วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 05:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่ลอกพระไตรปิฏกมามากมายเช่นนี้....หลับอยู่ถามหน่อยว่า...ปฏิจสมุปบาทเนี่ยเป็นภูมิวิปัสสนา....เอรากอนจะเข้าถึงได้โดยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆเลยใช่หรือไม่??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้สนใจศึกษา ปฏิจจสมุปบาท ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://pobbuddha.com/tripitaka/

:b8: :b8: :b53: :b51: :b53: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ผู้ที่ลอกพระไตรปิฏกมามากมายเช่นนี้....หลับอยู่ถามหน่อยว่า...ปฏิจสมุปบาทเนี่ยเป็นภูมิวิปัสสนา....เอรากอนจะเข้าถึงได้โดยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆเลยใช่หรือไม่??


:b1:

เอกอนเคยทำสมาธิ หลับอยู่
และก็ยังปฏิบัติต่อเนื่องอยู่ หลับอยู่
และก็ดูแลตนเองในวิถีที่พึงจะระลึกน้อมใจไปในธรรม
ทุกอย่างก็ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เนินนานกว่ายี่สิบปี
เพียงแต่ไม่มักนำมากล่าวเท่านั้น
เพราะมันต่อเนื่อง จนเป็นเหมือนเรื่องธรรมดาปกติวิสัย
จึงเป็นความเคยชินที่จะไม่กล่าวถึง ประหนึ่งคนเราย่อมไม่มานั่งกล่าวถึงการกระพริบตา
และเป็นอุปนิสัยที่เอกอนพยายามสำรวจตัวเองอยู่เสมอ
ไม่ให้ทิ้งน้ำหนักลงไปกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดเป็นการยึดติดน่ะ

หลับอยู่อย่ากังวลไปเลย
ท่านเป็นห่วงผู้อื่น ท่านก็อย่าลืมดูแลตัวเอง

การปฏิบัติก็ต้องอ่าศัยกัลยาณมิตร
และท่านก็เป็นกัลยาณมิตร :b1:
( :b6: คอยตามมากระทุ้งให้เอาสมาธิตาหลอด...)


:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 ต.ค. 2011, 10:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบคือจะเอาวิปัสสนาปัญญาล้วนๆ?โชคดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

การหายใจ ไม่ใช่เรื่องว่าเราจะต้องเอาอากาศ หรือ ไม่

:b1:

การปฏิบัติธรรม ก็ทำนองเดียวกัน
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑


ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี
เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท๑


๒ ข้อนี้ผู้ศึกษาควรพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เพราะว่าเป็นเพียงการสรุปตามความคิดของท่านผู้เขียนหนังสือนี้เท่านั้น ^^

ตามความเป็นจริงนั้น ปัญจุปาทานขันธ์ต้องมีอยู่อายตนะจึงจะทำหน้าที่ในวงจรปฏิจจสมุปบาทต่อไปได้ ตามนี้ค่ะ

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
เมื่ออายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก จึงเกิดสังขาร

สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นเนื่องมาจากการปรุงแต่ง จึงมีนามรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป(ขันธ์ ๕)
ปัญจุปาทานขันธ์เกิดขึ้นเนื่องมาจากนามรูป (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) พร้อมทั้งอาสวะ

นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ
เมื่อเกิดปัญจุปาทานขันธ์ในนามรูป จึงมีการทำหน้าที่ของอายตนะในวงจรปฏิจจสมุปบาทต่อไปได้

อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ... เวทนา ... ตัณหา ... อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... ชรา ... ฯ ดังนี้

eragon_joe เขียน:
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุ (ตา) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยังไม่
มาสู่คลอง (แห่งจักษุ), ทั้งสมันนาหารจิต๒ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีก่อน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุอันเป็นอายตนะภายใน
เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง
(แห่งจักษุ); แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง


จากพระสูตรที่ยกขึ้นมาอ้างนั้น จะเห็นได้ว่า หากไม่มีอวิชชาเป็นปัจจัย
ต่อให้อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกจะมีการกระทบกันเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้นก็ยังจะไม่มี ดุจความว่างนั่นเอง
ดังนั้นปัญจุปาทานขันธ์ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย

ในทางตรงข้าม หากยังมีอวิชชาเป็นปัจจัยแล้ว
เมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก สังขารจึงมี
ดังนั้นความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่อายตนะภายในและอายตนะภายนอกนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

eragon_joe เขียน:
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!ก็แต่ว่า ในกาลใดแล จักษุอันเป็น
อายตนะภายในนั่นเทียว เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะ
ภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งจักษุ); ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่าง
นั้ นก็มีด้วย, แล้วไซร้; เมื่อเป็นดังนี้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด
จากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.


ปัญจุปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ จึงเกิดขึ้นดังนี้แล.


ส่วนข้อที่ว่า ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมีเมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาทนั้น
ตามความเป็นจริง ปัญจุปาทานขันธ์มีมาตั้งแต่วิญญาณอันเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป(ขันธ์ ๕)แล้วค่ะ ^^
และหากไม่มีอุปาทานขันธ์แล้วอายตนะย่อมทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
นั่นหมายความว่าผัสสะ เวทนา ไม่ทันได้เกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ

eragon_joe เขียน:
ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี
เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุวิญญาณ ตามที่
เป็นจริง, เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนา
อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่
สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว; เขาย่อมกำหนัดในจักษุ, กำหนัดในรูปทั้งหลาย,
กำหนัดในจักขุวิญญาณ, กำหนัดในจักขุสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง. เมื่อ
บุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่, ปัญจุ-
ปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป; และตัณหาของเขาอันเป็น
เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่อง
ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย
(ทรถ) แม้นทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อมเจริญ
ถึงที่สุด แก่เขา; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความ
แผดเผา แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความเร่าร้อน (ปริฬาห)แม้ทางกาย
ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, บุคคลนั้น
ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.


จากพระสูตรที่ยกมาอ้างนั้น คำว่า เมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริง แสดงให้เห็นว่าเพราะมีอุปาทานขันธ์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้วนั่นเอง

ปล.ดิฉันขอยกพระสูตรเกี่ยวกับขันธ์๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ มาให้ได้พิจารณาดูด้วย ดังนี้ค่ะ

Quote Tipitaka:
๖. ปัญจขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕


[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.
นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย
อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้
เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.


Quote Tipitaka:
อาสววาร

[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี-
*บุตรแล้วแล.

จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


ปล.๒ ฝากคุณหลับอยู่ เอรากอนโจ และทุกคนค่ะ

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

สาธุ สาธุ สาธุ ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 10:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑

ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี
เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท๑

๒ ข้อนี้ผู้ศึกษาควรพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เพราะว่าเป็นเพียงการสรุปตามความคิดของท่านผู้เขียนหนังสือนี้เท่านั้น ^^

....

ปล.๒ ฝากคุณหลับอยู่ เอรากอนโจ และทุกคนค่ะ

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

สาธุ สาธุ สาธุ ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยเข้ามาชี้แนะ
เพราะเวลาที่อ่าน เอกอนก็ วางในส่วนที่เป็นการสรุปตามความคิดของผู้เขียนไปค่ะ
แต่เวลาที่ต้องนำมาลง ด้วยเอกอนหยิบมาจากการรวบรวมของท่าน จึงยกมาให้ครบถ้วนค่ะ

:b8: ขอบคุณค่ะ สำหรับพระสูตร และ คำอธิบายของท่านที่ชี้แนะเพิ่มเติมเข้ามาค่ะ
และขอบพระคุณสำหรับ ปล.ที่ฝากไว้ค่ะ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 12:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg13633

:b48: :b48: :b50: :b48: :b48: :b50: :b48: :b48:

http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg13635

:b48: :b48: :b50: :b48: :b48: :b50: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 12:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


นยํ นยติ เมธาวี คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ

กุหลาบสีชา เขียน:
รูปภาพ

มีปัญญาเลือกเฟ้นธรรม
พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญโญ
วัดป่าบ้านค้อ จ. อุดรธานี


เมื่อเชื่อถือบุคคลและเชื่อถือครูอาจารย์ได้แล้ว
ธรรมะที่เราได้ยินจากท่าน อ่านหนังสือของท่าน
แล้วก็นำมาเลือกเฟ้นอีก

มีธรรมะหมวดไหนบ้าง
พอที่เราจะนำมาปฏิบัติได้ให้ถูกกับนิสัยของเรา
และความสามารถของเรา

ธรรมะหมวดไหนควรเอามาเริ่มต้นก่อน
ธรรมะหมวดไหน ควรนำมาปฏิบัติ ในภายหลัง
ต้องมีสติปัญญาเลือกเฟ้นธรรมะให้เข้าใจ
แล้วนำมาปฏิบัติ ให้ถูกกับความหมาย


ธรรมะหมวดไหนปฏิบัติเป็นไปอยู่ในขั้นโลกีย์
ธรรมะหมวดไหนปฏิบัติเป็นไปอยู่ในชั้นโลกุตระ


การจะนำธรรมะหมวดนั้น ๆ มาปฏิบัติได้
ก็เนื่องมาจากครูอาจารย์เป็นผู้ให้อุบาย
จะให้อุบายธรรมะผิดถูกอย่างไร เรารับได้ทั้งนั้น

ท่านจะให้อะไรแก่เราถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิริมงคลทั้งหมด
ท่านจะสอนธรรมอะไร เราก็มีความยินดีพอใจ
พร้อมที่จะนำไปปฏิบัติด้วยความเคารพเชื่อถือ
ท่านสอนอย่างไร เราก็จะปฏิบัติไปอย่างนั้น

ถ้าท่านสอนผิด เราก็ปฏิบัติผิดด้วย

ฉะนั้น การปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะในยุคนี้สมัยนี้มีความแตกต่างกันกับสมัยครั้งพุทธกาล


ในสมัยครั้งนั้นมีพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าเป็นผู้อบรมสั่งสอน
ผู้ปฏิบัติตาม จึงได้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้เร็ว

ในยุคนี้ ครูอาจารย์ที่ตีความหมายในธรรม
นำมาสอนการภาวนาปฏิบัติ มีหลายวิธี
ใครตีความหมายในธรรมเห็นว่าเป็นอย่างไร
ก็นำมาสอนอย่างนั้น


เมื่อท่านเหล่านั้นมรณภาพไป
ก็มีลูกศิษย์สอนในวิธีนั้น สืบทอดต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน
และเขียนให้เป็นตำราไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

เมื่อผู้ปฏิบัติยุคนี้ได้อ่านก็คิดว่า
เป็นตำราสมัยเก่า ไม่มีใครที่จะกล้าแก้ไข
เพราะถือว่าเป็นคำสอนของโบราณนั่นเอง
จึงเข้ากันได้กับ “เรื่องกาลามสูตร” ที่เราทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปนี้


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : แนวทางการปฏิบัติภาวนา หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโย,
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดย อมรินทร์ธรรมะ, หน้า ๑๖๗-๑๖๘)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เพราะเวลาที่อ่าน เอกอนก็ วางในส่วนที่เป็นการสรุปตามความคิดของผู้เขียนไปค่ะ
แต่เวลาที่ต้องนำมาลง ด้วยเอกอนหยิบมาจากการรวบรวมของท่าน จึงยกมาให้ครบถ้วนค่ะ



ในหัวข้อดังกล่าว ผู้เขียนเขียนไว้ดีแล้ว :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1:

การหายใจ ไม่ใช่เรื่องว่าเราจะต้องเอาอากาศ หรือ ไม่

:b1:

การปฏิบัติธรรม ก็ทำนองเดียวกัน
:b12: :b12:

ไม่เอาก็ตายสิเอก้อนเอ๋ยยยยย :b14: ทำมาเป็นเล่นสำนวน :b6:เสียใจนะคนละทำนองกันไม่มีการลัดจังหวะแบบแจ๊ส Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


จ้า

:b12:

ก็การหายใจเป็นอิทัปปัจยตา
อากาศก็เป็นอิทัปปัจยตา นี่

ก็มีความเห็นอย่างนี้ จึงแสดงความเห็นตามนั้น หง่ะ
ไม่ใช่ แจ๊สสสสสส....

นะจ๊ะ... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 13:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
eragon_joe เขียน:
เพราะเวลาที่อ่าน เอกอนก็ วางในส่วนที่เป็นการสรุปตามความคิดของผู้เขียนไปค่ะ
แต่เวลาที่ต้องนำมาลง ด้วยเอกอนหยิบมาจากการรวบรวมของท่าน จึงยกมาให้ครบถ้วนค่ะ



ในหัวข้อดังกล่าว ผู้เขียนเขียนไว้ดีแล้ว :b8:


จ๊ะ...
พอดี เอกอนเห็นท่านเน้นย้ำ
ปฏิจจสุมปบาทเป็นเรื่องไม่ข้ามภพ ข้ามชาติ น่ะ

ซึ่งเท่าที่อ่านมาตั้งแต่ต้น ก็เห็นเหตุและผลที่ท่านเรียบเรียงอยู่
ซึ่งมีความเด่นชัดในเรื่องที่ ให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า
เป็นสิ่งใกล้ตัว ที่ทุกคนสามารถเข้ามาทำความเข้าใจ และศึกษาปฏิบัติได้
และเห็นผลได้ในทันที
ตรงนี้ ก็ :b8: :b8: :b8: ในสิ่งที่ท่านผู้เขียนได้ทำทิ้งไว้ให้กับชาวพุทธ
เป็นอย่างมาก

แต่เอกอนพิจารณาไปถึง
กรณี การเข้านิโรธสมาบัติน่ะ
และการตายในขณะอยู่ในฌาณสมาธิ
ซึ่งเป็นสภาวะที่มีนัยการปรากฎ ปฏิจจสมุปบาท ที่ ..

น่าจะแสดงสายการเกิด-ดับ ที่สมบูรณ์ หง่ะ

ทั้งในกระบวนการเข้า และออก
และการทรงตัวอยู่ใน นิโรธสมาบัติ
จนกระทั่งเคลื่อนออกจาก นิโรธสมาบัติ

:b3:

บางประเด็นในการสรุปของท่านพุทธทาส เอกอนจึงวางไว้ค่ะ

:b3:

ท่านเช่นนั้น มีความเห็นในกรณีดังกล่าวว่าอย่างไร บ้างคะ

คือ เอกอนก็พยายามจะกระหมิ๊ดกระเมี๊ยน เหนี๋ยม ๆ
ไม่กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทในแง่นั้น
อุตสาห์แอบเก็บงำซ่อนเร้นสายตาที่จ้องไปยังสิ่งที่ดูเหมือนจะลึกเกินตัว :b3:
เพราะ เกรงว่าการแสดงความสงสัยแบบสุดมือเอื้อมเช่นนี้
จะโดนเพื่อน ๆ ที่แสนน่ารักบางท่านจะได้ทีรีบกระโดดมารุมตืบ

"สมาธิไม่ได้ความ ริอ่านกระแดะพิจารณาของสูง" หง่ะ
:b3:

:b2: :b2: :b2:

:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร