วันเวลาปัจจุบัน 11 ก.ย. 2024, 12:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 46.57 KiB | เปิดดู 6915 ครั้ง ]
สรุปสมุฏฐานิกรูป

มหาภูตรูป ๔ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

ปสาทรูป ๕ เกิดจาก กรรม

โคจรรูป ๓ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

สัททรูป ๑ เกิดจาก จิต อุตุ

ภาวรูป ๒ เกิดจาก กรรม

หทยรูป ๑ เกิดจาก กรรม

ชีวิตรูป ๑ เกิดจาก กรรม

อาหารรูป ๑ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

ปริจเฉทรูป ๑ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

วิญญัตติรูป ๒ เกิดจาก จิต

วิการรูป ๓ เกิดจาก จิต อุตุ อาหาร

ลักขณรูป ๔ ไม่มีสมุฏฐานใดเลย
รวมรูป ๒๘ กรรมสมุฏฐาน ๑๘ จิตตสมุฏฐาน ๑๕ อุตุสมุฏฐาน ๑๓ อาหารสมุฏฐาน ๑๒

รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ๙ รูป คือ อินทรียรูป ๘ หทยรูป ๑
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ๒ รูป คือ วิญญัตติรูป ๒
รูปที่มี ๒ สมุฏฐาน คือ สัททรูป ๑
รูปที่มี ๓ สมุฏฐาน คือ วิการรูป ๓
รูปที่มี ๔ สมุฏฐาน คือ อวินิพโภครูป ๘ และ ปริจเฉทรูป ๑
รูปที่ไม่มีสมุฏฐาน คือ ลักขณรูป ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน ที่มีรูปร่างขึ้นมาได้ก็เพราะมีกัมมชรูปเป็นพื้นฐาน ก่อน จึงมีอุตุชรูปรักษาไว้
ไม่ให้เน่าเปื่อยไป เพราะมีอาหารชรูปหล่อเลี้ยงให้เจริญ เติบโต ดำรงคงอยู่ได้

ขันธ์ที่เกิดมาเพราะกรรมจะทรงอยู่ได้ก็ด้วยมีอาหารค้ำชูไว้ หมายความว่า
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม แต่ดำรงคงอยู่ได้ด้วยอาหาร

ครั้งเมื่อถึงแก่ความตาย กัมมชรูปและอาหารชรูปก็ดับหมดสิ้นตามไปด้วย
แต่ อุตุชรูป ยังคงปรากฏแก่ซากนั้นตลอดไป

ส่วนจิตตชรูปนั้น ต้องอาศัยกัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ทั้ง ๓ นี้
เป็นที่ตั้ง จึงจะเกิดได้ หมายความว่า จิตตชรูปต้องอาศัยรูปร่างกายของสัตว์
ที่มีวิญญาณ เกิดขึ้น ถ้าไม่มีรูปร่างกายแล้ว จิตตชรูปก็เกิดไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


สมุฏฐานของอาการ ๔๒
อาการ ๔๒ ของมนุษย์ ก็คือ
สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการ,
สสัมภารอาโป ๑๒ อาการ,
สสัมภารเตโช ๔ อาการ
และสสัมภารวาโยอีก ๖ อาการ
วิเสสลักขณะ ของปฐวี อาโป เตโช วาโย ได้กล่าวแล้ว
ในที่นี้จะแสดงอาการ ๔๒ นี้ว่าเกิด จากกรรม หรือ จิต หรือ อุตุ หรือ อาหาร เป็นสมุฏฐาน

๑. สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการนั้น เฉพาะ อุทฺริยํ อาหารใหม่ กรีสํ อาหารเก่า รวม ๒ อาการนี้
มีอุตุเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว ส่วนที่เหลืออีก ๑๘ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔

๒. สสัมภารอาโป ๑๒ อาการนั้น เฉพาะ ปุพฺโพ น้ำหนอง, มุตฺตํ น้ำมูตร รวม ๒ อาการนี้
มีอุตุเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
เสโท เหงื่อ, อสฺสุ น้ำตา, เขโฬ น้ำลาย, สิงฺฆาณิกาน้ำมูก, รวม ๔ อาการ นี้
มีจิตกับอุตุเป็นสมุฏฐาน คือ มีสมุฏฐาน ๒ อย่าง
ส่วนที่เหลืออีก ๖ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔

๓. สสัมภารเตโช ๔ อาการนั้น เฉพาะปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหาร (ไฟธาตุ) นี้
มีกรรมเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว ส่วนที่เหลืออีก ๓ คือ อุสมาเตโช ชิรณเตโช สนฺตาปนเตโช นั้น
มี สมุฏฐานทั้ง ๔

๔. สสัมภารวาโย ๖ อาการนั้น เฉพาะ อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้า หายใจออก
มีจิตเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว

ส่วนที่เหลืออีก ๕ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔ สรุป ในอาการ ๔๒ นี้
ก. มีกรรม เป็นสมุฏฐาน มี ๑ คือ ปาจกเตโช
ข. มีจิต เป็นสมุฏฐาน มี ๑ คือ อสฺสาสปสฺสาสวาโย
ค. มีอุตุ เป็นสมุฏฐาน มี ๔ คือ อุทฺริยํ (อาหารใหม่), กรีสํ (อาหารเก่า), ปุพฺโพ(น้ำหนอง), มุตฺตํ (น้ำมูตร)
ง. มีจิต และอุตุ เป็นสมุฏฐาน(มี ๒ สมุฏฐาน) มี ๔ คือ เสโท (เหงื่อ), อสฺสุ (น้ำตา), เขโฬ (น้ำลาย),
สิงฺฆาณิกา(น้ำมูก)
จ. มีกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฏฐาน (มีสมุฏฐาน ๔) มี ๓๒ ได้แก่ อาการที่เหลือ ๓๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


นัยที่ ๔ รูปกลาป

รูปกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดขึ้นเป็นหมวด, หมู่, มัด ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้ ให้ความหมายของรูปกลาปว่า กลาปิยนฺติ เอตฺถาติ กลาปาฯ แปลว่า ธรรมชาติที่ นับเป็นหมวด ๆ เป็นคณะนั้น เรียกว่า " กลาป "
หมายความว่า รูปกลาป คือ รูปที่อยู่ร่วมกัน เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นมัด เป็นคณะ เป็นกลุ่ม เป็นก้อน
รูปที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ที่อาศัยร่วมกัน และเป็นที่รวมแห่งองค์ ทั้ง ๓ ซึ่งได้นามว่า รูปกลาป นั้น มีอยู่รวม ๒๑ กลาป
หมายความว่า รูปที่อยู่ร่วมกันอันได้ชื่อว่าเป็นรูปกลาปนั้น ต้องประกอบ พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. เกิดพร้อมกัน
๒. ดับพร้อมกัน
๓. มีที่อาศัยพร้อมกัน
๔. ต้องเป็นที่รวมแห่งองค์ทั้ง ๓ นี้ด้วย

ดังนี้จะเห็นได้ว่า ลักษณะของรูปกลาปเป็นไปในทำนองเดียวกันกับจิตและ เจตสิก คือ จิตเจตสิกต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุที่อาศัยอันเดียวกัน และ มีอารมณ์เดียวกันด้วย รวมเป็นองค์ ๔ รูปกลาปก็เหมือนกัน ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวแล้ว จึงจะได้ชื่อว่า รูปกลาป
รูปธรรมใด มีลักษณะไม่ครบองค์ ๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รูปธรรมนั้นก็ไม่เรียกว่า รูปกลาป
รูปกลาปนี้มีอยู่ ๒๑ กลาป ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงไว้ว่า

๘. กมฺมจิตฺโตตุกาหาร สมุฏฐานา ยถากฺกมํ
นว ฉ จตุโร เทฺวติ กลาปา เอกวีสติ ฯ


รูปกลาปนี้มีอยู่ ๒๑ กลาป เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฏฐาน มี จำนวน ๙, ๖, ๔ และ ๒ ตามลำดับ หมายความว่า กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมอันมีชื่อว่ากัมมชรูปกลาป หรือกัมมช-กลาป นั้นมี ๙ กลาป หรือ ๙ กลุ่ม ๙ มัด
กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต อันมีชื่อว่า จิตตชรูปกลาป หรือ จิตตชกลาป นั้นมี ๖ กลุ่าป หรือ ๖ กลุ่ม

กลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ อันมีชื่อว่าอุตุชรูปกลาป หรืออุตุชกลาป นั้นมี ๔ กลาป
กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหารอันมีชื่อว่า อาหารชรูปกลาป หรือ อาหารชกลาป นั้นมี ๒ กลาป
รวมทั้งหมดเป็น ๒๑ กลาป
ในรูปกลาปทั้ง ๒๑ กลาปนี้ เมื่อนับจำนวนรูปธรรมแล้ว รวมได้รูปธรรม เพียง ๒๓ รูป เว้นอยู่ ๕ รูป คือ
ปริจเฉทรูป ๑ และลักขณรูป ๔
ที่เว้น ปริจเฉทรูป ๑ ลักขณรูป ๔ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า

๙. กลาปนํ ปริจฺเฉท ลกฺขณตฺตา วิจกฺขณา
น กลปงฺค มิจฺจาหุ อากาสํ ลกฺขณานิจ ฯ


แปลความว่านั้น ก็เพราะว่า ปริจเฉทรูป และลักขณ รูปทั้งหลาย ไม่เป็นองค์แห่งกลาป อากาศก็เป็นเพียงที่กำหนด (ปริจเฉทรูป) ลักขณ รูปก็เป็นเพียงเครื่องหมายของกลาปเท่านั้นเอง
หมายความว่า ที่เว้นปริจเฉทรูป ๑ เพราะว่า อากาศ คือ ปริจเฉทรูปนี้ เป็นรูปที่กำหนดขอบเขตระหว่างรูปกลาปต่อ รูปกลาป เป็นแต่เพียงส่วนคั่นของรูปกลาป ดังนั้นจึงไม่นับเป็นองค์ของกลาป
และที่เว้นลักขณรูป ๔ ก็เพราะว่า ลักขณรูปเป็นเพียงรูปอันเป็นเครื่องหมาย ของรูปกลาปเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่นับเป็นองค์ของกลาป เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


กัมมชกลาป ๙

๑. จักขุทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๒. โสตทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๓. ฆานทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๔. ชิวหาทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ รวม ๑๐รูป
๕. กายทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ กายปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๖. อิตถีภาวทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ อิตถีภาวรูป ๑ รวม ๑๐รูป
๗. ปุริสภาวทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปุริสภาวรูป ๑รวม ๑๐ รูป
๘. หทยทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ หทยรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๙. ชีวิตนวกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป

อวินิพโภครูป ๘ เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ประกอบด้วยรูป ๘ รูป ได้แก่
ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย, วัณณะ, คันธะ, รสะ, โอชา อวินิพโภครูปนี้
เมื่อกล่าวตามนัยแห่งรูปกลาปแล้ว มีชื่อว่า อัฏฐกกลาป หรือ สุทธัฏฐกกลาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




Human_svg.png
Human_svg.png [ 132.82 KiB | เปิดดู 6914 ครั้ง ]
ฐาน (คือที่ตั้ง) ของกัมมชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ในแต่ละส่วนของร่างกาย มีกัมมช กลาปเกิดได้ดังนี้

ก. อุปริมกาย คือ กายส่วนบน นับตั้งแต่ลูกกระเดือกขึ้นไป มีกัมมชกลาป ตั้งอยู่ถึง ๗ กลาป ได้แก่
๑. จักขุทสกกลาป ๒. โสตทสกกลาป
๓. ฆานทสกกลาป ๔. ชิวหาทสกกลาป
๕. กายทสกกลาป ๖. ภาวทสกกลาป
๗. ชีวิตนวกกลาป

ข. มัชฌิมกาย กายส่วนล่าง นับตั้งแต่ลูกกระเดือกลงมาจนถึงสะดือ มี กัมมชกลาปตั้งอยู่ ๔ ได้แก่
๑. หทยทสกกลาป ๒. กายทสกกลาป
๓. ภาวทสกลาป ๔. ชีวิตนวกกลาป

ค. เหฎฐิมกาย คือ กายส่วนต่ำ นับตั้งแต่สะดือลงไป มีกัมมชกลาปตั้งอยู่ ๓ กลาป ได้แก่
๑. กายทสกกลาป ๒. ภาวทสกกลาป
๓. ชีวิตนวกกลาป

ดังนี้จะเห็นได้ว่า กายทสกกลาป ๑, ภาวทสกกลาป ๑, ชีวิตนวกกลาป ๑ รวม ๓ กลาปนี้ มีฐานที่ตั้งอยู่ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ มีอยู่ตลอดตัว มีอยู่ทั่วทั้งตัว จึงได้ชื่อว่าเป็น สัพพฐานิกกลาป มีความหมายว่า เป็นกลาปที่มี ฐานที่ตั้งอยู่ทั่วไป
ส่วนกลาปนอกนั้นอีก ๕ กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป, โสตทสกกลาป, ฆานทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป, หทยทสกกลาป มีฐานที่ตั้งอยู่เป็นบางแห่ง บางส่วนโดยเฉพาะ จึงมีชื่อว่า ปเทสกลาป มีความหมายว่า เป็นกลาปที่มีประเทศ ที่ตั้งอยู่โดยเฉพาะเป็นส่วนเป็นสัดของตน

จิตตชกลาป ๖

จิตตชกลาป ก็ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน การเกิดขึ้นของ กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต หรือ จิตตชกลาปนั้นเกี่ยวกับเสียงและการพูดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถอย่างหนึ่ง มีกลาปเกิดได้ ๖ กลาป ดังนี้

๑. สุทธัฏฐกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. กายวิญญัตตินวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ กายวิญญัตติ ๑ รวม ๙ รูป
๓. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วจีวิญญัตติ ๑ และ สัททรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป
๕. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ และ กายวิญญัตติ ๑ รวม ๑๒ รูป
๖. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ วจีวิญญัตติ ๑ สัททรูป ๑ รวม ๑๓ รูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของจิตตชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดขึ้นจากจิต เกิดในเวลาที่ไม่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว
ไม่เกี่ยวกับการพูดหรือการออกเสียง แต่เกิดขึ้นในขณะที่จิตใจ อ่อนเพลีย ไม่เข้มแข็ง
ในขณะที่เสียใจ หรือโกรธ มีลักษณะอาการหน้าซีด หน้า แดง หรือ ในขณะที่เกลียด กลัว
มีลักษณะขนลุกขนพอง เป็นต้น

๒. กายวิญญัตตินวกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อเวลาเคลื่อน ไหวร่างกายต่าง ๆ
ที่ไม่เป็นปกติ คือ เวลาจิตใจอ่อนเพลีย ไม่เข้มแข็ง การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การคู้
เหยียด เหลียวซ้าย แลขวา เดินหน้า ถอยหลัง กระพริบตา เป็นต้น จะเป็นไปอย่างเชื่องช้า
หนักหน่วง ไม่คล่องแคล่ว

๓. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อเวลาพูด ใช้เสียงอ่านหนังสือ
ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น ที่ไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ในเวลาที่รู้สึกไม่สบาย หรือในเวลาที่จิตใจ
หดหู่ท้อถอย ไม่เต็มใจพูด ไม่เต็มใจอ่าน เป็นต้น

๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดในเวลาที่ไม่ได้เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหว ไม่เกี่ยว
กับการพูด หรือ การออกเสียง แต่เกิดในขณะที่จิตใจสบาย เข้มแข็ง ในขณะที่ดีใจ มีลักษณะ
อาการหน้าตาแจ่มใสชื่นบาน ในขณะที่ปีติเกิดมี ลักษณะอาการขนลุกขนพอง เป็นต้น

๕. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อ เวลาเคลื่อนไหว
ร่างกายต่าง ๆ ขณะที่มีจิตใจเข้มแข็ง สะดวกสบาย เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอนจะเต็ม
ไปด้วยความคล่องแคล่ว สะดวกสบาย ไม่หนักหน่วง

๖. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิด เมื่อเวลาพูด
เวลาอ่านหนังสือ ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น เป็นไปตามปกติ หรือในเวลาที่จิตใจสบาย
การพูด การอ่าน ก็เป็นไปได้โดยสะดวก และ คล่องแคล่ว ไม่หนักหน่วง มีความเบา ความอ่อน
ความควร ตลอดเวลาที่ใช้เสียง น้ำเสียงจะ แจ่มใสชัดเจน ไม่แหบเครือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตชกลาป กับ จิตตชรูป

จิตตชรูป คือรูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ รูป ได้แก่
๑. มหาภูตรูป ๔ (ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย)
๒. วิสยรูป ๔ (วัณณะ, สัททะ, คันธะ, รสะ)
๓. อาหารรูป ๑
๔. ปริจเฉทรูป ๑
๕. วิญญัตติรูป ๒ (กายวิญญัตติ, วจีวิญญัตติ)
๖. วิการรูป ๓ (ลหุตา, มุทุตา, กัมมัญญตา)

ส่วน จิตตชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต มีจำนวน ๑๔ รูป คือ จิตตชรูป ๑๕ นั่นเอง เว้นปริจเฉทรูปเสีย ๑ จึงเหลือ ๑๔ รูปที่เหลือ ๑๔ รูปนี่แหละคือ จิตตชกลาป
จิตตชรูปก็ดี จิตตชกลาปก็ดี เกิดมีได้กับสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ เท่านั้น และเกิดกับ จิตเพียง ๗๕ ดวง ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) กามโสภณจิต ๒๔ มหัคคตจิต ๒๓ (เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔) โลกุตตรจิต ๘

จิตตชกลาป ลำดับที่ ๑ คือ สุทธัฏฐกกลาป นั้น เกิดได้ในจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปวิบาก ๔) จิตตชกลาป ลำดับที่ ๒ คือ กายวิญญัตตินวกกลาป, ลำดับที่ ๓ คือ วจี วิญญัตติสัทททสกกลาป, ลำดับที่ ๕ คือกายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป และ ลำดับที่ ๖ คือ วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป รวม ๔ กลาปนี้เกิดได้ในจิต ๓๒ ดวง ได้แก่

มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙ (อกุสล ๑๒, มหากุสล ๘, หสิตุปปาทะ ๑, มหากิริยา ๘)
อภิญญาจิต ๒ (โลกียอภิญญา , โลกุตตรอภิญญา)

จิตตชกลาป ลำดับที่ ๔ คือ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป นั้น เกิดได้ในจิต ๕๘ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
อภิญญาจิต ๒
อัปปนาชวนจิต ๒๖ (รูปาวจร ๑๐ เว้นรูปาวจรวิบาก ๕, อรูปวจร ๘ เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔, โลกุตตร ๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ฐานของจิตตชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในอุปริมกาย คือ ในร่างกายส่วนบน มีจิตตชกลาปเกิดได้ทั้ง ๖ กลาป
ใน มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกาย คือ ในร่างกายส่วนกลางและส่วนต่ำนั้น มีจิตตชกลาป เกิดได้เพียง ๔ กลาป ได้แก่

สุทธัฏฐกกลาป
กายวิญญัตตินวกกลาป
ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป

อายุของจิตตชกลาป

จิตตชกลาปนี้ เกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต จึงมีอายุเพียง ๓ ขณะเล็ก เท่านั้น คือ เท่ากับอายุของจิตดวงหนึ่งปัญหามีอยู่ว่า มีอายุ ๓ ขณะเล็กเฉพาะกายวิญญัตติรูป ๑ และ วจีวิญญัตติ รูป ๑ รวม ๒ รูป เท่านี้ หรือว่าดับไปพร้อมกันรวมทั้งกลาปทีเดียว

เมื่อมีหลักฐานได้กล่าวมาแล้วว่า รูปธรรมใดเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีที่อาศัยร่วมกัน และมีสภาพเป็นที่รวมแห่งองค์ทั้ง ๓ นั้นด้วย จึงจะเรียกว่าเป็น รูปกลาป ถ้ารูปธรรมใดมีลักษณะไม่ครบองค์ทั้ง ๔ รูปธรรมนั้น ก็ไม่เรียกว่ารูป กลาป ดังนี้แล้ว เข้าใจว่า ต้องดับไปพร้อมกันรวมทั้งกลาปทีเดียว มิฉะนั้นจะเรียกว่า รูปกลาป อย่างไรได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อุตุชกลาป ๔
อุตุชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ มีอุตุเป็นสมุฏฐาน การเกิดขึ้นของกลุ่ม รูปที่เกิดจากอุตุนี้เรียกว่า อุตุชกลาป และอุตุชกลาปนี้ เกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิต สำหรับที่เกิดในสัตว์ที่มีชีวิตนั้นมี ๔ กลาป คือ

๑. สุทธัฏฐกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. สัททนวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ รวม ๙ รูป
๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป
๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ และ วิการรูป ๓ รวม ๑๒ รูป

ความหมายของอุตุชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป ได้แก่ ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง เพราะอุตุชกลาป นั้น เป็นกลาปที่เป็นพื้นรองรับกลาปอื่น ๆ อีกที่หนึ่ง ถ้าไม่มีอุตุชกลาปแล้ว กลาป อื่น ๆ ก็ไม่สามารถปรากฏได้ และสุทธัฏฐกกลาปนี้เกิดมีได้ทั้งภายนอก หมายถึง สิ่งที่ไม่มีชีวิต และเกิดมีได้ทั้งภายใน หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วย และสุทธัฏฐกกลาปนี้ เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์ไม่เป็นปกติ เช่น ป่วย ไม่สบาย อ่อนเพลีย เป็นต้น
สุทธัฏฐกกลาป ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ทั้งหลาย เช่น ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ย่อมมีสุทธัฏฐกกลาป คืออวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น
สุทธัฏฐกกลาป หรือ อวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต ก็คือ รูปร่าง กายตัวตนของสัตว์นี่เอง เพราะอุตุชกลาปนี้เป็นกลาปที่เป็นพื้นฐานในการรักษารูป เหล่านั้นมิให้เน่าเปื่อยไป ถ้าไม่มีอุตุชกลาปนี้แล้ว กลาปอื่น ๆ เช่น กัมมชกลาป เป็นต้น ก็ไม่สามารถปรากฏตั้งอยู่ได้
สุทธัฏฐกกลาปภายใน เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้น ๆ ไม่เป็นปกติ เช่น ในเวลาที่ไม่สบาย อ่อนเพลีย เป็นต้น สุทธัฏฐกกลาปนี้ เมื่อมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย ก็เรียกว่า ลหุตาทิเอกาทสก กลาป เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของสัตว์เป็นปกติสบายไม่อ่อนเพลีย มีความเบา ความ อ่อน ความควรเกิดขึ้น

๒. สัททนวกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดขึ้นจากอุตุ เกิดมีได้ทั้งภายนอกและ ภายใน คือ เกิดมีได้ทั้งในสิ่งที่ไม่มีชีวิต และในสิ่งที่มีชีวิต ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ เสียงลมพัด ฟ้าร้อง เสียงน้ำไหล เสียงคลื่น เสียงเรือ เสียงรถ เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง เป็นต้น
ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต คือ เสียงกรน เสียงท้องลั่น ท้องร้อง เสียงตบมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ชัดเจนนัก
สัททนวกกลาปนี้ เมื่อมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เรียกว่า สัททลหุตา ทิทวาทสกกลาป ได้แก่ เสียงต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว แต่เป็นเสียงที่ปรากฏชัด มีความแจ่มใส ชัดเจน นั่นเอง

๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ เกิดมีได้เฉพาะ แต่ภายใน คือ เกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น จึงจะมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว ไม่มีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย
ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้นๆ เป็นปกติ สบาย แข็งแรง หรือจะพูดว่า ถ้าเป็นปกติ สบาย แข็งแรง
หรือจะพูดว่า ถ้าเป็นปกติ สบาย แข็งแรง ก็มีทั้งสุทธัฏฐกกลาป คือ อวินิพ โภครูป ๘ และมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยรวมเป็น ๑๑ รูปด้วยกัน ถ้าเวลาที่ร่างกาย ไม่ปกติ คือ ไม่สบาย อ่อนเพลีย ก็มีแต่เพียงสุทธัฏฐกกลาป คือ อวินิพโภครูป ๘ เกิดขึ้นเท่านั้น

๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ เกิดมีได้แต่ เฉพาะภายใน คือเกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เพราะสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่สามารถ จะมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยได้เลยเป็นอันขาดที่เกิดมีได้แต่ในสิ่งที่มีชีวิตนั้น ก็ได้แก่ เสียงต่าง ๆ คือ เสียงกรน เสียงท้อง ลั่น ท้องร้อง เสียงตบมือ ดีดนิ้ว ฯลฯ ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ จะปรากฏชัด มีความ แจ่มใสชัดเจน
ในร่างกายของสัตว์ทั้ง ๓ ส่วนนั้น อุตุชกลาปย่อมเกิดได้ สำหรับสุทธัฏฐก กลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปนั้น เกิดประจำอยู่แล้ว ส่วนสัททนวกกลาป และสัททลหุตาทิทวาทสกกลาปนั้น เกิดเป็นบางเวลา ไม่ใช่ประจำ

อุตุชกลาป กับ อุตุชรูป

อุตุชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอุตุ มีจำนวน ๑๓ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑
ส่วนอุตุชรูปกลาป หรืออุตุชกลาปนี้ เป็นกลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุมีจำนวนรูป เพียง ๑๒ รูปเท่านั้นคือ อุตุชรูป ๑๓
หักด้วยปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งไม่เป็นองค์ของ กลาปออกเสีย คงเหลือ ๑๒ รูป รูปที่เหลือ ๑๒ รูปนี้ คือ อุตุชกลาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ฐานของอุตุชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ อุปริมกาย มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกายนั้น อุตุชกลาปเกิดได้
ทั้ง ๔ อย่าง หมายความว่า อุตุชกลาปทุกชนิดเกิดได้ทั่วตัวมนุษย์
สำหรับ สุทธัฏฐกกลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปนั้น เกิดเป็นประจำ อยู่ตามปกติ
ส่วน สัททนวกกลาป และสัททลหุตาทิทวาทสกกลาปนั้น ไม่ใช่เกิดประจำ แต่จะมา คือ
เกิดเป็นบางคราว บางเวลา

อาหารชกลาป ๒

อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร มีอาหารเป็นสมุฏฐาน และ อาหารชกลาปนี้
เกิดเฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ทั้งนี้เพราะอาหารชกลาปจะเกิดได้ นั้น ต้องอาศัยกัมมชโอชา
ที่อยู่ภายในกายสัตว์ช่วยอุดหนุนส่งเสริม เมื่อสัตว์นั้น กลืนกินอาหารเข้าไป จึงเกิดอาหารชกลาป
ขึ้นอีกที่หนึ่ง และ อาหารชกลาปนี้มี ๒ ชนิด คือ
๑. สุทธัฏฐกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป

ความหมายของอาหารชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป เกิดเมื่ออาหารต่าง ๆ ที่กลืนกินเข้าไปแล้วไม่ทำให้ ร่างกาย รู้สึกสดชื่น
ไม่กระปรี้กระเปร่า แต่กลับทำให้ไม่สบาย วิงเวียน คลื่นเหียน แน่น เป็นลม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร
หรือยาก็ตาม เมื่อกลืนลงไปแล้วไม่ทำให้ร่างกาย รู้สึกกระปรี้กระเปร่าเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะ
อาหารชกลาปที่เกิดจากอาหารนั้น ๆ ยังไม่ ประกอบด้วยวิการรูปทั้ง ๓ นั่นเอง

๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เกิดเมื่ออาหารต่าง ๆ หรือยาต่าง ๆ เมื่อกิน ลงไปแล้วทำให้ร่างกาย
รู้สึกมีอาการสดชื่น สบาย มีเรี่ยวแรง กระปรี้กระเปร่า ทั้งนี้ เพราะอาหารหรือยาเหล่านี้ ประกอบด้วย
วิการรูปทั้ง ๓ นั่นเอง
ข้อควรทราบ อาหารชกลาปทั้ง ๒ นี้เกิดภายนอกกายสัตว์ไม่ได้เพราะ อาหารชกลาป จะเกิดได้นั้น
ต้องอาศัยกัมมชโอชาที่อยู่ในร่างกายสัตว์เป็นผู้อุปการะ แก่โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ นั้นอีกทีหนึ่ง ฉะนั้นรูปกลาปที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ที่ ยังไม่ได้กลืนกินเข้าไปนั้นไม่ใช่อาหารชกลาป แต่เป็น
อุตุชกลาป ต้นไม้ที่เจริญเติบโตออกดอกออกผลได้นั้น ก็อาศัยดิน น้ำ และปุ๋ย และดิน น้ำ ปุ๋ย
เหล่านี้ ไม่ใช่อาหารชกลาป แต่เป็นอุตุชกลาป
การที่เราเข้าใจกันว่า ต้นไม้กินอาหารนั้น เป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องด้วยสภาว ธรรม แต่ถ้าจะเรียก
ตามโวหารของชาโลกก็ได้อยู่ ทั้งนี้เพราะ ดิน น้ำ หรือปุ๋ย ที่รดให้ต้นไม้นั้นย่อมซึมเข้าไปในลำต้น
โดยผ่านทางรากแก้ว และรากฝอยของต้นไม้ ที่เป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ถ้าจะเรียกต้นไม้
กินอาหาร ก็เรียกได้ตามโวหารของ ชาวโลกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปตามสภาวะของปรมัตถ
อนึ่งปริจเฉทรูป หรือ อากาศธาตุ ไม่นับเป็นรูปกลาป ก็เพราะว่า ปริจเฉทรูป เป็นเพียงแสดง
ขอบเขตของรูปกลาปแต่ละกลาปให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่องค์ธรรม ของปรมัตถแท้
ส่วนลักขณรูป ๔ ที่ไม่นับเป็นรูปกลาปก็เพราะ ลักขณรูป ๔ เป็น เพียงแสดงการเกิด การแก่
และการดับของรูปกลาป แต่ละกลาปให้ปรากฏเท่านั้น ไม่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ
จึงไม่นับเข้าเป็นองค์ของกลาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารชกลาป กับ อาหารชรูป

อาหารชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอาหาร มีจำนวน ๑๒ รูป คือ
อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓
ส่วนอาหารชกลาป นี้เป็น กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร มีจำนวนรูปเพียง ๑๑ รูป เท่านั้น คือ
อาหารชรูป ๑๒ หักด้วย ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งไม่เป็นองค์ของกลาป ออกเสีย คงเหลือ ๑๑ รูป
รูปที่เหลือ ๑๑ รูปนี้ คือ อาหารชกลาป

ฐานของอาหารชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ อุปริมกาย มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกาย นั้น
อาหารชกลาปทั้ง ๒ ชนิดนี้ เกิดได้ทั่วทุกส่วน

รูปกลาปในอาการ ๔๒

อาการ ๔๒ ของมนุษย์นั้น อาการใดมีรูปกลาปเท่าใด มีแสดงไว้ดังนี้

๑. สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการนั้น
ก. ในอาการ ๑๘ คือ เกสา=ผม, โลมา=ขน, นขา=เล็บ, ทนฺตา=ฟัน, ตโจ= หนัง,
มํสํ=เนื้อ, นหารู=เอ็น, อฏฺฐิ=กระดูก, อฏฺฐิมิญฺชํ=เยื่อในกระดูก, วกฺกํ=ม้าม, หทยํ=หัวใจ,
ยกนํ=ตับ, กิโลมกํ=พังผืด, ปิหกํ=ไต, ปปฺผาสํ=ปอด, อนฺตํ=ไส้ใหญ่, อนฺตคุนํ=ไส้น้อย,
มตฺถลุงคํ=มันสมอง (เว้น อุทฺริยํ=อาหารใหม่, กรีสํ=อาหารเก่า) มีรูปกลาป ๕ กลาป
เป็นจำนวน ๔๔ รูปคือ

กายทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
ภาวทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
รวมกัมมชกลาป ๒ กลาป มี ๒๐ รูป

จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๔๔ รูป

ข. ในอาการ ๒ คือ อุทฺริยํ อาหารใหม่ และ กรีสํ อาหารเก่า มีรูปกลาป ๑ กลาป
เป็นรูปเพียง ๘ รูป คือ อุตุสุทธัฏฐกกลาป เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สสัมภารอาโป ๑๒ อาการ นั้น
ก. ในอาการ ๖ คือ ปิตฺตํ=น้ำดี, เสมฺหํ=เสมหะ, โลหิตํ=เลือด, เมโท=มันข้น
วสา=มันเหลว, และลสิกา=ไขข้อ นั้นก็มีรูปกลาป ๕ กลาปเป็นจำนวนรูป ๔๔ รูป เ
ท่านั้น และเหมือนกันกับข้อ ๑ ก.

ข. ในอาการ ๔ คือ เสโท=เหงื่อ, อสฺสุ=น้ำตา, เขโฬ=น้ำลาย, และ สิงฺฆาณิกา=น้ำมูก นั้น
มีรูปกลาป ๒ กลาป เป็นจำนวนรูป ๑๖ รูป คือ จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป และ
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มี ๘ รูป

ค. ในอาการที่เหลืออีก ๒ คือ ปุพฺโพ=หนอง, มุตฺตํ=น้ำมูตร นั้นมีรูปกลาป ๑ กลาป
เป็นรูปเพียง ๘ รูป คือ อุตุสุทธัฏฐกกลาป เท่านั้น

๓. สสัมภารเตโช ๔ อาการ นั้น

ก. ในอาการ ๓ คือ อุสมาเตโช ไฟที่ทำให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ๑, ชิรณเตโช
ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง ๑ และ สนฺตาปนเตโช ไฟที่ ทำให้ร้อน
เป็นไข้ได้ป่วย ๑ เหล่านี้ มีรูปกลาป ๔ กลาป เป็นจำนวน ๓๓ รูป คือ

ชีวิตนวกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๙ รูป
จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๓๓ รูป

ข. ในอาการที่เหลืออีก ๑ คือ ปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหารนี้ มีรูปกลาป ๑ กลาป
เป็นรูปเพียง ๙ รูป คือ ชีวิตนวกกลาป เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๔.สสัมภารวาโย ๖ อาการ นั้น
ก. ในอาการ ๕ คือ อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ๑, อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ ๑,
กุจฺฉิสยวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ๑, โกฏฐาสยวาโย ลมที่ อยู่ในลำใส้ ๑ และองฺคมงฺคานุสาริวาโย
ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ๑ เหล่านี้ มีรูป กลาป ๔ กลาป เป็นรูป ๓๓ รูป เท่ากันและเหมือนกันกับข้อ ๓ ก.

ข. ในอาการที่เหลืออีก ๑ คือ อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าหายใจออก นี้ มีรูปกลาป ๑ กลาป
กับอีก ๑ รูป รวมเป็นรูป ๙ รูป คือ จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป และ สัททรูป อีก ๑ รูป

รูปกลาปในปสาทรูป

ในปสาทรูป ๕ นั้น ปสาทรูปใดมีรูปกลาปเกิดได้กี่กลาป เป็นจำนวนรูป เท่าใดนั้น มีแสดงไว้ดังนี้

๑. จักขุปสาทรูป มีรูปกลาป ๖ กลาป เป็นจำนวนรูปรวม ๕๔ รูป คือ

จักขุทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
ภาวทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
กายทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
รวมกัมมชกลาป ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป

จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๕๔ รูป

๒. โสตปสาทรูป
๓. ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหาปสาทรูป
ปสาทรูปทั้ง ๓ นี้ ต่างก็มี ๖ กลาป เป็นรูป ๕๔ รูป
เหมือนกันกับ จักขุปสาทรูป

๕. ส่วน กายปสาทรูป นั้น มีรูปกลาปเพียง ๕ กลาป เป็นจำนวนรูปเพียง ๔๔ รูปเท่านั้น คือ
ตามข้อ ๑ หักด้วยจักขุทสกกลาป ๑ กลาป จำนวน ๑๐ รูป ออกเสีย เพราะ
ในกายปสาทรูปไม่มีจักขุปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในจักขุปสาทรูปนั้นมีกายปสาท รูปอยู่ด้วย
ในกายปสาทรูปไม่มีโสตปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในโสตปสาทรูปนั้นมีกายปสาท รูปอยู่ด้วย
ในกายปสาทรูปไม่มีฆานปสาทรูป หรือ ชิวหาปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในฆาน ปสาทรูปก็ดี
ในชิวหาปสาทรูปก็ดี มีกายปสาทรูปอยู่ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ

ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อแบ่งเป็นรูปตามนัยของปรมัตถ แล้ว ก็มี ๒๘ รูป
ในจำนวนของรูป ๒๘ รูปนั้น ก็มีสมุฏฐานนำให้เกิด กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง
ในส่วนของรูปที่เกิดจากกรรม ก็เรียกว่า กัมมชรูป
ในส่วนของรูปที่เกิดจากจิต ก็เรียกว่า จิตตชรูป ในส่วนของรูปที่เกิดจากอุตุ ก็เรียกว่า อุตุชรูป
ในส่วนของรูปที่เกิดจากอาหาร ก็เรียกว่า อาหารชรูป

นั่นหมายความว่า ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย มีรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ทั้ง ๔ และรูปที่เกิดจาก
สมุฏฐานทั้ง ๔ นี้ ก็ไม่ได้เกิดมาโดยลำพังเพียงรูปใดรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นของรูปดังกล่าว เกิดเป็นกลุ่ม ๆ
เป็นหมวด ๆ เป็นมัด ๆ ซึ่งเรียกว่า รูปกลาป และรูปกลาปนี่เองที่จัดว่าเป็นรูปที่ละเอียดที่สุด เล็กที่สุด
กลาปของรูปนั้น ย่อมมีขนาดเท่ากับเม็ดปรมาณู และรูปกลาปที่เล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย
สายตานี้ อรรถกถาจารย์ ได้แสดงถึงขนาดของเม็ดปรมาณู โดยเทียบส่วนกับศีรษะของเหา โดย
อนุมานนัย ดังนี้

๑ ศีรษะเหา เท่ากับ ๗ ลิกขาณู
๑ ลิกขาณู เท่ากับ ๓๖ รถาเรณู
๑ รถาเรณู เท่ากับ ๓๖ ตัชชารี
๑ ตัชชารี เท่ากับ ๓๖ อณู
๑ อณู เท่ากับ ๓๖ ปรมาณู
๑ ปรมาณู เท่ากับ ๑ กลาป

จะเห็นได้ว่า ศีรษะของเหาซึ่งเล็กที่สุดแล้วนั้น เม็ดปรมาณู หรือกลาปยังเล็ก กว่าศีรษะของเหา
หลายล้านเท่า จึงถือว่าไม่มีอะไรเล็กกว่านี้อีกแล้ว และรูปกลาปนี่ แหละที่จะกล่าวต่อไป
เกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า รูปปวัตติกมนัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร