วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ย. 2024, 23:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายแต่ละปัจจัย

ปัจจัยเหล่านี้แต่ละปัจจัยมีความหมายประการใด จะได้กล่าวโดยย่อพอให้สม กับแนวแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะ อันเป็นการรวบรวมแสดงพระอภิธรรมโดยย่อ พอให้หลักที่จะศึกษาโดยพิสดารต่อไป ไม่ใช่การแสดงโดยพิสดารตามนัยแห่งคัมภีร์ มหาปัฏฐาน ในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งแสดงอย่างถี่ถ้วนกว้างขวางมาก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. เหตุปัจจัย

เหตุ แปลว่า เค้ามูล หรือ สิ่งที่ทำให้เกิดผล นอกจากนี้ยังแปลว่า ข้อความ เรื่องราว เรื่องต้น เรื่องที่เกิดขึ้น เครื่องก่อเรื่อง ก็ได้ เหตุมี ๔ อย่าง คือ

ก. เหตุเหตุ ได้แก่ เหตุ ๖ คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

ข. ปจฺจยเหตุ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ อันเป็นเหตุในการเรียกชื่อของ รูปขันธ์

ค. อุตฺตมเหตุ ได้แก่ กุสลกรรม และอกุสลกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดกุสล วิบาก และอกุสลวิบาก

ง. สาธารณเหตุ ได้แก่ อวิชชา อันเป็นเหตุให้เกิดสังขารธรรมทั่วทั้งหมด (ขันธ์ ๕)

๑. เหตุ ในเหตุปัจจัยนี้หมายถึง เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ

๒. ประเภท เหตุปัจจัยอยู่ในประเภทนามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม และปัจจยุบบันนธรรม นั้นเกิดขึ้นในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือ ยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ คือ อำนาจ เหตุปัจจัยนี้มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

ชนกสัตติ มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นได้

อุปถัมภกสัตติ มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมตั้งอยู่ได้

๖. องค์ธรรม มี ๓ อย่างคือองค์ธรรมของปัจจัย องค์ธรรมของปัจจยุบบันน และองค์ธรรมของปัจจนิก (ปัจจนิก หมายความว่าธรรมที่ไม่ใช่ผล คือไม่ใช่ปัจจยุบ บันน)

ปัจจัยธรรม ได้แก่ เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ

ปัจจยุบบันนธรรม ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑, เจตสิก ๕๒ (เว้นโมหเจตสิกที่ใน โมหมูลจิต ๒), สเหตุกจิตตชรูป และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป

ปัจจนิกธรรม ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ), โมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต ๒,อเหตุกจิตตชรูป, อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป, พาหิรรูป, อาหารรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป และ ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ เหตุปัจจัยมี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็นกุสลเหตุ นั้นเป็นเหตุปัจจัย กุสลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่ประกอบ เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็น กุสลเหตุ ๓ นั้น เป็นเหตุปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่ประกอบด้วย และกุสลจิตตชรูป ด้วย เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อันเป็นอกุสลเหตุ ๓ นั้นเป็นเหตุปัจจัยอกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กับ เจตสิกที่ประกอบ เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลเหตุ ๓ นั้น เป็นเหตุปัจจัย อกุสล จิตตชรูป เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุ ปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นเหตุปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อัน เป็นอพยากตเหตุ ๓ เป็นเหตุปัจจัย สเหตุกวิบากจิต ๒๑, สเหตุกกิริยาจิต ๑๗, สเหตุกวิบากจิตตชรูป, สเหตุกกิริยาจิตตชรูป, สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นเหตุ ปัจจยุบบันน (ถ้าเป็นในจตุโวการภูมิ ปัจจยุบบันนธรรม ก็ต้องเว้นรูป)

อนึ่งเมื่อกล่าวถึงจิต จะต้องแสดงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป แต่ในที่นี้บาง แห่งไม่ได้แสดงเจตสิกด้วย เพราะอยากจะตัดให้สั้นเข้า และเห็นว่าย่อมจะเข้าใจกัน อยู่โดยทั่วไปแล้วว่า เมื่อมีจิต ก็ต้องมีเจตสิกประกอบอย่างแน่นอน ดังนั้นแม้ในบท ต่อ ๆ ไป จะกล่าวถึงจิตเฉย ๆ ก็ขอให้นึกเห็นถึงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๒ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒.สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕.สหชาตนิสสยปัจจัย
๖. วิปากปัจจัย
๗. สหชาตินทริยปัจจัย
๘.มัคคปัจจัย
๙. สัมปยุตตปัจจัย
๑๐.สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๑.สหชาตัตถิปัจจัย
๑๒.สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อารัมมณปัจจัย

๑. อารมณ์ หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖ อันได้แก่รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์

อารมณ์ทั้ง ๖ นี้ ได้กล่าวโดยละเอียดพอควรแล้วในปริจเฉทที่ ๓ จึงจะไม่ กล่าวซ้ำในที่นี้อีก ขอให้ทบทวนดูที่ปริจเฉท ๓ นั้น

๒. ประเภท บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่าปัจจัยธรรมนั้นได้แก่อารมณ์ นั่นเอง

๔. กาล เป็นได้ทั้ง อดีตกาล อนาคต ปัจจุบัน และกาลวิมุตติ

๕. สัตติ มีอำนาจทั้ง ๒ อย่าง คือ ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรม

องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และนิพพาน บัญญัติ ที่เป็นกาลวิมุตติ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ จิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ ทาน รักษาศีล เจริญกุสลฌาน กุสลอภิญญา หรือมัคคจิต เหล่านี้เป็นต้น อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ นี่แหละ เป็นอารัมมณปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ ที่นึกถึงหรือที่พิจารณา กุสลธรรมนั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล นึกถึงโลกียกุสล ๑๗ ที่ได้บำเพ็ญมาแล้วก็อาจ เกิด ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ หรือโทมนัสขึ้นได้ โลกียกุสลจิต ๑๗ นั่นแหละ เป็นอารัมมณปัจจัย อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลได้แก่กุสลจิต ๒๑ เป็นอารัมมณปัจจัย อพยากตะ ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑, กามกิริยา ๑๐(เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑), วิญญาณัญจายตนะวิบาก ๑ กิริยา ๑, เนวสัญญานาสัญญายตนะวิบาก ๑ กิริยา ๑, กิริยาอภิญญา ๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

กุสลกามชวนจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ให้เกิดตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน

อรหัตตมัคคจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ให้เกิดมหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณะ) เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

พระอรหันต์ พิจารณากุสลต่าง ๆ ที่เคยทำไว้แต่ก่อน ๆ ก็ดี พิจารณากุสลโดย ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ดี ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้หน่วงมาเป็นอารมณ์นั้น เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิต ที่พิจารณาธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

พระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา พิจารณากุสลจิตที่เกิดแล้วแก่ตนและผู้อื่น และที่ จะเกิดต่อไปภายหน้า กุสลเหล่านี้เป็นอารัมมณปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตที่พิจารณา กุสลเหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

อากาสานัญจายตนกุสลจิตที่เกิดมาแล้วในภพนี้หรือภพก่อน เป็นอารัมมณ ปัจจัย วิญญาณัญจายตนวิบาก หรือ วิญญาณัญจายตนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจยุบ บันน

อากิญจัญญายตนกุสลจิต ที่เกิดมาแล้วในภพนี้หรือภพก่อน เป็นอารัมมณ ปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาเป็น อารัมมณปัจจยุบบันน

กุสลจิต เป็นอารัมมณปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลที่ตนได้กระทำมาแล้วนั้นเป็นอารัมมณ ปัจจัย ก็สามารถทำให้เกิดอกุสลจิต โลภ โกรธ หลง เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน ขึ้นได้

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อกุสล ๑๒ เป็นปัจจัยให้เกิดมหากุสล หรือ อภิญญากุสลได้ เป็นต้นว่า

พระเสกขบุคคล พิจารณาอกุสลที่ละได้แล้วและอกุสลที่ยังคงเหลืออกุสล นี่ แหละเป็น อารัมมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณาอกุสลจิตเหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจ ยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชน พิจารณาอกุสลโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อกุสลนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณาอกุสลนั้น เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชน ผู้ได้อภิญญาเจโตปริยญาณ พิจารณารู้อกุสลจิตที่ เกิดขึ้นในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งของตนเองและของผู้อื่น อกุสลนั้นเป็นอารัมมณ ปัจจัย อภิญญากุสลจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นอารัมมณ ปัจจัย อพยากตะ ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑, กามกิริยาจิต ๑๐ (เว้นปัญจทวาราวัชชน จิต ๑) และ อภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน เช่น

พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้วก็ดี ที่เคยเกิดมาแต่ก่อน ๆ ก็ดี กิเลสเหล่า นั้นเป็นอารัมมณปัจจัย กิริยาจิตที่พิจารณากิเลสนั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

พระอรหันต์ พิจารณาอกุสลจิต ๑๒ ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งของตน และของผู้อื่นเป็นอารัมมณปัจจัย อภิญญากิริยาจิตที่รู้อกุสลนั้น ๆ เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน

อกุสลจิต ๑๒ ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญากิริยาจิตนั้น เป็นอารัมมณปัจจัย อภิญญากิริยาจิต ๑ อาวัชชนจิต ๑ (คือมโนทวาราวัชชนจิต) ที่พิจารณาอกุสลจิต นั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อพยากตะที่เป็นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ และนิพพาน อพยากตะที่เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันนนั้นได้แก่ กามวิบาก ๒๓, กามกิริยา ๑๑, วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑, เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ๑, อภิญญากิริยา ๑ และ ผลจิต ๔ เช่น

อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิตที่พิจารณา อรหัตตผลจิต หรือพิจารณานิพพาน โดยปัจจเวกขณะ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

นิพพานที่เป็นอารมณ์ของผลจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ผลจิต ๔ ดวง มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

วัตถุรูปทั้ง ๖, อารมณ์ทั้ง ๖, โลกียวิบากจิต ๓๒, กิริยาจิต ๒๐ ทั้งของตน และของผู้อื่น เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ที่พิจารณาอารมณ์ เหล่านั้น โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

รูป เสียง วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญาจิต เป็น อารัมมณปัจจัย อภิญญากิริยา ๑ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น ของพระอรหันต์ที่รู้ อารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

อากาสานัญจายตนกิริยา และอากิญจัญญายตนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัย วิญญาณัญจายตนกิริยา และเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจยุบ บันน (ตามลำดับ)

ปัญจารมณ์ เป็นอารัมมณปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็น อารัมมณปัจจยุบ บันน

วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ นี้เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ทั้งของตนและ ของผู้อื่น เป็นอารัมมณปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

(๘) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ กุสล วิบากจิต ๓๕ (เว้นอรหัตตผล) กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘, นิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสล ๘ มัคคจิต ๔ และอภิญญา กุสล ๑ เป็น อารัมมณปัจจยุบบันน เช่น

ผลเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี นิพพาน ก็ดี เป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสลจิตของพระ เสกขบุคคล ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ) อารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

นิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัย โคตรภู หรือโวทาน คือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตก็ดี มัคคจิต ๔ ทีกำลังเกิดขึ้นนั้น ก็ดี เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖, อารมณ์ ๖, โลกียวิบากจิต ๓๒, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง หรือของผู้อื่นในกาลทั้ง ๓ เป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณาอารมณ์นั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนพิจารณารูป เสียง วิบากจิต กิริยาจิต ด้วยอภิญญา กุสล อารมณ์เหล่านี้เป็นอารัมมณปัจจัย อภิญญากุสลจิตที่รู้เห็นอารมณ์เหล่านั้นเป็น อารัมมณปัจจยุบบันน

(๙) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ อกุสล, วัตถุ ๖, อารมณ์ ๖, โลกียวิบากจิต ๓๒, กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ ของตนเองและของผู้อื่นในกาลทั้ง ๓ เหล่านี้เป็น อารมณ์เมื่อใด เมื่อนั้นก็เป็นอารัมมณปัจจัย ทำให้อกุสลจิตมีโลภะเป็นต้น เกิดขึ้นได้ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะอารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ


๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อธิปติปัจจัย

อธิปติปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ

ก. อารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พึงกระทำให้เอาใจใส่เป็นพิเศษ ช่วย อุปการะแก่นามนั้น ชื่อว่า อารัมมณาธิปติปัจจัย

ข. อธิบดีทั้ง ๔ มี ฉันทาธิปติ เป็นต้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนนั้น ชื่อว่า สหชาตาธิปติปัจจัย

อารัมมณาธิปติปัจจัย

๑. อารมณ์ ต้องเป็นอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เอาใจใส่อย่างธรรมดา

๒. ประเภท นามรูป เป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็น อารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์นั้น เอง (แต่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย)

๔. กาล เป็นได้ทั้ง อดีต อนาคต ปัจจุบัน และ กาลวิมุตติ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นิปผันนรูป๑๘ ที่เป็นอิฏฐารมณ์, จิต ๘๔ (เว้นโทสจิต ๒ โมหจิต ๒ ทุกขกายวิญญาณ ๑), เจตสิก ๔๗ (เว้นโทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา) และ นิพพาน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ,มหากุสล ๘, มหากิริยา ญาณสัมปยุตต ๔, โลกุตตรจิต ๘, เจตสิก ๔๕ (เว้น โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา อัปปมัญญา ๒)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ และรูปทั้งหมดที่ ไม่เป็นอิฏฐารมณ์

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณาธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคค) ซึ่งทำให้ซาบซึ้งตรึงใจเป็นพิเศษก็ดี ฌานที่ได้ที่ถึงแล้ว อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙ ก็ดี โคตรภูและโวทาน อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ก็ดี และมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓ อันเกิดขึ้นแล้วแก่พระเสกขบุคคลก็ดี ธรรมเหล่านี้เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตที่พิจารณาธรรมนั้น ๆ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจ ยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ โลกียกุสล ๑๗ เมื่อนึกถึงกุสลเหล่านี้ โดยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ก็เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย อาจทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิได้ ราคะ ทิฏฐิ คือ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นโดยอารมณ์เหล่านี้ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสล คือ อรหัตตมัคค ๑ เป็นอารัมมณา ธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตมัคคนั้น เป็นอารัมม ณาธิปติปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ผู้ที่เพลิดเพลินต่อราคะ ต่อทิฏฐิ โดยความ เอาใจใส่เป็นพิเศษ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ดวงนั้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ทำให้ เกิด ราคะ ทิฏฐิขึ้นอีก ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ที่เกิดขึ้นอีกนี่แหละ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตผลจิต ก็ดี พิจารณานิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ผลจิตเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตของพระเสกขบุคคล ๓ ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ) ผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

นิพพาน เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย โคตรภูของติเหตุกปุถุชน โวทานของพระ เสกขบุคคล ๓ อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ และ มัคคจิต ๔ ของมัคค บุคคล ๔ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล เอาใจใส่เป็นพิเศษในวัตถุ ๖, กามอารมณ์ ๕, โลกียวิบาก ๓๑ (เว้นทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑) และกิริยาจิต ๒๐ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย เกิดความเพลิดเพลิน มี ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ขึ้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. อารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สหชาตาธิปติปัจจัย

๑. อธิปติ ได้แก่ ฉันทาธิปติ วิริยาธิปติ จิตตาธิปติ และวิมังสาธิปติ

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม เกิดร่วมในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นได้เฉพาะในกาลที่เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ฉันทเจตสิก วิริยเจตสิก ปัญญาเจตสิกที่ใน สาธิปติชวน ๕๒ (คือ ชวนจิต ๕๕ เว้น หสิตุปปาทจิต ๑ โมหมูลจิต ๒ จึงเหลือ ๕๒) และจิตเฉพาะสาธิปติชวนจิต ๕๒

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ สาธิปติชวนจิต ๕๒, เจตสิก ๕๐ (เว้นวิจิ กิจฉาเจตสิก ๑ และเว้นฉันทะ วิริยะ ปัญญา ในขณะที่เป็นอธิบดี ๑) จิตตชรูปที่ เกิดด้วยสาธิปติชวนจิต ๕๒ นั้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ กามจิต ๕๔ ที่ไม่ได้เกิดร่วมกับอธิบดี, องค์ ธรรมของอธิบดี เฉพาะองค์ที่กำลังเป็นอธิบดี, มหัคคตวิบาก ๙, จิตตชรูปที่ไม่ได้ เกิดร่วมกับอธิบดี, กัมมชรูป, อุตุชรูป, อาหารชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตาธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งในมหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ มัคคจิต ๔ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย นามขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตต ด้วยกุสลอธิบดีนั้น อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย กุสลสาธิปติจิตตชรูป เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์ หนึ่งในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย และกุสลสาธิปติ จิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อธิบดี ๓ (เว้นวิมังสาธิปติ) องค์ใดองค์หนึ่ง ในโลภมูล ๘ โทสมูล ๒ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย นามขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตต ด้วยอกุสลอธิบดีนั้น อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ เป็นสหชาตาธิปติ ปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลอธิบดี ๓ องค์ใดองค์หนึ่งในอกุสล จิต ๑๐ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดร่วมด้วยอกุสลจิต ๑๐ ดวงนั้น เป็น สหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลอธิบดี ๓ องค์ใด องค์หนึ่งในอกุสลจิต ๑๐ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย อกุสลจิต ๑๐ คือ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และอกุสลสาธิปติจิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งที่ในสเหตุก กิริยาจิต ๑๗, ที่ในผลจิต ๔ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ผลจิต ๔ และ อพยากตสาธิปติจิตตชรูป เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๓ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตาธิปติปัจจัย
๒. เหตุปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย
๖. วิปากปัจจัย
๗. นามอาหารปัจจัย
๘. สหชาตินทริยปัจจัย
๙. มัคคปัจจัย
๑๐. สัมปยุตตปัจจัย
๑๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๒. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๓. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อนันตรปัจจัย

๑. อนันตร หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิดโดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อนันตรปัจจัยนี้เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้ นึกถึงวิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็น อย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย)เป็นอนันตรปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง(เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นอนันตรปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นอนันตรปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นอนันตรปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นอนันตร ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นอนันตรปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นอนันตรปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นอนันตรปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นอนันตรปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน(เว้นดวงสุดท้าย) เป็นอนันตรปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง (เว้นดวงแรก) เป็นอนันตรปัจจ ยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็น อนันตรปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑,มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็น อนันตรปัจจ ยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ เป็นอนันตรปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้นเป็นอนันตรปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นอนันตรปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นอนันตรปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สมนันตรปัจจัย

สมนันตรปัจจัยนี้กับอนันตรปัจจัยที่กล่าวมาแล้วนั้น ต่างกันที่พยัญชนะ คือ ตัวอักษรเท่านั้น ส่วนอรรถ คือเนื้อความหรือความหมายของปัจจัยทั้ง ๒ นี้เหมือน กันทุกประการ ไม่มีผิดแผกแตกต่างกันเลย ดังที่ใน ปัฏฐานอรรถกถา แสดงไว้ว่า

ธรรมใดเรียกว่า อนันตรปัจจัย ธรรมนั้นแลเรียกว่า สมนันตรปัจจัย คือ ในที่นี้ว่าโดยแท้จริงแล้ว ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น เช่นเดียวกับคำว่า อุปจยะ สันตติ และคำว่า อธิวจนทุกะ นิรุตติทุกะ เป็นต้น ซึ่งว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มี แตกต่างกันเลย

ที่แสดง อนันตรปัจจัยแล้ว ยังแสดงสมนันตรปัจจัยอีก ก็เพื่อจะย้ำให้หนัก แน่นว่า จิตที่เกิดก่อนต้องดับไปเสียก่อน แล้วจึงจะเกิดจิตดวงทีหลังได้ เป็นดังนี้ติด ต่อกันไปโดยไม่ขาดสาย จะได้ตระหนักแน่ว่าจิตนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ตลอดไปจนถึงเวลาตาย จึงจะดับไปครั้งหนึ่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว จิตเกิดดับอยู่ไม่วาย ถึงแม้เวลาตาย คือ จุติจิตเกิดขึ้นและดับไปแล้ว ก็ยังมีปฏิสนธิจิตมาสืบต่อไม่ขาดสายลงไปได้เลย ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจแห่ง อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นี้เอง

เมื่อ สมนันตรปัจจัย มีความหมายเช่นเดียวกับอนันตรปัจจัยทุกประการ ก็ไม่ จำเป็นที่จะต้องกล่าวข้อความ หรืออรรถาธิบายซ้ำในที่นี้อีก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. สหชาตปัจจัย

๑. สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ในปวัตติกาล, มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติ กาล, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปกับอุปา ทายรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจนิก ไม่มี เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยก เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตปัจจัย จิตตชรูปที่ เกิดด้วยกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต ปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วยจิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตปัจจัย จิตต ชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลจิต ๑๒ เป็นสห ชาตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตปัจจ ยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบาก นามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔, วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูป ตามสมควร เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาตปัจจัย รูปที่เหลือก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นสหชาตปัจจัย อุปาทายรูปที่อาศัยเกิด กับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๘) กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔ ด้วย และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชาตปัจจัย กุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

(๙) อกุสลด้วยอพยากตะด้วย เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย และ อกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย เป็นสหชาตปัจจัย อกุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. อัญญมัญญปัจจัย

๑. อัญญมัญญ หมายความว่า ต่างต้องอาศัยพึ่งพิงอิงกันจึงเกิดได้ จึงตั้งอยู่ ได้ เปรียบเหมือนไม้ ๓ อันตั้งอิงพิงกันไว้

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม นั้นเกิดร่วม พร้อมกัน

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน คือ ปัจจัยธรรมยังไม่ได้ดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔

ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ กับ ปฏิสนธิหทยวัตถุ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔

ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ กับ ปฏิสนธิหทยวัตถุ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อุปาทายรูป ๒๓ (เว้น หทยวัตถุ)

๗. ความหมายโดยย่อ อัญญมัญญปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยก เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนาม ขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยกเอาขันธ์ใดเป็นอัญญมัญญปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ที่เหลือ กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน ตามลำดับ

วิบากนามขันธ์ ๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิ ๔) ในปฏิสนธิ ขณะ กับ หทยวัตถุ แล้วแต่จะยกจิต หรือหทยวัตถุเป็นอัญญมัญญปัจจัย จิตหรือ หทยวัตถุที่เหลือก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน

มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแต่จะยกเอารูปใดเป็นอัญญ มัญญปัจจัย รูปที่เหลือในสมุฏฐานนั้น ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อัญญมัญญปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๘. นิสสยปัจจัย

นิสสยปัจจัย จำแนกออกได้เป็น ๓ คือ

ก. ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นพร้อมกับตนด้วย และ ปัจจัยธรรมนั้นเป็นที่อิงอาศัยให้ปัจจยุบบันนธรรมตั้งมั่นอยู่ด้วย อย่างนี้ชื่อว่า สหชาตนิสสยปัจจัย

ข. ปัจจัยธรรม คือวัตถุที่เกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรม และยังไม่ทันดับไปนั้น ได้ช่วยอุปการะ โดยเป็นที่อิงอาศัยให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นด้วยให้ตั้งมั่นอยู่ด้วย อย่างนี้ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

ค. ปัจจัยธรรม หมายเฉพาะ หทยวัตถุ (อย่างเดียว) ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน ธรรม และยังไม่ทันดับไปนั้น เป็นอารมณ์ด้วย ช่วยอุปการะโดยเป็นที่อิงอาศัยให้ ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นด้วย ให้ตั้งมั่นอยู่ด้วย อย่างนี้ชื่อว่า วัตถารัมมณปุเรชาต นิสสยปัจจัย

เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันระหว่าง ๓ ปัจจัยนี้ จึงขอกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตาม ลักษณะของปัจจัย คือ

๑. สหชาตนิสสยปัจจัย มีลักษณะ ๒ ประการ

ก. สหชาต หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรมนั้นเกิดพร้อมกัน

ข. นิสสย หมายความว่า ปัจจัยธรรมเป็นที่อาศัย เป็นที่อิงอาศัยแห่งปัจจยุบ บันนธรรม โดยอาการตั้งมั่นด้วย

๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย มี ลักษณะ ๓ ประการ

ก. วัตถุ หมายความว่า เป็นที่ตั้งของปัจจยุบบันนธรรม อันได้แก่ วัตถุ ๖ มีจักขุวัตถุ เป็นต้น หทยวัตถุเป็นที่สุด

ข. ปุเรชาต หมายความว่า ปัจจัยธรรม(คือวัตถุ ๖) นั้นเกิดก่อนปัจจยุบบันน ธรรมด้วย

ค. นิสสย หมายความว่า ปัจจัยธรรม (คือวัตถุ ๖) นั้นเป็นที่อาศัยเป็นที่อิง อาศัยแห่งปัจจยุบบันนธรรม โดยอาการตั้งมั่นด้วย

๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย มีลักษณะ ๔ ประการ

ก. วัตถุ หมายความว่า เป็นที่ตั้งของปัจจยุบบันนธรรม ในที่นี้ได้แก่ หทย วัตถุ โดยเฉพาะ

ข. อารัมมณ หมายความว่า ปัจจัยธรรม (คือ หทยวัตถุ) นั้นเป็นอารมณ์ของ ปัจจยุบบันนธรรมด้วย

ค. ปุเรชาต หมายความว่า ปัจจัยธรรม (คือหทยวัตถุ) นั้นเกิดก่อนปัจจยุบ บันนธรรมด้วย

ง. นิสสย หมายความว่า ปัจจัยธรรม (คือ หทยวัตถุ) เป็นที่อาศัย เป็นที่อิง อาศัยแห่งปัจจยุบบันนธรรม โดยอาการตั้งมั่นด้วย

สหชาตนิสสยปัจจัย

๑. สหชาตนิสสย หมายความว่า เป็นที่อิงอาศัยกัน เพราะความที่เกิดพร้อม กัน

๒. ประเภท นามรูป เป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรม

๗. ความหมายโดยย่อ เหมือนกับสหชาตปัจจัยทุกประการ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้

วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชน จิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจ โวการปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑), มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวง นี้ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรม ที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูปกิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และรูปทั้งหมด ซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวง นี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโว การภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต นิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดที่หลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐, อรูปวิบาก ๔) เป็น วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อน เวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต นิสสยปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตนิสสยปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกีย วิบากจิต ๒๘(เว้นอรูปวิบาก ๔),กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็น วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็น วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุ ปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อนึ่ง ในนิสสยปัจจัย มีการแสดงอีกนัยหนึ่ง โดยรวมสหชาตนิสสยปัจจัยกับ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย เข้าด้วยกัน และเรียกว่า มิสสกบท มิสสกบทนี้จำแนก เป็น ๒ วาระ คือ

ก. กุสลด้วยอพยากตะด้วย เป็นปัจจัยแก่กุสล โดยอำนาจแห่งสหชาตนิสสย ปัจจัย และวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

มีความหมายว่า กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งและ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นสหชาตนิสสย และวัตถุปุเรชาตนิสสย ปัจจัย กุสลนามขันธ์ที่เหลือเป็นสหชาตนิสสยและวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

ข. อกุสลด้วย อพยากตะด้วย เป็นปัจจัยแก่อกุสล โดยอำนาจแห่งสหชาต นิสสยปัจจัยและวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

มีความหมายว่า อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง และ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นสหชาตนิสสยและวัตถุปุเรชาตนิสสย ปัจจัย อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ เป็นสหชาตนิสสยและวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจยุบบันน

ทั้ง ๒ วาระนี้ จะยกขันธ์เดียว หรือ ๒ ขันธ์ หรือ ๓ ขันธ์ เป็นปัจจัยก็ตาม ขันธ์ที่เหลือเท่าไรก็ตามก็เป็นปัจจยุบบันนเสมอไป

วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

๑. วัตถารัมมณปุเรชาต หมายความว่า หทยวัตถุที่เกิดก่อน ซึ่งเป็นอารมณ์ ด้วยนั้น เป็นที่ตั้งที่อาศัยแก่จิตที่เกิดทีหลัง

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม ซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์ นั่นเอง

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่างฐีติ ขณะ ยังไม่ถึง ภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะนั้น คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑, กามชวนจิต ๒๙, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และ อภิญญาจิต ๒ (เฉพาะ อิทธิวิธอภิญญาเท่านั้น) ขณะที่เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙ ในเวลาที่ไม่ได้เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับ ถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นปัจจัย จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะ (เว้นกุสลชวนะ และอกุสลชวนะ) อันได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑, หสิตุปปาทจิต ๑, มหากิริยา จิต ๘, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และ อิทธิวิธอภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ และอิทธิวิธอภิญญากุสลจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัยนี้ จำแนกได้เป็น ๓ คือ

ก. อารมณ์ชนิดที่เป็นอธิบดีด้วย เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย ช่วย อุปการะให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมขึ้น อย่างนี้เรียกว่า อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ข. ธรรมที่เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย และช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่นด้วย อย่างนี้เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย

ค. ธรรมที่เป็นที่อาศัยมีกำลังอย่างแรงกล้า โดยอำนาจแห่งสภาพของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย และ อนันตรปัจจัยเลย อย่างนี้เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย

อนึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่ให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมได้มากกว่าปัจจัย อื่น ๆ องค์ธรรมก็มากมายหลายอย่าง จนถึงกับได้ชื่อว่า มหาปเทสปัจจัย ดังมีบาลี ในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกาแสดงว่า ปจฺจยมหาปเทโส เหส ยทิทํ ปกตูปนิสฺสโย ซึ่งแปลว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยนี่แหละ เรียกว่า ปัจจัยมหาปเทส

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

อารัมมณูปนิสสยปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือน กับอารัมมณาธิปติปัจจัย

๑. อารมณ์ ต้องเป็นอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เอาใจใส่อย่างธรรมดา

๒. ประเภท นามรูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์นั่น เอง (แต่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย)

๔. กาล เป็นได้ทั้ง อดีต อนาคต ปัจจุบัน และ กาลวิมุตติ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ ที่เป็นอิฏฐารมณ์, จิต ๘๔ (เว้นโทสจิต ๒ โมหจิต ๒ ทุกขกายวิญญาณ ๑), เจตสิก ๔๗ (เว้นโทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา) และ นิพพาน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, มหากุสล ๘, มหากิริยา ญาณสัมปยุตต ๔, โลกุตตรจิต ๘, เจตสิก ๔๕ (เว้น โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา อัปปมัญญา ๒)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ และรูปทั้งหมด ที่ไม่เป็นอิฏฐารมณ์

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคค) ซึ่งทำให้ซาบซึ้งตรึงใจเป็นพิเศษก็ดี ฌานที่ได้ที่ถึงแล้ว อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙ ก็ดี โคตรภูและโวทาน อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ก็ดี และมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓ อันเกิดขึ้นแล้วแก่พระเสกขบุคคลก็ดี ธรรมเหล่านี้เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตที่พิจารณาธรรมนั้น ๆ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจ ยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ โลกียกุสล ๑๗ เมื่อนึกถึงกุสลเหล่านี้โดยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย อาจทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิ ได้ ราคะ ทิฏฐิ คือ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นโดยอารมณ์เหล่านี้ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสล คือ อรหัตตมัคค ๑ เป็นอารัมมณา ธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต(ในปัจจเวกขณะวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตมัคคนั้น เป็นอารัมม ณาธิปติปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ผู้ที่เพลิดเพลินต่อราคะ ต่อทิฏฐิ โดยความเอา ใจใส่เป็นพิเศษ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ดวงนั้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิ ขึ้นอีก ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ที่เกิดขึ้นอีกนี่แหละ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณะวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตผลจิตก็ดี พิจารณานิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ผลจิตเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตของพระเสกขบุคคล ๓ ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ) ผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

นิพพาน เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย โคตรภูของติเหตุกปุถุชน โวทาน ของ พระเสกขบุคคล ๓ อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ และมัคคจิต ๔ ของมัคค บุคคล ๔ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล เอาใจใส่เป็นพิเศษในวัตถุ ๖, กามอารมณ์ ๕, โลกียวิบาก ๓๑(เว้นทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑) และ กิริยาจิต ๒๐ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย เกิดความเพลิดเพลิน มีราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ขึ้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. อารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อนันตรูปนิสสยปัจจัย

อนันตรูปนิสสยปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน กับอนันตรปัจจัย

๑. อนันตร หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิดโดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อนันตรูปนิสสยปัจจัยนี้ เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึกถึงวิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจ ได้เป็นอย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง(เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล๙ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย มหัคคตกุสล๙เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็น อนันตรูป นิสสยปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นอนันตรูปนิสสย ปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ตทาลัมพนะ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน(เว้นดวงสุดท้าย) เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง(เว้นดวงแรก) เป็นอนันต รูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นอนันต รูปนิสสยปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นอนันตรูป นิสสยปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้น เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นอนันตรูปนิสสย ปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นอนันตรูป นิสสยปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ปกตูปนิสสยปัจจัย

๑. ปกตูปนิสสย มีความหมายว่า การอิงอาศัยที่มีกำลังอย่างแรงกล้านั้น เป็น ไปอย่างปกติตามธรรมดาของสภาพธรรมนั้น ๆ เอง

๒. ประเภท บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปกตูปนิสสยชาติ ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ สุทธปกตูปนิสสยชาติ และ มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ

สุทธปกตูปนิสสยชาติ หมายความว่า จิต เจตสิก ที่เกิดก่อน ๆ และ รูป บัญญัติที่มีกำลังมาก (พลวะ) นั้นช่วยอุปการะแก่จิต เจตสิก ที่เกิดทีหลัง

มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ หมายความว่า กุสลกรรม อกุสล กรรม ที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคเจตนา) นั้นช่วยอุปการะแก่ วิบากนามขันธ์

๔. กาล เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวิมุตติ

๕. สัตติ มีชนกสัตติแต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อนๆ, รูป ๒๘ และบัญญัติที่เป็นชนิดที่มีกำลังมาก (บัญญัตินั้นเว้น อสุภบัญญัติ, กสิณบัญญัติ, โกฏฐาสบัญญัติ, อานาปานบัญญัติ, อากาสบัญญัติ, นามบัญญัติ เป็นต้น)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ ปกตูปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคคจิต ๑) ที่มีกำลัง อย่างแรงกล้าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน เช่น

สัทธา สีล สุตะ จาคะ ปัญญา อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ เป็นปกตูปนิสสย ปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ การบำเพ็ญทาน สีล ภาวนา ที่เกิดขึ้นจากกุสลที่เป็นปัจจัย นั้นตามควรแก่การกระทำนั้น ๆ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหากุสล ที่เจริญสมถภาวนา เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ฌานจิตที่เกิดขึ้นเพราะ การเจริญภาวนานั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

ฌานจิตเบื้องต่ำ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ฌานจิตเบื้องสูงไปตามลำดับ เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหากุสลในอธิฏฐานวิถีที่ปรารถนาจะให้อภิญญาจิตเกิด เป็นปกตูปนิสสย ปัจจัย ปัญจมฌานกุสลจิตที่ให้อภิญญาจิตเกิดขึ้นนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

มหากุสลที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มัคคจิตที่เกิดขึ้น เพราะการเจริญภาวนานั้นเป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

มัคคจิตเบื้องต่ำ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มัคคจิตเบื้องสูงไปตามลำดับ เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

มัคคจิต เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ มี อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อัน ได้แก่ ปัญญาในมหากุสล เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลกียกุสลจิต ๑๗ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ที่เกิดโดยอาศัยกุสลนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบ บันน เช่น

อาศัย สัทธา สีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในโลกียกุสลจิต ๑๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ทำให้เกิดมี ราคะ ทิฏฐิ มานะ โมหะ และ โทมนัส ขึ้นได้ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะเหตุดังกล่าวนี้แหละเป็นปกตูปนิสสย ปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ วิบากนามขันธ์ ๔ (ตามอภิธรรมนัย) กุสลํกมฺมํ วิปากสฺสอุป นิส ย. ปจฺจเยนปจฺจโย กุสลกัมม เป็นปัจจัยแก่ กุสลกัมมชรูป (ตาม สุตตันตนัย)

เช่น สัทธา สีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในกุสลจิต ๒๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ย่อมทำให้เกิด ทุกขกาย สุขกาย และ ผลสมาบัติ อันได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒ ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน และกุสลเจตนาอันแรง กล้าเป็นปัจจัย แก่กัมมชรูป (อสัญญีสัตว์)

มหากุสลเจตนา ๘ ในอดีตภพ นับถอยหลังตั้งแต่ชาติที่ ๒ เป็นต้นไป มหัคคตกุสลเจตนา ๙ ในอดีตภพ เฉพาะชาติที่ ๒ และมัคคเจตนาในชาตินี้ เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลวิบากจิต ๒๙ คือ อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙ และผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

อรหัตตมัคคจิต ๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย การเข้า ฌานสมบัติ อันได้แก่ มหัคคตกิริยาจิต ๙ ก็ดี , การพิจารณาสังขารโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันได้แก่ มหากิริยา ๘ ก็ดี การบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ อันได้แก่ ปัญญาในมหากิริยาก็ดี และ อภิญญากิริยาจิต ๑, ก็ดี เหล่านี้เป็นปกตูป นิสสยปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน ข้อนี้มีรายละเอียด มากมาย แต่รวมได้ความว่า

อาศัย ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ มานะ เป็นต้น อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ หรือ อกุสลกรรมบถ ๑๐ ประการที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ก่อให้ เกิด ทุจจริตทางกายกรรม ๓ ทางวจีกรรม ๔ ทางมโนกรรม ๓ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั่นเอง เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน เช่น

มีราคะ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า ปรารถนาภพที่ดี (ภวสมฺปตฺติ) ปรารถนา ทรัพย์สมบัติ (โภคสมฺปตฺติ) อันได้แก่ โลภมูลจิต นั่นเอง เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย จึงทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ ก็ดี ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙ ก็ดี ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น อันได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุสลอภิญญาจิต ๑ ก็ดี ยังมัคคให้เกิดขึ้น อันได้แก่ มัคคจิต ๔ ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน ทั้งนั้น

อาศัย โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า ประกอบอกุสลกรรม แล้ว อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มีความปรารถนาจะลบล้าง ผลของกรรมนั้น ๆ จึงทำทาน รักษาสีล เจริญภาวนา อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ดังนี้ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน เช่น

บุคคลที่อาศัย โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนาในภวสมบัติ โภคสมบัติ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ย่อมทำให้เกิดทุกขกาย สุขกายก็ดี เกิดผลจิต ๔ ก็ดี เกิดอกุสลวิบากจิต ๗ ก็ดี เหล่านี้เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ และรูป ๒๘ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบ บันน เช่น

ความสุขกาย ความทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ช่วยอุปการะแก่ ความสุขกาย ความทุกข์กาย ผลสมาบัติ (คือ ผลจิต ๔) เหล่านี้ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย สุขสหคตกายวิญญาณ เป็นปกตูปนิสสย ปัจจยุบบันน

พระอรหันต์ อาศัยความสุขกาย หรือทุกข์กาย ตลอดจนความเย็น ความร้อน อาหาร ที่อยู่อาศัย อันเป็นที่สบายและไม่สบาย เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ย่อมยัง สมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมเข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ มหัคคตกิริยา จิต ๙, ย่อมพิจารณาสังขาร โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันได้แก่ มหา กิริยา ๘ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

(๘) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล วิบากจิต ๓๕ (เว้นอรหัตตผล ๑) กิริยาจิต ๒๐ รูป ๒๘ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน เช่น

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ อันเป็นที่สบายเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย สัทธา ได้แก่ สัทธาเจตสิก ๑, สีล ได้แก่ วีรตีเจตสิก ๓, สุตะ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑, จาคะ ได้แก่ อโลภเจตสิก ๑, ปัญญา ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ อันเป็นที่สบายเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัยจึงทำทาน รักษาสีล เจริญภาวนา ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังมัคคให้เกิดขึ้น อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นปกตูป นิสสยปัจจยุบบันน

(๙) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลกียวิบากจิต ๓๒ อาวัชชนจิต ๒ รูป ๒๘ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อาศัย อุตุ อาหาร เสนาสนะ เป็นปกตูปนิสสย ปัจจัย จึงกระทำทุจจริตธรรม คือ อกุสลกรรมบถ ๑๐ มีกายทุจจริต ๓ วจีทุจจริต ๔ มโนทุจจริต ๓ อันได้แก่ อกุสล ๑๒ นั่นเอง เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๒ ปัจจัยเท่านั้น คือ

๑. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ปุเรชาตปัจจัยนี้ จำแนกได้เป็น ๒ คือ

ก. วัตถุที่เกิดก่อน และยังไม่ทันดับไป ได้ช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรม ได้เกิดขึ้น อย่างนี้ได้ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตปัจจัย

ข. อารมณ์ เฉพาะแต่ที่เป็นรูปธรรม อย่างที่เรียกว่าปัจจยุบบันนนิปผันนรูป ที่เกิดก่อนและยังไม่ทันดับไป ได้ช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมได้เกิดขึ้น อย่าง นี้เรียกว่า อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวารา วัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจ โวการปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะ แล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑) มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวงนี้ ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูป กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และ รูปทั้งหมดซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้ เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโว การภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต ปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิตเป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตปัจจัยวิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็นวัตถุปุเร ชาตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต ปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกีย วิบากจิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีอาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นวัตถุ ปุเรชาตปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุปุเรชาต ปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเร ชาตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

๑. อารัมมณปุเรชาต หมายความว่า อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยนั้นได้แก่อารมณ์ และในที่นี้ หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง คงมีอยู่ ยังไม่ทันดับไป คือยังอยู่ใน ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็น นิปผันนรูป ๑๘ และยัง อยู่ในระหว่างฐีติขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ที่เกิดจากปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๖(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปุเรชาตปัจจัย นี้มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อารมณ์ ๖ คือปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย กามวิบากจิต ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑ กิริยาอภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี) เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน เช่น

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ เป็นอารัมมณปุเรชาต ปัจจยุบบันน

ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต ๑, กามกิริยาชวนะ ๙, ตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน

พระอรหันต์พิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏ ฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย มหากิริยาจิต ๘ ที่พิจารณารูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณ ปุเรชาตปัจจยุบบันน

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย มหากุสล ๘, กุสลอภิญญา ๑, เจตสิก ๓๖ (เว้น อัปปมัญญา) เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน เช่น

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณารูป เหล่านี้เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย กุสลอภิญญาจิตที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาต ปัจจยุบบันน เช่น

ยินดีเพลิดเพลินต่อ จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้วมี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน เช่น อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ราคะ ทิฏฐิเป็นต้นที่เกิดขึ้นอันได้แก่อกุสลจิต ๑๒ นั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

เมื่อกล่าวมาถึงปัจจัยที่ ๑๑ นี้ก็จะเห็นได้ว่าคำว่า ชาตะ มีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะนี้ อันคำว่า ชาตะ ในปัจจัย ๒๔ นี้มีความ หมายถึง ๓ อย่าง คือ

สหชาตะ ได้แก่ นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ ภังคะ

ปุเรชาตะ ได้แก่ รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ นามที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ และฐีติขณะ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิ จิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ รูป ที่เป็นฐีติปัตตะ ที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น (อุปาทขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป จึงเกิดมาพร้อม กับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลังเป็นปัจฉาชาตปัจจัย รูป ๒๘ คือติชกาย จตุชกายที่กำลัง ถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการรูปภูมิ จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒. อาเสวนปัจจัย

อาเสวนปัจจัย หมายถึง การเสพบ่อย ๆ ในวิถีหนึ่ง ๆ การเสพบ่อย ๆ แต่ละ วิถีนั้นก็มีจิตที่ทำกิจนี้ คือ ชวนจิต ๕๕ ดวงเท่านั้นเอง แต่จะต้องประกอบด้วย ลักษณะ ๓ อย่าง ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

ก. ต้องเป็นจิตชาติเดียวกัน

ข. ต้องเกิดซ้ำกันอย่างน้อย ๔ หรือ ๕ ขณะ

ค. ต้องไม่ใช่วิบากชวนจิต

ถ้าไม่ครบลักษณะทั้ง ๓ นี้ด้วยแล้ว ก็ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย

๑. อาเสวนะ หมายความว่า เสพบ่อย ๆ

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิดโดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นจะต้องดับไปเสียก่อน จึงจะอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นได้

๕. สัตติ มีอำนาจอย่างเดียว คือ ชนกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ โลกียชวนจิต ๔๗ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) ที่เป็นชาติเดียวกัน เจตสิก ๕๒

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ชวนจิต ๕๑ ที่เกิดหลัง ๆ(เว้นชวนดวงที่ ๑ และผลชวนจิต ๔) เจตสิก ๕๒

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ชวนจิตดวงที่ ๑ ของกามชวนจิต ๒๙, อาวัชชน จิต ๒, วิบากจิต ๓๖, เจตสิก ๕๒ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อาเสวนปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนจิต ๑๗ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นอาเสวนปัจจัย กุสลชวนจิต ๒๑ ที่เกิดหลัง ๆ(เว้นชวนะดวงที่ ๑) เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนจิต ๑๒ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นอาเสวนปัจจัย อกุสลชวนจิต ๑๒ ที่เกิดหลัง ๆ (เว้นชวนะดวงที่ ๑) เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กิริยาชวนจิต ๑๘ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้น ชวนะดวงสุดท้าย) เป็นอาเสวนปัจจัย กิริยาชวนจิต ๑๘ ที่เกิดหลัง ๆ (เว้นชวนะ ดวงที่ ๑) เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๖ ปัจจัย คือ

๑. อาเสวนปัจจัย
๒. อนันตรปัจจัย
๓. สมนันตรปัจจัย
๔. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๕. นัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. กัมมปัจจัย

กรรม หมายถึง การจงใจกระทำ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ดังที่ อัฏฐ สาลินีอรรถกถาแสดงไว้ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต) กล่าวว่า เจตนานั่นแหละ เป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย ทางวาจา และทางใจ

เจตนา ที่เป็นตัวกรรมนั้น มี กิจฺจ หรือ สตฺติ อำนาจหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

๑. เจตนา คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม ที่เป็น กุสล อกุสล วิบาก กิริยา ทุก ๆ ขณะที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะให้เกิดกุสลนามขันธ์ ๔, อกุสล นามขันธ์ ๔, วิบากนามขันธ์ ๔ และ กิริยานามขันธ์ ๔ ดังนี้เรียกตาม กิจ หรือ สัตติ คือ อำนาจหน้าที่ว่าเป็น สังวิธานกิจ หมายความว่า จงใจปรุงแต่ง จัดแจง ให้สำเร็จกิจนั้น ๆ เรียกตามปัจจัย คือตามความอุปการะช่วยเหลือก็เป็น สหชาต กัมมปัจจัย หมายถึง เจตนาที่เกิดพร้อมในขณะเดียวกันกับสัมปยุตตธรรม คือ เกิด ในกาลปัจจุบัน

๒. เจตนา คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม เฉพาะที่เป็นกุสลและอกุสล เท่านั้น ที่ดับไปแล้ว แต่อำนาจแห่งเจตนานั้นเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดผลวิบาก และกัมมชรูปในอนาคตอย่างนี้เรียกตามกิจหรือสัตติ อำนาจหน้าที่ว่าเป็น พีชนิธาน กิจ หมายความว่า ยังให้เกิดพืชพันธุ์ขึ้น เรียกตามปัจจัย คือ ตามความอุปการะ ช่วยเหลือ ว่าเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึงเจตนาที่เกิดในขณะที่ต่าง ๆ กัน เกิดในกาลอนาคต ที่เป็นปฏิสนธิกาลก็ได้ ที่เป็นปวัตติกาลก็ได้

รวมได้ความว่า กัมมปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ สหชาตกัมมปัจจัย และ นานักขณิกกัมมปัจจัย แต่ละปัจจัยมีความหมายสั้น ๆ ดังนี้

ก. เจตนา ที่สัมปยุตตกับสหชาตธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม คือ จิต เจตสิก และแก่รูป ที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น อย่างนี้ได้ชื่อว่า สหชาตกัมมปัจจัย

ข. เจตนาที่ต่างขณะกัน คือ เจตนานั้น หรือกรรมนั้น หรือสหชาตกัมมนั้น ได้ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและแก่รูปที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัย อำนาจแห่งกรรมที่ดับไปแล้วนั้น อย่างนี้ได้ชื่อว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย

สหชาตกัมมปัจจัย

๑. สหชาตกัมม หมายความว่า เจตนาที่เกิดพร้อม

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรม เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน หมายความว่าทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันน ต่างก็ยังไม่ทัน ดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙ ที่ในจิต ๘๙

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑(เว้นเจตนา) จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙ ที่ในจิต ๘๙, และพาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตกัมมปัจจัยนี้มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต กัมมปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา) เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตปัจจัย จิตตชรูปที่มีกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ใน กุสลจิต ๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา) ด้วย และจิตตชรูป ซึ่งมีกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย เป็น สหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็น สหชาตกัมมปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา) เป็นสหชาตกัมม ปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย จิตตชรูป ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏ ฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ใน อกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา) ด้วย และจิตตชรูป ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิกที่ในวิบากจิต ๓๖ และ ที่ในกิริยาจิต ๒๐ ในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาลตามสมควร เป็นสหชาตกัมม ปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๗(เว้นเจตนา) วิบากจิตตชรูป กิริยา จิตตชรูป ในปวัตติกาล และปฏิสนธิกัมมชรูป ในปฏิสนธิกาล เป็นสหชาตกัมม ปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๐ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตกัมมปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. นามอาหารปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๙. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๐. สหชาตอวิคตปัจจัย

นานักขณิกกัมมปัจจัย

เมื่อขณะกระทำทุจจริตก็ดี สุจริตก็ดี เจตนาที่เกิดพร้อมกับอกุสลจิตหรือกุสล จิตนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจัย ครั้นอกุสลจิตหรือกุสลจิตพร้อมด้วยเจตนานั้น ๆ ดับ ไปแล้ว เจตนานั้นก็มีสภาพกลับกลายเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย มีอำนาจหน้าที่ ให้บังคับผลแก่ผู้นั้นในอนาคตกาล ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งในปวัตติกาล และ ปฏิสนธิกาล

นานักขณิกกรรม ที่เป็นกุสล อกุสลนั้น มีอยู่ในสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อ ขณะที่จะส่งผลให้ปรากฏขึ้น ย่อมอาศัย กาล คติ อุปธิ และ ปโยคะ เป็นเครื่อง ประกอบด้วย คือ

ก. กาล หมายถึง คราว สมัย ในสมัยใดที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง ผู้ปกครอง ประเทศปกครองด้วยความมีสีลธรรมเป็นที่ตั้ง อย่างนี้เรียกว่า กาลสัมปัตติ ถ้าเป็น ไปอย่างตรงกันข้าม ก็เรียกว่า กาลวิปัตติ

ข. คติ หมายถึงว่า ผู้ที่เกิดอยู่ในสุคติภูมิ มีมนุษย์ เทวดา พรหม ก็เรียกว่า คติสัมปัตติ ผู้ที่เกิดในทุคคติภูมิ เป็นสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย เหล่านี้ เรียกว่า คติวิปัตติ

ค. อุปธิ หมายถึง ผู้มีอวัยวะ หรือ อายตนะ มีหู ตา เป็นต้น ครบถ้วน บริบูรณ์ เรียกว่า อุปธิสัมปัตติ ถ้าขาดตกบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ก็เรียกว่า อุปธิวิปัตติ

ง. ปโยคะ หมายถึง ความเพียร ผู้ที่เพียรชอบ ประกอบแต่กาย วาจา ใจ สุจริต เช่นนี้เรียกว่า ปโยคสัมปัตติ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็เรียกว่า ปโยควิปัตติ

ในปวัตติกาล ขณะใดเป็นผู้มีสัมปัตติ ขณะนั้นนานักขณิกกรรมกุสล ย่อมได้ โอกาสที่จะส่งผลให้ผู้นั้นได้ประสบกับอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ พร้อมทั้งได้รับกัมมช รูป อันเป็นที่น่ารักน่าปรารถนา ถ้าขณะใดมีวิปัตติ ขณะนั้นนานักขณิกกรรมที่เป็น อกุสล ย่อมได้โอกาสส่งผลให้ผู้นั้นประสบกับอนิฏฐารมณ์ พร้อมทั้งได้รับกัมมชรูป ที่ไม่น่ารักน่าปรารถนา

ส่วนในปฏิสนธิกาล สัตว์ทั้งหลายย่อมได้รับทันที ในขณะที่ปฏิสนธิ คือ อกุสลนานักขณิกกรรมก็ส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ ถ้าเป็นกุสลนานักขณิกกรรม ก็ส่งผลให้ปฏิสนธิเป็น มนุษย์ เทวดา พรหม ตามสมควรแก่กรรมของตนในอดีต

๑. นานักขณิกกรรม หมายความว่า เจตนาในขณะที่ต่างกัน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ ในปัจจัยนี้ มีถึง ๓ ชาติ คือ

ก. อนันตรูปนิสสยปกตูปชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันน ธรรมนั้นเกิดติดต่อกัน โดยไม่มีระหว่างคั่นนั้นอย่างหนึ่ง ปัจจัยธรรมนี้เป็นที่อาศัย อันมีกำลัง อย่างแรงกล้าแก่ปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง และปัจจัยธรรมอันเป็นที่ อาศัยอย่างแรงกล้าที่ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมอีก อย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ นี้ ได้แก่ มัคคเจตนาที่เป็นปัจจัยให้เกิดผลจิต

ข. ปกตูปนิสสยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ที่ ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมให้เกิดขึ้น ได้แก่ เจตนา เจตสิกที่มีกำลังมากช่วยอุปการะให้เกิดวิบากนามขันธ์ ๔

ค. นานักขณิกกัมมชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมที่เป็นอดีต คือ ที่ดับไป แล้วนั้น มีอำนาจให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมในภายหลัง ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่มีกำลัง น้อย(ทุพละ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามวิบากจิตให้เกิดขึ้น และเจตสิกที่มีกำลัง มาก(พลวะ) และกำลังน้อย(ทุพละ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปให้เกิดขึ้น

๔. กาล เป็นอดีตกาล

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ และที่ใน กุสลจิต ๒๑ ที่เป็นอดีต คือ ที่ได้ดับไปแล้ว

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ปฏิสนธิกัมมช รูป อสัญญสัตตกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กุสลจิต ๒๑ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ นานักขณิกกัมมปัจจัยนี้ มี ๒ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลเจตนา ๒๑ ในกุสลนามขันธ์ ๔ ที่เป็น อดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย กุสลวิบากจิต ๒๙ เจตสิก ๓๘ และกัมมชรูป เป็น นานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลเจตนา ๑๒ ในอกุสลนามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย อกุสลวิบากจิต ๗ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้น วิริยะ ปิติ ฉันทะ) และกัมมชรูป เป็นนานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๒. อนันตรปัจจัย
๓. สมนันตรปัจจัย
๔. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๕. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร