วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 18:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนา

ใน อัปปนาชวนะ ๕๘ ดวงนี้ เป็นโสมนัสเวทนาก็มี เป็นอุเบกขาเวทนาก็มี ทั้งนี้แล้วแต่ว่าญาณสัมปยุตตจิตที่เป็น บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู (หรือ โวทาน) นั้นจะเกิดพร้อมกับเวทนาอะไร ถ้าเป็นโสมนัสเวทนา อัปปนาชวนะก็เกิด ตามมา ก็เป็นโสมนัสด้วย ถ้าเป็นอุเบกขาเวทนา อัปปนาชวนะที่เกิดตามมาก็เป็น อุเบกขาด้วย
การจำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนานี้ เป็นการแสดงอย่างที่เรียกว่า ธัมมา ธิฏฐาน คือไม่กล่าวอ้างถึงบุคคล แต่กล่าวอ้างเฉพาะจิตเท่านั้น ดังมีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๕ ) แสดงว่า

๕. ทฺวตฺตีส สุขปุญฺญมฺหา ทฺวาทโสเปกฺขกา ปรํ
สุขิตกฺริยโต อฏฺฐ ฉ สมฺโภนฺติ อุเปกฺขกา ฯ


แปลความว่า
ก. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด
ข. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด
ค. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด
ง. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ ย่อมเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

(ก) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู(หรือโวทาน) นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัส อัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด โสมนัส
อัปปนาชวนะ ๓๒ นั้น ได้แก่
รูปาวจร กุสล ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ ดวง
มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๑๖ ดวง
ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน๑๒ดวง(เว้นอรหัตตผล ๔)

(ข) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู(หรือโวทาน) นั้นเป็นอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นอุเบกขา อัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด อุเบกขา
อัปปนาชวนะนั้น ได้แก่
รูปาวจร กุสล ปัญจมฌาน ๑
อรูปาวจร กุสล ๔
มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๔
ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๓ (เว้นอรหัตตผล ๑)

(ค) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ นั้น ได้แก่
รูปาวจรกิริยา ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔
อรหัตตผลที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔

(ง) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้น เป็น
อุเบกขาเวทนา เกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้น อุเบกขาอัปปนา ชวนะ ๖ ย่อมเกิด อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ นั้น ได้แก่
รูปาวจร กิริยา ปัญจมฌาน ๑
อรูปาวจร กิริยา ๔
อรหัตตผล ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกอัปปนาชวนะ โดยบุคคล

อัปปนาชวนะ ๕๘ นี้ ท่านจำแนกอีกนัยหนึ่ง เป็นการจำแนกตามบุคคล อย่างที่เรียกว่า ปุคคลาธิฏฐาน
บุคคลในที่นี้ ท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ปุถุชน และ เสกขบุคคล ซึ่ง เป็นบุคคลที่ยัง มีกิเลส อยู่ ๑
และ อเสกขบุคคล ซึ่งเป็นบุคคล ที่สิ้นกิเลส แล้วโดยสิ้นเชิง อีก ๑ เท่านั้น
เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตของพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๑๔ ย่อมเกิดตามมา
การจำแนกตามนัยนี้ มีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๖ ) แสดงว่า

๖. ปุถุชฺชนาน เสกฺขานํ กามปุญฺญติเหตุโต
ติเหตุกามกฺริยโต วีตราคานมปฺปนา ฯ


แปลความว่า เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตของติเหตุกปุถุชน และผลเสกขบุคคลเกิดขึ้นแล้ว
อัปปนาชวนะ ๔๔ ย่อมเกิดตามมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2013, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย
เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัส และอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของติเหตุกปุถุชน
และผลเสกขบุคคล ๓ คือ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ซึ่งเป็นบุคคล
ที่ยังมีกิเลสอยู่ เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๔๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ ย่อมเกิดตามมา
มหัคคตกุสล ๙
มัคคจิต ๒๐
ผลจิต ๑๕ (เว้นอรหัตตผล ๕)

เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัสและอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของพระอรหันต์
ซึ่งเป็นบุคคลที่สิ้นกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง เกิดขึ้นแล้ว อัปปนา ชวนะ ๑๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้
ย่อมเกิดตามมา
มหัคคต กิริยา ๙
อรหัตตผล ๕
การจำแนกอัปปนาชวนะโดยปุคคลาธิฏฐานนี้ ท่านไม่ได้กล่าวถึงการจำแนก เวทนาร่วมพร้อมกัน
ไปด้วย แต่ถ้าจะจำแนกทั้งบุคคล และเวทนาร่วมไปพร้อมกัน ก็จะได้ภาพดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2013, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีกิเลส โสมนัส อัปปนาชวนะ ๓๒ รูปาวจร กุสล ๔ มัคคจิต ๑๖ ผลจิต(เบื้องต่ำ) ๑๒ เกิดต่อจากโสมนัส มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี

ยังมีกิเลส อุเบกขา อัปปนาชวนะ ๑๒ รูปาวจร กุสล ๑ อรูปาวจร กุสล ๔ มัคคจิต ๔ผลจิต(เบื้องต่ำ) ๓ เกิดต่อจากอุเบกขา มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒ในอัปปนาวิถี

สิ้นกิเลสแล้ว โสมนัส อัปปนาชวนะ ๘ รูปาวจร กิริยา ๔ อรหัตตผล ๔ เกิดต่อจากโสมนัส มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี

สิ้นกิเลสแล้ว อุเบกขา อัปปนาชวนะ ๖ รูปาวจร กิริยา ๑อรูปาวจร กิริยา ๔อรหัตตผล ๑ เกิดต่อจากอุเบกขามหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒ในอัปปนาวิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 141.94 KiB | เปิดดู 6434 ครั้ง ]
กามวิถี กับ อัปปนาวิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 131.73 KiB | เปิดดู 6434 ครั้ง ]
กามวิถี .....................................................................................อัปปนาวิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 76.43 KiB | เปิดดู 6434 ครั้ง ]
กามวิถี ............................................................อัปปนาวิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณวิถี

ปัจจเวกขณะ แปลว่า พิจารณา หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม สภาวะธรรมที่เป็นจริง
ปัจจเวกขณวิถี ก็คือ วิถีจิต หรือ ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง สภาพแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี
เมื่อ มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน จะไม่มีปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถี ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พิจารณามัคค
๒. พิจารณาผล
๓. พิจารณานิพพาน
๔. พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว
๕. พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่

ในปัจจเวกขณะ ๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑ และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้
ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๑ และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๑ นั้น บางทีก็พิจารณา บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ จึงจะทราบเรื่องราวของกิเลส เมื่อทราบก็พิจารณาได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา ก็ไม่ทราบเรื่องจึงไม่พิจารณา
ปัจจเจกขณวิถี ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี สกทาคามีมัคควิถี และ อนาคามีมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ ส่วนปัจจเวก ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย
รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙ ประการ คือ
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณวิถี เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น
ก็มีได้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป
แต่หลังจาก อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ วิถีไม่เกิด
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล หรือเป็น พระอริยบุคคล
ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้ เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น
อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ คือ
๑. พิจารณาว่า เรามีความ แก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ ไปได้
๒. พิจารณาว่า เรามีความ เจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บ ไปได้
๓. พิจารณาว่า เรามีความ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ ตาย ไปได้
๔. พิจารณาว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาบัติวิถี
สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงพร้อมหรือการเข้าอยู่พร้อม สมาบัตินี้มี ๓อย่างคือ
๑. ฌานสมาบัติ การเข้าถึงฌานจิต หรือการเข้าอยู่ในฌานจิต เป็นโลกียะ
๒. ผลสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งอริยผลจิต หรือการเข้าอยู่ในอริยผลจิต เป็น โลกุตตระ
๓. นิโรธสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งความดับของจิตและเจตสิก ไม่จัดเป็นโลกียะ หรือ โลกุตตระเพราะไม่มีจิตจะดับ

ฌานสมาบัติวิถี

การเข้าฌานสมาบัติ เพื่อหนีทุกขเวทนา โดยปรารถนาจะเสวยฌานสุข ยังความอิ่มใจ
หรือความวางเฉย แน่วแน่อยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ตราบเท่า เวลาที่ตนอธิษฐาน
(คือตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า) ไว้
ผู้เข้าฌานสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน และ ต้องมี วสี คือความชำนาญ หรือ ความแคล่วคล่อง
ว่องไวทั้ง ๕ ประการ ได้แก่

๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการ นึกที่จะเข้าฌานตามที่ตนตั้งใจ
๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการ เข้าฌาน
๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญในการ ตั้งความปรารถนาที่จะให้ ฌานจิต ตั้งมั่นอยู่เป็นเวลาเท่าใด
๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญในการ ออกจากฌาน
๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการ พิจารณาองค์ฌาน

เมื่อ ฌานลาภีบุคคล คือบุคคลผู้ได้ฌาน มีความคล่องแคล่วว่องไว ในวสีทั้ง ๕ แล้ว
เวลาจะเข้าฌานสมาบัตินั้น กิจเบื้องต้นต้องตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) ว่า จะเข้าฌานสมาบัติ
เป็นเวลา.... (ตามความประสงค์ว่าจะเข้าอยู่นานสักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ฌานจิตที่เคยได้แล้ว
นั้นจงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด
ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน)นี้ กามจิต อันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับปุถุชนและ
พระเสกขบุคคล หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดมีวิถีจิตดังนี้
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
ต่อจากนี้ก็เจริญสมถภาวนา เข้าฌานสมาบัติ โดยเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ตนเคยได้ เคย ผ่านมาแล้วนั้น
วิถีจิตก็จะเกิดดังนี้
น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
(ถ้าเป็นติกขบุคคล ก็ไม่มี บริกรรม) ต่อจากโคตรภู ฌานจิตก็เกิดเรื่อยไปตราบเท่า เวลาที่ตนตั้ง
ความปรารถนาไว้ ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตนอธิษฐานไว้แล้ว ฌานจิต จึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็น
ภวังคจิตต่อไปตามปกติ

อนึ่ง ฌานลาภีบุคคล ผู้ได้เพียงปฐมฌาน ก็ต้องเข้าฌานสมาบัติในปฐมฌาน เท่าที่ตนได้
ที่เป็นธรรมดาสามัญ แต่ถ้าได้ฌานที่สูงขึ้นไป ก็เข้าได้ทั้งฌานสูงเท่าที่ ตนได้ และเข้าสมาบัติ
ในฌานที่ต่ำกว่าก็ได้ด้วย เช่นผู้ที่ได้ ตติยฌาน เข้าตติยฌาน สมาบัติได้ เข้าทุติยฌานสมาบัติได้
หรือจะเข้าปฐมฌานสมาบัติก็ได้ (ข้อนี้ผิดกับ การเข้าผลสมาบัติ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลสมาบัติวิถี

การเข้าผลสมาบัติ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผล ญาณ อันบังเกิด
แล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงเห็น ประจักษ์ได้ในปัจจุบัน
พระนิพพาน ที่เป็นอารมณ์ของผลสมาบัตินั้นมีชื่อ ๓ ชื่อหรือมี ๓ อาการคือ
๑. อนิมิตตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมาย คือ อนิจจัง โดยบุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วยสีล เมื่อเข้าผลสมาบัติก็คงมีอนิมิตตนิพพาน เป็นอารมณ์
๒. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้ คือทุกขัง โดยบุญญาธิ การแต่ปางก่อนแรงด้วยสมาธิ เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี อัปปณิหิตนิพพาน เป็นอารมณ์
๓. สุญญตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า คืออนัตตา โดยบุญญาธิการ แต่ปางก่อนแรงด้วยปัญญา เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี สุญญตนิพพาน เป็นอารมณ์

บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยบุคคล คือเป็น พระโสดาบัน พระ สกทาคามี พระอนาคามี หรือ
พระอรหันต์ ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลย เป็นอันขาด
พระอริยเจ้าที่จะเข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ ที่ตนถึงครั้ง สุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นมาแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ พระโสดาบัน ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ โสดาปัตติผล พระสกทาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ สกทาคามีผล เท่านั้น จะเข้าโสดาปัตติผล ซึ่งถึงแม้ว่าตนจะเคยได้เคยผ่านเคยพ้นมาแล้ว ก็หาได้ไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่เฉพาะ อนาคามีผล
พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ อรหัตตผลโดยเฉพาะเช่นกัน
พระอริยบุคคล ผู้จะเข้าผลสมาบัติ กิจเบื้องต้นก็จะต้องตั้งความปรารถนาว่า จะเข้าผลสมาบัติเป็นเวลา .... (ตามความประสงค์ที่จะเข้าอยู่สักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ผลจิตที่เคยปรากฏมาแล้วนั้น จงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด
ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) นี้ กามจิตอันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับพระอริยเบื้องต่ำ ๓ หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับ พระอรหันต์ก็เกิด มีวิถีจิตซึ่งเรียกว่า อธิฏฐานวิถี ดังนี้
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
ต่อจากอธิฏฐานวิถี ก็เจริญวิปัสสนาภาวนา มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็น อารมณ์ เริ่มแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ผลจิตก็จะเกิด วิถีจิตนี้ชื่อว่า ผลสมา บัติวิถี มีวิถีดังนี้
น ท มโน อนุโลม อนุโลม อนุโลม อนุโลม ผล ผล ผล ฯลฯ ฯลฯ
อนุโลม ๔ ขณะ สำหรับมันทบุคคล หรืออนุโลม ๓ ขณะ สำหรับติกขบุคคล ต่อจากอนุโลม ผลจิตก็เกิดเรื่อยไปเป็นจำนวนมากมาย ไม่สามารถที่จะประมาณได้ จนครบกำหนดเวลาที่ตนปรารถนาไว้ ผลจิตจึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไป ตามปกติ อนึ่ง จิตในผลสมาบัติวิถีนี้ ไม่เรียกว่า บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เหมือนอย่างในมัคควิถี แต่เรียก อนุโลมอย่างเดียวทั้ง ๔ ขณะ เพราะผลสมาบัติวิถี นี้ ไม่ได้ทำการประหารกิเลส เหมือนอย่างในมัคควิถี เป็นแต่จิต ๔ ดวงนี้เกิดขึ้น เพื่ออนุโลมให้จิตถึงพระนิพพาน หรือให้แนบแน่นในอารมณ์พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


นิโรธสมาบัติวิถี

การเข้านิโรธสมาบัติ เหมือนฝึกนิพพาน เข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ โดยปราศจากอันตรายใด ๆ เป็นมหาสันติสุขอันยอดเยี่ยม ดังนั้นพระอริยเจ้าจึงนิยม เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติด้วยศรัทธา และฉันทะในอมตรสนั้น จนกว่าจะ นิพพาน
ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไป นี้ คือ
๑. ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์
๒. ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน
๓. ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่
ก. มีสมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญาเป็นกำลัง ชำนาญ
ข. ชำนาญในการระงับกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ชำนาญใน การระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา) ชำนาญในการ ระงับจิตตสังขาร (คือสัญญา และเวทนาที่ทำให้เจตนาปรุงแต่งจิต)
ค. ชำนาญใน โสฬสญาณ (คือ ญาณทั้ง ๑๖)
ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย
๔. ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือ ปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติ ๘ อันเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังกล่าวแล้ว เมื่อจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องกระทำดังนี้

(๑) เข้าปฐมฌาน มีกัมมัฏฐานใดกัมมัฏฐานหนึ่ง ที่ตนได้มาแล้วเป็นอารมณ์ ปฐมฌานกุสลจิตสำหรับพระอนาคามี หรือ ปฐมฌานกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ ดังภาพนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌาน ภ
(๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งการพิจารณาเช่นนี้ เรียกว่า ปัจจเวกขณวิถี
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ
(๓) เข้าทุติยฌาน ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ
(๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๕) เข้าตติยฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๖) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๗) เข้าจตุตถฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๘) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๙) เข้าปัญจมฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๐) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๑) เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๒) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๓) เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๕) เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๖) เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ
บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร