วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 14:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ การเกิดขึ้น ของจิตแล้วก็มี ๕ คือ
รูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง
เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว รูปาวจรกุสลกรรมนี้เกิด ทางมโนทวาร เป็นมโนกรรมแต่อย่างเดียว จะเกิดทางกายกรรมหรือวจีกรรมไม่ได้ เพราะการเจริญสมถภาวนาไม่ได้ใช้กายวิญญัตติ หรือวจีวิญญัตติแต่อย่างใดเลย
เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่ง ทาน สีล ภาวนา แล้ว รูปาวจรกุสลกรรมนี้ เป็น ภาวนามัยแต่อย่างเดียว ไม่เกี่ยวแก่การบริจาคทาน หรือการรักษาสีล เป็นแต่เพ่ง กัมมัฏฐาน จนเกิดฌานจิต
เมื่อกล่าวโดย กัมมัฏฐาน อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการเพ่งพินิจแล้ว ก็มี ๒๖ คือ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐,
กายคตาสติ ๑, อานาปานสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๔
เมื่อกล่าวโดย สมาธิ แล้ว รูปาวจรกุสลกรรมย่อมเข้าถึงซึ่ง อัปปนาสมาธิ (ส่วนกามาวจรกุสลกรรมไม่ถึงอัปปนาสมาธิ เป็นแต่เพียงบริกรรมสมาธิ และอุป จารสมาธิเท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ คือฌานสมาบัติได้)
เมื่อกล่าวโดย ประเภทของฌาน แล้ว ก็มี ๕ คือ ปฐมฌานกุสล ทุติยฌาน กุสล ตติยฌานกุสล
จตุตถฌานกุสลและ ปัญจมฌานกุสล

เมื่อกล่าวโดย องค์ของฌาน แล้ว มีดังนี้
รูปาวจรกุสล ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
รูปาวจรกุสล ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
รูปาวจรกุสล ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา
รูปาวจรกุสล จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
รูปาวจรกุสล ปัญจมฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. การเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดย จิตตุปปาทะ ก็มี ๔ คือ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวง
เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ก็เกิดทางมโนทวารแต่ทางเดียว
เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่ง ทาน สีล ภาวนา ก็เป็นภาวนามัยอย่างเดียว
เมื่อกล่าวโดย กัมมัฏฐาน ก็มี ๔ คือ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ ๑, อากาสา นัญจายตนกุสล ๑,
นัตถิภาวบัญญัติ ๑ และ อากิญจัญญายตนกุสล ๑
เมื่อกล่าวโดย สมาธิ ก็ถึง อัปปนาสมาธิ
เมื่อกล่าวโดย ประเภทของฌาน แล้วก็มี ๔ คือ อากาสานัญจายตนกุสล วิญญาณัญจายตนกุสล
อากิญจัญญายตนกุสล และ เนวสัญญานาสัญญายตนกุสล
เมื่อกล่าวโดย องค์ของฌาน แล้วก็มี ๒ คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา เท่านั้น และเหมือนกันกับองค์ฌานของรูปาวจรกุสลปัญจมฌาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ตั้งแห่งวิบากจิต (ปากฐาน)

ได้แสดงถึงการเกิดขึ้นของอกุสลกรรม และกุสลกรรมมาแล้ว
บัดนี้จะได้กล่าว ถึง ปากฐาน โดยตรงต่อไป

ปากฐาน อันแปลว่า ที่ตั้งแห่งวิบากจิต ก็คือ ฐานที่ตั้งแห่งการให้ผลของ กรรม หมายความว่า
เมื่อได้กระทำกรรมใด ๆ แล้ว กรรมเหล่านั้นจะส่งผลเมื่อใด ให้เป็นอะไร ที่ไหนบ้าง
ที่ว่าจะส่งผลเมื่อใด หมายว่า จะส่งผลในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล ถ้าส่งผลในปฏิสนธิกาล
ก็จะให้ผลในชาติหน้า ชาติต่อไป ไม่ใช่ในชาตินี้ ถ้าส่งผลในปวัตติกาล ก็จะให้ผลในชาตินี้ ซึ่งได้ปฏิสนธิมาแล้วก็ได้ หรือจะให้ผลในชาติหน้า ชาติต่อ ๆ ไป ภายหลังได้ปฏิสนธิแล้วก็ได้ การส่งผลในปฏิสนธิกาล นับว่าสำคัญมาก เพราะเป็นการสืบต่อภพต่อชาติไปอีกตั้งชาติหนึ่งทั้งชาตินั้นทีเดียว ส่วนการส่งผลในปวัตติกาลนั้นเป็นชั่วคราวชั่วขณะ ไม่ใช่ส่งผลอย่างนั้นไปตลอดทั้งชาติ
ที่ว่าให้เป็นอะไร หมายความว่า ให้ปฏิสนธิเป็นสัตว์ในอบาย หรือ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา อินทร พรหม ในปวัตติกาลก็ให้ได้เห็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดี ให้ได้ยินสิ่งที่ดี หรือไม่ดี เป็นต้น ที่ว่า ที่ไหน หมายถึง ภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) อกุสลกรรม ๑๑ (เว้นอุทธัจจจิต) ย่อมส่งผลในปฏิสนธิกาลให้สืบต่อภพ ต่อชาติ โดยให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔
หมายความว่า ที่ต้องปฏิสนธิในอบาย เพราะ ได้กระทำอกุสลกรรม ๑๑ แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง

อกุสลกรรมทั้ง ๑๒ ย่อมส่งผลในปวัตติกาล ให้อกุสลวิบากจิต ๗ มีการเห็น สิ่งที่ไม่ดี ได้ยินสิ่งที่ไม่ดี
เป็นต้น เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตต)
ไม่ต้องกล่าวก็ได้ว่า ในรูปภูมิ ๑๕ นั้น อกุสลวิบากจิตเกิดได้เพียง ๔ คือ จักขุวิญญาณจิต
โสตวิญญาณจิต สัมปฏิจฉันนจิต และ สันตีรณจิต เท่านั้น ส่วนอีก ๓ คือ ฆานวิญญาณจิต
ชิวหาวิญญาณจิต และกายวิญญาณจิต นั้นไม่มี

ในข้อ (๑) นี้มีที่ควรสังเกต คือ อุทธัจจจิตนั้น ไม่สามารถส่งผลในปฏิสนธิ กาลได้
แต่ส่งผลได้ในปวัตติกาลเท่านั้น ส่วนวิจิกิจฉาจิตนั้น ส่งผลได้ทั้งใน ปฏิสนธิกาล และ
ปวัตติกาลด้วย ทั้งนี้มีหลักฐานอธิบายไว้ว่า
ก. กรรมที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาลได้นั้น ต้องมีกำลังแรงยิ่งกว่าการส่งผลใน ปวัตติกาล
สำหรับอุทธัจจจิต ไม่มีอกุสลเจตสิก เช่น โลภ โทส ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา
ซึ่งมีกำลังเป็นพิเศษ ช่วยส่งเสริมแต่อย่างใดไม่คงมี แต่เพียงโมจตุกะ ๔ ที่เป็นอกุสลเจตสิกสามัญ
ประกอบการงานอกุสลทั่ว ๆ ไป เท่านั้นเอง ดังนั้นอุทธัจจจิตจึงไม่มีกำลังแรงพอที่จะส่งผลใน
ปฏิสนธิกาลได้ ผิดกับ วิจิกิจฉาจิต ซึ่งมีอกุสลเจตสิกที่มีกำลังพิเศษ คือ วิจิกิจฉาเจตสิก
ช่วยอุดหนุน ส่งเสริมอยู่ จึงมีกำลังมากพอแก่การส่งผลในปฏิสนธิกาล

ข. ผู้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ย่อมปิดอบายภูมิทั้ง ๔ ได้แน่นอน ก็พระ โสดาบันนั้นหาได้ประหาณ
อุทธัจจจิตไม่ จึงแสดงว่าอุทธัจจจิตนี้ไม่สามารถส่งผลให้ ปฏิสนธิได้ เพราะถ้าอุทธัจจจิตมีอำนาจ
ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้แล้ว ก็จะต้องไป เกิดในอบายภูมิ ถ้าเป็นเช่นนั้น พระโสดาบันก็ไม่พ้นอบายภูมิ ส่วนวิจิกิจฉานั้น สามารถส่งผลในปฏิสนธิกาลให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ ดังนั้นจึงปรากฏว่าโสดาปัตติ
มัคคต้องประหาณวิจิกิจฉาจิตได้เป็นสมุจเฉกแล้ว จึงได้ชื่อว่า ผู้นั้นสำเร็จเป็นพระโสดาบัน มิฉะนั้นจะต้องไปเกิดในอบายภูมิอีก

อนึ่งในตอนนี้ อยากจะกล่าวอย่างธรรมดาสามัญอันเป็นการกล่าวโดยอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้
อุทธัจจจิต เป็นจิตที่ซัดส่ายไปในอารมณ์หลายอย่าง ไม่ปักใจลงไปในอารมณ์ ใดอารมณ์หนึ่ง
อย่างแน่วแน่แต่อย่างเดียว กำลังจึงไม่แรงถึงกับทำให้เกิดเป็นผลขึ้น มาได้โดยสมบูรณ์
เปรียบเหมือนสานตระกร้า ยังไม่เสร็จก็หันไปสานกระจาด ยังไม่ ทันเป็นกระจาดก็หันไปสานกระบุง
ได้สักพักหนึ่ง ก็ย้ายไปสานปุ้งกี๋ อะไรทำนองนี้ เป็นอันว่ายังไม่ทันเป็นผลสำเร็จสักอย่างเดียว จึงไม่ได้
ทั้งตระกร้า กระจาด กระบุง หรือปุ้งกี๋เลยสักอย่างเดียว เพราะว่าซัดส่ายยักย้ายเรื่อยไป กิจการนั้นจึงเกิด
ผลไม่ สมบูรณ์ฉันใด อุทธัจจจิตก็เป็นฉันนั้น คิดอย่างโน้นหน่อย กลับมาคิดอย่างนี้นิดแล้ว หวนไปคิด
อย่างนั้นอีกต่อไป ความคิดนั้นพร่ำเพรื่อเลื่อนลอยไป ไม่มุ่งมั่น เพ่งเล็ง ถึงให้เกิดผลอย่างจริงจัง จึงทำ
ให้ไม่เป็นโล้เป็นพาย ถึงกับให้เกิดเป็นผลอย่าง สมบูรณ์ขึ้นมาได้ เหตุนี้อุทธัจจจิตจึงไม่มีกำลังแรงมาก
พอที่จะส่งผลให้เป็นถึง ปฏิสนธิไปได้ ได้แต่เพียงให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้นเอง

ส่วนวิจิกิจฉาจิต ถึงแม้จะเป็นจิตที่ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจที่จะตัดสินเด็ดขาดลง ไปได้ก็จริง แต่ว่าถ้าคิดถึง
อารมณ์นั้นขึ้นมาเมื่อใดเป็นลังเลสงสัยอยู่เมื่อนั้น เป็น ความสงสัยอย่างแรงกล้า ปักใจสงสัยอยู่นั้นเอง
ไม่ถอนความสงสัยไปได้เลย อีก ประการหนึ่ง ความสงสัยต่าง ๆ ที่เรียกว่า วิจิกิจฉาจิตนี้ ก็เป็นความ
สงสัยที่ โน้มเอียง ไปในทางดูหมิ่นดูแคลนอยู่ เพราะความปักใจมุ่งมั่น สงสัยแล้วสงสัยอีก
ด้วยอาการที่ โน้มเอียงไป ในทางดูแคลน นี่แหละจึงเป็นกำลังแรงถึงกับให้เกิดเป็น ผลสมบูรณ์
ขึ้นมาได้ เหตุนี้วิจิกิจฉาจิตจึงมีกำลังแรง สามารถส่งผลให้ได้ทั้งใน ปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) มหากุสลกรรม ๘ ที่เกิดขึ้นโดยมีบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็นที่ตั้งนั้น ย่อม ส่งผลในปฏิสนธิกาล
ให้สืบต่อภพต่อชาติ โดยให้เกิดเป็นมนุษย์ ในมนุสสภูมิ ๑ และ เป็นเทวดา ในเทวดาภูมิ ๖

ส่วนในปวัตติกาลนั้น มหากุสลกรรม ๘ ก็ส่งผลให้
ก. อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ โดยทำหน้าที่ให้ได้เห็น สิ่งที่ดี ให้ได้ยินสิ่งที่ดี เป็นต้น
ข. อเหตุกกุสลวิบาก ๕ ดวง (คือ จักขุวิญญาณ ๑, โสตวิญญาณ ๑, สัมปฏิจฉันนะ ๑ และสันตีรณะ ๒ เฉพาะที่เป็นกุสลวิบาก) เกิดขึ้นในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
ค. มหาวิบาก ๘ ดวง เกิดขึ้นในกามสุคติภูมิ ๗ โดยทำหน้าที่ภวังคกิจ ตทาลัมพนกิจ และจุติกิจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๓) อนึ่ง มหากุสลกรรม ๘ นี้ แม้ในมหากุสลกรรมอย่างเดียวกัน ก็อาจ ให้ผลต่างกันได้ ถ้าหากว่าเจตนาในการกระทำนั้นยิ่งหรือหย่อนกว่ากัน กล่าวคือ บุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนกระทำ มุญจเจตนา ความตั้งใจในขณะกระทำ อปรเจตนา ความตั้งใจในเมื่อได้กระทำเสร็จแล้วใหม่ ๆ และ อปราปรเจตนา ความตั้งใจในเมื่อกระทำเสร็จแล้วไปนาน ๆ นั้น เป็นเจตนาที่ดีอยู่ทุกระยะ ก็นับว่าเป็น อุกกัฏฐะ คือ เป็นอย่างอุกฤษณ์เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเจตนานั้นหย่อนไปบ้าง ก็เป็น โอมกะ ดังจะปรากฏรายละเอียดในภาพซึ่งจะแสดงในข้อ (๗) ต่อไป


(๔) ในมหากุสลกรรม ๘ นั้น กุสลกรรมชนิดที่เป็น ติเหตุกะ และเป็นอย่าง อุกกัฏฐะ ย่อมให้ปฏิสนธิที่เป็นชนิด ติเหตุกะ แล้วทำวิบากจิต ๑๖ เกิดเป็นผลใน ปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะแสดงไว้ว่า

ตตฺถาปิ ติเหตุกมุกฺกฏฺฐ กุสลํ
ติเหตุกํ ปฏิสนฺธิ ทตฺวา ปวตฺเต โสฬสวีปากานิ วิปจฺจติ ฯ


(๕) กุสลกรรมชนิดที่เป็น ติเหตุกโอมกะ และชนิดที่เป็นทวิเหตุกะอุกกัฏฐะ ทั้ง ๒ ชนิดนี้นั้น ย่อมให้ปฏิสนธิที่เป็นชนิด ทวิเหตุกะ แล้วทำให้วิบากจิต ๑๒ (เว้นมหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔) เกิดเป็นผลในปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะ แสดงไว้ว่า ติเหตุกโมมกํ ทฺวิเหตุกมุกฺกฏฺฐญฺจ กุสลํ ทฺวิเหตุกํ ปฏิสนฺธึ ทตฺวา ปวตฺเต ติเหตุกรหิตานิ ทฺวาทสวิปากานิ วิปจฺจติฯ


(๖) ส่วนกุสลกรรมชนิดที่เป็น ทวิเหตุกโอมกะ ย่อมให้ปฏิสนธิเป็น อเหตุก กุสลวิบากสันตีรณจิต ๑ ดวง นั่นเอง และทำให้อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘ ดวง นั่นแหละเกิดเป็นผลในปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะแสดงไว้ว่า ทฺวิเหตุกโมมกํ ปน
กุสลํ อเหตุกเมว ปฏิสนฺธิ เทติ ปวตฺเตจ อเหตุกวิปากาเนว วิปจฺจติฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


(๘) พระมหาทัตตเถระ ซึ่งได้รับนับถือเป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่ง ได้แสดงมติ เกี่ยวกับอสังขาริก
และสสังขาริกไว้ แม้พระอนุรุทธาจารย์จะไม่เห็นพ้องด้วยมตินั้น ถึงกระนั้นท่านก็ยังนำมาแสดงไว้ด้วย
ดังปรากฏในคาถาสังคหะที่ ๖ และที่ ๗ ดังนี้

๖. อสงฺขารํ สสงฺขาร วิปากานิ น ปจฺจติ
สสงฺขารมสงฺขาร วิปากานีติ เกจ น ฯ


แปลความว่า กุสลกรรมที่เป็นอสังขาริก ไม่ให้ผลเป็นสสังขาริกวิบาก และกุสลกรรมที่เป็น
สสังขาริก ไม่ให้ผลเป็นอสังขาริกวิบากฯ

๗. เตสํ ทฺวาทส ปากานิ ทสฏฺฐ จ ยถากฺกมํ
ยถาวุตฺตานุสาเรน ยถาสมฺภวมุทฺทิเส ฯ


แปลความว่า ตามนัยของเกจิอาจารย์นั้นย่อมเกิดวิบากจิต ๑๒,๑๐ และ ๘ ดวง
โดยลำดับ ตามสมควร มีความหมายตามนัยแห่งเกจิอาจารย์ ดังนี้
ก. ติเหตุกอุกัฏฐกุสลอสังขาริก ๒ ดวง
ให้ผลเกิดขึ้น ๑๒ คือ อเหตุกกุสล วิบาก ๘ มหาวิบากอสังขาริก ๔

ข. ติเหตุกอุกัฏฐกุสลสสังขาริก ๒ ดวง
ให้ผลเกิดขึ้น ๑๒ คือ อเหตุกกุสล วิบาก ๘ มหาวิบากสสังขาริก ๔

ค. ติเหตุกโอมกกุสลอสังขาริก ๒ ดวง และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุสลอสังขาริก ๒ ดวง

รวม ๔ ดวงนี้ ให้ผลเกิดขึ้น ๑๐ คือ อเหตุกกุสลวิบาก ๘ มหาวิบากญาณ วิปปยุตตอสังขาริก ๒
ง. ติเหตุกโอมกกุสลสสังขาริก ๒ ดวง และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุสลสสังขาริก ๒ ดวง รวม ๔ ดวงนี้
ให้ผลเกิดขึ้น ๑๐ คือ อเหตุกกุสลวิบาก ๘ มหาวิบากญาณ วิปปยุตตสสังขาริก ๒
จ. ทวิเหตุกโอมกกุสลอสังขาริก ๒ ดวงและสสังขาริก ๒ ดวง รวม ๔ ดวง นี้ ให้ผลเกิดขึ้น ๘ คือ
อเหตุกกุสลวิบาก ๘
ฉ. เมื่อสรุปตามนัยของเกจิอาจารย์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ แสดงเป็นภาพได้ ดังนี้ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


(๙) ฐานที่ตั้งแห่งผลของมหัคคตกุสลกรรมนั้น มีคาถาสังคหะอันเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

๘. อิตฺถํ มหคฺคตํ ปุญฺญํ ยถา ภูมิ ววตฺถิตํ
ชเนติ สทิสํ ปากํ ปฏิสนฺธิปฺปวตฺติยํ ฯ


แปลความว่า มหัคคตกุสลกรรมย่อมให้เกิดวิบาก กำหนดตามภูมิเหมือนกันทั้งในปฏิสนธิ กาล
และปวัตติกาลฯ มีความหมายว่า กุสลที่เจริญรูปฌาน อรูปฌานนั้น ย่อมส่งผลให้เกิด มหัคคต
วิบากตามภูมิตามชั้น และเป็นวิบากที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นในปฏิสนธิกาล หรือ ในปวัตติกาล

(๑๐) รูปาวจรกุสลกรรม ย่อมส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้สืบต่อภพต่อชาติเป็น รูปพรหมบุคคลในรูปภูมิ ๑๖
ตามภูมิ ตามชั้นแห่งรูปฌานที่ตนได้ด้วยรูปาวจรวิบากและในปวัตติกาล ก็รูปาวจรวิบากนั่นแหละ เกิดขึ้น
รักษาภพรักษาชาติ คือทำ หน้าที่ ภวังค ต่อไปก็ทำหน้าที่ จุติ อีกด้วย รูปาวจรกุสลกรรมชั้นใด ส่งผลให้
เกิดรูปาวจรวิบากชั้นไหนนั้น ได้แสดงแล้ว ข้างต้นตอนปฏิสนธิจตุกะ

(๑๑) อรูปาวจรกุสลกรรม ก็ย่อมส่งผลทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล ให้เกิดอรูปาวจรวิบากตามภูมิ
ตามลำดับ ดังที่ได้แสดงแล้วข้างต้นตอนปฏิสนธิจตุกะ นั้นเช่นเดียวกัน จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๔ มรณจตุกะ

มรณะ แปลว่า จุติ หรือ ดับ หรือ ตาย จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ขณิกมรณะ การดับของรูปนามตามนัยของอุปปาทะ ฐีติ ภังคะ
๒. สมมติมรณะ การดับ การตายของคน ของสัตว์ อันเป็นโวหารของโลกที่ ใช้กันทั่ว ๆ ไป อยู่เสมอ
๓. สมุจเฉทมรณะ การปรินิพพานของพระอรหันต์
มรณะจตุกะ ที่จะกล่าวในหมวดนี้ กล่าวถึง สมมติมรณะ และ สมุจเฉท มรณะ รวม ๒ ประเภทเท่านั้น ส่วนขณิกมรณะไม่เกี่ยวข้องที่จะต้องพูดถึงในที่นี้
สมมติมรณะของคนและสัตว์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความตายของคนและสัตว์ นั้น หมายถึง การสิ้นไปแห่งอนุบาลธรรม ๓ ประการ คือ
๑. ความสิ้นไป หมดไปแห่งอายุ คือ กัมมชรูป
๒. ความสิ้นไป หมดไปแห่งอุสมาเตโช ซึ่งเป็นธาตุไฟที่ยังความอบอุ่นให้แก่ ร่างกาย
๓. ความสิ้นไป หมดไปแห่งวิญญาณ คือ ภวังคจิต (เฉพาะข้อนี้ ต้องเว้น อสัญญสัตต เพราะไม่มีวิญญาณ) มรณุปปัตติ ความตายที่อุบัติขึ้นนั้นมี ๔ ประการดังนั้นจึงชื่อว่า มรณจตุกะ ความตาย ๔ ประการนั้น ได้แก่
(๑) อายุกขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ
(๒) กัมมักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นกรรม
(๓) อุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้ง ๒อย่าง (คือสิ้นทั้งอายุและสิ้นทั้งกรรม)
(๔) อุปัจเฉทกมรณะ ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุ และสิ้นกรรม
อายุกขยมรณะตายเพราะสิ้นอายุ ๑, กัมมักขยมรณะตายเพราะสิ้นกรรม ๑ และอุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้ง
อายุสิ้นทั้งกรรม ๑ มรณะทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า กาลมรณะ คือ ถึงกาลเวลาที่ควรตาย
ส่วนอุปัจเฉทกมรณะ ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุและสิ้นกรรมนั้น เรียกว่า อกาลมรณะ คือยังไม่ถึงกาลเวลาที่ควรตาย แต่มาตายลงเพราะภัยเพราะอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. อายุกขยมรณะ

การตายเพราะสิ้นอายุนั้น หมายถึง ตายเมื่อแก่ คือ ถึงซึ่งความชราแล้วจึง ตาย เพราะสังขารร่างกายได้
ดำรงคงอยู่มานานพอควรแล้ว ก็ย่อมเสื่อมโทรมลงจน ถึงวาระที่แตกดับทำลายไป

ในสมัยพุทธกาล คนเรามีอายุ ๑๐๐ ปี โดยประมาณ นับแต่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์
เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว อายุคนก็ลดน้อยลงในอัตรา ๑๐๐ ต่อ ๑ คือ กาลเวลาล่วงไป ๑๐๐ ปี อายุขัย
หรืออายุกัปป์ของคนเราก็ลดน้อยลงไป ๑ ปี จนถึงบัดนี้กาลเวลาได้ล่วงเลย ๑๐๐ ปี ไปถึง ๒๕ รอบ
แล้ว อายุขัย อายุกัปป์ ก็ลดลง ๒๕ ปี ดังนั้นอายุขัยของคนในปัจจุบันจึงประมาณ ๗๕ ปีเท่านั้น ถ้าผู้ใด
อยู่ถึง ๗๕ ปี แม้จะน้อยไปหน่อย หรือมากไปสักนิดแล้วจึงตาย ดังนี้เรียกว่าตาย เพราะสิ้นอายุ

อีกนัยหนึ่งท่านกล่าวว่า การตายของปุถุชนทั้งหลาย ตลอดจนการตายของ พระเสกขบุคคล
นั่นแหละ จึงเรียกว่า อายุกขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. กัมมักขยมรณะ

ตายเพราะสิ้นกรรม หมายถึงว่า ผู้ที่ตายนั้นอายุยังน้อย ยังเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาวอยู่
ยังไม่ถึงอายุขัยก็มาตายลงเป็นอันหมดกรรมที่จะต้องได้รับในชาตินี้ แต่เพียงเท่านี้
ดังที่กล่าวกันธรรมดาสามัญว่า หมดเวรหมดกรรมกันเสียที หรือว่า ผู้ที่ตายนั้นมีอายุมากมาย
จนแก่หง่อมหนักหนาจึงได้ตาย การที่ได้อยู่จนถึงกับแก่ หง่อม งก ๆ เงิ่น ๆ หลง ๆ ลืม ๆ เช่นนี้
ก็เพราะยังไม่หมดกรรมที่ตนจะต้องได้รับ ในชาตินี้ (แม้จะหมดอายุขัยแล้วก็ตาม) จึงต้องทนทุกข์
อยู่ไปจนกว่าจะตาย ที่เรียก กันว่า หมดบุญ ก็คือสิ้นกรรม นั่นเอง

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่ปรินิพพานนั่นแหละ เป็นการตายอย่าง
กัมมักขยมรณะโดยตรง เพราะท่านสิ้นกรรมหมดกรรมโดยแท้ เป็น การสิ้นกรรมหมดกรรม
อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทจริงๆ ไม่เหมือนกับที่กล่าว ในวรรคต้นอันเป็นการสิ้นกรรมหมดกรรม
เฉพาะภพนั้นชาตินั้นแต่ชาติเดียว อันเป็น การกล่าวได้โดยปริยาย หาใช่หมดกรรมสิ้นกรรมโดยแท้ไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อุภยักขยมรณะ

ตายเพราะสิ้นทั้งอายุ และสิ้นทั้งกรรม หมายถึงว่า ไม่ได้ตายแต่เด็กแต่เล็ก
ต่อเมื่อถึงอายุขัยจึงตาย ประจวบกับหมดกรรมด้วยพอดี ไม่ต้องทรมานรับกรรม
ใช้ กรรมจนแก่หง่อมดังกล่าวแล้วในข้อต้น ดังนี้แหละ ที่เรียกว่าอุภยักขยมรณะ

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า การปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และการปรินิพพานของ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๒ พระองค์เท่านี้แหละ จึงจะเรียกได้
ว่าเป็น อุภยักขยมรณะ เพราะท่านต้องอยู่จนถึงอายุขัย (ที่มีเงื่อนไข) แม้ใครจะ
ประทุษร้ายอย่างใด ก็ไม่ทำให้ตายได้ และท่านเป็นผู้ที่หมดกรรมแล้วโดยสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อุปัจเฉทกมรณะ

ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุและสิ้นกรรม เพราะมีภัย มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด
มารบกวนตัดรอนทอนอายุให้ขาดลงไป ภัยหรืออันตรายที่มาทำให้ถึงตาย เช่น ศัตราวุธ
ถูกวางยาเบื่อ ถูกสัตว์อื่นทำร้าย ถูกรถทับ ไฟครอก จมน้ำ อดน้ำอดข้าว เป็นโรค ตลอดจนตาย
ด้วยแรงโลภะ แรงโทสะ เหล่านี้เป็นต้น ไม่ได้ตายอย่างปกติ ธรรมดาสามัญเหมือน ๓ อย่าง
ตรงข้างต้นนั้น จึงได้เรียกว่าเป็นอุปัจเฉทกมรณะ ซึ่งจัดเป็นอกาลมรณะ เพราะว่าถ้าหากว่าไม่ได้
รับภยันตรายเช่นนั้น อาจจะยังไม่ถึง แก่มรณะก็ได้

ก่อนที่สัตว์จะถึงแก่มรณะ ไม่ว่าจะมรณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง ที่กล่าวแล้วนี้
จะต้องมีมรณาสันนวิถีเกิดขึ้น ทุกตัวสัตว์ เว้นอสัญญสัตตพรหม แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ที่ก่อนจุติไม่มีมรณาสันนวิถี เพราะอสัญญสัตตพรหม ไม่มีจิต จึงไม่มีวิถีจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 63.43 KiB | เปิดดู 5508 ครั้ง ]
มรณาสันนวิถี

วิถีจิตสุดท้ายที่สัตว์จะถึงแก่มรณะนั้น เรียกว่า มรณาสันนวิถี เมื่อสุดมรณา สันนวิถีแล้ว
จุติจิตก็เกิดขึ้นแน่นอน สัตว์นั้นก็ถึงแก่มรณะ จุติจิตเป็นจิตดวงสุดท้าย ของภพนั้นชาตินั้น
เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติในภพนั้นชาตินั้น กันเสียที ต่อจากจุติจิต คือเมื่อจุติจิตดับลงไปแล้ว
ปฏิสนธิจิตก็เกิดติดต่อกันในทันที ทันใด โดยไม่มีจิตอื่นใดมาเกิดคั่นในระหว่างนั้นเลย
ปฏิสนธิจิตเป็นจิตดวงแรกที่ เกิดสืบต่อก่อภพใหม่ ชาติใหม่ต่อไปอีก (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์
จึงไม่มีปฏิสนธิ จิตมาสืบต่อ เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องเกิดต่อไปอีกแล้ว)

มรณาสันนวิถี มีได้ทั้งทางปัญจทวารและมโนทวาร กล่าวคือ ถ้ามีรูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง
เป็นอารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้น ก็เรียกว่า มรณาสันนวิถี ทาง จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร เป็นต้น
ตามควรแก่อารมณ์ที่มาปรากฏนั้น ถ้ามีความคิดนึกทางใจก็เรียกว่า มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร
มรณาสันนวิถี ไม่ว่าจะเกิดทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวารก็ตาม วิถีนั้นมี ชวนะเพียง ๕ ขณะเท่านั้น
เพราะจิตใจที่กำลังอ่อนเต็มที จะขาดใจอยู่แล้ว มรณา สันนวิถีมี ๔ อย่าง คือ
ก. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ
ข. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ภวังค
ค. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ตทาลัมพนะ
ง. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ตทาลัมพนะ ภวังคะ
มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวารมี ๔ วิถี ดังนี้
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 58.33 KiB | เปิดดู 5508 ครั้ง ]
มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร มี ๔ วิถี เช่นเดียวกัน
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ
อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะหมายถึงอารมณ์ของชวนะจิต ๕ ขณะในมรณาสันนวิถี
ในกาลแห่งสัตว์อันใกล้มรณะนั้น จะต้องมีอารมณ์อันมีชื่อเรียกเป็นพิเศษโดย เฉพาะว่า
กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใด อย่างหนึ่งมาปรากฏแก่
ชวนะจิตในมรณาสันนวิถี อารมณ์นี้จะต้องเกิดทั่วทุกคนทุก ตัวสัตว์ เว้นแต่ อสัญญสัตตพรหม
และพระอรหันต์
ที่เว้น อสัญญสัตตพรหม เพราะอสัญญสัตตพรหมไม่มีจิต จึงไม่มีอารมณ์
ส่วนที่เว้นพระอรหันต์ด้วยนั้น เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องไปเกิดอีกแล้ว จึงไม่มี
อารมณ์ที่มีชื่อเฉพาะ ๓ อย่างนี้ อันเป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด
ชวนะจิตในมรณาสันนวิถี (บางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า มรณาสันนชวนะ) แต่ ชาติก่อนมี
สิ่งใดเป็นอารมณ์ จิตที่เป็นปฏิสนธิและภวังค ตลอดจนจุติจิตในปัจจุบัน ชาตินี้ ก็ถือเอา
สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตในภพเดียวกัน ในชาติเดียวกันในบุคคล
เดียวกัน เป็นจิตดวงเดียวกันและมีอารมณ์ อย่างเดียวกันด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร