วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ย. 2024, 16:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อุปปัชชเวทนียกรรม

อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมที่สนองผลในชาติที่ ๒ คำว่า อุปปัชช หมายความว่า ในชาติที่ ๒
เวทนีย แปลว่า การเสวยต่อผลนั้น รวมมีความหมาย ว่า ได้เสวยต่อผลนั้นในชาติที่ ๒
(นับจากปัจจุบันชาตินี้เป็นชาติที่ ๑) เมื่อชาตินี้ได้กระทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น
กุสลกรรม หรืออกุสล กรรมลงไปแล้ว และเจตนากรรมในชวนะดวงที่ ๑ ก็ไม่มีโอกาสที่จะให้ผลใน
ปวัตติกาลในชาตินี้ด้วย จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจตนากรรมในชวนะดวงที่ ๗ ที่จะ ส่งผลให้ได้รับ
ในชาติที่ ๒ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาลด้วย ในปฏิสนธิกาล ก็ให้ไปเกิดเป็นสุคติบุคคล
หรือทุคคติบุคคลในปวัตติกาล (ในชาติที่ ๒ นั้น) ก็ได้ ให้เสวยสุข หรือทุกข์
ตามควรแก่กรรมที่ได้กระทำนั้น

๓. อปราปริยเวทนียกรรม

อปราปริยเวทนียกรรมเป็นกรรมที่สนองผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปคำว่า อปราปริย
หมายความว่าภพอื่นชาติอื่น เวทนีย แปลว่า การเสวยต่อผลนั้น รวมความว่า
ได้เสวยต่อผลนั้นในภพอื่น ๆ ชาติอื่น ๆ คือไม่ใช่ชาตินี้ และไม่ใช่ ชาติที่ ๒
เมื่อชาตินี้ได้กระทำกุสลกรรม หรืออกุสลกรรมลงไปแล้ว อำนาจของเจตนา กรรมนั้น
ในชวนะดวงที่ ๑ ไม่มีโอกาสให้ผลในปวัตติกาลในชาตินี้ทั้งเจตนากรรม ในชวนะดวงที่ ๗
ก็ไม่มีโอกาสให้ผลในชาติที่ ๒ ด้วย แล้วเจตนากรรมในชวนะ ดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖
ย่อมมีอำนาจติดตามจ้องคอยหาโอกาสให้ผลในชาติที่ ๓ และ ชาติต่อ ๆ ไป
จนกว่าผู้นั้นจะเข้าสู่พระนิพพาน

ชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ รวมชวนะ ๕ ดวง แต่ละวิถีนี้ ถ้าดวงใด ดวงหนึ่งให้ผลปฏิสนธิไปแล้ว
เหลือ ชวนะอีก ๔ ดวงในวิถีเดียวกันนั้น จะให้ ปฏิสนธิอีก ๔ ภพ ๔ ชาตินั้นไม่ได้ แต่ว่ามีอำนาจ
ให้ผลในปวัตติกาลในชาตินั้นได้ กล่าวคือ ในชวนะ ๕ ดวง ในวิถีหนึ่งนั้นให้ผลเป็นปฏิสนธิได้ดวงเดียว
จะเป็น ดวงหนึ่งดวงใดก็ตาม ที่เหลืออีก ๔ ดวง ให้ผลในทางสนับสนุนเบียดเบียน หรือ
ตัดรอนปฏิสนธิสัตว์นั้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อโหสิกรรม

อโหสิกรรม เป็นกรรมที่ไม่สนองผล ไม่ให้ผล เลิกให้ผล หมายความว่าเป็น
กรรมที่ไม่สามารถจะอำนวยผลได้เพราะ
กรรมนั้นได้ให้ผลแล้ว
กรรมนั้นไม่ก่อให้เกิดผล
กรรมนั้นไม่มีผู้จะรับผล

เหล่านี้แหละ กรรมนั้นจึงได้ชื่อว่า อโหสิกรรม ดังที่ใน ปฏิสัมภิทามัคคบาลี แสดงไว้ว่า

(ก) อโหสิกมฺมํ นาโหสิกมฺมวิปาโก ได้แก่กรรมที่ได้ให้ผลแล้ว เช่น ได้ตก นรกไปแล้ว หรือได้ไปเกิด
ในภูมิสวรรค์นั้น ๆ แล้ว กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงอดีต
อนึ่ง กรรมอันเล็กน้อย ย่อมเข้ากับกรรมใหญ่ได้ กรรมใหญ่ก็รับไปเสีย กรรม เล็กน้อยนั้นก็เลิกให้ผล
ไม่ต้องให้ผล เช่น ได้ตติยฌานกุสลกรรม ตติยฌานวิบาก ก็เป็นผู้รับผล ปฐมฌานกุสลกรรม ทุติยฌานกุสลกรรม อันเป็นกรรมเล็กน้อยกว่า ก็เป็นอันไม่ต้องให้ผล จึงเป็นอโหสิกรรมไป กล่าวคือ ปฐมฌานวิบาก ทุติยฌาน วิบากก็ไม่ต้องเกิดขึ้น

(ข) อโหสิกมฺมํ นตฺถิกมฺมวิปาโก ได้แก่ กรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผล เช่น กิริยา จิต แม้จะกระทำสักเท่าใด
ก็ตาม ก็เป็นกิริยาไปหมด ไม่เกิดวิบาก ไม่ก่อให้เกิดผลเลย จึงเป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงปัจจุบัน

(ค) อโหสิกมฺมํ นภวิสฺสติกมฺมวิปาโก ได้แก่ผลกรรมในชาติอนาคตไม่มีแล้ว เช่น องคุลีมาลฆ่าคนเป็น
ต้น ผลของกรรมที่ฆ่ามนุษย์นั้นไม่ส่งผลได้ เพราะต่อมา ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีภพ ไม่มีชาติ คือไม่ต้องเกิดอีกแล้ว กรรมนั้นก็ไม่มี ผู้รับสนอง จึงเป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงอนาคต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๓ กัมมจตุกะ ง. ปากฐาน

ปากฐาน คือ ที่ตั้งแห่งวิบากจิต อันเกิดจากกุสลกรรม และอกุสลกรรม การแสดงปากฐานนี้
เป็นการแสดงตามนัยแห่งพระอภิธรรมโดยตรง ซึ่งจำแนกออก เป็น ๔ อย่าง คือ
(๑) ที่ตั้งแห่งวิบากจิตอันเกิดจาก อกุสลกรรม
(๒) ที่ตั้งแห่งวิบากจิตอันเกิดจาก กามาวจรกุสลกรรม
(๓) ที่ตั้งแห่งวิบากจิตอันเกิดจาก รูปาวจรกุสลกรรม
(๔) ที่ตั้งแห่งวิบากจิตอันเกิดจาก อรูปาวจรกุสลกรรม

ก่อนที่จะแสดงฐานที่ตั้งแห่งวิบากจิต อันเกิดจากกรรม ๔ อย่างดังกล่าวนี้ จะได้แสดง
ถึงการเกิดขึ้นของอกุสลกรรม และกุสลกรรมเหล่านี้เสียก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. การเกิดขึ้นของอกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของอกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ การเกิดขึ้นของจิต แล้วก็มี ๑๒ คือ
อกุสลจิต ๑๒ ดวง อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และ โมหมูลจิต ๒
เมื่อกล่าวโดยกรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว ก็มี ๓ คือ กระทำทางกาย ทวาร อันได้แก่
กายวิญญัตติ ก็เรียกว่า กายกรรม หรือ กายทุจริต กระทำทางวจี ทวาร อันได้แก่ วจีวิญญัตติ
ก็เรียกว่า วจีกรรม หรือ วจีทุจริต และกระทำทาง มโนทวาร ก็เรียกว่ามโนกรรม หรือ มโนทุจริต
เมื่อกล่าวโดย กรรมบถ ทางของการกระทำแล้วก็มี ๑๐ เรียกว่า อกุสล กรรมบถ ๑๐ หรือ
ทุจริต ๑๐ อันได้แก่
๑. ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน การลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร การล่วงประเวณี

ทุจริต ๓ ประการนี้ย่อมเกิดทางกายทวารเป็นกายกรรม ๓ หรือกายทุจริต ๓

๔. มุสาวาท พูดปด
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาท พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาป พูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ

ทุจริต ๔ ประการนี้ย่อมเกิดทางวจีทวาร เป็นวจีกรรม ๔ หรือวจีทุจริต ๔

๘. อภิชฌา เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท คิดปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด

ทุจริต ๓ ประการนี้ เกิดทางมโนทวาร เป็นมโนกรรม ๓ หรือ มโนทุจริต ๓

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลกรรมบถ ๑๐ หรือทุจริต ๑๐ อันได้แก่ กายกรรม ๓ หรือกายทุจริต ๓ วจีกรรม ๔
หรือวจีทุจริต ๔ และมโนกรรม ๓ หรือมโนทุจริต ๓ นี้ สำหรับ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔
รวมเรียกว่า ทุจริต ๗ นั้น ถ้าหากว่า กายปโยคและ วจีปโยคแล้ว ก็นับว่ายังไม่ล่วงกรรมบถ
ส่วนมโนทุจริต ๓ นั้น เพียงแต่นึกแต่ คิดเท่านั้น ก็เป็นอันล่วงกรรมบถแล้ว กรรมใดที่ถึงกับ
ล่วงกรรมบถ กรรมนั้นสามารถส่งผลให้เป็นปฏิสนธิได้ แต่ว่า ถ้าไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ
ก็เพียงแต่ให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น กระทำอย่างไรจึงจะ นับว่าล่วงกรรมบถนั้น
ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นครบองค์แห่งกรรมบถหรือไม่
องค์และปโยคของอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น ดังนี้
๑. ปาณาติบาต มีองค์ ๕
๑. ปาโณ สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม ทำความเพียรเพื่อฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายเพราะความเพียรนั้น
ปโยค คือ ความเพียรพยายามในการกระทำปาณาติบาตนั้น มี ๖
๑. สาหตฺถิกปโยค สังหารด้วยตนเอง
๒. อาณตฺติกปโยค ใช้ผู้อื่น หรือใช้วาจาสังหาร
๓. นิสฺสคฺคิยปโยค ใช้อาวุธสังหาร
๔. ถาวรปโยค สังหารด้วยหลุมพลาง
๕. วิชฺชามยปโยค สังหารด้วยวิชาคุณ
๖. อิทฺธิมยปโยค สังหารด้วยฤทธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อทินนาทาน มีองค์ ๕
๑. ปรปริคฺคหิตํ ทรัพย์ของผู้อื่น
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่าเป็นของผู้อื่น
๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก
๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อลัก
๕. เตน หรณํ ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรนั้น

ปโยคของอทินนาทาน มี ๖
๑. สาหตฺถิกปโยค ลักด้วยตนเอง
๒. อาณตฺติกปโยค ใช้ผู้อื่นลัก
๓. นิสฺสคฺคิยปโยค ลักโดยใช้อาวุธ
๔. ถาวรปโยค ลักโดยใช้เครื่องไม่ให้จำหน้าได้
๕. วิชฺชามยปโยค ลักโดยใช้วิชาคุณ เช่น สกดให้เจ้าของหลับ
๖. อิทฺธิมยปโยค ลักด้วยฤทธิ ด้วยเดช เช่น ดำดินไปลัก

๓. กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔
๑. อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรไป
๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓. เสวนปโยโค เพียรจะเสพ
๔. มคฺเคนมคฺคปฏิปตฺติ อธิวาสนํ พอใจทำมัคคให้ล่วงมัคค
ปโยคของกาเมสุมิจฉาจาร มีอย่างเดียว คือ สาหตฺถิกปโยค คือ กระทำเอง
ด้วยความเพียรเพื่อให้ได้เสพรสกามคุณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. มุสาวาท มีองค์ ๔
๑. อตถวตฺถุ เรื่องไม่จริง (วัตถุเทียม)
๒. วิสํวาทนจิตฺตา จิตคิดจะมุสา
๓. ปโยโค ประกอบความเพียร
๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้ฟังเชื่อตามที่กล่าวนั้น

ปโยคของมุสาวาท มี ๓
๑. สาหตฺถิกปโยค กล่าวเอง
๒. อาณตฺติกปโยค ให้ผู้อื่นกล่าว
๓. ถาวรปโยค กล่าวโดยลายลักษณ์อักษร

๕. ปิสุณาวาท มีองค์ ๔
๑. ภินฺทิตพฺโพ มีหมู่คณะที่พึงแตกกัน
๒. เภทปุเรกฺขาโร ปรารถนาจะให้แตกกัน
๓. ปโยโค เพียรพยายามให้แตกกัน
๔. ตทตฺถวิชานนํ หมู่คณะนั้นปักใจเชื่อ

ปโยคของปิสุณาวาทนี้มีอย่างเดียวเท่านั้นคือ สาหตฺถิกปโยค กล่าวเอง ทำเอง
ที่ว่ากล่าวเอง หมายถึง กล่าววาจาเป็นวจีทวาร เรียกว่า วจีปโยค ส่วนทำเอง หมายถึง
การใช้กิริยาอาการบุ้ยใบ้ให้รู้ โดยไม่ต้องออกเสียงพูด นี่เป็น กายทวาร เรียกว่า กายปโยค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ผรุสวาท มีองค์ ๓
๑. อกฺโกสิตพฺโพ มีผู้อื่นที่พึงด่า
๒. กุปจิตฺตํ มีจิตโกรธเคือง
๓. อกฺโกสมา กล่าวคำหยาบ คำบริภาษ
ปโยค ของผรุสวาทนี้ มีอย่างเดียวเหมือนกัน คือ สาหตฺถิกปโยค กล่าวเอง ทำเอง
เป็นได้ทั้งวจีปโยค และกายปโยค ทำนองเดียวกับปิสุณาวาท

๗. สัมผัปปลาป มีองค์ ๒
๑. นิรตฺถกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสาร ไม่มีประโยชน์
๒. กถนํ กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้น
ปโยคของสัมผัปปลาป ก็ทำนองเดียวกันกับปิสุณาวาท และผรุสวาท ที่กล่าว แล้วข้างต้น

๘. อภิชฌา มีองค์ ๒
๑. ปรภณฺฑํ ทรัพย์ของผู้อื่น
๒. อตฺตโน ปริณามนํ มีความเพ่งเล็งให้ได้มาเป็นของตน
ปโยคของอภิชฌา คือ สาหตฺถิกปโยค คิดเอง นึกเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. พยาบาท มีองค์ ๒
๑. ปรสตฺโต มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย
๒. วินาสจินฺตา มีจิตคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสบความพินาศ
ปโยคของพยาบาท คือ สาหตฺถิกปโยค คิดเอง นึกเอง

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีองค์ ๒
๑. วตฺถุโน วิปริตฺตา ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด
๒. ตถา ภาเวน อุปฏฺฐานํ เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์นั้น
ปโยคของมิจฉาทิฏฐิ คือ สาหตฺถิกปโยค คิดเอง นึกเอง

อนึ่งการเสพสุราเมรัย ไม่ได้จัดเป็นอกุสลกรรมบถอีกข้อหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่สงเคราะห์เข้าในกาเมสุมิจฉาจาร เพราะเป็นความประพฤติผิดในกามคุณ
คือ รสารมณ์เหมือนกัน องค์ของสุรา มี ๔
๑. มทนียํ เป็นน้ำเมา
๒. ปาตุกมฺมยตาจิตฺตํ มีเจตนาจะดื่ม
๓. ตชฺชญฺจ วายามํ กระทำการดื่ม
๔. ปิตญฺจ ปวิสติ น้ำเมานั้น ล่วงลำคอลงไป

เฉพาะอกุสลกรรมบถข้อ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิ นั้น มีความหมายดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฺฉา ปสฺสตีติ มิจฺฉาทิฏฺฐิฯ
ธรรมชาติใดที่มีความเห็นวิปริตอันผิดไปจาก ความเป็นจริง นั่นแหละชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
มิจฉาทิฏฐิ มีอยู่หลายประเภท เช่น
สักกายทิฏฐิ ๒๐ มีความยึดมั่นในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นเขา เป็นเรา
มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ในพรหมชาลสูตรแห่งสีลขันธวัคค
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่แสดงไว้ใน สามัญญผลสูตร แห่งสีลขันธวัคค
สำหรับมิจฉาทิฏฐิ ที่กล่าวในมโนทุจริตกรรมนี้ มุ่งหมายเฉพาะนิยตมิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ ที่สำเร็จเป็นกรรมบถ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ มีชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า มิจฉัตตนิยตะนั้น มี ๓ คือ
๑. อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นั้น ไม่ได้อาศัย เนื่องมาจากเหตุแต่อย่างใด (ไม่เชื่อเหตุ อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒)
๒. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า การทำอะไร ๆ ก็ตาม ผลที่จะได้รับนั้นย่อม ไม่มี (ไม่เชื่อผล อุจเฉททิฏฐิ ๗)
๓. อกริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การที่สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจการต่าง ๆ นั้น ไม่ สำเร็จเป็นบุญ หรือเป็นบาป
แต่อย่างใดเลย (ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล สัสสตทิฏฐิ ๔)

มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ จำแนกเป็นสาขาใหญ่ ๒ สาขา คือ ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑ และ อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๑
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุในอดีต มี ๑๘ คือ
๑. สัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)
๒. เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตา และโลกบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
๓. อันตานันติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด
๔. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ ความเห็นซัดส่าย ไม่ตายตัว จะว่าใช่ก็ไม่เชิง จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง
๕. อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ เห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ (อเหตุกทิฏฐิ)
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผลในอนาคต มี ๔๔ คือ
๑. สัญญีวาททิฏฐิ ๑๖ เห็นว่า อัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมีสัญญา
๒. อสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่า อัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วไม่มีสัญญา
๓. เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่า อัตตาไม่เสื่อมสลาย เมื่อตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
๔. อุจเฉททิฏฐิ ๗ เห็นว่า ตายแล้วสูญ (นัตถิกทิฏฐิ)
๕. ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕ เห็นว่า พระนิพพานมีในปัจจุบัน (คือ ๑.ว่ากามคุณ ๕ เป็นพระนิพพาน, ๒.ว่าปฐมฌาน, ๓.ว่าทุติยฌาน, ๔.ว่าตติยฌาน, ๕.ว่าจตุตถฌาน เป็นพระนิพพาน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ๒๐

รูปํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นรูปโดยเป็นตน
รูปํวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีรูป
อตฺตนิ รูปํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นรูปในตน
รูปสฺมึ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในรูป

เวทนํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นเวทนาโดยเป็นตน
เวทนาวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีเวทนา
อตฺตนิ เวทนํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นเวทนาในตน
เวทนาย อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในเวทนา

สญฺญํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นสัญญาโดยเป็นตน
สญฺญาวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีสัญญา
อตฺตนิ สญฺญํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นสัญญาในตน
สญฺญาย อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในสัญญา

สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นสังขารทั้งหลายโดยเป็นตน
สงฺขารวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีสังขาร
อตฺตนิ สงฺขาเร สมนุปฺปสฺสติ เห็นสังขารทั้งหลายในตน
สงฺขาเรสุ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในสังขารทั้งหลาย

วิญฺญาณํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นวิญญาณโดยตนเอง
วิญฺญาณเวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีวิญญาณ
อตฺตนิ วิญฺญาณํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นวิญญาณในตน
วิญฺญาณสฺสมึ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในวิญญาณ

( จูฬเวทลฺลสุตฺต มชฺฌิมนิกาย มูลปณฺณาสก )

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลที่อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งให้ในปวัตติกาล

ผลในปวัตติกาลของปาณาติบาต มี ๙ ประการ คือ
๑. ทุพพลภาพ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. เป็นคนขลาด
๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
๗. โรคภัยเบียดเบียน
๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๙. อายุสั้น

ผลในปวัตติกาลของอทินนาทาน มี ๖ ประการ คือ
๑. ด้อยทรัพย์ ๒. ยากจน
๓. อดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า
๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

ผลในปวัตติกาลของกาเมสุมิจฉาจาร มี ๑๑ ประการ คือ
๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นหญิง
ฝ๖. เป็นกระเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

ผลในปวัตติกาลของมุสาวาท มี ๘ ประการ คือ
๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของปิสุณาวาท มี ๔ ประการ คือ
๑. ตำหนิตนเอง
๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๔. แตกมิตรสหาย

ผลในปวัตติกาลของ ผรุสวาท มี ๔ ประการ คือ
๑. พินาศในทรัพย์
๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
๓. มีกายและวาจาหยาบ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย

ผลในปวัตติกาลของสัมผัปปลาป มี ๔ ประการ คือ
๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
๓. ไม่มีอำนาจ
๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของอภิชฌา มี ๔ ประการ คือ
๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๓. มักได้รับคำติเตียน
๔. ขัดสนในลาภสักการะ

ผลในปวัตติกาลของพยาบาท มี ๔ ประการ คือ
๑. มีรูปทราม
๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. อายุสั้น
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

ผลในปวัตติกาลของมิจฉาทิฏฐิ มี ๔ ประการ คือ
๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม
๒. มีปัญญาทราม
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

ผลในปวัตติกาลของการเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ
๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม
การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดย จิตตุปปาทะ การเกิด ขึ้นของจิตแล้ว
ก็มี ๘ คือ มหากุสลจิต ๘ ดวง

เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว ก็มี ๓ คือ
กระทำทางกายทวารได้แก่ กายวิญญัตติ ก็เรียกว่า กายกรรม หรือ กายสุจริต มี ๓ ประการ
การกระทำทางวจีทวารได้แก่ วจีวิญญัตติ ก็เรียกว่า วจีกรรม หรือ วจีสุจริต มี ๔ ประการ
การกระทำทางมโนทวารก็เรียกว่า มโนกรรม หรือ มโนสุจริต มี ๓ ประการ รวมเป็นสุจริต ๑๐ ประการ คือ กายกรรม หรือกายสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑, เว้นจากการ ลักทรัพย์ ๑ และเว้นจากการล่วงประเวณี ๑ วจีกรรม หรือวจีสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการพูดปด ๑, เว้นจากการพูด ส่อเสียด ๑, เว้นจากการพูดจาหยาบคาย ๑ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ๑
มโนกรรม หรือมโนสุจริต ก็ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑, ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา ๑ และให้มีความเห็นถูกต้อง ๑
การกระทำกามาวจรกุสลกรรมนี้ แม้ว่าจะได้เกิดทั้ง ๓ ทวารก็จริง แต่ว่าส่วนมากเกิดทางมโนกรรมมากกว่าเกิด ทางกายกรรม หรือทางวจีกรรม เป็นต้นว่า เป็น แต่จิตคิดงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุริต ๔ เพียงเท่านั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นกุสลกาย กรรม ๓ และกุสลวจีกรรม ๔ แล้ว
การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภทของ ทาน สีล ภาวนา แล้วก็มี ๓ เหมือนกัน คือทาน ๑, สีล ๑ และ ภาวนา ๑
การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยอำนาจบุญกิริยาวัตถุแล้วก็ มี ๑๐ ประการ บุญกิริยาวัตถุเป็นภาษาบาลีเขียนว่า ปุญฺญกิริยาวตฺถุ แปลว่า ความดีที่ควรกระทำเพราะเป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐คือ

๑. ทาน การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ
๒. สีล การรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น
๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้กุสลอันประเสริฐเกิดขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย
๔. อปจายนะ การแสดงคารวะและอ่อนน้อมแก่ผู้ที่เจริญด้วยชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ
๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการที่เกี่ยวแก่ ปริยัติ และปฏิบัติ
๖. ปัตติทานะ การอุทิศส่วนกุสลให้บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนารับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้ ได้แก่ การเห็นดี
และคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น
๘. ธัมมสวนะ การตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา แม้ฟังการสั่งสอนวิชา ทางโลก
ที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เป็นธัมมสวนะ
๙. ธัมมเทสนา การแสดงธรรมแก่ผู้ประสงค์ฟังธรรม แม้การสั่งสอนวิชาทาง โลกที่ไม่มีโทษ
ก็สงเคราะห์เป็นธัมมเทสนาเช่นเดียวกัน
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การมีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างน้อยก็ต้อง
ถึงกัมมสกตาปัญญา คือ รู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

ธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดกัมมสกตาปัญญา คือ
ก. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การศึกษาเล่าเรียน
ข. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การพิจารณาไตร่ตรอง
ค. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การเจริญวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8170


 ข้อมูลส่วนตัว


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในประเภททาน สีล ภาวนา แล้วก็ได้ ดังนี้
ปัตติทานะ กับปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน ชื่อว่า ทานมัย
อปจายนะ กับ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ลงใน สีล ชื่อว่า สีลมัย
ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา และทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ลงใน ภาวนา ชื่อว่า ภาวนามัย

อีกนัยหนึ่งตามนัยแห่งพุทธภาษิตอรรถกถา แสดงว่า ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา
สงเคราะห์ลงใน ทานมัยกุสลก็ได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
ส่วน ทิฏฐุชุกรรม นั้น มีแสดงไว้ใน สังคีติสูตร แห่งปาถิกวรรคอรรถกถา ว่า ทิฏฐุชุกมฺมํ สพฺเพสํ นิยมลกฺขนํ ทิฏฐุชุกรรมนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์ ของบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง หมายความว่าสงเคราะห์ทิฏฐุชุกรรมลงใน ทานมัย สีลมัย ได้ทั้งหมด เพราะว่าทิฏฐุชุกรรม ก็คือ ปัญญาที่เห็นตรงตามความเป็นจริง ถ้าการ บริจาคทาน การรักษาสีล การเจริญภาวนา โดยไม่มีทิฏฐุชุกรรมประกอบด้วยแล้ว การให้ผลของ ทาน สีล ภาวนาเหล่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ มีการขาดตกบกพร่อง แม้จะ ให้ผลไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ก็จะเป็นมนุษย์ เทวดาชั้นต่ำ มีอวัยวะขาดตก บกพร่อง หรือโง่เขลาเบาปัญญา ขาดแคลนทรัพย์ มีความเดือดร้อน ไม่ใคร่มีความ สุขสบาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร