วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 24.87 KiB | เปิดดู 3883 ครั้ง ]
ขณะจิตในอติปริตตารมณ์วิถี

อติปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร ที่มีอารมณ์อ่อนที่สุด
อารมณ์ กระทบกับภวังคจิตหลายครั้ง ภวังคจิตนั้นจึงรู้สึกตัว ไหวตัว
และเป็นแต่แว่ว ๆ ไหว ๆ เพียงแต่ ๒ ขณะเท่านั้นยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ก็ปล่อยวางอารมณ์ใหม่ กลับไปทำหน้าที่ภวังค มีอารมณ์เก่าไปตามเดิมอีก
มี ๖ นัย มีอตีตภวังคตั้งแต่ ๑๐ ขณะ ขึ้นไปจนถึง ๑๕ ขณะ แล้วมีภวังค จลนะ
คือไหวตัว ๒ ขณะเท่านั้น (ดูภาพที่หน้า ๙-๑๐ ประกอบด้วย) ไม่มีแม้แต่จิตตุป ปาทะ
หรือวิถีจิตเลย ถึงกระนั้นก็ยังเรียกว่าวิถี เพราะได้มีอารมณ์ใหม่มากระทบกับ
ภวังคจิตแล้ว จนถึงกับไหวตัวเป็นภวังคจลนะ

มีข้อที่ควรสังเกตว่า วิถีใดมีอตีตภวังคน้อยขณะ วิถีนั้นก็มีอารมณ์ชัดเจนแจ่ม แจ้งมาก
มีจิตตุปปาทะมาก มีวิถีจิตมาก แต่ถ้ามีอตีตภวังคมากขณะเท่าใด ก็แสดง
ว่าวิถีนั้นก็มีอารมณ์ชัดน้อยลง มีจิตตุปปาทะน้อยลง มีวิถีจิตน้อยลงเท่านั้น จนถึงกับไม่มีเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อของวาระแห่งปัญจทวารวิถี

อติมหันตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ ตทาลัมพนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ตทาลัมพนวาระ
มหันตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ ชวนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ชวนวาระ

ปริตตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ โวฏฐัพพนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โวฏฐัพพนวาระ
อติปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีแต่เพียง อตีตภวังค และภวังคจลนะ ไม่มีจิต ขึ้นวิถี
ยังไม่ทันมีวิถีจิตเลย ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมฆะวาระ เป็นวาระที่เปล่า ที่ว่าง ที่ไม่มีประโยชน์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กุสลวิบาก และ อกุสลวิบาก

เมื่อได้ดูตามวิถีจิตแล้ว จะเห็นได้ว่าจิตในวิถี ๔ ประเภท คือ
ปัญจวิญญาณ จิต ๑
สัมปฏิจฉันนจิต ๑
สันตีรณจิต ๑
ตทาลัมพนจิต ๑
ล้วนแต่เป็น วิบากจิตทั้งสิ้น วิบากจิตเหล่านี้เป็นผลของกุสล และอกุสล
จิตนั้นจะเป็นกุสลวิบาก หรืออกุสลวิบาก ก็ย่อมแล้วแต่อารมณ์ที่จิตนั้นประสบ กล่าวคือ

๑. เมื่อประสบกับ อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมากแล้ว ปัญจวิญญาณจิต
สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต และตทาลัมพนจิต ย่อมเป็น กุสลวิบาก ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะ สันตีรณจิต และ ตทาลัมพนจิต ย่อมเกิดพร้อมด้วย โสมนัสเวทนา เสมอ

๒. เมื่อประสบกับ อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ดีแล้ว จิตทั้ง ๔ ประเภทนี้ ก็เป็น กุสลวิบากเช่นเดียวกัน
แต่ สันตีรณจิต และ ตทาลัมพนจิต ย่อมเกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา

๓. เมื่อประสบกับ อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดีแล้ว จิตทั้ง ๔ ประเภท นั้น เป็นอกุสลวิบาก
อันเกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา แต่อย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์

การที่จะทราบว่าธรรมใดเป็น อิฏฐารมณ์ และธรรมใดเป็น อนิฏฐารมณ์ นั้น
มีหลักกว้าง ๆ ที่จะพิจารณาได้พอประมาณดังนี้ คือ
ก. ธรรมใดเป็นกุสล เกิดมาจากกุสล หรือ เนื่องด้วยกุสล ธรรมนั้น ๆ เป็น อิฏฐารมณ์
ข. ธรรมใดเป็นอกุสล เกิดมาจากอกุสล หรือ เนื่องด้วยอกุสล ธรรมนั้น ๆ เป็น อนิฏฐารมณ์
แม้กระนั้นก็ยังไม่เป็นการตายตัว เช่น สุนัขเน่า ตามสภาพก็เป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะดูก็น่าเกลียด
กลิ่นก็น่าชัง แต่ว่าเป็นที่ชอบใจ และเป็นอาหารอันโอชาของ กาและแร้ง ก็ถือว่าเป็นอิฏฐารมณ์
ของกาของแร้ง และเรียกว่าเป็น ปริกัปปอิฏฐา รมณ์ (ปริกัปป แปลว่า กำหนดว่า หรือสำคัญว่า)
เพราะแร้งและกากำหนดว่า หรือสำคัญว่า สุนัขเน่านั้นเป็นของดีของมัน

ในทางตรงกันข้าม ทุเรียน ใคร ๆ ก็ชอบกลิ่นและชอบกิน แต่ว่าบางคน ไม่ชอบก็มี
ดังนั้นทุเรียนก็เป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ของผู้นั้น เพราะผู้นั้นกำหนดว่า สำคัญว่า
ทุเรียนเป็นของไม่ดีสำหรับเขาโดยเฉพาะ
ในการที่จะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์นี้ มีทางพิจารณา
ได้หลายแง่หลายมุม ท่านอรรถกถาจารย์และฎีกาจารย์ จึงได้แสดงแนวทางในการ
พิจารณาในเรื่องนี้ไว้ ๕ ประการ คือ
๑. พิจารณาโดย วิบากจิต
๒. พิจารณาโดย มัชฌัตตบุคคล
๓. พิจารณาโดย ทวาร
๔. พิจารณาโดย อารมณ์
๕. พิจารณาโดย กาละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. พิจารณาโดยวิบากจิต ถ้าวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นเป็นกุสลวิบาก แล้ว
อารมณ์นั้นต้องเป็นอิฏฐารมณ์แน่นอน และถ้าวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น
เป็นอกุสลวิบากแล้ว อารมณ์นั้นก็ต้องเป็น อนิฏฐารมณ์แน่นอน ในการใช้วิบากจิตเ
ป็นเครื่องพิจารณา เป็นเครื่องตัดสินว่าอารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์นี้
ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ปุถุชนธรรมดาสามัญจะทราบได้อย่างไรว่า

วิบากจิตของใคร หรือแม้แต่ของตนเองเป็นกุสลวิบาก หรืออกุสลวิบาก
ข้อนี้ท่านมุ่งหมายที่จะแสดงให้ทราบว่า ในการใช้วิบากจิตเป็นเครื่องตัดสินนี้
เป็น ธัมมาธิฏฐาน คือเป็นสภาพธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีทางผันแปรไปเป็นอย่างอื่น
ได้เลยนั้น ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ก็เพื่อแสดงให้ทราบต่อไปว่า
จะใช้ชวนจิตเป็นเครื่องตัดสินหาได้ไม่ เพราะแม้ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอิฏฐารมณ์
เป็นอารมณ์ที่ดี ชวนจิตก็อาจเป็นโทสะ คือไม่ชอบก็ได้ ตรงกันข้าม แม้ว่าอารมณ์ นั้นจะเป็น
อนิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี แต่ชวนจิตอาจเป็นโลภะ คือชอบใจ ติดใจ ก็มีได้มากเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. พิจารณาโดยมัชฌัตตบุคคล คือ บุคคลชั้นกลาง ๆ อย่างธรรมดาสามัญ ทั่ว ๆ ไป
เป็นเครื่องตัดสิน เพราะว่าโดยปกติบุคคธรรมดาสามัญโดยทั่ว ๆ ไป ย่อม เห็นวัตถุสิ่งใด
เป็นไปทำนองเดียวกัน สิ่งใดดี ก็ว่าดี และชอบใจติดใจเหมือนๆกัน สิ่งใดไม่ดีก็ว่าไม่ดี
ไม่ชอบใจคล้าย ๆ กัน

แต่บุคคลชั้นต่ำ หรือสัตว์เดรัจฉาน แม้ว่าจะเห็นวัตถุสิ่งใดที่ไม่ดี เช่น อาหาร
ที่มีกลิ่นจวนจะบูด หรือถึงกับบูดแล้ว ก็ยังเห็นว่าเป็นของที่ดีมาก ติดใจ ชอบใจ เต็มใจกิน

ส่วนบุคคลชั้นสูง เมื่อได้เห็นวัตถุสิ่งใดที่ใคร ๆ เขาก็ว่าดีแล้ว ก็มักจะถือว่า
ไม่ใช่ของดิบของดีอะไร เพราะตนเคยประสบกับวัตถุสิ่งของที่ดียิ่งกว่านั้นมามากกว่ามากนัก
ดังนั้น จึงต้องอาศัย มัชฌัตตบุคคล เป็นเครื่องพิจารณาตัดสิน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. พิจารณาโดยทวาร เป็นเครื่องตัดสิน วัตถุสิ่งของโดยมาก เมื่อมากระทบ
กับทวารทั้ง ๖ แล้ว ย่อมให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ทวารใดรู้สึกว่าดีใจ ชอบใจ
ก็เป็นอิฏฐารมณ์ของทวารนั้น ทวารใดรู้สึกว่าไม่ดี ไม่ชอบใจ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ของทวารนั้น
เช่น พริก เมื่อว่าโดยจักขุทวารแล้ว ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะรูปก็งาม สีก็สวย แดงสด น่าดู
เมื่อว่าโดยชิวหาทวารแล้ว ผู้ชอบเผ็ดก็กลับเป็นอิฏฐารมณ์ เพราะ อร่อยและชูรสหนักหนา
เมื่อว่าโดยกายทวารแล้วกลับเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะทำให้ปวดแสบปวดร้อน ยิ่งที่ลูกตาก็ทำให้
แสบตา ถึงกับน้ำตาไหลได้ เมื่อว่าโดยมโนทวาร ย่อมแล้วแต่ว่า มโนทวารนั้นเกิดต่อจากทวารใด
เช่น ตัวอย่างนี้ มโนทวาร นั้น เกิดต่อจากจักขุทวารที่มีอารมณ์เป็นอิฏฐารมณ์ ก็เป็นอิฏฐารมณ์ด้วย
เกิดต่อ จากกายทวารที่มีอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. พิจารณาโดยอารมณ์ เช่นบุคคลบางคน ว่าโดยรูปารมณ์และสัททารมณ์ แล้ว
ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะรูปร่างงดงาม เสียงก็ไพเราะ แต่ว่าโดยธัมมารมณ์ คือ นิสสัยใจคอ
ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นนักย่องเบาตัวยงดอกไม้บางอย่าง ว่าโดย รูปารมณ์ คือ สี
ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เป็นที่น่าชม น่าพอใจ แต่เมื่อว่าโดยคันธารมณ์ แล้ว
กลับเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะมีกลิ่นเหม็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. พิจารณาโดยกาละ เช่น องคุลีมาล ในเวลาที่เที่ยวฆ่าคนจะให้ครบพัน นั้น
เป็นอนิฏฐารมณ์ แต่ในเวลาที่มาอุปสมบทแล้วเป็นอิฏฐารมณ์

ปลาดุก เวลาที่ยังสดอยู่ เหม็นคาว ในกาละนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์
แต่พอได้ย่าง สุกแล้ว หอมน่ากิน ในกาละนั้นเป็นอิฏฐารมณ์
ปลาดุกที่ย่างสุกแล้วนี้แหละ เวลาที่เราสบายดีก็หอมน่ากิน
ในกาละนั้นเป็น อิฏฐารมณ์ ครั้นเวลาที่เราเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน
ปลาดุกย่างที่ว่าหอมน่ากินนั้น กลับ เหม็นและเบื่อจนกินไม่ได้เลย
ในกาละนั้นปลาดุกย่างกลับเป็นอนิฏฐารมณ์

ไฟ เวลาให้แสงสว่าง หรือให้ความร้อนในเวลาหุงต้มอาหาร
ในกาละนั้นเป็น อิฏฐารมณ์ แต่ในเวลาที่เผาไหม้เนื้อเราจนพอง
หรือขณะที่ไหม้บ้านเรือน ในกาละ นั้นเป็นอนิฏฐารมณ์

น้ำ เวลาที่ร้อนใช้อาบ เวลากระหายใช้ดื่ม ในกาละนี้ น้ำเป็นอิฏฐารมณ์
แต่ เวลาที่ไหลบ่ามาท่วมบ้านเรือนในกาละนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มโนทวารวิถี (ในกามวิถี)

อารมณ์ที่ปรากฏทาง ปัญจทวารวิถี ได้แก่
ปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์ สัททา รมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์
ล้วนแล้วแต่เป็นรูปธรรมทั้งนั้น รวมเป็น ๗ รูปด้วยกัน คือ วัณณะ สัททะ คันธะ รสะ ปฐวี เตโช
และ วาโย อารมณ์เหล่านี้ต้องเป็นปัจจุบัน คือ กำลังมีอยู่ด้วย จึงจะเป็นอารมณ์แก่ปัญจทวารวิถีได้

ส่วนมโนทวารวิถี (ในที่นี้กล่าวเฉพาะที่เป็นกามวิถีเท่านั้น) ที่จะกล่าวต่อไป นี้ มีอารมณ์ได้ทั้ง ๖
คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ ซึ่งมีรูปธรรม
นามธรรม ทั้งที่ไม่ใช่รูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม (คือ บัญญัติ)ด้วย ก็เป็นอารมณ์ให้แก่มโนทวารวิถีได้
ทั้งสิ้น (ธัมมารมณ์นั้น ได้แก่ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพานและบัญญัติ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ที่มาสู่มโนทวารวิถี

อารมณ์ต่าง ๆ ที่มาสู่มโนทวารวิถีนั้น มีมาได้เป็น ๒ ทางด้วยกัน
คือ รับ อารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีนั้นทางหนึ่ง

อารมณ์มาปรากฏทางใจโดยตรงโดยเฉพาะ อีกทางหนึ่ง
อารมณ์ที่มาปรากฏทางใจโดยตรงโดยเฉพาะนั้น ตาม ปรมัตถทีปนีฎีกา
แสดง ไว้ว่า มีเหตุ ๑๔ ประการ

ทิฏฺฐโต ทิฏฺฐสมฺพนฺธโต สุตโต สุตสมฺพนฺธโต สทฺธาย รุจิยา อาการปริวิตกฺเกน
ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา นานากมฺมพเลน นานาอิทฺธิพเลน ธาตุกฺโขภวเสน เทวโตปสํหารวเสน
อนุโพธวเสน ปฏิเวธเสนาติ จุทฺทส หิ การเณ หิ อารมฺมณธมฺมา สุทฺเธ มโนทฺวาเร อาปาตํ อาคจฺฉนฺติ ฯ


๑. ด้วยอำนาจที่เคยเห็น เคยพบ อารมณ์ทั้ง ๖ มาแล้ว (ทิฏฺฐโต)
๒. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้น เหมือน ๆ กันกับที่เคยได้พบเคยเห็น มาแล้ว (ทิฏฺฐสมฺพนฺธโต)
๓. ด้วยอำนาจที่ได้เคยฟัง เคยเรียนมาแล้ว หรือขณะที่กำลังฟัง กำลังเรียน กำลังอ่านข้อความอยู่ (สุตโต)
๔. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเหมือน ๆ กับที่เคยได้ฟัง เคยเรียน เคยอ่านมาแล้ว (สุตสมฺพนฺธโต)
๕. ด้วยอำนาจแห่งความ เชื่อในคำพูดของผู้อื่น (สทฺธาย)
๖. ด้วยอำนาจแห่งความ พอใจของตน (รุจิยา)
๗. ด้วยอำนาจแห่งความ นึกคิด โดยอาศัย เรื่องราว คำพูด เหตุผล (อาการปริวิตกฺเกน)
๘. ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยปัญญา และด้วยลัทธิของ ตน แล้วตัดสินลงไป (ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)
๙. ด้วยอำนาจแห่ง กรรมต่าง ๆ (นานากมฺมพเลน)
๑๐. ด้วยอำนาจแห่ง อิทธิฤทธิต่าง ๆ (นานาอิทฺธิพเลน)
๑๑. ด้วยอำนาจแห่ง ธาตุในร่างกาย มีน้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิต ลม เหล่านี้ วิปริตไป (ธาตุกฺโขภวเสน)
๑๒. ด้วยอำนาจแห่ง เทวดามาดลใจ (เทวโตปสํหารวเสน)
๑๓. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้ไปตามสมควรแก่ มัคคญาณ ผลญาณ (อนุโพธว เสน)
๑๔. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้แจ้งในอริยสัจจ ๔ (ปฏิเวธวเสน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มโนทวารกามวิถี มีวิสยัปปวัตติ ๒

ปัญจทวารวิถี ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีวิสยัปปวัตติ ๔ คือ
อติมหันตารมณ์ ๑ มหันตารมณ์ ๑ ปริตตารมณ์ ๑ และอติปริตตารมณ์ ๑

ส่วน มโนทวารกามวิถี ที่จะกล่าวต่อไปนี้ กล่าวเฉพาะตามหลักใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ
มีวิสยัปปวัตติ ๒ คือ วิภูตารมณ์ ๑ และ อวิภูตารมณ์ ๑

วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเจนแจ่มแจ้งมากตามปกติ ก็มีวิถีจิตถึงตทาลัมพนะ
อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อย กว่า อ่อนกว่าวิภูตารมณ์วิถี
วิถีจิตจึงมีแต่ชวนะเท่านั้น ไม่ถึงตทาลัมพนะ

จำนวนจิตในมโนทวารกามวิถี

มโนทวารกามวิถี มีวิถีจิต จิตตุปปาทะ และจำนวนจิตพิสดารเท่าใดนั้น
มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า

๔. วิถีจิตฺตานิ ตีเฌว จิตฺตุปฺปาทา ทเสริตา
วิตฺถาเรน ปเนตฺเถก- จตฺตาฬีส วิภาวเย ฯ


แปลความว่า อารมณ์ที่ปรากฏในมโนทวารกามวิถีนั้น
กล่าวโดยวิถีจิต มี ๓
กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๑๐
กล่าวโดย จำนวนพิสดารแล้ว มี ๔๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ชัดแจ้งมากนั้น มีขณะจิตดังนี้ คือ
ภวังคจิตไหวตัวจะรับอารมณ์ใหม่ ๑ ขณะ เรียกว่า ภวังคจลนะ
ภวังคจิตปล่อยอารมณ์ เพื่อรับอารมณ์ใหม่ต่อไป ๑ ขณะ เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะแล้ว
มโนทวาราวัชชนจิต ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ รับอารมณ์ใหม่และตัดสิน กำหนดให้เป็น กุสล อกุสล
ด้วยเสร็จ มโนทวาราวัชชนจิตนี้ เป็นปฐมวิถีจิตทาง มโนทวารกามวิถีต่อจากนั้น ชวนะ
ก็เสพอารมณ์นั้น ๗ ขณะ และเพราะว่าอารมณ์นั้นชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะ
จึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนะอีก ๒ ขณะ จึงรวมเป็น ๑๒ ขณะจิตด้วยกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 33.5 KiB | เปิดดู 3883 ครั้ง ]
กล่าวโดยวิถีจิต ก็มี ๓ คือ
มโนทวาราวัชชนจิตอย่างหนึ่ง ชวนจิตอย่างหนึ่ง และตทาลัมพนจิตอีกอย่างหนึ่ง
กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๑๐ คือ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ชวนจิต เกิดขึ้น ๗ ครั้ง
และตทาลัมพนจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้ง
กล่าวโดยพิสดาร คือ จำนวนจิตที่สามารถจะเกิดในวิถีนี้ได้นั้น ได้แก่
มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง กามชวนจิต ๒๙ ดวง และตทาลัมพนจิต ๑๑ ดวง
รวม เป็น ๔๑ ดวงด้วยกัน

.........กิริยาจิต ๑ ...กามชวนจิต ๒๙ ....วิบากจิต ๑๑ ....กามจิต ๔๑
น ท ......มโน .......ช ช ช ช ช ช ช .........ต ต ........ตทาลัมพนวาระ
.............๑.........๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ .........๙ ๑๐ .......จิตตุปปาทะ ๑๐
.............๑..................๒ ......................๓ .................วิถีจิต ๓

อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อยกว่า อ่อนกว่า
วิภูตารมณ์วิถี มีขณะจิตเกิดอย่างเดียวกับวิภูตารมณ์วิถี เป็นแต่มีถึงเพียง ชวนะเท่านั้น
ไม่ตั้งอยู่จนถึงตทาลัมพนะ กล่าวคือ มี ภวังคจลนะ ภวังคไหว ๑ ขณะ, ภวังคุปัจเฉทะ
ตัดกระแสภวังค ๑ ขณะ, มโนทวาราวัชชนะ ๑ ขณะ และ ชวนะ ๗ ขณะ รวมเป็น ๑๐ ขณะจิตเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 22.51 KiB | เปิดดู 3883 ครั้ง ]
กล่าวโดยวิถีจิต มีเพียง ๒ คือ
มโนทวาราวัชชนจิตอย่างหนึ่ง ชวนจิตอีก อย่างหนึ่ง
กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๘ คือ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ
และ ชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะ
กล่าวโดยพิสดาร คือ จำนวนจิตที่สามารถจะเกิดในวิถีนี้ได้นั้น ได้แก่
มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ กามชวนจิต ๒๙ ดวง รวมเป็น ๓๐ ดวง ด้วยกัน

.........กิริยาจิต ๑ ......กามชวนจิต ๒๙ ...............กามจิต ๓๐
น ท ......มโน ...........ช ช ช ช ช ช ช ...............ชวนวาระ
.............๑ .............๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ............จิตตุปปาทะ ๘
.............๑.......................๒............................. วิถีจิต ๒

อนึ่งมโนทวารกามวิถีนี้ มีจิตพิสดาร(จำนวนมากที่สุด) ๔๑ นั้นก็คือ
กามจิต ๔๑ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) นั่นเอง
ที่ต้องเว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ มโนธาตุ ๓ ก็เพราะจิต ๑๓ ดวงนี้
เกิดได้เฉพาะแต่ในปัญจทวารวิถีเท่านั้น จะเกิดทางมโนทวารวิถีไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร