วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ย. 2024, 19:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2013, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว


รส

๔. รสารมณ์
รสารมณ์ ได้แก่ รสะ คือรสต่างๆ ที่กระทบชิวหาปสาท และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ปรากฎขึ้นเป็นอารมณ์แก่ชิวหาวิญญาณนี้ ชื่อว่า รสารมณ์ มีวจนัตถะว่า รสียติ อสฺสาทียตีติ = รโส แปลความว่า รูปใด ชิวหาวิญญาณยินดีพอใจ ฉะนั้น รูปที่พอใจของชิวหาวิญญาณนั้นชื่อว่า รสะ
รสารมณ์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษ (วิเสสลกฺขณ) คือ
ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ .....................มีการกระทบชิวหาปสาท....................... เป็นลักษณะ
ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรสํ .........มีการเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณ...... เป็นกิจ
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ................มีการรู้รสของชิวหาวิญญาณ...................เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ............. .........มีมหาภูตรูปทั้ง ๔.................................. เป็นเหตุใกล้
อนึ่ง คำว่า รสะนี้ยังใช้ในความหมายต่างๆได้ ๔ ประการ คือ:-
๑) ธมฺมรส หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุ คือ กรรม กุศลธรรม และ อกุศลกรรม ได้แก่มัคคจิตตุปบาท ๔ โลกียกุศล ๑๗ อกุศลจิต ๑๒
๒) อตฺถรส หมายถึงธรรมที่เป็นผลของกุศล และอกุศล ได้แก่ ผลจิตตุปบาท ๔ โลกียวิบาก ๓๒
๓) วิมุตติรส ได้แก่พระนิพพาน
๔) อายตนรส ได้แก่ รสารมณ์ หมายถึงรสต่างๆ ซึ่งเมื่อประมวลรสต่างๆทั้งสิ้นแล้วได้ ๖ รสด้วยกัน คือ อมฺพิล = รสเปรี้ยว. มธุรส = รสหวาน.
โลณิก = รสเค็ม. กฏุก = รสเผ็ด. ติตฺต = รสขม. และ กสาว = ฝาด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 27.1 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
๕.โผฏฐัพพารมณ์
๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่โผฏฐัพพะ หมายถึง รูป ดิน ไฟ ลม ที่กระทบกายปสาท ทำให้กายวิญญาณปรากฎขึ้น โผฏฐัพพะที่ปรากฎเป็นอารมณ์ในกายวิญญาณนี้ มีชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์ ดังมีวจนัตถะว่า ผุสิตพฺพนฺติ = โผฏฐัพพะ แปลว่ารูปใด กายปสาทพึงถูกต้องสัมผัสได้ ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่าโผฏฐัพพะ
โผฏฐัพพารมณ์นี้มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปถวีโผฏฐัพพารมณ์ได้แก่ แข็ง หรือ อ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ได้แก่ ร้อน หรือ เย็น
๓. วาโยโผฎฐัพพารมณ์ได้แก่ ตึง หรือ หย่อน
ฉะนั้น โผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ก็ได้แก่ มหาภูตรูป ๓ (เว้นอาโป)
คุณลักษณะพิเศษของโผฏฐัพพารมณ์นี้ จึงไม่มีโดยเฉพาะ อาศัยคุณลักษณะพิเศษของมหาภูตรูป ๓ ดังกล่าวแล้วนั่นเอง
สำหรับ อาโปธาตุ นั้น กายปสาทกระทบถูกต้องไม่ได้ จึงไม่จัดเข้าไว้ในโผฏฐัพพารมณ์
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ รวมทั้ง ๗ รูปนี้ มีชื่อว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นอารมณ์ให้แก่จิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยตรง และมีชื่อเรียกอีกอย่างคือ โคจรรูป นั้นก็เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวของจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ ดังมีวจนัตถะว่า คาโว จรนฺติ เอตฺถาติ = โคจรา แปลความว่าโคทั้งหลายย่อมท่องเที่ยวไปที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า โคจร ได้แก่ สถานที่ที่โคทั้งหลายท่องเที่ยวไป รูปใดเป็นที่เที่ยวแห่งฉทวารริกจิต เหมือนเป็นที่ที่เที่ยวไปแห่งโคทั้งหลาย รูปเหล่านั้น ชื่อว่า โคจร
อีกนัยหนึ่ง คาโว จรนฺติ เอตฺถาติ = โคจรํ แปลความว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุนทรีย์ เป็นต้น ย่อมท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้นนั้น ฉะนั้นอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่า โคจร
คำว่า "โค" แปลว่า อินทรีย์ ฉะนั้น คำว่า "โคจร" กับ อารมณ์ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน
วิสยรูป หรือ โคจรรูป นี้ ถ้านับโดยจำนวนรูปแล้วได้ ๗ รูป เรียกว่า วิสยรูป ๗ เนื่องจากโผฏฐัพพารมณ์คือ ปถวี เตโช วาโย โผฏฐัพพารมณ์ เป็นมหาภูตรูป ๓ ฉะนั้น เมื่อจะเรียกชื่อรูปที่เป็นอารมณ์เหล่านี้โดยเฉพาะแล้ว นิยมเรียกว่า"โคจรรูป ๔" (ซึ่งไม่นับ ปถวี เตโช วาโย โผฏฐัพพารมณ์) ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า วิสยรูป มีจำนวน ๗ และโคจรรูป มีจำนวน ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2013, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 27.11 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึงรูปที่แสดงสภาพความเป็นหญิงเป็นชาย ให้รู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัย รูปร่างสัณฐาน
เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ จากรูปเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ได้
ภาวรูป มี ๒ อย่าง คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป


อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย
เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจคือ รู้ได้ทางมโนทวารวิถี มิใช่รู้ได้ด้วยตา หรือได้ด้วยหู เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง
ก็สามารถรู้ว่าเป็นหญิง แท้ที่จริง ตามีความเพียงแต่เห็นสีต่างๆ และหูก็มีความสามารถเพียงได้ยินเสียงต่างๆ เท่านั้นเอง
ไม่สามารถเห็นเป็นหญิง หรือได้ยินเป็นหญิงได้ แต่ที่รู้ว่าเป็นหญิงนั้น ย่อมรู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัยภาวรูปเป็นส่วนแสดงออกนั่นเอง

อิตถีภาวรูป มีวจนัตถะว่า อิตถิยา ภาโว = อิตฺภาโว แปลว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ มีคุณลักษณะเฉพาะตัวดังนี้ คือ
อิตฺถีภาว ลกฺขณํ.........................................มีสภาวะเป็นหญิง..... ................................เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ........................................มีการประกาศความเป็นหญิง........................เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ............มีรูปสัณฐานหรือการงานของหญิง เป็นต้น......เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ...................................มีมหาภูตรูป ๔ ............................................เป็นเหตุใกล้

ปุริสภาวรูป
ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชายให้ปรากฎ เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
มีแผ่ซ่านทั่วไปในร่างกายมีรูปธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ คือทางมโนทวาร มีวจนัตถะว่า ปุมสฺส = ปุมภาโว
แปลความว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นชาย ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า ปุมภาวะ หรือ ปุริสภาวะ มีลักษณะพิเศษดังนี้คือ

ปุริสภาว ลกฺขณํ............................... .......มีสภาวะของชาย...........................................เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาส รสํ......................................มีการประกาศความเป็นชาย.............................เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ .........มีรูปร่างสัณฐาน หรือ การงานของชายเป็นต้น ....เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ .................... ...........มีมหาภูตรูป ๔ ...............................................เป็นเหตุใกล้

บรรดาสัตว์ทั้งหลายต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะรู้ได้ว่า เพศหญิง หรือเพศชายนั้น อาศัยเครื่องหมายที่แสดงออกให้รู้ภาวะเพศได้ ๔ ประการ คือ
๑) ลิงฺค หมายถึงรูปร่างสัณฐาน ได้แก่ อวัยวะต่างๆ เช่น แขน. ขา. หน้าตา. เพศที่ปรากฎแต่กำเหนิดเป็นต้น
๒) นิมิตฺต หมายถึงเครื่องหมายที่แสดงออกมาในโอกาสต่อมาเช่น หนวด เครา หน้าอก เป็นต้น
๓) กุตฺต หมายถึง นิสัยใจคอ และความประพฤติ มีการเล่น และการกระทำต่างๆ เช่น หญิงชอบเล่นขายของ เย็ยปักถักร้อย ทำครัว เป็นต้น ชายชอบเล่นซุกซน โลดโผน มีการชกต่อย ห้อยโหน ผจญภัย เป็นต้น
๔) อากปฺป หมายถึง กิริยาอาการ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน การพูด เหล่านี้ เป็นเพศหญิง มักมีกิริยาอาการเรียบร้อย แช่มช้อย เอียงอาย เพศชาย มีกิริยาอาการกล้าหาญ เข้มแข็ง ว่องไว
เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ถึงเพศชายและเพศหญิง ทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวมานี้ย่อมเกิดขึ้น โดยอิตถีภาวรูป เป็นผู้ปกครอง หรือปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครอง รูปร่างสัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และอาการ จึงแตกต่างกันไปจึงให้รู้ได้ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย
ภาวรูป เรี่มตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรง เครื่องหมาย นิสัย กิริยาอาการ ตั้งขึ้นในปวัตติกาล อุปมาเหมือนพืช เมื่อพืชมีอยู่ ต้นไม้ที่อาศัยพืชเป็นปัจจัยให้เติบโตเจริญขึ้น เป็นกิ่ง ก้าน ดอก ผล
ภาวรูปที่แสดงความเป็นหญิง หรือชาย ทั้ง ๒ นี้เกิดจากกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน กล่าวคือ ถ้าชาติปางก่อนได้ประกอบกุศลกรรมมีกำลังอ่อนที่เป็น ทุพฺพลกุสลกมฺม คือ กรรมที่ประกอบด้วยสัททาปสาทก็จริง แต่เต็มไปด้วยความหวั่นไหว (อวิสทฺธาการ) ทุพพลกุศลกรรมนั้นก็จะกระทำกัมมชรูปชนิดเป็นอิตถีภาวรูปให้ปรากฎ
ผู้ที่ได้กระทำกุศลกรรมแต่ชาติปางก่อนไว้ด้วย พลวกุสลกมฺม อันเป็นกุศลกรรมที่มีกำลังเข้มแข็ง ประกอบด้วยศรัทธาอันแก่กล้าและอธิโมกข์ มีการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยว ปราศจากความหวั่นไหว พลวกุศลกรรมนี้ ก็จะกระทำปุริสภาวรูปให้ปรากฎเป็นเพศชาย ส่วนอบายสัตว์ที่เกิดเป็นเพศผู้ เพศเมีย ก็ด้วยอำนาจพลวอกุศลกรรม หรือ ทุพพลอกุศลกรรมเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น ท่านที่จะปรารถนาเป็นเพศชาย หรือเพศหญิงต่อไปภายภาคหน้า ย่อมอาจจะปรับปรุงกุศลของตนให้เข้มข้นหรือย่อหย่อนได้ตามใจปรารถนาภาวรูปก็จะเป็นไปตามความสมประสงค์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 27.01 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
หทยรูป
หทยรูป เป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ ซึ่งมีลักษณะเหมือนบ่อ
มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจ อยู่ประมาน ๑ ซองมือ มีสัณฐานโตประมาณเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค
เป็นที่อาศัยเกิดของมโนธาตุ และมโนวิญญานธาตุ มีวจัตถะว่า หทนฺติ สตฺตา ตํตํ อตฺถํ วา ปูเรนฺติ เอเตนาติ = หทยํ
แปลความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น โดยอาศัยรูปนั้น
ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์นั้น จึงชื่อว่าหทยรูป หมายความว่า
บรรดาการงานของสัตว์ทั้งหลายที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เรียกว่ากุศลกรรม ถ้าทำสิ่งที่ไม่ดีไม่มีประโยชน์
เรียกว่าอกุศลกรรม ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม เหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยหทยรูป สำหรับสัตว์ที่เกิดในปัญจโวการภูมินั้น
ถ้าไม่มีหทยรูปแล้ว ย่อมทำการงานต่างๆ หรือคิดเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้ คล้ายกับหุ่น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่างๆ
ดังกล่าวนั้น จึงชื่อว่า หทยรูป
หทยรูป มี ๒ อย่างคือ :-
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจ ที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ กัมมชรูปชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดอยู่ในมังสหทยรูป
คำว่า หทยรูป ในที่นี้ จึงมุ่งหมายเอาหทยรูปที่เรียกว่า หทยวัตถุรูป ซึ่ง หมายถึงรูปอันเป็นที่ตั้งที่อาศัยของ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ นั่นเอง
หทยวัตถุรูปนี้ มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ :-
มโนธาตุมโนวิญญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ........ มีการให้มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุได้อาศัย.........เป็นลักษณะ
ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ............................มีการทรงไว้ซึ่งมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ...........เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ....................................มีการักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว....................................เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฐานํ.......................................มีมหาภูตรูปทั้ง ๔.............................. ....................เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 27.01 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
ชีวิตรูป
ชีวิตรูป เป็นรูปอย่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีหน้าที่รักษารูปที่เกิดพร้อมกันกับตนให้คงอยู่ และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้นๆ
มีวจนัตถะว่า ชีวนฺติ สหชาตธมฺมา เอเตนาติ = ชีวิตํ แปลความว่า สหชาตรูปทั้งหลาย ย่อมคงอยู่และเป็นไปได้ ด้วยการอาศัยรูปนั้น
ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สหชาตรูปทั้งหลายคงอยู่และเป็นไปได้นั้น ชื่อว่า รูปชีวิต
สหชาตรูป หมายถึง รูปที่เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกัน คำว่า สหชาตรูปทั้งหลายในที่นี้ ก็ได้แก่ กัมมชรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
และตั้งอยู่ได้นั้นก็เพราะอาศัยชีวิตรูปเป็นผู้รักษาไว้ กัมมชรูปนี้ แม้แต่จะเป็นรูปที่เกิดจากกรรมก็จริง แต่กรรมมิใช่เป็นผู้รักษา
กรรมเป็นเพียงสมุฏฐานที่ทำให้รูปเหล่านี้เกิด ซึ่งกรรมนั้นเป็นอดีตที่ล่วงไปแล้ว จึงไม่มีโอกาสที่จะรักษารูปที่เกิดจากกรรมนั้นได้
ฉะนั้นจึงต้องมีรูปโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เป็นผู้รักษารูปที่เกิดจากกรรมนั้น และรูปที่เป็นผู้รักษานี้ ก็คือ ชีวิตรูป นั่นเอง
อุปมาชีวิตรูปเหมือนน้ำในแจกันที่รักษาความสดของดอกไม้ที่ปักไว้ในแจกันนั้น ฉันใด ชีวิตรูปก็มีหน้าที่รักษากลุ่มกัมมชรูป
ให้ดำรงคงอยู่ตลอดไปได้ ฉันนั้น
ส่วนจิตตชรูป อุตุชรูปนั้น ไม่ต้องมีรูปโดยเฉพาะเป็นผู้อนุบาลรักษาเพื่อให้เกิดขึ้นติดต่อกัน และตั้งอยู่ได้สิ้นอายุของตน
เพราะรูปเหล่านี้ มีสมุฏฐานของตนๆนั้นเองเป็นผู้รักษา

ชีวิตรูป มีคุณลักษณะพิเศษ ดังนี้
สหชาตรูปานุปาล ลกฺขณํ......... มีการรักษาสหชาตรูป.............................เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตน รสํ.......................มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้นให้เป็นไปได้....เป็นกิจ
เตสญฺเญว ฐปน ปจฺจุปฏฺฐานํ ....มีการประกอบให้มั่นอยู่............................เป็นผล
ยาปยิตฺตพฺพํ ปทฏฺฐานํ .............มีมหาภูตรูปที่เสมอภาค(ที่สมส่วน))........เป็นเหตุใกล้

ข้อสังเกตุ ชีวิตรูปนี้ ต้องเป็นกัมมชรูป คือรูปที่เกิดจากกรรม จึงจะตามรักษากัมมชรูปด้วยกันให้ดำรงอยู่ได้
เพราะฉะนั้นในความหมายของคำว่าชีวิตจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม
บางคนเข้าใจว่าต้นไม้มีชีวิต ตามความหมายของธรรมแล้ว ต้นไม้มิได้เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูปคอยอนุบาลรักษา
จึงกล่าวได้ว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชีวิต แต่ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อุตุ คือ น้ำ และอากาศ เป็นผู้รักษานั่นเอง

อนึ่ง คำว่า ชีวิต นั้น มีความหมายถึงการรักษาให้ดำรงคงอยู่ได้ชีวิตจึงมีความหมายได้ ๒ ประการ คือรูปชีวิต และนามชีวิต
รูปชีวิตก็ได้แก่ รูปชีวิตที่กล่าวถึงนี่เอง ส่วนนามชีวิตหมายถึงเจตสิกธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งรักษาจิตและเจตสิก
ให้ตั้งอยู่ได้ตลอดอายุของนามธรรมนั้นๆ เรียกว่า ชีวิตินทรีย์เจตสิกนั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 27.09 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
อาหารชรูป
อาหารชรูป หมายถึง กพฬีการาหาร คือ อาหารที่กลืนกินเข้าไปเป็นคำๆ มี ข้าวน้ำเป็นต้น ตัวอาหารรูป ก็คือโอชาต่างๆ เหล่านั้น มี วจนัตถะว่า กพฬี กรียตีติ = กพฬีกาโร แปลว่า โภชนะใด อันบุคคลทำให้เป็นคำ หรือกระทำให้เป็นของกิน ฉะนั้น โภชนะนั้น ชื่อว่า กพฬีการ
อาหารียตีติ = อาหาโร แปลความว่า โภชนะอันบุคคลกลืนกิน ฉะนั้น โภชนะนั้น ชื่อว่า อาหาร
กพฬีกาโร จ โส อาหาโร จาติ กพฬีการาหาโร แปลว่า โภชนะ อันบุคคลกระทำให้เป็นคำๆนั้นด้วย ฉะนั้น โภชนะนั้นชื่อว่า กพฬีการาหาร
กพฬีการาหาร จึงเป็นชื่อของอาหารทั้งหมด แต่ในที่นี้แสดงเฉพาะอาหารรูป ฉะนั้น กพฬีการาหาร จึงได้แก่โอชา ที่อยู่ในอาหารต่างๆ
มีวจนัตถะของคำว่า โอชา แสดงว่า อุทยานนฺตรํ รูปํ ชเนตีติ = โอชา แปลความว่า ธรรมชาติใด ยังรูปให้เกิดขึ้นติดต่อกันพร้อมกับความเกิดขึ้นของตน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าโอชา
โอชารูปนี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายของสัตว์แล้ว ย่อมทำให้อาหารรูปเกิดขึ้น หมายความว่า เมื่อบุคคลบริโภคอาหารเข้าไป ปาจกเตโชธาตุ จะทำการย่อยอาหาร คั้นเอาแต่โอชาไปบำรุงร่างกาย ทำให้สัตว์ทั้งหลาย มีกำลังและเติบโตขึ้นได้ ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ มีชีวิตอยู่ได้
อาหารรูป มีคุณลักษณะพิเศษ(วิเสสลกฺขณา) ดังนี้
โอชา ลกฺขณํ .........................มีการอุปถัมภ์รูปทั้งปวง....................เป็นลักษณะ
รูปาหรนํ รสํ ............................มีการนำประโยชน์แก่รูปทั้งปวง.........เป็นกิจ
กายุปตฺถมฺภน ปจฺจูปฏฺฐานํ ........มีการอุดหนุนไว้ซึ่งรูปกาย ...............เป็นผล
อชฺโฌหริตพฺพ ปทฏฺฐานํ...........มีอาหารที่ควรแก่การบริโภค ............เป็นเหตุใกล้
รูปธรรม ๗ ประเภทที่กล่าวมาแล้วนี้ ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ คือมหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕ โคจรรูป ๔ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑ และอาหารรูป ๑
นิปผันรูป ๑๘ นี้ เมื่อกล่าวโดยฐานที่ตั้งภายในร่างกายของสัตว์แล้วจำแนกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
๑. สพฺพฐานิกรูป ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่ทั่วร่างกายของสัตว์ต่างๆ ทั้งหลายมีอยู่ ๑๒ รูป คือ
มหาภูตรูป ๔ กายปสาท ๑ วัณณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ และอาหาร ๑ ทั้ง ๑๒ รูปนี้ย่อมมีอยู่ทั่วไปในร่างกายของสัตว์นั้นเอง
๒. ปเทสรูป หมายถึง รูปที่เกิดขึ้นอยู่โดยเฉพาะแห่งมิได้ปรากฎทั่วร่างกายมีอยู่ ๖ รูป ได้แก่ จักขุปสาท ๑ โสตปสาท ๑ ฆานะปสาท ๑ ชิวหาปสาท ๑ สัททะ ๑ และหทยะ ๑
อนึ่งบางตำรากล่าวว่า สัททรูป ย่อมมีปรากฎทั่วร่างกาย เป็นสัพพฐานิกรูปด้วย ในที่นี้ขอจัดเป็น ปเทสรูป
นิปผันนรูป ๑๘ ได้อธิบายมาแล้ว ยังคงเหลืออีก ๑๐ รูป ชื่อว่าอนิปผันนรูปจะได้แสดงต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 27.01 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
ปริจเฉทรูป
ปริจเฉทรูป เป็นช่องว่างที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป ไม่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ มีแต่ความว่างเหมือนดังอากาศ
มีวจนัตถะว่า น กสฺสตีติ อกาโส (วา) อกาโส เยว อากาโส แปลความว่า ที่ใดขีดเขียนไม่ได้ ฉะนั้นที่นั่นชื่อว่าอากาศ ได้แก่ อากศบนท้องฟ้าเป็นต้น
อากาศมีที่ใช้ในความหมายต่างๆ ๕ อย่างคือ
๑. อชฺฎากาส ได้แก่ อากาศที่ว่าเปล่า เบื้องล่างนับแต่พื้นดินและน้ำที่รองรับพื้นดินอยู่ เบื้องบนถึงอรูปภูมิขึ้นไป
๒. ปริจฺฉินฺนากาส ได้แก่ ช่องว่างที่มีขอบเขตกำหนดไว้ เช่น ท้องฟ้า ช่องประตู ช่องหน้าต่าง ช่องปาก คอ หู จมูก เป็นต้น
๓. กสิณุคฺฆาฏิมากาส ได้แก่ อากาสที่เพิกกสิณ
๔. ปริจฺเฉทากาส ได้แก่ ช่องว่างที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป คือ ปริเฉทรูป
ปริจเฉทรูปนี้ มีความสำคัญที่สามารถทำให้รู้ถึงรูปร่างสัณฐานและจำนวนได้
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ใบรรดาสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ถ้าไม่มีช่องว่าง
คือ ปริจฺเฉทากาสแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำให้รู้ถึงรูปพรรณสัณฐานและจำนวนได้เลย การที่เรารู้รูปพรรณสัณฐานและจำนวนของรูปได้นั้น
ก็เพราะปริจเฉทากาสนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่มีปริจเฉทรูปแล้วจำนวนรูปก็มีไม่ได้ เขตแดนของรูปก็มีไม่ได้ บรรดารูปเหล่านั้นจะติดกันเป็นพืดไปหมด
เมื่อเป็นเช่นนี้ อุพยัพพยญาณ และภังคญาณ ที่เกี่ยวด้วยรูปธรรมก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะแลเห็นความเกิดดับของรูปได้
อนึ่ง มีวจนัตถะว่า "เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา นิจฺจ ธุวา สสฺสตา อวิปริณาม ธมฺมา ยตเม อากาโส จ นิพฺพานญฺจ" แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมที่เที่ยงมั่นคงยั่งยืนไม่แปรผันนั้น มี ๒ ประการ ธรรมนั้นคือ อากาส และ พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 27.01 KiB | เปิดดู 9507 ครั้ง ]
วิญญัติรูป ๒
วิญญัติรูป เป็นรูปที่แสดงอาการพิเศษให้รู้ความประสงค์ซึ่งกันและกันได้ เกิดอยู่ในการเคลื่อนไหวและการพูด
มีวจนัตถะว่า อธิปฺปายํ วิญฺญาเปตีติ = วิญฺญตฺติ แปลความว่า รูปใดทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์ รูปนั้นชื่อว่า วิญญัติ
ฉะนั้น วิญญัติรูปนี้ จึงมีอยู่ด้วยกัน ๒ รูป กายวิญญัติรูป และ วจีวิญญัติรูป ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ คือ
กายวิญญัติรูป
วิญฺญาปน ลกขณํ.............................มีการแสดงให้รู้ความหมายด้วยการไหวกาย.......เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ..........................มีการแสดงความหมายให้รู้ความประสงค์...........เป็นกิจ
กายวิปฺผนฺทนเหตุภาว ปจฺจุปฏฐานํ..... มีการไหวของร่างกาย....................................เป็นผล
จิตฺตสมุฏฐาน วาโยธาตุ ปทฏฺฐานํ ......มีวาโยธาตุจากจิตตสมุฏฐาน..........................เป็นเหตุใกล้
กายวิญญัติรูปนี้ มีวจนัตถะแสดงว่า กาเยน วิญฺญตฺติ = กายวิญฺญตฺติ แปลความว่า อาการที่ทำให้รู้ความประสงค์
ได้ด้วยอาการไหวกาย ฉะนั้น อาการพิเศษ คือ การเคลื่อนไหวกายนั้น จึงชื่อว่า กายวิญญัติ
กายวิญญัติรูปนี้ มี ๒ อย่าง คือ
๑) โพธนกายวิญญตฺติ หมายถึง การเคลื่อนไหวกายโดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่นกวักมือ หรือโบกมือไล่ เป็นต้น
๒) ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ หมายถึง การเคลื่อนไหวกายที่เป็นไปตามปกติ มิได้เจาะจงให้ผู้รู้ความหมายแต่อย่างใด
เช่น อาการเดิน ยืน นั่ง นอน ตามปกติของเราเ ป็นต้น มิได้แสดงออกเพื่อจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมายแต่อย่างใดเลย
แต่อาการเหล่านั้นผู้อื่นก็ย่อมรู้ได้ว่า เรากำลังเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว


วจีวิญญัติรูป
วจีวิญญัติรูป เป็นรูปที่แสดงการเคลื่อนไหววาจา คือ การพูด มีวจนัตถะแสดงว่า วจิยา วิญฺญตฺติ = วจีวิญฺญตฺติ แปลว่า อาการพิเศษที่ทำให้รู้ความประสงค์ด้วยการพูด ฉะนั้น อาการพูดพิเศษ คือการพูดนั้น จึงชื่อว่า วจีวิญญัติ
วจีวิญญัติรูป มีคุณลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
วิญฺญาปน ลกฺขณํ..........................มีการแสดงให้รู้ความหมาย ....................เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ ......................มีการแสดงความหมายให้รู้ประสงค์..........เป็นกิจ
วจีโฆสเหตุภาว ปจฺจุปฏฐานํ............มีการกล่าววาจา...................................เป็นผล
จิตฺตสมุฏฐานปถวีธาตุ ปทฏฺฐานํ......มีปฐวีธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.................เป็นเหตุใกล้
วจีวิญญัติรูปมี ๒ อย่างคือ
๑) โพธนวจีวิญฺญตฺติ หมายถึง การกล่าววาจาโดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น ร้องเรียกชื่อ หรือบอกกล่าวเล่าเรื่อง เป็นต้น
๒) ปวตฺตนวจีวิญฺญตฺติ หมายถึง การกล่าววาจาโดยมิได้จงใจจะให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น เปล่งอุทานออกมา ร้องเพลง หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น มิได้จงใจจะให้เป็นความหมายแก่ผู้ใด แต่ผู้อื่นที่ได้ยินเสียงที่พูด หรือร้องออกมาย่อมทราบความหมายได้
วิญญัติรูป ที่กล่าวแล้วทั้งสองนี้ ผู้หนึ่งผู้ใดได้แสดงกิริยาอาการกวักมือหรือพูดนั้น มีอาการพิเศษเกิดอยู่ด้วย อาการพิเศษนี้เรียกว่าวิญญัติรูป ถ้าอาการพิเศษนั้นเกิดขึ้นโดยอาศัยอาการทางกาย ก็เรียกว่า กายวิญญัติ ถ้าอาการพิเศษนั้นเกิดขึ้นโดยทางวาจา ก็เรียกว่า วจีวิญญัติรูป แต่ถ้าไม่มีวิญญัติรูปทั้ง ๒ นี้แล้ว อาการเคลื่อนไหวทั้งหลายของสัตว์ก็ไม่ผิดอะไรกับการเคลื่อนไหวของกิ่งไม้ใบไม้ และเสียงของสัตว์ก็ไม่ผิดอะไรกับ เสียงฝนตก เสียงฟ้าร้อง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คนทั้งหลายก็ไม่อาจรู้กิริยาอาการที่แสดงออกจากจิตใจของกันและกันได้เลย ฉะนั้น อาการพิเศษที่เกิดอยู่ในอาการเคลื่อนไหวทางกาย และการพูดของคนทั้งหลายนั้นต้องมีอยู่ ซึ่งเรียกว่า วิญญัติรูปนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 26.99 KiB | เปิดดู 9422 ครั้ง ]
วิการรูป ๓
วิการรูป คือ รูปที่แสดงอาการพิเศษ เป็นอาการเบา อาการอ่อน และอาการพอดีของนิปผันนรูป
ย่อมเกิดขึ้นแก่สิ่งที่มีชีวตเท่านั้น สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหลายวิการรูปทั้ง ๓ นี้ ย่อมปรากฎไม่ได้
มีวจนัตถะแสดงว่า วิเสโส อากาโร = วิกาโร แปลความว่า อาการอันเป็นพิเศษของนิปผันนรูปที่เกิดขึ้น
ชื่อว่า วิการ พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า วิการรูป มี ๓ รูป ได้แก่

๑. รูปลหุตา มีวจนัตถะว่า ลหุโน ภาโว = ลหุตา แปลความว่า อาการที่เบา ชื่อว่า ลหุตา
หรืออีกนัยหนึ่ง รูปสฺส ลหุตา = รูปลหุตา แปลความว่า อาการเบาของนิปผันนรูป
ชื่อว่า ลหุตา = รูปลหุตา ได้แก่ รูปที่ทำอาการให้ร่างกายเบา คล่องแคล่วในอริยาบถ
หรือการพูดจาต่างๆ รูปลหุตา คือ รูปเบานี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ
อทนฺธตา ลกฺขณํ .....................มีความเบา..................................เป็นลักษณะ
รูปานํ ครุภาววิโนทน รสา .........มีการทำลายความหนักของรูป .......เป็นกิจ
ลหุปริวตฺติตา ปจฺจุปฎฺฐานา .......มีการทำให้ว่องไว ........................เป็นผล
ลหุรูป ปทฏฺฐานา......................มีรูปที่เบา....................................เป็นเหตุใกล้

๒. รูปมุทุตา
รูปมุทุตา หมายถึง รูปอ่อน มีวจนัตถะว่า มุทุโน ภาโว = มุทุตา แปลว่า อาการที่อ่อน ชื่อว่ามุทุตา และ รูปสฺส มุทุตา = รูปมุทุตา
แปลความว่า อาการอ่อนของนิปผันนรูป ชื่อว่า มุทุตา ได้แก่ อาการอ่อนของร่างกายในเวลาที่ก้มเงย เอี้ยว เอน ร่างกายได้สะดวกเป็นต้น
รูปมุทุตา มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้คือ

อถทฺธตา ลกฺขณา ...............................มีความอ่อน....................................เป็นลักษณะ
รูปานํ ตทฺธวิโนทน รสา........................มีการทำลายความกระด้างของรูป.......เป็นกิจ
สพฺพกฺริยาสุ อวิโรธิตา ปจฺจุปฏฺฐานา.......มีการไม่ขัดแย้งต่ออริยาบถ เป็นต้น....เป็นผล
มุทุรูป ปทฏฺฐานา.................................มีรูปที่อ่อน......................................เป็นเหตุใกล้

๓.รูปกัมมัญญตา
รูปกัมมัญญตา หมายถึงรูปที่เหมาะที่พอดีแก่การงาน มีวจนัตถะว่า กมฺมนิ สาธุ = กมฺมญฺญตา แปลว่า ความดีในการงานต่างๆ ชื่อว่า กัมมัญญะ
กมฺมญฺญสฺส ภาโว = กมฺมญฺญตา แปลว่า ภาวะที่เป็นความดีในการงานต่างๆ ชื่อว่า กัมมัญญตา ได้แก่ อาการเหมาะสมแก่การงานของร่างกาย
หรือกล่าววาจา ก็ทำได้ตามความประสงค์
รูปสฺส กมฺมญฺญตา = รูปกมฺมญฺญตา แปลว่า ภาวะที่เป็นควาดี ในการงาต่างๆ ของนิปผันนรูป ชื่อว่า รูปกัมมัญญตา
รูปนี้มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตนดังนี้
กมฺมญฺญภาว ลกฺขณา............มีการเหมาะควร...................เป็นลักษณะ
อกมฺมญฺญตาวิโนทน รสา........มีการทำลายความไม่ควร......เป็นกิจ
อทุพฺพภาว ปจฺจปฏฺฐานา........มีการไม่อ่อนแอ...................เป็นผล
กมฺมญฺญรูป ปทฏฺฐานา....... ...มีรูปที่ควร...........................เป็นเหตุใกล้

วิการรูปทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในขณะที่มีความสบายกายสบายใจไม่อาพาธเมื่อเกิดขึ้นในอาการขงนิปผันรูปนั้นย่อมเกิดขึ้น
พร้อมกันทั้ง ๓ รูป แต่อาจยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
วิการรูปนี้ บางทีบ ๕ รูป ทั้งนี้โดยนับวิญญัติรูป ๒ ที่แสดงแล้ว นั้นเข้าร่วมในวิการรูปด้วย เพราะเป็นรูปที่เกิดได้กับสิ่งที่มีชีวิตด้วยกัน
คือการเคลื่อนไหวร่างกาย และวาจานั้น ย่อมประกอบด้วยรูปลหุตา.มุทุตา.กัมมัญญตา ได้แก่รูปเบา.รูปอ่อน.รูปเหมาะแก่การงาน
แสดงการเคลื่อนไหว อิริยาบถใหญ่น้อย หรือการพูดที่เป็นไปได้โดยสะดวกสบาย ไม่มีอาการขัดข้องแต่อย่างใด
ฉะนั้น วิการรูปนี้จึงนับว่ามี ๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 26.95 KiB | เปิดดู 9422 ครั้ง ]
ลักขณรูป ๔ ได้แก่ ๑ อุปจยรูป ๒. สันตติรูป ๓. ชรตารูป ๔. อนิจจตารูป
๑. อุปจยรูป หมายถึง รูปที่เกิดขึ้นเป็นขณะแรกในปฏิสนธิกาล
มีวนจัตถะ แสดงว่า อาทิโต อุปริโต จ จโยติ แปลความว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของนิปผันรูป
ชื่อว่า "อุปจยะ" รวมทั้งการเกิดขึ้นครั้งแรกของรูปที่เกิดจาก จิต. อุตุ และอาหาร ก็ชื่อว่า อุปจยรูป
ในปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย กัมมชรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกแห่งภพ ชื่อว่าอุปจยะรวมตลอดไป
ถึงการเกิดขึ้นแห่งกัมมชรูปที่ยังเกิดไม่ครบของคัพภเสยยกะนั้น ย่อมยังมีการเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสัปดาห์ที่ ๑๑ กัมมชรูป
จึงสร้างรูปให้เกิดขึ้นบริบูรณ์ ฉะนั้นการเกิดขึ้นของกัมมชรูปที่เกิดต่อจากปฏิสนธิขณะเป็นต้นมาจนรูปเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ ก็ชื่อว่า อุปจยะ
ส่วนพวกสัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิดและโอปปาติกะกำเนิดนั้นในปฏิสนธิขณะเอง กัมมชรูปเกิดขึ้นครบบริบูรณ์
ฉะนั้น กัมมชรูปที่เกิดขึ้นเฉพาะในปฏิสนธิขณะเท่านั้น ก็ชื่ออุปจยะ
อุปจยรูป มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้ คือ
อาจย ลกฺขโณ.................... มีการเกิดขึ้นครั้งแรก..............เป็นลักษณะ
รูปนํ อุมฺมชฺชาปน รโส ......... มีการทำให้รูปเติบโตขึ้น.........เป็นกิจ
ปริปุณฺณภาว ปจุจุปฏฐาโน....มีสภาพที่บริบูรณ์ของรูป.........เป็นผล
อุปจิตรูป ปทฏฐาโน.............มีรูปที่กำลังจะเกิด..................เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สันตติรูป
สันตติรูป หมายถึง การเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูป มีวจนัตถะว่า สํ ปุนปฺปุนํ ตติ = สนฺตติ แปลความว่า การเกิดขึ้น
ของนิปผันนรูปบ่อยๆ ชื่อว่า สันตติ อีกนัยหนึ่ง สมฺพนฺธ ตติ = สฺตติ แปลความว่า การเกิดขึ้นสืบต่อกัของิปผันนรูป ชื่อว่า สันตติ
หมายความว่า บรรดารูปที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรก และครั้งหลังๆ จนอวัยวะของสัตว์ครบบริบูรณ์
ชื่อว่าอุปจยรูป ต่อจากนั้น นับตั้งแต่อวัยวะครบถ้วนเป็นต้นมารูปเหล่านี้ ยังคงเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันเรื่อยๆไปจนตลอดชีวิตนั้นเอง

ชื่อว่า สันตติรูป มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้ คือ
ปวตฺติ ลกฺขณา....................มีการเกิดเนื่องกัน....................................เป็นลักษณะ
อนุปฺปพนฺธนรสา..................มีการสืบต่อ...........................................เป็นกิจ
อนุปจฺเฉท ปจฺจุปฏฺฐานา........มีการไม่เข้าไปทำลายรูปนั้น....................เป็นผล
อตุปพนฺธกรรูป ปทฏฺฐานา.....มีการยังให้รูปที่เกิดขึ้นนั้นต่อเนื่องกัน.........เป็นเหตุใกล้

ในอัฏฐสาลินี และวิสุทธิมรรคอรรถกถา ได้อุปมา อุปจยรูปและสันตติรูปไว้ว่า เหมือนหนึ่งน่อน้ำที่ขุดใกล้ๆแม่น้ำ
เมื่อขุดเสร็จใหม่ๆ มีน้ำไหลซึมเข้ามาในบ่อครั้งแรก ต่อมาน้ำไหลเข้าบ่อเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็เปรียบเหมือนอุปจยรูป
ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิขณะจนครบบริบูรณ์ และเมื่อน้ำเต็มบ่อแล้ว และยังไหลล้นออกจากบ่อไปตามพื้นดินอีกนี้
เปรียบเหมือน สันตติรูป คือ เป็นรูปที่เกิดขึ้นติดต่อกันมาเรื่อยๆ มานั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ชรตารูป
ชรตารูป หมายถึง รูปที่แสดงภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูป มีวจนัตถะ แสดงว่า ชรานํ ภาโว = ชรตา แปลความว่า
ภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูปชื่อว่า ชราตา มีคุณลักษณะดังนี้
รูปปริปาก ลกฺขณา ..................มีการเสื่อมของรูป.............................เป็นลักษณะ
อุปยน รสา .............................มีการนำไปซึ่งความเสื่อม...................เป็นกิจ
นวภาวาปคมน ปจฺจุปฏฐานา.....มีสภาพที่ไม่งามหรือเปลี่ยนเป็นเก่า.....เป็นผล
ปริปจฺจมาน ปทฏฐานา ............มีรูปที่เสื่อม.......................................เป็นผล
ตามธรรมดา จตุชนิปผันนรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีกรรม จิต อุตุ และอาหาร เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
อายุของรูปเหล่านั้นมีอายุอยู่ได้ ๕๑ อนุขณะของจิต ในจำนวน ๕๑ อนุขณะจิต เป็นขณะเกิด ๑ ขณะ คือ ขณะที่ ๑ และ
เป็นขณะดับ ๑ ขณะ คือขณะที่ ๕๑ ส่วนขณะที ๒ ถึงขณะที่ ๕๐ มีจำนวน ๔๙ อนุขณะนั้น เป็นขณะที่ตั้งอยู่ของนิปผันนรูปนั่นเอง
ชื่อว่า ชรตารูป ซึ่งเป็นระหว่างที่มีความแก่ขึ้นนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2013, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 26.95 KiB | เปิดดู 6609 ครั้ง ]
๔. อนิจจตารูป
อนิจจตารูป หมายถึงรูปที่กำลังแตกดับ มีชื่อเรียกว่า มรณรูป หรือภังครูปก็ได้ มีวจนัตถะว่า อนิจฺจตา ภาโว = อนิจฺจตา ภาวะแห่งความเกิดดับของนิปผันนรูป ชื่อว่า อนิจจตา
อนิจจตารูป หมายเอาขณะดับของรูป คือ ขณะที่ ๕๑ นั่นเอง
มีคุณลักษณะพิเศษแสดงไว้ดังนี้
ปริเภท ลกฺขณา..............................มีการเปลี่ยนแปลงของรูป.......เป็นลักษณะ
สํสีทน รสา....................................มีการทำให้จม........................เป็นกิจ
ขยวย ปจฺจุปฏฐานา........................มีการสูญหาย.........................เป็นผล
ปริภิจชฺชมานรูป ปทฏฺฐานา.............มีรูปที่แตกดับ.........................เป็นเหตุใกล้
อนิจจตารูปนี้ จึงหมายเอาขณะดับของรูป ฉะนั้น ชรตารูปและอนิจจตารูปทั้ง ๒ นี้ มีอยู่ในนิปผันนรูปที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิขณะเป็นต้น จนถึงขณะที่สัตว์นั้นตายลง
ลักขณรูปทั้ง ๔ ที่ได้แสดงมาแล้วนั้น เป็นการแสดงตามปรมัตถัย เรียกว่า อุปจย. สันตติ. ชรตา. อนิจจตา ส่วนที่แสดงตามพระสูตรนั้น ที่ชื่อว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นไปโดยสมมุติ(ชาติ ชรา มรณะ) หมายความว่าขณะที่สัตว์ทั้งหลายอยู่ในครรภ์มารดาจนคลอดออกมา เรียกว่า ชาติ คือเกิด ขณะที่สิ้นชีวิตถึงแก่ความตาย เรียกว่ามรณะและในระหว่างตายกับเกิดนั้นเรียกว่า ชรา อันที่จริง สภาพของชรามี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฺฉนฺชรา คือ ความชราไม่ปรากฎ
๒. ปากฏชรา คือ ความชราที่ปรากฏ
บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่คลอดจากครรภ์มารดาแล้วจนเติบโตเป็นหนุ่มสาวขึ้นมาความชราที่ปรากฎ ผมหงอก ฟันหัก ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้นเหล่านี้ ยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้ปรากฎ อันที่จริงระหว่างนี้มีความชราปรากฎอยู่แล้วแต่เป็นความชราชนิดที่เป็น ปฏิจฺฉนฺนชรา คือความชราที่ไม่ปรากฎเมื่อผ่านพ้นวัยหนุ่มสาวเข้าสู่อาการผมหงอก ฟันหัก ปรากฎขึ้นแล้ว ความชราย่อมแสดงออก เรียกว่าปรากฏชรา คือ ความชราปรากฎ แม้ในบรรดารูปทั้งหลายในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เรียกว่า อนินนทริยพัทธรูป ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ต้นไม้ ภูเขา เหล่านี้ เป็นต้น ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้ ย่อมมีความชราเข้าครอบงำย่ำยีด้วยกันทั้งนั้น และความชราของสิ่งเหล่านี้ ก็มี ๒ อย่างเช่นกันบางพวกเป็นปฏิจฺฉนชราอย่างเดียว ได้แก่ ดิน น้ำ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เพชร นิล จินดา เหล่านี้เป็นต้น เป็นความชราที่ไม่ปรากฎ หรือเรียกว่า อวีจิชรา คือความชราที่รู้ได้ยาก
ส่วนต้นไม้ ตึกราม บ้านช่องและวัตถุต่าๆ ที่นอกจากภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เพชร นิล จินดา ที่กล่าวมาแล้ว มีทั้งที่เป็นปฏิจฉนชราและชราปรากฏทั้ง ๒ อย่าง ชราที่อยู่ในรูปเหล่านี้ เรียกว่า สวีจิชรา คือ เป็นความชราที่รู้ได้ง่ายเพราะปรากฎให้เห็นความชรานั้นๆได้ เช่นรถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น
ในรูปสมุทเทสนัยที่กล่าวมานี้ โดยประเภทเล็ก มี ๑๑ ประเภท ประเภทใหญ่มี ๒ ประเภท โดยจำนวนรูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป
สรุปเอาใจความแล้ว ในลักขณรูป ๔ ก็มี ๓ อย่างเท่านั้น คือมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง อุปจย และสันตติ รวมอยู่ในความเกิด ชรตา อยู่ในความตั้งอยู่ อิจจตา อยู่ในความดับ
ลักขณรูปนี้ แสดงสามัญลักษณะของนิปผันนรูป ที่จะส่องให้วิปัสสนาปัญญาเห็นความเป็นไตรลักษณ์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8171


 ข้อมูลส่วนตัว




--_1_~3.JPG
--_1_~3.JPG [ 77.18 KiB | เปิดดู 6827 ครั้ง ]
ที่มา....
ได้คัดลอกมาจาก คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมมัตถสังคหะ
ปริเฉทที่ ๖
รูปสังคหวิภาค และนิพพานปรมัตถ์
รวมรวบโดย
นาย วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี
จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร