วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 03:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 76.93 KiB | เปิดดู 7608 ครั้ง ]
อธิบาย

เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ อนิยตโยคีเจตสิก และนิยตโยคีเจตสิก

ก. อนิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตไม่เสมอไป ไม่เป็นที่แน่นอนกล่าวคือ
ประกอบเป็นครั้งคราว มีจำนวน ๑๑ ดวง
ได้แก่ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กรุณา มุทิตา
มานะ ถีนะ และมิทธะ


ข. นิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตเสมอ เป็นที่แน่นอนมี ๔๑ ดวงคือ
เจตสิกที่เหลือจาก ๑๑ ดวง นั่นเอง อนิยตโยคีเจตสิก ที่ว่าประกอบกับจิตไม่เสมอไป
ไม่แน่นอน บางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ เป็นดังนี้


๑. อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ๓ ดวงนี้ ถ้าจะเกิดก็ต้องเกิดร่วมกันพร้อมกับโทสจิต
และจะต้องเกิดทีละดวง คือทีละอย่างเท่านั้น เพราะอารมณ์ต่างกัน การประกอบเป็นครั้งคราว
และทีละดวง เช่นนี้เรียกว่า นานากทาจิ
เวลาที่ริษยาสมบัติของผู้อื่น อิสสาเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่มัจฉริยะและกุกกุจจะไม่เกิด
เพราะอารมณ์คนละอย่างต่างกัน
เวลาที่เหนียวแน่นในสมบัติของตน มัจฉริยเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและกุกกุจจะไม่เกิด
เวลาที่เศร้าใจ รำคาญใจ ในบาปที่ตนได้กระทำไปแล้ว หรือในการบุญที่ตนไม่ได้ทำ
กุกกุจจะเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและมัจฉริยะไม่เกิด


๒. วิรตี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก และ สัมมาอาชีวเจตสิก นั้น
ถ้าเป็นโลกีย์ ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสล ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางคราว
และประกอบทีละดวง
เวลาที่เว้น วจีทุจริต ๔ คือ มุสาวาจา ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปวาจา
ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ
เวลานั้นสัมมาวาจาก็เกิด แต่สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ไม่เกิด
เวลาที่เว้นกายทุจริต ๓ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ
เวลานั้นสัมมากัมมันตะก็เกิด แต่สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะไม่เกิด
เวลาที่เว้นวจีทุจริต ๔ และเว้นกายทุจริต ๓ ที่รวมเรียกว่าเว้นทุจริต ๗ ที่เกี่ยวกับอาชีพเวลานั้น
สัมมาอาชีวะเกิด แต่ถือว่าสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่เกิด
แต่ถ้าเป็นโลกุตตรโดยประกอบกับโลกุตตรจิตแล้ว ก็เป็น นิยตเอกโต คือต้องประกอบแน่นอน
และประกอบพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง เพราะวิรตีนี้เป็นองค์มัคคมีหน้าที่ประหารกิเลส
ถ้าวิรตีไม่เกิด มัคคจิตก็จะเกิดไม่ได้เลย


๓. กรุณาเจตสิก กับมุทิตาเจตสิก ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง
เวลาใดที่รับเอาทุกขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่เป็นอารมณ์เกิดกรุณาสงสารต่อสัตว์นั้น ปรารถนาช่วยสัตว์นั้นให้พ้นทุกข์ กรุณาเจตสิกก็เกิดแต่มุทิตาเจตสิกไม่เกิด
เวลาใดที่รับเอาสุขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังมีความสุขอยู่เป็นอารมณ์แล้วก็พลอยปิติยินดีกับเขาด้วยเช่นนี้
มุทิตาเจตสิกก็เกิด แต่กรุณาเจตสิกไม่เกิด


๔. มานเจตสิก เพราะมีดวงเดียว ไม่มีพวก จึงเรียกว่าเป็น กทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้ง
(ไม่ใช่นานากทาจิ ซึ่งหมายความว่าประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง) มานเจตสิกนี้
ถ้าจะเกิด ก็เกิดในโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง


๕. ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก คู่นี้เป็น สหกทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและพร้อมกัน
หมายความว่าถ้าจะประกอบก็ต้องประกอบด้วยกันพร้อมกันทั้งคู่ (ไม่ใช่ทีละดวง)
หรือถ้าไม่ประกอบก็ไม่ประกอบทั้งคู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


สังคหนัย

สังคหะ แปลว่า รวบรวม หรือสงเคราะห์ ในที่นี้มีความหมายว่า จิตแต่ละดวงได้รวบรวมเจตสิกเข้ามาไว้
เท่าใด คืออะไรบ้าง หรือจิตแต่ละดวงมีเจตสิกอะไรบ้าง รวมเป็นจำนวนเท่าใดมาสงเคราะห์จิตนั้น

๑๓. ฉตฺตึสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตึส มหคฺคเต
อฏฺฐตึสาปิ ลพฺภนฺติ กามาวจรโสภณเณ ฯ

๑๔. สตฺตวีสติปญฺญมฺหิ ทฺวาทสาเหตุเกติ จ
ยถาสมฺภวโยเคน ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า โลกุตตรจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๖ ดวง(โลกุตตรจิตอย่างย่อ๘ ดวง)
มหัคคตจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๕ ดวง
กามาวจรโสภณจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๘ ดวง
อกุสลจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๒๗ ดวง
อเหตุกจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๑๒ ดวง

จิตที่ถูกประกอบด้วยเจตสิก โดยสังคหนัย ๕ อย่าง

อนุตตรสังคหนัย

อนุตตร มีความหมายว่า เหนืออย่างไม่มีอะไรเหนือกว่า หรือแม้แต่จะเหนือเท่า
พ้นอย่างไม่มีอะไรจะเทียบได้ ทั้งนี้ก็หมายถึงโลกุตตรนั่นเอง ดังนั้นอนุตตรสังคหนัย
ก็คือ สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต นั่นแหละ

๑๕. ฉตฺตึส ปญฺจตึสา จ จตุตฺตึส ยถากฺกมํ
เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจวํ ปญฺจธานุตฺตเร ฐิตา ฯ


แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้น (อย่างพิศดาร ๔๐ ดวง) มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับ คือ ๓๖ นัยหนึ่ง ,
๓๕ นัยหนึ่ง , ๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ คู่หนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

นัยที่ ๑ ปฐมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปฐมฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

นัยที่ ๒ ทุติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ทุติยฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒)

นัยที่ ๓ ตติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ตติยฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)

นัยที่ ๔ จตุตถฌานมัคคจิต ๔ ดวง จตุตถฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)

นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปัญจมฌานผลจิต ๔ ดวงมีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


มหัคคตสังคหนัย

๑๖. ปญฺจตึส จตุตฺตึส เตตฺตึส จ ยถากฺกมํ
พาตฺตึส เจว ตึเสติ ปญฺจธาว มหคฺคเต


แปลความว่า มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับคือ ๓๕ นัยหนึ่ง ,
๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ นัยหนึ่ง , ๓๒ นัยหนึ่ง และ ๓๐ นัยหนึ่ง

อธิบาย

มหัคคตจิต ๒๗ ดวงนั้น เมื่อนับตามอำนาจแห่งฌานแล้ว
ก็มีเจตสิกประกอบไม่เท่ากัน จึงจัดได้เป็น ๕ นัย คือ


นัยที่ ๑ ปฐมฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)


นัยที่ ๒ ทุติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มี
เจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒(เว้นวิตกเจตสิก)
โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓)


นัยที่ ๓ ตติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นวิตก วิจาร)โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓)


นัยที่ ๔ จตุตถฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓)


นัยที่ ๕ ปัญจมฌาน ๑๕ ดวง คือ รูปาวจรปัญจมฌาน กุสล วิบาก กิริยา ๓ ดวง
อรูปาวจร กุสล วิบาก กิริยา ๑๒ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐(เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก๒๐(เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


กามาวจรโสภณสังคหนัย

๑๗. อฏฐตึส สตฺตตึส ทฺวยํ ฉตฺตึสกํ สุเภ
ปญฺจตึส จตุตฺตึส ทฺวยํ เตตฺตึสกํ กฺริเย ฯ

๑๘. เตตฺตึส ปาเก พาตฺตึสทฺ วเยกตึสกํ ภว
สเหตุกกามาวจร ปญฺญปากกฺริยามเน ฯ


แปลความว่า ในสเหตุกกามาวจร กุสล วิบาก กิริยา มีสังคหะ

ตามลำดับคือ มหากุศล มี ๓๘ หนึ่งนัย ๓๗ สองนัย ๓๖ หนึ่งนัย
มหาวิบาก มี ๓๕ หนึ่งนัย ๓๔ สองนัย ๓๓ หนึ่งนัย
มหากิริยา มี ๓๓ หนึ่งนัย ๓๒ สองนัย ๓๑ หนึ่งนัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะรวม ๑๒ นัย ดังนี้ คือ
มหากุสล ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๘, ๓๗, ๓๗, ๓๖
มหากิริยา ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๕, ๓๔, ๓๔, ๓๓
มหาวิบาก ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๓, ๓๒, ๓๒, ๓๑

นัยที่ ๑ มหากุสล คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ ที่เป็นญาณสัมปยุตต ทั้งคู่
มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง เต็มที่ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕

นัยที่ ๒ มหากุสล คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ ซึ่งเป็นญาณวิปปยุตตทั้งคู่
มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก)

นัยที่ ๓ มหากุสล คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ ซึ่งเป็นอุเบกขาทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง
คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๕

นัยที่ ๔ มหากุสล คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ ซึ่งทั้งคู่เป็นอุเบกขาด้วยเป็นญาณวิปปยุตตด้วย
มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญา)

นัยที่ ๕ มหากิริยาคู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

นัยที่ ๖ มหากิริยาคู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ๓ ปัญญา ๑)

นัยที่ ๗ มหากิริยา คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี)

นัยที่ ๘ มหากิริยา คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ปัญญา)

นัยที่ ๙ มหาวิบาก คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

นัยที่ ๑๐ มหาวิบาก คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง
คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)

นัยที่ ๑๑ มหาวิบาก คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

นัยที่ ๑๒ มหาวิบาก คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๑ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


โสภณเจตสิกที่ไม่ได้สังคหนัย
ต่อไปนี้จะแสดงโสภณเจตสิกบางดวง ที่ไม่ได้ประกอบกับโสภณจิต บางประเภท

๑๙. น วิชฺชนเตตฺถ วิรตี กฺริเยสุ จ มหคฺคเต
อนุตฺตเร อปฺปมญฺญา กามปาเก ทฺวยํ ตถา ฯ


แปลความว่า โสภณเจตสิกที่กล่าวมานี้
ในมหากิริยาจิต ย่อมไม่มีวิรตีเจตสิก
ในโลกุตตรจิต ย่อมไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก
ในมหาวิบากจิต ย่อมไม่มีทั้ง ๒ (คือทั้งวิรตี และ อัปปมัญญา)

อธิบาย

๑. ในมหากิริยาจิต ๘ ดวง ทั้งนี้เป็นเพราะมหากิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์
ซึ่งจบการศึกษาแล้ว เป็นผู้ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวง ตั้งแต่อรหัตตผลได้เกิดขึ้นแล้ว
จึงไม่จำเป็นหรือไม่มีกิจที่จะต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่วหรือเว้นเลี้ยงชีพชั่วอีกเลย
ด้วยว่าไม่มีกิเลสเหลือที่จะให้ทำชั่วอย่างนั้น หรืออย่างไหน ๆ ทั้งสิ้น

๒. ในมหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกประกอบ เพราะมหัคคตจิตเกิดขึ้น
โดยมีกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเว้นทุจริตซึ่งจะต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ
(วัตถุอันพึงเว้น) เป็นอารมณ์แต่อย่างใด

๓. ในโลกุตตรจิต ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิกประกอบ เพราะอัปปมัญญาเจตสิก
จะต้องมีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว

๔. ในมหาวิบากจิต ๘ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ และอัปปมัญญาเจตสิกทั้ง ๒ รวม ๕ ดวงนี้
ประกอบด้วยเลย เพราะมหาวิบากเป็นจิตที่เป็นผลของมหากุสล ทำหน้าที่ปฏิสนธิ เป็นต้น
เมื่อขณะปฏิสนธินั้น ไม่ต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่ว และเว้นเลี้ยงชีพชั่ว
ทั้งขณะนั้นก็ไม่ได้กรุณาสงสารผู้ใด ไม่ได้มีมุทิตา คือพลอยยินดีกับใคร อันเป็นการเว้น คือไม่เกิด
หรือเกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ จึงไม่ต้องมีวิรตีเจตสิก อัปปมัญญเจตสิก มาประกอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบางประการที่ทำให้จิตต่างกัน

๒๐. อนุตฺตเร ฌานธมฺมา อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม
วิรตี ญาณ ปีติ จ ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ


แปลความว่า ในโลกุตตรจิต ฌานธรรมย่อมทำให้ต่างกัน
ในมหัคคตจิต ฌานธรรมและอัปปมัญญา ทำให้ต่างกัน
ในกามาวจรโสภณจิต วิรตี ญาณ ปีติ ทำให้ต่างกัน

อธิบาย

๑. ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือฌานทั้ง ๕ ย่อมทำให้จิตวิเศษ
คือต่างกันจาก ๘ ดวง เป็น ๔๐ ดวง และ
วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปฐมฌาน ต่างกับโลกุตตร ทุติยฌาน
วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตร ทุติยฌาน ต่างกับโลกุตตร ตติยฌาน
ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตร ตติยฌาน ต่างกับโลกุตตร จตุตถฌาน
สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร จตุตถฌาน ต่างกับโลกุตตร ปัญจมฌาน
อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปัญจมฌาน ต่างกับโลกุตตร ฌานต้น ๆ

๒. ในมหัคคตจิตนั้น ฌานธรรมและอัปปมัญญาเจตสิก ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกัน ดังต่อไปนี้
วิตกเจตสิก ทำให้โลกีย ปฐมฌาน ต่างกับโลกีย ทุติยฌาน
วิจารเจตสิก ทำให้โลกีย ทุติยฌาน ต่างกับโลกีย ตติยฌาน
ปีติเจตสิก ทำให้โลกีย ตติยฌาน ต่างกับโลกีย จตุตถฌาน
สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย จตุตถฌาน ต่างกับโลกีย ปัญจมฌาน
อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ
อัปปมัญญาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ

๓. ในกามาวจรโสภณจิตนั้น วิรตีเจตสิก ญาณคือ ปัญญาเจตสิกและปีติเจตสิก
ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกันดังนี้ มหากุสลจิต มีวิรตีประกอบ ทำให้ต่างกับมหากิริยาจิต
ซึ่งไม่มีวิรตีประกอบ จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต มีปัญญาเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับ
จิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ซึ่งไม่มีปัญญาเจตสิกประกอบ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา
มีปีติเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ซึ่งไม่มีปีติเจตสิกประกอบ

อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า ในกรณีใดที่ปัญญาเจตสิก หรือปีติเจตสิกจึงประกอบ
หรือไม่ประกอบนั้น ดังนี้ จิตดวงใดที่เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว จิตดวงนั้นจะต้องมีปัญญาเจตสิก
ประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน จิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาแล้ว
จิตดวงนั้นจะต้องมีปีติเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน (เฉพาะกามจิต)

ดังนั้น ก็พึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า จิตดวงใดที่เป็นญาณวิปปยุตต คือไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
ปัญญาเจตสิกก็ย่อมไม่เข้าประกอบอยู่เอง และจิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา
ความเสียใจก็ดีเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา เฉย ๆ ก็ดี ปีติ คือความอิ่มใจ
ย่อมเข้าประกอบด้วยไม่ได้เลย เพราะความเสียใจ หรือความเฉย ๆ จะไม่มีความอิ่มใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




12_1_~1.JPG
12_1_~1.JPG [ 168.12 KiB | เปิดดู 9035 ครั้ง ]
อกุสลสังคหนัย

viewtopic.php?f=66&t=41837

๒๑. เอกูนวีสฏฺฐารส วีเสกวีส วีสติ
ทฺวาวีส ปนฺนรเสติ สตฺตธากุสเล ฐิตา ฯ


แปลความว่า อกุศลจิตมีสังคหะ ๗ นัย ตามลำดับ คือ ๑๙ นัยหนึ่ง , ๑๘ นัยหนึ่ง ,
๒๑ นัยหนึ่ง , ๒๐ นัยหนึ่ง , ๒๒ นัยหนึ่ง และ ๑๕ นัยหนึ่ง

อธิบาย

อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบได้ รวมทั้งหมด ๒๗ ดวง
คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุสลเจตสิก ๑๔
แต่ว่า อกุสลจิตแต่ละดวงนั้นมีเจตสิกประกอบได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นอกุสล จิต ๑๒ ดวง
จึงจัดสังคหะได้เป็น ๗ นัย คือ

นัยที่ ๑ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๓ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ สัพพากุสลสาธารณเจตสิกหรือโมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑
ทิฏฐิเจตสิก ๑(เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๑) มานเจตสิก ๑ (เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๓)

นัยที่ ๒ โลภมูลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๗ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน
มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวงได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑
ทิฏฐิเจตสิก ๑(ประกอบเฉพาะดวงที่ ๕)มานเจตสิก (ประกอบ เฉพาะดวงที่ ๗)

นัยที่ ๓ โลภมูลจิตดวงที่ ๒ กับดวงที่ ๔ อันเป็นสสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง
ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๒)
มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๔) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

นัยที่ ๔ โลภมูลจิตดวงที่ ๖ กับดวงที่ ๘ อันเป็นสสังขาริก เหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑
(ประกอบเฉพาะดวงที่ ๖) มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๘) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

นัยที่ ๕ โทสมูลจิตดวงที่ ๑ อันเป็นอสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๐ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔

นัยที่ ๖ โทสมูลจิตดวงที่ ๒ อันเป็นสสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๒ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบเป็นจำนวนเท่ากัน คือ ๑๕ ดวง แต่มีที่ต่างกัน คือ

ก. โมหมูลจิต ดวงที่ ๑ได้แก่ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตหรือวิจิกิจฉาสหคตจิต
เจตสิกที่ประกอบคืออัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ)
โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวม ๑๕ ดวง

ข. โมหมูลจิต ดวงที่ ๒ ได้แก่ อุทธัจจสัมปยุตตจิต มีเจตสิกที่ประกอบ คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ รวม ๑๕ ดวง เท่ากันกับ ก.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพากุสลโยคีเจตสิก

๒๒. สาธารณา จ จตฺตาโร สมานา จ ทสาปเร
จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ สพฺพากุลสโยคิโน ฯ


แปลความว่า สัพพากุสลสาธารณเจตสิก ๔ ดวง อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง
รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก

อธิบาย

สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด (ทั้ง ๑๒ ดวง)
สัพพากุสลสาธารณเจตสิก หรือโมจตุกะ ๔ ดวงคือ โมห อหิริก อโนตตัปป อุทธัจจ
กับอัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง คือ ผัสส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร และ วิริยะ
(เว้นอธิโมกธ ปีติ ฉันทะ)
รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเป็นเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิต
ได้ทั้งหมดหมายความว่า อกุสลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงหนึ่งดวงใดเกิดขึ้น
เป็นต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวงนี้ ประกอบเสมอไปอย่างแน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อเหตุกสังคหนัย

๒๓. ทฺวาทเสกาทส ทส สตฺต จาติ จตุพฺพิโธ
อฏฐารสาเหตุเกสุ จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย ตามลำดับ คือ ๑๒ หนึ่งนัย ,
๑๑ หนึ่งนัย , ๑๐ หนึ่งนัย , ๗ หนึ่งนัย

อธิบาย

อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ประเภทเดียวเท่านั้น คือ อัญญสมานาเจตสิก
และอัญญสมานาเจตสิกก็เข้าประกอบกับอเหตุกจิตได้เป็นอย่างมากเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น
ส่วนอีกดวง คือ ฉันทเจตสิกเข้าประกอบกับอเหตุกจิตด้วยไม่ได้เลยเป็นเด็ดขาดแน่นอน

เหตุที่ฉันทเจตสิกไม่ประกอบกับอเหตุกจิตเลยนั้น เพราะว่าฉันทเจตสิกนี้มีลักษณะ คือ
ความพอใจในอารมณ์ มีความปรารถนาจะกระทำ มีความปลงใจกระทำ
ส่วนอเหตุกจิตนั้นเป็นจิตที่แม้ว่าจะปลงใจกระทำหรือไม่ ก็ต้องเกิด เช่น จักขุวิญญาณจิต
มีหน้าที่เห็นรูป ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยงามอยากเห็นหรือเป็นรูปที่น่าเกลียดน่ากลัวไม่อยากเห็น
เมื่อรูปนั้นมาปรากฏเฉพาะหน้า ก็จะต้องเห็น จะเลือกเห็นเฉพาะรูปที่สวยงามไม่ได้

ทางโสตวิญญาณจิต มีหน้าที่ได้ยินเสียงก็เช่นกัน จะเลือกได้ยินแต่เสียงที่เพราะ ๆ รื่นหู ก็ไม่ได้
ซึ่งผิดกับจิตอื่นที่มีฉันทเจตสิกประกอบ เช่นโทสจิต เป็นต้น เมื่อได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี
เช่นเห็นสุนัขขี้เรื้อน ผู้เห็นพอใจปลงใจจะให้เกิดความเกลียดชังก็ได้
หรือจะเลือกในทางไม่เกลียดก็ได้ ถ้าเลือกในทางเกลียด โทสจิตก็เกิด
ถ้าเลือกในทางสงสารว่าเป็นกรรมของสัตว์นั้น โทสจิตก็ไม่เกิด แต่กลับเป็นโสภณจิต

ดังนั้นฉันทเจตสิกจึงไม่เกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย เพราะเป็นจิตที่เลือกไม่ได้ตามใจชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย คือ

นัยที่ ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง อันเป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์โดยเฉพาะ
บุคคลอื่นใดไม่มีจิตดวงนี้หสิตุปปาทมีเจตสิกประกอบ ๑๒ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันท)


นัยที่ ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง (เรียกอีกชื่อหนึ่งตามกิจ หรือหน้าที่การงานว่า
โวฏฐัพพนจิตก็ได้)และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง จิต ๒ ดวงนี้
มีเจตสิกประกอบ ๑๑ ดวง เท่ากัน แต่มีที่ต่างกัน คือเจตสิกที่ประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก และฉันทเจตสิก)
ส่วนเจตสิกที่ประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑
แต่เว้นวิริยเจตสิก กับฉันทเจตสิก


นัยที่ ๓ มโนธาตุ ๓ ดวง (ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง)
กับอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ ดวง (คืออุเบกขาสันตีรณจิต ๒) รวมจิต ๕ ดวงนี้
มีเจตสิกประกอบได้ ๑๐ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริย ปีติ ฉันท)


นัยที่ ๔ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง มีเจตสิกประกอบได้จำพวกเดียว
คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเท่านั้นเอง


๒๔. อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ สตฺต เสสา ยถารหํ
อิติ วิตฺถารโต วุตฺโต เตตฺตึสวิธ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ ย่อมประกอบด้วย
สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วน
ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวงนั้น ย่อมประกอบกับจิตตามที่จะประกอบได้
เมื่อนับโดยพิสดารย่อมได้สังคหนัย ๓๓ นัยดังได้กล่าวมาแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๕. อิตถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ
ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ จิตฺเตน สมมุทฺทิเส ฯ

แปลความว่า ตามที่ได้กล่าวมา พึงรู้สัมปโยคนัยและสังคหนัยของเจตสิกเสียก่อน
แล้วจึงจำแนกประเภทของจิตและ เจตสิกที่ประกอบกัน ตามที่จะเข้ากันได้เถิด

อธิบาย

สัมปโยคนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่า เจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดบ้าง
สังคหนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่าจิตแต่ละดวงมีเจตสิกใดมาร่วมสงเคราะห์บ้าง

สัมปโยคนัย มี ๑๖ นัย คือ

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ได้สัมปโยค ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ได้สัมปโยค ๖ นัย
อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง ได้สัมปโยค ๕ นัย
โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ได้สัมปโยค ๔ นัย
รวม ๕๒ ดวง ได้สัมปโยค ๑๖ นัย

สังคหนัย มี ๓๓ นัย คือ

โลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย
กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง มีสังคหะ ๑๒ นัย
อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีสังคหะ ๗ นัย
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย
รวมจิต ๑๒๑ ดวง มีสังคหะ ๓๓ นัย

อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๒

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
ทุติเย ปริจฺโฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ

ในปริจเฉทที่ ๒ ( ชื่อ เจตสิกสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวมรวบ
ซึ่งอรรถแห่งอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านั้น

ทั้งหมดได้เอามาจากลี้งนี้
v
http://www.thepathofpurity.com

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร