วันเวลาปัจจุบัน 12 ก.ย. 2024, 00:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

ในข้อ ๑ โลภเจตสิก จะต้องเกิดพร้อมกับโมหะอย่างแน่นอน จะเกิดแต่ลำพัง
โดยไม่มีโมหะไม่ได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิก มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
โทสเจตสิกก็ดี วิจิกิจฉาเจตสิกก็ดี ก็จะต้องเกิดกับโมหะเช่นเดียวกัน ดังนั้น โทสเจตสิก
จึงมีเหตุเดียว คือโมหเหตุ และวิจิกิจฉาเจตสิก ก็มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ

ในข้อ ๒ โมหเจตสิก เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ เพราะว่าโมหเจตสิกที่เกิดพร้อม กับโลภะก็มีโลภเหตุเป็นเหตุ เมื่อโมหเจตสิกเกิดพร้อมกับโทสะ ก็มีโทสะเหตุเป็น เหตุ รวมความว่า โมหเจตสิก มีโลภเหตุเป็นเหตุก็ได้ มีโทสเหตุเป็นเหตุก็ได้ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมหเจตสิก มี ๒ เหตุ

ทิฏฐิเจตสิก กับ มานเจตสิก รวม ๒ ดวงนี้จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะ โลภะ ก็ต้องเกิดพร้อมกับโมหะ เป็นอันว่า ทิฏฐิเจตสิกก็ดี มานเจตสิกก็ดี แต่ละดวงต่างก็ จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะและโมหะ ดังนั้น ทิฏฐิ มานะ เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ คือ มีโลภเหตุ โมหเหตุเป็นเหตุร่วมพร้อมกัน

เจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก รวม ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงที่เกิด จะต้องเกิดร่วมกับโทสะและโมหะด้วยพร้อมกัน ดังนั้น เจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ แต่ละ ดวงมี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเหตุร่วมพร้อมกัน

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ประกอบพร้อมกันในจิตดวง ใด เจตสิก ๓ ดวงนี้ต่างก็เป็นเหตุซึ่งกันและกัน คือ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ รวมมี ๒ เหตุ

ในข้อ ๓ อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก อุทธัจจเจตสิก รวมเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้อยู่ใน
ประเภทโมจตุกเจตสิก ซึ่งประกอบกับอกุสลจิตได้ทุก ๆ ดวงทั้ง ๑๒ ดวง อกุสลจิตทั้งหมดนั้นมี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้นเจตสิก ทั้ง ๓ ดวงที่กล่าวนี้จึงสามารถเกิดกับเหตุทั้ง ๓ นั้นได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ
ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับโลภมูลจิตก็ได้ ประกอบกับ โทสมูลจิตก็ได้ โลภมูลจิตมีโลภเหตุกับโมหเหตุ โทสมูลจิตมีโทสเหตุกับโมหเหตุ รวมจิต ๒ ประเภทนี้มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้น ถีนะ มิทธะ ซึ่งประกอบกับจิต ๒ ประเภทนี้ได้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็น ต้นเหตุ และได้กล่าวในข้อ ๒ แล้ว) เป็นเจตสิกที่สามารถเกิดพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิกได้ จึงกล่าวว่า โสภณเจตสิก ๒๒ ดวงนี้มี ๓ เหตุ

ในข้อ ๔ ปีติเจตสิก ดวงเดียว เป็นเจตสิกที่มี ๕ เหตุ คือ เมื่อเกิดพร้อมกับ โลภโสมนัสก็มี โลภเหตุ โมหเหตุ เมื่อเกิดกับโสมนัสญาณสัมปยุตต ก็มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ จึงรวมเป็น ๕ เหตุ เว้นโทสเหตุอย่างเดียว เพราะโทสมูลจิต นั้นไม่มีปิติ มีแต่โทมนัส

ในข้อ ๕ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) เป็นเจตสิกที่มีเหตุทั้ง ๖ ครบบริบูรณ์ เพราะอัญญสมานาเจตสิก ๑๒ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับเหตุใด ๆ ได้ทั้ง ๖ เหตุ
ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นการแสดงตามนัยที่ นับแล้วไม่นับอีก ที่ชื่อ อคหิตัคคหณนัย และคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างแล้ว เช่น โลภ เจตสิก โทสเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก หรือเจตสิกดวงอื่น ๆ ก็ดี เมื่อได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างในข้อใดที่ใดแล้ว ก็ไม่ได้ยกมากล่าวอ้าง หรือยกมาแสดงซ้ำในข้อ อื่น ๆ อีกเลย ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า นับแล้วไม่นับอีก
[left]
[/left]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


คหิตัคคหณนัย

๑. อเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่ไม่มีเหตุ มี ๑๓ ดวง ได้แก่
ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘
ข. โมหเจตสิก ๑ เฉพาะที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒

๒. เอกเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุเดียว มี ๒๐ ดวง ได้แก่
ก. เจตสิก ๑๕ ดวง ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒ (เว้นโมหเจตสิก)
ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (สำหรับโมห เจตสิก
นี้ หมายถึง ประกอบกับโลภมูลจิตโดยเฉพาะ และที่ประกอบ กับ โทสมูลจิตโดยเฉพาะ)
ค. เจตสิก ๒ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ที่ประกอบกับ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒

๓. ทวิเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๔๘ ดวง ได้แก่
ก. เจตสิก ๔๕ ดวง (เว้นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ ที่เป็น ตัวเหตุ) ที่ ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒
ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

๔. ติเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๓๕ ดวง ได้แก่
ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
ข. โสภณเจตสิก ๒๒ ดวง (เว้นอโลภะ อโทสะ ปัญญา อันเป็นตัวเหตุ) ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

๑. อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้อย่างมากที่สุด ๑๒ ดวง คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ และปิติ ใน บรรดาเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ ไม่มีโลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๖ ประกอบร่วมอยู่ด้วยเลยแม้แต่ เหตุเดียว ดังนั้นเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ จึงได้ชื่อว่าเจตสิกที่ไม่มีเหตุตรงตามข้อ ๑ ก.

๒. โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก ฉันทเจตสิก)โมจตุกเจตสิก ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวมเป็น ๑๖ ดวง ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉา ในบรรดา เจตสิกทั้ง ๑๖ ดวงนี้ มีโมหเจตสิก อันเป็นตัวเหตุอยู่เพียง ๑ เหตุเท่านั้น เจตสิกอีก ๑๕ ดวง นั้น ไม่มีเจตสิกอันเป็นตัวเหตุอีกเลย ดังนั้นจึงไได้ชื่อว่า โมหเจตสิก ที่ใน โมหมูลจิต ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุ ตรงตามข้อ ๑ ข. เพราะโมหเจตสิก ในที่นี้ แม้ตัวเองจะเป็นตัวเหตุก็จริง แต่ไม่มีเหตุอื่นมาประกอบร่วมอีกด้วยเลย

๓. โมหมูลจิต ๒ ดวง มี เจตสิกประกอบได้ ๑๖ ดวง ดังที่ได้กล่าวแล้วใน ข้อ ๒ ข้างบนนี้นั้น ในจำนวนเจตสิก ๑๖ ดวง มีโมหเจตสิกอันเป็นตัวโมหเหตุ ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๑๕ ดวง
เฉพาะเจตสิก ๑๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับโมหเจตสิกอัน เป็นโมหเหตุ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจตสิก ๑๕ ดวงนี้เป็นเจตสิกที่มีเหตุ คือ โมหเหตุ เหตุเดียวตรงตามข้อ ๒ก.เพราะเจตสิก ๑๕ดวงนี้มีโมหเหตุเกิดมาร่วมประกอบด้วย

๔. โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกเจตสิก ๔ โลติกเจตสิก ๓ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ปีติ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ ถีนะ และมิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโลภเจตสิก อันเป็นโลภเหตุ ๑ มีโมห เจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ ร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิกในที่นี้ก็มีเหตุ ๑ คือมี โลภเหตุเกิดร่วมด้วย

โทสมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกเจตสิก ๔
โทจตุกเจตสิก ๔ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ และ มิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโทสเจตสิกอันเป็น โทสเหตุ ๑ มีโมหเจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ เกิดร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โทสเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิก ในที่นี้ (คือในโทสมูลจิตนี้) ก็มีเหตุ ๑ คือมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วย

รวมความในข้อ ๔ นี้คงได้ความว่า โลภเจตสิกก็ดี โทสเจตสิกก็ดี โมหเจตสิก ที่ในโลภมูลจิตก็ดี และโมหเจตสิกที่ในโทสมูลจิตก็ดี ต่างก็มีเหตุเดียวเท่านั้น ตรง ตามข้อ ๒ ข.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. กามาวจรโสภณจิตญาณวิปปยุตต ๑๒ มีเจตสิก ประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ในจำนวนเจตสิก ๓๗ ดวงนี้ มี อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะว่า อโลภเจตสิกเกิดร่วมกับอโทสเจตสิกซึ่งต่างก็เป็นตัวเหตุด้วยกันทั้งคู่ และ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน ดังนั้นในที่นี้ อโลภเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโทสเหตุ และ อโทสเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโลภเหตุ ตรงตามข้อ ๒ ค.

๖. ทวิเหตุกจิต ๒๒ นั้นได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ กามาวจรโสภณ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒
โลภมูลจิต ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โลภเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และ
เจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโลภะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโลภเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโทสะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโทสเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ

กามาวจรโสภณญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (ที่ เว้น อโลภะ อโทสะ แล้ว) ๓๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ และอโทสเหตุ
เมื่อรวมเจตสิกที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒ ดวง ที่กล่าวในข้อ ๖ นี้เข้าด้วย กันทั้งหมดแล้วหัก โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ เจตสิกที่เป็นตัวเหตุออก และหักเจตสิกที่ซ้ำกันออกเสียอีกด้วยแล้ว จะได้เจตสิก ๔๕ ดวง ในเจตสิก ๔๕ ดวงนี้แหละที่ได้ชื่อว่า มี ๒ เหตุ คือ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโลภมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโทสมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุซึ่งประกอบกับกามจิตวิปปยุตตนั้น มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุกับอโทสเหตุ
เป็นอันว่าตรงกับข้อ ๓ ก.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง จะต้องมี อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
ประกอบ เจตสิก ๓ ดวงนี้ ก็คือเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง เหตุทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกันนี้ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน คือ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโทสเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก รวมเจตสิก ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงก็เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ ตรงตามข้อ ๓ ข.

๘. จิตที่เป็นไตรเหตุ หรือ ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะเจตสิก ๓๕ ดวงนี้เกิดร่วมพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง จึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา) ประกอบกับติเหตุกจิตนั้นเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ ตรงตามข้อ ๔
ที่กล่าวมาตอนนี้ เป็นการแสดงตามนัย นับแล้วนับอีก ที่ชื่อ คหิตัคคหณนัย ซึ่งคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวแล้ว อ้างแล้วเช่น อัญญสมานาเจตสิก โมหเจตสิก เป็นต้น ในข้อต่อมาก็ยังยกมาแสดง ยกมากล่าว อ้างซ้ำอีก ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า นับแล้วนับอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๓ กิจจสังคหะ

กิจจสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงเรื่องกิจ หมายความว่า รวบรวมแสดงเรื่อง กิจการงาน หรือหน้าที่ของจิต เจตสิก เพื่อให้ทราบว่าจิตดวงใดตลอดจนเจตสิกที่ ประกอบกับจิตนั้น มีกิจการงาน หรือมีหน้าที่ทำอะไรกัน นอกจากกิจแล้ว ท่านแสดงฐานให้ทราบไว้ด้วย ฐาน แปลว่าที่ตั้ง ฐานของกิจ ก็คือที่ตั้ง ที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่จิตและเจตสิกทำกิจการงาน มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๗ แสดงว่า

๗. ปฏิสนฺธทโย นาม กิจฺจเภเทน จุทฺทส
ทสธา ฐานเภเทน จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ


แปลความว่า บรรดาจิตที่เกิดขึ้น มีกิจการงานที่ต้องทำ ๑๔ ประเภท เช่น ปฏิสนธิกิจ เป็นต้น ฐาน หรือสถานที่ทำงานของจิต มีเพียง ๑๐ เท่านั้น

อธิบาย

จิตทั้งหมด คือ ทั้ง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง มีกิจการงานหรือมีหน้าที่ต้องทำเพียง ๑๔ อย่าง หรือ ๑๔ กิจ เท่านั้น และใน ๑๔ กิจนี้ มีสถานที่สำหรับทำกิจการงาน นั้น ๑๐ แห่ง หรือ ๑๐ ฐาน คือ
๑. ปฏิสนธิกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปฏิสนธิฐาน
๒. ภวังคกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ภวังคฐาน
๓. อาวัชชนกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า อาวัชชนฐาน
๔. ทัสสนกิจ
๕. สวนกิจ
๖. ฆายนกิจ
๗. สายนกิจ
๘. ผุสนกิจ
มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปัญจวิญญาณฐาน

๙. สัมปฏิจฉันนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สัมปฏิจฉันนฐาน
๑๐. สันตีรณกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สันตีรณฐาน
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า โวฏฐัพพนฐาน
๑๒. ชวนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ชวนฐาน
๑๓. ตทาลัมพนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ตทาลัมพนฐาน
๑๔. จุติกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า จุติฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


หน้าที่ของกิจ

๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพสืบต่อชาติ คือ ความเกิดขึ้นในภพใหม่ หมายเฉพาะขณะแรกที่เกิดใหม่ขณะเดียวเท่านั้น ฉะนั้นในภพหนึ่งชาติหนึ่ง จิตที่ทำ กิจปฏิสนธิจึงมีเพียงครั้งเดียว ขณะเดียวเท่านั้น
๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์ของภพ ทำให้ตั้งอยู่ในภพนั้น ๆ เท่าที่อายุ สังขารจะพึงอยู่ได้ จิตทำภวังคกิจนี้ทำอยู่เสมอ น้อยบ้าง มากบ้าง นับประมาณไม่ได้
๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่มาถึงตน ทั้งทางปัญจทวาร และ มโนทวาร ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เป็นจิตนำวิถี เพราะเป็นจิตดวง แรกที่ขึ้นวิถีใหม่ในทุก ๆ วิถี
๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่ เห็น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ ได้ยิน ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่ ได้กลิ่น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๗. สายนกิจ ทำหน้าที่ รู้รส ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่ รู้สิ่งที่มากระทบกาย มีเย็น ร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๙. สัมปฏิจฉันนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์ที่สัมปฏิจฉันนกิจส่งมาให้ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ กำหนดให้เป็นกุสล อกุสล หรือ กิริยา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แต่ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัด ตัดสิน ไม่ลง ก็อาจเกิด ๒ ขณะ ก็มี มากที่สุดเพียง ๓ ขณะ
๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์เป็น กุสล อกุสล หรือ กิริยา ตามที่ โวฏฐัพพนกิจได้ตัดสินและกำหนดมา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดชวนะ ๗ ขณะ แต่ว่าที่เกิดน้อยกว่านี้ก็มี และที่เกิดมากมายจนประมาณไม่ได้ก็มีเหมือนกัน (เช่น เวลาเข้าฌานสมาบัติ)
๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนกิจ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิด ขึ้น ๒ ขณะ
๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เป็นจิตสุดท้ายในภพนั้นชาตินั้น ในภพ หนึ่งชาติหนึ่ง จิตทำจุติกิจนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 95.21 KiB | เปิดดู 8819 ครั้ง ]
จิตทำกิจ
๑. จิตทำ ปฏิสนธิกิจ มี ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘
มหัคคตวิบากจิต ๙
๒. จิตทำ ภวังคกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ
๓. จิตทำ อาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๔. จิตทำ ทัสสนกิจ มี ๒ ดวง คือ จักขุวิญญาณจิต ๒
๕. จิตทำ สวนกิจ มี ๒ ดวง คือ โสตวิญญาณจิต ๒
๖. จิตทำ ฆายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ฆานวิญญาณจิต ๒
๗. จิตทำ สายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๘. จิตทำ ผุสนกิจ มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒
๙. จิตทำ สัมปฏิจฉันนกิจ มี ๒ ดวง คือ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
๑๐. จิตทำ สันตีรณกิจ มี ๓ ดวง คือ
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
๑๑. จิตทำ โวฏฐัพพนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๑๒. จิตทำ ชวนกิจ มี ๕๕ ดวง คือ
อกุสลจิต ๑๒
หสิตุปปาทจิต ๑
มหากุสลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘

เรียกว่ากามชวนะ ๒๙

มหัคคตกุสลจิต ๙
มหัคคตกิริยา ๙
โลกุตตรจิต ๘

เรียกว่าอัปปนาชวนะ ๒๖

๑๓. ตทาลัมพนกิจ มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓
มหาวิบากจิต ๘
๑๔. จุติกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. อฏฺฐสฏฺฐี ตถา เทฺว จ นวาฏฺฐ เทฺว ยถากฺกมํ
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ กิจฺจฏฺฐานานิ นิทฺทิเส ฯ


แปลความว่า จิตทำกิจ ๑ มีฐาน ๑ นั้น มีอยู่ ๖๘ ดวง
จิตทำกิจ ๒ มีฐาน ๒ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง
จิตทำกิจ ๓ มีฐาน ๓ นั้น มีอยู่ ๙ ดวง
จิตทำกิจ ๔ มีฐาน ๔ นั้น มีอยู่ ๘ ดวง
จิตทำกิจ ๕ มีฐาน ๕ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง

อธิบาย

จิตที่ทำกิจ ๑ อย่าง และมีฐาน ๑ นั้น มีจำนวน ๖๘ ดวง คือ
จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ฆายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ผุสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ อย่างเดียว ทำที่ อาวัชชนฐาน
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉันนกิจ อย่างเดียว ทำที่ สัมปฏิจฉันนฐาน
ชวนจิต ๕๕ ดวง ทำหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ชวนฐาน

จิตที่ทำกิจ ๒ อย่าง และมีฐาน ๒ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
โวฏฐัพพนกิจ ที่ โวฏฐัพพนฐาน

จิตที่ทำกิจ ๓ อย่าง และมี ฐาน ๓ ฐานนั้น มี ๙ ดวง คือ

มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน

จิตที่ทำกิจ ๔ อย่าง และมีฐาน ๔ ฐานนั้น มี ๘ ดวง คือ

มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

จิตที่ทำกิจ ๕ อย่าง และมีฐาน ๕ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน
สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 59.65 KiB | เปิดดู 8819 ครั้ง ]
เจตสิกทำกิจ

๑. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑ กิจ มี ๑๗ ดวง คือ
อกุสลเจตสิก ๑๔
วีรตีเจตสิก ๓
ทำ ชวนกิจ อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๔ กิจ มี ๒ ดวง คือ
อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ
จุติกิจ ชวนกิจ

๓. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๕ กิจ มี ๒๑ ดวง คือ
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ปัญญาเจตสิก ๑
ฉันทเจตสิก ๑
ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๔. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๖ กิจ มี ๑ ดวง คือ
ปีติเจตสิก ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
สันตีรณกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๕. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๗ กิจ มี ๑ ดวง คือ
วิริยเจตสิก ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๖. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๙ กิจ มี ๓ ดวง คือ
วิตกเจตสิก
วิจารเจตสิก
อธิโมกขเจตสิก
ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ
สัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ
ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๗. เจตสิกที่ทำหน้าที่หมดทั้ง ๑๔ กิจ มี ๗ ดวง คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวง ทำหน้าที่ทุกกิจ
(ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ฐานของกิจอย่างพิสดาร ๒๕ ฐาน

ได้แสดงมาแล้วว่า สถานที่ทำกิจของจิตนั้นได้ชื่อว่า ฐาน คือจิตทำปฏิสนธิกิจ ก็ทำที่ ปฏิสนธิฐาน เป็นต้น ไปถึงจิตที่ทำจุติกิจ ก็ทำที่ จุติฐาน เป็นที่สุด ซึ่งชื่อ ของกิจและชื่อของฐานนั้นก็ตรงกันเหมือนกัน เว้นแต่ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ และผุสนกิจ รวม

๕ กิจนี้เท่านั้น ที่ทำกิจที่ปัญจวิญญาณฐาน ซึ่งชื่อของ กิจและชื่อของฐานไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเรียกชื่อจิตที่ทำ ๕ กิจนั้นว่าปัญจวิญญาณจิต ทำกิจที่ ปัญจวิญญาณฐาน ชื่อของจิตกับชื่อของฐานก็เหมือนกันอีก
ส่วนฐานของจิตอย่างพิสดารนี้เป็น ๒๕ ฐาน มุ่งหมายที่จะแสดงให้ทราบอีก นัยหนึ่งว่า ปฏิสนธิฐานนี้มีฐานอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดปฏิสนธิฐาน และเมื่อปฏิสนธิฐานผ่านพ้นไปแล้ว มีฐานอะไรเกิดติดตามมา หรือจิตที่ทำปฏิสนธิกิจนั้นมี จิตทำกิจอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดจิตที่ทำปฏิสนธิกิจขึ้น และเมื่อจิตที่ทำปฏิสนธิกิจ ดับไปแล้ว มีจิตทำกิจอะไรเกิดตามติดมาเป็นลำดับ อันเป็นการแสดงฐานตามนัย แห่ง วิถีจิต หรือแสดงฐานโดยอาศัยวิถีจิตเป็นหลักฐานจึงมากขึ้นเป็น ๒๕ ฐาน

ฐานของกิจอย่างพิสดาร คือ ปฏิสนธิ มี ๑ ฐาน ภวังค มี ๖ ฐาน อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน ปัญจวิญญาณ หมายถึง ปัญจวิญญาณ ๑ ฐาน สัมปฏิจฉันนะ ๑ ฐาน สันตีรณะ ๑ ฐาน โวฏฐัพพนะ ๒ ฐาน ชวน ๖ ฐาน ตทาลัมพนะ ๒ ฐาน และ จุติ ๓ ฐาน จึงรวมเป็น ๒๕ ฐาน ด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้

๑. ปฏิสนธิ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง จุติ กับ ภวังค
๒. ภวังค มี ๖ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง ปฏิสนธิ กับ อาวัชชนะ
(๒) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ อาวัชชนะ
(๓) ระหว่าง ชวนะ กับ อาวัชชนะ
(๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ อาวัชชนะ
(๕) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ จุติ
(๖) ระหว่าง ชวนะ กับ จุติ

๓. อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง ภวังค กับ ปัญจวิญญาณ
(๒) ระหว่าง ภวังค กับ ชวนะ

๔. ปัญจวิญญาณ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง อาวัชชนะ กับ สัมปฏิจฉันนะ
๕. สัมปฏิจฉันนะ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง ปัญจวิญญาณ กับ สันตีรณะ
๖. สันตีรณะ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง สัมปฏิจฉันนะ กับ โวฏฐัพพนะ

๗. โวฏฐัพพนะ มี ๒ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง สันตีรณะ กับ ชวนะ
(๒) ระหว่าง สันตีรณะ กับ ภวังค

๘. ชวนะ มี ๖ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ ตทาลัมพนะ
(๒) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ ภวังค
(๓) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ จุติ
(๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ ตทาลัมพนะ
(๕) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ ภวังค
(๖) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ จุติ

๙. ตทาลัมพนะ มี ๒ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง ชวนะ กับ ภวังค
(๒) ระหว่าง ชวนะ กับ จุติ

๑๐. จุติ มี ๓ ฐาน คือ
(๑) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ ปฏิสนธิ
(๒) ระหว่าง ชวนะ กับ ปฏิสนธิ
(๓) ระหว่าง ภวังค กับ ปฏิสนธิ
ฐานพิสดาร ๒๕ ฐาน นี้ เมื่อได้ศึกษาถึงวิถีจิต ซึ่งเป็นปริจเฉทที่ ๔ แล้ว จะเข้าใจได้ดีขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๔ ทวารสังคหะ

ทวารสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องทวาร ทวาร แปลว่า ประตู คือ ทางเข้าออก ในที่นี้หมายถึง ทางที่จิตเจตสิกได้รับอารมณ์ หรือจิตเจตสิกได้รับ อารมณ์ทางนั้น ประตูนั้น ทวารนั้น เช่น จิตเจตสิกได้รับอารมณ์ทางตา ทางจักขุทวาร, ทางหู ทางโสตทวาร, ทางจมูก ฆานทวาร, ทางลิ้น ชิวหาทวาร เป็นต้น มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า


๙. เอกทฺวาริกจิตฺตานิ ปญฺจฉทฺวาริกานิ จ
ฉทฺสาริกวิมุตฺตานิ วิมุตฺตานิ จ สพฺพถา ฯ


แปลความว่า จิตอาศัยทวารเดียวก็มี อาศัย ๕ ทวารก็มี อาศัย ๖ ทวารก็มี บางทีอาศัย ทวารทั้ง ๖ บ้าง ไม่อาศัยบ้างก็มีและที่ไม่อาศัยเลยทั้ง ๖ ทวารก็มี มีอยู่ทุกประการ

อธิบาย

ที่ว่ามีอยู่ทุกประการนั้น รวมมีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการ คือ
๑. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต
๒. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๕ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต
๓. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๖ เรียกว่า ฉทวาริกจิต
๔. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๖ บ้าง แต่บางทีก็เกิดพ้นทวาร คือไม่ต้อง อาศัยทวารบ้าง เรียก ฉทวาริกวิมุตตจิต
๕. จิตที่เกิด พ้นทวารแน่นอน คือ จิตนั้นเกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารทั้ง ๖ เลยทีเดียว เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต
ทวาร คือ ประตู หรือ ทาง ที่จิตเจตสิกอาศัยเป็นทางให้ได้รับอารมณ์ ซึ่งมีอยู่ ๖ ทวาร หรือ ๖ ทางด้วยกัน คือ
๑. จักขุทวาร คือ ทางตา องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป
๒. โสตทวาร คือ ทางหู องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป
๓. ฆานทวาร คือ ทางจมูก องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหาทวาร คือ ทางลิ้น องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕. กายทวาร คือ ทางกาย องค์ธรรมได้แก่ กายปสาทรูป
๖. มโนทวาร คือ ทางใจ องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต

ตั้งแต่เลข ๑ ถึง ๕ รวม ๕ ทวารนี้เรียกว่า ปัญจทวาร องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูปทั้ง ๕ เป็นรูปทวาร เป็นทางให้ทวิปัญจวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และเป็นทางให้เกิดวิถีจิต ทางปัญจทวารอีกด้วย
เฉพาะเลข ๖ มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิตนั้น เป็นนามทวาร ภวังค จิตนี้เป็นเหตุแห่งความเกิดขึ้นของจิตทั้งปวงและเป็นทางให้เกิดวิถีจิตทางมโนทวาร อีกด้วย
ทวารทั้ง ๖ นี้เป็น รูปธรรม ๕ ทวาร เป็น นามธรรม เพียงทวารเดียว และทวารใดมีจิตอาศัยเป็นทางให้เกิดได้เป็นจำนวนเท่าใดนั้น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๐ ว่า

๑๐. ฉตฺตีสติ ตถา ตีณิ เอกตฺตีส ยถากฺกมํ
ทสธา นวธาเจติ ปญฺจธา ปริทีปเย ฯ

แปลความว่า พึงกำหนดจำนวนจิตเหล่านั้น ๕ ประเภทตามลำดับ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


แปลความว่า พึงกำหนดจำนวนจิตเหล่านั้น ๕ ประเภทตามลำดับ คือ

เอกทวาริกจิต มี ๓๖ ดวง
ปัญจทวาริกจิต มี ๓ ดวง
ฉทวาริกจิต มี ๓๑ ดวง
ฉทวาริกวิมุตตจิต มี ๑๐ ดวง
ทวารวิมุตตจิต มี ๙ ดวง

อธิบาย

๑. เอกทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว มีจำนวน ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อัปปนาชวนะ ๒๖

๒. ปัญจทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๕ (ปัญจทวาร) มี ๓ ดวง ได้แก่
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
รวมเรียก มโนธาตุ

๓. ฉทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖ มี ๓๑ ดวง ได้แก่
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙

๔. ฉทวาริกวิมุตตจิต บ้างก็เรียกว่า ฉทวาริกทวารวิมุตตจิต จิตที่บางทีก็ อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิด และบางทีก็ไม่อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิด มี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘
เมื่ออุเบกขา สันตีรณจิต ๒ ดวงนี้ ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ หรือ ตทาลัมพน กิจก็ดี มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจก็ดี ก็ต้องอาศัยทวารเป็นทางเกิด แต่ถ้าจิต ๑๐ ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ๓ อย่างนี้ ก็ไม่ต้องอาศัยทวารเลย

๕. ทวารวิมุตตจิต จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ คือ จิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย ทวารทั้ง ๖ เลย มี ๙ ดวง ได้แก่ มหัคคตวิบากจิต ๙ ที่กล่าวมาแล้วข้างบนนี้ เป็นการแสดงจำนวนจิตที่ต้องอาศัยทวาร หรือไม่ต้อง อาศัยทวารโดยแน่นอน (เอกันตะ) แต่อย่างเดียว

ต่อไปนี้ จะแสดงรายละเอียดของจำนวนจิตที่เกิดได้แต่ละทวาร ทั้งที่ แน่นอน (เอกันตะ) และที่ ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ด้วย
๑. จิตที่เกิดได้ทาง จักขุทวาร เรียกว่า จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๒. จิตที่เกิดได้ทาง โสตทวาร เรียกว่า โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๓. จิตที่เกิดได้ทาง ฆานทวาร เรียกว่า ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๔. จิตที่เกิดได้ทาง ชิวหาทวาร เรียกว่า ชิวหาทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๕. จิตที่เกิดได้ทาง กายทวาร เรียกว่า กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๖. จิตที่เกิดได้ทาง มโนทวาร เรียกว่า มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง
๗. จิตที่เกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต มี ๘๐ ดวง
๘. จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๕ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง
๙. จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๖ เรียกว่า ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง
๑๐. จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง

เฉพาะ จักขุทวาริกจิต และโสตทวาริกจิต สองประเภทนี้เท่านั้น ถ้านับอภิญญา จิต ๒ ดวง คือ ทิพพจักขุญาณที่เป็นกุสล ๑ กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย จักขุทวาริกจิตก็ มี ๔๘ ดวง และนับทิพพโสตญาณที่เป็นกุสล ๑ กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย โสตทวาริกจิต ก็มี ๔๘ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่
จักขุวิญญาณจิต ๒

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๒. โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่
โสตวิญญาณจิต ๒

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๓. ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่
ฆานวิญญาณจิต ๒

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๔. ชิวหาทวาริกจิต

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่
ชิวหาวิญญาณจิต ๒

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๕. กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่
กายวิญญาณจิต ๒

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

เฉพาะ อภิญญาจิต ๒ ดวง ถ้าจะนับรวมเข้ากับ จักขุทวาริกจิต โสตทวาริกจิต ด้วยดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
นั้น ก็จัดอยู่ในประเภทอเนกันตะ ไม่แน่นอน เพราะบางที ก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด

๖. มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒๖ ดวง ได้แก่
อัปปนาชวนจิต ๒๖

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๑ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๗. เอกทวาริกจิต มี ๘๐ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อัปปนาชวนจิต ๒๖

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๘. ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓

ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ๔๑ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพนจิต ๑๑

๙. ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓๑ ดวง ได้แก่
โสมนัส สันตีรณจิต ๑ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนกิจ ๒๙

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘

๑๐. ทวารวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๙ ดวง ได้แก่
มหัคคตวิบากจิต ๙

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก กับ ทวาร

๑. วิรตีเจตสิก ๓ ดวง เมื่อประกอบกับโลกุตตรจิต
ย่อมเกิดเฉพาะทางมโน ทวารทางเดียว

๒. อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ที่ประกอบกับมหัคคตจิต
ก็ย่อมเกิดเฉพาะทาง มโนทวาร ทางเดียวเหมือนกัน

๓. เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง ที่ประกอบกับจิต ๘๐ ดวง (เว้นมหัคคตวิบากจิต ๙)
เกิดได้ในทวารทั้ง ๖ ทั้งที่แน่นอน (เอกันตะ) และไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ด้วย

๔. เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ ดวง (เว้นวิรตี ๓)
ที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิตนั้น เป็นเจตสิกที่พ้นทวาร

ที่กล่าวมาสั้น ๆ เพียงเท่านี้ ก็เพราะมีหลักอันเป็นข้อกำหนดที่ควรจะทราบอยู่ ว่า
เจตสิกประกอบกับจิตใด ก็มีฐานะเช่นเดียวกับจิตนั้น ดังนั้น จิตอาศัยทวารใด
เป็นทางเกิด เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น ก็อาศัยทวารนั้นเป็นทางเกิดเช่นเดียวกัน

หมวดที่ ๕ อารัมมณสังคหะ

อารัมมณสังคหะ คือ การรวบรวมกล่าวเรื่องอารมณ์
คำว่า อารัมมณะ นี้บางทีเรียกว่า อารัมพนะ มีความหมายอย่างเดียวกัน

อารมณ์ คือ ธรรมชาติอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก
" สภาวะที่สามารถยังให้จิตและเจตสิกธรรมข้องได้นั้น ชื่อว่า อารมณ์ "

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร