ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปฏิจจสมุปบาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=39698
หน้า 5 จากทั้งหมด 5

เจ้าของ:  eragon_joe [ 12 ต.ค. 2011, 15:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

การเข้าไปขบคิดธรรมที่เกินตัวในลักษณะนี้
เอกอนก็พยายามเก็บงำซ่อนไว้
เก็บกดไว้ในใจอย่างมิดชิด ยิ่งกว่า ผู้ปวดตดแต่ต้องอันตดไว้ เสียอีก :b9:
เพราะเกรงว่ามันจะเหมือน หมาเห่าเครื่องบิน :b3: :b3:
เหมือน นางทาสที่ฝันไปถึงเจ้าชาย :b3: :b3:

:b18: :b18: :b18:

แต่ว่า สายตาเอกอน มันจับจ้องอยู่ที่เงื่อนนี้มาตั้งแต่เริ่มต้นเลย
เพราะดันเห็นสิ่งนี้ ในนิมิต
ที่อยู่ ๆ มันก็ปรากฎ และมันก็ติดตา
และยังให้เกิดอาการข้องจิตอย่างแรง
ที่ ทำไมคนไม่เคยปฏิบัติธรรมอย่างเอกอนจึงมาเห็นนิมิตในลักษณะนั้น

ยังคิดในใจ เห็นผีซะยังดีกว่า เพราะอย่างน้อยเราก็
จะได้ทำตัวถูก คือ กลัว
แต่เจออีท่านี้ มันเป็นการเห็นที่สร้างอารมณ์ ช้ำเลือดช้ำหนอง
เหมือนคนกลัดหนองอยู่ในอก :b2: :b2: :b2:
ไม่รู้ว่าจะวางใจกับมันอย่างไร
เหมือน คนหัวล้านได้หวี :b9: :b9:

นิมิตที่ชี้ไปสู่ "อาลัย" อันเป็นปัจจัยที่คงค้าง
ทำให้เกิดการรับรู้ และเคลื่อนจากสภาวะ .... :b21:

เอกอนออกเดินทางมาเพราะ การเข้าไปเห็น
และ การสิ้นสุดของการค้นหา คือ
การทำให้เคียร์ซึ่ง "อาลัย"


:b1: :b12: :b12:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 12 ต.ค. 2011, 16:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

555
จริง ๆ นะ
ตอนนั้นพิจารณาเห็น หัวล้านได้หวี จริง ๆ
เพราะ เป็นภูมิปัญญาที่ง่ายที่สุด

และไอ้หัวล้าน ก็คันก้น (โลภะ โทสะ โมหะ)
มันก็คิดจะเอาหวีไปเกาก้น แก้คัน
ยิ่งคัน ยิ่งเกา ยิ่งเกา ยิ่งมัน :b9: :b9:
เกาไป เกามา หวีหัก :b9: :b9:

ปรากฎในกาลต่อมา หัวล้านได้ยาปลูกผม
ปรากฎ ผมขึ้น หัวไม่ล้านแล้ว
แต่พับผ่า หวีหักไปเสียแล้ว :b6: :b6:

:b18: :b18: :b18:

:b30:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 18 พ.ย. 2011, 22:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

ตอนนี้เข้าใจแล้วยังล่ะ onion

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 19 พ.ย. 2011, 13:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

เมื่อหลายวันก่อน....ได้ฟังเทศน์หลวงพ่อสงบ....

มีใจความตอนหนึ่ง..ว่า..

ปัญญาอบรมณ์สมาธิ..ทั้งหมด...มีผลเป็นสมถะ...ทั้งหมด...
วิปัสสนาไม่มี...


ร้องอ้อ....ใช้

นำไปแลกเปลี่ยนกับคนที่เขาพิจารณาปฏิจจฯ...เป็นนิจ

เขาก็ร้อง..อ้อ..ใช้

ปัญญา...ของพระพุทธเจ้า..ท่องเข้าไป ๆ ...ก็เป็นสมาธิ

นี้งั้ย...ตรงกับที่หลวงพ่อท่านว่า...เป็นสมถะทั้งหมด

แล้ว....ในสมาธิ...มันมีความรู้สึก..ว่า...

ไอ้ตรงที่รู้สึกว่า..นี้นะ...แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

บางคนรู้สึกดีที่...อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร...มันจะรู้ว่า...อ้อ..เกิดขึ้นได้อย่างไร

บางคนรู้สึกดีที่...วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร....มันจะรู้ว่า..อ้อ..เกิดขึ้นได้อย่างไร

บางคน..จะมารู้สึกได้ดีที่....ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

เป็นต้น

ที่เขาว่า..มันเป็นปัจจตัง....ก็อย่างนี้มั้ง

สมาธิทำให้เกิดปัญญาได้...คงเป็นอย่างนี้...แต่มันไม่ใช่ปัญญาที่ท่อง ๆ อย่างตอนแรก

ตอนนี้...ไม่สงสัย

ปัญญาที่เกิดโดยไม่มีสมาธิ...ไม่มีหรอก...ไม่มีเลย

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 19 พ.ย. 2011, 14:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

อาหารของอวิชชา
อาหารของวิชชาและวิมุตติ

Quote Tipitaka:
[size=85]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร

[ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๗๑๒ - ๒๗๘๑. หน้าที่ ๑๑๗ - ๑๑๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
/size]

เจ้าของ:  eragon_joe [ 19 พ.ย. 2011, 17:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

ถ้าคนจะต้องไปนรก นั่นก็เพราะคนนั่นเป็นสิ่งที่สมควรไป
ถ้าคนจะต้องไปสวรรค์ นั่นก็เพราะคนนั่นเป็นสิ่งที่สมควรไป

ปัญหาก็คือ คนไม่ได้รู้สึกอยากไป
เพราะคนนั่นไม่ได้อยากไปในที่ที่สมควรไป

การสะสมสังขาร ก็คือ การสะสมธาตุ
การสำรอกสังขาร ก็คือ การปลดปล่อยธาตุ
ธาตุประเภทเดียวกัน จะไหลไปกองรวมกัน
ไม่มีใคร คิดว่าจะหนีอะไร แล้วหนีได้
บัญชีหนังหมา มันติดตัวอย่างนี้


จำมาจากตอนที่ฝันไปว่า (มันนานมาแล้ว)
มีคนมาขอให้ไปรับบทยมบาล น่ะ
เขาบอกว่า ธาตุในกายเรามีความเป็นฉนวนกันความร้อนอยู่
ซึ่งจะทำให้เราอยู่ที่นั่นได้โดยไม่ร้อน

:b9: :b9:

แต่ฝันอีกที เขาขอให้เราเป็นบุรุษไปรษณีย์
ส่ง จม.ไปยังผู้หนึ่ง ซึ่งเป็น พญามารที่ตาบอดอยู่ในโลกันต์
ต้องส่งให้ถือมือเขาเท่านั้น เราจึงจะ รอด
ไม่เช่นนั้น เราจะถูกจับฉีกกินเป็นชิ้น ๆ
ความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสจะทำให้เรากลับกลายเป็น อสูรกาย
ไม่ได้เห็นแสงเดือนแสงตะวันอีกต่อไป จวบจนสิ้นกาล

:b9: :b9: :b9:

เหอะ เหอะ ช่างฝันไปได้.... :b14: :b14:

อาจารย์บอกว่า ในวันที่เราตายนั่นคือสิ่งที่เราต้องเผชิญหน้ากับมัน
ให้มีสติแล้ว แล้วตั้งจิตเหมือนกระโจนลงน้ำ
แล้วว่ายดิ่งเข้าสู่แกนกลางโลกอย่างไม่ต้องลืมหูลืมตา
แม้เจ็บปวดก็ห้ามพัก ห้ามหยุด ห้ามถอยเป็นอันขาด

:b14: :b14: :b14:
:b2: :b2: :b2:

ฝันนี้ กลายติดตามาตลอดชีวิต
เอกอนก็เลยไม่เคยเห็นนรกอยู่ในสายตา
ไม่เห็นสวรรค์ อยู่ในสายตา
และไม่เคยฝันถึงเรื่อง นิพพาน
และไม่สนใจว่าจะไขว่คว้าไปยังที่ใด
และไม่ว่าเอกอนจะปฏิบัติอย่างไร
ทำดี ทำบุญ ทำกุศล สักเท่าไรก็ตาม

แต่เมื่อถึงตอนตาย สิ่งที่มันติดตานี้ จะปรากฎ
และ เพราะเอกอนติดตาว่าตนเป็นดังแค่บุรุษไปรษณีย์
จึงไม่กลัวเลยที่จะต้องทำเช่นนั้น
กลับอยากจะทำ เต็มใจที่จะทำเสียอีก
รู้สึกแค่ว่า จะต้องทำหน้าที่ให้ถึงที่สุด
นำพา จม. ไปให้ถึงมือผู้รับให้ได้

:b16: :b14: :b14: :b16:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 19 พ.ย. 2011, 18:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

จริงๆ :b7: ไม่อยากจะพุดมาก เดี๋ยวพวกจะเสียกำลังใจในการฝึกสัมมาสมาธิสมัมาสติ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 พ.ย. 2011, 11:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

:b9: :b9: :b9:

เจ้าของ:  เฉลิมศักดิ์1 [ 07 พ.ย. 2012, 11:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


อกุศลจิต ดวงที่ ๑
ปัจจยจตุกกะ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


==============================================

จากอรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ (พระไตรปิฏก ฉบับธรรมทาน (CD))

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์
พระศาสดาผู้มีพระญาณอันไม่มีอะไรขัดขวางในธรรมทั้งปวง ครั้น
ทรงแสดงปัจจยาการอันปราศจากขอดปม และไม่ยุ่งยากในสุตตันตภาชนีย์ ด้วย
อำนาจจิตต่าง ๆ ปานดังทรงคลี่ผืนมหาปฐพี และปานดังทรงขยายนภากาศ
ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพราะปัจจยาการนี้จะมีในจิตต่าง ๆ กัน อย่างเดียว
เท่านั้นก็หาไม่ ย่อมมีแม้ในจิตดวงเดียวทีเดียว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจยา-
การซึ่งเกิดในขณะจิตดวงเดียวกัน โดยประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจอภิธรรม-
ภาชนีย์จึงทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนโดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขาโร
(สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้. ก็มาติกาที่ทรงตั้งไว้ อย่างนี้ว่า
อวิชฺชาทีหิ มูเลหิ นว มูลปทา นว
นยา ตตฺถ จตุกฺกานิ วารเภทญฺจ ทีปเย
บัณฑิตพึงแสดงหมวด ๔ (แห่ง
ปัจจัย) และประเภทแห่งวาระในนัยทั้ง ๙
ซึ่งมีบทแห่งมูล ๙ ด้วยมูลทั้งหลายมีอวิชชา
เป็นต้น.
อธิบายนัยแห่งมาติกามีอวิชชาเป็นมูล
ในคาถานั้น มีการอธิบาย ดังต่อไปนี้ :-
จริงอยู่ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ มี ๙ นัย มีบทที่เป็นมูล ๙ บท เหล่านี้
คือ มีอวิชชาเป็นต้น ๑ มีสังขารเป็นต้น ๑ มีวิญญาณเป็นต้น ๑ มีนาม
เป็นต้น ๑ มีอายตนะที่ ๖ เป็นต้น ๑ มีผัสสะเป็นต้น ๑ มีเวทนาเป็นต้น ๑
มีตัณหาเป็นต้น ๑ มีอุปาทานเป็นต้น ๑ ด้วยบทที่เป็นมูล ๙ บท มีอวิชชา
เป็นต้น คือ โดยประเภทแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ ๖
ผัสสะ เวทนา ตัณหา และอุปาทาน.
บรรดานัยทั้ง ๙ เหล่านั้น นัยนี้ใดมีอวิชชาเป็นต้นก่อน ในนัยที่มี
อวิชชาเป็นต้นนั้นมีจตุกะ ๔ คือ
ปัจจยจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยปัจจัยธรรม
เหตุจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยเหตุธรรม
สัมปยุตตจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยสัมปยุตธรรม
อัญญมัญญจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยอัญญมัญญธรรม.
แม้นัยที่เหลือก็เหมือนในนัยมีอวิชชานี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในแต่ละนัย
จึงรวมเป็น ๓๖ จตุกะ ด้วยอำนาจแห่งจตุกะ ๔. บรรดาจตุกะเหล่านั้น เพราะ
รวมวาระอย่างละ ๔ ด้วยจตุกะแต่ละจตุกะ จึงเป็นวาระละ ๑๖ ในแต่ละนัย
ด้วยอำนาจแห่งจตุกะทั้ง ๔ ดังนั้น พึงทราบว่าเป็น ๑๔๔ วาระแล.
ว่าด้วยปัจจยจตุกะ
บรรดาจตุกะทั้ง ๔ นั้น ปัจจยจตุกะในนัยมีอวิชชาเป็นมูลก่อนกว่านัย
ทั้งหมดนี้ใด ในปัจจยจตุกะนั้น วาระที่หนึ่ง (บาลีข้อ ๒๗๔) ชื่อว่า ทวาท-
สังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบด้วยองค์สองไม่บริบูรณ์
เพราะตรัสนามไว้ในที่แห่งนามรูป และตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ.
วาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๕) ชื่อว่า เอกาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วย
องค์ ๑๑) ซึ่งประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะตรัสนามอย่างเดียวในที่
แห่งนามรูป และไม่ตรัสองค์อะไร ๆ ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ ๓ (บาลี
ข้อ ๒๗๖) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบ
ด้วยองค์หนึ่งบริบูรณ์ เพราะตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ แต่วาระ
ที่ ๔ มีองค์ ๑๒ บริบูรณ์แล้วโดยแท้.
ในข้อนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แม้วาระที่ ๓ นี้ก็ประกอบด้วยองค์ที่ไม่
บริบูรณ์เหมือนกัน เพราะตรัสว่า ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย) ดังนี้. ข้อนั้นขอเฉลยว่า มิใช่เป็นดังนั้น
เพราะอายตนะที่ ๖ นั้นมิใช่เป็นองค์ ความจริง ผัสสะอย่างเดียวเป็นองค์ในวาระ
ที่ ๓ นี้ มิใช่อายตนะที่ ๖ เป็นองค์ เพราะฉะนั้นวาระที่ ๓ นี้ มิใช่ประกอบ
ด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะอายตนะที่ ๖ นั้น มิใช่เป็นองค์ฉะนี้แล. อนึ่ง
ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า วาระที่หนึ่ง พระองค์ทรงถือเอา ด้วยอรรถว่าทรง
รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าเป็นความต่างกัน
แห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ วาระที่ ๔
ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วย
อรรถว่าการรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าความ
ต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยสามารถแห่งสัตว์มีอายตนะไม่
บริบูรณ์ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์. อนึ่ง
วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว่ารวบรวมองค์ทั้งหมดนั่นแหละ วาระที่ ๒
ทรงถือเอาด้วยอำนาจมหานิทานสูตร วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจรูปภพ
วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจกามภพ.
บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น วาระที่หนึ่ง ตรัสว่า สัพพสังคาหิกะ
(รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด) เพราะในวาระทั้ง ๓ มีวาระที่ ๒ เป็นต้นเหล่านี้
จะไม่รวมเข้าไปในที่ไหน ๆ มิได้มี ความต่างกันแห่งวาระที่เหลือจักแจ่มแจ้ง
ข้างหน้า. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวาระที่หนึ่งนั้น พึงทราบว่า
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่
ตรัสโดยประการอื่นและแม้องค์ปฏิจจสมุป-
บาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจ-
สมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุป-
บาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนด
องค์ทั้งหมดนั้นแล.
ในคาถานั้นมีนัย ดังต่อไปนี้ :-
ว่าโดยความไม่ต่างกันก่อน ถามว่า บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า สํขารา (สังขารทั้งหลาย) ดังนี้ เหมือนในสุตตัน-
ตภาชนีย์ แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร) ดังนี้นั้น เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะสังขารประกอบด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว จริงอยู่ ใน
สุตตันตภาชนีย์นั้น ทรงจำแนกปัจจยาการอันเป็นไปในขณะแห่งจิตต่าง ๆ กัน
ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการที่เป็นไปในขณะเดียวกัน ก็ในขณะ
แห่งจิตดวงเดียวกัน ย่อมไม่มีเจตนา (คือสังขาร) มาก จึงไม่ตรัสว่า สํขารา
(สังขารทั้งหลาย) แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร คือ เจตนา ) ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาวาระเหล่านี้ ในวาระที่หนึ่งทรงทิ้งรูปเสีย ตรัสว่า
วิญฺญาณปจฺจยา นามํ (นามเท่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรง
รวบรวมธรรมที่นับเนื่องในขณะแห่งจิตดวงเดียว และเพราะเป็นธรรมสาธา-
รณะไปในที่ทุกสถาน จริงอยู่ นามธรรมนั้นนับเนื่องในขณะจิตดวงเดียวกัน
และเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทั้งหมด ย่อมไม่เป็นไปในฐานะแห่งความเป็นไป
ของวิญญาณ ในที่ไหน ๆ หามิได้ ก็เพราะวาระที่หนึ่งนี้ ผัสสะก็มีหนึ่งเท่านั้น
นับเนื่องเข้าในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อทรงถือเอาอายตนะที่เป็น
ปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะนั้น จึงตรัส มนายตนะดวงเดียวเท่านั้น ว่า นามปจฺ-
จยา ฉฏฺฐายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ไว้ในฐานะ
แห่งสฬายตนะ เพราะว่ามนายตนะนั้น เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะที่เป็น
อกุศลดวงหนึ่ง และมนายตนะนี้ ก็ตรัสไว้แม้ในข้อนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา
วิญฺญาณํ (วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งเหตุและผล และเพื่อครบองค์ จึงทรงถือเอาใน
ที่นี้อีก เพราะในสุตตันตภาชนีย์นั้น สังขารเป็นเหตุต่างกันแก่มนายตนะนี้
นามเป็นผลโดยไม่ต่างกัน แต่ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ นามเป็นเหตุโดยไม่ต่าง
กันแก่มนายตนะนี้ ผัสสะเป็นผลโดยต่างกันฉะนี้แล.
ส่วนธรรมทั้งหมดมี โสกะ เป็นต้น เพราะไม่เกิดในขณะแห่งจิต
ดวงเดียวกัน ไม่เป็นไปในฐานะแห่งจิตและในจิตทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่ทรง
ถือเอา แต่ชาติ ชรามรณะ แม้มีประมาณขณะแห่งจิตไม่ได้ ก็ทรงถือเอาเพื่อ
ครบองค์ (แห่งปัจจยาการ) เพราะผนวกเข้าภายในขณะจิต ในวาระที่หนึ่ง
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ตรัสโดยประการอื่น และองค์ปฏิจจสมุปบาทใด ไม่
ตรัสไว้ พึงทราบองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน.
อนึ่ง ในวาระเหล่านี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ตรัสในวาระอื่นจากวาระ
ที่หนึ่งนี้ พึงทราบอรรถแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
แต่ความต่างกันใด ๆ มาแล้วในวาระใด ๆ ข้าพเจ้าจักประกาศอรรถอันต่างกัน
นั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ ทีเดียว.
ส่วนในข้อว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทใดเป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจ-
สมุปบาทใด โดยประการใด นี้ มีอธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
๗ อย่าง คือ โดยปัจจัย ๖ ปัจจัย มีสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย อันทั่วไปแก่สัมปยุตตธรรม และด้วยเหตุปัจจัย.
บรรดาปัจจัยเหล่านั้นเพราะจตุกะ ๓ มีเหตุจตุกะเป็นต้นข้างหน้า ตรัสไว้ด้วย
อำนาจอวิคตะ สัมปยุตตะ และอัญญมัญญปัจจัย ฉะนั้น ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำ
ปัจจัยทั้ง ๓ เหล่านั้นออกแล้ว พึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ๔
ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ.
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๘ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
๖ ปัจจัย และด้วยกัมมปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ
๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก ก็พึงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
ปัจจัย ๖ อย่าง และด้วยอินทริยปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ และอธิปติปัจจัย ๑
แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย ๖ อย่าง
นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ ๖ อย่าง
ข้อว่า นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอธิปติ-
ปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย เพราะฉะนั้น นามจึงเป็น
ปัจจัยได้หลายอย่าง แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำเอา ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละ
ออกแล้วคงได้ปัจจัย ๓ อย่างบ้าง ๔ อย่างบ้าง ๕ อย่างบ้าง.
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เหมือนวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม.
ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และ
อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ เหล่านั้นแหละออก
คงได้ปัจจัย ๔ อย่าง.
เวทนาเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ๘ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง
ด้วยฌานปัจจัย ๑ และอินทริยปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำออก ๓ ปัจจัย
เหล่านั้นแหละ คงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.
ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เหมือนอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และด้วย
มรรคปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ อย่างเหล่านั้นแหละออก
ก็ได้ปัจจัย ๔ อย่าง.
ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นโดยปริยาย (อ้อม)
เพราะในคำว่า ชาติ นี้ ประสงค์เอาสังขตลักษณะ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ
ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเหมือนกัน.
ส่วนอาจารย์เหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ในจตุกะนี้ อวิชชาเป็นต้น
เป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยสหชาตปัจจัย เพราะวาระที่หนึ่ง
ทรงเริ่มด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเท่านั้น" อาจารย์เหล่านั้น อันใคร ๆ พึงแสดง
ความไม่มีแห่งภพเป็นต้นเหมือนอย่างนั้น และแสดงความเกิดขึ้นแห่งปัจจัย
ที่เหลือแล้วพึงปฏิเสธ เพราะภพมิได้เป็นสหชาตปัจจัยแก่ชาติ ชาติก็ไม่เป็น
สหชาตปัจจัยแก่ชรามรณะ ฝ่ายปัจจัยที่เหลือเหล่าใดตรัสไว้แก่สังขารเป็นต้น
เหล่านั้น ปัจจัยแม้เหล่านั้นมีอยู่โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจทิ้งเสีย.
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด
ที่ตรัสไว้ โดยประการอื่น และแม้องค์
ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์-
ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงทราบ
ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปัจจัยแก่องค์
ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยประการนั้น ดังนี้
ในวาระที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน



================================

จากการบรรยายของพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ใน ขณะจิตเดียว (อภิธรรมภาชนีย์ )

ผมจะขอยกปฏิจจสมุปบาทโดยอภิธรรมภาชนิยนัย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในจิตดวงหนึ่ง ๆ(ขณะจิต) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เอกจิตตักขณิกปฏิจจสมุปบาท
แสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ๑. อกุศลบท ๒. กุศลบท ๓. อพยากทบท
ผมจะขอยกตัวอย่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้มองเห็นความลึกซึ้ง ความเป็นสัพพัญญูของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑. อกุศลบท จะขอแสดงเพียงนิดเดียว คือ ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทเฉพาะในเรื่องทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ประเภทเท่านั้น
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามํ นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยาตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะอวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิสังขาร คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาที่เป็นไปพร้อมกับอวิชชา จึงได้เกิดขึ้น
เพราะอปุญญาภิสังขาร คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาเป็นเหตุ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิตนั้น ๆ จึงได้เกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะเวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ตัณหาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะอุปาทาน ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) จึงได้เกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) เป็นเหตุ นามชาติ คือ อาการที่เกิดขึ้นคือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทนั้นจึงได้เกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งอยู่ ขณะดับไปของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทจึงได้เกิดขึ้น
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะได้อาศัยปัจจัยต่าง ๆ มีอวิชชา เป็นต้น
ที่แสดงว่า “วิญฺญาณปจฺจยา นามํ “ เหตุใดจึงไม่ใช่ “วิญฺญาณปจฺจยา สฬายตนํ “ ก็เพราะว่าพระองค์ต้องการแสดงธรรมที่ประกอบด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ และจะต้องเป็นไปในจิตที่เกิดได้ทั่วไป ฉะนั้นจึงไม่ใช้คำว่า “ นามรูป “ เพราะบางภูมิม่มีรูปเกิดร่วมด้วย
หรือที่แสดงว่า “นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ “ ไม่ได้แสดงตามที่คนส่วนมากอ่านอยู่เสมอว่า ๆ ว่า “นามปจฺจยา สฬายตนํ “ ก็เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุนั้นเป็นนาม และเป็นนามเจตสิกอย่างเดียวไม่มีรูปรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ธรรมที่เป็นผล จึงจำเป็นต้องเป็นนามด้วยกัน คือ อายตนะ ภายในที่ ๖ อันได้แก่จิตอย่างเดียว

ในอภิธรรมภาชนิยนัยนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดง โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลของชาติ ทรงแสดงแต่ “ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ “ เท่านั้น ก็เพราะในจิตตักขณะดวงหนึ่ง ๆ คือแต่ละขณะของจิตนั้น โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากนั้น โสกะ ปริเทวะ นี้ ก็มิได้เกิดขึ้นแก่สัตว์ในทุกภพภูมิ ดังนั้น พระองค์จึงมิได้แสดง โสกะ ปริเทวะ ให้เป็นผลของชาติ

เจ้าของ:  เฉลิมศักดิ์1 [ 07 พ.ย. 2012, 12:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

นำเสนอ ปฏิจจสมุปบาทขณะจิตเดียว จากพระอภิธรรม แล้ว

ขอแสดง ปฏิจจสมุปบาทธรรมแนวพระสูตร จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้

มหานิทานสูตร

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------------------------

๒. วิภังคสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... ?B=16&A=33
--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... nta/2.html

----------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =95&Z=3331


[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
-------------------------------------------------------------------------

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------

ศึกษา อาการ ๒๐ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมเพิ่มเติมได้ที่

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา (อาการ ๒๐)
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm

-----------------------------------------------------------------

การแสดงธรรมจากท่านอาจารย์
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... topic=8821

ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นเป็นระบบการกำเนิดสัตว์ หรือเรียกว่าชีวิต หรือกฎการหมุนเวียนแห่งชีวิต เรียกธรรมนี้ว่าภวจักร ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นลักษณะเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา – มรณะ ทำหน้าที่ให้เกิดทุกข์ติดตามมาในสังสารวัฏฏ์ และทำให้เกิดการเดินทางผิดจากพระนิพพานเป็นผล ชีวิตจึงเวียนวนอยู่ในสงสาร เวียนไปด้วยความไม่รู้จากกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ และวิบากวัฏฏ์

ภวจักร แปลว่า ล้อชีวิตหมุนอยู่ตลอด
สังสารวัฏฏ์ มาจากคำว่า สังสารจักร



ผู้ที่ฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทและปัญจาการนี้ โอกาสเท่ารูเข็มที่จะให้ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เกิดไม่ได้เลย เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต ที่แน่นสืบต่อกันอย่างมั่นคง วิบากอันเป็นอกุศลเท่ารูเข็มจะไม่ปรากฏขึ้น

ฉะนั้น ขณะใดที่นั่งเรียนอยู่ และมีการแสดงธรรมปัญจาการและปฏิจจสมุปบาท ต่อให้มีอันตรายไม่ต้องหลบเพราะขณะนี้วิบากอกุศลเท่ารูเข็ม ที่จะเกิดให้วิบากอกุศลเข้ามา หรือกรรมเบียดเบียนฝ่ายอกุศล กับกรรมตัดรอนฝ่ายอกุศลจะเข้ามาไม่ได้เลย เพราะไม่มีเลยเท่าช่องรูเข็ม นี่คือธรรมวิเศษของปฏิจจสมุปบาทและปัญจาการ

=======================================

ปิติใจ ทุกครั้งเมื่อระลึกถึง ครั้งเมื่อได้ ศึกษา ปฏิจจสมุปบาท จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และ ครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

เจ้าของ:  เฉลิมศักดิ์1 [ 07 พ.ย. 2012, 12:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑

ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี
เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท๑


อ้างคำพูด:
๒ ข้อนี้ผู้ศึกษาควรพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เพราะว่าเป็นเพียงการสรุปตามความคิดของท่านผู้เขียนหนังสือนี้เท่านั้น ^^



เห็นด้วยกับคุณ FANTASIA ที่ผู้แต่งหนังสือ อาจจะมีการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทธรรม ผิดพลาด คลาดเคลื่อนได้

จึงควรศึกษาจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และ ผู้ทรงพระไตรปิฏก ด้วย

เจ้าของ:  eragon_joe [ 08 พ.ย. 2012, 11:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท

:b24: :b24: :b24:

ท่านเหลิมแวะมาเยี่ยมกระทู้ด้วย

:b24: :b24: :b24:

:b17: :b17: :b17:

smiley smiley smiley

:b12: :b12: :b12:

หน้า 5 จากทั้งหมด 5 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/