วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 08:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

:b51: ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ

ปุจฉา วิปัสสนาญาณ ๑๐ นั้น มีอะไรเป็นอารมณ์ และ อารมณ์เหล่านี้ เป็นปรมัตถ์หรือ
เป็นบัญญัติ ท่านที่ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว จงวิจารณ์อารมณ์เหล่านี้ให้สมเหตุสมผล
ตามที่เข้าใจ?

วิสัชชนา วิปัสสนาญาณ ๑๐ นั้น มี อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ อย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นอารมณ์

ขอวิจารณ์ด้วยเหตุผลว่า ลักษณะ ๓ หรือไตรลักษณ์เหล่านี้้ เป็นปรมัตถ์ หรือ เป็นบัญญัติ ก็ได้ทั้้ง ๒ อย่าง

ที่ว่าเป็นปรมัตถ์นั้น เพราะว่าสังขารธรรมรูปนามขันธ์๕ ที่เป็นปรมัตถ์นั้นแหละเป็นเครื่องหมาย หรือ
อาการที่ปรากฏให้รู้ได้ ท่านจึงเรียกว่าเป็นปรมัตถ์ เหมือนกันกับการเรียก อนิปผันนรูปว่าเป็นรูป
ถ้านิปผันนรูปไม่มีแล้ว อนิปผันนรูปก็ไม่มี อนิปผันนรูปเป็นลักษณะเครื่องหมายหรือเป็นอาการของ
นิปผันนรูป ฉะนั้น จึงเรียก อนิปผันนรูป ว่าเป็นรูปปรมัตถ์ได้

ที่ว่าเป็นบัญญัติ หมายถึงเป็นวิชชมานบัญญัติ คือเป็นบัญญัติที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่ หรือ
เป็นอาการบัญญัติ เพราะเป็นอาการที่ดับไปสิ้นไปของรูปนามขันธ์๕ นั้นเอง หาใช่เป็นตัวปรมัตถ์ คือ รูป
นามขันธ์๕ ที่เป็นอนิจจธรรม (ธรรมที่ไม่เที่ยง) ทุกขธรรม (ธรรมที่เป็นทุกข์)
อนัตตธรรม (ธรรมที่เป็นอนัตตา) แต่ประการใดไม่ เป็นเพียงเครื่องหมายหรือเป็นอาการของปรมัตถ์เท่านั้น

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ปุจฉา อาการบัญญัติ และ วิชชมานบัญญัติ ทั้ง ๒ คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร? อธิบาย?

วิสัชชนา อาการบัญญัติ และ วิชชมานบัญญัตินั้น แตกต่างกันดังนี้

อาการบัญญัติ คือ ความเป็นไปแห่งรูปนามขันธ์๕ นิพพาน และบัญญัติ หาใช่เป็นตัวสภาวปรมัตถ์
และสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ แต่ประการใดไม่ (ที่กล่าวว่า หาใช่เป็นตัวสภาวปรมัตถ์ไม่นั้น หมาย
ความว่าเป็นเพียงอาการหรือเครื่องหมายให้รู้ได้จำได้ของสภาวปรมัตถ์เท่านั้น) ฉะนั้น อาการบัญญัติ
ของรูปนามขันธ์๕ ก็ได้แก่อาการที่ดับไปสิ้นไปนั้นเอง อาการบัญญัติของนิพพาน ก็ได้แก่อาการ
ที่ไม่มีความเกิดดับ มีความสงบจากกิเลสขันธ์๕ ทั้งปวง อาการบัญญัติของสัททบัญญัติและ
อัตถบัญญัติ ก็ำได้แก่ อาการที่ไม่มีความเกิดดับ

วิชชมานบัญญัติ คือ สัททบัญญัติที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นิพพาน เป็นต้น หมายถึงเป็นคำสมมุติของธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ ปรากฏอยู่ หรือเป็นการบัญญัติของ
ตัวสภาวปรมัตถ์โดยตรง ไม่ใช่เป็นอาการหรือเครื่องหมาย ให้รู้ได้จำได้ของสภาวปรมัตถ์ เมื่อกล่าว
โดยสรุปแล้ว ก็ได้แก่ คำพูดที่เกี่ยวกับจิต เจตสิก รูป นิพพาน

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

จาก..คำถามในชั้นมัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท อชว.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปุจฉา จงแสดงความต่างกันระหว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับ
อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ

วิสัชชนา อนิจจัง และทุกขัง ทั้ง ๒ นี้เหมือนกัน ได้แก่ สังขตธรรม คือ รูปนามขันธ์๕ ที่เป็น
ปรมัตถ์อย่างเดียว

ส่วนอนัตตานั้น ต่างจากอนิจจัง และทุกขัง ได้แก่ สังขตธรรมและอสังขตธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕
นิพพาน และบัญญัติ ซึ่งเป็นไปในธรรมทั้งหมด ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ....ดังนี้
ส่วนคำว่า อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะนั้น ได้แก่ อาการบัญญัติ คือ ความเป็นไปแห่ง
รูปนามขันธ์๕ นิพพาน บัญญัติ หาใช่เป็นตัวสภาวะปรมัตถ์ และสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ แต่ประการใดไม่

ฉะนั้น อาการบัญญัติของรูปนามขันธ์๕ ก็ได้แก่ อาการที่ดับไปสิ้นไป นั้นเอง
อาการบัญญัติของนิพพาน ก็ได้แก่ อาการที่ไม่มีการเกิดดับ มีแต่ความสงบจากกิเลสขันธ์๕ ทั้งปวง
อาการบัญญัติของสัททบัญญัติ และอัตถบัญญัติ ก็ได้แก่ อาการที่ไม่มีการเกิดดับ

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ปุจฉา อนิจจัง อนิจจตา อนิจจลักขณะ ทั้ง ๓ คำนี้หมายถึงอะไร
และคำว่าอนิจจตากับอนิจจลักขณะทั้งสองนี้ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ?

วิสัชชนา อนิจจัง หมายถึง รูปนามขันธ์๕ ที่ไม่เที่ยงดังที่วิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงว่า
รูปนามขันธ์๕ ชื่อว่า อนิจจัง เพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปด้วยความเกิดดับและเป็นอย่างอื่น
หรืออีกนัยหนึ่งเกิดขึ้นแล้วกลับเสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือ

อนิจจตา หมายถึง ความเป็นอยู่คือสิ้นไปดับไปอยู่เรื่อยๆ ติดต่อกันของสังขตธรรมที่ไม่เที่ยง
หรือในวิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงว่า อนิจฺจตา ก็ได้แก่ความเกิดขึ้นเสื่อมไปและเป็นอื่นไป หรือ
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีเหลือ อธิบายว่า ความที่เบญจขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่ตามอาการนั้น
แตกสลายไปโดยการดับไปแห่งขณะคือดับไปทุกภังคักขณะ

อนิจจลักขณะ หมายถึง เครื่องหมายของสังขตธรรมที่ไม่เที่ยง หรือความเป็นอยู่คือสิ้นไปดับไปอยู่
เรื่อยๆ ติดต่อกันของสังขตธรรมที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นเครื่องหมายให้รู้ได้จำได้

อนิจจตา กับอนิจจลักขณะทั้งสองนี้ เมื่อว่าโดยเนื้อความแล้วเหมือนกัน แต่ว่าโดยพยัญชนะแล้ว
ต่างกัน ที่ว่าเหมือนกันนั้นคือ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ และเป็นอารมณ์ของอนิจจนุปัสสนาด้วยกันดังมี
หลักฐา่นแสดงว่า

อนิจฺจานปุสฺสนาติ ตสฺสา อนิจฺจตาย วเสน รูปาทีสุ อนิจฺจนฺติ อนุปสฺสนา
แปลความว่า การพิจารณาเห็นในรูปธรรมเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจตา(หรือแปลว่า
แห่งอนิจจลัีกขณะ)นั้น ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา หรือวจนัตถะข้อที่ ๒ ของอนิจจนุปัสสนาก็แสดง
ไว้ชัดเจนว่า อนิจฺจตาย อนุปสฺสนา = อนิจฺจานุปสฺสนา แปลว่า การพิจารณารู้เห็นความไม่เที่ยง
อยู่เนืองๆ ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
:b8: :b8: :b8:
จากคำถามในชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท อชว.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปุจฉาในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ประสูติในชาติสุดท้ายนั้น
สหชาตกับพระโพธิสัตว์ มีกี่เหล่า อะไรบ้าง?

วิสัชชนา สหชาตกับพระโพธิสัตว์ ทั้ง ๗ เหล่านี้คือ
๑. พระเทวีพิมพา
๒. พระอานนท์
๓. ฉันนอำมาตย์
๔. กาฬุทายีอำมาตย์
๕. กัณฐกะอัศวราช
๖. มหาโพธิพฤกษ์
๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ปุจฉา อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดอปุญญาภิสังขารนั้นมีอำนาจแห่งปัจจัย ๑๕ ปัจจัยคืออะไรบ้าง

วิสัชชนา อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดอปุญญาภิสังขารนั้นมีอำนาจแห่งปัจจัย ๑๕ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย
๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย
๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. อาเสวนปัจจัย
๑๑. สัมปยุตตปัจจัย
๑๒. อัตถิปัจจัย
๑๓. นัตถิปัจจัย
๑๔. วิคตปัจจัย
๑๕. อวิคตปัจจัย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปุจฉา ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนามตามเหตุผล โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน จงอธิบาย

วิสัชชนา ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนามตามเหตุผล
โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน

ในการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นไปของบรรดาสิ่งที่
ไม่มีชีวิตในโลกนี้ปรากฏขึ้น ก็โดยอาศัยมีเหตุผลเกี่ยวเนื่องกันโดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐาน
นั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้สัตว์ทั้งหลายได้มีความรู้ความเข้าใจในเหตุผลในความเป็นอยู่ของตัวเองว่า
รูปนามที่สมมติกันว่า เรา เขา ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สร้างขึ้น มีแต่เหตุกับผลเกี่ยวเนื่องกัน
ตามสภาวะเท่านั้น ไม่มีตัวตน เรา เขา อย่างใดเลย ความรู้ความเข้าใจในรูปนามตามเหตุผลเช่นนี้
เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำให้ผู้รู้นั้นได้พ้นจากวัฏฏทุกข์ทั้งปวง เพราะสามารถละสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา
พร้อมทั้ง สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ และนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ เสียได้ตามสมควรแก่
ความรู้ของตน

กล่าวคือ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนการฟัง ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา ย่อมสามารถ
ละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย ตทังคปหาน คือละได้ชั่วขณะหนึ่งๆ

ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการนึกคิดพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเอง ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา
นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย วิกขัมภนปหาน คือข่ม ระงับ
ไว้ได้เป็นเวลานานๆ

และความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนาตามสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา ที่เรียกว่า
ภาวนามยปัญญา นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย
สมุจเฉทปหาน คือ ละได้โดยเด็ดขาด

ถ้าจะแสดงเปรียบเทียบความรู้ในรูปนามตามเหตุผลดังกล่าวแล้วนั้น สุตมยปัญญา ก็ได้แก่
ปัญญาของผู้ที่มีความรู้ในปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐาน โดยอาศํยการศึกษาเล่าเรียน หรือ การฟัง

จินตามยปัญญา เมื่อว่าโดยทางโลกแล้ว ได้แก่ ปัญญาของผู้คิดค้นคว้าสร้างวัตถุสิ่งของต่างๆ ขึ้น
เช่น สร้างเครื่องบิน วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น เมื่อว่าโดยทางธรรมแล้ว ได้แก่ ปัญญาของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสุตยมยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระอริยสาวกทั้งหลาย

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยจินตามยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ
พระปัจเจกพุทธเจ้า

ความรู้ความเข้าใจในรูปนามตามเหตุผล ที่เป็นสุตมัย จินตามัย และ ภาวนามัย ทั้ง ๓ เหล่านี้
ถ้าสงเคราะห์เข้าในวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมได้ ๒ อย่าง คือ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ และ
๒. ปัจจยปริคคหญาณ
แล้วถ้าสงเคราะห์เข้าในวิสุทธิแล้วก็ได้วิสุทธิ ๒ คือ
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ และ
๒. กังขาวิตรณวิสุทธิ

ผู้ที่มีความเข้าใจดี ในปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐานแล้วนั้น ก็ย่อมได้เข้าถึงปัจจยปริคคหญาณ อันเป็น
กังขาวิตรณวิสุทธิโดยตรง สำหรับการเข้าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นทิฏฐิวิสุทธินั้น ก็เพราะผู้ที่รู้
ในปฏิจจสมุปบาท และ ปัฏฐานนั้น ก็ต้องรู้ดีในเรื่องรูปนามอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ นามรูปปริจเฉทญาณ อัน
เป็นทิฏฐิวิสุทธิจึงสงเคราะห์สำเร็จไปด้วย

ตามที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ปฏิบัติจนได้สำเร็จเป็นพระอริยะพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้นั้น
ที่จะไม่รู้ถึงความเป็นไปของรูปนามตามปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัฏฐาน โดยภาวนามัยนั้นย่อมไม่มีเลย
แต่ผู้ที่รู้ทั้ง ๒ นัยนั้น มีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลาย นับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้น จนถึง พระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมรู้ความ
เป็นไปของรูปนามโดยภาวนามัย ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทนัยเดียว หมายความว่าผู้ปฏิบัติเมื่อเข้าถึง
ปัจจยปริคคหญาณ เป็นต้นจนถึง อนุโลมญาณนั้น ย่อมรู้ความเป็นไปของรูปนามที่เป็นเหตุเป็นผล
เนื่องกันตามปฏิจจสมุปบาทด้วยกันทั้งสิ้น แต่ที่รู้กว้างขวางสามารถแสดงให้ผู้อื่นฟังได้โดยละเอียดนั้น
ต้องอาศัยมีหลักปริยัติ ถ้าขาดหลักปริยัติเสียแล้ว แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถแสดงความ
เป็นไปของสัตว์ทั้งหลายตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดได้

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2013, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุค่ะท่านพุทธฏีกา

:b51: ปุจฉา ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่จะเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาได้นั้น ต้องเป็นไปด้วยอำนาจของทาน ศีล ภาวนา
อันเป็นมหากุศลที่สัตว์ทั้งหลายได้สร้างสมได้แล้วในชาติก่อนๆ แต่ในที่นี้ทำไมจึงกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายที่
เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดานั้นเนื่องมาจากกามตัณหาเล่า

:b51: วิสัชชนา ใช่ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาได้นั้น ย่อมเกิดมาจากมหากุศลด้วยกันทั้งสิ้น
แต่ทว่ามหากุศลที่นำให้สัตว์เกิดเป็นมนุษย์และเทวดานี้ ยังอยู่ในจำพวก ๓๑ ภูมิ ที่เรียกว่าสังสารวัฏภูมิ
๓๑ ภูมิ ภูมิหรือสังสารวัฏนี้ ท่านจัดเข้าในทุกขสัจจะ

ฉะนั้น ปวงหมู่สัตว์ที่เกิดขึ้นแล้วในบรรดาภูมิใดภูมิหนึ่งใน ๓๑ ภูมินี้จะพ้นไปจากทุกขสัจจะนั้นไม่มีเลย
ถึงแม้มนุษย์และเทวดาจะเกิดมาจากมหากุศลก็จริงแต่ก็ยังอยู่ในพวกทุกขสัจจะ คือมีความเกิดดับ
หรือเกิดแก่เจ็บตายเป็นต้น

ธรรมดาทุกขสัจจะนั้น จะมีขึ้นเองโดยที่ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกขสัจจะปรากฏขึ้นได้
ก็ต้องเนื่องมาจากรากฐาน คือ สมุทยสัจจะ สมุทยสัจจะที่เป็นมูลรากของทุกขสัจจะที่เป็นมนุษย์เทวดา
นี้ได้แก่ กามตัณหา นั่นแหละ ฉะนั้น จึงได้มีวจนัตถะว่า

กามสหจริตา สุคติ กามสุคติ
แปลว่า สุคติภูมิ คือ ภูมิที่เกิดพร้อมด้วยกามตัณหา


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปุจฉา ให้อธิบายเชิงวิเคราะ์ห์ เรื่องที่เกี่ยวกับวิปัสสนา พอให้ได้เนื้อหาสาระ

วิสัชชนา วิปัสสนา แปลว่า ปัญญาที่เห็นแจ้งเป็นพิเศษหมายความว่า ผู้ที่สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนา
-ต้องมีความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาพอสมควร กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติ
-ต้องมีสติระลึกอยู่ในอารมณ์ของวิปัสนา*ซึ่งได้แก่ ขันธ์๕ อายตนะ๑๒ เป็นต้น
-ต้องมีสัมปชัญญะคอยรู้ตัวอยู่ ทุกๆ อิริยาบถน้อย และ อริยาบถใหญ่ และ
-ต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติ เป็นไปติดต่อกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน

ส่วนอารมณ์ คือ ขันธ์๕ อายตนะ๑๒ เป็นต้นนั้น ต้องพิจารณาให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
ในขณะที่อารมณ์เหล่านี้ มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ
ก็กำหนดพิจารณาจนให้เห็นชัดว่า เป็นแต่เพียงนามธรรม รูปธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์
เป็นวัตถุสิ่งของเรื่องราวต่างๆ อันเป็นบัญญัติ

แล้วก็พิจารณาต่อไปถึงความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของนามรูปเหล่านี้
จนเห็นเป็น อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ หรืออนัตตลักษณะ การพิจารณาเห็นเช่นนี้แหละ
เรียกว่า ปัญญาที่เห็นแจ้งเป็นพิเศษ จัดเป็นวิปัสสนาญาณต่างๆ มีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น
ก็จะเกิดขึ้นดำเนินไปตามวิถีของวิปัสสนา

ผลสุดท้าย ก็จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

:b8: :b8: :b8:
:b42: จากเอกสารเฉลยปัญหา อชว.
(*เพิ่มเติมจากผู้ทำกระทู้ค่ะ...วิปัสสนาภูมิ๖ คือ
ขันธ์๕ .......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม
อายตนะ๑๒ .......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม
ธาตุ๑๘ .......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม
อินทรีย์๒๒.......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม
สัจจะ๔ .......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม
และปฏิจจสมุปบาท๑๒ .......ย่อลงแล้วเหลือ รูป นาม

เมื่อเห็นการเกิดดับแล้ว ต้องพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ต่อ หรือบางสำนวนกล่าวว่า
ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ นั่นเองค่ะ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2013, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปุจฉา ความแตกต่างกันระหว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ และ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

วิสัชชนา
- อนิจจัง และทุกขัง ทั้ง ๒ อย่างนี้เหมือนกัน ได้แก่ สังขตธรรม คือ รูปนามขันธ์๕
ที่เป็นปรมัตถ์อย่างเดียว

- ส่วนอนัตตานั้น ต่างจากอนิจจัง และทุกขัง ได้แก่ สังขตธรรม และ อสังขตธรรม คือ รูปนามขันธ์๕
นิพพาน และ บัญญัติ ซึ่งเป็นไปในธรรมทั้งหมด

ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา


ส่วนคำว่า อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ นั้นได้แก่ อาการบัญญัติ
อาการบัญญัติ ก็คือ ความเป็นไปแห่งรูปนามขันธ์๕ นิพพาน บัญญัติ หาใช่เป็นตัวสภาวะปรมัตถ์ และ
สัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ แต่ประการใดไม่

ฉะนั้นอาการบัญญัติของรูปนามขันธ์๕ ก็ได้แก่ อาการที่ดับไปสิ้นไป นั้นเอง
อาการบัญญัติของนิพพาน ก็ได้แก่ อาการที่ไม่มีการเกิดดับ มีแต่ความสงบจากกิเลสขันธ์๕ ทั้งปวง
อาการบัญญัติของสัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ก็ได้แก่ อาการที่ไม่มีการเกิดดับ

ส่วนอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนานั้น เป็นผู้รู้อารมณ์กรรมฐานคืออาการบัญญัติ
หมายความว่า เป็นผู้พิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์และโดยความเป็น
อนัตตา

อาการบัญญัติของรูปนามขันธ์๕ เป็นอารัมมณธรรม จัดเป็นอารมณ์ของอนุปัสสนาทั้ง ๓ ได้
สำหรับอาการบัญญัติของนิพพานและสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ เป็นอารัมมณธรรมได้เหมือนกัน แต่ไม่
จัดเป็นอารมณ์ของอนุปัสสนาทั้ง ๓ หรือของวิปัสสนาญาณ๑๐ แต่ประการใด

:b8: :b8: :b8:
:b42: จากเอกสารเฉลยปัญหา อชว.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
รูปภาพ


ปุจฉา คำว่า ลกฺขณํ นาม เป็นต้น แปลว่า ธรรมดาไตรลักษณ์นั้น มีสภาพเป็นบัญญัติ หาใช่เรียกว่า
เป็นกามธรรม มหัคคตธรรม โลกุตตรธรรมแต่ประการใดไม่ ดังนี้ ไตรลักษณ์ที่กล่าวถึงนี้ เป็นไตรลักษณ์แท้
หรือเทียม ที่ตอบเช่นนั้นอาศัยอะไรเป็นหลัก

วิสัชชนา ไตรลักษณ์ที่กล่าวถึงนี้เป็นไตรลักษณ์เทียม คือ ไตรลักษณ์ที่ผู้ปฏิบัติบริกรรมพิจารณาเอาเองโดย
เฉพาะซึ่งไม่มีการการกำหนดรู้รูปนามที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า เป็นไตรลักษณ์ที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ จัดเป็น
อวิชชมานบัญญัติ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาไม่ได้

ที่ตอบเช่นนี้ อาศัยคำอธิบายของท่านมูลฎีกาจารย์เป็นหลัก ซึ่งท่านอธิบายว่า คำว่า ลกฺขณํ นาม เป็นต้น
ที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ คือ ไตรลักษณ์ที่พระโยคีพิจารณาเอาโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกำหนด
รู้รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นมีสภาพเป็นบัญญัติ ไม่มีปรมัตถ์ปรากฏ
เหตุที่พิจารณาไตรลักษณ์เอาโดยเฉพาะไม่สภาวปรมัตถ์ปรากฏนั้น จึงกล่าวไม่ได้เลยว่า เป็นกามธรรม เป็นต้น
แต่อย่างใด

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

ปุจฉา การนอนเนื่องของอนุสัยกิเลสมีกี่ประการ? คืออะไรบ้าง?
และอนุสัยกิเลสเหล่านั้นประหาณได้ด้วยญาณอะไร? ให้แสดงโดยสังเขป

วิสัชชนา การนอนเนื่องของอนุสัยกิเลสนี้มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูปนาม ชื่อว่า สันตานานุสัยกิเลส
๒. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็น ปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อาสตรูป ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส

ในอนุสัยกิเลส ๒ ประการเหล่านี้
-มรรคญาณทั้ง๔ ทำการประหาณสันตานานุสัยกิเลส
-วิปัสสนาญาณที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ ทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลส ฉะนั้น อนุสัยกิเลสที่
อนิจจานุปัสสนา เป็นต้นได้ประหาณไปนั้น เป็นอารัมมณานุสัยกิเลส

ส่วนสันตานานุสัยกิเลสนั้นเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ตราบใด สันตานานุสัยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ
โดยอาการที่ยังมิได้ถูกประหาณลงเลยแม้แต่เล็กน้อยอยู่ตราบนั้น สำหรับอารัมมณานุสัยกิเลสนั้น
เมื่อวิปัสสนาญาณของพระโยคีได้เข้าถึงขั้นภังคญาณ อารัมมณานุสัยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่
ญาณนี้เรื่อยๆ ไป

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

ปุจฉา ในญาณ๑๖ (โสฬสญาณ)นั้น ญาณไหน มีอะไรเป็นอารมณ์?

วิสัชชนา ในญาณ๑๖ นั้น

:b49: ญาณที่๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ มีนาม รูป เป็นอารมณ์
:b49: ญาณที่๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณ มีเหตุปัจจัยของนามรูปเป็นอารมณ์
:b49: ญาณที่๓ คือ สัมมสนญาณ เป็นต้นจนถึงญาณที่๑๒ คือ อนุโลมญาณ
รวม ๑๐ ญาณนี้มีไตรลักษณ์ หรือ ลักษณะ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์
:b49: ญาณที่๑๓, ๑๔, ๑๕ คือ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ รวม ๓ ญาณนี้มีนิพพาน หรือ
สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นอารมณ์
:b49: ญาณที่๑๖ คือ ปัจจเวกขณญาณมี มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ประหาณแล้ว
และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ เป็นอารมณ์

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

ปุจฉา อนุปัสสนา วิโมกข์ วิโมกขมุข แต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไร คืออะไรบ้าง แสดงความหมายด้วย

วิสัชชนา
:b47: อนุปัสสนา มี ๓ อย่าง คือ
อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง
ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์
อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา

:b49: วิโมกข์ มี ๓ อย่าง คือ
สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ
อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยความไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา

:b50: วิโมกขมุข มี ๓ อย่าง คือ
สุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่า เป็นของสูญ
อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
:b8: :b8: :b8:
:b42: จากเอกสารเฉลยปัญหา อชว.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:57 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2024, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร