วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 20:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 40.71 KiB | เปิดดู 8093 ครั้ง ]
อภิญญา ๖

อภิญญา ๓ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๓ นั้นได้แก่
( ๑ ) ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ระลึกชาติได้
( ๒ ) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
( ๓ ) อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

เฉพาะอภิญญาข้อ ๓ นี้ จะเป็นสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ก็ตาม หรือฌานลาภีอรหัตตบุคคล
ได้ถึงอภิญญาด้วยหรือไม่ก็ตาม ต้องมีอภิญญาข้อ ๓ นี้ด้วยทุกๆ องค์
อภิญญา ๖ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๖ นั้น คือวิชา ๓ นั่นเอง และเพิ่มขึ้นอีก ๓ คือ
( ๔ ) ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
( ๕ ) ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
( ๖ ) อิทธิวิธี สำแดงฤทธิ์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




phatdansinh1.gif
phatdansinh1.gif [ 164.22 KiB | เปิดดู 7606 ครั้ง ]
อีกนัยหนึ่งนั้น จำแนกพระอรหันต์เป็น ๒ ประเภท โดยจำแนกเป็นพระอรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ
และพระอรหันต์ ผู้ไม่มี ปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณ คือ ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน แปลสั้นๆ ว่า ปัญญาแตกฉาน
ปฏิสัมภิทาญาณ มี ๔ ประการคือ

๑. อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวง
อันบังเกิดจากเหตุ ชื่อว่า อัตถะปฏิสัมภิทาญาณ
อัตถะ หรือ ผล นั้นได้แก่ธรรม ๕ ประการ คือ

ก. ยํ กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ คือรูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง
ข. นิพฺพานํ คือพระนิพพาน
ค. ภาสิตตฺโถ คืออรรถที่กล่าวแก้ให้รู้วิบากขันธ์ ๓๒ ดวง
ง. กิริยาจิตฺตํ คือกิริยาจิต ๒๐ ดวง
จ. ผลจิตฺตํ คือผลจิต ๔ ดวง

๒. ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผลชื่อว่า
ธัมมาปฏิสัมภิทาญาณธรรม หรือ เหตุ นั้นได้แก่ธรรม ๕ ประการ คือ
ก. โย โกจิ ผลนิพฺพตฺตโก เหตุ คือเหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น
ข. อริยมคฺโค คือมัคคจิตทั้ง ๔
ค. ภาสิตํ คือพระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก
ง. กุสลจิตฺตํ คือกุศลจิต ๑๗ ดวง
จ. อกุศลจิตฺตํ คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง

๓. นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือบัญญัติแห่งอัตถะปฏิสัมภิทา
และธัมมะปฏิสัมภิทาย่อมมีด้วย นิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว ธมฺมนิรุตฺติ นั้น
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่ารู้จักถ้อยคำหรือภาษาอัน เป็นบัญญัติที่เรียกว่า
โวหารในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา
และธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่ เช่นนี้เป็นต้น

๔. ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือมีปัญญาว่องไว ไหวพริบ
เฉียบแหลม คมคาย ในการตอบโต้อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา
ทั้ง ๓ นั้น ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วชัดแจ้ง โดยฉับ พลันทันที ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละ
ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




20170724_074002.jpg
20170724_074002.jpg [ 242.29 KiB | เปิดดู 7606 ครั้ง ]
โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร

โลกุตตรจิตอย่างพิสดารนั้น คือโลกุตตรจิตอย่างย่อ ๘ ดวงนั่นเอง
แจกไปตามฌานที่ได้ที่ถึง ซึ่งมีอยู่ ๕ ฌานนั้น เช่น โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ดวง
ก็มีได้ทั้งที่ได้ปฐมฌาน ๑, ที่ได้ทุติยฌาน ๑, ที่ได้ตติยฌาน ๑, จตุตถฌาน ๑
และปัญจมฌาน ๑ รวม เป็น ๕ ฌาน หรือ ๕ ชั้น ดังนี้
โสดาปัตติมัคคจิตที่ประกอบด้วยฌาน ก็มี ๕ ดวง
มัคคจิตโดยย่อ ๔ ดวง ประกอบด้วยฌาน ๕ ชั้น จึงมีมัคคจิตโดยพิสดารเป็น ๒๐ ดวง
เฉพาะมัคคจิตโดยย่อ ๔ ดวง ซึ่งแม้จะมิใช่จิตที่ประกอบด้วยฌาน แต่ที่ถือว่าเป็นปฐมฌานด้วย
ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑๕ กล่าวไว้ ดังจะเห็นได้ในเมื่อกล่าวถึงคาถาสังคหะนั้น

อนึ่ง มัคคจิตก็ไม่ได้แจกไปตามอรูปฌานอีก ๔ ฌานนั้นด้วยก็เพราะเหตุว่า
อรูปฌานทั้ง ๔ นั้นนับเป็นปัญจมฌาน ด้วยว่ามีองค์ฌานเพียง ๒
คือ อุเบกขากับเอกัคคตาเท่ากันและเหมือนกันกับรูปาวจรปัญจมฌาน
เป็นแต่อารมณ์ต่างกันเท่า นั้นเอง ส่วนองค์ฌานคงเท่ากัน
ดังนั้นจึงนับว่าฌานทั้ง ๙ ฌานมีเพียง ๕ ชั้น ด้วยเหตุนี้มัคคจิต ๔ ดวง
จำแนกไปตามฌาน ๕ ชั้นจึงเป็น ๒๐ ดวง
โดยทำนองเดียวกัน ผลจิตโดยย่อ ๔ ดวง เมื่อจำแนกไปตามฌานที่ได้ที่ถึง
ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง รวม มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง
กับผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง จึงเป็นโลกุตตรจิตอย่างพิสดาร ๔๐ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 56.34 KiB | เปิดดู 8118 ครั้ง ]
โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้น ได้แก่

๑. วิตกฺวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน

๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน

๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน

๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน

๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน
สกทาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง อนาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน
เป็น ๕ ดวง และ อรหัตตมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกันนี้

โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้นได้แก่

๑. วิตกฺวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน

๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน

๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน

๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน

๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน

สกทาคามิผลจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง อนาคามิผลจิตที่ประกอบด้วยฌาน
เป็น ๕ ดวง และ อรหัตตผลจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




aniManMath-new.gif
aniManMath-new.gif [ 55.67 KiB | เปิดดู 7606 ครั้ง ]
จำแนกโลกุตตรจิตโดยชาติเภทเป็นต้น

๑. ชาติเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดี จำแนกโดยชาติได้ ๒ คือ
โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวงก็ดี เป็นชาติกุศล
โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวงก็ดี เป็นชาติวิบาก
ดังนั้นจึงเรียกกันสั้นๆ ว่า มัคคเป็นกุศล ผลเป็นวิบาก
๒. ภูมิเภท โลกุตตรจิตเป็นโลกุตตรภูมิ คือเป็นจิตชั้นที่เหนือยิ่งกว่าจิตชั้นใดๆ ทั้งสิ้น
๓. เวทนาเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ถ้ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนาเป็น โสมนัสเวทนา จนโลกุตตรจิตเกิด โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนาเช่นเดียวกัน
ถ้ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นอุเบกขาเวทนาจนโลกุตตรจิตเกิด โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน
ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยฌาน ซึ่งฌานที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้นมี เวทนาอย่างใด โลกุตตรจิตนั้นก็มีเวทนาอย่างนั้น กล่าวคือ
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌานก็ดี ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี แม้จตุตถฌานก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นโสมนัสเวทนา เพราะฌานเหล่านั้นที่ประกอบโลกุตตรจิตเหล่านี้ เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ย่อมเป็นอุเบกขาเวทนา เพราะเป็นปัญจมฌานนั้น เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา
๔. เหตุเภท โลกุตตรจิตเป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุและเหตุที่ประกอบก็ครบทั้ง ๓ เหตุเต็มที่ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ
๕. สังขารเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดี เป็นสสังขาริกจิต ทั้งสิ้น เพราะโลกุตตรจิตจะเกิด ได้ก็โดยอาศัยมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต เจริญวิปัสสนาภาวนามาก่อน จึงต้องถือว่ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิตนั่นแหละ เป็นสิ่งที่ชักจูงให้โลกุตตรจิตเกิดขึ้น
๖. สัมปยุตตเหตุ โลกุตตรจิตเป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีปัญญา ถ้าเป็นจิตที่ไม่มีปัญญา เป็นจิตญาณวิปปยุตต ไม่ใช้ปัญญาประกอบด้วยแล้ว โลกุตตรจิตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด
๗. โสภณเภท โลกุตตรจิตเป็นโสภณจิต เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่งกว่าจิตใดๆ ทั้งปวง ไม่มีจิตใดจะประเสริฐเทียบเทียมได้เลย
๘. โลกเภท โลกุตตรจิตประเภทเดียวเท่านี้แหละเป็นโลกุตตระ หาใช่โลกียะไม่ นอกจากโลกุตตรจิตนี้แล้ว จิตอื่นๆ นั้น เป็นโลกียจิตทั้งหมด
๙. ฌานเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงเป็นจิตที่ไม่มีฌานจิตประกอบด้วย จึงเป็นอฌานจิต แต่อย่างไรก็ดี โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงที่ไม่ได้ฌานด้วยนี้ ก็ถือว่าเป็นปฐมฌาน ถึงซึ่งปฐมฌานด้วย ดังที่จะเห็นได้ ตามคาถาสังคหะที่ ๑๕ ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นโดยอัตโนมัติว่า โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนี้ควรจัดเป็น ฌานจิตได้ด้วย
ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานโดยแท้ จึงเป็นฌานจิต อย่างไม่มีปัญหา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 50.62 KiB | เปิดดู 8059 ครั้ง ]
จำแนกจิตทั้ง ๘๙ โดยชาติเภท

คาถาสังคหะ ๑๑ แสดงว่า

๑๑. ทฺวาทสากุสลาเนวํ กุสลาเนกวีสติ
ฉตฺตีเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ


แปลความว่า อกุศล ๑๒ กุศล ๒๑ วิบาก ๓๖ กิริยา ๒๐ อย่างนี้

หมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยชาติเภทนัยแล้ว ก็มี ๔ ชาติ คือ
ชาติอกุศล ชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา

ชาติอกุศล ได้แก่จิต ๑๒ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นโทษ และให้ผลเป็นทุกข์ คือ
อกุศลจิต ๑๒ ดวง

ชาติกุศล ได้แก่จิต ๒๑ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข คือ
มหากุศลจิต ๘ ดวง
มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง
โลกุตตรกุศลจิต ๔ ดวง

ชาติวิบาก ได้แก่จิต ๓๖ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นผลบาปและผลของบุญ คือ
อกุศลวิบาก ๗ ดวง
อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ดวง
มหาวิบาก ๘ ดวง
มหัคคตวิบาก ๙ ดวง
โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง

ชาติกิริยา ได้แก่จิต ๒๐ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญและไม่เป็นบาป
ทั้งไม่ใช่ผลของบาปหรือผลของบุญด้วย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง คือ
อเหตุกกิริยา ๓ ดวง
มหากิริยา ๘ ดวง
มหัคคตกิริยา ๙ ดวง

ชาติวิบากและชาติกิริยานี้รวมเรียกว่า ชาติอพยากตะ หมายแต่เพียงว่า
ชาติของจิตเหล่านั้นไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล ด้วยทั้ง ๒ อย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 46.35 KiB | เปิดดู 8099 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยภูมิเภท
คาถาสังคหะที่ ๑๒ แสดงว่า

๑๒. จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปนฺนรสีริเย
จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ


แปลความว่า กามาวจร ๕๔ รูปาวจร ๑๕ อรูปาวจร ๑๒ โลกุตตร ๘ อย่างนั้น

มีอธิบายว่า จิตทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยภูมิเภทนัยแล้ว
กามาวจรจิต ๕๔ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ
รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ
โลกุตตรจิต ๘ ดวง เป็นโลกุตตรภูมิ
อนึ่ง คำว่า ภูมิ นี้แปลว่า แผ่นดิน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย ก็ได้ หรือ แปลว่า ชั้น พื้นเพ ก็ได้
ในที่นี้แปลว่า ชั้นกามาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นกามาวจร ชั้นกามโลก
รูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นรูปาวจร ชั้นรูปโลก
อรูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นอรูปาวจร ชั้นอรูปโลก
โลกุตตรภูมิ หมายถึง จิตชั้นโลกุตตร คือจิตชั้นที่เหนือโลกที่พ้นจากโลก ทั้ง ๓ นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 50.46 KiB | เปิดดู 8057 ครั้ง ]
จำแนกจิตโดยย่อและจิตอย่างพิสดาร

คาถาสังคหะที่ ๑๓ แสดงว่า

๑๓. อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ


แปลความว่า บัณฑิตพึงจำแนกจิตด้วยประการฉะนี้ว่า มีประเภท ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง

หมายความว่า จิตทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทโดยย่อ ก็มี ๘๙ ดวง แต่ถ้าจำแนกโดยพิสดารแล้ว มีถึง ๑๒๑ ดวง
ที่มากขึ้นหรือที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นที่โลกุตตรจิตแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนกามาวจรจิตก็ดี รูปาวจรจิตก็ดี อรูปาวจรจิตก็ดี จำนวนคงที่ไม่มีการเพิ่มให้มากขึ้นแต่อย่างใด

จำแนกจิต ๘๙ โดยเวทนาเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยย่อประเภทแห่งเวทนาแล้ว ได้ดังนี้

สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
โสมนัสเวทนา มี ๓๐ คือ กามโสมนัส ๑๘ , ฌานโสมนัส ๑๒ ( กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัสโลภมูลจิต ๔ , โสมนัส สันตีรณะ ๑ , โสมนัสหสิตุปปาทะ ๑ , โสมนัสมหากุศล ๔ , โสมนัสมหาวิบาก ๔ , โสมนัสมหากิริยา ๔ ส่วนฌานโสมนัส ๑๒ นั้น ได้แก่ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ , รูปาวจรทุติยฌาน ๓ , รูปาวจรตติยฌาน ๓ และ รูปาวจรจตุตถฌาน ๓ )
โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ อุเบกขาโลภมูลจิต ๔ , อุเบกขาโมหมูลจิต ๒ , อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ , อุเบกขามหากุศล ๔ , อุเบกขามหาวิบาก ๔ ,อุเบกขามหากิริยา ๔ , รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ , อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิต ๘ เฉพาะโลกุตตรจิตนั้น ได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้ามหากุศลฌานสัมปยุตตจิต ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาจนเกิดโลกุตตรจิต โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนา หากว่ามหากุศลฌานสัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนานั้นเกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา จนเกิดโลกุตตรจิตแล้ว โลกุตตรจิต ที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอุเบกขาเวทนา
แต่ตามปกติที่จำแนกจิตโดยเวทนาแล้ว ส่วนมากมักจัดโลกุตตรจิต ๘ ดวงไว้ในอุเบกขาเวทนา ดังนั้นในที่นี้จึงจัด โลกุตตรจิต ๘ ดวงอยู่ในอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ถ้าจำแนกจิตอย่างพิสดาร ๑๒๑ ดวงโดยประเภทแห่งเวทนาแล้วก็มีดังนี้
สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
โสมนัสเวทนา มี ๖๒ คือ กามโสมนัส ๑๘ , รูปฌานโสมนัส ๑๒ และโลกุตตรที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘ , โลกุตตรที่ ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘ , โลกุตตรที่ประกอบด้วยตติยฌาน ๘ , โลกุตตรที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘
โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิต ๒ ดวง
อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ กามอุเบกขา ๓๒ , รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ , อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๘
( กามอุเบกขา ๓๒ ได้แก่ อุเบกขาในอกุศลจิต ๖ , อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ และอุเบกขาในกามาวจรโสภณจิต ๑๒ )

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 47.45 KiB | เปิดดู 8098 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยเหตุเภท

จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งเหตุแล้วได้ดังนี้
เป็น อเหตุก คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุนั้น มี ๑๘ ดวง ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ ดวงเท่านั้นเอง
เป็น สเหตุก คือเป็นจิตที่มีสัมปยุตตนั้น มี ๗๑ ดวง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุเดียว เรียกว่า เอกเหตุจิต นั้นมี ๒ ดวง คือโมหมูลจิต ๒ โมหมูลจิตนี้
เป็นจิตที่มีโมหเหตุเพียงเหตุเดียวเท่านั้น
เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุกจิต นั้น มีอยู่ ๒๒ ดวง คือ
โลภมูลจิต ๘ มีโลภเหตุกับโมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มีโทสมูลจิตกับโมหเหตุ
กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง มี อโลภเหตุกับอโทสเหตุ
เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๓ เรียกว่า ติเหตุกจิต คือ มีทั้ง อโลภเหตุ อโทสเหตุ
และ อโมหเหตุ นั้นมี ๔๗ ดวง คือ
กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
โลกุตตรจิต ๘ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 44.77 KiB | เปิดดู 8098 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยสังขารเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งสังขารแล้ว ได้ดังนี้
เป็น อสังขาริก มี ๓๗ ดวง คือ อกุศลจิตที่เป็นอสังขาริก ๗, อเหตุกจิต
ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกทั้ง ๑๘ และ กามโสภณจิต ที่เป็น อสังขาริก ๑๒
เป็น สสังขาริก มี ๕๒ ดวง คือ อกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ กามโสภณจิต
ที่เป็นสสังขาริก ๑๒ มหัคคจิต ๒๗ และ โลกุตตรจิต ๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 43.76 KiB | เปิดดู 8098 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยสัมปยุตตเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทสัมปยุตตแล้ว ได้ดังนี้
เป็น ทิฏฐิสัมปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง

เป็น ปฏิฆสัมปยุตต มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
เป็น วิจิกิจฉาสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๑
เป็น อุทธัจจสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๒
เป็น ญาณสัมปยุตต มี ๔๗ คือ กามโสภณญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มหัคคจิต ๒๗ และ โลกุตตรจิต ๘
เป็น ทิฏฐิวิปปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ ดวง
เป็น ญาณวิปปยุตต มี ๑๒ คือ กามโสภณญาณวิปยุตตจิต ๑๒ ดวง
เป็น วิปปยุตตจิต มี ๑๘ คือ อเหตุกจิต ๑๘ ซึ่งไม่มีทิฏฐิ ปฏิฆะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ หรือ ญาณ (ปัญญา) มาสัมปยุตต ด้วยเลยแม้แต่อย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 41.52 KiB | เปิดดู 8099 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยโสภณเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโสภณะแล้ว ได้ดังนี้
เป็น โสภณะ ๕๙ ดวง คือ กามโสภณจิต ๒๔ , มหัคคตจิต ๒๗ และโลกุตตรจิต ๘
เป็น อโสภณะ ๓๐ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ และ อเหตุกจิต ๑๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 45.22 KiB | เปิดดู 8093 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยโลกเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโลกแล้ว ได้ดังนี้
เป็น โลกียะ ๘๑ ดวง คือ กามจิต ๕๔ และ มหัคคตจิต ๒๗
เป็น โลกุตตระ ๘ ดวง คือ โลกุตตรจิต ๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




catsCAKFB693.jpg
catsCAKFB693.jpg [ 37.26 KiB | เปิดดู 8053 ครั้ง ]
จำแนกจิต ๘๙ โดยฌานเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งฌานแล้ว ได้ดังนี้
เป็น ฌานจิต ๓๕ ดวง คือ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ - ๔๐
เป็น อฌานจิต ๕๔ คือ อกุศลจิต ๑๒ , อเหตุจิต ๑๘ กามโสภณจิต ๒๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 43.51 KiB | เปิดดู 8093 ครั้ง ]
จำแนกโลกุตตรจิตโดยองค์ฌาน
คาถาสังคหะที่ ๑๔ แสดงว่า

๑๔. ฌานงฺคโยคเภเทน กเตฺวเกกนฺตุ ปญฺจธา
วุจฺจตานุตฺตรํ จิตฺตํ จตฺตาฬิสวธรฺติ จ ฯ

แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้นท่านกล่าวว่ามี ๔๐ เพราะจำแนกออกไป ๕ ประเภท
ตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบ

มีความหมายว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น เมื่อจำแนกออกไปตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบแล้ว
ก็ได้ ๕ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๕ องค์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน )
ประเภทที่ ๒ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๔ องค์ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน )
ประเภทที่ ๓ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๓ องค์ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยตติยฌาน )
ประเภทที่ ๔ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน )
ประเภทที่ ๕ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน )

มีข้อควรสังเกตว่า ประเภทที่ ๔ กับประเภทที่ ๕ แม้ว่าจะมีองค์ฌาน ๒ องค์เท่ากันก็จริง
แต่ว่าชนิดขององค์ฌาน นั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องแยกเป็นคนละประเภท
รวมเป็น ๕ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีโลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น แต่ละดวงก็มี ๕ ประเภท ด้วยเหตุนี้โลกุตตรจิตอย่างพิสดารจึงมี ๔๐ ดวง
อนึ่ง คาถาสังคหะนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โลกุตตรจิตโดยพิสดารนั้นแบ่งเพียง ๕ ประเภท
ตามอำนาจแห่งองค์ฌาน ไม่ได้แบ่งเป็น ๙ ประเภทตามจำนวนฌาน คือ รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ นั้นเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร