วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเนื่องจากกระทู้

viewtopic.php?f=1&t=39497

ก็จะมาทำความเข้าใจในส่วนปฏิจจสมุปบาทต่อที่นี่
กับ ข้อมูลที่ได้มาใหม่ จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

:b8: :b8: :b8:

อ้างคำพูด:
๖. ปัจจยาการวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติ
เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
[๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย


พอดีเมื่อวานนั่งศึกษา ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น่ะ
และเห็น

อ้างคำพูด:

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อวิชชาภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลใด;
ในกาลนั้น ภิกษุนั้น, เพราะความสำรอกออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้น
แห่งวิชชา, ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นบุญ; ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขาร
อันมิใช่บุญ; ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นอเนญชา;
เมื่อไม่ปรุงแต่งอยู่,
เมื่อไม่ก่อพร้อมอย่างยิ่งอยู่, เธอย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆ ในโลก; เมื่อไม่ถือมั่นอยู่,
เธอย่อม ไม่สดุ้งหวาดเสียว; เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่, เธอย่อม ปรินิพพาน
เฉพาะตน นั่นเทียว. เธอย่อมรู้ประจักษ์ว่า "ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.
ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า "เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่
สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว" ดังนี้. ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์
ว่า "เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว" ดังนี้.
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า “เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเเราไม่สยบมัวเมาแล้ว
อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว” ดังนี้. ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก
กิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส
เครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส
เครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า "เราเสวย
เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ" ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ
ย่อมรู้ประจักษ์ว่า "เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้
ประจักษ์ว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของ
เย็น ในอัตตภาพนี้เอง; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่; จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต
เพราะการแตกทำลายแห่งกาย".


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงระงับหายไป ในที่นั้นเอง กระเบื้องทั้งหลาย
ก็เหลืออยู่, นี้ฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กล่าวคือ เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า "เราเสวยเวทนาอันมี
กายเป็นที่สุดรอบ" ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์
ว่า "เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า "เวทนา
ทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพ
นี้เอง; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่; จนกระทั่งถึงที่สุดรองแห่งชีวิต เพราะการแตก
ทำลายแห่งกาย" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร; คือ
ภิกษุผู้ขีณาสพ พึงปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร, หรือว่า พึงปรุงแต่งอปุญญาภิสังขาร,
หรือว่า ถึงปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร, บ้างหรือหนอ?
"ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า!"


เมื่อสังขารทั้งหลาย ไม่มี, เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง,
วิญญาณพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
"ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า!"
.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 16:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนาสูตร : สังขารในปฏิจสมุปบาท

เจตนาสูตรที่ ๑

[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
มีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
และอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ
ภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสก-
*ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่
เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่
ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

..............................

เจตนาสูตรที่ ๒

[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็น
อารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง
วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูป
จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี
ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ
ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
แห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่
ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ
ไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง
มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

..............................

เจตนาสูตรที่ ๓

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมี
ตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติ
และอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จง
ใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง
วิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อ
มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มี
คติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๗๘๑ - ๑๘๑๑. หน้าที่ ๗๓ - ๗๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=16&i=149


ก๊อบมาจาก

http://agaligohome.com/index.php?topic= ... 8#msg13518

ขอบคุณจ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมลบออกซะเกือบหมดเลยหล่ะครับ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ทำไมลบออกซะเกือบหมดเลยหล่ะครับ

smiley


มันยาวมากหง่ะ
และบางเรื่องอ่านแล้ว ก็ดูไปเจอนัยที่สะดุดตา
และมันก็ดูจะยังยากเกิน ซึ่งถ้าใครตาไปจ๊ะเอ๋
กับจุดนั้นเข้า และเป็นคำถามขึ้นมา
เอกอนก็ตอบไม่ถนัด เช่นว่าท่อนนี้น่ะ

เอกอนลบเพราะอ่านมาเจอท่อนนี้ล่ะ
เพราะถ้ามีประเด็นคำถามขึ้นมา
เอกอนก็ไม่พร้อมที่จะอธิบายสิ่งนี้ได้ หง่ะ :b12:

อ้างคำพูด:
ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป
ก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไป
ก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนก็มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่เป็นไปก็มี ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด
เนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้ คือ การจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้ คือ การจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้ คือ การจุติจาก
กายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มิใช่นี้
จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ด้วยอัตภาพนั้น ฯ
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้
สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่าง
นี้ อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น
แล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์
ไม่ได้ แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี
และถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานา-
*สัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่าง
นี้ ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึง
ความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งในเนวสัญญานา-
*สัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลก
นี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี
ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ


เป็นพระสูตรที่เอกอนเองก็เพิ่งเคยเจอ

อ่านแล้วยังไม่เข้าใจเลย

และก็มีหลายท่อนพระสูตรก็กล่าวถึง นิพพาน เช่น

อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ
อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 28 ก.ย. 2011, 21:13, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เลยมาลบออกก่อน แล้วจะทำ link ไป
แล้วค่อยไปอ่านไปที่ละบท น่ะ
และที่สำคัญ เอกอนยังไม่ค่อยถนัดกับศัพย์หลาย ๆ คำในนั้น
ถ้าท่าน FLAME สนใจลองไปอ่านดู

http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg13527

:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สา. ดูกรอาวุโส ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้วไซร้
ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดได้ด้วย
จรณะแล้วไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจัก
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้นอกจากวิชชาและจรณะไซร้
ปุถุชนก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะปุถุชนเว้นจากวิชชาและจรณะ ดูกร
อาวุโส บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง บุคคลผู้มีจรณะ
สมบูรณ์จึงรู้จึงเห็นตามความเป็นจริง ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ


อย่างท่อนนี้ จรณะ แปลว่าอะไร s006 s006
พอดีติดที่คำ ๆ นี้ ก็เลย เอาออกไปก่อนดีกว่า อิอิ

:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จรณะหมายถึง ความประพฤติ ในที่นี้หมายถึง เสขปฏิปทา

" ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง

แยกย่อยได้ ๑๕ อย่าง ท่านนิยม เรียก จรณะ ๑๕ ครับ

รายละเอียดอยู่ใน เสขปฏิปทาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =480&Z=659

ชื่อว่า จรณะ [อรรถกถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโณ]
http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=12211


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ในความเพียรและความมุ่งมั่น ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 23:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจยาการแม่เพียงอาการเดียว
ก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (อิทิปปัจจยตา)๑

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็
ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา


(ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้
สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้
กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน
เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯ ล ฯ …๑
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ…
…..ฯลฯ …..
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณ หาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …
ฯลฯ …
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อม มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย
ย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่
แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่
เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง
ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงดู: เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใดในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็นอนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน
เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 12:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมี
และความไม่มีของสิ่งทั้งปวง๑



ชาณุสโสณิพรหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ?"
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า "ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วย
ทิฏฐิว่า 'สิ่งทั้งปวง มีอยู่' ดังนี้ : นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง)๒ ที่หนึ่ง".
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่หรือ?"
ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่"
ดังนี้ : นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง.
ดูก่อนพรหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา
ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
ทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญ าณ ; ..ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิด
ขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับ
แห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญ ญ าณ ; ...ฯลฯ
ฯลฯ...; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
โทมสัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย
อาการอย่างนี้", ดังนี้.
พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นผู้รับนับถือ พระพุทธ-
ศาสนา จนตลอดชีวิต, ดังนี้ แล.


จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจสมุปบาท๑

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พราหมณ์คนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้
ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ผู้นั้นกระทำ ; ผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนั้นหรือ
พระเจ้าข้า?"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วย
ทิฏฐิว่า 'ผู้นั้นกระทำ; ผู้นั้นเสวย (ผล)' ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง)
ที่หนึ่ง".
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ผู้อื่นกระทำ ; ผู้อื่นเสวย (ผล) หรือ
พระเจ้าข้า?"
ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "ผู้อื่นกระทำ; ผู้อื่น
เสวย (ผล)" ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง) ที่สอง.
ดูก่อนพราหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา
ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
ทั้งหลาย; เพ ราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญ าณ ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิด
ขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ความอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับ
แห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ
…..ฯลฯ...; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย
อาการอย่างนี้", ดังนี้.
พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้รับนับถือ
พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต, ดังนี้ แล.


จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจสมุปบาท๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของ
บุคคลเหล่าอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำ ให้เกิดความรู้สึกขึ้น
(อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการ
อย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญ าณ ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพ ราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิด
ขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นทั่นเทียว, จึงมีความดับ
แห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ...
ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย
อาการอย่างนี้", ดังนี้แล.

จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 12:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง
เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
(เพื่อขจัดสัสสตทิฏฐิเป็นต้น)๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย, หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย. อาหาร ๔ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ (๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง, (๒) ผัสสะ,
(๓) มโนสัญเจตนา, (๔) วิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย, หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์
ทั้งหลาย.

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน
ซึ่งวิญญาณาหาร พระเจ้าข้า?"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย :
เราย่อมไม่กล่าวว่า 'บุคคลย่อมกลืนกิน' ดังนี้ : ถ้าเราได้กล่าวว่า 'บุคคลย่อมกลืนกิน'
ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า 'ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่ง
วิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า?' ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้
กล่าวอยางนั้นเช่นนี้ว่า 'ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ'
ดังนี้แล้ว, นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลย
ในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า 'วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ต่อไป . เมื่อภูตะ (ความ เป็นภ พ ) นั้น มีอยู่, สฬ ายต นะย่อม มี; เพ ราะมี
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส)', ดังนี้".

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคล
ย่อมสัมผัส" ดังนี้ : ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็น
ปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้. ก็เรามิได้
กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "ผัสสะมี เพราะมี
อะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความ
เป็นปัญหา. คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพ ราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึก
ต่ออารมณ์)", ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อม
รู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ : ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ นั่นแหละ
จึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"
ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา
ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมี
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความ
อยาก)", ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อม
อยาก" ดังนี้ : ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา
ในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าว
อย่างนั้น, ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็น
ปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)", ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อม
ยึดมั่น" ดังนี้ : ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา
ในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าว
อย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็น
ปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน; เพ ราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้; เพ ราะมีภ พ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณ ะ โสกะปริเทวะ-
ทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนผัคคุนา! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสา
ยตนะ (แดนเกิดแห่งสัมผัส) ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะ
มีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความ
ดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมี
ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ
แห่งชาติ; เพระมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ
อย่างนี้, ดังนี้ แล.

จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า
"ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่น ที่ก่อสุขและทุกข์"๑


ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน ติมพรุกขปริพพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
แล้วได้ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลทำ เองหรือ
พระเจ้าข้า?"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขุ!"

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้หรือ
พระเจ้าข้า?"

อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย
และบุคคลอื่นกระทำให้ด้วยหรือ พระเจ้าข้า?"

อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้
ก็เกิดขึ้นได้หรือ พระเจ้าข้า?"

อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ไม่มีหรือ พระเจ้าข้า?"

ดูก่อนติมพรุกขะ ! มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี, ที่แท้ สุขและทุกข์มีอยู่.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่รู้ไม่
เห็นสุขและทุกข์กระมัง?"

ดูก่อนติมพรุกขะ! เราจะไม่รู้ไม่เห็นสุขและสุกข์ ก็หามิได้; เราแลย่อมรู้
ย่อมเห็น ซึ่งสุขและทุกข์.


"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! พระองค์, เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า 'ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้,
ทรงตอบว่า 'อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!' ดังนี้; เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า
'ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้หรือ พระเจ้าข้า?'
ดังนี้, ทรงตอบว่า 'อย่ากล่าวอยางนั้นเลย ติมพรุกขะ!' ดังนี้; เมื่อข้าพระองค์ทูล
ถามว่า 'ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย และ
บุคคลอื่นกระทำให้ด้วยหรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้, ทรงตอบว่า 'อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
ติมพรุกขะ!' ดังนี้; เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า 'ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์
เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้หรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้, ทรงตอบ
ว่า 'อย่ากลัวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!'ดังนี้; เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า 'ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ! สุขและทุกข์ไม่มีหรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้, ทรงตอบว่า 'ดูก่อนติมพรุกขะ!
มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี, ที่แท้สุขและทุกข์มีอยู่" ดังนี้; ครั้นข้าพระองค์ทูลถามว่า
'ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์
กระมัง?' ดังนี้, ก็ยังทรงตอบว่า 'ดูก่อนติมพรุกขะ! เราจะไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์
ก็หามิได้; เราแล ย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่งสุขและทุกข์' ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสบอกซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) สุขและทุกข์;
และจงทรงแสดงซึ่ง(เรื่องราวแห่ง) สุขและทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด".

ดูก่อนติมพรุกขะ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "เวทนา
ก็อันนั้น บุคคลผู้เสวยเวทนาก็คนนั้น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้ออย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า
"สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง" ดังนี้.

ดูก่อนติมพรุกขะ! เมื่อบุคคลถูกเวทนาสะกิดให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า
"เวทนาก็อันอื่น บุคคลผู้เสวยเวทนาก็คนอื่น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า
"สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคลลอื่นกระทำให้" ดังนี้.


ดูก่อนติมพรุกขะ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา
ส่วนสุดทั้งสองนั้น
คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
ทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญ าณ ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น
ครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความ
ดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ
...ฯลฯ...ฯลฯ...; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้".


ติมพรุกขปริพพาชกนั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้รับ
นับถือพระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต, ดังนี้ แล.

จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร