วันเวลาปัจจุบัน 07 ก.ย. 2024, 23:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง

มโนธาตุ ๓ คือ
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ มีปัญจารมณ์ ได้แก่
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ก็ได้

๔. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๖ อย่าง มี ๑๒ ดวง

หสิตุปปาทจิต ๑
ตทาลัมพนจิต ๑๑
มีอารมณ์ คือ อารมณ์ทั้ง ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

๕. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง

รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ มีอารมณ์ คือ กสิณ ๑๐, อานาปาณสติ ๑, อุเบกขา พรหมวิหาร ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง

รูปาวจร จตุตถฌาน ๓
รูปาวจร ตติยฌาน ๓
รูปาวจร ทุติยฌาน ๓
มีอารมณ์ คือ กสิณ ๑๐, อานาปาณสติ ๑,
เมตตา กรุณา มุทิตา ๓

๗. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ดวง

รูปาวจร ปฐมฌาน ๓ มีอารมณ์ คือ
กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, กายคตาสติ ๑, อานาปาณสติ ๑, เมตตา กรุณา มุทิตา ๓
อารมณ์ของ เมตตา คือ ปิยมนาปสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ กรุณา คือ ทุกขิตสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ มุทิตา คือ สุขิตสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ อุเบกขา คือ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก กับ อารมณ์

ปรมัตถธรรม ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น
จิตและเจตสิก เป็นธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ แต่รูป และ นิพพาน
ไม่สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้เลย
จิตรับอารมณ์อย่างใด รู้อารมณ์อะไร เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้นก็รับอารมณ์
รู้อารมณ์อย่างเดียวกันนั้นเอง

สมกับที่ว่า เอกาลัมพนะ แต่เมื่อกล่าวเป็นส่วนรวม แล้ว เจตสิกรับอารมณ์ได้ดังนี้
เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ ได้นั้นมี ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
เจตสิกที่รับ ธัมมารมณ์ ได้นั้นมี ๕๒ (ครบจำนวนเจตสิก)
อกุสลเจตสิก ๑๔ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย และบัญญัติ
อิสสาเจตสิก ๑ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น พหิทธะ
โลกีย วิรตี ๓ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น กามธรรม

โลกุตตร วิรตี ๓ รับอารมณ์ ธัมมารมณ์ ที่เป็น นิพพาน แต่อย่างเดียว
อัปปมัญญา ๒ รับอารมณ์ ธัมมารมณ์ ที่เป็น สัตวบัญญัติ และเป็น พหิทธอารมณ์ด้วย

ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓๓ ดวง คือ

อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ปัญญาเจตสิก ๑
รับอารมณ์ ๖ ได้ทั้งที่เป็นโลกียโลกุตตร
อดีต อนาคต ปัจจุบัน กาลวิมุตตะ อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๖ วัตถุสังคหะ

วสนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ จิตฺตเจตสิกา เอตฺถาติ วตฺถุ ฯ

จิต เจตสิก ทั้งหลาย ย่อมอาศัยตั้งอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัย
ตั้งอยู่ของจิตเจตสิกเหล่านั้น ชื่อว่า วัตถุ

วัตถุสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและ เจตสิก
วัตถุอันเป็นที่จิตและเจตสิก

อาศัยเกิดนี้ มี ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัตถุ ๖ และวัตถุ ๖ นี้เป็น รูปธรรม ทั้งนั้น คือ
๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณจิต ๒
๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณจิต ๒
๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณจิต ๒
๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณจิต ๒
๖. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณธาตุ

ในวัตถุสังคหะนี้ ได้กล่าวถึง วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ด้วย ในจำนวนจิตทั้ง หมด ๘๙ ดวง
เมื่อจัดโดยความเป็นธาตุก็ได้ วิญญาณธาตุ ๗ คือ

๑. จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น จักขุวิญญาณธาตุ
๒. โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น โสตวิญญาณธาตุ
๓. ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ฆานวิญญาณธาตุ
๔. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ
๕. กายวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น กายวิญญาณธาตุ

ทั้ง ๕ นี้มีชื่อรวมเรียกว่าวิญญาณธาตุ ๕ หรือ ปัญจวิญญาณธาตุ

๖. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
รวม ๓ ดวง เป็น มโนธาตุ

๗. จิตที่เหลืออีก ๗๖ ดวง เป็น มโนวิญญาณธาตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


ภูมิกับวัตถุ
ในภูมิไหน มีวัตถุอะไร เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุใดนั้น
มีคาถาสังคหะที่ ๑๓ แสดงว่า

๑๓. ฉวตฺถํ นิสฺสิตา กาเม สตฺต รูเป จตุพฺพิธา
ติวตฺถุํ นิสฺสิตา รูเป ธาเตวฺกา นิสฺสิตา มตา ฯ


แปลความว่า ท่านกล่าวว่า
ในกามภูมิ วิญญาณธาตุ ๗ อาศัยวัตถุ ๖ เกิด
ในรูปภูมิ วิญญาณธาตุ ๔ อาศัยวัตถุ ๓ เกิด
ในอรูปภูมิ วิญญาณธาตุ ๑ ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย ก็เกิดได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

๑. ในกามาวจรภูมิ หรือ กามภูมิ ซึ่งมี ๑๑ ภูมิ ได้แก่
อบายภูมิ ๔, มนุษยภูมิ ๑ และ เทวภูมิ ๖ นั้น มีวัตถุ ๖ ครบบริบูรณ์
จึงเป็นที่อาศัยให้เกิด วิญญาณธาตุครบ ทั้ง ๗ เหมือนกัน คือ
(๑) จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
(๒) โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
(๓) ฆานวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒
(๔) ชิวหาวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของชิวหาวิญญาณธาตุ ๑ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
(๕) กายวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
(๖) หทยวัตถุ มโนธาตุ ๓ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
(๗)มโนวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ จิตที่เหลือ ๗๖

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ในรูปาวจรภูมิ หรือรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตตภูมิ) นั้น มีวัตถุเพียง ๓
อันเป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุ ๔ เท่านั้น คือ
(๑) จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด จักขุวิญญาณธาตุ ๑
(๒) โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด โสตวิญญาณธาตุ ๑
(๓) หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด มโนธาตุ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑

ส่วนฆานวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิด ฆานวิญญาณธาตุ ๑, ชิวหาวัตถุ อันเป็นที่ อาศัยให้เกิด
ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑ และกายวัตถุ อันเป็นที่อาศัยให้เกิดกายวิญญาณ ธาตุ ๑
รวม ๓ วัตถุ ๓ ธาตุนี้ไม่มี
แต่ว่า รูปพรหมทั้ง ๑๕ ภูมินี้ มีจมูก แต่ไม่มีฆานวัตถุ คือไม่มีฆานปสาทรูป,
มีลิ้น แต่ไม่มีชิวหาวัตถุ คือไม่มีชิวหาปสาทรูป, มีกาย แต่ไม่มีกายวัตถุ
คือไม่มีกาย ปสาทรูป ดังนั้น ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และ กายวิญญาณ
ไม่มีที่อาศัยเกิด จึงเกิดไม่ได้

อนึ่ง กามภูมิ ๑๑ และรูปภูมิ ๑๕ รวม ๒๖ ภูมินี้ มีชื่อรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ปัญจโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่มี รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
เฉพาะอสัญญสัตตภูมิ ซึ่งเป็นรูปภูมิอีกภูมิหนึ่งนั้น ไม่มีวัตถุทั้ง ๖ และไม่มี
วิญญาณธาตุทั้ง ๗ เลยแม้แต่สักอย่างเดียว ทั้งนี้ เป็นเพราะภูมินี้มีแต่รูปขันธ์ เท่านั้น
ส่วนนามขันธ์อีก ๔ ขันธ์นั้นไม่มี ดังนั้น อสัญญสัตตภูมินี้จึงมีชื่อเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า เอกโวการภูมิ
คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ มีรูปขันธ์เพียงขันธ์เดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อรูปาวจรภูมิ หรือ อรูปภูมิ ซึ่งมี ๔ ภูมินั้น วัตถุ ๖ ไม่มีเลย
เพราะ อรูปภูมิเป็นภูมิที่ไม่มีรูปธรรม มีแต่นามธรรมเท่านั้น ดังนั้นวัตถุ ๖
ซึ่งเป็นรูปธรรม ทั้ง ๖ จึงไม่มีในอรูปภูมิ แต่ว่าในอรูปภูมิทั้ง ๔ นี้
วิญญาณธาตุ ๗ นั้นเกิดได้ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ

ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยหทยวัตถุใด ๆ เลยทั้งนั้น
เพราะเหตุว่าอรูปภูมิทั้ง ๔ นี้มีแต่นามขันธ์ทั้ง ๔ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ส่วนรูปขันธ์ไม่มี จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จตุโวการภูมิ คือ ภูมิที่มี ๔ ขันธ์
(ขาดรูปขันธ์ไปขันธ์หนึ่ง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปเพื่อให้จำได้ง่าย

กามภูมิ ๑๑ มีวัตถุทั้ง ๖ เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุทั้ง ๗ คือ
จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด กายวิญญาณธาตุ
หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ

รูปภูมิ ๑๕ มีวัตถุ ๓ เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุ ๔ คือ
จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด โสตวิญญาณธาตุ
หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ

อสัญญสัตตภูมิ ๑ นั้นวัตถุทั้ง ๖ วิญญาณธาตุทั้ง ๗ ไม่มีเลยแม้แต่สักอย่าง เดียว

อรูปภูมิ ๔ นั้น วัตถุทั้ง ๖ ไม่มีเลย แต่มีวิญญาณธาตุ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ซึ่งเกิดได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุใด ๆ เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตกับวัตถุ

จิตใดจะต้องอาศัยวัตถุอะไรเกิด หรือไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้นั้น
มีคาถาสังคหะที่ ๑๔ อันเป็นคาถาสุดท้ายในปริจเฉทนี้ แสดงว่า

๑๔. เตจตฺตาฬีส นิสฺสาย เทฺวจตฺตาฬีส ชายเร
นิสฺสาย จ อนิสฺสาย ปาการุปฺปา อนิสฺสิตา ฯ


แปลความว่า จิต ๔๓ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเสมอ
จิต ๔๒ ดวง บางทีก็อาศัย บางทีก็ไม่อาศัย
อรูปวิบาก ๔ ดวง ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

๑. จิต ๔๓ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเสมอ จะเกิดโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุหาได้ไม่
ดังนั้นในภูมิใดไม่มีวัตถุ จิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย จิต ๔๓ ดวง ได้แก่

โทสมูลจิต ๒ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑) คือ
จักขุวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย จักขุวัตถุ จึงจะเกิดได้
โสตวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย โสตวัตถุ จึงจะเกิดได้
ฆานวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย ฆานวัตถุ จึงจะเกิดได้
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย ชิวหาวัตถุ จึงจะเกิดได้
กายวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย กายวัตถุ จึงจะเกิดได้
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
สันตีรณจิต ๓ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
หสิตุปปาทจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
มหาวิบากจิต ๘ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
รูปาวจรจิต ๑๕ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. จิต ๔๒ ดวง บางทีก็อาศัย บางทีก็ไม่อาศัยนั้น ได้แก่
อกุสล ๑๐ (เว้นโทสจิต ๒)
มหากุสล ๘
มหากิริยา ๘
อรูปาวจรกุสล ๔
อรูปาวจรกิริยา ๔
โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)
มโนทวาราวัชชนจิต ๑

ที่ว่าจิต ๔๒ ดวงนี้ บางทีก็อาศัยวัตถุเกิด บางทีไม่ต้องอาศัยวัตถุก็เกิดได้นั้น เป็นดังนี้
ถ้าจิตนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ คือภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็จะต้องอาศัยหทย วัตถุเกิด

กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้าจิต ๔๒ ดวงนี้ เกิดในกามภูมิ ๑๑ ก็ดี เกิดในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นสัญญสัตตภูมิ)
ก็ดี ซึ่งเป็นภูมิที่มีหทยวัตถุแล้ว ก็จะต้องอาศัยหทยวัตถุรูป เกิดตามควรแก่ที่จะพึงเกิดได้
แต่ว่า ถ้าจิตเหล่านี้เกิดในจตุโวการภูมิ ภูมิที่มีขันธ์ ๔ คือ อรูปภูมิแล้ว ไม่ต้อง อาศัยวัตถุเลยก็เกิดได้

จิต ๔๒ ดวงนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตที่อาศัยวัตถุเกิดไม่แน่นอน(อเนกันตะ) เพราะบางทีก็อาศัย
บางทีก็ไม่อาศัย เป็นที่ไม่แน่นอน

๓. อรูปวิบาก ๔ ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย เพราะอรูปวิบากจิต ๔ เป็นจิต
ที่เกิด ที่มีในอรูปภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่มีวัตถุรูปใด ๆ แม้แต่สักอย่างเดียว ดังนั้นจึงไม่ต้อง อาศัยวัตถุก็เกิดได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุกับทวาร
วัตถุ เป็นที่อาศัยให้จิตเจตสิกเกิด ทวาร เป็นทางให้จิตเจตสิกเกิด เมื่อกล่าว ควบคู่กัน
ทั้งวัตถุและทวาร คือ กล่าวทั้งที่อาศัยเกิด และทางให้เกิดด้วยแล้ว ก็กล่าว ได้เป็น ๔ นัย คือ
จิตที่ ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวาร
จิตที่ ต้องอาศัยวัตถุ แต่ไม่ต้องอาศัยทวาร
จิตที่ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ต้องอาศัยทวาร
จิตที่ ไม่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวาร

๑. จิตที่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวารด้วยนั้น มี ๓๘ ดวง ได้แก่
โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑)
มหาวิบากจิต ๘ รูปาวจรกุสล ๕
รูปาวจรกิริยาจิต ๕ โสดาปัตติมัคคจิต ๑

ในข้อ ๑ นี้ มีสิ่งที่ควรสังเกตอยู่ ๒ ประการ ประการแรก จิต ๓๘ ดวงนี้ เป็นกลุ่มเดียวกับจิต ๔๓ ดวง
ที่ต้องอาศัยวัตถุเสมอนั่นเอง เพียงแต่เอารูปาวจร วิบาก ๕ ดวง หักออกเสียจากจำนวน ๔๓ ดวงนั้น
ก็คงเหลือ ๓๘ เป็นจิตที่ต้องอาศัยทั้งวัตถุและทั้งทวารด้วย รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเกิด
จริง แต่ไม่ต้องอาศัยทวารเป็นทางให้เกิดไม่ครบทั้ง ๒ อย่าง จึงต้องหักออก

อีกประการหนึ่ง จิตที่อาศัยวัตถุเกิด กับจิตที่อาศัยทวารเกิดนั้นมีจำนวนไม่ เท่ากัน
กล่าวคือ จิตที่อาศัยวัตถุเกิดนั้นมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะแท้ ๆ แต่จิตที่ อาศัยทวารเกิดนั้น
มีจำนวนกว้างขวางมากกว่ากัน คือ
จิตที่อาศัย จักขุวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย จักขุทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย โสตวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย โสตทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย ฆานวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย ฆานทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย ชิวหาวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย ชิวหาทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย กายวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย กายทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย หทยวัตถุ เกิดมีเพียง ๗๕ ดวง แต่อาศัย มโนทวาร เกิดได้ถึง ๖๗ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. จิตที่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ไม่ต้องอาศัยทวาร มี ๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรวิบากจิต ๕
รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวงนี้ ต้องอาศัยหทยวัตถุเกิด เพราะรูปาวจรวิบาก ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนั้น ปฏิสนธิจิตกับหทยวัตถุนี้เกิดพร้อมกัน ปฏิสนธิจิตก็ต้อง อาศัยหทยวัตถุเกิด และหทยวัตถุ
ก็ต้องอาศัยปฏิสนธิจิตจึงจะเกิดขึ้นได้ ต่างก็อาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย
ส่วนที่ว่า รูปาวจรวิบาก ๕ ดวงนี้ เกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารนั้น เพราะเป็น เอกันตทวารวิมุตตจิต
เป็นจิตที่พ้นทวารแน่นอนอยู่แล้ว ดังแจ้งใน ทวารสังคหะ ที่กล่าวข้างต้น

๓. จิตที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ต้องอาศัยทวาร มี ๔๒ ดวง ได้แก่
อกุสล ๑๐ (เว้นโทสจิต ๒)
มหากุสล ๘
มหากิริยา ๘
อรูปาวจรกุสล ๔
อรูปาวจรกิริยา ๔
โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)
มโนทวาราวัชชนจิต ๑

เมื่อจิตเหล่านี้เกิดกับอรูปพรหมในอรูปภูมิแล้ว ไม่ต้องอาศัยวัตถุก็เกิดได้ แต่ ต้องอาศัยทวาร คือ
มโนทวาร จึงจะเกิดได้ ซึ่งในอรูปภูมิมีมโนทวารแต่อย่างเดียว ส่วนวัตถุนั้นไม่มีเลย
พึงสังเกตว่า จิต ๔๒ ดวงนี้ เป็นจิตกลุ่มเดียวกัน จิต ๔๒ ดวงที่เรียกว่า จิตที่อาศัยวัตถุเกิด
ไม่แน่นอน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น

๔. จิตที่ไม่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวารเลยนั้น มี ๔ ดวง ได้แก่
อรูปาวจรจิบากจิต ๔ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ เพราะไม่มีวัตถุที่จะอาศัย และไม่ต้อง อาศัยทวาร
เพราะเป็นเอกันตทวารวิมุตตจิต

อวสานคาถาปริจเฉทที่ ๓

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถ สงฺคเห
ตติโย ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ

นี้ปริจเฉทที่ ๓ ( ชื่อ ปกิณณกสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม
ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อ เพียงเท่านี้แล

ที่มา http://www.thepathofpurity.com

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร