วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. กายปสาทรูป

กายปสาทรูป หมายถึง ประสาทกาย มีสัณฐานคล้ายสำลีแผ่นบาง ๆ ชุบ น้ำมันจนชุ่ม ซ้อนกันหลาย ๆ
ชั้น ตั้งอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กาย เว้นที่ปลายผม ปลายขน ที่เล็บ ที่ฟัน ที่กระดูก ที่หนังหนาด้าน ซึ่งประสาทตั้งอยู่ไม่ได้
กายปสาทรูป เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับโผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดกายทวารวิถีจิต

กายปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

โผฏฺฐพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่ กระทบโผฏฐัพพารมณ์ เป็นลักษณะ
โผฏฺฐพฺเพสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาโผฏฐัพพารมณ์ เป็นกิจ
กายวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณ เป็นผล
ผุสิตกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (โผฏฐัพพตัณหา) เป็นเหตุใกล้

กายปสาท คือประสาทกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. สสมฺภารกาย ได้แก่ กายที่ประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง ๆ อันเป็นที่เกิด ของกายปสาท หรือ
เรียกว่ากายทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง รูปที่ประชุมรวมส่วน ต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ที่น่าเกลียด
และเป็นที่ประชุมแห่งอกุสลธรรม รูปนั้นชื่อว่า " กาย " ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด
๒. ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทอันตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ ปลายฟันและหนังที่หนา ๆ
สำหรับกายในที่นี้ หมายถึง ปสาทกายอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพของ รูปปรมัตถ ที่เรียกว่ากายปสาท
นั้นคือธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับกระทบความเย็น
ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง และ ความเคร่งตึง ตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณจิต
ข. เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของกายทวาร ในปัญจทวารวิถี
อนึ่ง คำว่า กาย นี้ยังจำแนกเป็น ๔ ประการ เรียกกันสั้น ๆ ว่า กาย ๔ คือ
(๑) ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทรูป
(๒) รูปกาย ได้แก่ รูป ๒๗ (เว้นกายปสาทรูป)
(๓) นามกาย ได้แก่ จิต เจตสิก
(๔) บัญญัตติกาย ได้แก่ สมูหบัญญัติ มี หัตถิกาย (กองช้าง) อัสสกาย (กองม้า) เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทที่ ๓ โคจรรูป

โคจรรูป ๔ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ และ รสารมณ์
คำว่า โคจรรูป แปลตามพยัญชนะ ก็ว่ารูปที่ท่องเที่ยวไปเหมือนโค แต่ในที่นี้ หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์
โคจรรูป มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วิสยรูป คำว่า วิสย ตรงกับคำไทยว่า วิสัย ซึ่ง แปลว่า ขอบเขต แดน
ความเป็นอยู่ แต่คำ วิสยรูป ในที่นี้ก็หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน
ดังนั้น วิสยรูป หรือโคจรรูป จึงมีความหมายเหมือนกันคือ " รูปที่เป็นอารมณ์ ของปัญจวิญญาณจิต " ซึ่งมีอยู่ ๗ ประการ คือ
๑. รูปารมณ์ ได้แก่ วัณณะรูป คือ รูปที่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ สัททะรูป คือ เสียงต่าง ๆ
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ คันธะรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสะรูป คือ รสต่าง ๆ
๕. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ปฐวีรูป คือ อ่อน แข็ง
๖. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เตโชรูป คือ ร้อน เย็น
๗. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ วาโยรูป คือ ไหว เคร่งตึง

วิสยรูป หรือโคจรรูปทั้ง ๗ นี้ ถ้านับรูปที่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะแล้วจะได้ ๔ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์
คันธารมณ์ รสารมณ์ ส่วนโผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๓ นั้น องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ คือ
มหาภูตรูป ๓ ที่ได้กล่าว มาแล้วนั่นเอง ดังนั้น “โผฏฐัพพารมณ์” จึงไม่มีสภาวะของตนเอง โดยเฉพาะ
สาเหตุที่เรียก ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ว่าโผฏฐัพพารมณ์ ก็เพราะว่า ธาตุทั้ง ๓ นี้กระทบทาง
กายปสาทได้ เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณได้ จึงเรียก โผฏฐัพพารมณ์ ซึ่งก็หมายถึงอารมณ์ที่มากระทบให้รู้ได้ทางกายปสาทนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 25.63 KiB | เปิดดู 4408 ครั้ง ]
๑๐. รูปารมณ์

รูปารมณ์ หมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณจิต ได้แก่ วัณณรูปที่ ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
รูปารมณ์ หมายถึงวัณณรูปซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ วัณณรูป หมายถึงรูปที่จะปรากฏให้
เห็นเป็นสีต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็น อารมณ์ของจักขุวิญญาณจิต และการรู้สึกเห็นเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สี
แดง สีเหลือง ฯลฯ นั้นไม่ใช่เห็นด้วยจักขุวิญญาณจิต แต่เป็นการเห็นด้วยมโนวิญญาณ คือการเห็น
ทางมโนทวารแล้ว ไม่เห็นทางจักขุทวาร ถ้าเห็นทางจักขุทวารจะเห็น เพียงสีแล้วก็ดับไป แล้วจิต
ทางมโนทวารจึงรู้ว่าเป็นสีอะไร
โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ ในอดีตนั้นมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้ว่าเป็นสีอะไร เป็นรูปอะไร เรียกรูปนั้นว่าอย่างไร

รูปารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

จกฺขุปฏิหนน ลกฺขณํ รูปที่มีการกระทบกับจักขุปสาท เป็นลักษณะ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ เป็นอารมณ์ให้จักขุวิญญาณ เป็นกิจ
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของจักขุวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

วัณณะ คือ สี หรือ รูป นี่เอง ที่กระทบกับจักขุปสาทรูป และทำให้เกิด จักขุ วิญญาณขึ้น
วัณณะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณจิตนี่แหละได้ชื่อว่า รูปารมณ์
รูปใดที่ปรากฏให้เห็นทางจักขุทวาร ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณ
เป็นผู้เห็นที่เราเรียกกันว่า" เห็นด้วยตา " นั่นแหละเรียกว่า " รูปารมณ์ " แต่ถ้ารูป ต่าง ๆ
เหล่านั้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
จักขุวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่รู้สึก เห็นด้วยการคิดเอานึกเอาก็ไม่เรียกว่ารูปารมณ์
จัดเป็นธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยใจ เห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. สัททารมณ์

สัททารมณ์ หมายถึง เสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต ได้แก่ " สัททรูป " ที่ปรากฏให้ได้ยิน
เป็นเสียงต่าง ๆ สัททารมณ์ กับสัททรูป ต่างกันดังนี้
๑. สัททารมณ์ หมายถึงเสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต จิตกำลัง ได้ยินเสียงนั้น เสียงที่จิตกำลังได้ยินนั้น เรียกว่า สัททารมณ์
๒. สัททรูป หมายถึงเสียงที่ไม่ได้เป็นอารมณ์ของ โสตวิญญาณจิต และเสียง ที่เราได้ยินรู้ว่าเขาพูดอะไร
หมายความว่าอย่างไร ก็ไม่เรียกว่าสัททารมณ์ เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนทวาร
ถ้าเป็นสัททารมณ์ จะต้องได้ยินแล้ว ก็ดับไป โดยไม่รู้ความหมายอะไร การที่รู้ความหมายจากเสียงนั้น
ก็เพราะว่า เสียง ที่เป็นอารมณ์ทางโสตทวารนั้นดับไปแล้ว จากนั้นจิตที่เกิดทางมโนทวารรับการ ได้ยินไปคิดนึก โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ในอดีตมาตัดสิน จึงรู้ว่าเสียงที่ดับไปแล้ว นั้น มีความหมายว่าอย่างไร

สัททารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

โสตปฏิหนน ลกฺขณํ รูปที่มีการกระทบกับโสตปสาท เป็นลักษณะ
โสตวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ เป็นอารมณ์ให้โสตวิญญาณ เป็นกิจ

ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของโสตวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

สัททะ คือ เสียง ที่กระทบโสตปสาทรูป และทำให้เกิดโสตวิญญาณขึ้น สัททะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่
โสตวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า สัททารมณ์
รูปที่ทำให้โสตวิญญาณจิตรู้ได้ รูปนั้นเรียกว่า สัททรูป คือเสียงที่ปรากฏให้ ได้ยินทางโสตทวารทั้งเสียงที่
เกิดจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต มีโสตวิญญาณเป็นผู้ทำ หน้าที่ได้ยิน ที่เรียกว่าได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่าสัททรูป
เสียงใดที่ปรากฏให้ได้ยินทางโสตทวาร ทั้งเสียงที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มี ชีวิต มีโสตวิญญาณทำ
หน้าที่ได้ยิน ที่เรียกว่า ได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่า สัททารมณ์ แต่ถ้าเสียงต่าง ๆ เหล่านั้นโสตวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่ได้ยิน แต่รู้สึกได้ยินด้วยใจ เช่นคิดถึงทีไรก็รู้สึกได้ยินก้องอยู่ในใจทุกที อย่างนี้ไม่ใช่สัททารมณ์ แต่เป็น ธัมมารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจทางมโนทวาร ไม่ใช่รู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ
สัททารมณ์นี้ จะปรากฏได้เฉพาะที่โสตปสาทได้ยินด้วยโสตวิญญาณเท่านั้น ถ้ารู้สึกได้ยินทางมโนวิญญาณ รู้ได้ทางมโนทวาร ก็ไม่เรียกว่า สัททารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒. คันธารมณ์

คันธารมณ์ หมายถึง รูปที่กำลังเป็นอารมณ์ของ " ฆานวิญญาณ " ได้แก่ คันธรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ว่าเป็นกลิ่น คันธรูปจึงหมายถึงกลิ่นที่มีอยู่ทั่วไป ส่วนคันธา รมณ์จึงหมายถึง กลิ่นที่กำลังเป็นอารมณ์ของจิตที่ชื่อว่า ฆานวิญญาณ
คันธรูป เป็นรูปที่ปรากฏเป็นกลิ่น และกลิ่นนั้นยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิตที่ ชื่อว่า ฆานวิญญาณ จึงเรียกว่าคันธรูป และการที่รู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นหอมหรือ เหม็นนั้น ไม่ใช่รู้ทางฆานทวาร และไม่ใช่รู้โดยฆานวิญญาณ แต่เป็นการรู้โดยทาง มโนทวาร และรู้ด้วยมโนวิญญาณ เรียกว่าธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ การรู้ ด้วยใจนี้ อาศัยบัญญัติอารมณ์ที่เคยสั่งสมมาในอดีตมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้เป็นกลิ่น อะไร กลิ่นเหม็นหรือหอม เป็นต้น
รูปใดแสดงที่อาศัยของตนให้ปรากฏ รูปนั้นชื่อว่า คันธะ คันธรูปนี้เป็นรูป ที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่คันธรูป
อาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้ ไม่ว่ารูปนั้นจะเป็นอะไร จะมีกลิ่น คือคันธรูปอยู่ด้วยเสมอไป คล้าย ๆ กับว่า
คันธรูปนี้เป็นตัวแสดงให้รู้ว่า กลิ่นนี้เป็นกลิ่นอะไร ลอยมาจากที่ไหน

คันธารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ฆานปฏิหนน ลกฺขณํ มีการกระทบกับฆานปสาท เป็นลักษณะ
ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้ฆานวิญญาณ เป็นกิจ
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของฆานวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

คันธ คือ กลิ่น หมายถึง น้ำมันระเหย ที่กระทบกับฆานปสาทรูป และทำให้ เกิดฆานวิญญาณขึ้น
คันธะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่ ฆานวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า คันธารมณ์
อนึ่งคำว่า คันธะ นี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการเรียกสั้น ๆ ว่า คันธะ ๔ คือ
(๑) สีลคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งศีล องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
(๒) สมาธิคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมา สติ และสัมมาสมาธิ
(๓) ปญฺญาคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งปัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
คันธะในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตัวกลิ่นที่หอมหรือเหม็นนั้น แต่หมายถึงว่า เป็น การฟุ้งไปทั่ว กระจายไปทั่ว แผ่ไปทั่ว กลิ่นหอมหรือเหม็นนั้น ตามปกติย่อมกระจายไปตามลม และไปได้ในบริเวณ แคบไม่กว้างไม่ไกลนัก แต่การกระจาย การแผ่ไปของ สีล สมาธิ ปัญญา นั้นไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ทั้งแผ่ไปได้ทั่วไม่มีขอบเขตอันจำกัดเลย
(๔) อายตนคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งอายตนะ คือ การกระทบกันระหว่างกลิ่น กับฆานปสาทและฆานวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์ คือ
สุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ดี
ทุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ไม่ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. รสารมณ์

รสารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ได้แก่ รสรูปที่ปรากฏ เป็นรสต่าง ๆ ระหว่างรสารมณ์ กับรสรูป
รสารมณ์ หมายถึงรสรูป ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ จึงเรียกว่า รสารมณ์
รสรูป หมายถึงรสที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เรียกรสนั้น ๆ ว่า รสรูป และการรู้สึก
ต่อรสว่า รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็มต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณ แต่เป็นการรู้ด้วยมโนวิญญาณ จึงจัดเป็นธัมมารมณ์ คือ รู้ด้วยใจคิดนึก ถ้ารู้ด้วยชิวหาวิญญาณจะปรากฏเป็นรสเท่านั้น แล้วก็ดับไป ยัง ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร รสที่รู้ด้วย
ชิวหาวิญญาณนี้แหละ เรียกว่า รสารมณ์

รสารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ มีการกระทบชิวหาปสาท เป็นลักษณะ
ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ

ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

รสะ คือ รสที่กระทบกับชิวหาปสาท และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า รสารมณ์
อนึ่งคำว่า รสะนี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการ เรียกสั้น ๆ ว่า รสะ ๔ คือ
(๑) ธมฺมรส ได้แก่ รสแห่งธรรม ซึ่งมีทั้งกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิตตุปปาท ๔ โลกียกุสลจิต ๑๗อกุสลจิต ๑๒ คือ ธรรมอันเป็นกุสลและ อกุสลทั้งปวง
(๒) อตฺถรส ได้แก่ รสแห่งอรรถธรรม คือ ธรรมที่เป็นผลของกุสล และ อกุสลทั้งปวง องค์ธรรมได้แก่
ผลจิตตุปปาท ๔ โลกียวิบากจิต ๓๒ คือ ธรรม อันเป็นผลของกุสลและอกุสลทั้งหมด
(๓) วิมุตฺติรส ได้แก่ รสแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน
(๔) อายตนรส ได้แก่ รสแห่งการกระทบกันระหว่างรสรูปกับชิวหาวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เมื่อประมวลแล้วทั้งหมดมี ๖ รส คือ อมฺพิล เปรี้ยว, มธุร หวาน, โลณิก เค็ม, กฏุก เผ็ด, ติตฺต ขม, และ กสาว ฝาด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โผฏฐัพพารมณ์

โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า " ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ" แปลว่า รูปที่
กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า " โผฏฐัพพะ " โผฏฐัพพารมณ์ ๓ อย่าง คือ
๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง

โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป ๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาทไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น
รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๗ รูปนี้มีชื่อเรียกว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป

ภาวรูป คือ รูปที่แสดงให้รู้สภาพหญิงและชาย ด้วยอาศัยรูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย อัธยาสัย และกิริยา
อาการเป็นเครื่องแสดงให้รู้
ภาวรูปมี ๒ คือ
๑. อิตถีภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)
๒. ปุริสภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔. อิตถีภาวรูป

อิตถีภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง รูปใดที่เป็นเหตุแห่งความ เป็นหญิง รูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ

อิตถีภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อิตฺถีภาว ลกฺขณํ มีสภาพของหญิง เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของหญิง เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํมีอาการของหญิงเป็นต้น เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

๑๕. ปุริสภาวรูป

ปุริสภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็น ชาย รูปนั้นชื่อว่า ปุริสภาวะ

ปุริสภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปุริสภาว ลกฺขณํ มีสภาพของชาย เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของชาย เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีอาการของชายเป็นต้น เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ที่จะรู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย มีสิ่งที่เป็นเครื่อง อาศัยให้รู้ได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ลิงฺค ได้แก่ รูปร่างสัณฐาน ที่บอกเพศอันมีมาแต่กำเนิดซึ่งจะปรากฏ ตั้งแต่เมื่อคลอดออกมา เช่น มีแขน ขาหน้าตา เพศ ซึ่งแสดงตั้งแต่กำเนิด
(๒) นิมิตฺต เครื่องหมาย หรือสภาพความเป็นอยู่ เครื่องหมายนั้นหมายถึง สิ่งที่ปรากฏต่อมา สำหรับหญิงอกก็เริ่มโตขึ้น สำหรับชายก็มีหนวดมีเคราส่วนสภาพ ความเป็นอยู่นั้น หญิงก็ชอบเย็บปักถักร้อยเข้าครัว ชายก็ชอบต่อยตียิงปืน ผาหน้าไม้
(๓) กุตฺต หมายถึง นิสัย คือความประพฤติที่เคยชิน หญิงก็นุ่มนวล อ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนชายก็ห้าวหาญ เข้มแข็ง ว่องไว การเล่นของชายกับหญิง ก็ไม่เหมือนกัน ชายชอบยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ หญิงก็จะเล่นการทำอาหาร ฯลฯ
(๔) อากปฺป ได้แก่ กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่งนอน การกิน การพูด ถ้าเป็นหญิงก็จะเอียงอาย แช่มช้อยนุ่มนวล ถ้าเป็นชายก็จะองอาจ เด็ดเดี่ยว หรือ แข็งกร้าว เป็นต้น
ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องแสดงให้รู้ถึงเพศหญิงหรือชาย ย่อมปรากฏไปตาม ภาวรูปทั้ง ๒ ถ้ามีอิตถีภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมีรูปร่างสัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นหญิง ถ้ามีปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมี รูปร่าง สัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นชาย ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องจากกรรม คือ

ผู้ที่ได้อิตถีภาวรูป เพราะชาติแต่ปางก่อนได้ประกอบกุสลกรรมอย่างอ่อนที่ เรียกว่า ทุพฺพลกุสลกมฺม เป็นกรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสก็จริง แต่ก็เจือปน ไปด้วยความไหวหวั่น (อวิสทฺธาการ)
ส่วนผู้ที่ได้ปุริสภาวรูป เพราะอดีตชาติได้ประกอบกุสลกรรมที่สูงส่งด้วยสัทธา ความเลื่อมใส แรงด้วยอธิโมกข์ ความชี้ขาด ปราศจากความหวั่นไหว อันจะเป็นเหตุ ให้เกิดความย่อหย่อน กุสลกรรมอย่างนี้เรียกว่า พลวกุสลกมฺม เป็นกุสลกรรมอัน ทรงพลัง จึงยังผลให้เกิดเป็นชาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทที่ ๕ หทยรูป

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล
สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว
ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุ
ให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป นั้น
ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ นั้นชื่อว่า หทยรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖. หทยรูป

หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้นเหมือนรังบวบขม
(๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป
น้ำเลี้ยงหัวใจนี้แหละเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิบาก ๔ ) อันเป็นปัจจัยให้เกิดทั้งความดีและความชั่ว
น้ำเลี้ยงหัวใจ คือ หทยรูป หรือ หทยวัตถุ หรือ วัตถุหทยรูป นี้มีมากสี ด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่จริตของบุคคล กล่าวคือ

บุคคลที่มากด้วย ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี แดง
บุคคลที่มากด้วย โทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ดำ
บุคคลที่มากด้วย โมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ
บุคคลที่มากด้วย วิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
บุคคลที่มากด้วย สัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหลืองอ่อนคล้ายสีดอกกัณณิกา
บุคคลที่มากด้วย พุทธิจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย

หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ
มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ
ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป

ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม
โดยธรรมชาติของรูปแต่ละกลุ่มรูป ย่อมมีสมุฏฐานให้เกิดอยู่ ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร
ในกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมนั้น มีชีวิตรูปเป็นผู้ตามรักษา ตั้งแต่แรกเกิดให้ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่ม
รูปนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากกรรม
ที่ทำให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีหน้าที่ทำให้รูปเกิดเท่านั้น ไม่มีหน้าที่รักษา ชีวิตรูปเท่านั้นมี หน้าที่ตามรักษา เหมือนกลีบของดอกบัว ทำหน้าที่รักษาเกษรบัวที่เกิดจากกอบัวแล้ว ก็เน่าไปพร้อมกับเกษรบัว
ฉะนั้นกรรมทั้งหลายก็เช่นกันทำให้รูปเกิดด้วยอำนาจของตน แล้วก็มีชีวิตรูปที่เกิดจากกรรมนั่นแหละ
เป็นผู้รักษากลุ่มรูป ที่เกิดร่วมกันให้ตั้ง อยู่ แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูที่เกิดจากกรรมนั้น ๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗. ชีวิตรูป

ชีวิตรูป เป็นชื่อของรูปที่เกิดจากกรรม ทำหน้าที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยกันให้เกิดขึ้น
ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับตน รูปทั้งหลายอยู่ได้ด้วยการอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้
สหชาตรูปทั้ง หลายเป็นอยู่ได้นั้น เรียกว่า ชีวิตรูป

ชีวิตรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สหชาตรูปานุปาล ลกฺขณํ มีการรักษาสหชาตรูป เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้น เป็นกิจ
เตสญฺเญว ฐปน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการประกอบให้มั่นคงอยู่ เป็นผล
ยาปยิตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปที่เสมอภาค(ที่สมส่วน) เป็นเหตุใกล้

ที่ว่า มีการรักษาสหชาตรูปนั้น หมายเฉพาะรูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป เท่านั้น
จึงต้องมีชีวิตรูปนี้รักษาให้คงอยู่และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ต้องเป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม จึงจะมีชีวิตรูปรักษา ให้กัมมชรูปนั้น ๆ ดำรงคงอยู่ได้
ส่วนต้นไม้ ไม่ได้เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูป แต่ที่ดำรงคงอยู่ได้เพราะอุตุ พระพุทธองค์ได้
ทรงแสดง ดังปรากฏ
ในภูตคามสิกขาบทวินัย พระบาลีว่า ชีวสญฺญิ โน หิ มนุสฺสา รกฺขสฺมึ มนุษย์ทั้งหลาย
มีความสำคัญว่า ต้นไม้นี้มีชีวิต
อนึ่งคำว่า ชีวิต มีทั้ง ชีวิตรูป เป็นรูปธรรม ดังที่กล่าวอยู่ ณ บัดนี้ และ ชีวิตนาม
เป็นนามธรรม (นามเจตสิก) ซึ่งได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๒ นั้น ส่วนคำว่า ชีวิตินทรีย
เป็นศัพท์ที่รวมความหมายทั้ง ชีวิตรูป และชีวิตนาม ทั้ง ๒ อย่าง
เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป
เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก

ประเภทที่ ๗ อาหารรูป

อาหารรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหาร และรูปที่เกิดจากอาหารในที่นี้ หมายถึง
อาหารที่กินเป็นคำ ๆ ซึ่งเรียกว่า กพฬีการาหาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘. อาหารรูป

อาหารรูป ในที่นี้หมายถึง กพฬีการาหาร อาหารที่กินเเป็นคำ ๆ หรือโภชนะ
ใดอันบุคคลกินเป็นคำ ๆ หรือกระทำให้เป็นของกินโภชนะนั้นชื่อว่า กพฬีการาหาร
กพฬีการาหารนั้น หมายถึง โอชะรูป ที่มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ เมื่อสัตว์ ทั้งหลายได้กินอาหาร
โอชะที่อยู่ในอาหารนั้น ๆ ก็จะถูกปาจกเตโชอันเป็นเตโชธาตุ ที่เกิดจากกรรม ที่อยู่ในปากตลอด
จนถึงทวารหนัก ก็จะทำหน้าที่เผา หรือย่อยออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ เป็นกากทิ้งไป โดยระบายออกทางทวารต่าง ๆ
ส่วนที่ ๒ เป็นโอชะรูปอยู่ในร่างกายคนและสัตว์คอยทำหน้าที่ให้อาหารชรูป เกิดขึ้น
คือ โอชะรูปที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์นี้ทำให้ร่างกายของคนและสัตว์ ทั้งหลายมีกำลัง
และเติบโตขึ้น เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ก็จะทำหน้าที่ให้ร่างกายสมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ได้
รูปที่ทำให้เจริญเติบโต และทำให้ร่างกายสมบูรณ์อยู่ได้นี้แหละ เรียกว่า อาหารชรูป แปลว่า
รูปที่เกิดจากอาหาร หรือรูปที่เกิดจากโอชะรูปที่ได้มาจากกพฬี การาหาร นั่นเอง

อาหารรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
โอชา ลกฺขณํ มีการทำให้รูปเจริญ เป็นลักษณะ
รูปาหรน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูป เป็นกิจ
กายุปตฺถมฺภน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการอุดหนุนไว้ซึ่งรูปกาย เป็นผล
อชฺโฌหริตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีอาหารที่ควรแก่การบริโภค เป็นเหตุใกล้

รูปกายจะทรงอยู่ได้ ก็เพราะโอชาในอาหาร และโอชาธาตุในร่างกายร่วมกัน เกื้อกูลอุดหนุนไว้
ถ้าขาดเสียซึ่งอาหารแล้ว รูปเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความพินาศ ดำรงอยู่ไม่ได้
ที่เรียกว่าอาหาร ตามนัยแห่งรูปปรมัตถแล้ว หมายถึง โอชะรูปที่อยู่ในอาหาร นั้น ๆ ทำหน้าที่
ทำให้อาหารชรูปเกิด คือ โอชะรูปที่ถูกจัดโดยปาจกเตโชนั่นเอง
รูปที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๘ รูป นี้ ได้ชื่อว่า นิปผันนรูป หรือ สภาวรูป หรือ สลักขณรูป หรือ รูปรูป
หรือ สัมมสนรูป รวม ๕ ชื่อด้วยกัน ตามความหมายของชื่อแต่ละชื่อนี้ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป

ปริจเฉทรูป คือ รูปที่เป็นช่องว่างระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป มีทั้งสิ่งที่มี
ชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นรูปที่คล้าย ๆ กับทำหน้าที่ให้รู้ถึงสัณฐานของรูปต่าง ๆ หรือ
คล้ายกับเป็นผู้จำแนกให้รู้ได้ซึ่งรูปต่าง ๆ
ในบรรดาสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ถ้าไม่มีช่องว่างกั้นกลาง เสียแล้ว
ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า รูปนั้นมีจำนวนเท่าไร มีสัณฐานเป็นอย่างไร ต่อเมื่อ มีช่องว่างคั่นอยู่
จึงกำหนดรู้ได้ว่า มีจำนวนเท่าไร มีสัณฐานอย่างไร และช่องว่าง นี่แหละ เรียกว่า อากาสธาตุบ้าง
เรียกว่า ปริจเฉทรูปบ้าง

๑๙. ปริจเฉทรูป

ปริจเฉทรูป เป็นช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป ระหว่างกลาปกับกลาป มีได้ทั้งใน
สิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ
ถ้าไม่มีปริจเฉทรูปแล้ว จำนวนรูปกลาปก็มีไม่ได้ ที่สุดของรูปก็มีไม่ได้
เขต แดนของรูปก็มีไม่ได้ เพราะรูปเหล่านั้นจะติดกันเป็นพืดไปหมด
ไม่มีรูปร่างสัณฐาน และก็นับจำนวนไม่ได้ด้วย

ปริจเฉทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปปริจฺเฉท ลกฺขณํ มีการคั่นไว้ซึ่งรูปกลาป เป็นลักษณะ
รูปปริยนฺตปฺปกาสน รสํ มีการแสดงส่วนของรูป เป็นกิจ
รูปมาริยาท ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการจำแนกซึ่งรูป เป็นผล
ปริจฺฉินฺนรูป ปทฏฺฐานํ มีรูปที่คั่นไว้ เป็นเหตุใกล้

ปริจเฉทรูปนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า อากาสรูป อากาสนี้ยังจำแนกได้เป็น ๕ คือ
(๑) อชฺฏากาส ได้แก่ ที่ว่างในท้องฟ้าทั่วไป
(๒) กสิณุคฺฆาฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่เพิกแล้วจากกสิณ อากาศที่เนื่องมา จากกสิณ
(๓) วิวรากาส อากาศในช่องโปร่ง เช่น ช่องหู ช่องจมูก ขวด โอ่ง ไห
(๔) สุสิรากาส อากาศในโพรงทึบ เช่น ในปล้องไม้ไผ่ ในเห็ดเผาะ
(๕) ปริจฺเฉทากาส อากาศที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป คือ ปริจเฉท รูป หรืออากาศรูปนี่แหละ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่าอากาศมีเพียง ๔ เท่านั้น คือ รวมวิวรากาสกับสุสิรากาส เข้าเป็นหนึ่ง
เรียกว่า ปริจฺฉินฺนากาส คือ อากาศในช่องว่าง ไม่แยกเป็นทึบ หรือไม่ทึบ

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป

วิญญัตติรูป คือรูปที่แสดงให้ผู้อื่นรู้ความหมายหรือรู้ความประสงค์ วิญญัตติ รูปจะเคลื่อนไหว
ต้องมีจิตสั่งงานให้เคลื่อนไหว ทางกาย ทางวาจา นั่งนอน ยืนเดิน พูดเสียงดัง พูดค่อย
พูดเพราะ พูดไม่เพราะ ก็อยู่ที่วิญญัตติรูป โดยจิตสั่งรูปชุดนี้ ให้ทำงาน
รูปใดทำให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ รูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป ชนทั้งหลายทำให้รู้
จิตใจซึ่งกันและกันได้โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป การแสดง
ออกซึ่งวิญญัตติรูปนี้ เรียกกันอย่างสามัญว่า การไหวกาย และ การไหววาจา (การกล่าววาจา)
วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ
(๑) กายวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูป ให้รู้ความประสงค์ทางกาย
(๒) วจีวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูปทางวาจา ให้รู้ความประสงค์ ทางวาจา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. กายวิญญัตติรูป

กายวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ
(๑) โพธนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย จงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น โบกมือ กวักมือเรียก เป็นต้น
(๒) ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย โดยไม่ได้จงใจให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด เช่น การยืน เดิน นั่งนอน หรือวิ่ง เป็นต้น แม้ว่าจะ ไม่ได้เจาะจงให้เป็นความหมายแต่ผู้อื่นก็รู้ได้ว่า เรานั่ง นอน ยืน เดิน หรือวิ่ง

กายวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ
กายวิปฺผนฺทนเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไหวกาย เป็นผล
จิตฺตสมุฏฺฐานวาโยธาตุ ปทฏฺฐานํ มีวาโยธาตุของจิตตสมุฏฐาน เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร