วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 14:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในอปรันตภวจักรที่มีองค์ ๕ นั้น มุ่งหมายเอาแต่เฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้าเช่นเดียวกัน แต่ในขณะที่
องค์ ๕ หมุนเวียนอยู่นั้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา องค์ทั้ง ๗ เหล่านี้
ก็หมุนตามไปด้วย

หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายที่จะไปเกิดในภพหน้านั้น ย่อมไปเกิดด้วยอำนาจแห่งตัณหาเป็นผู้นำ และมี
อุปาทาน กัมมภวะเป็นผู้ช่วย ฉะนั้น ตัณหาจึงเรียกว่าอปรันตมูล และสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้
ยกเว้นพระอรหันต์แล้ว นอกนั้นย่อมมีการกระทำต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปตามความพอใจ
ความประสงค์ ความยึคมั่น ความเห็นผิด ที่ประจำอยู่ในตนอันเรียกว่า ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ และ
ความพอใจ ความยึคมั่น ความเห็นผิดในสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะผู้นั้นมองไม่เห็นโทษ หรือ
ไม่เห็นตามสภาพความเป็นจริง ที่เรียกว่าอวิชชาเป็นผู้ปิดบังไว้ และมีสังขารเป็นผู้กระตุ้นให้กระทำการ
งานต่างๆ นั้นให้สำเร็จลงตามความประสงค์และความเห็นของผู้นั้น

ฉะนั้น ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เป็นตัวสำคัญในอปรันตภวจักร จึงมีอวิชชา สังขาร หมุนตามไปด้วย
สำหรับวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่หมุนเวียนตามชาติ ชรามรณะไปด้วยนั้น คือ
บุคคลทั้งหลายที่มีการกระทำต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ตามอำนาจของ ตัณหา
อุปาทาน อยู่เป็นประจำนั้น เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ต้องไปเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่ง และเมื่อมีความ
เกิดขึ้นแล้ว ความแก่ ความตาย ก็ต้องปรากฏขึ้นตามลำดับ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เรียกว่า ชาติ
ชรามรณะ ทั้ง ๓ นี้แหละก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนานั้นเองที่เป็นผู้เกิด แก่ เจ็บ
ตาย

เมื่อตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ องค์ทั้ง ๕ เหล่านี้หมุนเวียอยู่ในอปรันตภวจักร
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา องค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ก็ย่อมหมุนตามไปด้วย

เมื่อพิจารณาองค์ปฏิจจสมุปบาทในปุพพันตภวจักร และ อปรันตภวจักร ทั้ง ๒ ฝ่ายนี้แล้ว
ก็จะทราบได้ว่า อวิชชา สังขาร และ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เกิดในภพก่อนนั้นสงเคราะห์เข้า
ในปุพพันตภวจักร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะและ อวิชชา สังขาร ที่เกิดอยู่ในภพนี้ สงเคราห์เข้าใน
อปรันตภวจักร สำหรับวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา และชาติ ชรามรณะ อันได้แก่
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่มเกิดมาจนกระทั่งตายในปัจจุบันภพนี้สงเคราะห์เข้าในปุพพันตภวจักร
ชาติ ชรามรณะ และ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่จะเกิดในภพใหม่ข้างหน้า
อันได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เริ่มเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงตายในภพใหม่นั้นสงเคราห์เข้าใตอปรันตภวจักร

**ที่ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทหมุนอยู่นั้น หมายความว่า เกิดขึ้นสืบเนื่องกันระหว่าง
-ภพก่อน กับ ภพนี้ และ
-ภพนี้ กับ ภพหน้า นั้นเอง

ความรู้ที่ได้รับจากการแสดงความเป็นไปของภวจักรทั้ง ๒

ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวมาแล้วนี้ ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมีปัจจุบันภพแล้ว ก็ต้องมีอดีตภพ
และอนาคตภพต่อไป กล่าวคือ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภพนี้ก็เคยเกิดตายมาแล้วนับไม่ถ้วน
และจะต้องเกิดต้องตายต่อไปข้างหน้าอีกนับไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน และในการหาเหตุหาสมุฏฐานที่
ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีเกิดมีตายอยู่เรื่อยๆ ไปนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหาที่อื่น มีอยู่แล้วในตัวของเรา
ซึ่งได้แก่การกระทำต่างๆ ด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง ใจบ้าง อันมีอวิชชา ตัณหา เป็นเหตุนั้นเอง

ดังนั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า


" ผู้ที่กระทำืทุจริตอันนำให้ไปสู่ทุคติภูมินั้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุพิเศษ และตัณหาเป็นเหตุสามัญ
ผู้ที่กระทำสุจริตอันนำให้ไปสู่สุคติภูมินั้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุพิเศษ และมีอวิชชาเป็นเหตุสามัญ "

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่กระทำทุจริตอันนำให้ไปสู่ทุคติภูมินั้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุพิเศษ และตัณหาเป็นเหตุสามัญ

ผู้ีที่กระทำสุจริตอันนำให้ไปสู่สุคติภูิมินั้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุพิเศษ และมีอวิชชาเป็นเหตุสามัญ

:b53: อธิบายว่า ผู้ที่กระทำทุจริตต่างๆ นั้น ก็เนื่องมาจากว่า ผูู้นั้นมองไม่เห็นโทษของทุจริต คือการกระทำทุจริต
ต่างๆ นี้ ไม่ได้นำความชื่นบานมาสู่ตน ไม่มีประโยชน์อันใด มีแต่จะเสียประโยชน์และ นำผลร้ายมาให้
เท่านั้น การมองไม่เห็นโทษต่างๆ เหล่านี้ก็ด้วยอำนาจของอวิชชาเป็นผู้ครอบงำปกปิดไว้ และตัณหาเป็น
ผู้สนับสนุนให้กระทำ

อุปมาเหมือนโคที่ถูกทรมานด้วยการเอาไฟเผา แล้วตีด้วยค้อน โคนั้นย่อมมีอาการดิ้นรนทุรนทุราย และ
มีความกระหายน้ำเป็นกำลัง เมื่อพบน้ำร้อนที่เขานำมาให้กิน ก็รีบดื่มกิน เมื่อได้ดื่มกินเข้าไปแล้ว ก็ยิ่งได้
รับความทรมานหนักขึ้นไปอีก เพราะน้ำร้อนได้ลวกปากและคอ แต่โคนั้นก็ต้องพยายามกินด้วยอำนาจแห่ง
ความร้อนกระวนกระวายกระหายน้ำนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่พยายามกระทำทุจริตอันเป็นเหตุนำให้ไปเกิด
ในทุคติภูมิ ด้วยอำนาจแห่งอวิชชาและตัณหาก็ฉันนั้น

:b51: ส่วนผู้ที่กระทำสุจริตต่างๆ กัน ก็เนื่องมาจากว่า ผู้นั้นกลัวต่อความทุกข์ ความลำบากที่จะได้รับในทุคติภูมิ
และปราถนา(ตัณหา)จะได้รับความสุขเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ต่อไป จึงได้พยายามกระทำกุศลต่างๆ มี
ทาน ศีล ภาวนา อันเป็นการงานที่น่ายินดีนำความชื่นบานมาสู่ตน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์นำผลดีมาให้
แต่ผู้นั้นก็ยังไม่เห็นโทษในวัฏฏทุกข์(อวิชชาปกปิด) ที่ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด หนีไม่พ้น

อุปมาเหมือนโคที่ถูกทรมานด้วยประการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว มีความหิวกระหายน้ำ เมื่อพบน้ำเย็นที่เขานำ
มาให้ดื่ม ก็รีบดื่ม เมื่อได้ดื่มน้ำเย็นแล้วก็รู้สึกชุ่มชื่นบรรเทาความร้อนความกระหายไปได้ ข้อนี้ฉันใด
ผู้ที่พยายามกระทำสุจริตอันเป็นเหตุนำให้ไปเกิดในสุคติภูมิด้วยอำนาจแห่งตัณหาและอวิชชาก็ฉันนั้น

ความเป็นไปของภวจักรที่มีหัวหน้าเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า และข้างหลัง ได้แก่ อวิชชา และ ตัณหา
ซึ่งนำสัตว์ทั้งหลายวนเวียนไปในภูมิที่สูงบ้าง ต่ำบ้าง ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ก็เปรียบเหมือนรถไฟที่มี
หัวจักร ๒ หัวอยู่ข้างหน้าและข้างหลัง นำขบวนรถแล่นไต่ขึ้นเขาบ้างลงเขาบ้าง แล่นคดเคี้ยวไปตาม
ไหล่เขาบ้าง เมื่อเวลาที่รถขึ้นเขาก็ใช้หัวรถจักรที่อยู่ข้างตัณหาเป็นผู้นำ เมื่อเวลาที่จะลงจากเขา
ก็ใช้หัวรถจักรที่อยู่ข้างอวิชชาเป็นผู้ำนำ ผลัดเปลี่ยนกันมาดังนี้ ด้วยเหตุนี้ท่านฎีการจารย์จึงแสดงถึง
ความเป็นไปของวัฏฏมูลทั้ง ๒ เปรียบเทียบเหมือนกับรถไฟที่มีหัวรถ ๒ หัวว่า

โอคฺคจฺฉนฺโตว จุคฺคจฺฉํ ........ ทุสีโส อคฺคิโก รโถ
เอวํ ภวรโถ ยาติ .............. จิรํ สํสารอญฺชเส ฯ

แปลความว่า รถภวจักรที่มีหัว ๒ หัว คือ อวิชชาและตัณหา แล่นไปมาลงๆ ขึ้นๆ ในถนนวัฏฏสงสาร
คือลงสู่ทุคติภูมิบ้าง ขึ้นสู่สุคติภูมิบ้าง อยู่ตลอดกาลนานเหมือนกับรถไฟที่มีรถจักร ๒ หัว แล่นลง
บ้างขึ้นบ้างวนเวียนอยู่บนยอดเขาฉันนั้น

อนึ่งคำว่า สังสาระหรือสังสารวัฏ นี้ไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นสืบต่อกันของสัตว์บุคคลใดๆ แต่เป็นการเกิด
ขึ้นสืบต่อกันของ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันได้แก่ ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นเอง
ดังนั้น ท่านมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในอัฉฐสาลินีอรรถกถาว่า

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ........... ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนํ วฏฺฺฏมานา ....... สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ ......อัฏฐสาลินี หน้า ๑๕

แปลความว่า
การเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายของ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เหล่านี้เรียกว่า สังสาระ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ธรรมที่ควรรู้อย่างยิ่งในความเข้าใจในเรื่องปฏิจจสมุปบาท คือ นัยที่ ๑ ถึง นัยที่ ๗ นี้สำคัญมาก
ต้องเข้าใจให้ได้ตั้งแต่ นัยที่ ๑ ถึง นัยที่ ๗ ค่ะ

สำหรับโลกุตตรกุศลเจตนานั้น ได้ชื่อว่าเป็น บุญ ก็จริง แต่ไม่ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร เพราะไม่มี
หน้าที่ทำให้เกิด ภพ ชาติ ที่เป็นวัฏฏสงสาร มีหน้าที่ทำลาย ภพ ชาติ เท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่นำมา
แสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาท เพราะปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการกล่าวถึงเฉพาะในฝ่ายโลกียะเท่านั้น
ทั้งพระอริยะเบื้องต่ำ๓ ทั้งหมดก็ยังวนเวียนอยู่ในวงปฏิจจสมุปบาทนี้ มีพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ต้อง
เกิดต่อไป ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อีกต่อไป การกระทำของพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต
ไม่เป็นบุญเป็นบาป ไม่มีผลนำเกิดอีกต่อไปค่ะ

ในขณะที่มรรคจิตซึ่งเป็นกุศลจิตในขั้นโลกุตตรจิตเกิดขึ้นในมรรควิถีจิตนั้น ผลจิตซึ่งเป็นวิปากจิต
เกิดติดต่อตามมรรคทันทีในขณะจิตต่อไปในมรรควิถีนั้น โดยการสืบต่อไปโดยไม่มีระหว่างคั่น
เป็นอนันตรปัจจัยเพราะความแรงกล้าของมรรคเป็นอกาลิโกไม่มีความจำกัดจึงเป็นอนันตรชาติได้คือ
ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย และเป็นสหชาตกัมมปัจจัย นานักขณิกกัมมปัจจัย วิปากปัจจัย

ดังนั้นปฏิจจสมุปบาทจึงแสดงในฝ่ายโลกียะเท่านั้นค่ะ


:b44: :b44: :b44:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนพระอภิธรรมทาง Youtube เรียนปฏิจจสมุปบาท อาจารย์อธิบายไว้อย่างละเอียด ๒๘ ตอน
ตามดูได้ตามลิงค์ที่วางให้ข้างล่างนี้ค่ะ
(ขออนุญาติไม่ยกมาเป็นยูทูปทั้งหมด เพราะตามลิงค์ที่วางไว้นี้สามารถตามดูได้อย่างสะดวกค่ะ)

เรียนพระอภิธรรม ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท สอนโดย อาจารย์อาณัติชัย เหลืองอมรชัย
อาจารย์อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค แสดงกฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิด คือ ปฏิจจสมุปบาท ธรรม ๑๒ ประการ



https://www.youtube.com/user/tiyakunhome/videos?view=1

:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ขอนำปุจฉา วิสัชชนา ที่ทำไว้ในกระทู้ประมวลฯ มาให้อ่านในกระทู้นี้เพื่อความสะดวกในการเข้าใจ
เนื้อหาในกระทู้นี้ค่ะ

ปุจฉา ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนามตามเหตุผล โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน จงอธิบาย

วิสัชชนา ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนามตามเหตุผล
โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน

ในการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นไปของบรรดาสิ่งที่
ไม่มีชีวิตในโลกนี้ปรากฏขึ้น ก็โดยอาศัยมีเหตุผลเกี่ยวเนื่องกันโดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐาน
นั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้สัตว์ทั้งหลายได้มีความรู้ความเข้าใจในเหตุผลในความเป็นอยู่ของตัวเองว่า
รูปนามที่สมมติกันว่า เรา เขา ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สร้างขึ้น มีแต่เหตุกับผลเกี่ยวเนื่องกัน
ตามสภาวะเท่านั้น ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สร้างขึ้น มีแต่เหตุกับผลเกี่ยวเนื่องกันตามสภาวะเท่านั้น
ไม่มีตัวตน เรา เขา อย่างใดเลย ความรู้ความเข้าใจในรูปนามตามเหตุผลเช่นนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำ
ให้ผู้รู้นั้นได้พ้นจากวัฏฏทุกข์ทั้งปวงเพราะสามารถละสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา พร้อมทั้ง สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ และนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ เสียได้ตามสมควรแก่ความรู้ของตน


กล่าวคือ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนการฟัง ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา ย่อมสามารถ
ละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย ตทังคปหาน คือละได้ชั่วขณะหนึ่งๆ

ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการนึกคิดพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเอง ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา
นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย วิกขัมภนปหาน คือข่ม ระงับ
ไว้ได้เป็นเวลานานๆ

และความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนาตามสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา ที่เรียกว่า
ภาวนามยปัญญา นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย
สมุจเฉทปหาน คือ ละได้โดยเด็ดขาด

ถ้าจะแสดงเปรียบเทียบความรู้ในรูปนามตามเหตุผลดังกล่าวแล้วนั้น สุตมยปัญญา ก็ได้แก่
ปัญญาของผู้ที่มีความรู้ในปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน โดยอาศํยการศึกษาเล่าเรียน หรือ การฟัง

จินตามยปัญญา เมื่อว่าโดยทางโลกแล้ว ได้แก่ ปัญญาของผู้คิดค้นคว้าสร้างวัตถุสิ่งของต่างๆ ขึ้น
เช่น สร้างเครื่องบิน วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น เมื่อว่าโดยทางธรรมแล้ว ได้แก่ ปัญญาของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสุตยมยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระอริยสาวกทั้งหลาย

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยจินตามยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ
พระปัจเจกพุทธเจ้า

ความรู้ความเข้าใจในรูปนามตามเหตุผล ที่เป็นสุตมัย จินตามัย และ ภาวนามัย ทั้ง ๓ เหล่านี้
ถ้าสงเคราะห์เข้าในวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมได้ ๒ อย่าง คือ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ และ
๒. ปัจจยปริคคหญาณ
แล้วถ้าสงเคราะห์เข้าในวิสุทธิแล้วก็ได้วิสุทธิ ๒ คือ
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ และ
๒. กังขาวิตรณวิสุทธิ

ผู้ที่มีความเข้าใจดี ในปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐานแล้วนั้น ก็ย่อมได้เข้าถึงปัจจยปริคคหญาณ อันเป็น
กังขาวิตรณวิสุทธิโดยตรง สำหรับการเข้าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นทิฏฐิวิสุทธินั้น ก็เพราะผู้ที่รู้
ในปฏิจจสมุปบาท และ ปัฏฐานนั้น ก็ต้องรู้ดีในเรื่องรูปนามอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ นามรูปปริจเฉทญาณ อัน
เป็นทิฏฐิวิสุทธิจึงสงเคราะห์สำเร็จไปด้วย


ตามที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ปฏิบัติจนได้สำเร็จเป็นพระอริยะพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้นั้น
ที่จะไม่รู้ถึงความเป็นไปของรูปนามตามปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัฏฐาน โดยภาวนามัยนั้นย่อมไม่มีเลย
แต่ผู้ที่รู้ทั้ง ๒ นัยนั้น มีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลาย นับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้น จนถึง พระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมรู้ความ
เป็นไปของรูปนามโดยภาวนามัย ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทนัยเดียว หมายความว่าผู้ปฏิบัติเมื่อเข้าถึง
ปัจจยปริคคหญาณ เป็นต้นจนถึง อนุโลมญาณนั้น ย่อมรู้ความเป็นไปของรูปนามที่เป็นเหตุเป็นผล
เนื่องกันตามปฏิจจสมุปบาทด้วยกันทั้งสิ้น แต่ที่รู้กว้างขวางสามารถแสดงให้ผู้อื่นฟังได้โดยละเอียดนั้น
ต้องอาศัยมีหลักปริยัติ ถ้าขาดหลักปริยัติเสียแล้ว แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถแสดงความ
เป็นไปของสัตว์ทั้งหลายตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดได้

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทััฏฐาน แห่งองค์ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชา (ไม่รู้-ความหลง-ปกปิด-อาสวะ)

๑. อญาณลกฺขณา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อปัญญาเป็นลักษณะ

๒. สมฺโมหนรสา ทำให้ธรรมที่ประกอบกับตนและผู้ที่โมหะกำลังเกิดอยู่นั้น มีความหลงหรือมืดมนเป็นกิจ

๓. ฉาทนปจฺจุปฏฺฐานา เป็นธรรมชาติที่ปกปิดสภาวะที่มีอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เป็นการปรากฏในปัญญา
ของบัณฑิตทั้งหลาย

๔. อาสวปทฏฺฐานา มีอาสวะ ๓ เป็นเหตุใกล้ (เว้นตัวเอง)

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

สังขาร (ปรุงแต่ง-พยายาม-ชักนำ-อวิชชา)

๑. อภิสงฺขรณลกฺขณา มีการปรุงแต่ง เป็นลักษณะ

๒. อายุหนรสา มีการพยายามให้ปฏิสนธิวิญญาณเกิด หรือพยายามให้ธรรมที่เป็นผลซึ่งได้แก่
รูป นาม ที่เป็นหมวดเป็นกองเกิดขึ้นเป็นกิจ

๓. เจตนาปจฺจุปฏฺฐานา เป็นธรรมชาติที่ชักนำกระตุ้น เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

๔. อวิชฺชาปทฏฺฐานา มีอวิชชาเป็นเหตุใกล้

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วิญญาณ (รู้อารมณ์- ประธาน-ติดต่อ-สังขาร๓)

๑. วิชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นพิเศษจากสัญญาและปัญญา เป็นลักษณะ

๒. ปุพฺพํคมรสํ เป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป เป็นกิจ

๓. ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีการติดต่อระหว่างภพเก่าและภพใหม่ เป็นอาการปรากฏ

๔. สงฺขารปทฏฺฐานํ (วา) วตฺถารมฺมณปทฏฺฐานํ มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้
หรือมีวัตถุ ๖ กับอารมณ์ ๖ เป็นเหตุใกล้

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

นาม (น้อม-ประกอบ-ไม่แยกกัน-วิญญาณ)

๑. นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ

๒. สมฺปโยครสํ มีการประกอบกับวิญญาณ และประกันเองโดยอาการที่เป็นเอกุปปาทตาเป็นต้น เป็นกิจ

๓. อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่ยกกันกับจิต เป็นอาการปรากฏในปัญญของบัณฑิตทั้งหลาย

๔. วิญฺณาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

รูป (สลาย-แยกออก-อัพยากต-วิญญาณ)

๑. รุปฺปนลกฺขณํ มีการสลายแปรปรวน เป็นลักษณะ

๒. วิกิรณรสํ มีการแยกออกจากกัน เป็นกิจ

๓. อพฺยากตปัจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอัพยากตธรรมหรือมีความไม่รู้อารมณ์ เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย (อเจตนา อพฺยากตาติ เอตฺถ วิย อนารมฺมณาตาวา อพฺยากตตา ทฏฺฐพฺพา)
(มาในมหาฏีกา)

๔. วิญฺญารณปทัฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

สฬายตนะ (กระทบ-เห็น-วัตถุ, ทวาร-เจตสิก, กัมมชรูป)


๑. อายตนลักฺขณํ มีการกระทบ หรือมีการทำให้วัฏฏสงสารยืนยาวเป็นลักษณะ

๒. ทสฺสนาทิรสํ มีการเห็นเป็นต้น เป็นกิจ

๓. วตฺถุทฺวารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นวัตถุและทวารของปัญจวิญญาณธาตุ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ ตามสมควร เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

๔. นามรูปปทฏฺฐานํ มีเจตสิกและกัมมชรูป เป็นเหตุใกล้

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ผัสสะ (กระทบ-ติดต่อ-ประชุม-อัชฌัตติกายตนะ)

๑. ผุสนลกฺขโณ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2013, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้เป็นการถาม-ตอบ จาก หน้าที่ ๘๒๓-๘๓๓ หนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี
พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงษ์ แปลและอธิบาย
โครงการแปลคัมภีร์พุทธศาสน์ วัดท่ามะโอ

ถามว่า : ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ เหตุใดพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงแสดงความเป็นไปของอัตภาพปัจจุบันหนึ่งๆ จึงทรงแสดงเหตุในภพก่อนและผลในภพต่อไป

ตอบว่า : การแสดงเหตุในภพก่อนย่อมเป็นไปเพื่อห้าม อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าไม่มีเหตุ)
และวิสมทิฏฐิ (ความเห็นผิดในสิ่งที่ไม่จริง) การแสดงผลอนาคตเพื่อห้ามอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นผิดว่า
ขาดสูญ) การแสดงเหตุและผลทั้ง ๒ อย่างเพื่อห้ามสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าเที่ยง)

อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นที่เป็นไปว่า เหล่าสัตว์ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเป็นไปย่อมหยุดยั้ง
ย่อมเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์

วิสมทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดในสิ่งที่ไม่มีจริงโดยเนื่องกับพระพรหม
พระผู้เป็นใหญ่ในเหล่าสัตว์ การเนรมิตของพระเจ้า เป็นต้น

อุเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นที่เป็นไปว่า เหล่าสัตว์จะขาดสูญในขณะเสียชีวิต ชาติในอนาคตไม่มี

สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นที่เป็นไปว่า อัตตาเป็นสภาพเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยนย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย
ภพใหญ่ อัตตาที่เป็นภาวะเที่ยงแท้ท่องเที่ยวไปเช่นนี้ ไม่พึงเกิดขึ้นด้วยอวิชชาเป็นต้น

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงปฏิเสธสัสสตทิฏฐิด้วยการตรัสความเกิดขึ้นของวิญญาณในภพอื่น
ด้วยอวิชชาและสังขารอีก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2013, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังติดตามอ่านอยู่นะโพสท์ธรรมะไปเรื่อยๆ อนุโมทนาสาธุครับ
อย่าเพิ่งหมดกำลังใจเสียก่อนล่ะ อุปสรรคทั้งหลายย่อมมีตลอดเส้นทางเดิน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ยังติดตามอ่านอยู่นะโพสท์ธรรมะไปเรื่อยๆ อนุโมทนาสาธุครับ
อย่าเพิ่งหมดกำลังใจเสียก่อนล่ะ อุปสรรคทั้งหลายย่อมมีตลอดเส้นทางเดิน


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะลุง
จะโพสท์ไปเรื่อยๆ ค่ะลุง

ขอบพระคุณค่ะ อ่านถาม-ตอบ ปฏิจจสมุปบาทกันต่อค่ะ

๘. ถามว่า : เหตุใดโสกะเป็นต้น จึงไม่รวมเข้าในองค์ทั้งหลาย

ตอบว่า : เพราะโสกะเป็นต้นไม่มีลักษณะของการเกิดขึ้นอาศัยเหตุอย่างนี้ว่า เมื่อชาติมีอยู่
โสกะเป็นต้นย่อมมีแน่นอน เนื่องจากแม้ชาติมีอยู่โสกะเป็นต้นก็ไม่มีในรูปภูมิและอรูปภูมิ อีกทั้ง
ไม่มีแก่บุคคลบางคนในกามภูมิ (คือพระอนาคามีและพระอรหันต์)

:b46: :b46: :b46:

ถามว่า : เหตุใดจึงกล่าวโสกะเป็นต้น

ตอบว่า : การกล่าวโสกะเป็นต้นเพื่อแสดงโทษอันมากมายใหญ่หลวงของชาติหรือวัฏฏะมีอวิชชา
เป็นต้นที่ดำเนินไปทั้งหมดตามที่กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โสกาทิวจนํ ปเนตฺถ นิฺสนฺทผลนิทสฺสนํ (อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ คำว่า โสกะ เป็นต้น
เป็นการแสดงผลต่อเนื่อง)

ในประโยคนั้น คำว่า นิสฺสนฺทผลนิทสฺสนธ (เป็นการแสดงผลต่อเนื่อง)มีความหมายว่า
เป็นการแสดงผลเพิ่มพูน คือ โทษอันมากมายใหญ่หลวงของชาติ

:b47: :b47: :b47:

๙. ถามว่า : เหตุใดอวิชชาและสังขารทั้ง ๒ อันเป็นอดีตเหตุของภพปัจจุบันนี้จึงไว้ในพระบาลี
ธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้เท่านั้นเป็นปัจจัยแก่ภพปัจจุบันหรือ

ตอบว่า : ธรรมอื่นก็มีอีก

ถามว่า : เหตุใดพระพุทธองค์จึงไม่ตรัสธรรมอื่นไว้ในพระบาลี

ตอบว่า : เพราะรวมเอาธรรมที่แม้จะไม่ได้ตรัสไว้โดยตรงนั้นได้

ถามว่า : รวมเอาได้อย่างไร

ตอบว่า : รวมเอาได้โดยลักษณะ คือ การเกิดขึ้นอาศัยเหตุและการเกิดขึ้นโดยเนื่องกับเหตุ
เมื่อท่านจะแสดงข้อความนี้ จึงกล่าวคำว่า อวิชฺชาสงฺขารคฺคหเณน (อนึ่ง ในข้อนี้ ตัณหา อุปาทาน
และภพแสดงไว้ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร) เป็นต้น

แม้คำต่อไป (คำว่า อวิชชาและสังขารก็แสดงไว้ด้วยคำว่า ตัณหา อุปาทาน และภพ เป็นต้น)
ก็มีนัยอย่างเดียวกัน

ในประโยคนั้น คำว่า อวิชฺชาสงฺขาคคฺคหเณน (ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร) มีความหมายว่า
ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร ที่กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นของพระบาลี

คำว่า ตณฺหุปาทานภวาปิ คหิตา ภวนฺติ (อวิชชาและสังขารก็แสดงไว้ด้วยคำว่า ตัณหา อุปาทาน
และภพ) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคแสดงตัณหาและอุปาทานด้วยคำว่า อวิชชา เพราะเมื่อ
อวิชชามีอยู่ ตัณหาและอุปาทานก็มีได้ แต่เมื่ออวิชชาไม่มี ตัณหาและอาทานก็มีไม่ได้ และทรง
แสดงกรรมภพด้วยคำว่า สังขาร เพราะเมื่อสังขารมีอยู่ กรรมภพก็มีได้ แต่เมื่อสังขารไม่มี กรรมภพ
ก็มีไม่ได้

ส่วนคัมภีร์วิภาวนี กล่าวว่า
กิเลสภาวสามญฺญโต อวิชฺชาคฺคหเณน ตณฺหุปาทานานิ, กมฺมภาวสามญฺญโต สงฺขารคฺคหเณน
กมฺมภโว คหิโต.
"พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตัณหาและอุปาทานด้วยคำว่า อวิชชา เพราะเป็นกิเลสเหมือนกัน และ
แสดงกรรมภพด้วยคำว่า สังขาร เพราะเป็นกรรมเหมือนกัน"

แม้ข้อความนั้นก็สมควร

พึงสัมพันธ์(บทที่เพิ่มเข้ามา)ว่า เช่นเดียวกันนี้ อวิชชาและสังขารก็แสดงไว้ด้วยคำว่า ตัณหา อุปาทาน
และภพ หมายความว่า พระผุ้มีพระภาคทรงแสดงอวิชชาด้วยคำว่า ตัณหาและอุปาทาน และแสดง
สังขารด้วยคำว่า ภพ เพราะเกิดขึ้นเนื่องด้วยอวิชชา

ท่านกล่าวว่า ชาติชรา ฯเปฯ คหิตํ (ผล ๕ อย่างมีวิญญาณเป็นต้น แสดงไว้ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และ
มรณะ) เพราะเป็นสภาพเกิดร่วมกับชาติเป็นต้น เนื่องจากมีการเกิดร่วมกันระหว่างธรรมที่กำหนดมาย
(คือชาติ ชรา และมรณะ) กับธรรมที่ถูกกำหนด (มีวิญญาณเป็นต้น)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อจากโพสท์ที่แล้ว)

คำว่า อิติ กตฺวา แปลว่า เพราะฉะนั้น

๑๐. พึงสัมพันธ์[บทที่ห่างกัน] ว่า มีอาการ ๒๐
กลุ่มมี ๔ อย่าง คือ
๑. เหตุ ๕ อย่างแรกเป็นกลุ่ม ๑
๒. ผล ๕ อย่างที่ ๒ กลุ่ม ๑
๓. เหตุ ๕ อย่างที่ ๓ เป็นกลุ่ม ๑
๔. ผล ๕ อย่างที่ ๔ เป็นกลุ่ม ๑

เมื่อกลุ่มมี ๔ ที่เชื่อมต่อก็มี ๓ ดังนี้คือ
๑. ที่เชื่อมต่อของกลุ่มที่ ๒ กับ ที่ ๑
๒. ที่เชื่อมต่อของกลุ่มที่ ๓ กับ ที่ ๒
๓. ที่เชื่อมต่อของกลุ่มที่ ๔ กับ ที่ ๓

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติสนฺธิ จตุสงฺเขปา จ ภวนฺติ (ที่เชื่อมต่อมี ๓ และกลุ่มมี ๔)

ในประโยคนี้ คำว่า เหตุมี ๕ ผลมี ๕ กล่าวไว้ตามคำที่ชาวโลกนิยมพูดกัน เนื่องจากคำว่าเหตุและผล
เป็นคำไวพจน์ของปัจจัยและปัจจยุปบัน

กลุ่มที่ ๒ จึงเป็นผล ๕ โดยเทียกับกลุ่มแรก และเป็นเหตุ ๕ โดยเทียบกับกลุ่มที่ ๓ เช่นเดียวกันนี้

กลุ่มที่ ๓ เป็นเหตุ ๕ โดยเทียบกับกลุ่มที่ ๔ และเป็นผล ๕ โดยเทียบกับกลุ่มที่ ๒

หากเป็นตามนี้ ท่านได้ปฏิเสธการทักท้วงว่า ผลเท่านั้นเกิดจากเหตุ แต่เหตุไม่เกิดจากผล

ในบรรดาเหตุทั้ง ๒ อย่าง ความต่างกันระหว่างสังขารกับกรรมภพ
กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สมจริงดับสาธก ว่า

ทานํ ทสฺสามีติ จิตฺตํ อุปฺปาเทตฺวา มาสมฺปิ สํวจฺฉรมฺปิ ทานุปกรณานิ สชฺชนฺตสฺส อุปฺปนฺนา ปุริมเจตนาโย อายูหนสงฺขารา นาม. ปฏิคฺคาหกานํ ปน หตฺเถ ทกฺขิณํ ปติฏฺฐาปยโต อุปฺปนฺนา เจตนา ภโวติ วุจฺจติ. เอกาวชฺชเนสุ วา ฉสุ ชวเนสู เจตนา อายูหนสงฺขารา นาม. สตฺตมชวนเจตนา ภโว. ยา กาจิ วา ปน เจตนา ภโว. ตํสมฺปยุตฺตา อายูหนสงฺขารา นาม.

"คำว่า อายูหนสังขาร (สังขารก่อให้เกิดผล) คือ เจตนาที่เกิดก่อน ซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ก่อให้เกิดจิตว่า เราจักถวายทานแล้วจัดแจงเครื่องถวานทาน ๑ เดือนบ้าง ๑ ปีบ้าง

ส่วนคำว่า ภพ คือ เจตนาที่เกิดแก่บุคคลผู้ให้ทักษิณาตั้งอยู่ในมือของปฏิคคาหก

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อายูหนสังขาร คือ เจตนาในชวนจิต ๖ ดวงที่มีอาวัชชนจิตเดียวกัน

ส่วนคำว่า ภพ คือ เจตนาในชวนจิตดวงที่ ๗

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ภพ คือ เจตนาดวงใดดวงหนึ่ง

ส่วนคำว่า อายูหนสังขาร คือ ธรรมที่ประกอบกับเจตนา "

๑๑. ภพทั้ง ๒ คือ กรรมภพ และ อุปปัตติภพ เป็นส่วนประกอบขององค์แห่งภพ อย่างหนึ่งใน
องค์ ๑๒ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กมฺมภวสงฺขาโต ภเวกเทโส (ภพบางอย่างที่เรียกว่า กรรมภพ)

ความแตกต่างกันระหว่างสังขารกับกรรมภพในที่นี้ โปรดทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า

กมฺมภวสงฺขาโต ภเวกเทโสติ เอตฺถ อายตึ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยเจตนา สงฺขาราติ เวทิตพฺพา.
คำว่า ภพบางอย่างที่เรียกว่า กรรมภพ นี้ เจตนาอันเป็นปัจจัยแก่การปฏิสนธในอนาคต ชื่อว่า
"สังขาร"

ข้อความนั้นไม่ควรในที่นี้ เพราะภพทั้งสองนับเข้าในเหตุ ๕ อย่างทั้ง ๒ หมวด [เหตุอดีตและเหตุปัจจุบัน]

อีกอย่างหนึ่ง ข้อความนั้นกล่าวไว้ตามนัยแห่งพระบาลี ที่ตรัสไว้ [ในอุเทศว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย]

[คัมภีร์อนุทีปนีอธิบายว่า ถ้าหมายเอานัยแห่งพระบาลีมติของคัมภีร์วิภาวนีก็สมควร]

คำว่า อวเสสา (ธรรมทั้งหลายที่เหลือ) นี้หมายถึง ผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งชาติ ชรา และมรณะ

ผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้นที่แสดงไว้ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ คือ อุปปัตติภพโดยสภาวะ เพราะไม่มีอุปปัตติภพอื่นนอกจากผล ๕ แต่เพื่อรักษาการจำแนกธรรม คำว่า อุปปัตติภพ จึงหมายเอาธรรม ๕ อย่างอันเป็นหมวดที่ ๔

[ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกว่า ภพคือ กรรม ชื่อว่า กรรมภพ ภพคืออุบัติ ชื่อว่า อุปปัตติภพ) พระดำรัสว่า ภว (ภพ) หมายเอา อุปปัตติภพอีกด้วย ฉะนั้น อุปปัตติภพจึงได้แก่ธรรม ๕ อย่างอันเป็นหมวดที่ ๔]

๑๒. ในบรรดาองค์ ๑๒ อวิชชาเป็นโมหะ ...
(ยังไม่จบค่ะ)
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2013, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อนุโมทนาสาธุ


ขออนุโมทนาสาธุค่ะลุง ขอบคุณค่ะที่ติดตามอ่าน :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:56 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร