วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 02:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


โทสเจตสิก

๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ
นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ
ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล
อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้

ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษฐร้าย
ทำลายเหล่านั้น เป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น
อาฆาตวัตถุ อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดโทสะนั้นมี ๑๐ ประการ คือ
(๑) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
(๒) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
(๓) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา

(๔) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
(๕) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
(๖) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
(๗) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
(๘) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
(๙) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
(๑๐) ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่นเกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้ หรือ เหยียบหนาม เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อิสสาเจตสิก

๙. อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ความริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปรสมฺปตฺตีนํ อุสฺสูยนลกฺขณา มีการริษยาในสมบัติของผู้อื่น เป็นลักษณะ
ตตฺเถว อนภิรติรสา มีการไม่ชอบใจในความมั่งมีของผู้อื่น เป็นกิจ
ตโตวิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีการเบือนหน้าหนีจากสมบัติของผู้อื่น เป็นผล
ปรสมฺปตฺติปทฏฺฐานา มีสมบัติของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้

มัจฉริยเจตสิก

๑๐. มัจฉริยเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความตระหนี่เหนียวแน่น ไม่ยอมเสียสละ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อตฺตโนสมฺปตฺตีนํ นิคูหนลกฺขณํ มีการซ่อนสมบัติของตน เป็นลักษณะ
ตาสํ เยว ปเรหิสาธารณภาว อกฺขมนรสํ มีการไม่ชอบให้สมบัติของตนเป็นสาธารณแก่ผู้อื่น เป็นกิจ
สงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหดหู่ หวงแหน ไม่เผื่อแผ่ เป็นผล
อตฺตสมฺปตฺติปทฏฺฐานํ มีสมบัติของตน เป็นเหตุใกล้

มัจฉริยะ ๕ ประการ ได้แก่
(๑) อาวาสมัจฉริย ตระหนี่ ที่อยู่
(๒) กุลมัจฉริย ตระหนี่ สกุล
(๓) ลาภมัจฉริย ตระหนี่ ลาภ
(๔) วัณณมัจฉริย ตระหนี่ วรรณะ
(๕) ธรรมมัจฉริย ตระหนี่ ธรรม

กุกกุจจเจตสิก

๑๑. กุกกุจจเจตสิก คือธรรมชาติที่เดือดร้อนรำคาญใจในสิ่งชั่ว อกุสลกรรมที่ได้ทำไปแล้ว และร้อนใจในกุสลกรรม ความดีที่ยังไม่ได้ทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปจฺฉานุตาปลกฺขณํ มีความเดือดร้อนอยู่เนืองๆ ในภายหลัง เป็นลักษณะ
กตากตานุโสจนรสํ มีการตามเดือดร้อนอยู่เนือง ๆ ถึงบาปที่ได้กระทำแล้ว และบุญที่ไม่ได้กระทำ เป็นกิจ
วิปฺปฏิสารปจฺจุปฏฺฐานํ มีความกินแหนงใจอยู่ เป็นผล
กตากตปทฏฺฐานํ มีการทำบาป มิได้กระทำบุญ เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


ถีนเจตสิก

๑๒. ถีนเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตท้อถอยหดหู่ เซื่องซึม ไม่ใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อนุสฺสาหลกฺขณํ มีการไม่อุตสาหะ เป็นลักษณะ
วีริยวิโนทนรสํ มีการทำลายความเพียร เป็นกิจ
สํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล
อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

มิทธเจตสิก

๑๓. มิทธเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยตนให้หดหู่ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน และง่วงซึมหลับ จับอารมณ์ไม่ติด มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อกมฺมญฺญตาลกฺขณํ มีความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ
โอทหนรสํ มีการกั้นกำบังกุสล เป็นกิจ
ลีนตาปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล
อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


วิจิกิจฉาเจตสิก

๑๔. วิจิกิจฉาเจตสิก คือ ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ในอารมณ์ต่างๆ สงสัยตัดสินอารมณ์ไม่ได้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สํสยลกฺขณา มีความสงสัย เป็นลักษณะ
กมฺปนรสา มีการหวั่นไหวในอารมณ์ เป็นกิจ
อนิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่สามารถตัดสินใจได้ เป็นผล
อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานา มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

ความสงสัยทั้งหลาย หาใช่เป็นวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ทั้งหมดไม่ ความสงสัยในวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ หมายเฉพาะสงสัยในธรรม ๘ ประการเท่านั้น คือ
(๑) สงสัยในพระพุทธเจ้า ได้แก่สงสัยในพระสรีระ (ว่าเห็นจะไม่มีตัวจริง น่าจะสมมุติขึ้น) หรือสงสัยในพระคุณ (พระพุทธคุณ ๙)
(๒) สงสัยในพระธรรม ว่ามัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือและธรรมนี้นำออกจากทุกข์ ได้จริงหรือ
(๓) สงสัยในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในมัคค ๔ ผล ๔ มีจริงหรือ สงฆ์ที่ปฏิบัติดีจริงมีหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์ มีจริงหรือ
(๔) สงสัยในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา) ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ
(๕) สงสัยในขันธ์ ๕ อายตน ธาตุที่เป็นส่วนอดีตมีจริงหรือ คือสงสัยว่าชาติก่อนมีจริงหรือ (อเหตุกทิฏฐิ)
(๖) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ที่เป็นอนาคต มีจริงหรือ คือสงสัยว่า ชาติหน้ามีจริงหรือ (อุจเฉททิฏฐิ)
(๗) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ทั้งที่เป็นส่วนอดีตและอนาคตนั้น มีจริงหรือ คือสงสัยทั้งชาติก่อนและชาติหน้า (อกิริยทิฏฐิ)

(๘) สงสัยในปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้น มีจริงหรือ (อัตตทิฏฐิ)
อนึ่งความสงสัยอย่างอื่นที่ไม่ใช่ธรรม ๘ ประการ เช่นสงสัยในเรื่องสมมุติและบัญญัติ ไม่เป็นกิเลส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




20090127163258_p4_02_3.gif
20090127163258_p4_02_3.gif [ 37.78 KiB | เปิดดู 7099 ครั้ง ]
โสภณเจตสิก

โสภณเจตสิก เป็นเจตสิกที่ดีงาม ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เมื่อประกอบกับจิต ก็ทำให้จิตนั้นดีงาม
ปราศจากความเร่าร้อน ให้จิตตั้งอยู่ในศีลธรรม มีการเว้นจากบาป เว้นจากทุจริตต่างๆ ฉะนั้นเจตสิก
ประเภทนี้ จึงเรียกว่า โสภณเจตสิก
จิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า โสภณจิต ส่วนจิตใดที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า อโสภณจิต

โสภณเจตสิก มีจำนวน ๒๕ ดวง และยังแบ่งออกได้เป็น ๔ พวก คือ
ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่สาธารณะกับโสภณจิตทั้งหมด หมายความว่า โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกนี้ประกอบพร้อมกันทั้ง ๑๙ ดวง ไม่มีเว้นเลย
ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง เป็นเจตสิกที่เว้นจากบาปธรรมทั้งปวง อันเกิดจากกายทุจริต และวจีทุจริต

ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง เป็นเจตสิกที่มีความรู้แผ่ไปไม่มีประมาณ เรียกว่า พรหมวิหาร ก็ได้
ที่เรียกว่า อัปปมัญญานั้นเพราะแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย จนประมาณไม่ได้
ที่เรียกว่า พรหมวิหารนั้น เพราะธรรมนี้เป็นที่อยู่สำราญของพวกพรหม
ง. ปัญญาเจตสิก มีดวงเดียว ไม่มีพวก เป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ เป็นประธาน ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง ปัญญินทรียเจตสิก ก็เรียก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีดังนี้

สัทธาเจตสิก

๑. สัทธาเจตสิก คือ ความเชื่อถือเหตุผลตามความเป็นจริง ความเลื่อมใสในกุสลธรรม
ความเชื่อในฝ่ายดี เช่น เชื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สทฺทหนลกฺขณา มีความเชื่อถือในอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
ปสาทนรสา มีการเลื่อมใส เป็นกิจ
อกาฬุสฺสิยปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
สทฺเทยฺยวตฺถุปทฏฺฐานา มีปูชนียวัตถุเป็นเหตุใกล้

สัทธาแม้อย่างน้อยเพียงเชื่อว่าสัตว์นั้นมีกรรมเป็นของตน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพียงเท่านี้
ก็เป็นคุณยิ่ง มิฉะนั้นก็จะไม่ประหยัดต่อบาปกรรม จะกระทำอะไรก็ไม่คิดว่าเป็นทุจริตเสียหาย
เพราะสำคัญผิดว่าจะไม่ต้องได้รับผลนั้น
ถ้ามีสัทธา เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมแล้ว ก็จะตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
สัทธา จึงเป็นธรรมเบื้องต้นที่จะทำให้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญเป็นกุสล จนหาประมาณมิได้
สัทธา พีชํฯ สัทธาเปรียบเหมือนพืช (อันจะงอกงามโตใหญ่ให้ดอกผลในภายหน้า)

เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสัทธา
(๑) รูปปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
(๒) ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
(๓) โฆสปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้ฟังชื่อเสียงลือว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้
(๔) ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้สดับธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


สติเจตสิก

๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล
ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์
สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนา
หรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้
โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ
สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาท เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุสลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว
สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้

เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ
(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้
ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด
(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวัง
จดจำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด
(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำ
ถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต
(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้
(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้
(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ
(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ
(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้
(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้
(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้
(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม
(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้
(๑๔) สติเกิดขึ้น เพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)
(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้
(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้
(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


หิริเจตสิก

๓. หิริเจตสิก คือความละอายต่อการทำบาปทำชั่ว ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
บาปคือธรรมชาติที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บุญคือธรรมชาติที่ชำระจิตให้สะอาดผ่องแผ้ว
ในขณะที่จิตอกุสลเกิดขึ้นอยากจะประพฤติผิดศีล ๕ เครื่องยับยั้งมิให้เกิดอกุสลจิตนั้น
ก็คือ หิริ คือเกิดความละอายต่อบาปที่จะกระทำ จึงยับยั้งไว้ช่วยไม่ให้ทำอกุสล

ฉะนั้นหิริจึงเป็นธรรมที่เป็นโลกบาล คือเป็นธรรมชาติที่คุ้มครองโลก หิริ เกิดขึ้นทำให้ละอายต่อบาป
จึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง สิ่งที่ทำให้เกิดหิริ คือมีการเคารพตนเอง
จึงละอายต่อการทำบาป หิริเจตสิกมีลักขณาทิจตุกะดังนี้

ปาปโตชิคุจฺฉนลกฺขณา มีความเกลียดต่อบาป เป็นลักษณะ
ปาปานํอกรณรสา มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ
ปาปโตสงฺโกจน ปจฺจุปฏฺฐานา มีความละอายต่อบาป เป็นผล
อตฺตคารวปทฏฺฐานา มีความเคารพในตน เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


โอตตัปปเจตสิก

๔. โอตตัปปเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความสะดุ้งกลัวต่อผลของบาป จึงไม่ทำบาป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อตฺตาสนลกฺขณํ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ
ปาปานํอกรณรสํ มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ
ปาปโตสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความละอายต่อบาป เป็นผล
ปรคารวปทฏฺฐานํ มีความเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้
หิริกับโอตตัปปะ จะเกิดได้ต้องอาศัย เหตุภายนอก ๔ เหตุภายใน ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง

เหตุภายนอก ๔ ได้แก่
(๑) อตฺตานุวาทภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนด้วยตนเอง
(๒) ปรวาทานุภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนจากผู้อื่น
(๓) ทณฺฑภยํ กลัวต่อราชทัณฑ์ คือกฎหมายบ้านเมือง
(๔) ทุคฺคติภยํ กลัวต่อภัยในอบายภูมิ

เหตุภายใน ๘ ได้แก่
(๑) กุละ ละอายบาป กลัวบาปโดยคำนึงถึงตระกูลของตน
(๒) วยะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงวัยของตน
(๓) พาหุสัจจะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงการศึกษาของตน
(๔) ชาติมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงชาติอันประเสริฐของตน
(๕) สัตถุมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงพระพุทธเจ้า บิดา มารดา ครู อาจารย์
(๖) ทายัชชมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง มรดกของพระพุทธเจ้า ของบิดา มารดา ซึ่งตนเองจะต้องรับมรดกนั้น
(๗) สพรหมจารีมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง เพื่อนที่ดีที่เคยคบมา
(๘) สูรภาวะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง ความกล้าหาญและความสงบเสงี่ยมเจียมตัวของตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อโลภเจตสิก

๕. อโลภเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ ไม่ข้องในอารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์ เมื่อประสบในอารมณ์นั้น จะพยายามให้หลุดออกไปจากอารมณ์นั้น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อลคฺคภาวลกฺขโณ มีความไม่ติดอารมณ์ เป็นลักษณะ
อปริคฺคหรโส มีการไม่หวงแหน เป็นกิจ
อนลฺลีนภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่ยึดมั่น เป็นผล
โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

อโทสเจตสิก

๖. อโทสเจตสิก คือธรรมชาติที่ไม่โกรธ ไม่หยาบคาย ไม่มีปองร้าย ไม่ประทุษร้าย (มีเมตตาต่อกัน)
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อจณฺฑิกลกฺขโณ มีความไม่ดุร้าย เป็นลักษณะ
อาฆาตวินยรโส มีการทำลายความอาฆาต เป็นกิจ
โสมภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีความร่มเย็น เป็นผล
โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

ขนฺติ คือความอดทน ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ
อกฺโกธ คือ ความไม่โกรธ
ส่วน เมตฺตา ยังประสงค์ให้ผู้อื่นมีความสุขอีกด้วย
ทั้ง ขันติ อักโกธ และเมตตา นี้องค์ธรรมได้แก่ อโทส
เมตตา มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งจิตใจของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด
ส่วนราคะ มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งร่างกายของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

๗. ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ การทำใจเป็นกลาง เป็นยุตติธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง
การวางใจเฉยในอารมณ์ (เป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร) มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

จิตฺตเจตสิกานํ สมวาหิตลกฺขณา มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาค เป็นลักษณะ อูนาธิกตานิวารณรสา มีการห้ามความยิ่งหย่อน เป็นกิจ
มชฺฌตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเป็นกลาง(อุเบกขา) เป็นผล
สมฺปยุตฺตานํปทฏฺฐานา มีสัมปยุตตธรรม เป็นเหตุใกล้

กายปัสสัทธิเจตสิก และ จิตตปัสสัทธิเจตสิก

๘.กายปัสสิทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของเจตสิก
๙. จิตตปัสสัทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของจิต

เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตานํทรถวูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิตสงบจากความเร่าร้อน เป็นลักษณะ
กายจิตฺตทรถนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความเร่าร้อนของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
กายจิตฺตานํ อปริปฺผนฺทนสีติภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเยือกเย็น ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


กายลหุตาเจตสิก และ จิตตลหุตาเจตสิก

๑๐. กายลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้เจตสิกเบาจากอกุสล ความเบาของเจตสิกจากอกุสล
๑๑. จิตตลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้จิตเบาจากอกุสล ความเบาของจิตจากอกุสล
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตครุภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิต สงบจากความหนัก เป็นลักษณะ
กายจิตฺตครุภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความหนักของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
กายจิตฺตานํอทนฺธตาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หนักของเจตสิก ของจิต เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

กายมุทุตาเจตสิก และ จิตตมุทุตาเจตสิก

๑๒. กายมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกมีความอ่อนโยน ความอ่อนโยนของเจตสิก ทำให้เป็นไปง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล
๑๓. จิตตมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตอ่อนโยน เจตสิกที่ทำให้จิตอ่อนโยน เป็นไปได้ง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตถทฺธวูปสมลกฺขณา มีเจตสิก และมีการทำให้จิตสงบจากความแข็ง กระด้าง เป็นลักษณะ
กายจิตฺตถทฺธภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความแข็งกระด้างของเจตสิก และของจิต เป็นกิจ
อปฺปฏิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่โกรธไม่อาฆาต เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


กายกัมมัญญตาเจตสิก และ จิตตกัมมัญญตาเจตสิก

๑๔. กายกัมมัญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ควรแก่การงานอันเป็นกุสล ความควรแก่การงานของเจตสิก
๑๕. จิตตกัมมัญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตควรแก่การงานอันเป็นกุสล การทำให้จิตควรแก่งาน
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตากมฺมญฺญภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิกทำให้จิตสงบจากความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ

กายจิตฺตา กมฺมญฺญภาว นิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ควรแก่การงานของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
กายจิตฺตานํ อารมฺมณกรณสมฺปตฺติปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้เจตสิก ทำให้จิตมีอารมณ์สมควรแก่การงาน เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

จิตที่ไม่ควรแก่การงาน จะใช้จิตทำสมาธิก็มีผลน้อย เช่นจิตที่มีร่างกายอ่อนเพลีย หรือป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง เมื่อร่างกายไม่สะบายการทำสมาธิก็ได้ผลน้อยเสียเวลาทำสมาธิ ๒ ชั่วโมง ก็ทำไม่ได้ เพราะจิตไม่มีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบ
จิตและเจตสิกที่ไม่ควรแก่การงาน คือจิตและเจตสิกที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ นิวรณ์เปรียบเหมือน ตะปูตรึงจิต หรือสนิมกินเนื้อเหล็กทำให้เหล็กกร่อน นิวรณ์ทั้ง ๕ อันมี กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เมื่อนิวรณ์ครอบงำจิตแล้วจิตก็ไม่ควรแก่การงาน ต้องละนิวรณ์ให้ได้ก่อน แล้วจึงใช้จิตทำงาน เมื่อจิตมีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบแล้ว การทำสมาธิก็จะได้ผลในชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


กายปาคุญญตาเจตสิก และ จิตตปาคุญญตาเจตสิก

๑๖. กายปาคุญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้เจตสิกคล่องแคล่วต่อกุสล ความคล่องแคล่วของเจตสิกในกุสล
๑๗. จิตตปาคุญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตคล่องแคล่วต่อกุสล การทำให้จิตคล่องแคล่วในกุสล
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตานํ อเคลญฺญภาวลกฺขณา มีความไม่อาพาธของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ
กายจิตฺตเคลญฺญนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความอาพาธ ของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
นิราทีนวปจฺจุปฏฺฐานา มีความปราศจากโทษ เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

กายุชุกตาเจตสิก และ จิตตุชุกตาเจตสิก

๑๘. กายุชุกตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกมุ่งตรงต่อกุสล ความมุ่งตรงของเจตสิกต่อกุสล
๑๙. จิตตุชุกตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล การทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายจิตฺตอชฺชวลกฺขณา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ
กายจิตฺตกุฏิลภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
อชิมฺหตาปปจฺจุปฏฺฐานา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




20090127163258_p4_02_3.gif
20090127163258_p4_02_3.gif [ 37.78 KiB | เปิดดู 7082 ครั้ง ]
วิรตีเจตสิก
วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวะเจตสิก

สัมมาวาจาเจตสิก

๑. สัมมาวาจาเจตสิก คือ การพูดชอบ พูดสิ่งที่เป็นกุสล เว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ มี มุสาวาท พูดปด ปิสุณาวาท พูดส่อเสียด ผรุสวาท พูดหยาบคาย สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับอาชีพ

สัมมาวาจามี ๓ ประการ

ก. กถาสัมมาวาจา ได้แก่ การกล่าววาจาที่ดี มีศีลธรรม เพื่อหวังประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่น อาจารย์สอนศิษย์ เป็นต้น
ข. เจตนาสัมมาวาจา ได้แก่ ผู้มีเจตนาสมาทานศีล ว่าจะละเว้นวจีทุจริต มีการไม่กล่าวมุสา เป็นต้น
ค. วิรตีสัมมาวาจา ได้แก่ การเว้นจากวาจาทุจริตทั้ง ๔ มีเว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาป ในเมื่อมีอารมณ์ที่ควรจะล่วงปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) (ไม่มีความตั้งใจไว้ก่อนเมื่อประสบกับอารมณ์เฉพาะหน้าจึงต้องงดเว้น)

สัมมากัมมันตเจตสิก

๒. สัมมากัมมันตเจตสิก คือ ประกอบการงานชอบ การงานที่ไม่ทุจริต เว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และล่วงประเวณี เป็นการกระทำปกติ คือ เป็นการทำงานปกติประจำวัน ไม่เกี่ยวกับอาชีพ

สัมมากัมมันตะ มี ๓ ประการ
ก. ยถาพลังสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การกระทำการงานโดยชอบ การงานที่ไม่ทุจริต มีการประกอบกุสล เป็นต้น ตามกำลังของตน
ข. เจตนาสัมมากัมมันตะ ได้แก่เจตนาที่ตั้งใจสมาทานว่าจะละเว้นกายทุจริต มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงประเวณี
ค. วิรตีสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มีเว้นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงประเวณี ในเมื่อมีอารมณ์ที่ควรจะล่วงมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) หมายความว่าไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะงดเว้น แต่มาประสบกับอารมณ์จึงต้องงดเว้นเฉพาะหน้า

สัมมาอาชีวเจตสิก

๓. สัมมาอาชีวเจตสิก คือ ความเป็นอยู่ชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพที่สุจริต เว้นจากทุจริตทั้ง ๗ คือ เว้นกายทุจริต ๓ และเว้นวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ

สัมมาอาชีวะ มี ๒ ประการ
ก. วิริยสัมมาอาชีวะ ได้แก่ความเพียรในการกระทำการงานหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
ข. วิรตีสัมมาอาชีวะ ได้แก่การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวแก่อาชีพ
เจตสิก ๓ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายทุจฺจริตาทิวตฺถุนํ อวีติกฺกมลกฺขณามีการไม่ล่วงกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ กายทุจฺจริตวตฺถุโตสงฺโกจนรสา มีการเว้นจากกายทุจริต เป็นต้น เป็นกิจ
อกริยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ทุจริต เป็นผล
สทฺธาหิโรตฺตปฺปาทิคุณปทฏฺฐานา มีคุณธรรมคือ สัทธา หิริโอตตัปป เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร