามนัยแห่งกำเนิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนัยแห่งกำเนิด

กำเนิด บาลีว่า โยนิ หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายอีกนัยหนึ่งหมายความว่า
ที่ปฏิสนธิวิญญาณ อาศัยเกิด หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดมี ๔ อย่าง

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดในมดลูก คลอดออกมา เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ
โตขึ้นตามลำดับสัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)
จ. อสุรกาย
ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เป็นภุมมัฏฐ เทวดา
คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่
ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา และเวมานิกเปรต เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิ
ด้วยอุเบกขา สันตีรณกุสลวิบากเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อัณฑชกำเนิด คือเกิดในฟองไข่ ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน
แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอดออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ
สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่งเป็นลูกของโกตนกินรี
เมื่อเกิดมาทีแรกออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้ว จึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิด
ในครรภ์มารดาเหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมาเป็นตัวเลย หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน
แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง
อาศัยบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้
ดอกบัว โลหิต หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึงค่อย ๆ เติบโตขึ้นมา
สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด ได้แก่

ก. มนุษย์ (เช่น นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิดจาก ต้นไผ่ นางปทุมวดี
เกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีรวม ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย ทีเดียว
ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด อาศัยอดีตกรรมอย่าง เดียว
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัปป์
ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
ค. พรหมทั้งหมด
ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย
จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ
ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ
จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ
รวม ๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔

๖. เทวดาชั้นต่ำ (เทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่เป็นภุมมัฏฐเทวดา) มีกำเนิดได้ เพียง ๓ คือ
ชลาพุชกำเนิด อัณฑชกำเนิดและสังเสทชกำเนิด เท่านั้น

๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ๕ ภูมิ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ นิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ภูมิ
และสัตว์นรก ๑ ภูมิ มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ โอปปาติกกำเนิด

๘. ชลาพุชกำเนิด และ อัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด นั้น
ย่อมเกิดได้เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๓ กลาป คือ กายทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาปมีรูป ๑๐ รูป
และภาวทสกกลาป (กลาปใดกลาปเดียว)มีรูป ๑๐ รูป รวม ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป
แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้เพียง ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑,
กายปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, อิตถีภาวรูปหรือ ปุริสภาวรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑,
และสันตติรูป ๑ รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๑๓ รูป คือ ปสาทรูป ๔ (เว้นกายปสาทรูป),
สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, และ อนิจจตารูป ๑

ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย รูปก็เกิดได้ทุกกลาป คือ กัมมชกลาป ๘ (เว้นอิตถีภาวทสกกลาป
หรือปุริสภาวทสกกลาป กลาปใดกลาปหนึ่ง), จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารชกลาป ๒,
แต่เมื่อนับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้ครบทั้ง ๒๗ รูป คือ ต้องเว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. สังเสทชกำเนิด และ โอปปาติกกำเนิด ถ้าเกิดในกามภูมิ ในปฏิสนธิกาล ก็มีกัมมชกลาป
เกิดได้ทั้ง ๘ กลาป (เว้นภาวทสกกลาปเสีย ๑ กลาป เพราะคงมีได้แต่เพียงกลาปเดียว)
รวม ๗๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่ นับ) ก็ได้ ๑๙ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑,
ปสาทรูป ๕, หทยรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑
รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๙ รูป คือ สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒,
วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑

ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย ก็มีรูปเกิดได้ครบทั้ง ๒๗ รูป (เว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป)
อนึ่ง โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในกามภูมิ เฉพาะสัตว์นรก และนิชฌามตัณหิก เปรตนั้น
ภาวรูปไม่มีทั้ง ๒ รูป เพราะสัตว์ ๒ จำพวกนี้ ไม่มีเพศ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๔ กลาป คือ จักขุทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, โสตทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป,
หทยทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป รวมเป็น ๓๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ)
แล้วคงได้ ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, จักขุปสาทรูป ๑, โสตปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑,
ปริจ เฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, สันตติรูป ๑

ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑ รวม ๘ รูป ส่วนรูปที่มีไม่ได้ เกิดไม่ได้เลย ไม่ว่าในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนั้น คือ ฆานปสาทรูป ๑,
ชิวหาปสาทรูป ๑, กายปสาทรูป ๑ ,ภาวรูป ๒ รวม ๕ รูป

๑๑. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ นั้น
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้กลาปเดียว คือ ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ แต่เมื่อนับรูปทั้งหมดแล้ว ก็ต้องนับปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑
และสันตติ รูป ๑ ซึ่งไม่นับเป็นองค์ของกลาปนั้นเพิ่มเข้าไปอีกด้วย จึงเป็นรูปที่เกิดได้ใน
ปฏิสนธิกาล เป็นจำนวน ๑๒ รูป
ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก ๕ รูป คือ วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑ และ อนิจจตารูป ๑

๑๒. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอรูปพรหมนั้น ไม่มีรูปเกิดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน

ปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง คือ
๑. จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต
๓. รูป เป็นธรรมชาติที่แตกดับด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกแก่กัน
๔. นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา
ทั้ง ๔ นี้ เป็นปรมัตถ เป็นของจริง มีจริง ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลง มีลักษณะ พิเศษเฉพาะตัวทรงสภาพ
ของตนเองไว้ ไม่เสื่อมสลาย ธรรมชาติใดที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะ ของตนเองไม่เสื่อมสลายไป ธรรมชาติ
นั้นเรียกว่า " ปรมัตถ " ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม คือ ธรรมอันประเสริฐยิ่ง ที่ว่าประเสริฐยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่มีอยู่ จริง เป็นธรรมที่เป็นจริง
ปรมัตถธรรม คือ ธรรมที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตแปรผัน

อภิธรรม กล่าวถึงปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
จิต เจตสิก และรูป ได้กล่าวมาแล้ว บัดนี้จะกล่าวถึง นิพพาน
รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
จิต และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม
และเป็นนามขันธ์ด้วย
นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูป เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน และก็เป็นนามธรรม
เช่นเดียวกัน แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์ หรือที่จัดเป็นขันธ์
จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑ อย่าง คือ ขันธ์ เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงไม่เป็นขันธ์

ขันธ์ เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น พหิทธะ แต่อย่างเดียว
จึงไม่เป็นขันธ์ ขันธ์ เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ แต่อย่าง
เดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
เมื่อ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน พ้นจากกาล
ทั้ง ๓ ด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ

จิต เจตสิก รูป นั้นเป็นสังขตธรรม เป็นธรรมที่ต้องมีปัจจัยมีสิ่งที่มาปรุง แต่ง จึงจะเกิดมีเกิดเป็นไปได้
คือ จะต้องมี
(๑) อารมณ์ วัตถุ มนสิการ มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดจิตและเจตสิก
(๒) กรรม จิต อุตุ อาหาร มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดรูป
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นามขันธ์นั้นเกิดจากอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ส่วนรูปขันธ์นั้นเกิดจาก
กรรม จิต อุตุ อาหาร
ส่วน นิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวง ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อสังขตธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร