วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2012, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

อานาปานสติสูตร
(หันทะ มะยัง อานาปานะสะติปาฐัง ภะณามะ เส.)

อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,

อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,

จัตตาโร สะติปัฏฐาเน ปะริปูเรนติ,
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์,

จัตตาโร สะติปัฏฐาน ภาวิตา พะหุลีกะตา,
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว,

สัตตะโพชฌังเค ปะริปูเรนติ,
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์,

สัตตะโพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว,

วิชชาวิมตติ ปะริปูเรนติ,
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์,

กะถัง ภาวิตา จะ ภิกขะเว อานาปานะสะติ, กะถัง พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

อะรัญญะคะโต วา,
ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม,


รุกขะมูละคะโต วา,
ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม,

สุญญาคาระคะโต วา,
ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม,

นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตฺวา,
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว,

อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะ เปตฺวา,
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น,

โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ,
ภิกษุนั้น, เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว, หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า,

(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ,
ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว, ดังนี้,

ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว, ดังนี้

(๒) รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ,
ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น, ดังนี้,

รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจเข้าสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น, ดังนี้,

(๓) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจออก, ดังนี้,

สัพพะกายะปะกิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง กายทั้งปวง, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๔) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่หนึ่ง)


(๕) ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจออก, ดังนี้,

ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๖) สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจออก, ดังนี้,

สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจเข้า, ดังนี้

(๗) จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจออก, ดังนี้,

จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๘) ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,

ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
(จบ จตุกกะที่สอง)

(๙) จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจออก, ดังนี้,

จิตตะปะฏิสัเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๐) อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,

อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๑) สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,


สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๒) วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,

วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่สาม)

(๑๓) อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้,

อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๔) วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้,

วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๕) นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับ ไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้,

นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๑๖) ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้

ปฏินิสสัคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่สี่)

เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานะสะติ, เอวัง พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว, ทำให้มากแล้ว, อย่างนี้แล,


มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,

อิติ.
ด้วยประการฉะนี้แล.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2012, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติบางท่าน
Onion_L ได้ลมหายใจละเอียด แต่ สติ+ปัญญา+อาตาปี หาย
จึงจงใจทำให้เกิดความรู้สึกตัวใหม่ ด้วยการหายใจแรงๆ เพื่อให้เกิดสติ
อย่างนี้ถือว่า ปฏิบัติผิด เพราะ ความรู้สึกตัวเกิดขึ้นจากการกระทำ ไม่ใช่เกิดตามธรรมชาติ

วิธีปฏิบัติถูกต้องในการทำสมาธิ
cool ให้เอาสติตั้งมั่นที่จุดกระทบใหม่ ลมจะหยาบขึ้นแต่มีสติ
ลมจะละเอียดขึ้นเมื่อสติตั้งมั่นอยูที่จุดกระทบ--->นิมิตจะเกิดตรงจุดกระทบ

ที่สำคัญคือ
Onion_R อย่ากลั้นลมหายใจเพื่อให้ละเอียด
เพราะจะได้ลมละเอียดแต่สติหาย
Onion_R อย่าทำลมหายใจแรงๆ เพื่อให้เกิดสติ
เพราะจะได้ลมหยาบแต่มีสติ

grin มันสวนทางกันเน๊าะ
:b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 06:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมครับ จาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑



ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๔๙๓ - ๗๕๕๒. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ คุณเฉลิมศักดิ์
tongue ขอเชิญคลิ๊กอ่านกันค่ะ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


:b8: :b8: :b8:

การปฏิบัติผิดๆ เป็นเรื่องที่น่ากลัวกว่า การไม่ใส่ใจในการปฏิบัติค่ะ
-อัปปฏิปัตติ
-มิจฉาปฏิปัตติ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วิธีเจริญอานาปานัสสติตามแนวสมถกรรมฐาน (สมาธิ)

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

อะรัญญะคะโต วา,
ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม,


รุกขะมูละคะโต วา,
ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม,

สุญญาคาระคะโต วา,
ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม,

นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตฺวา,
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว,

อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะ เปตฺวา,
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น,

โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ,
ภิกษุนั้น, เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว, หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า,

(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ,
ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว, ดังนี้,

ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว, ดังนี้

(๒) รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ,
ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น, ดังนี้,

รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจเข้าสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น, ดังนี้,

(๓) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจออก, ดังนี้,

สัพพะกายะปะกิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง กายทั้งปวง, จักหายใจเข้า, ดังนี้,

(๔) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้,

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่หนึ่ง)

:b50: :b50: :b47:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

การทำสมาธินั้น มีนิมิตเกิดขึ้น ข้อควรระวังคือ จะต้องรู้ว่าอะไรคือนิมิตแท้จริง อะไรคือนิมิตลวง
ดิฉันแนะนำเพื่อนๆ ทำสมาธิ เผื่อว่าท่านใดมีการสั่งสมมามาก ก็จะเกิดนิมิตได้ง่ายๆ ดิฉันขอเตือนเรื่อง
นิมิตเฉพาะคนที่ทำอานาปานสติเท่านั้นนะคะ เพราะแนะนำให้ทำสมาธิ แต่ไม่เคยบอกคำเตือนไว้ค่ะ
วันนี้จึงมาบอกมาเตือนกันไว้ว่า การทำสมาธินั้นอันตรายพอๆ กับการเดินป่า ร้อยทั้งร้อย ล้านทั้งล้าน
หากไม่มีปริยัติหรือความเข้าใจที่ถ่องแท้ หลงทุกคนค่ะ ดังนั้นหากใครจะทำจริงจัง ก็หาครูอาจารย์ด้วยค่ะ
และเลือกพระอาจารย์ ครูอาจารย์ที่ทราบปริยัติด้วยค่ะ แต่ดิฉันขอเตือนแบบง่ายๆ ไว้เป็นพื้นฐานก่อนค่ะ
และขอให้เชื่อกันด้วยนะคะว่า พระพุทธเจ้าสอนมาแบบนี้จริงๆ ว่า นิมิตของอานาปานสติเกิดได้แค่
นิมิตแท้เป็นภาพที่ปรากฏทางใจในขณะหลับตาเท่่านั้นนะคะ

นิมิตแท้ของอานาปานสติ คือ ภาพอะไรก็ได้ที่เป็นอัธยาศัยของผู้นั้น เช่นภาพน้ำตก กระถางดอกไม้
ล้อรถยนต์ ภาพสวรรค์เหมือนตามผนังโบสถ์ เป็นต้น ภาพนิมิตจะต้องเป็นภาพที่มีสีเหมือนควันบุหรี่ เป็นแค่ภาพเท่านั้น ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องราว ไม่เป็นภาพสี หรือบางคนไม่ขึ้นเป็นภาพ แต่จะเป็นท่อควัน ปุยสำลีสีควันก็มีค่ะ(ในสีควันบุหรี่ที่ประกอบเป็นภาพนั้นจะมีการไหวนิดหน่อยของควันเพราะขบวนการหายใจของคนเรานั้น ลมมันต้องเคลื่อนไหวเข้าออก ดังนั้นในสีหมอกควัน สีควันไฟ ควันบุหรี่นั้นจะไหวนะคะ)
เรียกว่า อุคคหนิมิต และหากเพ่งที่จุดกระทบต่อไป อุคคหนิมิตนั้นก็จะเป็นปฏิภาคนิมิตมีแต่ความใสไม่เป็นสีควันไฟ ควันบุหรี่แล้วค่ะ ปฏิภาคนิมิต จะใสเป็นสีตามเดิมของภาพนั้นอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ เพ่งปฏิภาคต่อไปจนเข้าขั้นอัปปนาสมาธิคือได้ฌานค่ะ
เช่น ดอกไม้สีอะไรก็แล้วแต่เช่นสีฟ้า พอเห็นเป็นอุคคหนิมิตเห็นเป็นภาพสีควันไฟก่อน
เพ่งจุดกระทบที่เกิดอุคคหนิมิตต่อไป ก็จะเกิดปฏิภาคนิมิตก็จะเป็นแก้วใสสีตามดอกไม้นั้นๆ คือแก้วใสสีฟ้าเป็นอุปจารสมาธิ คือจะใกล้เข้าถึงอัปปนาสมาธิก็จะต้องย้ายจากการจุดกระทบที่จมูกไปเพ่งปฏิภาคอย่างเดียวค่ะจึงได้ถึงปฐมฌานค่ะ

และหากภาพอุคคหนิมิตปรากฏเมื่อใดถ้าท่านไม่สามารถประคองสมาธิสติได้ เกิดความดีใจ เกิดความ
สงสัย เป็นต้น ภาพอุคคหนิมิตนั้นจะหายวับไปกับตาค่ะ เร็วพอๆ กับแฟลซที่ถ่ายรูปนั่นแหล่ะค่ะ มาไวไปไว
ยังไม่ทันได้เห็นหมอกควันภายในภาพนั้นไหวไปมาด้วยซ้ำค่ะ ศึกษาเทคนิคกันก่อนด้วยหากว่าภาพอุคคหนิมิตปรากฏจะได้ไม่หายไปด้วยความรวดเร็ว เท่าที่ได้ฟังมานะคะ ต้องมีสมาธิสติไว้ยังไม่ต้องย้ายจากจุด
กระทบที่จมูกไป อุคคหนิมิตเกิดต้องเพ่งอยู่ที่จุดกระทบ ประคองไว้ค่ะ เวลาอุคคหนิมิตเกิดแต่ครั้งนั้น ภาพจะไม่ซ้ำกันนะคะ จากประสบการณ์ของดิฉันเองนั้น ครั้งแรกเป็นภาพกระถางดอกไม้ต้นพยับหมอกค่ะ เพราะช่วงนั้นชอบยืนดูกระถางนี้จากระเบียงบ้านเป็นประจำ ภาพมันจะก๊อปปี้กันมาเป๊ะๆ เลยค่ะ ครั้งที่สองเป็นภาพท้องฟ้ามีก้อนเมฆแล้วมีเทวดาโผล่มาจากก้อนเฆม เรียกว่าอลังการมากค่ะ :b12: ทั้งหมดที่เห็นนั้นเป็นภาพสีควันบุหรี่ค่ะ มันจะลดระดับสีกันเองอย่างน่าอัศจรรย์ค่ะ เห็นเป็นรูปภาพได้สวยงามชัดเจน แต่เก็บไว้เพ่งต่อไม่ได้ค่ะ แบบว่ามาไวไปไวค่ะ ครั้งต่อมาเป็นปุยสำลีเห็นการเคลื่อนไหวของสีควันบุหรีในภาพชัดเจน

นอกจากนี้ถ้าเห็นเป็นภาพสีเห็นตนเองกำลังเฝ้าพระพุทธเจ้า ภาพสีเห็นตัวเองทำโน้นทำนี่ ไม่ใช่ทั้งสิ้นนะคะ
เป็นนิมิตลวง พระท่านว่า "หลงนิมิต จิตฟั่นเฟื่อน"

หากเห็นแบบนี้ ให้มีสติแล้วกลับมาดูที่ใจทันทีนะคะ อย่าหลงไปกับเรื่องราวที่เห็นที่พบขณะนั้น อย่า
เพลินไปกับภาพที่เห็น หรือเสียงที่ได้ยิน เป็นต้นค่ะ บางท่านหลงไปไกลว่าตนเป็นผู้มีบารมีสูงมาช่วยสัตว์
โลก บางท่านคิดว่าตนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า บางท่านเห็นตนเองนั่งอยู่บนก้อนเมฆ บางคนก็มีคนมาคุย
ด้วยแถมยังบอกหวยให้ด้วย บางท่านก็ได้กลิ่นอะไรต่อมิอะไร บางท่านก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ก้องในหู
แต่ไม่รู้ว่าสวดอะไร (อันนี้ดิฉันก็เคยเป็น ถึงกับเปิดประตูบ้านออกไปฟังชัดๆ ว่าบ้านไหนทำบุญ เพราะ
มีเสียงพระสวด) เหล่านี้เป็นต้น หากไม่มีสติไว้และรับรู้นิมิตนั้นเป็นเรื่อยๆ จะถึงขั้นฟันเฟื่อนได้นะคะ

ขอบอกว่าเคยหลงมาแล้วนะคะ เป็นห่วงเพื่อนๆ หากใครมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพน่ากลัว หรือ
ภาพสวยงาม ขอให้มีสติแล้วกลับมาดูที่ใจตนเองทันทีค่ะ

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ลมหายใจนั้นเป็นโผฏฐัพพารมณ์ คือ อุปาทายรูป
ลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน เรียกว่า จิตตชรูปสามัญ
ลมหายใจเป็นวาโยธาตุที่เรียกว่า จิตตชวาโยธาตุ
จิตตชวาโยธาตุนี้เกิดจากจิตที่เป็นกามจิต44 (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต10) อาศัยหทยวัตถุเกิด
หทยวัตถุเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีกายปสาทรับลมหายใจที่กระทบ
มีกายวิญญาณจิตเกิดขึ้น กายปสาทเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
ไม่มีส่วนใดที่เป็นสัตว์เป็นบุคคลเลยที่หายใจ
ลมหายใจเข้า ก็มีการรู้ด้วยวิญญาณธาตุ แล้วดับไป
ลมหายใจออก ก็มีการรู้ด้วยวิญญาณธาตุ แล้วดับไป
ไม่ใช่จิตขณะเดียวกัน เป็นจิตคนละขณะ
ลมหายใจดับตรงไหน นามรูปก็ดับตรงนั้น
ลมหายใจเป็นกองทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้ ในขณะที่หายใจนั้น มีกายวิญญาณจิตไปรู้ในธาตุทั้ง3ที่เป็น
ปถวี เตโช วาโย มีนามขันธ์4 เกิดขึ้นรู้ลมหายใจ ลมหายใจและกายปสาทเป็นรูปคือโผฏฐัพพารมณ์
เวลาหายใจแต่ละครั้ง มีขันธ์5 เกิดครบ
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาที่เราหายใจนั้น มันเลยสัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์ดับลงเกิดสักกายทิฏฐิขึ้นต่อ
เป็นเพราะขาดสตินั่นเอง ถ้าสัญญาดับสติก็ไม่เกิด เพราะเหตุใกล้ที่จะให้สติเกิด มันดับไปแล้วค่ะ

ในการตามดูรูปนามนั้น ด้วยการตามดูลมหายใจ สตินั้นต้องรู้ตรงจุดกระทบที่ในจมูกตรงที่ตนเองรู้ได้ชัด
หรือปลายจมูกก็แล้วแต่ละบุคคล ใครชัดบริเวณใดก็รู้ตรงนั้น จะต่างตรงที่ไปรู้ตรงจุดกระทบนั้นโดย
ความเป็นธาตุ โดยการกำหนดรู้ในเตโชธาตุคือรู้หายใจเข้าจุดกระทบจะเย็น หายใจออกจุดกระทบจะอุ่นๆ
และวาโยธาตุ คือ ความเคร่งตึงของจุดที่กระทบ สติตามรู้ตรงผัสสะที่กระทบนี้ตัณหาจะไม่เกิด เพราะมี
สติสัมปชัญญะ วิริยะ ขณิกกสมาธิ วิตก ขวางไว้ตัณหาก็เกิดไม่ได้ค่ะ

ก่อนจะตามดูรูปนามนั้น ควรจะทำสมาธิก่อนค่ะ ใช้สมาธินำปัญญานะคะ
ไม่ต้องถึงขนาดรอได้ฌานก่อนค่อยต่อการดูรูปนามหรอกค่ะ ทำแค่ให้จิตมีกำลังพอที่จะไปงาน
ตามดูรูปนามก็พอค่ะ

เชิญอ่านไตรสิกขาค่ะแล้วจะเข้าใจ

ไตรสิกขา จากวัดท่ามะโอ

สิกขา คือ ความประพฤติ เป็นการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่ศึกษาจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ใช่การฟังจากผู้อื่น หรือคิดนึกพิจารณาหาเหตุผล

พระพุทธองค์สอนให้เราประพฤติไตรสิกขา ๓ ได้แก่

๑. ศีล ความสำรวมกายและวาจาให้เรียบร้อยสงบเสงี่ยม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าเป็นนักบวชก็รวมไปถึงการไม่ล่วงละะเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ศีลทำให้เราไม่เดือดร้อนใจว่าทำผิดศีล ส่งผลให้เกิดความเคารพตนเอง ผู้ที่ยังไม่เคารพตนเองจะเป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่นได้อย่างไร ดังพระพุทธดำรัสว่า สีลํ อวิปฺปฏิสาราย (ศีลมีประโยชน์เพื่อความไม่เดือดร้อนใจ) ความไม่เดือดร้อนใจดังกล่าวจะก่อให้เกิดปราโมทย์ ปีติ ความสงบ ความสุข สมาธิ และญาณทัศนะเป็นต้นตามลำดับ

๒. สมาธิ การตั้งใจมั่น คือ การมีใจสงบไม่ขุ่นมัวด้วยนิวรณ์ที่ปิดกั้นความดีอันได้แก่สมาธิและปัญญา

เมื่อจิตตั้งมั่นโดยมีศีลเป็นเหตุ ปัญญาที่เกิดร่วมกับสมาธิจะค่อยๆ ชัดเจนยิ่งตามลำดับ เหมือนบุรุษอยู่ที่ริมสระน้ำใส ย่อมสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำใสสะอาดได้ชัดเจน

๓. ปัญญา การรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ การรู้แจ้งเห็นประจักษ์รูปนามตลอดจนถึงไตรลักษณ์ของรูปนามตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างแท้จริง


.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2013, 17:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:44
โพสต์: 173

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุค่ะ
:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาให้อ่านค่ะ
onion onion

ว่าแต่16ขั้น... ขั้นที่1อิฉันก็ไม่รู้ว่าจะผ่านมันไปได้ไหม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2013, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


JIT TREE เขียน:
อนุโมทนา สาธุค่ะ
:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาให้อ่านค่ะ
onion onion

ว่าแต่16ขั้น... ขั้นที่1อิฉันก็ไม่รู้ว่าจะผ่านมันไปได้ไหม?


ทำได้ค่ะ หากจะทำ ทำได้ตลอดค่ะ
หาจุดกระทบให้ได้ก่อนนะคะ ที่ลมหายใจผ่านเข้าผ่านออก บริเวณจมูก เอาตรงจุดที่ชัดที่สุด
แล้วก็มีสติรู้ลมเข้าออก เพ่งอยู่ที่จุดตรงนั้นแหล่ะค่ะ ไม่ต้องตามลมไปไหน อยู่จุดกระทบแค่นั้น
ถ้าลมปะทะตรงจุดกระทบนาน ก็แสดงว่าลมเข้ายาว ออกยาว หากนั่งทำเป็นเรื่องเป็นราวในรูปแบบ
ทำๆ ไป ลมมันจะสั้นเองโดยอัตโนมัติ สติก็ต้องรู้ที่จุดกระทบแล้วว่าลมมันปะทะนานน้อยกว่า
มันก็คือ เข้า-สั้น ออก-สั้น

พอสมาธิมีมากขึ้นต้องรู้ลมหายใจ ต้น กลาง ปลาย ก็ไม่ได้ให้ตามลมหายใจไป แล้วทิ้งจุดกระทบนะคะ
แต่มีสติไปรู้ที่จุดกระทบว่ามันกระทบนาน กระทบไม่นานนั้นมันไปกี่สเต็ปค่ะคือ รู้โดยแจ้งชัดต้นลม กลางลม
ปลายลม แต่ในการต้องรู้โดยแจ้งชัด ต้นลม กลางลม ปลายลมนั้นให้รู้แค่ที่จุดกระทบพอค่ะ
ที่สำคัญการรู้โดยแจ้งชัดแบบนี้ *ไม่ไปรู้ว่าลมเข้ายาวเข้าสั้น ออกยาวออกสั้นแล้วนะคะ

การรู้ ต้นลม กลางลม ปลายลม ณ ที่จุดกระทบนั้น
ไม่จำเป็นจะต้องไปรู้ทั้งหมดคือ ต้น กลาง ปลาย อาจจะรู้ต้นลมอย่างเดียวก็ได้ อาจจะรู้กลางลมอย่างเดียวก็ได้ อาจจะรู้ปลายลมอย่างเดียวก็ได้ หรือบางท่านมีความสามารถอาจจะรู้ได้ทั้งหมดคือ ต้น กลาง ปลายก็ได้ แล้วแต่ใครสามารถรู้ได้แค่ไหน ไม่ผิดค่ะถ้าสามารถรู้ได้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง หรือทั้งหมดนะคะ ขอให้มีสมาธิมากขึ้นและสามารถรู้ได้ก็ถือว่าขั้นตอนนี้ผ่านค่ะ

(ขอย้อนไปที่การเริ่มรู้ในอันดับแรกก่อนนะคะว่า ลมเข้ายาว ออกยาวนั้น ให้ฝึกทำแบบนี้ให้คล่องก่อนค่ะ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

รูปภาพ

คนที่ยังหายใจอยู่คือคนที่ยังมีชีวิต เพราะการหายใจนั้นเกิดจากจิตตชรูปคือ รูปที่เกิดจากจิต
ที่หทยวัตถุเป็นรูปที่อาศัยเกิด หากว่ายังหายใจอยู่ไม่ว่าเหตุผลใดที่ยังหายใจได้อยู่แสดงว่ายังมีชีวิตอยู่
หากสัตว์นั้นตายลงก่อนจะถึงวาระ เช่น ที่เราเห็นในหนังฝรั่งพวกคาวบอย พอม้าบาดเจ็บสาหัส
เรียกว่า ม้าทรมานมากนอนทรมานใกล้จะสิ้นลมแล้วและร่างกายมันก็ไม่สามารถจะฟื้นขึ้นมาได้
ก็เอาปืนยิงให้ม้านั้นเสียชีวิตไป จะได้ไม่ทรมานนั้น เป็นปาณาติปาตกรรมหรือไม่ ตอบว่าเป็นค่ะ
ถึงแม้หายใจพะงาบใกล้สิ้นลมแต่เค้าก็ยังไม่ตาย ไปทำให้เค้าตายเป็นบาปแน่นอนค่ะ ถึงแม้เค้าจะทรมาน
นั้นเป็นวิปากที่เค้าต้องได้รับ ต้องปล่อยให้เค้าหมดวาระของเค้าไปเอง เราอาจจะฉีดมอฟีนช่วยทุเลาความทรมานได้ หากเป็นยุคปัจจุบันนี้ แต่ไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินว่า ตายดีกว่าอยู่ไปก็ทรมาน

ปโยคะ คือ ความพยายามนั้นมี 6 อย่างคือ
1. สาหัตถิกะ ความพยายามที่ทำด้วยตนเอง
2. อาณัตติกะ ความพยายามโดยใช้ผู้อื่นทำ
3. นิสสัคคิยะ ความพยายามด้วยการปล่อยอาวุธ มีขว้าง ปา เป็นต้น
4. ถาวระ ความพยายามด้วยการสร้างเครื่องประหารไว้ อย่างถาวร มีการขุดหลุมพราง
ทำมีด ทำปินไว้ เป็นต้น
5. วิชชามยะ ความพยายามด้วยการใช้วิชาอาคมและไสยศาสตร์ต่างๆ
6. อิทธิมยะ ความพยายามด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ ที่เป็นกัมมชิทธิของตน เช่น ใช้ถลึงตาเพ่ง เป็นต้น

ตัดสินได้จาก องค์ปโยคะของปาณาติบาต
1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า
4. ปโยโค ทำความเพียรเพื่อให้ตาย
5. เตน มรณํ สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น

เมื่อการกระทำครบทั้ง 5 ดังกล่าวนี้ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถแล้ว
แต่ถ้าขาดในองค์ที่เป็นข้อ5 คือสัตว์นั้นไม่ตายก็ไม่สำเร็จเป็นกรรมบถ
แต่ถ้าเป็นสาเหตุให้สัตว์นั้นตายในภายหลังเพราะเหตุที่ทำนั้น ก็ถือว่าครบองค์5
เช่น นาย ง ขับรถมาเห็นหมาตัวที่เคยวิ่งไล่กัดตนเอง ก็เลยขับรถเข้าไปชนหมาตัวนั้น
แต่หมาไม่ตายในขณะนั้น ได้รับบาดเจ็บ และในเวลาต่อมาหมานั้นได้ตายลงด้วยสาเหตุที่ถูกรถชน
นาย ง ครบองค์ 5 ล่วงกรรมบถ

ถึงแม้ไม่ได้ตายในขณะนั้น แต่การกระทำนั้นเป็นเหตุให้ตายในเวลาต่อมา
ก็ถือว่า ล่วงกรรมบถ ครบองค์ปโยคะของปาณาติบาต
เตือนไว้สำหรับในกรณีที่ พ่อ แม่ ของท่านยังไม่หมดลมหายใจ ลูกท่านใดที่จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก
ขอให้ตระหนักถึงเรื่องนี้ไว้ค่ะ ไม่ว่าในกรณีใดก็แล้วแต่หากยังมีลมหายใจอยู่ก็ยังมีชีวิตอยู่
อย่าได้ไปทำอะไรให้ลมหายใจหมดไป ให้พ่อแม่ของท่านหมดลมหายใจไปเองตามวาระของท่านทั้งที่ยังมีเครื่องช่วยหายใจช่วยอยู่นะคะ ลูกอย่าไปทำเหตุให้ลมหายใจของท่านหมดค่ะ ยังไงเสียท่านก็ไม่สามารถที่จะกลับมาปกติได้ ดังนั้นคอยให้ท่านหมดวาระไปเองค่ะ

อธิบายข้อที่ว่า " ทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นตกไปโดยเร็ว "

ตามธรรมดารูปชีวิตินทรีย์รูปหนึ่งๆ มีอายุเท่ากับจิต 17 ดวง ในระหว่างที่ยังไม่ครบ 17ดวง ในระหว่าง
ที่ยังไม่ครบ 17 ขณะของจิตไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสามารถทำลายรูปนี้ให้ดับลงไปได้ ต่อเมื่อครบ 17ขณะจิต
แล้วย่อมดับไปเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ที่กล่าวว่า ทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นตกไปโดยเร็ว นั้นจะเป็นได้อย่างไร
ข้อนี้แก้ว่า เจตนาในการฆ่าสัตว์นี้มิได้มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ทำให้รูปชีวิตินทรีย์รูปเดียวให้ทำลายโดยเร็ว
หมายถึงทำให้รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันตลอดอายุของผู้นั้น ให้ขาดลงโดยเร็วไม่ให้เกิดขึ้นติดต่อ
กันนั้นเอง

อธิบายว่า ธรรมดาชีิวิตนวกกลาปกลาปหนึ่งนั้น เมื่อดับลงแล้วไม่ได้ดับไปเฉยๆ ย่อมมีอำนาจในการ
ช่วยอุปการะชีวิตนวกกลาปเกิดขึ้นใหม่อีก คล้ายกันกับจิตดวงหนึ่งๆ ที่ดับไปแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยช่วย
อุปการะให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้นอีกด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ฉะนั้นเมื่อขณะที่ร่างกาย
ถูกทำลายด้วยอาวุธต่างๆ มีปืน มีด ไม้ เป็นต้นนั้น ชีวิตนวกกลาปและกัมมชมหาภูตรูป ที่เกิดอยู่ทั่วไป
ในร่างกายนั้นก็ย่อมถูกทำลายให้มีกำลังอ่อนลง แม้จะกล่าวได้ว่ารูปเมื่อยังมีอายุไม่ครบ 17 ขณะของจิต
แล้ว ย่อมไม่มีการดับไปเสียก่อนก็ตาม แต่ชีวิตนวกกลาปและกัมมชมหาภูตรูปที่ถูกทำลายนี้มีกำลังอ่อน
เมื่อตัวเองมีกำลังอ่อนแล้ว ขณะที่ดับลงจึงไม่สามารถในการที่จะช่วยอุปการะให้ชีวิตนวกลาป และ
กัมมชมหาภูตรูปที่เกิดทีหลังได้เต็มที่ ดังนั้นการเกิดขึ้นสืบต่อกันของชีวิตนวกกลาปและมหาภูตรูปก็ย่อม
มีกำลังอ่อนลงไปตามลำดับจนกระทั่งไม่สามารถจะเกิดขึ้นใหม่ได้อีกในระยะเวลาอันเล็กน้อยนี้แหละ
สัตว์นั้นก็ตาย ฉะนั้นจึงกล่าวว่าเป็น ปาณาติบาต คือ ทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นตกไปโดยเร็ว

:b51:อธิบายข้อที่ว่า " ทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นตกไปโดยเร็ว " นำข้อมูลบางส่วนมาจากหน้า 77-80 ของหนังสือปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังหคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 2

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2014, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

สิ่งที่ควรทราบในการที่จะทำสมาธิ
ฟังมาจากพระอาจารย์กิตติ จึงนำมาบอกต่อเพื่อนที่ยังไม่ทราบนะคะ

เตรียมใจให้ถูกต้องก่อนนั่งสมาธิ เรียนรู้หลักปฏิบัติคือ ปริยัติ เรียนรู้แผนที่เดินทางก่อนจะได้ไม่หลง หากว่ามีความรู้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติแล้ว จะเป็นผู้ไม่ถูกนิมิตหลอกเอาได้ และจะแยกออกว่า อย่่างใดคือนิมิตจริง อย่างใดคือนิมิตลวง

อย่างที่เคยบอกไว้ว่า การทำสมาธินั้นอันตรายยิ่งกว่าการเดินป่าเสียอีก เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า ในอดีตชาติที่ผ่านมานับไม่ถ้วนนั้น เราทำกรรมอะไรไว้บ้าง หากกรรมที่เราเคยทำไว้ในอดีตส่งผลมาบั่นทอนต่องานกุศลในขณะนี้ เราจะทำอย่างไรเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น อาจจะมีภาพที่น่าหวาดกลัว หวาดเสียวเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ หรือเรื่องราวต่างๆ ทำให้เราหลงไปยินดี เพลิดเพลิน ทำลายให้เราไม่สามารถนั่งสมาธิปฏิบัติต่อไปได้ หรือทำให้ล้มเลิกไม่ปฏิบัติอีกต่อไปเลย

บางคนเคยฆ่าคนมามาก ทำร้ายคนมาเยอะ พอมานั่งกรรมฐาน ทำสมาธิก็เหงื่อแตกมากเต็มไปหมด ใจไม่สงบ ระหว่างนั่งเหงื่อออกมาก ลืมตามาก็หอบ ได้เห็นภาพต่างๆ มาก่อกวนใจไปหมด ใจไม่สงบ ไม่ไหวแล้วกลัวได้ไปเกิดในนรก

บางคนพอมาเรียนพระอภิธรรมก็ฟุ้งซ่าน ใจไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียน ไม่สามารถเรียนให้เข้าใจได้

ดังนั้นก่อนนั่งสมาธิ ควรแผ่เมตตา ก่อนแล้วค่อยนั่งสมาธิ จากที่เคยหน้าดำเพราะพยาบาทใครอยู่ เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ หน้าตาจะผ่องใส ปฏิบัติไปทีละนิดเรื่อยๆ ไป ก็จะคลายลงๆ ที่สำคัญควรหาครูอาจารย์ที่สอนตามหลักพระอภิธรรม หาครูอาจารย์ที่รู้ปริยัติจะสอบอารมณ์ท่านได้อย่างถูกต้องตามหลักพระอภิธรรม เพราะการสอบอารมณ์นั้นมีหลักให้ครูผู้สอนทราบว่าอย่างไรคือควรทำต่อไป อย่างไรคือการปฏิบัติที่ผิดไปจากสภาวะ

นิมิตลวงที่น่ากลัว อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติตกใจจนเสียสติ หากไม่มีสติ และสติควบคุมไม่อยู่ ผู้ปฏิบัติจะห่างจากครูอาจารย์ที่รู้ปริยัติไม่ได้เลยเป็นอันขาด

นอกเสียจากจะเป็นผู้ที่มีบุญบารมีสั่งสมมามาก จึงจะสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองได้ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องโดยไม่ต้องอาศัยครูอาจารย์คอยชี้แนะ สามารถปฏิบัติโดยลำพังได้ แต่ส่วนมาก ร้อยทั้งร้อย ล้านทั้งล้าน ไม่มีครูอาจารย์ชี้แนะก็จะหลง หรือมีครูอาจารย์ที่ไม่รู้ปริยัติชี้แนะ รับรองว่าหลงค่ะ หลงแล้วหลงเลย หลงแล้วก็ยังไม่รู้ด้วยว่าหลง หลงป่าตายอยู่กลางป่า หาทางออกไม่เจอ ใครชี้ทางออกให้ก็ไม่เชื่อ จะเชื่อแต่ครูของตนเองบอกทางบ้าง จะเชื่อที่ตนเองพบเจอบ้าง อุปาทานยึคว่าใช่แล้วการปฏิบัติสมาธิของตนเองถูกต้อง จิตดิ่งไปในทางปฏิบัติผิด มีอุปาทานยึค แก้ไขได้ยาก ถ้าหากปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นไปเพื่อการหลุดพ้นแล้ว สมถกรรมฐานก็จะเอื้อต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไปได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นไปตามลำดับขั้นเหมาะสำหรับคนในปัจจุบันนี้ที่กิเลสหนา ไปทางตรงแค่วิปัสสนาอย่างเดียวคงจะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อได้ฌานแล้วยกฌานเป็นบาทสู่การปฏิบัติวิปัสสนาจึงเป็นทางเดียวทำให้สำเร็จมรรค ผล นิพพานได้สำหรับคนในยุคปัจจุบัน จึงต้องเจริญทั้งสมถะ และ วิปัสสนา โดยเจริญสมถะก่อนตามลำดับแห่งการปฏิบัติและต่อด้วยวิปัสสนา สลับกันไป หรือมุ่งทางเดียวก่อนคือสมถกรรมฐานกองใดกองหนึ่งอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ฌานก่อน

ก่อนทำสมถกรรมฐาน ต้องทำอะไรบ้าง ต้องทำกุศลมีการทำทานกุศล สมาทานศีล แผ่เมตตา หลังจากนั่งสมาธิเช่นอานาปานสติเป็นต้นก็แผ่เมตตา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

การไม่รู้ปริยัติก็เหมือนคนตาบอดแล้วเดินทางไปเพียงลำพัง ถึงแม้จะมีครูอาจารย์ชี้แนะแต่เป็นครูอาจารย์ที่ไม่รู้ปริยัติก็เป็นเหมือนคนตาบอดจูงมือกันเดินป่า พากันเข้ารกเข้าพง หาทางออกไม่เจอ ...พอเจอนิมิตลวงเข้าก็พากันหลง ก็อย่างที่เคยบอกไว้ค่ะว่า หลงนิมิตจิตฟั่นเฟือน


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:55 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2023, 18:54 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร