วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี
เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุวิญญาณ ตามที่
เป็นจริง, เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนา
อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่
สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว; เขาย่อมกำหนัดในจักษุ, กำหนัดในรูปทั้งหลาย,
กำหนัดในจักขุวิญญาณ, กำหนัดในจักขุสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง. เมื่อ
บุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่, ปัญจุ-
ปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป; และตัณหาของเขาอันเป็น
เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่อง
ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย
(ทรถ) แม้นทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อมเจริญ
ถึงที่สุด แก่เขา; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความ
แผดเผา แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความเร่าร้อน (ปริฬาห)แม้ทางกาย
ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, บุคคลนั้น
ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตะ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเสียงทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง, ...ฯลฯ...ฯลฯ...บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไป
ทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานะ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกลิ่นทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ...บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย
ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหา ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรสทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหาวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ...บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็น
ไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกาย ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกายวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ..บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทาง
กาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโน ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนสัมผัส ตามที่เป็นจริง, เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง
เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์
ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว; เขาย่อมกำหนัดในมโน, กำหนัดในธัมมารมณ์
ทั้งหลาย, กำหนัดในมโนสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้น
กำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่, ปัญจุปาทานขันธ์
ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป; และตัณหาของเขาอันเป็นเครื่องนำไปสู่
ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลิน
อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย (ทรถ)
แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อมเจริญ ถึงที่สุด
แก่เขา; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความแผดเผา
แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา; ความเร่าร้อน (ปริฬาห)แม้ทางกาย ย่อมเจริญ
ถึงที่สุด แก่เขา, ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา บุคคลนั้น ย่อม
เสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 22:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนอวกาศถูกแวดล้อมปิดกั้นไว้
แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยไม้ด้วย เถาวัลย์ด้วย ดินเหนียวด้วย หญ้าด้วย ย่อม
ถึงซึ่งการนับว่า "เรือน" ดังนี้ ฉันใด; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อวกาศถูก
แวดล้อมปิดกั้นไว้แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยกระดูกด้วย เอ็นด้วย เนื้อด้วย หนังด้วย
ยอมถึงซึ่งการนับว่า "รูป (กาย)" ดังนี้; ฉันนั้น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุ (ตา) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยังไม่
มาสู่คลอง (แห่งจักษุ), ทั้งสมันนาหารจิต๒ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีก่อน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุอันเป็นอายตนะภายใน
เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง
(แห่งจักษุ); แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!ก็แต่ว่า ในกาลใดแล จักษุอันเป็น
อายตนะภายในนั่นเทียว เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะ
ภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งจักษุ); ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่าง
นั้ นก็มีด้วย, แล้วไซร้; เมื่อเป็นดังนี้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด
จากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.

รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น,
รูปนั้น ย่อมถึงซึ่งการสังเคราะห์ในรูปูปาทานขันธ์; เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)
แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, เวทนานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ใน
เวทนูปาทานขันธ์; สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้ว
อย่างนั้น, สัญญานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสัญญูปาทานขันธ์; สังขาร
ทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, สังขาร
ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสังขารูปาทานขันธ์; วิญญาณใด
(ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, วิญญาณนั้น ย่อมถึง
ซึ่งการสงเคราะห์ใน วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม
การรวมหมู่กัน แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ก็แล คำนี้ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจ-
สมุปบาท,ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม; ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ดังนี้ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม; กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์
ทั้งหลาย.

ธรรมใด เป็นความเพลิน เป็นความอาลัย เป็นความติดตาม เป็น
ความสยบมัวเมาในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์);

ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันทราคะ เป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะ
ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า ทุกขนิโรธ (ความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์) ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
.... .... .... ....

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 22:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑
(ต่อ)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, โสต (หู) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตก ทำลาย, และเสียงทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยัง
ไม่ม าสู่ค ล อ ง (แห่งโส ต ),...ฯล ฯ...ฯ ล ฯ ...ฯล ฯ... ภิก ษุป ระ พ ฤ ติก ระ ทำ
ให้มากแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, ฆาน (จมูก) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตก ทำลาย, และกลิ่นทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยัง
ไม่ม าสู่ค ล อ ง (แห่งฆ าน ),...ฯล ฯ...ฯล ฯ...ฯล ฯ... ภิกษุป ระพ ฤติกระทำ
ให้มากแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, ชิวหา (ลิ้น) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตก ทำลาย, และรสทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยัง
ไม่ม าสู่คลอง (แห่งชิวหา),...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... ภิกษุป ระพ ฤติกระทำ
ให้มากแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, กาย อันเป็นอายตนะภายใน
เป็นของไม่แตก ทำลาย, และโผฏฐัพพะทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยัง
ไม่ม า สู่ค ล อ ง (แ ห่ง ก า ย ..ฯ ล ฯ ...ฯ ล ฯ ...ฯ ล ฯ ... ภิก ษุป ระ พ ฤ ติก ระ ทำ
ให้มากแล้ว.

.... .... .... ....

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, มโน (ใจ) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตก ทำลาย, และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก
ก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งมโน) ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น
ก็ไม่มี, แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒
อย่างนั้น ก็ยังจะไม่มีก่อน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, มโน อันเป็นอายตนะภายใน
เป็นของไม่แตก ทำลาย, และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่
คลอง (แห่งมโน) แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ยังไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็แต่ว่า,ในกาลใดแล มโนอันเป็น
อายตนะภายในนั่นเทียว เป็นของไม่แตกทำลาย, และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันเป็น
อายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งมโน) ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ
๒ อย่างนั้นก็มีด้วย, แล้วไซร้; เมื่อเป็นดังนี้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ
อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.
รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น
รูปนั้น ย่อมถึงซึ่งการสังเคราะห์ในรูปูปาทานขันธ์; เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)
แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, เวทนานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ใน
เวทนูปาทานขันธ์; สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้ว
อย่างนั้น, สัญญานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสัญญูปาทานขันธ์; สังขาร
ทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น,
สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสังขารูปาทานขันธ์; วิญญาณใด
(ที่เป็นของที่เกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, วิญญาณนั้น ย่อมถึง
ซึ่งการสงเคราะห์ในวิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม
การรวมหมู่กัน แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ก็แล คำนี้ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจ-
สมุปบาท,ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม; ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ดังนี้ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม; กล่าวคือ ปัญจุปาทาน-
ขันธ์ทั้งหลาย.

ธรรมใด เป็นความเพลิน เป็นความอาลัย เป็นความติดตาม เป็น
ความสยบมัวเมาในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์);
ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันทราคะ เป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะ
ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้; ธรรมนั้น ชื่อว่า ทุกขนิโรธ (ความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์) ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว
ดังนี้ แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งที่ต้องเห็นด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา
แม้ที่ยังเป็นเสขะเป็นอย่างน้อย๑


ครั้งหนึ่ง พระมุสิละ พระปวิฏฐะ พระนารทะและพระอานนท์ อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้
เมืองโกสัมพี. ครั้งนั้น พระปวิฏฐะได้กล่าวกับพระมุสิละว่า:-

"ดูก่อนทานมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า)
เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย,
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้
กับทิฏฐิของตนเสีย; ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'เพราะมี
ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ' ดังนี้ ได้หรือ?"

"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กัน
มาเสีย, เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการ
เห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเสีย; กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้น
ได้ว่า '’เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ' ดังนี้.
(พระปวิฏฐะได้ถามเป็นลำดับไปถึงข้อที่เกี่ยวกับชาติ เกี่ยวกับภพ เกี่ยวกับอุปาทาน เกี่ยว
กับตัณหา เกี่ยวกับเวทนา เกี่ยวกับผัสสะ เกี่ยวกับสฬายตนะ เกี่ยวกับนามรูป เกี่ยวกับวิญญาณ ด้วยคำถาม
อย่างเดียวกัน พระมุสิละก็ได้ตอบยืนยันด้วยคำตอบอย่างเดียวกัน จนถึงข้อสุดท้าย:-)

"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า)
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้
กับทิฏฐิของตนเสีย; ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'เพราะมี
อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย' ดังนี้ ได้หรือ?"

"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กัน
มาเสีย, เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการ
เห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเสีย; กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้น
ได้ว่า ' เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย' ดังนี้ ได้หรือ?"
(พระปวิฏฐะได้ถามพระมุสิละต่อไปถึงอาการปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับ ๆ ไป
จนกระทั่งข้อสุดท้าย:-)

"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า)
เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย,
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการเห็นว่ามันเข้ากัน
ได้กับทิฏฐิของตนเสีย; ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'เพราะ
มีความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร' ดังนี้ ได้หรือ?"

"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กัน
มาเสีย, เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการ
เห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเสีย; กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้น
ได้ว่า 'เพราะมีความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร' ดังนี้".
เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย,

"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาค
เจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย,
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการเห็นว่ามันเข้ากัน
ได้กับทิฏฐิของตนเสีย; ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'การดับ
แห่งภพ คือนิพพาน' ดังนี้ ได้หรือ?"

"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มี-
พระภาคเจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟัง
ตาม ๆ กันมาเสีย, เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย,
เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเสีย; กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรม
ข้อนั้นได้ว่า 'การดับแห่งภพ คือนิพพาน' ดังนี้

"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นพระอรหันตขีณาสพหรือ?"

เมื่อถูกถามอย่างนี้ พระมุสิละได้นิ่งเสีย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

(ลำดับนั้น พระนารทะได้เสนอตัวเข้ามาให้พระปวิฏฐะถามปัญหาอย่างเดียวกันนั้นบ้าง เมื่อ
พระปวิฏฐะถาม พระนารทะก็ตอบอย่างเดียวกันกับที่พระมุสิละได้ตอบแล้ว ทั้งในส่วน สมุทยวาร และ
นิโรธวาร จนกระทั้งถึงคำถามและคำตอบคู่สุดท้าย:-)

"ดูก่อนท่านนารทะ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า)
เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย,
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการเห็นว่ามันเข้ากัน
ได้กับทิฏฐิของตนเสีย; ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'การดับ
แห่งภพ คือนิพพาน' ดังนี้ ได้หรือ?"

"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า) เสีย, เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตาม ๆ
กันมาเสีย, เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย, เว้นการ
เห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเสีย; กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้น
ได้ว่า 'การดับแห่งภพ คือนิพพาน' ดังนี้

"ดูก่อนท่านนารทะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นพระอรหันตขีณาสพหรือ?"

"ดูก่อนท่าน! ธรรมที่ว่า 'ความดับแห่งภพ คือนิพพาน' นั้น เป็นธรรม
ที่กระผมเห็นแล้วด้วยดี ด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา๑ จริง ๆ แต่กระผมก็หาเป็นพระ
อรหันตขีณาสพไม่. ดูก่อนท่าน! เปรียบเหมือนบ่อน้ำ มีอยู่ริมหนทางอันกันดาร, ที่
บ่อนั้น เชือกก็ไม่มี ครุสำหรับตักน้ำก็ไม่มี. ลำดับนั้น มีบุรุษผู้ถูกความร้อนแผดเผา
แล้ว ถูกความร้อนครอบงำแล้ว อ่อนเพลียอยู่ หิวกระหายอยู่ มาถึงบ่อนั้นแล้ว;
บุรุษนั้นมองลงในบ่อนั้น เขามีความรู้สึกว่า น้ำในบ่อนั้นมีอยู่ แต่เขาไม่อาจจะทำ
ให้น้ำนั้นถูกต้องกายเขาได้, ฉันใด; ดูก่อนท่าน! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ธรรมที่ว่า 'การดับ
แห่งภพ คือนิพพาน' นั้น เป็นธรรมที่กระผมเห็นแล้วด้วยดี ด้วยยถาภูตสัมมัป
ปัญญาจริง ๆ แต่กระผมก็หาเป็นอรหันตขีณาสพไม่".

ครั้นพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระอานนท์ได้หันไปกล่าวกะพระปวิฏฐะว่า "ดูก่อนท่าน
ปวิฏฐะ! ท่านเป็นผู้ขี้มักถามอย่างนี้ ได้กล่าวอะไรแก่ท่านนารทะบ้าง?".

พระปวิฏฐะได้ตอบว่า "ดูก่อนท่านอานนท์! ผมซึ่งเป็นผู้ขี้มักถามอย่างนี้
ไม่ได้กล่าวเรื่องอะไร ๆ กะพระนารทะเลย นอกจากเรื่องที่งดงาม และเรื่องที่เป็น
กุศล", ดังนี้ แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้การทำความเพียรในที่สงัด
ก็ยังต้องปรารภขันธ์ห้า ตามวิธีการของปฏิจจสมุปบาท๑


พระอานนท์ ได้กราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอ
พระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก้ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว (ในธรรมปฏิบัติ) อยู่เถิด พระเจ้าข้า!". พระผู้มี
พระภาค ได้ตรัสว่า:-
ดูก่อนอานนท์! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ("เป็นทุกข์
พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา; นั่นเป็นเรา; นั่นเป็นตัวตนของเรา" ; ดังนี้?
("ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!").
ดูก่อนอานนท์! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือปราณีตก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา; นั่นไม่ใช่เรา; นั่นไม่ใช่ตัวตนของ
เรา; เธอพึงเห็นซึ่งข้อนนั้น ด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา (ความรู้ทั่วถึงถูกต้องตามเป็นจริง)
อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัสถาม, ทูลตอบ. และตรัส อย่าง
เดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนอานนท์! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด; เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้นว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า"
ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว, กิจอื่น
เพื่อทำความเป็นอย่างนี้มิได้อีก". ดังนี้ แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้สุขทุกข์ในภายใน
ก็เกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ห้า๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะ
ปักใจเข้าไปสู่อะไร สุขและทุกข์ ในภายใน จึงเกิดขึ้น?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลาย ของ
พวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาค ตรัสเตือนให้
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป
เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป, สุขและทุกข์ ในภายใน จึงเกิดขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร :
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือ
เป็นสุขเล่า? ("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือสิ่งนั้นแล้ว สุขและทุกข์ ในภายใน จะเกิดขึ้น
ได้ไหม? ("ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!").

(ในกรณ ีแห่งเวทนา สัญ ญ า สังขาร วิญ ญ าณ ก็มีการตรัส, ตรัสถาม, ทูล
ตอบ. อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด; เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
"ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว, กิจอื่น
เพื่อทำความเป็นอย่างนี้มิได้อีก". ดังนี้ แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นเงื่อนของปฏิจจสมุปบาท
ละได้ด้วยการเห็นธรรมทั้งปวงว่าไม่ควรยึดมั่น๑


ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรม
อย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น
พระเจ้าข้า?"

ดูก่อนภิกษุ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่แล ...ฯลฯ...
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมอย่างหนึ่ง นั้นคืออะไรเล่าหนอ .ฯลฯ...?"
ดูก่อนภิกษุ! อวิชชานั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชา
จึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า?"

ดูก่อนภิกษุ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า
"สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา-ของ
เรา)" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหลาย
ทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง;
ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว, ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง;

ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว, ภิกษุนั้นย่อมเห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของ
สิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น ๑:
ย่อมเห็นซึ่งจักษุโดยประการอื่น; ย่อมเห็นรูปทั้งหลายโดยประการอื่น;
ย่อมเห็นซึ่งจักขุวิญญาณโดยประการอื่น; ย่อมเห็นซึ่งจักขุสัมผัสโดยประการอื่น;
ย่อมเห็นซึ่งเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยประการอื่น.

(ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี มโนก็ดี และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์
ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน นั้น ๆ ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งการเห็นจักษุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ).

ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไป
วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นเงื่อน แห่งปฏิจจสมุปบาท
ละได้ด้วยการเห็นอนิจจัง๑


(ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ทูลถามอย่างเดียวกันกับคำถามในเรื่องที่แล้วมา ต่อไปนี้เป็นคำตอบ:-)
ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง,
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น;

เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ...ฯลฯ...;
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุวิญญาณ ...ฯลฯ...;
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุสัมผัส ...ฯลฯ...;
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งเวทนา อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์
มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง, อวิชชา
จึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น;

(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ทุกหมวด มีข้อความอย่างเดียวกัน).
ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อวิชชาจึงจะละไป
วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อาการแห่งอนิจจัง โดยละเอียด๑

(เรื่องนี้ มีความประสงค์เพื่อขยายความเรื่องที่แล้วมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่าง
สองอย่างอะไรเล่า? สองอย่างคือ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย
ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการ
อื่น : ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักษุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย
ประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมา
พร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้จักขุสัมผัส
ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ), ผัสสะ
กระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) : แม้ธรรม
ทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา๑) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธ
ด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี, ฆานวิญญาณก็ดี, ชิวหาวิญญาณก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มี
นัยเดียวกัน).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย
มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธัมมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย
ประการอื่น : ธรรมทั้งสอง (มโน+ธัมมารมณ์) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย
อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย
ประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมา
พร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย (มโน+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้
อันใดแล; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส, แม้เหตุ
อันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย
ประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง
ดังนี้ มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ), ผัสสะ
กระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) : แม้ธรรม
ทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธ
ด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณา
ใคร่ครวญอยู่แล้ว วิญญาณ (จิต) ของเธอนั้น อันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอกด้วย,
อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในด้วย, ก็จะไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณ ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งสยบ
อยู่ในภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล้ว;
การก่อตั้งขึ้นแห่งกองทุกข์ กล่าวคือ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป. ๑
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าสู่ที่ประทับเสีย. ภิกษุเหล่านั้นไม่เขาใจใน
เนื้อความแห่งพระพุทธวจนะนี้โดยพิสดาร จึงพากันไปหาพระมหากัจจานะ ได้รับคำอธิบายจากพระมหา
กัจจานะโดยพิสดารดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทสไว้
แต่โดยย่อ แก่เราทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ
โดยประการที่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่แล้ว วิญญาณ (จิต) ของเธอนั้น อัน
ไ ม่
ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอกด้วย, อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในด้วย, ก็จะไม่พึง
สะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณ
ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้ง
เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว; การก่อตั้งขึ้นแห่งกองทุกข์ กล่าวคือ
ชาติ ชรา มรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป." ดังนี้แล้ว มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร
เสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่ที่ประทับเสียนั้น; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! สำหรับ
อุเทสซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร
นี้ ข้าพเจ้ารู้เนื้อความแห่งอุเทสนั้น โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำที่กล่าวว่า "วิญญาณอันฟุ้งไป ซ่าน
ไปในภายนอก" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดารอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าวนี้ วิญญาณ (จิต) ของภิกษุผู้เห็นรูปด้วยตาแล้ว เป็น
วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตแห่งรูป, เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะ (รสอร่อย)
ของนิมิตแห่งรูป, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของนิมิตแห่งรูป, ประกอบพร้อมแล้วด้วย
ความผูกพันอยู่ในอัสสาทะของนิมิตแห่งรูป : นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า
"วิญญาณอันฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก" ดังนี้. (ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู, การ
รู้สึก ลิ่นด้วยจมูก, การลิ้มรสด้วยลิ้น, การสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย, และการรู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจ,
ก็มีข้อความเหมือนกับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของ
อายตนะนั้น ๆ เท่านั้น.) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำที่กล่าวว่า "วิญญาณอันฟุ้งไป
ซ่านไปในภายนอก" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้แล.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า
"วิญญาณอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ในภายนอก" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร
อย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! วิญญาณ (จิต) ของภิกษุผู้เห็นรูป
ด้วยตาแล้ว ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตแห่งรูป, ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลง
ในอัสสาทะ (รสอร่อย)ของนิมิตแห่งรูป, ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของนิมิตแห่งรูป,
ไม่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันอยู่ในอัสสาทะของนิมิตแห่งรูป : นี้แหละคือ
ข้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อว่า "วิญญาณอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป
ในภายนอก" ดังนี้.(ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู, การรู้สึกกลิ่นด้วยจมูก, การลิ้มรสด้วยลิ้น,
การสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย, และการรู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจ, ก็มีข้อความเหมือนกับข้อความที่กล่าว
ในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของอายตนะนั้น ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำ อันพระผู้มีพระภาคตรัสที่กล่าวว่า "วิญ ญ าณ อันไม่ฟุ้งไป
ไม่ซ่านไป ในภายนอก" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำที่กล่าวว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน"
ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดารอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณี
ที่กล่าวนี้ ภิกษุ, เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑
อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. วิญญาณ (จิต) ของ
ภิกษุนั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก, เป็นวิญญาณที่หยั่ง
ลงในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก, เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของ
ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก; นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิต ตั้งสยบ
อยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก: ภิกษุ, เพราะความที่
วิตกและวิจารสงบระงับลง; จึงบรรลุฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจใน
ภายใน, ทำให้สมาธิอันเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตกวิจาร, มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. วิญญาณ ของภิกษุนั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตาม
ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ, เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของปีติและสุข อัน
เกิดแต่สมาธิ, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ, เป็นวิญญาณ
ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ;
นี้แหละ คือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ, เพราะความจาง
คลายไปแห่งปีติ, ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวย
ความสุขด้วนนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
"เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข" ดังนี้; จึงบรรลุฌานที่ ๓ แล้วแลอยู่.
วิญญาณของภิกษุนั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอุเบกขา, เป็นวิญญาณที่หยั่ง
ลงในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา,
เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่
อุเบกขา, นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ, เพราะความละสุขและ
ทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, จึงบรรลุฌาน
ที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่. วิญญาณของภิกษุนั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอทุกขมสุข, เป็น
วิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของอทุกขมสุข, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของอทุกขมสุข,
เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของอทุกขมสุข,
นี้แหละ คือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำที่กล่าวว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน"
ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสที่กล่าวว่า "จิต
อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดารอย่างไรเล่า? ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าวนี้ ภิกษุ, เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแล
อยู่. วิญญาณ (จิต) ของภิกษุนั้น ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติและสุข อันเกิด
แต่วิเวก, ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก, ไม่
ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก, ไม่เป็นวิญญาณที่ประกอบ
พร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก; นี้แหละคือ
ข้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน"
ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก: ภิกษุ, เพราะความที่วิตก
และวิจารสงบระงับลง; จึงบรรลุฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน,
ทำให้สมาธิอันเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตกวิจาร, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิ แล้วแลอยู่. วิญญาณของภิกษุนั้น ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิ, ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่
สมาธิ, ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ, ไม่เป็นวิญญาณ
ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ;
นี้แหละ คือ ข้อความอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ตั้งสยบ
อยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ, เพราะความจาง
คลายไปแห่งปีติ, ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวย
ความสุขด้วนนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
"เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข" ดังนี้; จึงบรรลุฌานที่ ๓ แล้วแลอยู่.
วิญญาณของภิกษุนั้น ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอุเบกขา, ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่ง
ลงในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา, ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่
อุเบกขา, ไม่เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของสุขอันเกิด
แต่อุเบกขา, นี้แหละคือข้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อัน
ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ, เพราะความละสุขและ
ทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, จึงบรรลุ
ฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่. วิญญาณของภิกษุนั้น ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอทุกขมสุข, ไม่
เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของอทุกขมสุข, ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของ
อทุกขมสุข, ไม่เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอทุกขมสุข,
นี้แหละ คือข้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ตั้งสยบอยู่
ในภายใน" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า "จิต
อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็ความสะดุ้ง ย่อมมี เพราะเหตุมีความ
ยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าวมานี้
ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระ-
อริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรมของสัปบุรุษ:-

(๑) เขาย่อมตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งตน
ว่ามีรูปบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง; ครั้น
รูปนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขา : วิญญาณของเขาย่อม
เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวน
ของรูปได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความ
แปรปรวนของรูป ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม
(เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มีความ
หวาดเสียว มีความคับแค้น มีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่ เพราะความยึดมั่น.

(๒) เขาย่อมตามเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมตามเห็น
ซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งตนใน
เวทนาบ้าง; ครั้นเวทนานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขา :
วิญญาณของเขาย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของเวทนา
เพราะความแปรปรวนของเวทนาได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความ
เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของเวทนา ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต
เขาย่อมเป็นผู้มีความหวาดเสียว มีความคับแค้น มีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่
เพราะความยึดมั่น.

(๓) เขาย่อมตามเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่ง
ตนว่ามีสัญญาบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งตนในสัญญา
บ้าง; ครั้นสัญญานั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่นแก่เขา : วิญญาณ
ของเขา ย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของสัญญา เพราะ
ความแปรปรวนของสัญญาได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยน
แปลงไปตามความแปรปรวนของสัญญา ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อม
เป็นผู้มีความหวาดเสียว มีความคับแค้น มีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่ เพราะ
ความยึดมั่น.

(๔) เขาย่อมตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อม
ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลายในตนบ้าง, ย่อม
ตามเห็นซึ่งตนในสังขารทั้งหลายบ้าง; ครั้นสังขารทั้งหลายเหล่านั้น แปรปรวนไป
เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขา : วิญญาณของเขาย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยน
แปลงไปตามความแปรปรวนของสังขารทั้งหลาย เพราะความแปรปรวนของสังขาร
ทั้งหลายได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความ
แปรปรวนของสังขารทั้งหลาย ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความเกิดขึ้น
แห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มี
ความหวาดเสียว มีความคับแค้น มีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่ เพราะความ
ยึดมั่น.

(๕) เขาย่อมตามเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมตามเห็น
ซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง, ย่อมตามเห็นซึ่งตนใน
วิญญาณบ้าง; ครั้นวิญญาณนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขา :
วิญญาณของเขา ย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของ
วิญญาณ เพราะความแปรปรวนของวิญญาณได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้ง
อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ย่อมครอบงำจิต
ของเขาตั้งอยู่ เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะ
ความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มีความหวาดเสียว มีความคับแค้น มีความ
พะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่ เพราะความยึดมั่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อย่างนี้แล คือความสะดุ้ง ย่อมมี เพราะ
เหตุมีความยึดมั่นถือมั่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 09:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็ความไม่สะดุ้ง ย่อมมี เพราะเหตุไม่มี
ความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าว
มานี้ อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในธรรมของ
พระอริยเจ้า เป็นผู้ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ได้เห็นสัปบุรุษทั้ง
หลาย เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ เป็นผู้ได้รับการแนะนำ ในธรรมของสัปบุรุษ:-

(๑) ท่านย่อมไม่ตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมไม่ตาม
เห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตน
ในรูปบ้าง; ครั้นรูปนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่ท่าน :
แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวน
ของรูป เพราะความแปรปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจาก
ความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม
(เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านตั้งอยู่ เพราะความไม่
ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมเป็นผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
พะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.

(๒) ท่านย่อมไม่ตามเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมไม่
ตามเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็น
ซึ่งตนในเวทนาบ้าง; ครั้นเวทนานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น
แก่ท่าน : แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความ
แปรปรวนของเวทนา เพราะความแปรปรวนของเวทนาได้มีโดยประการอื่น. ความ
สะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของเวทนา เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านตั้งอยู่.
เพราะความยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็นผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความ
คับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.

(๓) ท่านย่อมไม่ตามเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมไม่
ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง, ย่อมไม่ตาม
เห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง; ครั้นสัญญานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการ
อื่น แก่ท่าน : แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป ตาม
ความแปรปรวนของสัญญา เพราะความแปรปรวนของสัญญาได้มีโดยประการอื่น.
ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของสัญญา เพราะ
ความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง).ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
เพราะความไม่ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็นผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.

(๔) เขาย่อมไม่ตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อม
ไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลายในตนบ้าง,
ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนในสังขารทั้งหลายบ้าง; ครั้นสังขารทั้งหลายนั้น แปร
ปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่ท่าน : แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่
เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวนของสังขารทั้งหลาย เพราะความแปรปรวน
ของสังขารได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตาม
ความแปรปรวนของสังขารทั้งหลาย เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง).
ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็น
ผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่
เพราะความไม่ยึดมั่น..

(๕) ท่านย่อมไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมไม่
ตามเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง, ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง, ย่อมไม่
ตามเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง; ครั้นวิญญาณนั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดย
ประการอื่น แก่ท่าน : แต่วิญญาณของท่าน ย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามความแปรปรวนของวิญญาณ เพราะความแปรปรวนของวิญญาณได้มีโดย
ประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของ
วิญญาณ เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง).ย่อมไม่ครอบงำ
จิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็นผู้มีความ
หวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะ
ความไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อย่างนี้แล คือความไม่สะดุ้ง ย่อมมี
เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร